Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2019

Articles 1 - 30 of 115

Full-Text Articles in Law

ประเด็นปัญหาการบริจาคของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี : กรณีศึกษาการบริจาคเป็นทรัพย์สิน, ธนวรรษ แซ่ลิ้ม Jan 2019

ประเด็นปัญหาการบริจาคของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี : กรณีศึกษาการบริจาคเป็นทรัพย์สิน, ธนวรรษ แซ่ลิ้ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบริจาคเสมือนเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพชนิดหนึ่งในการแก้ปัญหาลดความเหลื่อมล้ำ ในสังคมไทย การบริจาคจึงเป็นเครื่องมือในการกระจายทรัพยากรจากผู้บริจาคไปยังผู้รับบริจาค ทั้งในรูปแบบเงินสดและทรัพย์สิน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนา และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้ ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมค่ายอาสาเพื่อบูรณะโรงเรียนโดยรับบริจาคเงินสดหรือทรัพย์สิน และนำไปพัฒนาโรงเรียนให้มีสื่อการเรียนการสอนที่ดีขึ้น หรือวัดวาอารามที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร โดยการนำเงินสดหรือทรัพย์สินที่บริจาคมาพัฒนาให้วัดมีสาธารณสุขที่ดีขึ้น และการดำเนินชีวิต ของพระที่ดีขึ้น ดังนั้นการบริจาคจึงเป็นเครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้ อีกทั้งการบริจาคยังเป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือให้กับรัฐ ในส่วนที่รัฐยังไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือเป็นเครื่องมือที่ช่วยเหลือให้ทันต่อความต้องการของผู้รับบริจาค ซึ่งในบางครั้งรัฐเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรเอง อาจจะใช้เวลานานซึ่งไม่ทันต่อการแก้ไขปัญหา ตัวอย่างเช่น เมื่อต้นปี 2563 ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตโรคระบาด Covid-19 จะเห็นตามสื่อต่าง ๆ ว่าโรงพยาบาล มีหน้ากากอนามัยไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในการรักษาพยาบาล แต่ภาครัฐนั้นไม่สามารถจัดสรรหน้ากากอนามัยได้เพียงพอต่อความต้องการของโรงพยาบาลได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้ภาคเอกชนช่วยเหลือในการจัดหาหน้ากากอนามัยมาบริจาค เพื่อให้พอเพียงต่อความต้องการของโรงพยาบาล เป็นต้น ปัจจุบันรัฐบาลจึงได้เปิดโอกาสให้กับภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริจาคได้ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยอีกด้วย ในประเทศไทยมีผู้บริจาคทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ส่วนหนึ่งของการบริจาคมาจากผู้ที่บริจาคที่ต้องการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อหักลดหย่อนภาษี กับกรมสรรพากร เช่น การบริจาคเงินทั่วไปโดยบริจาคให้กับวัดวาอาราม สภากาชาดไทย หรือบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคมและโรงพยาบาลรัฐ อย่างไรก็ตามการบริจาคของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีประเด็นทางกฎหมายคือ ผู้ใดประสงค์จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้บริจาคที่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องบริจาคเป็นเงินสดเท่านั้น ไม่สามารถบริจาคเป็นทรัพย์สินได้ และหากจะยินยอม ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบริจาคเป็นทรัพย์สินได้ ยังไม่มีเกณฑ์ในการวัดมูลค่า ของทรัพย์สินเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ในการศึกษานี้ จะศึกษาประเด็นทางกฎหมายว่า ถ้ามีการบริจาคทรัพย์สินสำหรับ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะสามารถทำให้รัฐได้ประโยชน์จากการบริจาคทรัพย์สิน มากขึ้นกว่าที่จะยอมให้บริจาคเป็นเงินสดอย่างเดียว รวมถึงศึกษาการวัดมูลค่าของทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี


ปัญหาการกำหนดเงินได้พึงประเมินของบุคคลธรรมดาจากการจำหน่ายทรัพย์สิน: ศึกษากรณีบุคคลธรรมดาขายหุ้นอันได้มาโดยไม่มีค่าตอบแทน, สุธาสินี เนติวิวัฒน์ Jan 2019

ปัญหาการกำหนดเงินได้พึงประเมินของบุคคลธรรมดาจากการจำหน่ายทรัพย์สิน: ศึกษากรณีบุคคลธรรมดาขายหุ้นอันได้มาโดยไม่มีค่าตอบแทน, สุธาสินี เนติวิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากรกําหนดให้เงินได้พึงประเมินจากการ ขายหุ้นของบุคคลธรรมดา หมายถึง ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นเฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้ เกินกว่าที่ลงทุน ดังนั้น ในกรณีที่เป็นการขายหุ้นอันได้มาโดยไม่มีค่าตอบแทน ผู้ขายหุ้นจึงต้องนํา ผลประโยชน์ทั้งหมดที่ได้จากการขายหุ้นมาถือเป็นเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้เมื่อขายหุ้น อย่างไรก็ตาม ในขณะได้รับหุ้น ผู้ขายหุ้นถือว่ามีเงินได้พึงประเมินจากการได้รับหุ้นโดยไม่มี ค่าตอบแทนซึ่งจะต้องนํามาเสียภาษีด้วย จึงทําให้ผู้ขายหุ้นอาจต้องเสียภาษีซ้ําซ้อนจากเงินได้ พึงประเมินบนทรัพย์สินเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อได้รับหุ้นและเมื่อขายหุ้นออกไป จากการศึกษาพบว่า เพื่อให้เกิดเป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีควรกําหนดให้ผู้ขายหุ้นสามารถนํา ฐานของเงินได้พึงประเมินจากการรับโอนหุ้นเฉพาะส่วนที่ได้เสียภาษีไว้แล้ว มาถือเป็นต้นทุนเพื่อ คํานวณเงินได้พึงประเมินจากการขายหุ้นตามมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร และสามารถ นําเงินได้พึงประเมินที่ได้เสียภาษีจากการรับโอนไว้เฉพาะส่วนเกินจากราคาขายหุ้นหรือภาษีที่ได้เสีย ไปเกินกว่าภาษีที่ควรจะต้องชําระ มาหักออกจากเงินได้พึงประเมินหรือภาษีที่ต้องเสียเมื่อมีการขาย หุ้นได้นอกจากนี้ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าควรจะมีการกําหนดให้สามารถนําค่าใช้จ่ายใดๆที่ได้ จ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งหุ้นมาถือเป็นส่วนหนึ่งของเงินลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และควรมีการปรับแก้กฎหมายที่อาจเกี่ยวข้องเพื่อให้การปรับใช้กฎหมายเหมาะสมและเป็นธรรมมาก ขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาความไม่ชัดเจนในการกําหนดเงินได้พึงประเมินจากการขายหุ้นอันได้มาโดย ไม่มีค่าตอบแทนได้เพื่อช่วยหลีกเลี่ยงการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรอันจะส่งผลให้การ จัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรมีความยุติธรรมเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกด้วย


การศึกษาความเป็นไปได้ตามกฎหมายในการใช้โครงข่าย Blockchain กับระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์, กิติภูมิ ฉนานุกูล Jan 2019

การศึกษาความเป็นไปได้ตามกฎหมายในการใช้โครงข่าย Blockchain กับระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์, กิติภูมิ ฉนานุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การกำกับดูแลการแปลงสินทรัพย์ประเภทสิทธิบัตรเป็นหลักทรัพย์, ธันวา คว้าพงศ์ไพทูรย์ Jan 2019

การกำกับดูแลการแปลงสินทรัพย์ประเภทสิทธิบัตรเป็นหลักทรัพย์, ธันวา คว้าพงศ์ไพทูรย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิทธิบัตรเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่สามารถนำมาแปลงเป็นหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการจัดหาเงินทุน ของกิจการได้ตามพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 หรือพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อย่างไรก็ตาม แนวทางการกำกับดูแลการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ดังกล่าว ยังไม่เหมาะสมเพียงพอและอาจนำมาสู่ปัญหาทางกฎหมาย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการแปลงสิทธิบัตรเป็นหลักทรัพย์ในประเทศไทย อาทิ ความชัดเจนเกี่ยวกับนิยามของสินทรัพย์ การไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินอย่างแท้จริง การขาดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินมูลค่า หรือสภาพบุคคลของทรัสต์ เป็นต้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยและต่างประเทศ และมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการแก้ไขเพิ่มเติมและกำหนดมาตรการทางกฎหมายอื่น ๆ เพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่เหมาะสมเพียงพอของกฎหมายที่ใช้บังคับกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ เพื่อให้การแปลงสิทธิบัตรเป็นหลักทรัพย์เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การนำข้อสันนิษฐานแห่งการทุจริตมาใช้กับความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา, อัศวิน ลาภวิสุทธิสาโรจน์ Jan 2019

การนำข้อสันนิษฐานแห่งการทุจริตมาใช้กับความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา, อัศวิน ลาภวิสุทธิสาโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการนำข้อสันนิษฐานแห่งการทุจริตมาใช้บังคับกับความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา โดยศึกษาแนวคิดและความผิดเกี่ยวกับสินบนและข้อสันนิษฐานแห่งการทุจริตในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอแนะในการแก้ไขเพิ่มเติมความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยและมาตรการในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยจากข้อสันนิษฐาน ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะต้องถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์จนสิ้นสงสัยตามสมควรว่า เขาเป็นผู้กระทำความผิดจริงตามหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลบริสุทธิ์ แต่สำหรับความผิดเกี่ยวกับสินบนที่สร้างความเสียหายแก่สังคมอย่างร้ายแรงและมีความสลับซับซ้อน การยึดถือหลักการดังกล่าวอย่างเคร่งครัดอาจส่งผลให้ผู้กระทำความผิดอาศัยประโยชน์แห่งความสงสัยตามสมควรหลุดพ้นไปจากเงื้อมมือของกระบวนการยุติธรรมได้ การนำข้อสันนิษฐานแห่งการทุจริตที่ผลักภาระการพิสูจน์จากโจทก์ไปตกแก่จำเลย ย่อมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามความผิดเกี่ยวกับสินบน และเป็นมาตรการทางกฎหมายที่สามารถนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้นประเทศไทยจึงควรนำข้อสันนิษฐานแห่งการทุจริตมาใช้กับความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา และควรกำหนดมาตรการในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยจากข้อสันนิษฐาน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถป้องกันและปราบปรามความผิดเกี่ยวกับสินบนและสามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ในขณะเดียวกัน


