Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2021

Articles 1 - 30 of 98

Full-Text Articles in Law

ความรับผิดฐานช่วยเหลือผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189, ชวนิติ บุตรดี Jan 2021

ความรับผิดฐานช่วยเหลือผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189, ชวนิติ บุตรดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการบัญญัติความรับผิดของผู้ช่วยเหลือผู้กระทำความผิดภายหลังการกระทำความผิดประเภทการให้ที่พำนักและซ่อนเร้นผู้กระทำความผิด โดยผู้วิจัยมุ่งศึกษา แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้กระทำความผิดภายหลังการกระทำความผิด บทบัญญัติของกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดที่เป็นการให้ที่พำนักและซ่อนเร้นผู้กระทำความผิด เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบหาหลักเกณฑ์ในการกำหนดความรับผิดและการกำหนดโทษ เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 บัญญัติองค์ประกอบความผิดในส่วนของผู้รับการช่วยเหลือไว้สองกรณีคือผู้ต้องหาและผู้กระทำความผิด ทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกันในการปรับใช้กฎหมายกรณีที่การช่วยเหลือผู้ต้องหาที่สุดท้ายแล้วศาลตัดสินว่าไม่ใช่ผู้กระทำความผิด คำพิพากษาศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่ากรณีเช่นนี้ ผู้ช่วยเหลือผู้ต้องหานั้นไม่มีความรับผิดตามมาตรา 189 ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดของนักกฎหมายอาญาหลายท่านที่มีความคิดเห็นว่าไม่ตรงตามตัวบท เมื่อศึกษาพบว่าการช่วยเหลือผู้กระทำความผิดในรูปแบบนี้ แม้จะเป็นความรับผิดเฉพาะแต่ยังมีความสัมพันธ์กับการกระทำความผิดหลักอยู่โดยที่การพิจารณาความรับผิดนั้นต้องได้ความว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริง และการกำหนดอัตราโทษจะต้องไม่เกินไปกว่าการกระทำความผิดหลัก ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 ในส่วนของผู้รับการช่วยเหลือให้เหลือเพียงผู้กระทำความผิดเพื่อให้สอดคล้องกับทฤษฎีของการให้ที่พำนักและซ่อนเร้นผู้กระทำความผิดว่าต้องมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริง และไม่ให้เกิดปัญหากรณีที่การช่วยเหลือผู้ต้องหา ที่ภายหลังผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้กระทำความผิด และเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การกำหนดระวางโทษของผู้ช่วยเหลือผู้กระทำความผิดไม่ให้เกินไปกว่าการกระทำความผิดผู้รับการช่วยเหลือ


มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองสำหรับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน, พีรพัฒน์ แซ่เล้า Jan 2021

มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองสำหรับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน, พีรพัฒน์ แซ่เล้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองของประเทศไทย สำหรับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน โดยทำการศึกษามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทย เพื่อเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เครือรัฐออสเตรเลีย ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย และเขตปกครองพิเศษฮ่องกง เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ และเสนอปรับปรุงแก้ไขให้มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยได้กำหนดหน้าที่การตรวจสอบหลักทรัพย์ของผู้ลงทุน และหน้าที่เกี่ยวกับการขายชอร์ตแก่บริษัทหลักทรัพย์เพียงฝ่ายเดียว แต่บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดได้ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถตรวจสอบหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนสถาบันที่มีผู้ดูแลรักษาหลักทรัพย์ เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น การที่มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยไม่ได้กำหนดหน้าที่ และความรับผิดของผู้ลงทุนสถาบันไว้ เป็นการผลักภาระหน้าที่ความรับผิดซึ่งควรจะเป็นของผู้ลงทุน ให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องรับผิดชอบแทนทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ วิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอให้มีการกำหนดความรับผิดของผู้ลงทุนสถาบันที่ขายหลักทรัพย์โดยที่ไม่มีหลักทรัพย์อยู่ในครอบครอง ในหมวดการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และเสนอแนะให้ผู้ขายชอร์ตมีหน้าที่ในการยืมหลักทรัพย์ และยืนยันแก่บริษัทหลักทรัพย์ว่า ตนเองได้ยืมหลักทรัพย์เพื่อการขายชอร์ตเรียบร้อยแล้ว และในท้ายที่สุด ผู้ขายชอร์ตควรมีหน้าที่แสดงสถานะการขายชอร์ตแก่บริษัทหลักทรัพย์อีกด้วย


The Supervisory And Regulatory Dilemma On Equity-Based Crowdfunding In Taiwan, Chin-Wei Chang Jan 2021

The Supervisory And Regulatory Dilemma On Equity-Based Crowdfunding In Taiwan, Chin-Wei Chang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Equity-based crowdfunding is an important portal for raising fund in Taiwan because the traditional financing sources are unable to meet the capital needs of those who would be able to raise fund through Equity-based crowdfunding. However, Information asymmetry has existed between investors and fundraisers in equity-based crowdfunding. Because fundraisers own and operate the business, they have all information, but investors do not. The GISA regulation can eliminate information asymmetry by imposing disclosure duties on fundraisers. This thesis tries to highlight the necessity for The GISA regulation to reduce information asymmetry. By comparing the GISA with laws and regulations of the …


การขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีถูกหักเกินกว่าภาษีที่ต้องเสีย ตามมาตรา 27 ตรี และมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณี ผู้มีสิทธิขอคืนภาษี, ชาลิสา อมรธาตรี Jan 2021

การขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีถูกหักเกินกว่าภาษีที่ต้องเสีย ตามมาตรา 27 ตรี และมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณี ผู้มีสิทธิขอคืนภาษี, ชาลิสา อมรธาตรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้า ซึ่งถือว่าเป็นวิธีเสียภาษีที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นการเสียภาษีที่กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ หักภาษีก่อนที่จะมีการจ่ายเงินได้ให้แก่ผู้มีเงินได้ จึงเป็นการเก็บภาษีในขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลสามารถเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยและสม่ำเสมอ อีกทั้งยังช่วยทำให้รัฐบาลประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีเงินได้อีกด้วย เพราะเป็น การมอบหมายให้เอกชนช่วยเก็บภาษีแทน โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับ และนำเงินส่งกรมสรรพากรก่อนที่จะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ กล่าวคือ “ผู้จ่ายเงินได้” เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้รับ หรือ “ผู้มีเงินได้” ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี อย่างไรก็ดี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กฎหมายกำหนด กรณีผู้จ่ายเงินได้มิได้ทำการหักและนำส่งภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือตามคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากร หรือหักและนำส่งภาษีแล้ว แต่ไม่ครบจำนวน ที่ถูกต้องผู้จ่ายเงินได้จำต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษี ที่ไม่ได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนภาษีที่นำส่งขาดไป แล้วแต่กรณี กรณีที่ผู้จ่ายเงินได้ทำการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแล้ว ผู้มีเงินได้ย่อมพ้นความรับผิดที่จะต้องชำระภาษีเท่ากับจำนวนที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้ และผู้จ่ายเงินได้จะเป็นผู้รับผิดชำระเงินภาษีจำนวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร ในทางกลับกัน กรณีผู้มีเงินได้เสียภาษีเงินได้เกินไปกว่าจำนวนที่ต้องเสีย หรือเสียไปโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียเนื่องจากผู้จ่ายเงินได้ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เกินไป หรือหักภาษีไว้โดยไม่มีหน้าที่ต้องหัก ผู้มีเงินได้มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีที่ชำระไว้เกินจากกรมสรรพากรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติมาตรา 27 ตรี และมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร แม้หลักเกณฑ์การขอคืนภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย จะถูกบัญญัติไว้ในบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร แต่เมื่อพิจารณาบทบัญญัติมาตรา 27 ตรี และมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากรแล้วพบว่ามีประเด็นปัญหาบางประการ กล่าวคือ บทบัญญัติมาตรา 27 ตรี มีความไม่ชัดเจนเรื่องผู้มีสิทธิขอคืนภาษี แม้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากรตามแนววินิจฉัยในหนังสือตอบข้อหารือภาษีอากรซึ่งกรมสรรพากรถือว่าผู้ถูกกระทบกระเทือนสิทธิโดยตรงเป็นผู้มีสิทธิขอคืนภาษี อาทิ ผู้มีเงินได้ที่ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย หรือผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ที่นำเงินของตนเองส่งภาษีไว้ผิดหรือซ้ำ แต่หนังสือตอบข้อหารือภาษีอากรของกรมสรรพากรก็เป็นเพียงแนวปฏิบัติในการบริหารงานจัดเก็บภาษีอากรมิใช่คำสั่งทางปกครองตามความหมายของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เนื่องจากมิได้เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล จึงไม่มีผลผูกพันให้กรมสรรพากรจะต้องปฏิบัติตามแต่ประการใด ในขณะที่มาตรา 63 มิได้กำหนดไว้เป็นการเฉพาะว่าผู้มีสิทธิขอคืนภาษีจะต้องเป็นผู้ใดเพียงแต่กำหนดว่าบุคคลใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี หรือผู้ที่ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในปีภาษี แต่ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้ว บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่ถูกหักและนำส่งไว้แล้วนั้นคืน แต่ต้องยื่นคำร้อง ขอคืนต่อเจ้าพนักงานประเมินภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงสามารถอนุมานได้ว่า …


การจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ สำหรับวัตถุอันตรายทางการเกษตรของประเทศไทย, ณัฐวดี บุญยะกาพิมพ์ Jan 2021

การจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ สำหรับวัตถุอันตรายทางการเกษตรของประเทศไทย, ณัฐวดี บุญยะกาพิมพ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับวัตถุอันตรายทางการเกษตรของประเทศไทย โดยศึกษาปัญหาและผลกระทบจากวัตถุอันตรายทางการเกษตรและหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในประเทศไทย พร้อมทั้งศึกษาหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับวัตถุอันตรายทางการเกษตรของประเทศเดนมาร์กเพื่อเป็นแนวทางในการนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย


ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ประเภทเกษตรกรรมในประเทศไทย, วิชาญ นวมงคลสวาท Jan 2021

ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ประเภทเกษตรกรรมในประเทศไทย, วิชาญ นวมงคลสวาท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของประเทศไทย ซึ่งประสบปัญหาจากการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมที่ขาดประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดปัญหาในหลายประการ ตลอดจนศึกษาถึงแนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของต่างประเทศ ได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะรัฐนิวเจอร์ซี่ รัฐนิวยอร์ก รัฐมิชิแกน และรัฐแอริโซน่า เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและนำเสนอถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป จากการศึกษาระบุให้เห็นอย่างเป็นที่ประจักษ์ว่า หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของประเทศไทยมีการกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาจำนวนต้นไม้และชนิดต้นไม้ที่ปลูกต่อไร่ก่อให้เกิดปัญหาการบังคับใช้ที่ขาดความชัดเจน ขัดต่อหลักภาษีอากรที่ดี และขัดต่อวัตถุประสงค์ของการบังคับใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ.ศ. 2562 ในหลายประการ พร้อมทั้งก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ อนึ่ง จากการศึกษาและพิจารณาหลักเกณฑ์ของต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว คือสหรัฐอเมริกา พบว่าหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของต่างประเทศได้มีการกำหนดให้ครอบคลุมถึงประเด็นปัญหาประการต่างๆของประเทศไทยไว้ ด้วยเหตุตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้ประเทศไทยนำหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของต่างประเทศคือ สหรัฐอเมริกา ประกอบกับการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายผังเมืองมาปรับใช้กับหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของประเทศไทย เพื่อให้การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนหลักเกณฑ์ในการกำหนดการใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของประเทศไทยเป็นหลักเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ มีความชัดเจนในการจัดเก็บภาษีมากขึ้น


The Thai Foreign Business Act An Analysis Of Pathways And Obstacles For Foreign Investors, Fabian Sonntagbauer Jan 2021

The Thai Foreign Business Act An Analysis Of Pathways And Obstacles For Foreign Investors, Fabian Sonntagbauer

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ที่เพิ่มขึ้นประเทศต่างๆต่างพึ่งพาการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรฐกิจ อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็มีความต้องการที่จะปกป้องผู้ค้าและผู้ให้บริการจากชาวต่างชาติที่จะเข้ามายึดครองตลาด แนวคิดพื้นฐานนี้ได้เริ่มวางรากฐานมากว่า 50 ปีที่แล้วและแสดงให้เห็นถึงลักษณะของกฎหมายการประกอบธุรกิจของชาวต่างด้าวมาจนถึงทุกวันนี้ พระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวได้ถูกตราขึ้นเพื่อส่งเสริมการแข่งขันและสนับสนุนเศรฐกิจ อย่างไรก็ดีการค้าและการให้บริการมีข้อกำหนดอย่างเข้มงวดสำหรับชาวต่างชาติ ดังนั้นจึงนำมาสู่คำถามในงานวิจัยดังต่อไปนี้: ข้อจำกัดทางธุรกิจสำหรับชาวต่างชาตินั้นมีความได้สัดส่วนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกฎหมายหรือไม่? เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวจุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะหาคำตอบถึงกฎเกณฑ์ที่ชาวต่างชาติจะสามารถได้รับอนุญาตให้เข้าสู่ตลาดและข้อห้ามต่างๆนั้นมีขอบเขตครอบคลุมไว้เพียงใด หลังจากได้มีการวิเคราะห์พระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวขอบเขตของข้อห้ามต่างๆจะได้รับการประเมินตามความเพียงพอในการบรรลุวัตถุประสงค์ งานวิจัยนี้ระบุถึงทางเลือกต่างๆโดยการวิเคราะห์พระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวของไทยและข้อกำหนดเบื้องต้นในการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว การส่งเสริมและสนับสนุนโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่มีอำนาจอนุญาตให้ประกอบกิจการบางอย่างและให้สิ่งจูงใจได้มีการนำเสนอไว้ในงานวิจัยนี้ด้วยเช่นกัน งานวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศออสเตรียและสหภาพยุโรป และสนับสนุนการผ่อนคลายข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจของต่างชาติ


การเพิ่มประสิทธิภาพของการแจ้งเบาะแสโดยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี(Strengthening The Efficiency And Effectiveness Of Whistleblowing System By Accounting Professionals), จิณณ์นิภา ดีทองหลาง Jan 2021

การเพิ่มประสิทธิภาพของการแจ้งเบาะแสโดยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี(Strengthening The Efficiency And Effectiveness Of Whistleblowing System By Accounting Professionals), จิณณ์นิภา ดีทองหลาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบัญญัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่มีอิทธิพล รวมทั้งข5อจำกัดต่าง ๆ ที่มีผลต่อการแจ้งเบาะแสของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย เพื่อให้ ทราบและเป็นแนวทางในการช่วยขจัดปัญหาหรือลดอุปสรรคในการแจ้งเบาะแสของผู้ประกอบ วิชาชีพบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการนำเสนอแนวทางหรือมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการแจ้งเบาะแสโดยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเป็นไปโดยสัมฤทธิ์ผล ตามเจตนารมณ์และความคาดหวังของสังคมโดยรวม จากการศึกษาพบว่าปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายในการสนับสนุนและ ส่งเสริมในการแจ้งเบาะแสอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการทางกฎหมายในการให้ความ คุ้มครองเยียวยาผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในการแจ้งเบาะแสอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ประกอบกับ ข้อกำหนดทางจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในปัจจุบันยังขาดความชัดเจนในส่วน ของการกำหนดกรอบข้อบังคับและแนวทางของการแจ้งเบาะแสเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้นบทสรุปของการศึกษานี้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการแจ้งเบาะแสโดยผู้ประกอบ วิชาชีพบัญชี ผู้ศึกษาวิจัยจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วย จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี มาตรการภายในองค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานในการกำกับ ดูแลกิจการ การแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเยียวยาให้มีความครอบคลุม และสอดคล้องเชื่อมโยงกันกับแนวทางการประกอบวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี รวมทั้งการ เพิ่มเติมมาตรการในด้านการให้รางวัลจูงใจเพื่อส่งเสริมให้เกิดการแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดเป็น อีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการแจ้งเบาะแสได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ปัญหาในการโอนพัสดุของรัฐวิสาหกิจตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560, กมลชนก อินวะษา Jan 2021

ปัญหาในการโอนพัสดุของรัฐวิสาหกิจตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560, กมลชนก อินวะษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในอดีต การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุถูกกำหนดให้ส่วนราชการจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับดังกล่าวนั้นมีผลบังคับใช้กับ ส่วนราชการ ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุโดยใช้เงินงบประมาณ เงินกู้ และเงินช่วยเหลือ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หรือ ในต่างประเทศ เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ทำให้หน่วยงานที่ไม่ได้ถูกบังคับใช้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับดังกล่าวจำเป็นต้องจัดทำข้อบังคับหรือระเบียบขึ้นเองเพื่อนำไว้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานของตนเอง ต่อมา พบปัญหาจากการดำเนินการจัดหาพัสดุของหน่วยงานของรัฐหลายประเด็น เช่น นักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาร่วมประมูลในโครงการของหน่วยงานของรัฐไม่มีความเชื่อมั่นในระบบการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยนั้นไม่มีการออกกฎหมายกลางที่ใช้บังคับกับหน่วยงานของรัฐทุกแห่งให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงทำให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง จัดทำร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐขึ้น โดยได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน และมีหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ตอบแบบสอบถามความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ในเวลาต่อมาจึงเกิดพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่มีผลใช้บังคับวันที่ 23 สิงหาคม 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐมีหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และได้มีการออกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ โดยพระราชบัญญัติและระเบียบกระทรวงการคลังดังกล่าว ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณด้วย ทำให้รัฐวิสาหกิจนั้นเกิดความไม่คล่องตัวในการโอนพัสดุ เนื่องจากการจำกัดหน่วยงานผู้รับโอนเป็นการจำกัดที่ไม่สอดคล้องกับการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่ต้องดำเนินการรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่มากกว่าที่กฎหมายกำหนดให้ ทำให้เกิดการบริหารพัสดุที่มีอยู่อย่างไม่คุ้มค่าและไม่เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งหน่วยงานผู้โอนและผู้รับโอน ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเห็นว่า ควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการโอนพัสดุสำหรับรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้การโอนพัสดุของรัฐวิสาหกิจมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด


ปัญหาการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือ วิชาชีพตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีเบี้ยประชุมกรรมการ, ชนมน ทองพิลา Jan 2021

ปัญหาการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือ วิชาชีพตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีเบี้ยประชุมกรรมการ, ชนมน ทองพิลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในสมัยนายอานันท์ ปันยารชุนดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีหรือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2535 เป็นต้นมา ได้มีการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มแทนภาษีการค้า โดยภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นจะจัดเก็บจากฐานการบริโภคซึ่งตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี สำหรับฐานรายได้ในส่วนที่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี ทั้งนี้คำว่า “บริการ หมายถึง การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า” และการดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริษัทในช่วงเวลานั้นก็จัดเป็นการให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานรายได้ของหน้าที่งานกรรมการ ต่อมาในปี พ.ศ.2558 ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 205 ที่กำหนดให้การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามที่กฎหมายกำหนด และกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยราชการ ไม่ถือว่าเป็นการให้บริการและส่งผลให้การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการปฏิบัติงานในฐานะกรรมการ หากตีความตามความหมายของ “บริการ” ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นพบว่า การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการเป็นการให้บริการ เนื่องจากเป็นการกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า แต่การปฏิบัติงานดังกล่าวมิใช่การกระทำในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเสียมากกว่า เนื่องจากการขายสินค้าหรือการให้บริการซึ่งรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายมหาชนที่ได้กระทำในฐานะที่เป็นองค์กรมหาชนนั้น เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายในการควบคุมกิจการต่าง ๆ (regulatory activity) ซึ่งมิใช่การประกอบธุรกิจการค้าใด ๆ ด้วยเหตุนี้ การออกประกาศฯ เพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มที่กล่าวว่า การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการไม่ถือว่าเป็นการให้บริการนั้น ในความเห็นของผู้ศึกษาจึงเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร จากปัญหาข้างต้น พบว่า การพิจารณาขอบเขตการใช้บังคับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร โดยเฉพาะความหมายของการกระทำในทางธุรกิจหรือวิชาชีพนั้นมีความสำคัญต่อการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นอย่างมาก เนื่องจากยังมีการใช้บังคับที่ผิดเพี้ยนออกไปจากหลักการที่แท้จริงซึ่งมีสาเหตุมาจากความเร่งรีบในการประกาศใช้กฎหมายให้ทันในช่วงที่มีสภาพิเศษในปี พ.ศ.2534 และปัญหาการตีความของหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายอีกด้วย ทั้งนี้ในต่างประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรป และราชอาณาจักรบาห์เรนที่ทางผู้ศึกษาเลือกมาศึกษานั้น ได้มีการกำหนดขอบเขตการใช้บังคับภาษีมูลค่าเพิ่มและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นการกระทำในทางธุรกิจหรือวิชาชีพไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงจัดทำเอกัตศึกษาฉบับนี้ขึ้น เพื่อศึกษาขอบเขตการใช้บังคับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของกรรมการซึ่งได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมกรรมการ


ปัญหามาตรการส่งเสริมในผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ, ชานน รังสราญนนท์ Jan 2021

