Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

Journal

1998

GTR

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การบําบัดความวิการบริเวณง่ามรากฟันระดับสาม ในฟันกรามล่างโดยกระบวนการจีทีอาร์ : ใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับวัสดุปลูกกระดูก, พาณี วานิชวัฒนรำลึก, นวลฉวี หงษ์ประสงค์ Sep 1998

การบําบัดความวิการบริเวณง่ามรากฟันระดับสาม ในฟันกรามล่างโดยกระบวนการจีทีอาร์ : ใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับวัสดุปลูกกระดูก, พาณี วานิชวัฒนรำลึก, นวลฉวี หงษ์ประสงค์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การผ่าตัดโดยใช้หลักการเหนี่ยวนําให้เกิดเนื้อเยื่อใหม่ (จีทีอาร์) จําเป็นต้องใช้แผ่นกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในรอยโรคและขณะเดียวกันช่วยให้เซลล์ที่มีหน้าที่ในการสร้างอวัยวะปริทันต์มีโอกาสทํางานได้เต็มที่มากขึ้น การศึกษาครั้งนี้ทําเพื่อต้องการดูผลการรักษาความวิการของกระดูกบริเวณง่ามรากฟันระดับ ที่สามด้วยวิธีจีทีอาร์ โดยใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับการใช้วัสดุปลูกกระดูกร่วมด้วย วัสดุและวิธีการ ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่ 6 ราย เป็นอาสาสมัครในการทําวิจัยครั้งนี้ ผู้ป่วยได้รับการ รักษาโรคปริทันต์เบื้องต้นด้วยการเกลารากฟันให้เรียบ และสามารถควบคุมอนามัยในช่องปากได้เป็นอย่างดีแล้ว และ 5 มม. ร่วมด้วย มีฟันกรามล่างซึ่งมีความวิการของกระดูกบริเวณช่องรากฟันระดับที่สามและมีร่องลึกปริทันต์อย่างน้อย โดยผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีการ จีทีอาร์ โดยใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้นร่วมกับการใส่วัสดุปลูกกระดูกร่วมด้วย วัดค่าทางคลินิก คือค่าร่องลึกปริทันต์ ระดับการยึดเกาะทางคลินิก และการรุ่นของเหงือก ก่อนและหลังการผ่าตัด 6 6 และ 12 เดือน รวมทั้งถ่ายภาพรังสีด้วย มีการเปิดเหงือกเข้าไปดูรอยโรคหนึ่งราย การวิเคราะห์การ เปลี่ยนแปลงของค่าทางคลินิกใช้ paired t-test ที่ p = 0.05 ผลการศึกษา พบว่าค่าของร่องลึกปริทันต์ และค่าของระดับการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ทางคลินิกลดลงอย่างมีนัย สําคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนการผ่าตัด และมีระดับการยึดเกาะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.33 + 1.74 มม. มีระดับกระดูก เพิ่มขึ้นระดับหนึ่งแต่ไม่เต็มรอยวิการ ทางคลินิกบริเวณง่ามรากมีการปิดของเนื้อเหงือกแน่นและแข็งแรงทําให้ทําความ สะอาดได้ดีขึ้น และเมื่อเปิดเข้าไปดูพบว่า มีการสร้างของกระดูกเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ไม่เต็มถึงยอดของง่ามรากฟัน สรุป สามารถใช้แผ่นยางกันน้ําลายเป็นแผ่นกั้นในกระบวนการจีทีอาร์ ใช้ง่าย และให้ผลดีถึงแม้มีการสร้างกระดูก เพียงบางส่วนไม่เต็มรอยวิการของกระดูกบริเวณง่ามรากฟันระดับสามก็ตาม


การรักษารอยโรคปริทันต์โดยการเหนี่ยวนําเนื้อเยื่อ ด้วยแผ่นยางกันน้ำลายร่วมกับวัสดุปลูกกระดูก : รายงานผู้ป่วย 2 ราย, อภิชาติ ศิลปอาชา, นวลฉวี หงษ์ประสงค์ May 1998

การรักษารอยโรคปริทันต์โดยการเหนี่ยวนําเนื้อเยื่อ ด้วยแผ่นยางกันน้ำลายร่วมกับวัสดุปลูกกระดูก : รายงานผู้ป่วย 2 ราย, อภิชาติ ศิลปอาชา, นวลฉวี หงษ์ประสงค์

Chulalongkorn University Dental Journal

การรักษาโรคปริทันต์ด้วยการผ่าตัดโดยการใช้กระบวนการเหนี่ยวนําเนื้อเยื่อให้สร้างอวัยวะปริทันต์ขึ้นใหม่ในบริเวณรอยโรค (จีทีอาร์) จําเป็นต้องใช้แผ่นกั้นเพื่อป้องกันเซลล์ที่ไม่ต้องการให้เข้าไปบริเวณผิวฟัน และเปิดโอกาสให้เซลล์ที่ต้องการได้แก่เซลล์ของเอ็นยึดปริทันต์และเซลล์ของกระดูกเบ้าฟันที่เป็นตัวอ่อนได้เข้าในยังบริเวณผิวรากฟัน สร้างเนื้อเยื่อปริทันต์ในบริเวณที่สูญเสียไป แผ่นกั้นที่ใช้แบ่งเป็นแผ่นกั้นชนิดที่ไม่สลายและสามารถละลายได้เองทั้งสองชนิดได้ผลิตขายในท้องตลาดมีลักษณะตามรอยโรคที่ต้องการใช้ ใช้ได้ผลดี และเมื่อใช้ร่วมกับวัสดุปลูกกระดูกจะให้ผลดียิ่งขึ้น แต่เนื่องจากมีราคาสูงมาก โดยเฉพาะในรอยโรคที่อยู่ติดกันหลาย ๆ รอยโรคจะต้องใช้แผ่นกั้นหลายชิ้นเย็บต่อเนื่อง นอกจากราคาแพงแล้วยังยุ่งยากและอาจให้ผลดีไม่เท่าที่ควร ดังนั้นแผ่นยางกันน้ำลายจึงถูกนํามาใช้แทนแผ่นกั้นในท้องตลาด ซึ่งพบว่าสามารถใช้เป็นแผ่นกั้นได้ดี ทําให้เกิดกระบวนการเหนี่ยวนําเนื้อเยื่อให้สร้างอวัยวะปริทันต์ขึ้นใหม่ได้เหมือนกับการใช้แผ่นกั้นในท้องตลาด ในรายงานนี้เป็นรายงานการผ่าตัดแบบจีทีอาร์ ใน ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งมีรอยโรคหลาย ๆ รอยโรคในบริเวณเดียวกัน 2 ราย โดยใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นและได้ตามผลการรักษามาแล้วเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งพบว่าการหายของรอยโรคดีและคงสภาพได้ เช่นเดียวกับผู้ป่วยซึ่งใช้แผ่นกั้นในท้องตลาดในการผ่าตัดแบบเดียวกัน