ปัญหาการขอรับสิทธิประโยชน์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต, กุลนิษฐ์ จตุรงคโชค Jan 2019

ปัญหาการขอรับสิทธิประโยชน์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต, กุลนิษฐ์ จตุรงคโชค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผู้ประกอบการในประเทศไทยจากร้อยละ 99 ของวิสาหกิจไทยนั้นเป็น SMEs การจ้างงาน ของ SMEs มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 82 โดยสัดส่วนของ GDP ที่มาจาก SMEs เป็นจํานวนถึงร้อยละ 42 SMEs จึงเป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจที่สําคัญที่จําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ประเทศไทยจึงมี มาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากหลายหน่วยงาน ซึ่งมีเพียงสํานักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่มีการออกมาตรการพิเศษในการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพ การผลิตโดยให้สิทธิและประโยชน์ที่เป็นการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่มาตรการที่ส่งเสริมของ กรมส่งเสริมกลับมีหลักเกณฑ์และข้อปฎิบัติที่ไม่เป็นการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ สามารถได้เข้าถึงการสนับสนุนได้อย่างจริงจัง เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทําขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาการขอรับสิทธิประโยชน์ของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ตลอดจนศึกษา หลักเกณฑ์ที่เป็นข้อจํากัดในการขอรับสิทธิและประโยชน์ เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์และข้อปฎิบัติที่ เป็นอุปสรรคในการยื่นขอรับการสนันสนุนสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเพื่อ ประโยชน์ในการพิจารณาหลักเกณฑ์การยื่นขอของมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพการผลิตของกรมส่งเสริมการลงทุน จากการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเป็นหลักเกณฑ์ที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อ การยื่นขอรับการส่งเสริมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ส่งผลให้ไม่มีการส่งเสริมได้จริง และ ไม่เป็นไปตามนโยบาย ทําให้วิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อมไม่สามารถเข้ารับการสนับสนุนได้อย่าง ที่คาดหวัง เนื่องจากหลักเกณฑ์และข้อกําหนดการให้สิทธิและประโยชน์มีความยุ่งยากซับซ้อน และ เป็นหลักเกณฑ์เดียวกันกับวิสาหกิจขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ตอบสนองถึงข้อจํากัดและอุปสรรคของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมที่ต่างกัน เนื่องจากหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ การผลิตเป็นหลักเกณฑ์ที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการยื่นขอรับการส่งเสริม ส่งผลให้ไม่มีการส่งเสริมได้จริง ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้เขียนได้เสนอแนวทางแก้ไขโดยให้มีการแยกหลักเกณฑ์การ พิจารณาสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่างจากวิสาหกิจขนาดใหญ่ โดยลดหย่อนในการ จัดทําตัวชี้วัด ยกเว้นการจัดทําข้อมูลสนับสนุนเชิงเทคนิค และลดหย่อนหลักเกณฑ์การลงทุน เครื่องจักรที่เป็นอัตโนมัติบางส่วนได้ เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับการสนับสนุนอ ย่างจริงจังและเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยได้เติบโตเพื่อ ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจไทยได้มากขึ้น


แนวทางการกำกับดูแลสถานรับฝากสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย, กนิษฐา ธีรศรีศุภร Jan 2019

แนวทางการกำกับดูแลสถานรับฝากสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย, กนิษฐา ธีรศรีศุภร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจสถานรับฝากเลี้ยงสัตว์เป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปัจจัยส่วนหนึ่งเป็นเพราะสภาพโครงสร้างทางสังคมของประเทศไทยที่มี การเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ประชากรไทยนิยมเลี้ยงสัตว์ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาบทของกฎหมายในประเทศไทยที่มีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลธุรกิจสถานรับฝากเลี้ยงสัตว์ ในประเทศไทยแล้ว จะพบว่าธุรกิจสถานรับฝากเลี้ยงสัตว์เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเข้ามาก ากับ ควบคุมดูแล การก ากับควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยงยังเป็นไปในลักษณะของ การด าเนินธุรกิจแบบทั่วไป ซึ่งขัดแย้งกับลักษณะโดยธรรมชาติของธุรกิจสถานรับฝากเลี้ยงสัตว์ที่จะต้องมี มาตรฐานเฉพาะในการดูแลสัตว์เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของสัตว์ อีกทั้งเพื่อไม่เป็นการกระทบ ต่อสิทธิ์ของสัตว์ จากศึกษาเมื่อมาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศที่ท าการศึกษาคือประเทศญี่ปุ่นและ ประเทศสิงคโปร์ ทั้งสองประเทศจะมีกฎหมายเฉพาะที่ใช้ในการควบคุมดูแลธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยงโดย เฉพาะเจาะจง ผลดีของการมีกฎหมายที่ควบคุมดูแลธุรกิจสถานรับฝากเลี้ยงสัตว์เป็นการเฉพาะนี้น าไปสู่การ ควบคุมมาตรฐานในการดูแลสัตว์ให้มีความปลอดภัยและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตามมาตรฐานที่กฎหมาย ก าหนด รวมถึงตรงตามชนิดและประเภทของสัตว์ ยิ่งไปกว่านั้นทั้งประเทศญี่ปุ่นและประเทศสิงคโปร์ยังมี หน่วยงานเฉพาะที่เข้ามาควบคุมตรวจสอบการประกอบธุรกิจและการออกใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจ สถานรับฝากสัตว์เลี้ยง หน่วยงานเฉพาะเหล่านี้มีทั้งหน่วยงานในส่วนกลางและการกระจายอ านาจ ไปสู่หน่วยงานส่วนท้องถิ่นในการก ากับดูแลธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้กฎหมายทั้งสองประเทศจะ ให้ความส าคัญกับการอบรมผู้เป็นเจ้าของธุรกิจและพนักงานที่มีหน้าที่ในการดูแลสัตว์ให้มีความรู้ความสามารถ เฉพาะด้านในการดูแลสัตว์ รวมไปถึงการก าหนดสถานที่ที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงและเหมาะสมกับตัวสัตว์ มีการจัดท าแผนงานที่ชัดเจนในการดูแลสัตว์ ซึ่งเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้วกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นและ ประเทศสิงคโปร์พยายามออกแบบและก าหนดมาตรการให้สถานประกอบธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยง มีการดูแลสัตว์ให้มีมาตรฐานและส่งเสริมต่อสวัสดิภาพของสัตว์และสิทธิของสัตว์ขั้นพื้นฐาน ดังนั้นผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะว่าให้มีการบัญญัติกฎหมายเฉพาะในการใช้ควบคุมธุรกิจสถานรับฝาก สัตว์เลี้ยง โดยใช้แนวทางการบัญญัติกฎหมายของต่างประเทศมาบัญญัติเป็นกฎหมายเฉพาะและก าหนดให้มี หน่วยงานเฉพาะทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในการเข้าควบคุมดูแลธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยง ในประเทศไทย รวมไปถึงการควบคุมดูแลการละเมิดหรือการทารุณกรรมสัตว์อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการเกิด โรคติดต่ออีกทางหนึ่งด้วย เพื่อยกระดับมาตรฐานของสถานประกอบธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยง ในประเทศไทยให้ได้รับมาตรฐานตามกฎหมายสากลว่าการทารุณกรรมสัตว์และสวัสดิภาพของสัตว์


การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ : กรณีศึกษาการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้า หรือหากำไรที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม, รพีพร จงใจ Jan 2019

การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ : กรณีศึกษาการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้า หรือหากำไรที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม, รพีพร จงใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร เป็นกิจการที่อยู่ภายใต้บังคับของภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรที่มีลักษณะตามมาตรา91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3 ของรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เฉพาะกรณีที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดิน โดยความรับผิดในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะเกิดในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าว ซึ่งกรมที่ดินมีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรแทนกรมสรรพากรจากการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะข้างต้น จึงทําให้การประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็น ทางค้าหรือหากําไรที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดินไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น การตกลงยกสิ่งปลูกสร้างให้แก่เจ้าของที่ดินตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา การขายที่ดินตามหนังสือแจ้งการครอบครอง(ส.ค.1) การขายที่ดินโดยระบุในสัญญาซื้อขายว่าขายเฉพาะที่ดินหรือขายที่ดินเปล่าไม่รวมสิ่งปลูกสร้างและมีการขายสิ่งปลูกสร้างในภายหลัง หรือการขายหุ้นในบริษัทที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์เป็นต้น เมื่อไม่สามารถจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรได้ในทุกกรณี เพราะการให้ความสําคัญกับรูปแบบทางทะเบียน จึงทําให้เกิดการจัดเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรม ทําให้เกิดช่องว่างในการหลบหลีกหรือเลี่ยงภาษี และทําให้รัฐสูญเสียรายได้ จึงไม่ควรกําหนดความรับผิดในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้กับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เพื่อให้การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากกขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรได้ครอบคลุมในทุกกรณี


แนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสหากรรม รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย : กรณีศึกษาประเทศจีน, ปิยรัชต์ เจริญลาภ Jan 2019

แนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสหากรรม รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย : กรณีศึกษาประเทศจีน, ปิยรัชต์ เจริญลาภ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การค้นคว้าอิสระนี้มุ่งศึกษาแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายส่งเสริมการลงทุน ในอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย : กรณีศึกษาประเทศจีน ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาข้อจํากัดของมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตรถยนต์พลังงาน ไฟฟ้าในประเทศไทย (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายของประเทศจีนด้านการส่งเสริม การลงทุนภาคอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย และ (3) เพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมาย สําหรับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์รถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยโดยใช้วิธีการศึกษา เชิงเอกสาร (Documentary Research) ผลการศึกษาพบว่า ข้อจํากัดจากมาตรการทางกฎหมายไม่เอื้ออํานวยต่อการส่งเสริมการใช้รถยนต์ พลังงานไฟฟ้า เนื่องจากกฎหมายเกี่ยวกับภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่งผลให้รถยนต์ พลังงานไฟฟ้ามีราคาสูงกว่ารถยนต์พลังงานน้ํามัน ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ภาครัฐให้การส่งเสริมการลงทุนด้วยมาตรการและสิทธิพิเศษทางภาษีอากร ยังไม่เพียงพอต่อแข่งขัน เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการของประเทศจีน ประกอบกับข้อจํากัดความพร้อมของสิ่งอํานวยความสะดวก ได้แก่ สถานีเติมประจุไฟฟ้าที่ยังไม่เพียงพอและครอบคลุมในแต่ละพื้นที่ การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ มีน้ําหนักมากและราคาสูง ดังนั้นแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายควรทําให้ระดับราคารถยนต์ พลังงานไฟฟ้าที่จําหน่ายในประเทศไทยต่ําลง โดยพัฒนามาตรการทางกฎหมายภาษีศุลกากร และภาษีสรรพสามิต โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมายส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้ต้นทุนการผลิต ของภาคอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ด้วยการให้การส่งเสริมการการลงทุนแก่ผู้ผลิตในอุตสาหกรรม ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยแบบครบวงจร ให้ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร และหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล 10 ปีสําหรับการผลิตชิ้นส่วน อะไหล่ มอเตอร์ แบตเตอรี่ และเทียบเท่าการผลิตเพื่อส่งออก รวมถึงการส่งเสริม ภาคเอกชนที่เข้ามาลงทุนในกิจการสถานีบริการเติมประจุไฟฟ้าด้วย พิจารณาภาษีนําเข้าสําหรับรถยนต์ไฟฟ้า จากต่างประเทศ และพิจารณาลดหย่อนภาษีสรรพสามิตเหลือ 0% ใน 3 ปีแรก หรือตลอดอายุการใช้งาน ของรถยนต์เมื่อการพัฒนาแบตเตอรี่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม


การยกเว้นหนี้ภาษีให้แก่ลูกหนี้ภาษีอากรซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา ภายหลังศาลได้มีคำสั่งปลดจากการล้มละลายแล้ว, อภิชา กิตติวรารัตน์ Jan 2019

การยกเว้นหนี้ภาษีให้แก่ลูกหนี้ภาษีอากรซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา ภายหลังศาลได้มีคำสั่งปลดจากการล้มละลายแล้ว, อภิชา กิตติวรารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปลดจากการล้มละลายตามหลักกฎหมายล้มละลายนั้นมีวัตถุประสงค์หนึ่งที่สําคัญคือ เพื่อให้โอกาส ลูกหนี้ได้เริ่มต้นใหม่ทางการเงิน ซึ่งเมื่อพิจารณาในกฎหมายล้มละลายของไทยพบว่ากฎหมายได้กําหนดไว้ว่า บุคคลล้มละลายซึ่งถูกปลดจากล้มละลายแล้วจะต้องชําระหนี้เกี่ยวกับหนี้ภาษีอากรต่อไปจนครบถ้วน หนี้ภาษีที่คง ค้างนี้ขัดกับหลักการของกฎหมายล้มละลายที่ต้องการให้ลูกหนี้เริ่มต้นใหม่โดยแท้จริง นอกจากนี้เมื่อบุคคลธรรมดา ได้รับการปลดจากล้มละลาย หนี้ภาษีอากรไม่หลุดพ้นไปด้วย ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมของหน่วยภาษีระหว่าง บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล การที่ยังคงมีภาระหนี้ภาษีอากรอยู่นั้น ทําให้การเริ่มต้นใหม่ทางการเงินเป็นไปได้ยาก และลดแรงจูงใจในการประกอบอาชีพของลูกหนี้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหากับประเทศต่อไป รวมถึงการต้องรับผิดใน ภาษีอากรคงค้างภายหลังการปลดจากการล้มละลายของบุคคลธรรมดาที่สุจริตนั้น การให้ลูกหนี้รับภาษีอากรที่คง ค้างหนักเกินไปจึงอาจเป็นการลงโทษที่เกินสมควรอีกด้วย และอาจเพิ่มแรงจูงใจให้ลูกหนี้กระทําการหนีภาษี ดังนั้น จึงควรมีมาตรการที่จะช่วยยกเว้นภาระทางภาษีที่ไม่ขัดกับหลักการของกฎหมายล้มละลาย สร้าง ความเป็นธรรมระหว่างหน่วยภาษี และสร้างแรงจูงใจให้ผู้เสียภาษีเริ่มต้นธุรกิจใหม่ได้รวดเร็วขึ้น เพื่อให้รัฐมีโอกาส ได้จัดเก็บภาษีจากบุคคลที่ถูกปลดจากการล้มละลายได้ใหม่ ซึ่งจะสร้างรายได้ให้แก่รัฐมากขึ้น ผู้เขียนจึงได้นําเสนอ แนวทางในในการยกเว้นหนี้ภาษีอากรของต่างประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคน าดา มา ปรับใช้กับแนวทางของประเทศไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยการปรับลดจํานวนหนี้ภาษีอากรที่ไม่หลุดพ้นภายหลัง การปลดจากการล้มละลายให้เฉพาะลูกหนี้ที่สุจริต คือเมื่อลูกหนี้ได้รับการปลดจากการล้มละลายจะยกเว้นหนี้ภาษี เงินได้ทั้งจํานวนในหนี้ภาษีอากรที่ค้างชําระนานเกินกว่าระยะเวลา 2 ปี หรือ 5 ปี โดยอ้างอิงตามแนวทางการ ประเมินภาษีย้อนหลังของประมวลรัษฎากรตามมาตรา 19 โดยจะยกเว้นให้เฉพาะหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เท่านั้นโดยไม่ยกเว้นให้แก่ หนี้ภาษีทรัพย์สิน หนี้ภาษีสรรพสามิต หนี้ภาษีศุลกากร เนื่องจากหนี้ภาษีดังกล่าว สามารถบังคับชําระได้กับตัวทรัพย์ ส่วนหนี้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ไม่ยกเว้นเนื่องจากไม่ใช่หนี้ที่ ลูกหนี้ภาษีอากรก่อขึ้นแต่เป็นเงินที่ลูกหนี้เก็บมาจากบุคคลอื่นเพื่อนําส่งกรมสรรพากร และควรกําหนดเงื่อนไขที่ ลูกหนี้ได้รับยกเว้นภาระทางภาษีที่เหมาะสม เช่น ต้องได้ยื่นแบบฟอร์มภาษีเงินได้ให้กรมสรรพากรด้วยตัวเอง มาแล้วเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปีนับจากวันที่ถูกฟ้องล้มละลาย และในกรณีที่เป็นหนี้ภาษีที่ถูกประเมินเพิ่มนั้นลูกหนี้ ต้องได้ยื่นแบบให้สรรพากรประเมินโดยระยะเวลาผ่านมาเป็นเวลาอย่างน้อย 240 วัน รวมถึงกําหนดให้มีการจํากัด จํานวนครั้งของหนี้ภาษีที่ได้รับการปลดจากหนี้ภาษีอากร โดยไม่ให้รัฐเสียประโยชน์จนเกินควร นอกจากนั้นรัฐควร กําหนดมาตรการให้เจ้าหนี้กรมสรรพากรมีสิทธิในการระบุทรัพย์เหมือนเจ้าหนี้มีหลักประกันได้ โดยลูกหนี้จะได้รับ การปลดจากหนี้ภาษีเมื่อมีการบังคับชําระจากหลักประกันแล้ว ซึ่งเอกัตศึกษาฉบับนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบแล้ว พบว่า หากนํามาตรการเหล่านี้มาใช้ ก็จะทําให้บุคคลธรรมดาหลุดพ้นจากหนี้ภาษีอากรได้โดยที่รัฐสามารถเก็บภาษี อากรได้เพิ่มขึ้นด้วย


การปรับใช้กฎหมายราคาโอน: กรณีสำนักงานแห่งใหญ่ และสำนักงานสาขา, วรชัยมงคล โชติรัตนวีรกุล Jan 2019

การปรับใช้กฎหมายราคาโอน: กรณีสำนักงานแห่งใหญ่ และสำนักงานสาขา, วรชัยมงคล โชติรัตนวีรกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว ปัจจัยหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของรัฐ อาทิ การขจัดความซ้ำซ้อนของการจัดเก็บภาษี การปรับเพิ่มวงเงินให้บริษัทแม่ในประเทศไทยสามารถลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ และการเปิดเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เป็นต้น ซึ่งการลงทุนแบบไร้พรมแดนนี้ ผู้ประกอบการอาจลงทุนในรูปแบบบริษัทข้ามชาติ เช่น ตั้งเป็นนิติบุคคลรายใหม่ บริษัทร่วม บริษัทในเครือ เป็นต้น ในการลงทุนระหว่างประเทศนี้ผู้ประกอบการมักเลือกรูปแบบ และการจัดโครงสร้างการถือหุ้นเพื่อลดต้นทุนในทางภาษี และเลือกลงทุนในประเทศ ที่มีอัตราภาษีอากรต่ำ และให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สูง และมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนย้ายผลกำไร ในลักษณะการหลีกเลี่ยงภาษีมากยิ่งขึ้นเพื่อลดภาระภาษีให้ต่ำที่สุด เช่น การกำหนดราคาโอน (Transfer Pricing) ที่ผิดปกติ การเลือกอนุสัญญาภาษีซ้อนโดยบุคคลที่สาม (Treaty Shopping) หรือการโอนผลกำไรเข้าในดินแดนปลอดภาษี (Tax Haven) เป็นต้น สำหรับประเทศไทย กฎหมายภาษีอากรที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาโอน คือ คำสั่งกรรมสรรพากร ที่ ป.113/2545 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 47) พ.ศ. 2561 เรื่อง มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กัน (Transfer Pricing) ที่เพิ่งมีผลใช้บังคับ แม้ว่ากฎหมายไทยมีบทบัญญัติ เกี่ยวกับมาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กันก็ตาม แต่บทบัญญัติในพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 47) พ.ศ. 2561 มีความไม่ชัดเจนและเกิดปัญหาในการบังคับใช้ดังต่อไปนี้ 1. การตีความถ้อยคำในกฎหมายตามมาตรา 71 ทวิ เกี่ยวกับ “การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกัน” ในกรณีการเข้าร่วมทุนประเภทของกิจการร่วมค้า หรือกิจการค้าร่วมในธุรกรรมระหว่างประเทศ ของกลุ่มนิติบุคคล 2. การปรับใช้ราคาโอนสำหรับ สำนักงานสาขา (Branch) และสำนักงานแห่งใหญ่ (Head Office) ยังไม่มีบทบัญญัติใดให้กระทำได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงอาศัยช่องว่างทางกฎหมายดังกล่าว สร้างหน่วยภาษีในลักษณะสาขาเพื่อหลีกเลี่ยงภาระภาษีที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับหลักการตอบโต้ การหลีกเลี่ยงภาษีของต่างประเทศ พบว่าหลายๆ ประเทศ เช่นประเทศฮังการี และประเทศสิงคโปร์ ได้วางแนวทางพื้นฐานให้ครอบคลุมถึงการปรับใช้ราคาโอนสำหรับสำนักงานสาขา และสำนักงานแห่งใหญ่ โดยมีการสร้างมาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอน ไว้ทั้งในประมวลรัษฎากร และในอนุสัญญาภาษีซ้อน ที่ได้ทำความตกลงกับประเทศต่าง ๆ


