Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

PDF

Chulalongkorn University Dental Journal

2010

Anodization; contact angle; surface roughness

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

อิทธิพลความเป็นกรด-ด่างต่อลักษณะเฉพาะบนพื้นผิวคอมเมอร์เชียลลีย์เพียวไททาเนียมที่เตรียมโดยวิธีแอโนไดเซชัน, วรรณกาญจน์ กาญจนมา, วิริทธิ์พล ศรีมณีพงศ์, ดุจฤทัย พงษ์เก่า คะชิมา May 2010

อิทธิพลความเป็นกรด-ด่างต่อลักษณะเฉพาะบนพื้นผิวคอมเมอร์เชียลลีย์เพียวไททาเนียมที่เตรียมโดยวิธีแอโนไดเซชัน, วรรณกาญจน์ กาญจนมา, วิริทธิ์พล ศรีมณีพงศ์, ดุจฤทัย พงษ์เก่า คะชิมา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบลักษณะและโครงสร้างผลึกของชั้นออกไซด์บนผิวคอมเมอร์เชียลลีย์เพียวไททาเนียมทั้งก่อนและหลังการปรับสภาพผิวด้วยวิธีแอโนไดเซชัน เมื่อใช้สารละลายที่มีความเป็นกรด-ด่างต่างกัน วัสดุและวิธีการ งานวิจัยนี้ศึกษาในโลหะคอมเมอร์เชียลลีย์เพียวไททาเนียมเกรด 2 ที่ไม่ผ่านและผ่าน กระบวนการแอโนไดเซชัน ที่ความต่างศักย์ 20 โวลต์ เป็นเวลา 15 นาที ในสารละลาย 3 ชนิด คือ กรดฟอสฟอริก โซเดียมฟลูออไรด์ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ แทนสภาวะกรด กลาง และด่างตามลําดับ งานวิจัยนี้ศึกษาลักษณะ และโครงสร้างผลึกของชั้นออกไซด์โดยใช้โปรไฟโลมิเตอร์ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เอกซเรย์ ดิฟแฟรกชัน และค่ามุมสัมผัส วิเคราะห์ความแตกต่างของความขรุขระพื้นผิวและค่ามุมสัมผัสระหว่างกลุ่มทาง สถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์และเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบแทมเฮน และบอนเฟอร์โรเน ผลการศึกษา พบว่ากระบวนการแอโนไดเซชันในสารละลายโซเดียมฟลูออไรด์จะให้ความขรุขระพื้นผิว (0.078 + 0.014 ไมโครเมตร) และค่ามุมสัมผัส (16.75 + 3.24 องศา) น้อยกว่าโซเดียมไฮดรอกไซด์ กรดฟอสฟอริก และ กลุ่มที่ไม่ผ่านกระบวนการแอโนไดเซชันอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) สรุป โลหะไททาเนียมที่ผ่านกระบวนการแอโนไดเซชันในสารละลายโซเดียมฟลูออไรด์ให้สมบัติความขรุขระพื้นผิวน้อยที่สุดแต่ให้ค่าความชอบน้ําสูงสุด (2 ทันต จุฬาฯ 2553;33:67-76)