Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

PDF

Chulalongkorn University Dental Journal

2010

Acrylic resin; cigarette smoke; denture cleanser; glazing; staining; surface hardness

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของควันบุหรี่และสารทําความสะอาดฟันเทียมต่อความแข็งผิวและสีของผิวเคลือบเรซินอะคริลิก, ณัฐวรรธน์ ปลื้มสําราญ, รุ่งอรุณ อภินันทน์, พนารัตน์ ขอดแก้ว, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล May 2010

ผลของควันบุหรี่และสารทําความสะอาดฟันเทียมต่อความแข็งผิวและสีของผิวเคลือบเรซินอะคริลิก, ณัฐวรรธน์ ปลื้มสําราญ, รุ่งอรุณ อภินันทน์, พนารัตน์ ขอดแก้ว, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของควันบุหรี่และสารทําความสะอาดฟันเทียมที่มีต่อสีและความแข็งผิวของเรซินอะคริลิก ที่ใช้และไม่ใช้สารเคลือบผิว วัสดุและวิธีการ เตรียมชิ้นงานเรซินอะคริลิกขนาด 15x15x3 มิลลิเมตร จํานวน 200 ชิ้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดย เตรียมผิวแตกต่างกัน ได้แก่ เรซินอะคริลิกที่ขัดด้วยแท่งไขขัดมันเพื่อใช้เป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มที่เคลือบผิวด้วย บอสเวิร์ธเกลซ พาลาซีล และพลาควิต ทําการวัดสีและความแข็งผิวก่อนและหลังจากอบควันบุหรี่ หลังจากนั้น แบ่งชิ้นงานแต่ละกลุ่มให้เป็น 5 กลุ่มย่อย สําหรับการแช่ในน้ําและสารทําความสะอาดฟันเทียมสี่ชนิด คือโบนีพลัส ฟิตตี้เดนท์ โพลิเดนต์ และสเตอราเดนต์ แล้ววัดสีและความแข็งผิวอีกครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้การ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง สําหรับวิเคราะห์ผลต่างของ สีภายหลังอบควัน และภายหลังแช่สารทําความสะอาดฟันเทียมตามลําดับ โดยใช้การเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบแทมเฮน และใช้การทดสอบผลต่างค่าเฉลี่ยแบบจับคู่ในการวิเคราะห์ความแข็งผิว ทดสอบที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา หลังจากอบควันบุหรี่เรซินอะคริลิกที่ใช้สารเคลือบผิวทุกกลุ่มมีการติดสีน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ ในขณะที่การแช่ในสารละลายใด ๆ ไม่มีผลต่อการติดสี ยกเว้นกลุ่มควบคุมเมื่อแช่ในน้ํา จะมีการเปลี่ยนสีมากอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สําหรับค่าความแข็งผิวพบว่าสารเคลือบผิวพลาดวิตให้ความแข็งผิวสูง ที่สุด ขณะที่สารเคลือบผิวบอสเวิร์ธเกลซให้ความแข็งผิวต่ําที่สุด และเมื่อนําชิ้นตัวอย่างมาอบควันบุหรี่และแช่สารทําความสะอาดฟันเทียมแล้ว กลุ่มที่ใช้สารเคลือบผิวทุกกลุ่มรวมทั้งกลุ่มควบคุมมีความแข็งผิวเปลี่ยนแปลง ยกเว้นกลุ่มที่เคลือบด้วยพาลาซีลที่มีค่าความแข็งผิวไม่แตกต่างจากตอนเริ่มต้น สรุป การอบควันบุหรี่ทําให้เรซินอะคริลิกที่ขัดด้วยแท่งไขขัดมันมีการติดสีมากกว่ากลุ่มที่ใช้สารเคลือบผิวแช่สารทําความสะอาดฟันเทียมทุกชนิดในทุกกลุ่มที่ใช้สารเคลือบผิว ให้ผลการติดสีไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้สารเคลือบผิวทําให้ความแข็งผิวของเรซินอะคริลิกเปลี่ยนแปลงทั้งก่อนและหลังจากแช่สารทําความสะอาดฟันเทียมด้วย (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:77-88)