มาตรการทางกฎหมายสำหรับการนำระบบหักลบกลบหน่วยอัตโนมัติมาใช้ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับภาคประชาชน, รัชพร คงวิจิตรวงศ์ Jan 2019

มาตรการทางกฎหมายสำหรับการนำระบบหักลบกลบหน่วยอัตโนมัติมาใช้ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับภาคประชาชน, รัชพร คงวิจิตรวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย มีการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นเชื้อเพลิง หลักในการผลิตไฟฟ้ามาเป็นเวลานานซึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิลเหล่านี้เป็นสาเหตุทําให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global warming) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) จึงทําให้มีแนวคิดใน การผลิตไฟฟ้าสําหรับอนาคต โดยมุ่งไปสู่การเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น และลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลง การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของรัฐบาลในการรับมือกับการ เปลี่ยนแปลงนี้ โดยมีการจัดทําแผน AEDP 2015 ที่มีเป้าหมายแผนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน แสงอาทิตย์ ณ. สิ้นปีพ.ศ. 2579 จะติดตั้งให้ได้รวม 6,000 เมกะวัตต์รัฐบาลได้เปิดโอกาสและให้การ สนับสนุนภาคครัวเรือนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยในระยะที่ 1 ได้สนับสนุนในรูปแบบ Self-Consumption และระยะที่ 2 ที่จะมีการเปิดเสรีไฟฟ้าแบบ Peer to Peer โดยเอกัตศึกษาเล่มนี้ ได้มุ่งศึกษาเฉพาะการสนับสนุนของ ภาครัฐในระยะที่ 1 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ในปัจจุบันประเทศไทยมีโครงสร้างกิจการไฟฟ้าเป็นแบบผู้ซื้อรายเดียว โดยรัฐเป็นผู้ผูกขาด กิจการไฟฟ้าในทุกขั้นตอน อํานาจในการกําหนดราคาและเงื่อนไขต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับภาครัฐแต่เพียง ผู้เดียวซึ่ง กกพ. ได้ออกประกาศ เชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งบนหลังคาสําหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย ฉบับที่ 2 พ.ศ.2563 เพื่อจัดหาและรับ ซื้อไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ขนาดกําลังการผลิตที่ติดตั้งไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (kWp) ต่อครัวเรือน ในปริมาณไม่เกิน 100 เมกะวัตต์ (MWp) เป็นเวลา 10 ปี โดยได้ดําเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2562 เป็นต้นมา ซึ่งให้การสนับสนุนในรูปแบบ Net billing with buyback ที่มีอัตรารับซื้อไฟฟ้า ส่วนเกิน ในราคาต่ํากว่าราคาขายปลีกไฟฟ้าเฉลี่ย ซึ่งการสนับสนุนในรูปแบบ Self-Consumption ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่รูปแบบการเรียกเก็บเงินสุทธิ(Net billing) และรูปแบบหักลบกลบ หน่วยอัตโนมัติ(Net metering) โดยพบว่ารูปแบบ Net metering นั้น สามารถสร้างแรงจูงใจและ ให้ผลตอบแทนแก่ครัวเรือนที่ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้มากกว่า จึงเป็นประเด็นที่มีความสําคัญที่จะทําการศึกษาต่อไปว่าการบังคับใช้กฎหมายในต่างประเทศ …


แนวทางการกำกับดูแลสถานประกอบกิจการบริการผู้สูงอายุภาคเอกชนในประเทศไทย, ฉัตรนภา เทิดสุขบดี Jan 2019

แนวทางการกำกับดูแลสถานประกอบกิจการบริการผู้สูงอายุภาคเอกชนในประเทศไทย, ฉัตรนภา เทิดสุขบดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สังคมผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกก าลังประสบปัญหาและต้องเตรียมมาตรการ เพื่อรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราการ เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์กันว่าอีกประมาณ 20 ปีผู้สูงอายุของประเทศไทยจะมีอัตราส่วน ประมาณ 40 ท าให้ธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิจัย พบว่ามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมดูแลสถานประกอบการที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุยังไม่มีมาตรการ ทางกฎหมายที่มีความชัดเจนเพื่อให้ธุรกิจบริการดูแลผู้สูงอายุมีมาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ เมื่อพิจารณาบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้ก าหนดมาตรการ ในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไว้อย่างชัดเจน แต่เมื่อพิจารณาในการออกกฎหมาย หรือกฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลกิจการดูแลผู้สูงอายุของประเทศไทยยังพบว่าประเทศไทยยังต้องมีการบัญญัติ กฎหมายที่มีความเฉพาะเจาะจงในการควบคุมดูแลสถานประกอบการที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุดังนั้นงานวิจัย ฉบับนี้จึงเสนอให้มีการก าหนดนโยบายที่ชัดเจนในการควบคุมกิจการที่เกี่ยวข้องกับดูแลผู้สูงอายุทั้งในส่วน ของภาครัฐและภาคเอกชนโดยการก าหนดมาตรฐานกลางที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุให้สถานประกอบการ ที่ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามและเป็นเงื่อนไขที่ส าคัญในการขออนุญาตประกอบธุรกิจรายการต่อใบอนุญาต โดยมุ่งเน้นที่การคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุและการดูแลผู้สูงอายุให้มีความปลอดภัยและได้รับการดูแลในระดับ ที่มีมาตรฐานสากล รวมไปถึงการน ามาตรการที่ส่งเสริมธุรกิจการดูแลผู้สูงอายุให้ได้รับการรับรองและ สร้างความเชื่อมั่นส าหรับผู้ใช้บริการทั้งคนไทยและชาวต่างชาติเพื่อให้กิจการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย มีประสิทธิภาพในการแบ่งเบาภาระกิจในการดูแลผู้สูงอายุและน ารายได้เข้าสู่ประเทศไทย เพื่อใช้ใน การแบ่งเบาภาระของรัฐในการดูแลผู้สูงอายุและพัฒนาระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป


ความรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม ศึกษากรณีคู่สมรสยื่นภาษีเงินได้ร่วมกัน, นาตยา เนตรแก้ว Jan 2019

ความรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม ศึกษากรณีคู่สมรสยื่นภาษีเงินได้ร่วมกัน, นาตยา เนตรแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 57 ฉ ได้กำหนดให้คู่สมรสมีสิทธิที่จะเลือกยื่นภาษีแยกต่างหากจากกันหรือยื่นภาษีร่วมกันได้ เพื่อให้คู่สมรสเลือกวิธีการยื่นในทางที่เป็นประโยชน์แก่ตนมากที่สุดแต่หากเป็นกรณีที่คู่สมรสเลือกยื่นภาษีร่วมกัน คู่สมรสจะต้องร่วมรับผิดในหนี้ภาษีอากรค้างชำระที่เกิดขึ้นจากการยื่นภาษีร่วมกันโดยสิ้นเชิง (Strict Liability) ทั้งนี้ เมื่อคู่สมรสต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ภาษีอากรค้างชำระที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วมทำให้เกิด ความไม่เป็นธรรมต่อคู่สมรสที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดภาษีค้างชำระนั้นและส่งผลให้คู่สมรสต้องร่วมรับผิดในเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มที่เกิดขึ้น อีกทั้ง การร่วมยื่นภาษีเงินได้ร่วมกันยังทำให้คู่สมรสอาจตกเป็นผู้กระทำความผิดร่วมกันในความผิดอาญาในทางภาษีได้ สร้างความไม่ชัดเจนว่าคู่สมรสจะถือว่ามีการกระทำความผิดร่วมกันหรือไม่ เนื่องจากมีการลงลายมือชื่อร่วมกันซึ่งอาจถือได้ว่ามีการกระทำร่วมกัน ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรให้เปิดโอกาสให้คู่สมรสสามารถขอบรรเทาความรับผิดทางแพ่งได้ในกรณีที่ตนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดภาษีค้างชำระ และบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของคู่สมรสว่าจะต้องถือว่าคู่สมรสที่ยื่นภาษีร่วมกันไม่มีส่วน


ความรับผิดในคดีภาษี : กรณีองค์ประกอบภายใน, จุฑามาศ บุญมี Jan 2019

ความรับผิดในคดีภาษี : กรณีองค์ประกอบภายใน, จุฑามาศ บุญมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความรับผิดในคดีภาษีเกิดจากการที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากร อันประกอบไปด้วยความผิดทางแพ่งและอาญา ซึ่งล้วนแล้วแต่กระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ และทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดเป็นอย่างมาก ดังนั้น ในการพิจารณาคดีภาษีอากร จึงต้องมีการพิจารณาองค์ประกอบความรับผิด โดยยึดตามหลักกฎหมายที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษีอย่างไรก็ดี ในการพิจารณาความรับผิดทางแพ่งภายใต้ประมวรัษฎากร มิได้มีการพิจารณาถึงองค์ประกอบภายในแต่อย่างใด ซึ่งเป็นการนำหลักทฤษฎีความรับผิดโดยเด็ดขาดมาใช้ จึงไม่สอดคล้องกับองค์ประกอบภายในของผู้เสียภาษี ในส่วนของความรับผิดทางอาญา มีการบัญญัติถ้อยคำเพื่อใช้ในการพิจารณาองค์ประกอบภายในที่แตกต่างกัน และผู้กระทำความผิดไม่สามารถยกความไม่รู้กฎหมายขึ้นเป็นข้อแก้ตัวได้ แม้ในความเป็นจริงประชาชนอาจไม่รู้ถึงกฎหมายเช่นว่านั้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร โดยให้มีการพิจารณาองค์ประกอบภายในและกำหนดโทษให้สอดคล้องกับองค์ประกอบภายในในความรับผิดทางแพ่ง และใช้เพียงถ้อยคำเดียว คือ "เจตนา" ในการพิจารณาองค์ประกอบภายในและกำหนดให้ผู้เสียภาษีสามารถยก


ปัญหาการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ: ศึกษากรณีการให้กู้ยืมเงินระหว่างบริษัทในเครือ, อภิชญา ชยวัฑโฒ Jan 2019

ปัญหาการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ: ศึกษากรณีการให้กู้ยืมเงินระหว่างบริษัทในเครือ, อภิชญา ชยวัฑโฒ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การอุดช่องว่างกฎหมายภาษีอากร, ธีรพัฒน์ สงละออ Jan 2019

การอุดช่องว่างกฎหมายภาษีอากร, ธีรพัฒน์ สงละออ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการบริหารจัดการทรัพย์ประเภทหลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, โชติวรรณ นฤเทพ Jan 2019

ปัญหาการบริหารจัดการทรัพย์ประเภทหลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, โชติวรรณ นฤเทพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้เป็นการศึกษาวิธีการเก็บรักษาและการบริหารจัดการทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออาจถูกยึดในคดีฟอกเงิน โดยเฉพาะทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่จับต้องไม่ได้ (financial asset) แต่มีราคามูลค่า โดยทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์นี้มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างจากทรัพย์สินที่อาจจับต้องได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียม ยานพาหนะต่าง ๆ เครื่องประดับหรือเงินสด นอกจากนี้ ยังสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามระดับความเสี่ยงและระดับของผลตอบแทนที่เป็นไปได้ด้วย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันการกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารทรัพย์ที่ถูกยึดในคดีฟอกเงินนั้น ได้กำหนดไว้ใช้กับทรัพย์หลายประเภทไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือกิจการ หรือทรัพย์ที่เป็นสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่ถูกยึดหรืออาจถูกยึดในคดีฟอกเงินได้ แต่สำหรับทรัพย์ที่เป็นหลักทรัพย์นั้นซึ่งเป็นทรัพย์ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวกลับไม่มีการกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารจัดการดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ในกรณีทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่อาจนำทรัพย์สินดังกล่าวออกบริหารโดยให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทรัพย์สินไปดูแลและใช้ประโยชน์ เช่น นำออกให้เช่า หรือในกรณีทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ที่หากเก็บไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นก็อาจนำออกขายทอดตลาดตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะได้ตัวเงินมาเก็บไว้ในกองทุนการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเพื่อรอคำสั่งศาลได้ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพย์สินที่เป็นหลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเยียวยาผู้เสียหายหรือสามารถส่งคืนให้แก่รัฐได้อย่างสูงสุด จึงควรกำหนดวิธีการในการบริหารจัดการทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์เป็นการเฉพาะให้แยกต่างหากจากหลักทรัพย์ประเภทอื่น รวมทั้งวิเคราะห์ความเสี่ยงของหลักทรัพย์แต่ละชนิดเพื่อกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารจัดการที่เหมาะสมกับลักษณะของหลักทรัพย์แต่ละประเภท


แนวทางการเรียกคืนทรัพย์สินตามหลักลาภมิควรได้ : ศึกษากรณีการคืนภาษีอากร, พรชนก ศิริสร้างสุข Jan 2019

แนวทางการเรียกคืนทรัพย์สินตามหลักลาภมิควรได้ : ศึกษากรณีการคืนภาษีอากร, พรชนก ศิริสร้างสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายและหากได้ชําระค่าภาษีอากรไปแล้ว ต่อมาพบว่าตนนั้น ได้ชําระภาษีเกินไปกว่าที่ตนจะต้องเสีย หรือเมื่อชําระภาษีไปแล้วภายหลังพบว่าตนไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ภาษี กฎหมายก็กําหนดให้มีการคืนภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี ซึ่งการ ที่รัฐจะดําเนินการเก็บภาษีได้นั้นจะต้องมีบทบัญญัติกําหนดไว้ชัดแจ้งให้มีอํานาจกระทําได้ดังที่กล่าว ข้างต้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติให้รัฐนําเงินที่ผู้เสียภาษีชําระไว้เกินหรือไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีไปใช้จ่ายใน การบริหารประเทศได้ ดังนั้นรัฐจึงต้องคืนเงินค่าภาษีอากรดังกล่าวให้แก่ผู้เสียภาษี อย่างไรก็ตามบทบัญญัติกฎหมายภาษีอากรนั้นยังไม่ครอบคลุมและไม่สามารถนํามาปรับใช้ได้ ในทุกๆกรณี ทําให้ต้องมีการตีความกฎหมายซึ่งโดยหลักแล้วการตีความกฎหมายนั้นจะต้องตีความ โดยเคร่งครัด และหากตัวบทกฎหมายนั้นไม่ชัดเจน สามารถตีความได้หลายนัย ก็จะต้องตีความไป ในทางที่เป็นคุณหรือประโยชน์แก่ผู้เสียภาษี แต่ก็มีบางกรณีที่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีหลายๆคดีนั้น มีข้อเท็จจริงคล้ายคลึงกันแต่มีการตีความและนําหลักกฎหมายมาปรับใช้แตกต่างกัน เช่น นําหลัก กฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้มาปรับใช้ การปรับใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 193/31 และนําหลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิติดตามเอาคืนมาปรับใช้ ทําให้เกิดความ สับสนในการปรับใช้กฎหมายว่าการตีความกฎหมายอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุดและเป็นคุณหรือ ประโยชน์แก่ผู้เสียภาษี โดยเฉพาะบทบัญญัติในเรื่องการคืนภาษีอากร เนื่องจากตามประมวลรัษฎากรนั้นไม่ได้มีบทบัญญัติที่ชัดเจนว่าหากเกิดกรณีที่รัฐคืนภาษี อากรให้กับเอกชนไปโดยผิดพลาดแล้วจะต้องมีหลักเกณฑ์อย่างไร จึงทําให้ต้องมีการตีความและ ปรับปรุงกฎหมายโดยนําหลักกฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้มาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาในกรณีดังกล่าว


มาตรการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบตามหลักจำกัดสิทธิประโยชน์ (Limitation On Benefits) ของประเทศสหรัฐอเมริกา, อัญชิสา คงงาม Jan 2019

มาตรการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบตามหลักจำกัดสิทธิประโยชน์ (Limitation On Benefits) ของประเทศสหรัฐอเมริกา, อัญชิสา คงงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาษีอากรเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการอย่างหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจจึงพยายามหาวิธีการเพื่อให้กิจการของตนเสียภาษีอากรน้อยที่สุดหรือไม่จําต้องเสียภาษีอากรเลยการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบ เป็นวิธีการที่ถูกใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางภาษีส่งผลให้นานาประเทศสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่รัฐควรจะได้รับมหาศาล โดยประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่เริ่มสนใจปัญหาการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนโดยมิชอบ และหามาตรการเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว ซึ่งหลักจํากัดสิทธิประโยชน์เป็นมาตรการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเลือกใช้มาเป็นระยะเวลายาวนาน และเชื่อว่าสามารถจัดการกับปัญหาการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวัตถุประสงค์ของหลักจํากัดสิทธิประโยชน์มีขึ้นเพื่อรับมือกับธุรกรรมบางประเภท อันเป็นมาตรการเฉพาะว่าด้วยการต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีอากร ทําให้หลักจํากัดสิทธิประโยชน์มีความชัดเจน แน่นอน จัดเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการวางแผนภาษีที่เกิดขึ้นใหม่ได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาพบว่าหลักการจํากัดสิทธิประโยชน์เป็นหลักการที่ประเทศไทยสมควรรับมาเป็นบทบัญญัติหนึ่งในอนุสัญญาภาษีซ้อน ด้วยเหตุนี้จึงจําเป็นต้องศึกษาถึงหลักเกณฑ์และแนวทางการบังคับใช้รวมถึงความมีประสิทธิภาพจากการบังคับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการนําหลักการจํากัดสิทธิประโยชน์มาปรับใช้ในประเทศไทยต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ


แนวทางการตัดจำหน่ายและคำนวณค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อย (Low-Value Assets) เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล: ศึกษากฎหมายประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์, ตรีรัช ปรีชาบริสุทธิ์กุล Jan 2019

