Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

Journal

1998

Dental Implant Surface

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

พื้นผิวของวัสดุรากเทียมและอิทธิพลของลักษณะพื้นผิวต่อการเหนี่ยวนําการเกาะติดของเซลล์กระดูก, มงคล แตปรเมศามัย, วิเชฏฐ์ จินดาวณิค May 1998

พื้นผิวของวัสดุรากเทียมและอิทธิพลของลักษณะพื้นผิวต่อการเหนี่ยวนําการเกาะติดของเซลล์กระดูก, มงคล แตปรเมศามัย, วิเชฏฐ์ จินดาวณิค

Chulalongkorn University Dental Journal

วัสดุพื้นผิวของชิ้นรากเทียมมีได้หลายชนิด แต่ในรายงานนี้จะกล่าวถึงชิ้นรากเทียมที่ทําด้วยโลหะไททาเนียมบริสุทธิ์ ซึ่งโดยธรรมชาติจะมีชั้นออกไซด์ของโลหะไททาเนียมเคลือบที่ผิวชิ้นรากเทียม ความสําเร็จของงานทันตกรรมรากเทียมส่วนหนึ่งขึ้นกับการเกาะติดของเซลล์กระดูกกับผิวชิ้นรากเทียม ปัจจัยหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกาะติดของเซลล์กระดูกกับผิวชิ้นรากเทียม ได้แก่สมบัติจําเพาะที่พื้นผิวของชิ้นรากเทียมซึ่งหมายความถึง ความสะอาดและปราศจากเชื้อ และพลังงานพื้นผิวของชิ้นรากเทียม การตรวจสอบพลังงานที่พื้นผิวของวัตถุอาจทําได้โดยวิธีการหรือเทคนิคต่าง ๆ เช่น การใช้แท่งผลึก เจอมาเนียม การหาค่ามุมสัมผัสของหยดของเหลวบนผิวชิ้นรากเทียม เพื่อเปรียบเทียบพลังงานพื้นผิวของชิ้นรากเทียม เมื่อผ่านกระบวนการปรับสภาพพื้นผิวในแบบต่าง ๆ การใช้วิธี เอลิปโซเมตรีในการวิเคราะห์ความหนาของแผ่นฟิล์มที่เคลือบบนวัตถุ การใช้กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราด ร่วมกับการวิเคราะห์ส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ บนพื้นผิวส่วนบนสุดของวัตถุ โดยใช้วิธีดูการกระจายพลังงานของรังสีเอ็กซ์ เพื่อตรวจสอบสารต่าง ๆ ที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 11 ขึ้นไป วิธีนี้นํามาใช้ศึกษาแผ่นฟิล์มบาง ๆ ที่ปรากฏบนพื้นผิวโลหะซึ่งจะให้ข้อมูลมากกว่าการวิเคราะห์ด้วย กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราดเพียงอย่างเดียว เป็นต้น ด้วยเหตุที่โลหะมีคุณสมบัติที่มีการเกิดชั้นออกไซด์ที่พื้นผิวเป็นธรรมชาติที่สําคัญ ดังนั้นเมื่อพิจารณาการเกาะประสานของกระดูกกับชิ้นรากเทียมจะเป็นการเกาะประสานของกระดูกกับชั้นออกไซด์ของโลหะที่พื้นผิวไม่ใช่เนื้อโลหะบริสุทธิ์โดยตรงโลหะที่นิยมใช้ทําชิ้นรากเทียมในปัจจุบันได้แก่ ไททาเนียม ซึ่งจะให้คุณสมบัติหลายอย่างตามที่ต้องการ จากข้อมูล ที่รวบรวมมาพบว่า การทําความสะอาดและการทําให้ปราศจากเชื้อแบบเดิมด้วยวิธีอบไอน้ําภายใต้ความดันพบการปนเปื้อนบนผิววัตถุและพลังงานที่พื้นผิวยังอยู่ในระดับต่ำคือมีค่าประมาณ 20 ดายน์/ซม. แต่วิธีการใช้คลื่นความถี่วิทยุจะทําให้พื้นผิวสะอาดมากขึ้นและเพิ่มพลังงานที่พื้นผิวได้ถึง 50-70 ดายน์/ซม. ซึ่งผลของการเพิ่มพลังงานที่พื้นผิวให้มีค่าสูงขึ้นนั้นจะมีผลในการเหนี่ยวนําให้เซลล์กระดูกมาเกาะติดกับผิวชิ้นรากเทียมได้เร็วขึ้น