Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

Journal

1998

Fixed prosthodontics

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลการเรียนของนิสิตทันตแพทย์ เมื่อใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นสื่อประกอบการสอนในวิชาครอบและสะพานฟัน, มรกต ตันติประวรรณ May 1998

ผลการเรียนของนิสิตทันตแพทย์ เมื่อใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นสื่อประกอบการสอนในวิชาครอบและสะพานฟัน, มรกต ตันติประวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อวัดผลคะแนนทดสอบของนิสิตชั้นปีที่ 4 ภายหลังการเรียนการสอน โดยใช้สื่อประกอบการสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เปรียบเทียบกับการใช้แผ่นใสและภาพนิ่ง ในวิชาครอบและสะพานฟัน หัวข้อเรื่อง ฟันปลอมชนิดติดแน่นที่รองรับด้วยรากเทียม วัสดุและวิธีการ กลุ่มที่ 1 นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2539 จํานวน 101 คน เข้ารับการเรียน การสอน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อประกอบการสอน ตามตารางการสอนของวิชาครอบและสะพาน ฟัน ประจําปีการศึกษา 2539 กลุ่มที่ 2 นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2540 เข้ารับการเรียนการสอน โดยใช้แผ่นใสและภาพนิ่งเป็นสื่อประกอบการสอน ตามตารางการสอนของวิชาครอบและสะพานฟัน ประจําปีการศึกษา 2540 จํานวน 100 คน นิสิตทั้ง 2 กลุ่ม ทําแบบทดสอบก่อนการเรียนใช้เวลา 10 นาที จากนั้นอาจารย์ผู้สอน บรรยายประกอบสื่อการสอน และตอบข้อซักถามเป็นเวลา 40 นาที นิสิตทําแบบทดสอบหลังการเรียนการสอน (เนื้อหา เหมือนกับแบบทดสอบก่อนการเรียนการสอน) ใช้เวลา 10 นาที บันทึกคะแนนสอบและแต้มเฉลี่ยสะสมของนิสิต ทั้ง 2 กลุ่ม นําผลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติที (t-test) ในโปรแกรม SPSS for windows ที่ระดับนัยสําคัญทาง สถิติ p < 0.01 ประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และทัศนคติต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ในกลุ่มที่ 1 โดยใช้แบบสอบถามผล ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแต้มเฉลี่ยสะสม และของคะแนนทดสอบก่อนการเรียนการสอนของนิสิต กลุ่มที่ 1 และ 2 มีค่า 2.79 + 0.40, 2.83 + 0.47 และ 11.66 + 2.20, 12.43 + 2.27 ตามลําดับ ไม่พบความ แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติของแต้มเฉลี่ยสะสม และผลคะแนนสอบก่อนการเรียนการสอน ระหว่างกลุ่มที่ 1 และ 2 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนทดสอบภายหลังการเรียนการสอนของนิสิตกลุ่มที่ 1 และ 2 มีค่า 24.09 + 2.68 และ 22.26 + 2.29 ตามลําดับ พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.01) ของ คะแนนสอบภายหลังการเรียนการสอน ระหว่างกลุ่มที่ 1 และ 2 นิสิตร้อยละ 95 พอใจกับวิธีการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ สรุป การเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทําให้นิสิตมีความตั้งใจ สนใจ และเข้าใจ ในบทเรียน มากกว่าการเรียนการสอนโดยใช้แผ่นใสและภาพนิ่งเป็นสื่อประกอบการสอน