ปัญหามาตรการส่งเสริมในผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ, ชานน รังสราญนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันปัญหาขยะพลาสติกเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย แต่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของโลกด้วย เนื่องจากการเติบโตของชุมชนเมืองการเติบโตทางเศรษฐกิจจึงส่งผลให้มีผลิตภัณฑ์พลาสติกหลากหลายชนิดที่ผลิตขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งพลาสติกเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่มีต้นทุนต่ำ และสามารถนำมาใช้งานได้หลายรูปแบบ ทำให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นสิ่งที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างมาก เช่น ถุงพลาสติก บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร ช้อนซ้อมพลาสติก หลอดพลาสติก แก้วพลาสติก และบรรจุภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Use Plastic) ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมากจากพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทิ้งขยะ และระบบการจัดการขยะพลาสติกของประเทศไทยที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการจัดการ ประกอบกับปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป มีการสั่งอาหารผ่านแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปรับประทานเองที่ร้านอาหาร ทำให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกมากขึ้นโดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์พลาสติก เช่น ถุงพลาสติกหูหิ้ว กล่องพลาสติกใส่อาหาร ซองเครื่องปรุงรส และอุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร ภาครัฐจึงได้มีนโยบายโดยใช้เครื่องมือทางภาษีอากรมาใช้ลดปัญหาขยะพลาสติก รัฐจึงมีนโยบายให้การส่งเสริมทางภาษีอากร ที่ถือเป็นมาตรการหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือในการจูงใจให้ผู้ประกอบการหันมาผลิตหรือใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมาตรการทางภาษีอากรที่ภาครัฐใช้โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อส่งเสริมกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กิจการผลิตเคมีภัณฑ์หรือพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปต่อเนื่องจากการผลิตพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในโครงการเดียวกัน กิจการที่ผลิตผลิตภัณฑ์จากพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กิจการผลิตเคมีภัณฑ์พอลิเมอร์ชนิดพิเศษหรือเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ และการวิจัยและพัฒนากิจการ Biotechnology เป็นต้น ซึ่งได้มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแต่ละประเภท สิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการผลิต ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบที่ผลิตเพื่อการส่งออก เป็นต้น โดยระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์จะขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมการลงทุนที่ได้ระบุไว้ อีกทั้งยังมีสิทธิประโยชน์อื่นที่ไม่ใช่ภาษีอากร เช่น ผู้ลงทุนต่างชาติสามารถถือครองอสังหาริมทรัพย์ได้ หรือสามารถนะผู้เชี่ยวชาญต่างชาติเข้ามาทำงานได้ตามเงื่อนไขพิเศษ แต่อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการลงทุนกิจการประเภทดังกล่าวจากการศึกษายังพบว่าประสิทธิผลของมาตรการยังเป็นประเด็นปัญหาสำคัญ หลังจากมีการส่งเสริมการลงทุนในกิจการพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพมานานถึง 12 ปี แต่ปัญหาขยะพลาสติกของประเทศไทยไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น อีกทั้งปัจจุบันยังมีอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45 จากปี 2562 มาตรการดังกล่าวที่รัฐกำลังใช้จัดการปัญหาขยะพลาสติกอยู่นั้นไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานในการกำจัดขยะพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพยังไม่เพียงพอในการจัดการขยะดังกล่าวในประเทศ จึงทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมใหม่ขึ้นมา


แนวทางแก้ไขปรับปรุงวิธีการคำนวณฐานภาษีสำหรับคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561, ชาตรี มีจิตรไพศาล Jan 2021

แนวทางแก้ไขปรับปรุงวิธีการคำนวณฐานภาษีสำหรับคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561, ชาตรี มีจิตรไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยได้มีการประกาศพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 และมีผลบังคับใช้แล้วในปัจจุบัน เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 40 และมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร โดยกำหนดเพิ่มเติมสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) ให้ครอบคลุมถึงส่วนแบ่งกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดจากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล และผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ดังนั้น การถือครองหรือการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีอาจก่อให้เกิดกำไรหรือผลประโยชน์ที่ได้รับ จึงถือได้ว่าเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี การได้มาซึ่งจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระเกิดจากการคำนวณของเงินได้พึงประเมินกับอัตราภาษี แต่การคำนวณเงินได้พึงประเมินจากคริปโทเคอร์เรนซียังขาดความชัดเจนว่าจะต้องคำนวณอย่างไร เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่และการอ้างอิงตัวเลขเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณหาราคาขายและต้นทุนเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณเพื่อเสียภาษีอาจทำได้ไม่ง่ายนักไม่เหมือนกับการซื้อสินค้าทั่วไปที่มีใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารที่แสดงราคาสินค้าไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ การได้มาซึ่งคริปโทเคอร์เรนซีมีได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น ได้มาจากการซื้อ ได้มาจากการเสนอขายครั้งแรก (Initial Coin Offering, ICO) ได้มาจากการรับชำระเงิน ได้มาจากการขุดเหรียญดิจิทัล (Mining) ได้มาจากการรับมรดก ได้มาจากการถูกรางวัลหรือการพนันออนไลน์ ได้มาจากการแตกหน่วยใหม่ของคริปโทเคอร์เรนซี ได้มาจากการแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีด้วยกันเอง ซึ่งแต่ละรูปแบบจะใช้ตัวเลขใดมาอ้างอิงเป็นต้นทุนของการได้มา อีกทั้งการบันทึกข้อมูลการทำธุรกรรมและการจัดเก็บข้อมูลของการทำธุรกรรมซื้อขายเป็น ภาระหน้าที่ของผู้มีเงินได้เพื่อให้เกิดความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลการทำธุรกรรม การจัดทำดังกล่าวอาจเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระ การที่ไม่มีหลักการคำนวณส่วนแบ่งกำไร หรือกำไรจากการขายหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับจาก คริปโทเคอร์เรนซี อาจทำให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภทนี้ขาดความเข้าใจ ส่งผลให้ผู้มีเงินได้ใช้วิธีการคำนวณที่ไม่เหมือนกัน เมื่อใช้วิธีการคำนวณที่ไม่เหมือนกันแล้วก็จะส่งผลให้ฐานภาษีที่จะนำมาใช้ในการคำนวณภาษีอาจจะแตกต่างกันแม้ว่าข้อมูลในส่วนอื่นที่ใช้ในการคำนวณเช่น ลักษณะของการทำธุรกรรม วันที่ของการทำธุรกรรม จำนวนเงินของการทำธุรกรรมจะเหมือนกันก็ตาม โดยปกติแล้วหากมีปัจจัยแวดล้อมที่เหมือนกัน ผลลัพธ์ของการคำนวณฐานภาษีและจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระก็ควรที่จะได้เท่ากัน ดังนั้น การขาดการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณฐานภาษีในการจัดเก็บภาษีเงินดิจิทัลที่ชัดเจนแน่นอนอาจทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่มาในการจัดทำเอกัตศึกษาฉบับนี้ โดยศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการกำหนดแนวทางแก้ไขปรับปรุงวิธีการคำนวณฐานภาษีสำหรับคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล


แนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการทำงานทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) ในประเทศไทย, อฑตยา นิลทองคำ Jan 2021

แนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการทำงานทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) ในประเทศไทย, อฑตยา นิลทองคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตราบใดที่สภาวการณ์ในเรื่องค่าฝุ่น 2.5 PM ยังคงมีความทวีพูนอยู่และมากขึ้นที่ยังไม่ สามารถจัดการหรือควบคุมให้ดีขึ้นได้ หรือแม้กระทั่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในปัจจุบันที่ยังคงระบาดอยู่ทั่วโลก ผู้ประกอบการหรือนายจ้างย่อมต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตทั้ง ในด้านสังคมและพฤติการณ์ในการทํางานที่เปลี่ยนแปลงไปให้เข้ากับสภาวการณ์ที่ยังดํารงอยู่ใน ปัจจุบัน ดังนั้นตัวผู้ประกอบหรือนายจ้าง และตัวพนักงงานหรือลูกจ้างต้องมีการเตรียมความพร้อม เรื่องการทํางานนอกสถานที่ หรือที่เรียกว่าการทํางานทางไกลผ่านมัลติมิเดีย (Telework) อยู่เสมอ และดูเหมือนจะเป็นรูปแบบการทํางานที่คนให้ความสนใจนิยมมากขึ้น อีกทั้งจากการที่ผู้วิจัยได้ศึกษาการทํางานทางไกลผ่านมัลติมิเดีย (Telework) พบว่า ถึงแม้ว่าการทํางานแบบนี้จะมีข้อดีในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทําให้สามารถพูดคุย กันแบบเห็นหน้าได้โดยไม่ต้องไปทํา ณ สํานักงาน ที่ช่วยให้เวลาในการทํางานมีความยืดหยุ่นมาก ยิ่งขึ้น และยังเป็นการลดใช้จ่ายส่วนกลางที่ตัวผู้ประกอบการต้องรับภาระ แต่ถึงกระนั้นแล้วใช้ว่าการ ทํางานรูปแบบนี้จะมีข้อดีอย่างเดียว แต่หากยังพบถึงปัญหาไม่ว่าจะเป็นในเรื่องไม่มีการจัดสรรเวลาใน การทํางานที่ดี ไม่ว่าจะเป็นฝั่งลูกจ้างที่โดนใช้เวลานอกงานทําให้ไปรบกวนเวลาว่างที่ควรจะเป็นอิสระ และได้รับการพักผ่อน อีกทั้งฝั่งนายจ้างอาจได้รับผลกระทบที่ฝั่งลูกจ้างไม่จัดสรรเวลาให้ดี ทํางานไม่ ครบตามเวลาที่กําหนดจึงทําให้การทํางานไม่เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามที่พึงต้องการในเนื้อ งาน เป็นตัน ปัญหาเหล่านี้ยังขาดบทกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิแรงงานที่ควรจะได้รับ ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ผู้วิจัยได้ทําการศึกษา ได้แก่สหรัฐอเมริกา และสหพันธ สาธารณรัฐเยอรมนีพบว่าประเทศเหล่านี้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในทางกฎหมายโดยการมีบัญญัติ กฎหมายขึ้นโดยเฉพาะเพื่อกําหนดกฎเกณฑ์หรือสร้างกรอบนโยบายในการคุ้มครองลูกจ้างที่ทํางาน ทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) เพื่อขจัดปัญหาที่ได้เกิดขึ้น และหากย้อนกลับมาดูถึงสภาวการณ์ ของกฎหมายที่เป็นความว่างเปล่าของกฎหมายไทยที่ยังไม่มีแนวทางในการปฏิบัติหรือการบัญญัติ กฎหมายเฉพาะ หากมองถึงข้อบกพร่องของความว่างเปล่าที่ไม่มีกฎหมายในการเข้ามาควบคุมการทํา สัญญาเกี่ยวกับการทํางานในลักษณะนี้จากการศึกษาผู้วิจัยจึงต้องการให้มีการกําหนดกฎเกณฑ์หรือ สร้างกรอบนโยบายอันเป็นแนวทางในการทํางานทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) เพื่อเป็นการ สร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่สามารถได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายแรงงานตาม ความเหมาะสมทั้งส่วนสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและสิทธิหน้าที่ของลูกจ้างเพื่อให้เป็นการประกัน โครงสร้างและรูปแบบการทําสัญญาการทํางานทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) ที่จะมี ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่ายที่เป็นไปตามแนวทางมาตรการสากล


