Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

Journal

1998

Periodontal regeneration

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การเปรียบเทียบการรักษารอยวิการของกระดูกเบ้าฟัน ระหว่างการใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับการใช้วัสดุปลูกกระดูกกับการใช้แผ่นยางกันน้ำลาย เป็นแผ่นกั้นเพียงอย่างเดียว, ชนกพรรณ สุคนธ์พันธ์, นวลฉวี หงษ์ประสงค์ Sep 1998

การเปรียบเทียบการรักษารอยวิการของกระดูกเบ้าฟัน ระหว่างการใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับการใช้วัสดุปลูกกระดูกกับการใช้แผ่นยางกันน้ำลาย เป็นแผ่นกั้นเพียงอย่างเดียว, ชนกพรรณ สุคนธ์พันธ์, นวลฉวี หงษ์ประสงค์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดูผลการรักษารอยวิการของกระดูกเบ้าฟันหลาย ๆ รอยโรคด้วยวิธี จีทีอาร์ โดยใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้น และเปรียบเทียบผลการใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้นเพียงอย่างเดียว กับใช้วัสดุปลูกกระดูกร่วมด้วยในเวลา 6 เดือน วัสดุและวิธีการ ผู้ร่วมโครงการเป็นผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่ หญิง 4 คน ซึ่งได้รับการรักษาเบื้องต้น แล้วยังมีรอยโรคปริทันต์ที่มีความลึกของร่องลึกปริทันต์ เท่ากับหรือมากกว่า 5 มม. ในทั้งสองข้างของขากรรไกร เดียวกัน 10 ตําแหน่ง เลือกการรักษาด้วยการใช้แผ่นยางกันน้ําลายอย่างเดียว 5 ตําแหน่ง จํานวน 19 รอยโรค และใช้แผ่นยางกันน้ําลายร่วมกับการปลูกกระดูก 5 ตําแหน่ง จํานวน 32 รอยโรค โดยการสุ่ม วัดค่าทางคลินิกคือ ความลึกของร่องลึกปริทันต์ ระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ ระดับการรุ่นของเหงือกและการถ่ายภาพรังสีโดย ทําการบันทึก ก่อนการรักษา และหลังการรักษา 3 เดือน และ 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Paired t-test ใน กลุ่มเดียวกัน และ Unpaired t-test ในระหว่างกลุ่มที่ P = 0.05 ผลการศึกษา พบว่าค่าความลึกของร่องลึกปริทันต์และระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ที่ 3 เดือน และ 6 เดือน ส่วนเหงือกรุ่นจะเพิ่มมากขึ้นเล็กน้อย และระดับความสูงของกระดูกเพิ่มขึ้นเมื่อตรวจดูทาง x-ray ซึ่งผลการรักษาของทั้งสองกลุ่มมีลักษณะเช่นเดียวกัน และเมื่อเปรียบเทียบผลการรักษาทั้งสองกลุ่มพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติสรุป สรุปได้ว่าแผ่นยางกันน้ําลายสามารถใช้ เป็นแผ่นกั้นในขบวนการ จีทีอาร์ และให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกันระหว่างใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้นอย่างเดียวหรือใช้วัสดุปลูกกระดูกร่วมด้วย


การบําบัดความวิการบริเวณง่ามรากฟันระดับสาม ในฟันกรามล่างโดยกระบวนการจีทีอาร์ : ใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับวัสดุปลูกกระดูก, พาณี วานิชวัฒนรำลึก, นวลฉวี หงษ์ประสงค์ Sep 1998

การบําบัดความวิการบริเวณง่ามรากฟันระดับสาม ในฟันกรามล่างโดยกระบวนการจีทีอาร์ : ใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับวัสดุปลูกกระดูก, พาณี วานิชวัฒนรำลึก, นวลฉวี หงษ์ประสงค์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การผ่าตัดโดยใช้หลักการเหนี่ยวนําให้เกิดเนื้อเยื่อใหม่ (จีทีอาร์) จําเป็นต้องใช้แผ่นกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในรอยโรคและขณะเดียวกันช่วยให้เซลล์ที่มีหน้าที่ในการสร้างอวัยวะปริทันต์มีโอกาสทํางานได้เต็มที่มากขึ้น การศึกษาครั้งนี้ทําเพื่อต้องการดูผลการรักษาความวิการของกระดูกบริเวณง่ามรากฟันระดับ ที่สามด้วยวิธีจีทีอาร์ โดยใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับการใช้วัสดุปลูกกระดูกร่วมด้วย วัสดุและวิธีการ ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่ 6 ราย เป็นอาสาสมัครในการทําวิจัยครั้งนี้ ผู้ป่วยได้รับการ รักษาโรคปริทันต์เบื้องต้นด้วยการเกลารากฟันให้เรียบ และสามารถควบคุมอนามัยในช่องปากได้เป็นอย่างดีแล้ว และ 5 มม. ร่วมด้วย มีฟันกรามล่างซึ่งมีความวิการของกระดูกบริเวณช่องรากฟันระดับที่สามและมีร่องลึกปริทันต์อย่างน้อย โดยผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีการ จีทีอาร์ โดยใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับการใส่วัสดุปลูกกระดูกร่วมด้วย วัดค่าทางคลินิก คือค่าร่องลึกปริทันต์ ระดับการยึดเกาะทางคลินิก และการรุ่นของเหงือก ก่อนและหลังการผ่าตัด 6 6 และ 12 เดือน รวมทั้งถ่ายภาพรังสีด้วย มีการเปิดเหงือกเข้าไปดูรอยโรคหนึ่งราย การวิเคราะห์การ เปลี่ยนแปลงของค่าทางคลินิกใช้ paired t-test ที่ p = 0.05 ผลการศึกษา พบว่าค่าของร่องลึกปริทันต์ และค่าของระดับการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ทางคลินิกลดลงอย่างมีนัย สําคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนการผ่าตัด และมีระดับการยึดเกาะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.33 + 1.74 มม. มีระดับกระดูก เพิ่มขึ้นระดับหนึ่งแต่ไม่เต็มรอยวิการ ทางคลินิกบริเวณง่ามรากมีการปิดของเนื้อเหงือกแน่นและแข็งแรงทําให้ทําความ สะอาดได้ดีขึ้น และเมื่อเปิดเข้าไปดูพบว่า มีการสร้างของกระดูกเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ไม่เต็มถึงยอดของง่ามรากฟัน สรุป สามารถใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้นในกระบวนการจีทีอาร์ ใช้ง่าย และให้ผลดีถึงแม้มีการสร้างกระดูก เพียงบางส่วนไม่เต็มรอยวิการของกระดูกบริเวณง่ามรากฟันระดับสามก็ตาม