แนวทางการตัดจำหน่ายและคำนวณค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อย (Low-Value Assets) เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล: ศึกษากฎหมายประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์, ตรีรัช ปรีชาบริสุทธิ์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการแก้ไขปัญหาของประมวลรัษฎากรไทยในปัจจุบันที่ไม่มี ความยืดหยุ่นในหลักเกณฑ์ของการตัดจําหน่ายและการคํานวณค่าเสื่อมของสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อย โดยศึกษาหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวของกฎหมายของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งมีการกําหนด ในกฎหมายอย่างชัดเจนและเป็นการช่วยลดภาระแก่ผู้ประกอบการในการปรับปรุงรายการเพื่อ คํานวณกําไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อันสอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีในเรื่อง ความ ยืดหยุ่นและหลักการบริหารที่ดี จากการศึกษาพบว่า ประมวลรัษฎากรไทยยึดถือในหลักกรรมสิทธิ์และหลักประโยชน์ใช้สอย เท่านั้น โดยยังไม่มีบทบัญญัติใดอนุโลมให้ปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปในหลักความมี นัยสําคัญ จึงทําให้ยังมีประเด็นปัญหาที่สําคัญในการตัดจําหน่ายและคํานวณค่าเสื่อมราคาของ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยอยู่ 3 ประการ คือ (1) ประมวลรัษฎากรไม่มีหลักเกณฑ์ข้อผ่อนปรนสําหรับ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยเฉกเช่นเดียวกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป (2) แนวปฏิบัติของกรมสรรพากร ไม่สะท้อนความเป็นจริงของการมีอยู่ของทรัพย์สิน และ (3) ต้นทุนในการปรับปรุงรายการในการ คํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามเงื่อนไขการคํานวณกําไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม) เกี่ยวกับรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน อาจจะสูงเกินกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติให้ ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร ซึ่งปัญหาทั้ง 3 ประการนี้ ถือเป็นการสร้างภาระเกินจําเป็นแก่ ผู้ประกอบการและยังไม่สอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับหลักการเกณฑ์การตัดจําหน่ายและการคํานวณค่าเสื่อมราคาของ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ พบว่ากฎหมายของทั้ง 2 ประเทศมีการ กําหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจน รวมทั้งมีตัวอย่างการคํานวณและใช้สิทธิอย่างละเอียด ซึ่งเป็นการช่วยอํานวยความสะดวกและเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการในการคํานวณและตัด จําหน่ายค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรนําแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้ เพื่อเป็นการพัฒนาหลักเกณฑ์ในประมวลรัษฎากรไทยให้สอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีและ อํานวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางในการนําหลักเกณฑ์ของต่างประเทศมาปรับใช้ในประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาทั้ง 3 ประการที่กล่าวมาข้างต้น โดยผู้เขียนเห็นว่าวิธีการดังกล่าวมีความเหมาะสมและ ควรปรับปรุง สามารถประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้ ซึ่งจะทําให้เกิดความชัดเจนในประมวลรัษฎากร ไทย และเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้ประกอบการ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใน สินทรัพย์ใหม่ของกิจการ และช่วยให้กระแสเงินสดมีความคล่องตัวมากขึ้น


การใช้มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรมแบบยั่งยืน, พสิษฐ์ เจนดิษฐการ Jan 2019

การใช้มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรมแบบยั่งยืน, พสิษฐ์ เจนดิษฐการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รูปแบบการทำเกษตรกรรมในปัจจุบันเพื่อตอบสนองภาคอุตสาหกรรมและระบบทุนนิยมในหลายทศวรรษที่ผ่านมา เช่น เกษตรกรรมเชิงเดี่ยวและเกษตรกรรมแบบใช้สารเคมีทางการเกษตร ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเศรษฐกิจ จนมิอาจตอบโจทย์ความยั่งยืนในระยะยาวได้ เกษตรกรรมแบบยั่งยืน (Sustainable Agriculture) เป็นระบบเกษตรกรรมที่สร้างความสมดุลระหว่าง สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเศรษฐกิจ คือ การทำเกษตรกรรมที่ต้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติและความสมดุลของระบบนิเวศควบคู่กันโดยไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตร ในขณะเดียวกัน ก็สร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ และเอื้ออำนวยให้สามารถใช้ทรัพยากรหรือภูมิปัญญาในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาจากการทำเกษตรกรรมในปัจจุบัน และช่วยยกระดับรายได้ของเกษตรกร โดยมีรูปแบบที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป 6 รูปแบบ ได้แก่ เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรธรรมชาติ วนเกษตร เกษตรผสมผสาน และไร่หมุนเวียน ในปัจจุบัน ประเทศไทยก็กำลังเผชิญกับปัญหาจากการทำเกษตรกรรมที่ไม่มีความยั่งยืน แต่อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติกฎหมายส่งเสริมเป็นการเฉพาะ คือ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ. …. โดยร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวมีการกำหนดให้ใช้มาตรการส่งเสริมทางภาษี แต่ยังไม่ได้ระบุแนวทางที่เป็นรูปธรรมและชัดเจน รวมถึงยังไม่มีระบบงานรับรองมาตรฐานเกษตรกรรมแบบยั่งยืน ซึ่งจะเป็นระบบที่เชื่อมข้อมูลระหว่างภาครัฐและเกษตรกรให้สามารถใช้มาตรการส่งเสริมได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย และโครงสร้างภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรกรรมในประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีการส่งเสริมผลผลิตการเกษตรบางประเภท เช่น ข้าวและผลผลิตที่ไม่ได้แปรรูป แต่ก็ไม่เป็นธรรม ขาดความยืดหยุ่นและมีข้อจำกัดอยู่หลายประการจนไม่ส่งเสริมให้เกิดเกษตรกรรมแบบยั่งยืน ดังนั้น จึงควรหาแนวทางที่เหมาะสมในการใช้มาตรการเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรมแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดยเฉพาะมาตรการทางภาษี ซึ่งเป็นมาตรการที่งานศึกษาฉบับนี้มุ่งเน้นเป็นสำคัญ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ของรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อนำมาปรับใช้ในประเทศไทย


การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อลดปัญหาการปล่อยฝุ่นละออง Pm 2.5, พรนภา สีมามหรรณพ Jan 2019

การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อลดปัญหาการปล่อยฝุ่นละออง Pm 2.5, พรนภา สีมามหรรณพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในประเทศไทย และศึกษามาตรการทางภาษีเพื่อลดปัญหา PM 2.5 ซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศของประเทศญี่ปุ่น ที่มีการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยคํานึง ถึงองค์ประกอบทั้งกระบวนการผลิต การจัดส่ง การจําหน่าย ประกอบกับมีการบันทึกปริมาณ ค่าฝุ่น และปรับลดเพดานมาตรฐาน PM 2.5 มาอย่างต่อเนื่อง ทําให้มีปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 น้อยลงเป็นจํานวนมาก นับว่าเป็นประเทศที่สามารถพัฒนาภาคอุตสาหกรรมควบคู่ไปกับการรักษา สภาพแวดล้อมเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เป็นปัญหามลพิษที่สําคัญ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่มาตรการทางกฎหมายที่ใช้บังคับในประเทศไทย ยังไม่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ประกอบกับมีการบังคับใช้กฎหมาย โดยยึดถือหลักการบังคับและควบคุม และขาดมาตรการที่สร้างแรงจูงใจให้กับภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งปัจจุบันประเทศไทย ได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกิจการบางประเภทเท่านั้น จึงไม่อาจจูงใจให้ผู้ประกอบการทุกภาคส่วน หันมาช่วยกันบรรเทาความรุนแรงของปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะมีมาตรการทางกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 แล้ว ยังได้นํามาตรการทางภาษีมาใช้สร้างแรงจูงใจ ให้ประชาชน ผู้ประกอบการต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการลดการก่อฝุ่นละออง PM 2.5 อย่างการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีการยกเว้นอัตราภาษีการหักรายจ่ายที่เกิดจากกิจกรรมใดๆ ที่ช่วยลดการปล่อยฝุ่นได้มากกว่าที่จ่ายจริง ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการนําแนวทางมาตรการทางภาษี ของประเทศญี่ปุ่นมาปรับใช้กับการลดปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ในประเทศไทยโดยครอบคลุม ทุกภาคส่วน เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินธุรกิจ ที่จะส่งผลให้เกิดการลดฝุ่นละออง PM 2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริม E-Sport ในประเทศไทย, ณัฐรดา ทวีวัฒน์ Jan 2019

มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริม E-Sport ในประเทศไทย, ณัฐรดา ทวีวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport เป็นกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเล่นได้ทุกเพศ ทุกวัย เป็นการแข่งขันบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้เล่น ทั้งในประเภทบุคคลและประเภททีม พัฒนาต่อยอดมาจากการเล่นเกมออนไลน์มาเป็นการเล่นเกมเพื่อแข่งขันหาผู้ชนะอย่างเป็นทางการ โดยมีการแข่งขันตามกฎและรูปแบบการเล่นของแต่ละเกม กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport เป็นกีฬาที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและมีการเติบโตอย่างอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ สำหรับประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างเห็นได้ชัดและคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 10-12 ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งความนิยมในกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport ที่เป็นการแข่งขันระหว่างผู้เล่นทั้งในและต่างประเทศจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยต่อยอดและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเกมส์เข้ากับภาคธุรกิจอื่น ๆ และด้วยมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการพัฒนาเกมออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน และการพัฒนาเกมในกลุ่มของผู้ประกอบการไทยที่มีจำนวนมากขึ้นกว่าในอดีต รวมถึงเงินลงทุนจากภาคเอกชนที่ช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้ขยายตัวต่อเนื่อง การเติบโตที่รวดเร็วของวงการ E-Sport ทำให้เกิดสายอาชีพใหม่มากมาย สถาบันการศึกษาหลายแห่งก็เริ่มให้ความสนใจและส่งเสริมให้มีการเปิดสอนในสาขาวิชาเกี่ยวกับ E-Sport อีกด้วย เช่น E-Sport Game Study เป็นวิชาเลือกเสรี ซึ่งสอนเกี่ยวกับวงการ E-Sport ที่เน้นในการทำความเข้าใจกับสายงานและอาชีพต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม เพื่อปั้นบุคลากรรองรับวิชาชีพด้านนี้และตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่งคาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการเติบโตของภาพรวมธุรกิจ E-Sport เป็นต้น E-Sport จึงเป็นอุตสาหกรรมที่จะเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมเกมของไทยจากประเทศผู้ใช้งานมาเป็นผู้ผลิตและแข่งขันเกมในระดับสากลต่อไปด้วย และจากปรากฏการณ์อินเทอร์เน็ตที่มีผู้ใช้อย่างแพร่หลาย กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport สามารถแข่งขันทางออนไลน์ได้ ทำให้มีการจัดการการแข่งขันอย่างเป็นทางการที่มีทั้งเงินรางวัลและรูปแบบการแข่งขันทั้งแบบฤดูกาลและการแข่งแบบ “Tournament” มากขึ้นทุกปี ดังนั้น เมื่อตลาดมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นโอกาสให้องค์กรต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุน เป็นการพัฒนา และส่งเสริมกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี จากข้อมูลทั้งหมดสามารถกล่าวได้ว่า กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport ของประเทศไทยมีนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จอยู่เช่นเดียวกันกับต่างประเทศ แต่ยังถือว่าเป็นความสำเร็จที่เล็กน้อย ถ้าเทียบกับนักกีฬาอาชีพ E-Sport ของต่างประเทศ รวมถึงขนาดของอุตสาหกรรม E-Sport ในประเทศไทยเช่นกัน ถึงแม้จะมีรายการแข่งขันระดับใหญ่และการจัดงานนิทรรศการของกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport ในประเทศเกิดขึ้นบ้างแต่ก็ยังไม่สามารถเทียบได้กับกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport ในต่างประเทศ แม้ว่าภาครัฐยังไม่สนับสนุนกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport มากพอแต่ทีมกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport ของไทยก็สามารถก้าวมาเป็นที่รู้จักในวงการ E-Sport ของโลกจำนวนหนึ่ง ได้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งในฐานะทีมชาติและในฐานะทีมอิสระรวมถึงได้รับรางวัลชนะเลิศบางรายการในเวทีนานาชาติ จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าวงการ E-Sport ของประเทศไทยสามารถสร้างชื่อเสียงและรายได้ให้กับประเทศได้หากได้รับการผลักดันอย่างจริงจัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้บรรจุให้กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport เป็นกีฬาที่สามารถจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาได้ตาม พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อความสะดวกและสามารถส่งนักกีฬาไปแข่งขันต่างประเทศได้ โดยสมาคมอีสปอร์ตแห่งประเทศไทยมีหน้าที่กำหนดข้อบังคับ นโยบาย คุณสมบัติของนักกีฬา สำหรับการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ E-Sport ตามเงื่อนไขการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมฯ …


ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากการบังคับใช้ พระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562, พงษ์ศักดิ์ วชิรศักดิ์พานิช Jan 2019

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากการบังคับใช้ พระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562, พงษ์ศักดิ์ วชิรศักดิ์พานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติทรัพย์ อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 ด้วยวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลเอกสาร ตำราวิชาการที่ เกี่ยวข้อง บทความ งานวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับหลักการส าคัญ แนวความคิดทางกฎหมาย ความ เป็นมา และมาตรการแก้ไขข้อจำกัดเรื่อง “การเช่าทรัพย์สิน” ของกลุ่มประเทศในระบบกฎหมาย Civil Law, กลุ่ม ประเทศในระบบกฎหมาย Common Law และประเทศไทย เพื่อน ามาวิเคราะห์ถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ และ เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องต่างๆ อันจะส่งผลให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 มี ความเหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพได้อย่างสูงสุดในทางความเป็นจริง จากการศึกษาพบว่า นอกเหนือจากผลกระทบในเชิงบวกที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติทรัพย์ อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม เช่น ก่อให้เกิดการลงทุน และการจ้างงานในธุรกิจ พัฒนาที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์มากขึ้นแล้วนั้น การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆในทาง ปฏิบัติได้เช่นกัน อาทิปัญหาเรื่องการเอื้อประโยชน์แก่นักลงทุนต่างชาติที่อาจอาศัยช่องว่างของกฎหมายเพื่อไม่ให้ ต้องนำเงินของตนเองเข้ามาลงทุนในประเทศไทย หรือปัญหาเรื่องการที่จะต้องปรับเปลี่ยนระบบการพิจารณา อนุมัติสินเชื่อเพื่อการจ านองทรัพย์อิงสิทธิของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินทั่วทั้งประเทศ หรือปัญหาเรื่อง การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิที่ไม่เหมาะสม และมีอัตราสูงกว่าค่าธรรมเนียม ของการทำนิติกรรมในประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิการเช่า เป็นต้น ซึ่งประเด็น ปัญหาต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นปัจจัยส าคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจ และการตัดสินใจของบรรดานักลงทุนได้ว่า ตนควรที่จะนำทรัพย์สินไปจดทะเบียนก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิตามกฎหมายฉบับนี้ต่อไปหรือไม่ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้แล้ว ก็ ย่อมส่งผลให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่สัมฤทธิผลสมดังเจตนารมณ์ของรัฐซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายแต่ อย่างใด ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะแนวทางของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไว้ว่า รัฐ หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะต้องด าเนินการเร่งออกกฎหมายล าดับรองในประเภทต่างๆ เพื่อก าหนดหลักเกณฑ์ไว้ ให้ชัดเจนว่า ให้ผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิที่เป็นนักลงทุนต่างชาติจะต้องนำเงินลงทุนขั้นต่ าเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าที่ กฎหมายลำดับรองกำหนดไว้มาใช้ในการลงทุนเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์อิงสิทธิให้เสร็จสิ้นเสียก่อนในขั้นแรก ก่อนที่จะได้มีการนำเอาทรัพย์อิงสิทธิไปตราเป็นหลักประกันการช าระหนี้ด้วยวิธีการจดทะเบียนจำนองไว้กับ สถาบันการเงิน หรือธนาคารพาณิชย์ในล าดับถัดไป หรือให้ปรับเปลี่ยนแนวทางการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเพื่อการ จดทะเบียนจำนองทรัพย์อิงสิทธิของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ทุกฝ่ายปฏิบัติร่วมกัน หรือให้ปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมของการรังวัดแบ่งแยกที่ดิน และ/หรือค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนก่อตั้ง ทรัพย์อิงสิทธิให้มีจำนวนเท่ากับ หรือ น้อยกว่าอัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิการเช่า เป็นต้น …


ปัญหาการจัดเก็บภาษีจากธุรกิจการให้บริการภาพยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ในประเทศไทย, อภิญญา ธัมมวิจยะ Jan 2019

ปัญหาการจัดเก็บภาษีจากธุรกิจการให้บริการภาพยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ในประเทศไทย, อภิญญา ธัมมวิจยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีความเร็วอินเทอร์เน็ตทำให้การดูภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือการดูหนังแบบ Streaming ได้รับความนิยมอย่างมากโดยมีการคิดค่าบริการเป็นลักษณะของค่าบริการแบบรายเดือน ซึ่งผู้ให้บริการที่เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย คือ Netflix โดยรูปแบบธุรกิจของผู้ให้บริการภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์นั้นจะไม่ได้มีการจัดตั้งเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย ไม่มีสถานประกอบการหรือตัวแทนในไทย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการให้บริการหรือการรับชำระค่าบริการ จะกระทำการโดยบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศทั้งหมด คือเมื่อผู้ใช้บริการจะติดต่อสอบถามก็จะใช้การสื่อสารด้วยอีเมลหรือระบบสอบถามอัตโนมัติผ่านทางหน้าเว็บไซต์ การชำระค่าบริการก็เป็นการชำระผ่านช่องทางออนไลน์อย่างเช่น บัตรเครดิต หรือ ช่องทางออนไลน์อื่นๆ ดังนั้นด้วยรูปแบบธุรกิจแล้ว ทำให้ผู้ให้บริการภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์ไม่จำเป็นต้องมีสถานประกอบการในประเทศไทย และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นช่องว่างทางกฎหมายที่ทำให้รัฐบาลไม่สามารถเก็บภาษีใดๆ จากค่าบริการรายเดือนที่ผู้ใช้บริการซึ่งอยู่ในประเทศไทยและได้ใช้บริการในไทยที่ชำระให้แก่ผู้ให้บริการภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งมีสถานประกอบการอยู่ในต่างประเทศ จึงเป็นเหตุที่เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ธุรกิจที่คล้ายกันอย่างเช่นโรงภาพยนตร์ที่เสียภาษีอย่างถูกต้อง ยิ่งไปกว่านั้น การให้บริการภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์นั้นกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงมีการเติบโตขยายจำนวนผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากจึงแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลได้สูญเสียภาษีที่เก็บไม่ได้เป็นจำนวนมาก และรวมถึงในอนาคตด้วยถ้ายังไม่สามารถที่จะหาแนวทางในการจัดเก็บภาษีจากค่าบริการภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้


แนวทางการกำกับดูแลรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทย : กรณีศึกษาอัตราค่าโดยสารรถยนต์สามล้อ, สุพจน์ บุญวิบูลย์ Jan 2019

แนวทางการกำกับดูแลรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทย : กรณีศึกษาอัตราค่าโดยสารรถยนต์สามล้อ, สุพจน์ บุญวิบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษา เรื่อง “แนวทางการกํากับดูแลรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทย กรณีศึกษาอัตรา ค่าบริการรถยนต์สามล้อ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวข้องกับอัตราค่าโดยสาร รถสาธารณะในประเทศไทย และบทลงโทษสําหรับผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะของประเทศไทย เพื่อศึกษา ศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เกี่ยวของกับอัตราค่าโดยสารรถยนต์สามล้อของกฎหมายประเทศอินเดีย เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และบทลงโทษที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะ ของประเทศญี่ปุ่น เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ความเหมาะสมในการคิดอัตราค่าโดยสารและการควบคุมพฤติกรรม ของผู้ขับขี่รถยนต์สามล้อในประเทศไทย และหาแนวทางและปรับใช้กฎหมายต่างประเทศกับประเทศไทย การดําเนินการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยดําเนินการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารเพื่อวิเคราะห์ปัญหา และหาข้อสรุปของการศึกษา ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งซึ่งมีการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะจํานวนมากในทุกพื้นที่ ของประเทศ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่และมีผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะจํานวนมาก อย่างไรก็ตามแม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมการปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไป รวมถึงผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะก็ตาม แต่ยังการฝ่าฝืนกฎหมายจราจรอยู่ทั่วไป ทั้งนี้ในงานวิจัยนี้ผู้เขียน ศึกษาเจาะจงไปที่ผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะประเภทรถยนต์สามล้อ จากการศึกษาพบว่าการให้บริการรถยนต์โดยสารประเภทรถยนต์สามล้อมีปัญหาเรื่องการเก็บ ค่าโดยสารที่ไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนซึ่งนําไปสู่การเรียกเก็บค่าโดยสารแพงเกินสมควรและปัญหาการให้บริการ ที่ไม่เป็นมิตรต่อผู้รับบริการและเป็นการกระทําซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายจราจรในหลายกรณีดังนั้น จากการศึกษาวิจัยผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าประเทศไทยควรนําบทบัญญัติกฎหมายของประเทศอินเดียและ ประเทศญี่ปุ่นมาเป็นแนวทางในการออกกฎหมายเกี่ยวกับการกําหนดราคาค่าบริการของรถโดยสารสาธารณะ ประเภทรถยนต์สามล้อให้มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนและนํามิเตอร์เรียกเก็บเงินมาใช้กับรถยนต์โดยสารสาธารณะ ประเภทรถยนต์สามล้อเพื่อให้การเก็บค่าโดยสารเป็นไปโดยถูกต้องและได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกําหนด ส่วนการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อผู้ใช้บริการนั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรเพิ่มโทษกับผู้ฝ่าฝืน กฎหมายเนื่องจากโทษที่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายจราจรปัจจุบันเป็นโทษปรับซึ่งมีอัตราโทษปรับไม่ สูงเพียงพอที่จะทําให้ผู้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายเกิดความเกรงกลัว รวมไปถึงการใช้กลไกตลาดผ่าน การสนับสนุนเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการหลายรายเพื่อให้ ผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะทุกชนิดแข่งขันเพื่อให้บริการที่ดีที่สุดในราคาที่ได้มาตรฐานอันจะนํามาซึ่ง ผลประโยชน์สูงสุดกับผู้รับบริการ และแก้ไขปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบและเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐาน การให้บริการรถโดยสารของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศต่อไป