การกำหนดเขตสูบบุหรี่เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้ได้รับควันบุหรี่มือสอง : ศึกษากรณีท่าอากาศยานนานาชาติของประเทศไทย, ฐิติกาญจน์ ชัยพินิจ Jan 2021

การกำหนดเขตสูบบุหรี่เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้ได้รับควันบุหรี่มือสอง : ศึกษากรณีท่าอากาศยานนานาชาติของประเทศไทย, ฐิติกาญจน์ ชัยพินิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีในกรอบอนุสัญญาองค์การอนามัยโลกว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (WHO Framework Convention on Tobacco Control: FCTC) และมีพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ที่ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากโรคภัยที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ยาสูบรวมถึงได้มีการกำหนดมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ รวมทั้งยกระดับการคุ้มครองสุขภาพอนามัย ของประชาชน และยังมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดประเภทหรือชื่อของสถานที่สาธารณะ สถานที่ทำงาน และยานพาหนะให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่และยานพาหนะเป็นเขตปลอดบุหรี่ หรือเขตสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ พ.ศ. 2561 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ให้ไม่ต้องได้รับควันบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ สถานที่ทำงาน และยานพาหนะ โดยประเทศไทยแบ่งสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ จำนวน 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 พื้นที่และบริเวณทั้งหมด ซึ่งใช้ประกอบภารกิจของสถานที่นั้นรวมทั้งระยะทาง 5 เมตร จากทางเข้า–ออกของสถานที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ ประเภทที่ 2 พื้นที่และบริเวณทั้งหมดซึ่งใช้ประกอบภารกิจของสถานที่นั้นเป็นเขตปลอดบุหรี่ ประเภทที่ 3 พื้นที่และบริเวณทั้งหมดที่ใช้ประกอบภารกิจของสถานที่นั้น เป็นเขตปลอดบุหรี่แต่สามารถจัดเขตสูบบุหรี่ นอกอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างได้ และประเภทที่ 4 พื้นที่เฉพาะส่วนที่ระบุ รวมถึงระยะ 5 เมตรจากพื้นที่ ที่ระบุ หรือจากประตู หน้าต่าง ทางเข้า ทางออก ท่อ หรือช่องระบายอากาศ จากการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดประเภทหรือชื่อของสถานที่สาธารณะ สถานที่ทำงาน และยานพาหนะให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่และยานพาหนะเป็นเขตปลอดบุหรี่ หรือเขตสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ พ.ศ. 2561 ที่มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ได้กำหนดให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมถึงท่าอากาศยานให้เป็นสถานที่สาธารณะที่ให้ มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ โดยกำหนดให้พื้นที่และบริเวณทั้งหมดทั้งภายในและภายนอกอาคารเป็นเขตปลอดบุหรี่แต่สามารถจัดให้มีเขตสูบบุหรี่เป็นการเฉพาะได้ จึงเป็นที่มาของการยกเลิกห้องสูบบุหรี่ ในท่าอากาศยาน จำนวน 6 แห่ง ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยมียกเว้นว่าจะสามารถ สูบบุหรี่ได้เฉพาะในบริเวณที่จัดให้เป็นเขตสูบบุหรี่โดยเฉพาะเท่านั้น แต่การให้สูบบุหรี่ในเขตสูบบุหรี่ ที่จัดเป็นการเฉพาะไว้ แต่อยู่ภายนอกอาคารลักษณะดังกล่าวไม่สามารถควบคุมควันบุหรี่ได้ เนื่องจากควันบุหรี่ หากอยู่ภายนอกอาคาร โรงเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้างสามารถลอยฟุ้งกระจายได้อย่างไร้ทิศทาง โดยไม่สามารถควบคุมทิศทางการฟุ้งกระจายของควันบุหรี่ได้ และควันบุหรี่นี้เดินทางได้ไกลกว่าที่จะคาดหมายได้ …


การกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณีแรงงานหญิงมีครรภ์, อุษณีย์ มหากิจศิริ Jan 2021

การกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณีแรงงานหญิงมีครรภ์, อุษณีย์ มหากิจศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงแนวทางในการกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณี แรงงานหญิงมีครรภ์กล่าวคือ ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยยังไม่มีมาตรการคุ้มครองแรงงานหญิงมีครรภ์ใน เรื่องค่าตอบแทนการทำงานและค่าจ้างขั้นต่ำนี้เหมาะสมเพียงพอ โดยเอกัตศึกษานี้จะศึกษาถึงมาตรการ ทางกฎหมายตามหลักการสากลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และกฎหมายของต่างประเทศที่ เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีสาธารณรัฐฝรั่งเศส และ เครือรัฐออสเตรเลีย เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและนำเสนอแนวทางกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมงของ แรงงานหญิงมีครรภ์ของไทยต่อไป จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยยังขาดมาตรการกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณีแรงงานหญิงมี ครรภ์ในขณะที่บริบทการจ้างงานเปลี่ยนแปลงไปทำให้ไม่สอดคล้องกับวิธีการกำหนดค่าจ้างแบบเดิม กล่าวคือ แรงงานหญิงมีครรภ์ต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านสรีระร่างกายประกอบกับอันตรายจากโรค ระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ตลอดจนวิธีการจ้างงานเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีทำให้รูปแบบ การจ้างงานระยะสั้นเป็นที่นิยม ฉะนั้น หากประเทศไทยได้มีการกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณีแรงงาน หญิงมีครรภ์ขึ้นมาให้เป็นรูปธรรม ย่อมส่งผลให้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไขเยียวยาอย่างเป็นระบบ ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ก็จะได้รับสิทธิที่แรงงานพึงจะได้รับ ทั้งยังเป็นหลักประกันในชีวิตจากการทีได้รับค่าจ้าง ที่เป็นธรรม อนึ่ง จากการศึกษาและพิจารณาถึงมาตรการทางกฎหมายตามหลักสากลและของ ต่างประเทศพบว่าได้มีการกำหนดเรื่องค่าตอบแทนการทำงานของแรงงานหญิงมีครรภ์ไว้อีกด้วย ตามเหตุที่ได้กล่าวมา ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะให้ประเทศไทยสมควรมีการกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณีแรงงานหญิงมีครรภ์ขึ้นไว้เป็นการเฉพาะ โดยกำหนดจากความเหมาะสมของจำนวนชั่วโมงการ ทำงานของหญิงมีครรภ์พร้อมทั้งนำมาตรการทางกฎหมายตามหลักการสากลและของต่างประเทศมาปรับ ใช้ให้เข้ากับบริบทของสังคมไทยอย่างเหมาะสม


แนวทางการกำกับดูแลพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับขี่รถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร, ปันธวีย์ เรืองวงษ์ศา Jan 2021

แนวทางการกำกับดูแลพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับขี่รถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร, ปันธวีย์ เรืองวงษ์ศา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางความเจริญและเป็นศูนย์รวมของประชากรจํานวนมาก จึงส่งผล ให้เกิดปัญหาการจราจรบนท้องถนนมาอย่างยาวนาน ปัญหานี้เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยแต่ปัจจัยหลักคงหนี ไม่พ้นเรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนน ซี่งอุบัติเหตุส่วนมากเกิดขึ้นจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่ที่ไม่ยอมปฏิบัติตาม กฎหมายและบ่อยครั้งที่พบว่าผู้ขับขี่รถโดยสารประจําทางก็มีพฤติกรรมการขับขี่ที่เสี่ยงต่อการเกิด อุบัติเหตุด้วยเช่นกัน จากสถิติการรับเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับขี่รถโดยสาร ประจําทางในกรุงเทพมหานครที่มีการร้องเรียนเป็นจํานวนมาก เช่น ขับแทรกและปาดหน้ารถร่วมทาง ขับรถเร็ว ขับรถกระชาก กลับรถในที่ห้ามกลับ และใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ถือ ว่าเป็นพฤติกรรมที่ผู้ขับขี่รถโดยสารประจําทางไม่ควรกระทําเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้ขับขี่รถโดยสาร ประจําทางควรมีจิตสํานึกที่ดีในการให้บริการและควรตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นสําคัญ จากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นปัญหาดังกล่าวพบว่ากฎหมายที่ใช้ในการกํากับดูแล พฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับขี่รถโดยสารประจําทางในกรุงเทพมหานครมีการบัญญัติบทลงโทษผู้กระทําผิด ไว้ค่อนข้างเบาและกฎหมายมีช่องว่างให้ผู้กระทําผิดมีโอกาสในการกระทําผิดซ้ำ จึงส่งผลให้ผู้ขับขี่รถ โดยสารประจําทางในกรุงเทพมหานครไม่เกรงกลัวต่อมาตรการที่ใช้ในการลงโทษตามที่กฎหมายได้บัญญัติ ไว้ เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายที่ใช้ในการกํากับดูแลพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับขี่รถโดยสารประจําทาง ในประเทศสิงคโปร์ที่มีการบัญญัติบทลงโทษผู้กระทําผิดไว้ค่อนข้างสูงอีกทั้งยังมีการเพิ่มโทษในกรณีที่มี การกระทําผิดซ้ํ้ำในความผิดเดิม จึงส่งผลให้พฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับขี่รถโดยสารประจําทางของ ประเทศสิงคโปร์มีมาตราฐานที่ดี ดังนั้นจึงควรปรับปรุงแนวทางการกํากับดูแลพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับ ขี่รถโดยสารประจําทางในกรุงเทพมหานคร โดยผู้เขียนขอเสนอให้มีการพิจารณาแก้ไขระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการพักใช้หรือ เพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2564 ในข้อ 12 และข้อ 16 คือขอให้พิจารณาเพิ่มโทษในกรณีที่มีการกระทําผิดซ้ำในความผิดเดิมและกำหนดระยะเวลาในการกระทํา ผิดซ้ำห้แคบลง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกํากับดูแลให้มีมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้น


การเพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเบาะแสตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 : กรณีศึกษาหน่วยงานท้องถิ่น กรุงเทพฯ, พีรพล ธนทวี Jan 2021

การเพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเบาะแสตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 : กรณีศึกษาหน่วยงานท้องถิ่น กรุงเทพฯ, พีรพล ธนทวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง กรุงเทพฯ ให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ผ่านรูปแบบการแจ้งเบาะแส เมื่อพบผู้กระทําความผิด บนทางเท้าของ เขตกรุงเทพฯ ผ่านวิธีการศึกษาและวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยทางเอกสาร ผ่านการค้นคว้า ศึกษา สืบค้น รวบรวมข้อมูล จาก หนังสือ บทความที่เกี่ยวข้อง วิทยานิพนธ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งในและ ต่างประเทศ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งยังศึกษาถึงข้อจํากัดภายใต้กฎหมายและแนวทางปฏิบัติ ของประเทศไทย ตลอดจนข้อจํากัดต่าง ๆ ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการแจ้งเบาะแสให้ดียิ่งขึ้น การที่ผู้แจ้งเบาะแส ได้รับเงินรางวัล จากการแจ้งเบาะแส นั้น จะเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการกระตุ้นให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาเมืองให้เติบโตไปอย่างยั่งยืน จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังมีการปฏิบัติที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอและยังไม่มี กฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสโดยตรง ซึ่งผู้วิจัย เห็นว่าการดําเนินการของผู้แจ้งเบาะแส ในปัจจุบัน ยังมี ช่องว่างที่จะสามารถทําให้เกิดพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ผ่านมิติของกฎหมาย ดังนี้บทสรุปของการศึกษานี้ พิจารณาได้ว่าเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการแจ้งเบาะแสมากขึ้น การให้เงินรางวัล กับผู้แจ้งเบาะแส จึงเป็น ช่องทางหนึ่ง ที่สามารถให้กลไกทางการมีส่วนร่วมและการร่วมกันตรวจสอบของทุกภาคส่วน ไปขับเคลื่อน ให้สังคมดีขึ้นได้


มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมที่ครอบครองและใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตราย กรณีศึกษาสารสไตรีนในโรงงานหมิงตี้เคมีคอล, นวียา อโนรีย์ Jan 2021

มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมที่ครอบครองและใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตราย กรณีศึกษาสารสไตรีนในโรงงานหมิงตี้เคมีคอล, นวียา อโนรีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากเหตุการณ์เพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้เคมีคอลในจังหวัดสมุทรปราการ สาเหตุจากถังบรรจุ สารสไตรีน (Styrene Monomer) ในโรงงานระเบิด สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชนเป็นวงกว้าง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สะท้อนถึงปัญหา มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมวัตถุอันตรายที่ใช้และจัดเก็บในโรงงานอุตสาหกรรมยังไม่ เหมาะสมเพียงพอ และไม่มีมาตรการทางกฎหมายกําหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงภัย ต้องทําประกันภัยความรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอก เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษากฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมวัตถุอันตรายที่ใช้และจัดเก็บในโรงงาน อุตสาหกรรมและศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่ามาตรการควบคุมดูแลวัตถุอันตรายของประเทศไทย เริ่มต้นตั้งแต่ กําหนดให้ผู้ผลิต นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายตามรายชื่อที่กรมโรงงาน อุตสาหกรรมกําหนดต้องแจ้งให้ทราบหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน ตลอดจนการ ควบคุมติดตามโดยการรายงานปริมาณวัตถุอันตรายที่ใช้หรือจัดเก็บในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม มาตรการควบคุมก็มีข้อจํากัดเนื่องจากรายชื่อวัตถุอันตรายที่ถูกควบคุมติดตามนั้น กรมโรงงาน อุตสาหกรรมกําหนดชื่อเป็นรายตัววัตถุอันตรายทําให้ไม่ครอบคลุมวัตถุอันตรายอื่น ๆ ที่มีความ อันตรายเช่นกันแต่ไม่อยู่ในรายชื่อวัตถุอันตรายที่ต้องควบคุมติดตาม เห็นได้ชัดจากกรณีสารสไตรีน ของโรงงานหมิงตี้เคมีคอลที่ถูกจัดเก็บไว้ในโรงงานจํานวนมาก โดยสารสไตรีนไม่ถูกกําหนดให้ต้อง รายงานปริมาณการใช้หรือจัดเก็บในแต่ละปีต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อเกิดอุบัติภัยขึ้นความ เสียหายจึงกระจายเป็นวงกว้าง โดยผู้เขียนได้ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการควบคุมสารเคมีของประเทศ ที่ได้รับการยอมรับว่ามีความก้าวหน้าในระบบกฎหมายสารเคมีได้แก่ ประเทศอังกฤษ และประเทศ สหรัฐอเมริกา เพื่อนํามาเปรียบเทียบมาตรการควบคุมสารเคมีของประเทศไทยและพิจารณาถึง มาตรการควบคุมสารเคมีที่ยังไม่เหมาะสมของประเทศไทย บทสรุปจากการศึกษาในครั้งนี้ ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการทบทวนบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ให้ครอบคลุมวัตถุอันตรายได้กว้างขึ้น เพื่อให้สามารถควบคุมติดตามวัตถุอันตรายและลดโอกาสที่จะ เกิดอุบัติภัยจากวัตถุอันตราย และเสนอแนะให้มีมาตรการทางกฎหมายกําหนดให้โรงงานอุตสาหกรรม ต้องส่งรายงานปริมาณวัตถุอันตรายที่ใช้หรือจัดเก็บในแต่ละปีให้กับหน่วยงานท้องถิ่นและเปิดเผย ข้อมูลที่จําเป็นแก่ประชาชนด้วย เพื่อหน่วยงานท้องถิ่นจะสามารถวางแผนรองรับล่วงหน้าและเมื่อเกิด เหตุฉุกเฉินหน่วยงานท้องถิ่นจะมีข้อมูลที่เพียงพอในการประเมินสถานการณ์และกําหนดแนวทาง ระงับเหตุได้อย่างทันการณ์นอกจากนี้ ควรมีบทบัญญัติให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้และจัดเก็บวัตถุอันตราย ต้องจัดทําประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก เพื่อเป็นการประกันว่าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้เสียหายจะได้รับการชดเชยเยียวยาและเป็นการถ่ายโอนความเสี่ยงของผู้ประกอบกิจการโรงงานด้วย


แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานต่างประเทศ : กรณีศึกษาประเทศออสเตรเลีย และแคนาดา, มณฑิรา อินทโชติ Jan 2021

แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานต่างประเทศ : กรณีศึกษาประเทศออสเตรเลีย และแคนาดา, มณฑิรา อินทโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงาน และการ ส่งออกแรงงานไปทํางานต่างประเทศของประเทศไทย โดยศึกษาเพิ่มเติมในความต้องการแรงงาน ต่างชาติของประเทศออสเตรเลียและแคนาดา และกลไกการส่งออกแรงงานของประเทศฟิลิปปินส์ ด้วยวิธีการศึกษาโดยการวิจัยทางเอกสาร โดยการค้นคว้า ศึกษา สืบค้น รวบรวมข้อมูล จากกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศและข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังศึกษาถึงข้อจํากัดของ กฎหมายและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่สามารถเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้กับบริบทของประเทศ ไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงานและการส่งออกแรงงานไปทํางานในต่าง ประเทศให้มีระบบที่ดียิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีระบบการพัฒนาแรงงานฝีมือและการส่งเสริมแรงงานไป ทํางานต่างประเทศอยู่แล้วในระดับหนึ่ง แต่ในด้านของการพัฒนานั้นพบปัญหาคือ ยังคงขาดความ หลากหลายในกลุ่มอาชีพที่พัฒนา และไม่มีระบบการติดตามประสิทธิผลของแรงงานที่ผ่านการอบรม ผ่านผู้ประกอบการ ทําให้ไม่สามารถเห็นประโยชน์ที่ชัดเจนพอจากแรงงานที่ผ่านการพัฒนาแล้ว ส่วน ของการส่งเสริมไปทํางานต่างประเทศนั้น เป็นประเด็นที่รัฐบาลไทยให้การส่งเสริมไม่เพียงพอ มีระบบ การจัดการแต่ยังไม่มีกลไกที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสังเกตได้จากข้อตกลงระหว่างประเทศด้านแรงงานที่มี อย่างจํากัด ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาฝีมือแรงงานและการส่งเสริมแรงงานไทยไปทํางานต่างประเทศ มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานของประเทศออสเตรเลียและ แคนาดา จึงควรมีการปรับปรุงเชิงนโยบายของประเทศเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว และกระตุ้นให้ แรงงานไทยเป็นแรงงานฝีมือที่พัฒนาแล้วอย่างแท้จริง ประกอบกับมีกลไกการส่งออกแรงงานที่เกิด ประโยชน์สูงสุดกับระบบเศรษฐกิจของประเทศ


ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการของรัฐในการช่วยเหลือผู้รับจ้าง ในสัญญาจ้างก่อสร้างภาครัฐ : ศึกษากรณีเหตสุดวิสัยอันเนื่องมาจากโรคโควิด 19 ระบาด, ภาวิตา ลี้สกุล Jan 2021

ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการของรัฐในการช่วยเหลือผู้รับจ้าง ในสัญญาจ้างก่อสร้างภาครัฐ : ศึกษากรณีเหตสุดวิสัยอันเนื่องมาจากโรคโควิด 19 ระบาด, ภาวิตา ลี้สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการของรัฐในการช่วยเหลือผู้รับจ้างในสัญญาจ้างก่อสร้างภาครัฐกรณีเหตสุดวิสัยอันเนื่องมาจากโรคโควิด 19 ระบาด วิเคราะห์ปัญหาปัญหาเกี่ยวกับมาตรการของรัฐในการช่วยเหลือดังกล่าว และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น ข้อเสนอเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เพียงพอของมาตรการที่ใช้ในการเยียวยาผู้รับจ้างในสัญญาจ้างก่อสร้าง รวมถึง การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อเสนอเกี่ยวกับการแก้กฎหมายให้รองรับหลักการปฏิบัติการชำระหนี้ก่อให้เกิดภาระเกินสมควรแก่คู่สัญญา (hardship) ในชั้นนี้จึงสมควรที่จะศึกษาในปัญหาดังกล่าว รวมถึงการนำเสนอการแก้ไขหรือเพิ่มเติมกฎหมาย การกำหนดนโยบายที่สำคัญที่ช่วยเหลือผู้รับจ้างในสัญญาจ้างก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบ โดยการกำหนดนโยบายดังกล่าวควรบัญญัติเป็นกฎหมายพิเศษขึ้นมานอกเหนือจากการใช้บังคับตามที่กำหนดไว้ในระบบกฎหมายปกติ อันจะก่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับแนวนโยบายในการช่วยเหลือผู้รับจ้างในสัญญาจ้างก่อสร้าง


มาตรการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้น, รวิศา โสพร Jan 2021

มาตรการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้น, รวิศา โสพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิสาหกิจเริ่มต้นหรือสตาร์ทอัพเป็นกลไกสําคัญอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ ประเทศ การมีธุรกิจสตาร์ทอัพจํานวนมากจะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต ดึงดูด นักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย สร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในประเทศ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ในการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพนั้น จําเป็นจะต้องมีแหล่งเงินทุนเพื่อเข้ามาสนับสนุนธุรกิจ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจนกระทั่งเติบโตและขยายธุรกิจเพื่อเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ในอนาคต ปัจจุบันแหล่ง เงินทุนที่สําคัญสําหรับสตาร์อัพ คือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ Venture Capital (VC) มีสตาร์ทอัพ มากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ประสบความสําเร็จเพราะได้รับเงินสนับสนุนจากธุรกิจเงิน ร่วมลงทุน เนื่องจากนักลงทุนประเภทนี้มีความเข้าใจในธุรกิจสตาร์ทอัพและมองเห็นถึงศักยภาพของ ธุรกิจ สามารถยอมรับความเสี่ยงในระดับที่สูง สามารถให้คําแนะนําและเป็นที่ปรึกษาด้านการดําเนิน ธุรกิจ โดยมีเป้าหมายร่วมกับเจ้าของสตาร์ทอัพ คือ ผลักดันให้ธุรกิจเติบโตจนประสบความสําเร็จ เพื่อ ผลตอบแทนที่มีมูลค่าสูง มาตรการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับ ต่างประเทศพบว่าประเทศไทยมีข้อจํากัดบางประการที่ทําให้ไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนได้เท่าที่ควร มี สภาพแวดล้อมในการทําธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่เป็นอุปสรรค เช่น มีการร่างพระราชบัญญัติการพัฒนา และส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น พ.ศ. .... ตั้งแต่ปี 2559 จนกระทั่งปัจจุบัน แต่ยังไม่สามารถตราเป็น พระราชบัญญัติเพื่อใช้บังคับเป็นการทั่วไป มาตรการยกเว้นภาษีกําไรจากลงทุนและเงินปันผลจากการ ลงทุนขาดความต่อเนื่อง โครงการ SMART Visa ที่ให้สิทธิพิเศษแก่ชาวต่างชาติที่เป็นนักลงทุนไม่ ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับนโยบายรัฐบาล เป็นต้น จากการศึกษามาตรการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนของประเทศสิงคโปร์และอิตาลี ในด้าน กฎหมาย มาตรการทางภาษี มาตรการเชิงนโยบายของภาครัฐ ผู้เขียนเห็นว่า สามารถนําแนวคิดหรือ รูปแบบการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนบางประการมาปรับใช้ตามความเหมาะสมของบริบทและ สภาพแวดล้อมของประเทศไทย โดยปรับปรุงกฎหมายให้เอื้ออํานวยต่อการลงทุน เพิ่มมาตรการ ยกเว้นภาษีกําไรจากลงทุนและเงินปันผลจากการลงทุนในสตาร์ทอัพ เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่นัก ลงทุนต่างชาติ ตลอดจนรัฐบาลจัดตั้งกองทุนร่วมกับธุรกิจเงินร่วมลงทุนเพื่อสนับสนุนเงินทุนให้แก่ สตาร์อัพ หากประเทศไทยมีมาตรการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่เหมาะสมจะช่วยดึงดูดนักลงทุนให้ มีส่วนร่วมในการสนับสนุนสตาร์ทอัพให้สามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนซึ่งจะช่วยขับเคลื่อน ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย


แนวทางในการแก้ปัญหาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการตั้งสถานประกอบการบนอาคารชุดหรือคอนโดมีเนียมที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ประกอบการร้านค้า, สิรามล สุขเอี่ยม Jan 2021

แนวทางในการแก้ปัญหาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการตั้งสถานประกอบการบนอาคารชุดหรือคอนโดมีเนียมที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ประกอบการร้านค้า, สิรามล สุขเอี่ยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน ประมวลรัษหากรได้กำหนดให้กิจการ 3 ประเภทมีหน้าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและนำส่ง ค่าภาษีดังกล่าวให้กรมสรรพากร กิจการประเภทแรก คือ กิจการขายสินค้าในราชอาณาจักร ประเภทที่สอง คือ กิจการการให้บริการในราชอาณาจักร และประเภทที่สาม คือ การนำเข้าสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศ เข้ามาในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการดังกล่าวและมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องมี หน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องดำเนินการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากรภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มูลค่าของรายรับเกิน 1.8 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้รับสิทธิ ประโยชน์ในการเครดิตภาษีซื้อ ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับ กิจการได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดบางประการเกี่ยวกับสถานประกอบการที่สามารถนำมายื่นขอจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือ ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะจัดตั้งสถานประกอบการและจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น หากสถานประกอบการเป็นอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมและมีลักษณะเป็นห้องพักอาศัย จะ ไม่สามารถใช้ห้องพักอาศัยดังกล่าวเป็นสถานประกอบการในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เนื่องจากขัดกับ ข้อกฎหมายที่มีการห้ามใช้ห้องพักอาศัยในการประกอบการค้า เว้นแต่จะเป็นห้องที่มีการจัดพื้นที่ไว้โดยเฉพาะ เท่านั้น ทั้งนี้ หากพิจารณานิยามคำว่า “สถานประกอบการ” ตามที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลรัษหากรนั้น หมายถึง สถานที่ซึ่งผู้ประกอบการใช้ประกอบกิจการเป็นประจำ และให้หมายรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็น ที่ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย ดังนั้น หากผู้ประกอบการได้ดำเนินธุรกิจภายในห้องพักอาศัย ในอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียม โดยประกอบกิจการงานนั้นเป็นประจำ และมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี อาทิ บุคคลธรรมดารับจ้างพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ โดยสถานที่ทำงานคือห้องพัก ในคอนโดมิเนียมของตนเอง และมีรายได้ต่อปีตรงตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด ก็ควรมีสิทธิที่จะยื่นคำขอ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ยิ่งไปกว่านั้น หากพิจารณาจากจำนวนประชากรในกรุงเทพมหานครที่มีความหนาแน่นสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับพื้นที่ของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ส่งผลให้ความต้องการด้านที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ จากเดิมที่ประชากรเคยมีที่อยู่อาศัยในแนวราบ (Low-Rise) อาทิบ้านจัดสรร บ้านเดี่ยว หรือ อาคารพาณิชย์กลายเป็นรูปแบบที่อยู่อาศัยแนวสูงหรือแนวดิ่ง (High-Rise) คือ อาคารชุด หรือที่ เรานิยมเรียกกันว่า “คอนโดมิเนียม” ประกอบกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ประเทศไทยประสบกับปัญหา การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถออกไปทำธุรกรรม หรือดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ภายนอกได้ตามปกติเช่นเดิม และภาครัฐได้กำหนดมาตรการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อลดการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้กิจการต่าง ๆ ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติวิสัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ในประเทศไทยอย่างเป็นวงกว้าง จากปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาเห็นว่า ข้อกฎหมายของประเทศไทยควรเอื้อให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ ห้องชุดเป็นสถานประกอบการในการจัดตั้งธุรกิจและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพื่อให้สอดคล้องกับ สภาพการณ์ปัจจุบันที่ใครอยู่ที่ไหนก็สามารถทำงานหาเงินได้จึงได้วิเคราะห์วัตถุประสงค์ของกฎหมายไทยที่ …


แนวทางในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกัญชาและกัญชง, วัชระ ธิเขียว Jan 2021

แนวทางในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกัญชาและกัญชง, วัชระ ธิเขียว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันกัญชาและกัญชงก าลังได้รับความสนใจจากประชาชน ซึ่งประเทศไทยมีการบังคับใช้ กฎกระทรวงว่าด้วยเรื่องการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต น าเข้า ส่งออก จ าหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2563 จึงท าให้ประเทศไทยเปิดโอกาสให้ สามารถบริโภคกัญชงได้ทั้งเชิงการแพทย์และเชิงสันทนาการ ส่วนกัญชาสามารถบริโภคได้เฉพาะ เชิงการแพทย์เท่านั้น อย่างไรก็ดี หากประชาชนบริโภคกัญชาและกัญชงไม่ถูกต้องตามค าแนะน าของผู้เชี่ยวชาญอาจ ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ อาทิ อาการมึนเมา เคลิ้ม ใจสั่น หน้ามืด เห็นภาพหลอน และรบกวน การรับรู้ของร่างกาย เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวมีสาเหตุมาจากสาร THC ที่อยู่ในกัญชาและกัญชง ที่สามารถ เข้าสู่ร่างกายด้วยระบบทางเดินอาหารไม่ว่าเป็น การรับประทาน การดื่ม และการสูบ เป็นต้น ทั้งนี้ อาการ ที่ไม่พึงประสงค์จะมีลักษณะที่รุนแรงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในร่างกายของแต่ละบุคคลว่า มีความไว หรือความอ่อนไหวต่อสาร THC มากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีปริมาณปลอดภัยที่ แน่ชัดในการบริโภคสาร THC ที่มีอยู่ในกัญชาและกัญชง ดังนั้น จึงควรมีแนวทางในการจัดเก็บ ภาษีสรรพสามิตจากกัญชาและกัญชง เพื่อควบคุมการบริโภคกัญชาและกัญชงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการเปิดโอกาสให้ประชาชนบริโภคกัญชาและกัญชงภายใต้การจัดเก็บ ภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า หรือตามปริมาณ หรือตามความเข้มข้นของสารเคมีซึ่งแต่ละมลรัฐสามารถ จัดรูปแบบการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตให้เข้ากับสภาพสังคมและเศรษฐกิจของตนเองได้ทั้งนี้ ผู้ศึกษาพบว่า เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกามีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเพื่อจ ากัดการบริโภคกัญชาและกัญชงที่มี ผลกระทบต่อสุขภาพ โดยจ าแนกตามวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแล้ว มีผลลัพธ์ดังต่อไปนี้ ประการที่หนึ่ง แต่ละมลรัฐสามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตที่เป็นรายได้ของภาครัฐได้เพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะสร้างรายได้ให้กับภาครัฐเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประการที่สอง เมื่อมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนบริโภคกัญชาและกัญชงภายใต้การจัดเก็บ ภาษีสรรพสามิตสามารถจ ากัดการบริโภคของประชาชนช่วงอายุ 12 ถึง 17 ปี ออกจากประชากรที่มีการบริโภค กัญชาและกัญชงทั้งหมดได้นอกจากนี้ ยังสามารถลดจ านวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอาการที่ไม่พึง ประสงค์จากการบริโภคกัญชาและกัญชงได้อีกด้วย ประการที่สาม การตรวจจับผู้กระท าความผิดโทษฐานจ าหน่ายสินค้าผิดกฎหมายในตลาดมืด มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากผลลัพธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่า การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกัญชาและกัญชงของประเทศ สหรัฐอเมริกาสามารถยับยั้ง หรือจ ากัดการบริโภคของประชาชนบางกลุ่มออกไปได้และยังท าให้ผู้ป่วย …


แนวทางปรับปรุงการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ศึกษากรณี ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีภาษีอากร, สาธินี เลิศเมธากุล Jan 2021

แนวทางปรับปรุงการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ศึกษากรณี ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีภาษีอากร, สาธินี เลิศเมธากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ ประเทศไทยในปัจจุบัน วิเคราะห์ปัญหาของการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีและปัญหา อื่นที่ส่งผลต่อความถูกต้องของจํานวนภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนการยื่นแบบแสดงรายการ และศึกษา แนวทางการตรวจสอบและรับรองบัญชีของประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีภาษี อากร (CPTA) เพื่อให้ทราบถึงแนวคิดที่สําคัญ และข้อดีของแนวทางดังกล่าว นําไปสู่การเสนอ แนวทางปรับปรุงการตรวจสอบและรับรองบัญชีของประเทศไทย เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี อากร จากการศึกษาพบว่า การตรวจสอบและรับรองบัญชีของประเทศไทยไม่สามารถรับรองความ ถูกต้องของจํานวนภาษีเงินได้ ทําให้ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของการเสียภาษีซ้ำโดย กรมสรรพากร มีสาเหตุมาจากการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในฐานะผู้ตรวจสอบและ รับรองบัญชีไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อรับรองความถูกต้องของจํานวนภาษีที่จะต้องชําระ ผู้ประกอบการ ขาดความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเสียภาษี และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้เป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีอากรโดยเฉพาะ สําหรับการจัดเก็บภาษีเงินได้ของประเทศญี่ปุ่นมีการรับรองความถูกต้องของจํานวนภาษีเงิน ได้ที่จะต้องเสียตั้งแต่ก่อนการยื่นแบบแสดงรายการ โดยกําหนดให้มีวิชาชีพผู้ตรวจสอบและรับรอง บัญชีภาษีอากร (CPTA) ทําหน้าที่ให้คําปรึกษาด้านภาษี คํานวณภาษีและจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง กับการเสียภาษี หรือการคืนภาษี รวมถึงเป็นตัวแทนในการเสียภาษีและเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงต่อ กรมสรรพากรกรณถีูกตรวจสอบ โดยปฏิบัติงานเป็นอิสระจากกรมสรรพากร ผู้เขียนจึงเสนอแนะว่าควรมีการปรับปรุงการตรวจสอบและรับรองบัญชีของประเทศไทยให้ เป็นการรับรองความถูกต้องของจํานวนภาษีเงินได้ที่จะต้องเสียตั้งแต่ก่อนการยื่นแบบแสดงรายการ ตามแนวทางของประเทศญี่ปุ่น จะทําให้การคํานวณภาษีของกิจการที่ผ่านการตรวจสอบและรับรอง บัญชีโดย CPTA นั้นถูกต้อง ครบถ้วน มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการตรวจสอบในสาระสําคัญทางด้าน ภาษีอากรโดยเฉพาะ ส่งผลให้แบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีของกิจการนั้นถูกต้องและครบถ้วน ในสาระสําคัญตั้งแต่ตอนชําระภาษี ซึ่งจะให้ความเชื่อมั่นต่อกรมสรรพากรและช่วยลดขั้นตอนในการ ตรวจสอบซ้ำของกรมสรรพากรได้


การขออนุญาตการจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ออนไลน์, สุปิยะ ติงวสุธาร Jan 2021

การขออนุญาตการจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ออนไลน์, สุปิยะ ติงวสุธาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แต่เดิมการขายสินค้าโดยทั่วไปจะต้องมีหน้าร้านหรือแผงสำหรับการขายสินค้า โดยอาจต้องเช้าพื้นที่ในห้าง หรือต้องหาพื้นที่เช่าอื่นๆ นอกจากผู้ขายยังต้องซื้อสินค้ามาจัดวางที่ร้าน และผู้ซื้อจะต้องไปซื้อในสถานที่ซื้อขาย แต่ในปัจจุบันธุรกิจในโลกออนไลน์เป็นช่องทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการซื้อขายสินค้า หรือบริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram หรือโปรแกรมประยุกต์อย่างแอพพลิเคชั่น line ซึ่งเป็นสังคมแห่งข่าวสารเปิดกว้าง ผู้บริโภคมีสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศได้อย่างง่าย ถือเป็นการทำธุรกรรมการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยทั้งสองฝ่ายไม่ต้องพบกัน แต่ใช้การติดต่อขายทางอินเทอร์เน็ตก็สามารถซื้อขายสินค้าได้ทุกรูปแบบสินค้าทุกประเภท ตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก การขายออนไลน์นั้นสามารถโฆษณาสินค้าได้ง่ายเพียงแค่ลงรายการสินค้า ลงรูป รายละเอียด และราคาของสินค้าในเว็บไซต์ก็สามารถขายของได้ ในกรณีใช้บริการเปิดร้านค้าออนไลน์ สามารถตั้งชื่อร้าน ตกแต่งป้ายร้านและหน้าตาของร้านได้ตามต้องการ ดังนั้น จะเห็นว่าการขายออนไลน์มีใช้ต้นทุนต่ำ ไม่ต้องเสียค่าเช่าร้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน การขายออนไลน์นั้นสามารถขายได้ทุกวัน อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลา ทำให้ลูกค้าสามารถเข้ามาชมสินค้าภายในร้านค้าหรือกระทู้ขายของได้ตลอดเวลา ในขณะที่ปัจจุบันนั้นการขายออนไลน์มีสินค้ามากมายที่ผู้ขายนำมาเสนอขายให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งสินค้าบางประเภทอาจเป็นสินค้าที่ต้องอยู่ในความควบคุม หรือต้องมีการตรวจสอบก่อนที่จะนำมาจำหน่ายแก่ผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขายเครื่องมือการแพทย์ซึ่งมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ส่งผลให้ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการตามกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าว แต่ปัจจุบันพบว่า การขายเครื่องมือแพทย์ทางออนไลน์นั้นมีอยู่เป็นจำนวนมากที่มีการโฆษณาที่สรรพคุณเกินความเป็นจริง การโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เช่น โฆษณาอุปกรณ์บำบัดด้วยกระแสไฟฟ้าสถิตย์ที่มีความต่างศักยภาพสูง...ทดลองใช้ฟรีอาการที่รักษา ได้ดี : ปวดศีรษะ ท้องผูก นอนไม่หลับ ปวดหลัง ปวดไหล่ ใช้เวลาเพียงวันละ 20 นาทีรับรองโดยกระทรวงสาธารณสุขประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน ประเทศไต้หวัน...” หรือการโฆษณาเครื่องตรวจออกซิเจนในเลือดที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ เช่น ติดตามโรค หรืออาการบาดเจ็บ จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่ง ที่โฆษณาเกินจริงว่าสามารถใช้วินิจฉัยยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคณะกรรมการอาหารและยาได้ชี้แจงว่าไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ข้อความโฆษณาเกินจริงดังกล่าวพบว่ายังไม่ได้ทำการขออนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์จากคณะกรรมการอาหารและยา แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับการถึงการโฆษณาสรรพคุณเครื่องมือแพทย์ทางสื่อต่างๆจะต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยาก่อนปรากฎตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 24 กำหนดไว้ว่า ผู้ใดประสงค์จะขายเครื่องมือแพทย์ตามมาตรา 6 (3) ให้ยื่นคำขออนุญาตและเมื่อผู้อนุญาตออกใบอนุญาตให้แล้วจึงจะขายเครื่องมือแพทย์นั้นได้ การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการโฆษณาเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 โดยกระบวนการพิจารณาอนุญาตจะต้องเป็นไปตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนด ในทางปฏิบัติยังพบว่ามีการโฆษณาเครื่องมือแพทย์มีจำนวนมากเห็นได้ว่าจากสถิติการรับเรื่องร้องเรียนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในแต่ละปีพบว่ากว่าร้อยละ 60 …


แนวทางการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (การแลกเปลี่ยนข้อมูลตามคำขอระหว่างประเทศและการแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติระหว่างประเทศ) : ศึกษากฎทั่วไปว่าด้วยการต่อต้านการเลี่ยงภาษีอากร (General Anti-Tax Avoidance Rules), สุภาวี ไกรทอง Jan 2021

แนวทางการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (การแลกเปลี่ยนข้อมูลตามคำขอระหว่างประเทศและการแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติระหว่างประเทศ) : ศึกษากฎทั่วไปว่าด้วยการต่อต้านการเลี่ยงภาษีอากร (General Anti-Tax Avoidance Rules), สุภาวี ไกรทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาสาระสำคัญในร่างพระราชบัญญัติการ แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. ... ซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัติ ภายใต้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2564 ที่มีสาระสำคัญในการ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรในการนำข้อมูลผู้มีถิ่นฐานทางภาษีของประเทศคู่สัญญา ที่ถือครอง บัญชี หรือมีบัญชีที่เข้าข่ายต้องถูกนำส่งข้อมูลโดยอัตโนมัติ เป็นรายปี ด้วยวิธีบันทึกลงในฐานข้อมูล ตามมาตรฐานและการรักษาความปลอดภัยทางข้อมูลที่กำหนดโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการ พัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และกรมสรรพากรไทยจะได้รับข้อมูลทางบัญชีของผู้มีถิ่นที่อยู่เพื่อการ จัดเก็บภาษีในไทยส่งกลับมาเช่นกัน จากการวิเคราะห์มาตรการตามร่างพระราชบัญญัติฯ พบว่า เมื่อได้รับข้อมูลทางบัญชีจากการ แลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติระหว่างประเทศจากประเทศภาคีที่ทำตามความตกลง หากพบความ ผิดปกติ เช่น มีแนวโน้มกระทำธุรกรรมเพื่อเลี่ยงภาษี กฎหมายไทยยังไม่มีการบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์ อักษรในเรื่องดังกล่าวในการตรวจสอบผู้ที่กระทำการจงใจเลี่ยงภาษีด้วยการย้ายเงินได้ เงินทุน ประกอบธุรกรรมในต่างประเทศ เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำธุรกรรมทางการเงินใน ยุคดิจิทัล การลงทุนในรูปแบบต่างๆ นั้นมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วและในบางครั้งอาจเกินกว่าที่ข้อ กฎหมายจะสามารถระบุออกมาได้อย่างครอบคลุม ดังนั้นกฎหมายดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้เท่า ทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน เพื่อให้การใช้บังคับกฎหมายเป็นไปอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด จึงศึกษาแนวทางการบัญญัติกฎ ทั่วไปว่าด้วยการต่อต้านการเลี่ยงภาษีอากร (General Anti-tax Avoidance Rules) และเสนอให้ เพิ่มมาตรการต่อต้านการเลี่ยงภาษีอากร เพื่อให้อำนาจเจ้าหน้าที่ และกำหนดกลไกทางกฎหมายอย่าง ครบถ้วนในการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ เพื่อพิจารณาในประเด็นการ กระทำที่มีเหตุจูงใจ หรือเชื่อได้ว่าจงใจเลี่ยงภาษีรวมถึงหลักการรายงานข้อมูลเงินได้นอกประเทศไม่ ว่าจะนำเงินได้กลับเข้าประเทศหรือไม่ โดยการระบุขั้นต่ำของยอดเงินในบัญชีและประเภทของเงินได้ ที่ต้องรายงาน รวมไปถึงการเปิดเผยข้อมูลโดยสมัครใจเพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเข้า รายงานโดยตรงต่อหน่วยงานทางภาษีที่เกี่ยวข้อง หากไม่มั่นใจเกี่ยวกับการทำธุรกรรมในต่างประเทศ ในอดีตที่มีผลสืบเนื่องทางภาษี และมีการลดหย่อนโทษที่อาจเกิดขึ้นหากผู้มีหน้าที่เสียภาษีถูก ตรวจสอบ ผู้ศึกษาเชื่อว่าจะสามารถสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติในการจัดเก็บภาษีบนเงินได้ ดังกล่าวได้ในอนาคต


