Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

Journal

1998

Dry socket

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

อุบัติการการเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบ-การศึกษาทางคลินิก, ชัยวัฒน์ ปิ่นน้อย, ไมตรี แสงนาค Jan 1998

อุบัติการการเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบ-การศึกษาทางคลินิก, ชัยวัฒน์ ปิ่นน้อย, ไมตรี แสงนาค

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทางคลินิกถึงอุบัติการการเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบและสาเหตุที่ทําให้เกิดภายหลังการถอนฟัน ในผู้ป่วยคนไทยกลุ่มหนึ่งที่มารับการถอนฟันที่ภาควิชาศัลยศาสตร์คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงเวลา 2 ปี วัสดุและวิธีการ ศึกษาจากผู้ป่วย 912 คน ที่มารับการถอนฟันทั้งฟันธรรมดาและฟันคุด บันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่มี อาการปวดร้าวรุนแรงอย่างต่อเนื่องภายหลังการถอนฟัน ตรวจ และให้การวินิจฉัยว่าเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบหรือไม่ นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติต่อไป ผลการศึกษา พบอุบัติการการเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบ 2.8% ในการถอนฟัน 1181 ซี่ จากผู้ป่วย 912 คน พบว่า อุบัติการการเกิดสูงสุด ในช่วงอายุ 20-29 ปีของทั้งสองเพศ คิดเป็น 43% พบอุบัติการการเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบ ในเพศหญิงมากกว่าในเพศชาย แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p>0.05) ความชุกในการเกิดกระดูก และแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเบ้าฟันอักเสบพบภายหลังการถอนฟันยากมากกว่าการถอนฟันธรรมดา (p<0.05) พบอุบัติการการเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบในขากรรไกรล่างมากกว่าในขากรรไกรบนคิดเป็น 90% และ 10% ตามลําดับพบว่าส่วนใหญ่เกิดภายหลังการถอนฟันคุด 60.6% และเป็นฟันคุดชนิดที่ไม่มีฝาเหงือกอักเสบมาก ที่สุดคิดเป็น 48.5% และพบว่าจะเกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบในวันที่สองภายหลังการถอนฟันมากที่สุดคิดเป็น 85% อาการปวดจะหายไปหลังจากได้รับการรักษา 2-4 ครั้ง สรุป พบว่าการถอนฟันยากซึ่งทําให้เกิดการบอบช้ํา (Trama) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้เกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบและ พบด้วยว่าการติดเชื้อ (Infection) ก็เป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งด้วย ซึ่งผลที่ได้นี้สนับสนุนงานวิจัยของผู้อื่นที่เสนอ ไว้ในคำนำ