Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

Journal

1998

Rubber dam

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การเปรียบเทียบการรักษารอยวิการของกระดูกเบ้าฟัน ระหว่างการใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับการใช้วัสดุปลูกกระดูกกับการใช้แผ่นยางกันน้ำลาย เป็นแผ่นกั้นเพียงอย่างเดียว, ชนกพรรณ สุคนธ์พันธ์, นวลฉวี หงษ์ประสงค์ Sep 1998

การเปรียบเทียบการรักษารอยวิการของกระดูกเบ้าฟัน ระหว่างการใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับการใช้วัสดุปลูกกระดูกกับการใช้แผ่นยางกันน้ำลาย เป็นแผ่นกั้นเพียงอย่างเดียว, ชนกพรรณ สุคนธ์พันธ์, นวลฉวี หงษ์ประสงค์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดูผลการรักษารอยวิการของกระดูกเบ้าฟันหลาย ๆ รอยโรคด้วยวิธี จีทีอาร์ โดยใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้น และเปรียบเทียบผลการใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้นเพียงอย่างเดียว กับใช้วัสดุปลูกกระดูกร่วมด้วยในเวลา 6 เดือน วัสดุและวิธีการ ผู้ร่วมโครงการเป็นผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่ หญิง 4 คน ซึ่งได้รับการรักษาเบื้องต้น แล้วยังมีรอยโรคปริทันต์ที่มีความลึกของร่องลึกปริทันต์ เท่ากับหรือมากกว่า 5 มม. ในทั้งสองข้างของขากรรไกร เดียวกัน 10 ตําแหน่ง เลือกการรักษาด้วยการใช้แผ่นยางกันน้ําลายอย่างเดียว 5 ตําแหน่ง จํานวน 19 รอยโรค และใช้แผ่นยางกันน้ําลายร่วมกับการปลูกกระดูก 5 ตําแหน่ง จํานวน 32 รอยโรค โดยการสุ่ม วัดค่าทางคลินิกคือ ความลึกของร่องลึกปริทันต์ ระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ ระดับการรุ่นของเหงือกและการถ่ายภาพรังสีโดย ทําการบันทึก ก่อนการรักษา และหลังการรักษา 3 เดือน และ 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Paired t-test ใน กลุ่มเดียวกัน และ Unpaired t-test ในระหว่างกลุ่มที่ P = 0.05 ผลการศึกษา พบว่าค่าความลึกของร่องลึกปริทันต์และระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ที่ 3 เดือน และ 6 เดือน ส่วนเหงือกรุ่นจะเพิ่มมากขึ้นเล็กน้อย และระดับความสูงของกระดูกเพิ่มขึ้นเมื่อตรวจดูทาง x-ray ซึ่งผลการรักษาของทั้งสองกลุ่มมีลักษณะเช่นเดียวกัน และเมื่อเปรียบเทียบผลการรักษาทั้งสองกลุ่มพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติสรุป สรุปได้ว่าแผ่นยางกันน้ําลายสามารถใช้ เป็นแผ่นกั้นในขบวนการ จีทีอาร์ และให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกันระหว่างใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้นอย่างเดียวหรือใช้วัสดุปลูกกระดูกร่วมด้วย


การรักษารอยโรคปริทันต์โดยการเหนี่ยวนําเนื้อเยื่อ ด้วยแผ่นยางกันน้ำลายร่วมกับวัสดุปลูกกระดูก : รายงานผู้ป่วย 2 ราย, อภิชาติ ศิลปอาชา, นวลฉวี หงษ์ประสงค์ May 1998

การรักษารอยโรคปริทันต์โดยการเหนี่ยวนําเนื้อเยื่อ ด้วยแผ่นยางกันน้ำลายร่วมกับวัสดุปลูกกระดูก : รายงานผู้ป่วย 2 ราย, อภิชาติ ศิลปอาชา, นวลฉวี หงษ์ประสงค์

Chulalongkorn University Dental Journal

การรักษาโรคปริทันต์ด้วยการผ่าตัดโดยการใช้กระบวนการเหนี่ยวนําเนื้อเยื่อให้สร้างอวัยวะปริทันต์ขึ้นใหม่ในบริเวณรอยโรค (จีทีอาร์) จําเป็นต้องใช้แผ่นกั้นเพื่อป้องกันเซลล์ที่ไม่ต้องการให้เข้าไปบริเวณผิวฟัน และเปิดโอกาสให้เซลล์ที่ต้องการได้แก่เซลล์ของเอ็นยึดปริทันต์และเซลล์ของกระดูกเบ้าฟันที่เป็นตัวอ่อนได้เข้าในยังบริเวณผิวรากฟัน สร้างเนื้อเยื่อปริทันต์ในบริเวณที่สูญเสียไป แผ่นกั้นที่ใช้แบ่งเป็นแผ่นกั้นชนิดที่ไม่สลายและสามารถละลายได้เองทั้งสองชนิดได้ผลิตขายในท้องตลาดมีลักษณะตามรอยโรคที่ต้องการใช้ ใช้ได้ผลดี และเมื่อใช้ร่วมกับวัสดุปลูกกระดูกจะให้ผลดียิ่งขึ้น แต่เนื่องจากมีราคาสูงมาก โดยเฉพาะในรอยโรคที่อยู่ติดกันหลาย ๆ รอยโรคจะต้องใช้แผ่นกั้นหลายชิ้นเย็บต่อเนื่อง นอกจากราคาแพงแล้วยังยุ่งยากและอาจให้ผลดีไม่เท่าที่ควร ดังนั้นแผ่นยางกันน้ำลายจึงถูกนํามาใช้แทนแผ่นกั้นในท้องตลาด ซึ่งพบว่าสามารถใช้เป็นแผ่นกั้นได้ดี ทําให้เกิดกระบวนการเหนี่ยวนําเนื้อเยื่อให้สร้างอวัยวะปริทันต์ขึ้นใหม่ได้เหมือนกับการใช้แผ่นกั้นในท้องตลาด ในรายงานนี้เป็นรายงานการผ่าตัดแบบจีทีอาร์ ใน ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งมีรอยโรคหลาย ๆ รอยโรคในบริเวณเดียวกัน 2 ราย โดยใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นและได้ตามผลการรักษามาแล้วเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งพบว่าการหายของรอยโรคดีและคงสภาพได้ เช่นเดียวกับผู้ป่วยซึ่งใช้แผ่นกั้นในท้องตลาดในการผ่าตัดแบบเดียวกัน