ปัญหาการประเมินราคาโรงไฟฟ้าชีวมวลเพื่อจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, วารีย์ยา รัตนวรคุณ Jan 2021

ปัญหาการประเมินราคาโรงไฟฟ้าชีวมวลเพื่อจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, วารีย์ยา รัตนวรคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ.ศ. 2562 จึงต้องถูกจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเก็บจากมูลค่าของสิ่งปลูกสร้าง โดยอาศัยราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ เมื่อโรงไฟฟ้าชีวมวลมีลักษณะเฉพาะและมีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างเพื่อผลิตไฟฟ้าเท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ จึงแตกต่างจากสิ่งปลูกสร้างประเภทโรงงาน ทำให้ไม่สามารถเทียบเคียงกับบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างและบัญชีเทียบเคียงสิ่งปลูกสร้างของกรมธนารักษ์ได้ โรงไฟฟ้าชีวมวลจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ และไม่มีกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินราคาในการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไว้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งจึงนำโรงไฟฟ้าชีวมวลไปเทียบกับสิ่งปลูกสร้างประเภทโรงงาน ทำให้การประเมินราคาเพื่อกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของโรงไฟฟ้าชีวมวลขึ้นอยู่กับดุลยพินิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มีมาตรฐานในการประเมิน อาจส่งผลให้ไม่สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริง ตลอดจนทำให้การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่มีประสิทธิภาพ จึงเห็นได้ว่า การประเมินราคาเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีนั้นจึงถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างมาก ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมินราคาโรงไฟฟ้า ชีวมวลเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเด็นปัญหาการคำนวณมูลค่าของสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยศึกษาลักษณะ รูปแบบของกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวล และเพื่อกำหนดวิธีการประเมินราคาโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินราคาเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษี ซึ่งศึกษาเปรียบเทียบการประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสิงคโปร์ เพื่อเป็นแนวทางการปรับใช้อย่างเหมาะสม ผู้ศึกษาจึงเห็นสมควรให้มีการกำหนดบัญชีสิ่งปลูกสร้างที่ไม่สามารถเทียบเคียงได้เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำแนกสิ่งปลูกสร้างที่ไม่สามารถเทียบเคียงกับบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างและบัญชีเทียบเคียงสิ่งปลูกสร้างของกรมธนารักษ์ ตลอดจนปรับปรุงกฎหมายโดยกำหนดวิธีการประเมินราคาเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้มีความแน่นอน ชัดเจน และเป็นธรรม สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดี อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการปฏิรูประบบภาษีให้มีการจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรมต่อภาครัฐและผู้ประกอบกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวล เพิ่มความเชื่อมั่นในการตัดสินใจให้กับนักลงทุน ตลอดจนบรรลุเป้าตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและนโยบายพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลของประเทศไทย


ข้อจำกัดของกฎหมายเงินตราต่อการออกสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับประชาชนในประเทศไทย, กฤษฏ์ พงษ์ประภาพันธ์ Jan 2021

ข้อจำกัดของกฎหมายเงินตราต่อการออกสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับประชาชนในประเทศไทย, กฤษฏ์ พงษ์ประภาพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันธนาคารกลางทั่วโลกรวมไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยวางแผนผลิตและนำออกใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับประชาชน (Retail CBDC) ซึ่งจะถูกนำมาใช้งานเป็นเงินในรูปแบบใหม่อันมีสถานะรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายเงินตรา ดังเช่น ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 กำหนดรูปแบบของเงินตราให้หมายความเฉพาะถึงเหรียญกษาปณ์และธนบัตรเท่านั้น ซึ่งมิได้หมายความรวมถึงเงินในรูปแบบดิจิทัลด้วย ดังนั้น หากเงินดิจิทัลดังกล่าวจะถูกนำมาใช้งานดังเช่นเงินตราที่ถูกต้องตามกฎหมาย กฎหมายเงินตราต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับการออกสกุลเงินดิจิทัลดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อที่จะทราบถึงประเด็นในการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายเงินตราข้างต้น เอกัตศึกษาฉบับนี้ได้พิจารณาถึงคุณลักษณะทางกฎหมายของเงินตรา 5 ประการ อันได้แก่ (1) การถูกจัดทำขึ้นโดยรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ (2) มีมูลค่าบังคับ (3) สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย (4) เอกสิทธิภายใต้กฎหมายเอกชน และ (5) ความคุ้มครองภายใต้กฎหมายอาญา ประกอบกับรูปแบบการใช้งานของสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับประชาชน รวมไปถึงศึกษาและเปรียบเทียบการปรับปรุงกฎหมายเงินตราในสาธารณรัฐประชาชนจีนและบาฮามาสต่อการออกสกุลเงินดิจิทัลดังกล่าวเพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเงินตราให้สอดคล้องกับคุณลักษณะทางกฎหมายของเงินตราและรูปแบบการใช้งานของสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับประชาชนในประเทศไทย


ปัญหาการบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กับรัฐวิสาหกิจ, อวัสดา กิมฮง Jan 2021

ปัญหาการบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กับรัฐวิสาหกิจ, อวัสดา กิมฮง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ที่ออกตามความพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจที่ยังมิได้ใช้ในกิจการของรัฐวิสาหกิจและยังมิได้ใช้หาผลประโยชน์ ได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่งผลให้ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจทั้ง 52 แห่ง ได้รับยกเว้น จึงเกิดความไม่สอดคล้องกับหลักความเสมอภาคในการเสียภาษี ซึ่งแต่เดิมพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มิได้มีการยกเว้นอย่างกว้างขวางเช่นนี้ เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาแนวคิด หลักการ และวิธีการทั้งในด้านการจัดเก็บภาษี การยกเว้นภาษีทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจ ในประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิเช่นประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส จากการศึกษาพบว่าการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กับรัฐวิสาหกิจนั้น ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาเป็นอย่างมาก อาทิเช่น ขัดกับหลักความเสมอภาคหรือหลักความยุติธรรมในการเสียภาษี กระทบต่อรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกระทบโดยตรงต่อการจัดสรรเงินอุดหนุนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ยังผลต่อการถือครองที่ดินที่ไม่เกิดประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งขัดต่อเจตนารมย์ในการตราพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงขอเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา โดยเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ 2562 และยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 เพื่อลดการเอื้อประโยชน์ให้กับรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ และสอดคล้องกับเจตนารมย์ของพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ 2562


การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในสถานที่ตามร่างพระราชบัญญัติข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง พ.ศ. ..., วรรษวีร์ สิงห์สรศรี Jan 2021

การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในสถานที่ตามร่างพระราชบัญญัติข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง พ.ศ. ..., วรรษวีร์ สิงห์สรศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ร่างพระราชบัญญัติข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง พ.ศ. ... ได้บัญญัติให้อำนาจแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในสถานที่ประกอบการหรือสถานประกอบธุรกิจของนิติบุคคลผู้มีหน้าที่แจ้งข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงอันเป็นที่รโหฐาน โดยอาศัยเหตุว่านายทะเบียนนั้นมีเหตุอันควรสงสัยว่าข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงที่ได้รับแจ้งมาอาจไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นปัจจุบัน การเข้าไปในสถานประกอบกิจการของผู้มีหน้าที่แจ้งข้อมูลดังกล่าวเป็นการเข้าไปในที่รโหฐานที่ถือเป็นการค้นอย่างหนึ่ง คือ เข้าไปในที่รโหฐานเพื่อค้นหาพยานหลักฐานของการกระทำความผิดซึ่งอยู่ในสถานที่นั้น หากแต่การใช้อำนาจของนายทะเบียนในการเข้าไปในสถานที่ตามร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวไม่ได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กล่าวคือ นายทะเบียนไม่จำต้องขอหมายค้นจากศาลก่อน ทั้งยังไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อยกเว้นที่ทำให้สามารถค้นได้โดยไม่มีหมาย อีกทั้งเหตุในการเข้าไปในสถานที่ของนายทะเบียนตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ยังไม่สอดคล้องกับแนวทางการบัญญัติหลักเกณฑ์ในการเข้าไปในสถานที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่น ๆ ที่มีโทษอาญาและเป็นความผิดที่มีความรุนแรง โดยการเข้าไปในสถานที่ที่อาจพบพยานหลักฐานในการกระทำความผิดตามกฎหมายเฉพาะเหล่านี้ บางฉบับก็กำหนดให้ต้องขอหมายค้นจากศาลก่อนหรือบางฉบับก็กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปในสถานที่ได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น แต่ต้องมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้มีสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดอยู่ในนั้นและมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะได้หมายค้นมาจะทำให้ทรัพย์สินถูกยักย้ายไป หากแต่เหตุตามร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าได้มีการจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติหรือไม่ และยังไม่จำต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากเป็นการเนิ่นช้าจะทำให้พยานหลักฐานในที่รโหฐานนั้นถูกยักย้ายหรือทำลายไป นอกจากนั้น โดยที่การค้นในที่รโหฐานนี้เป็นการใช้อำนาจของรัฐในทางที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน การกำหนดมาตรการดังกล่าวจะต้องเป็นไปโดยสมควรแก่เหตุ เมื่อยังมีมาตรการที่รุนแรงหรือส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนน้อยกว่าการเข้าไปตรวจค้นในที่รโหฐานที่สามารถนำมาใช้ในกรณีเดียวกันได้อยู่ การกำหนดให้ใช้มาตรการค้นในกรณีตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นมาตรการที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและอาจไม่เป็นไปตามหลักแห่งความพอสมควรแก่เหตุในเรื่องของความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพเพื่อใช้อำนาจค้นสถานที่ของเจ้าหน้าที่รัฐตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ และมาตรการอื่น ๆ ที่อาจใช้ได้ในกรณีที่ข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงมีความน่าสงสัยว่าไม่ถูกต้องหรือเป็นปัจจุบัน เปรียบเทียบกับร่างพระราชบัญญัติผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง พ.ศ. ... เพื่อเสนอแนวทางกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไป