Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

Journal

1998

Microleakage

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การเปรียบเทียบการรั่วซึมของวัสดุบูรณะฟันชั่วคราว 3 แบบ, ปิยาณี พาณิชย์วิสัย, ชุติมา ระติสุนทร, ลิขนา มักอุส่าห์, พจมาลย์ โตเทียม Jan 1998

การเปรียบเทียบการรั่วซึมของวัสดุบูรณะฟันชั่วคราว 3 แบบ, ปิยาณี พาณิชย์วิสัย, ชุติมา ระติสุนทร, ลิขนา มักอุส่าห์, พจมาลย์ โตเทียม

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการรั่วซึมของวัสดุบูรณะฟันชั่วคราว 3 แบบ คือ Caviton, IRM และ Caviton ร่วมกับ IRM วัสดุและวิธีการ โดยใช้ฟันกรามใหญ่ล่างแท้ซึ่งปลายรากปิดทั้งหมด จํานวน 36 ซี่ โดยฟัน 33 ซี่ ทําการกรอ ช่องเปิดเข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในพื้นที่ด้านบดเคี้ยว-ใกล้กลาง (Occluso mesial) และอุดด้วยวัสดุที่ต้องการทดสอบกลุ่มละ 10 ซี่ ส่วนอีก 3 ซี่ อุดด้วยกัตตาเปอร์ซาเป็นกลุ่มควบคุมที่ให้ผลบวก และ 3 ที่เหลือซึ่งไม่ได้กรอช่องเปิดเข้าสู่ โพรงเนื้อเยื่อในฟันเป็นกลุ่มควบคุมที่ให้ผลลบ จากนั้นทายาทาเล็บ 3 ชั้นที่ผิวฟันนํามาแช่น้ําลายเทียมที่อุณหภูมิ 37 °C เป็นเวลา 1 วัน นํามาทํา thermocycling ที่อุณหภูมิ 5 ± 2 °C เป็นเวลา 30 วินาที และที่อุณหภูมิ 55 #2 °C เป็นเวลา 30 วินาที ทําซ้ํา 90 รอบ แล้วนําฟันมาแช่ในน้ําลายเทียมที่อุณหภูมิ 37 °C ต่ออีก 6 วัน เมื่อ ครบกําหนดนําฟันไปแช่ในสารละลาย methylene blue ความเข้มข้นร้อยละ 2 เป็นเวลา 7 วัน นําฟันไปตัดโดย เครื่องตัดฟัน ในแนวใกล้กลาง-ไกลกลาง (mesio-distal) แล้วนํามาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ (stereo microscope) เพื่อวัดระดับการรั่วซึมของสี ผลการทดลอง การรั่วซึมของสีบนด้านบดเคี้ยว ของกลุ่มที่อุดด้วย Caviton และกลุ่มที่อุดด้วย Caviton ร่วมกับ IRM มีการรั่วซึมน้อยกว่ากลุ่มที่อุดด้วย IRM อย่างมีนัยสําคัญ (p<0.01) การรั่วซึมของสีในกลุ่มที่อุดด้วย Caviton ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญจากกลุ่มที่อุดด้วย Caviton ร่วมกับ IRM ส่วนการรั่วซึมของสีทางด้านข้าง มีการรั่วซึมเข้าถึงระดับโพรงฟันไม่แตกต่างกันทั้ง 3 กลุ่ม สรุป การอุดด้วย Caviton หรือ Caviton ร่วมกับ IRM ใน Cavity Class II จะสามารถป้องกันการรั่วซึมได้ ดีกว่าการบูรณะชั่วคราวด้วย IRM เพียงอย่างเดียว


การเปรียบเทียบการรั่วซึมของวัสดุบูรณะฟันชั่วคราว 3 แบบ ภาค 2, ปิยาณี พาณิชวสัย, ชุติมา ระติสุนทร, เฌอมาลย์ เรืองวิไลรัตน์, ศิริรัตน์ ลิ่มบริบูรณ์ Jan 1998

การเปรียบเทียบการรั่วซึมของวัสดุบูรณะฟันชั่วคราว 3 แบบ ภาค 2, ปิยาณี พาณิชวสัย, ชุติมา ระติสุนทร, เฌอมาลย์ เรืองวิไลรัตน์, ศิริรัตน์ ลิ่มบริบูรณ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการรั่วซึมของวัสดุบูรณะฟันชั่วคราว 3 แบบ คือ การใช้ CAVIT-G ร่วมกับ CAVIT,CAVIT-G ร่วมกับ KETAC-SILVER และ Caviton ร่วมกับ IRM วัสดุและวิธีการ โดยใช้ฟันกรามใหญ่ล่างแท้ที่ไม่ผุและปลายรากปิด จํานวน 36 ปี ทําการกรอช่องเปิดเข้าสู่โพรง เนื้อเยื่อในฟันเป็นลักษณะ class II cavity occluso mesial ในฟัน 33 ซี่ แล้วอุดด้วยวัสดุที่ต้องการทดสอบ กลุ่ม ละ 10 ซี่ ส่วนกลุ่มควบคุมที่ให้ผลบวก อุดด้วยกัตตาเปอร์ชา 3 ซี่ และกลุ่มควบคุมที่ให้ผลลบซึ่งไม่ได้กรอช่องเปิด เข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในฟันอีก 3 ซี่ จากนั้นทายาทาเล็บชนิดใส 3 ชั้นเคลือบผิวฟัน นําฟันมาแช่น้ําลายเทียมที่อุณหภูมิ 37°C เป็นเวลา 1 วัน แล้วนํามาทํา thermocycling ที่อุณหภูมิ 5 ±2°C เป็นเวลา 30 วินาที และที่อุณหภูมิ 55 ± 2°C เป็นเวลา 30 วินาที ทําซ้ำ 90 รอบ จากนั้นนํามาแช่ในน้ำลายเทียมที่อุณหภูมิ 37°C ต่ออีก 6 วัน ต่อ มาแช่ในสารละลายเมทธิลีนบลู ความเข้มข้นร้อยละ 2 ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน เมื่อครบกําหนดนําฟันมาตัด ตามยาวในแนวใกล้กลาง-ไกลกลาง (mesio-distal) แล้วนํามาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอชนิดดูด้วยแสงเพื่อวัดระดับการรั่วซึมของสี ผลการทดลอง การรั่วซึมของสีบนด้านบดเคี้ยว (occlusal) มีการรั่วซึมไม่แตกต่างกันทั้ง 3 กลุ่ม การรั่วซึมของสี บนด้านข้าง (proximal) ของกลุ่มที่อุดด้วย CAVIT-G ร่วมกับ CAVIT มีการรั่วซึมน้อยกว่ากลุ่มที่อุดด้วย CAVIT- …