แนวทางในการปรับปรุงหลักเกณฑ์ว่าด้วยการกำกับการประกอบธุรกิจเป็นบุคคลรับอนุญาต, ภัคชัญญา คำหอม Jan 2019

แนวทางในการปรับปรุงหลักเกณฑ์ว่าด้วยการกำกับการประกอบธุรกิจเป็นบุคคลรับอนุญาต, ภัคชัญญา คำหอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การรับซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ภาครัฐให้ความสำคัญเพราะมีผลกระทบต่อตลาดการเงิน ตลาดทุน และระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิต การดำเนินธุรกิจ รวมถึงการป้องกันปัญหาการฟอกเงิน โดยการลักลอบส่งหรือนำเงินออกจากประเทศ โดยกฎหมายแม่บทที่ใช้ในการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินของประเทศไทยคือ พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 และจากการอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีการออกกฎกระทรวง ประกาศกระทรวงการคลัง และประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ ทำหน้าที่กำกับดูแลการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แต่งตั้งพนักงานของธนาคารเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 มาตรา 4 เพื่อควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน การซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน หรือโอนเงินตราต่างประเทศทุกประเภท กฎหมายแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศไทยเป็นกฎหมายที่ค่อนข้างเก่า โดยมีการประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ประเทศไทยขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ และต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้จำเป็นต้องกำหนดออกกฎเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงินหลายอย่างเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยงจากเงินทุนไหลออก โดยช่วงเวลาที่ผ่านมา ค่าเงินบาทมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการทบทวนกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินเป็นระยะ


ผลกระทบของการปรับโครงสร้างทางธุรกิจต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล, ณัชชารีย์ จุรีย์โรจน์ Jan 2019

ผลกระทบของการปรับโครงสร้างทางธุรกิจต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล, ณัชชารีย์ จุรีย์โรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการด าเนินธุรกิจอย่างไร้พรมแดน ย่อมท าให้เกิด การเคลื่อนย้ายทุน แรงงานและเทคโนโลยีระหว่างประเทศได้ง่าย มีการขยายตัวของนักลงทุนและ บริษัทข้ามชาติจ านวนมาก ซึ่งจ าเป็นจะต้องปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ บริษัทข้ามชาติซึ่งมักจะเป็นกลุ่มบริษัทที่มีการจัดตั้งและด าเนินธุรกิจอยู่ใน ประเทศตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป เพื่อให้กลุ่มบริษัทมีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจได้และ มีต้นทุนที่ต่ าที่สุด ซึ่งการพิจารณาปรับโครงสร้างทางธุรกิจของบริษัทข้ามชาติเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ ในการบริหารต้นทุนทางธุรกิจและภาษีเงินได้ของกลุ่มบริษัทให้ลดลงได้โดยมักมีการถ่ายโอนก าไรจาก ประเทศที่มีอัตราภาษีสูงไปยังประเทศที่อัตราภาษีต่ าเพื่อการเลี่ยงภาษีโดยอาศัยช่องว่างของ กฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่ลงรอยกัน ตลอดจนการใช้สิทธิประโยชน์ตามอนุสัญญาภาษีซ้อนเพื่อ บรรเทาภาระภาษีซ้อนโดยรวมภายในกลุ่มบริษัทข้ามชาติให้ลดลง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยเฉพาะในรัฐแหล่งเงินได้ที่สูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษี จากบริษัทข้ามชาติเป็นอย่างมาก เอกัตศึกษาฉบับนี้จัดท าขึ้นเพื่อศึกษาผลกระทบของการปรับโครงสร้างทางธุรกิจของ บริษัทข้ามชาติในลักษณะรูปแบบโครงสร้างธุรกิจต่างๆ รวมถึงหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้และ ผลกระทบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนศึกษาถึงมาตรการเพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคล จากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจดังกล่าว เพื่อน ามาประยุกต์ใช้กับบริบทของประเทศไทยได้ นอกจากนี้ ได้ศึกษาถึงกฎหมายและมาตรการต่างๆ ที่ใช้อยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีการก าหนดมาตรการรองรับผลกระทบหรือเพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคล ส าหรับกรณีการปรับโครงสร้างทางธุรกิจของบริษัทข้ามชาติไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งอาจส่งผลให้รัฐ ไม่สามารถจัดเก็บหรือจัดเก็บภาษีเงินได้ได้น้อยลง จากการศึกษาผลกระทบของการปรับโครงสร้างทางธุรกิจต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล และมาตรการเพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจโดยใช้รูปแบบ ลักษณะธุรกิจตามแนวทางของ OECD ประกอบกับการศึกษาถึงหลักการจัดเก็บภาษีและมาตรการ ป้องกันการเลี่ยงภาษีเงินได้ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อน ามาปรับใช้กับประเทศไทย ซึ่งสามารถ สรุปผลได้ว่า ประเทศไทยสมควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีการป้องกันการเลี่ยงภาษี ไว้เป็นหมวดเฉพาะ รวมถึงปรับปรุงกฎหมายภายในประเทศให้มีอ านาจในการสั่งการผู้ประกอบการ หรือนิติบุคคลจัดท ารายงานเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ เพื่อเป็นมาตรการป้องกัน การเลี่ยงภาษีอย่างรุนแรงของกลุ่มบริษัทข้ามชาติและลดโอกาสในการเลี่ยงภาษีจากการปรับ โครงสร้างทางธุรกิจและธุรกรรมระหว่างประเทศ


ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการในการบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ, ณัฏฐ์ปัณชญา กิตติภพศิริกุล Jan 2019

ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการในการบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ, ณัฏฐ์ปัณชญา กิตติภพศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันสาเหตุที่ผู้ประกอบธุรกิจกับสถาบันการเงินต่างๆ ประสบปัญหาในการน า ทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันในการช าระหนี้ เนื่องจากระบบกฎหมายไทย ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มีหลักประกันด้วยทรัพย์สามารถท าสัญญาได้เพียง 2 แบบ คือ การจ าน า การจ านอง ได้ ถูกใช้มานานแล้ว ไม่สอดคล้องกับการท านิติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ซึ่งท าให้ทรัพย์สินที่มี มูลค่าทางเศรษฐกิจอีกหลายอย่างไม่สามารถน ามาเป็นหลักประกันโดยจ านอง และจ าน าได้ เพราะว่า หลักส าคัญของการจ าน าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต้องมีการส่งมอบการครอบครอง ทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจ าน าเพื่อเป็นการประกันการช าระหนี้ด้วยข้อจ ากัดดังกล่าวประเทศไทยจึงได้ ประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ซึ่งได้เพิ่มเติมประเภทของทรัพย์ที่ สามารถน ามาเป็นหลักประกันช าระหนี้โดยไม่ต้องมีการส่งมอบการครอบครองแก่เจ้าหนี้ ซึ่งท าให้ผู้ ประกอบธุรกิจสามารถน ากิจการของตนเอง ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งมาเป็นหลักประกันได้ แต่เนื่องจากกระบวนการบังคับหลักประกัน ซึ่งก าหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักประกัน ทางธุรกิจ พ.ศ.2558 ส าหรับใช้บังคับหลักประกันที่เป็นกิจการโดยผู้บังคับหลักประกันในกรณีที่ลูกหนี้ ผิดนัดช าระหนี้นั้น มีบทบัญญัติบางมาตรายังไม่มีความสมบูรณ์ และชัดเจน ก่อให้เกิดปัญหาในทาง ปฏิบัติ ส่งผลให้สถาบันการเงินที่จะเป็นผู้พิจารณารับกิจการมาเป็นหลักประกันในการให้สินเชื่อแก่ ผู้ประกอบการ มีความวิตกกังวล ไม่กล้ารับกิจการไว้เป็นหลักประกันเท่าที่ควร ดังนั้นจึงได้มีการศึกษา หลักเกณฑ์กฎหมาย กระบวนการปฏิบัติในการบังคับหลักประกันกรณีที่มีค าวินิจฉัยให้บังคับ หลักประกัน โดยผู้ให้หลักประกันต้องด าเนินการส่งมอบกิจการที่เป็นหลักประกัน เอกสารเกี่ยวกับ ทรัพย์สิน หนี้สินตลอดจนสิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการที่เป็นหลักประกันให้แก่ผู้บังคับ หลักประกัน ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวยังคงมีปัญหา และอุปสรรคในเรื่องอ านาจหน้าที่ของผู้บังคับ หลักประกันตามมาตรา 73 และกรณีกิจการที่น ามาเป็นหลักประกันล้มละลาย หรือเข้าสู่กระบวนการ ฟื้นฟู นอกจากนั้นยังมีปัญหาใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถโอนได้ ท าให้ เกิดความไม่ชัดเจนในขั้นตอนการบังคับหลักประกัน ซึ่งควรบัญญัติกระบวนการบังคับหลักประกันให้ ชัดเจน เพื่อลดข้อวิตกกังวลจากสถาบันการเงินผู้ซึ่งจะพิจารณารับกิจการเป็นหลักประกัน อันจะส่งผล ท าให้สถาบันการเงินรับหลักประกันประเภทนี้มากขึ้น …