Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Banking and Finance Law

PDF

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2019

Articles 1 - 30 of 40

Full-Text Articles in Law

แนวทางการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ประกอบการธุรกิจหอพักเอกชน ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.2558, เปมิกา ทั่งทอง Jan 2019

แนวทางการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ประกอบการธุรกิจหอพักเอกชน ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.2558, เปมิกา ทั่งทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


แนวทางการพัฒนากระบวนการก่อนการนำพยานหลักฐานเข้าสืบข้อเท็จจริง ในคดีภาษีอากร, จุฬารัตน์ วงษ์ผักเบี้ย Jan 2019

แนวทางการพัฒนากระบวนการก่อนการนำพยานหลักฐานเข้าสืบข้อเท็จจริง ในคดีภาษีอากร, จุฬารัตน์ วงษ์ผักเบี้ย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การนำมาตรการป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษีและการโยกย้ายกำไรโดยการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนในทางที่ไม่ถูกต้องตามแนวทางของ Oecd มาใช้ในประเทศไทย, สิตา พลังวชิรา Jan 2019

การนำมาตรการป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษีและการโยกย้ายกำไรโดยการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนในทางที่ไม่ถูกต้องตามแนวทางของ Oecd มาใช้ในประเทศไทย, สิตา พลังวชิรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนในทางที่ไม่ถูกต้องเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งของการกัดกร่อนฐานภาษีและการโยกย้ายกําไร หรือ Base Erosion and Profit Shifting – BEPS ที่องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD (Organization for Economic Co – Operation and Development) ได้ให้ความสําคัญ โดยมีการประกาศแผนปฎิบัติการที่ 6 เรื่อง Preventing the Granting of TreatyBenefits in Inappropriate Circumstances อีกทั้งมีการกําหนดมาตรการขั้นต่ํา (Minimum Standard) ซึ่งแต่ละประเทศสมาชิกต้องทําการปฎิบัติตาม ได้แก่การบัญญัติเจตนารมณ์ (The Express Statement) ไว้ในคํานําแห่งอนุสัญญาภาษีซ้อน (Preamable) และให้ประเทศสมาชิกเลือก 1 ใน 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการที่ 1 การบัญญัติหลักการทดสอบวัตถุประสงค์สําคัญ (Principle Purposes Test – PPT Rule) และหลักการจํากัดสิทธิของบุคคลที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากอนุสัญญาภาษีซ้อน (Limitations of Benefits –LOB Rule) ไม่ว่าจะเป็นฉบับย่อ (Simplied Version) หรือฉบับละเอียด (Detailed Version) หรือ มาตรการที่ 2 การบัญญัติเพียง PPT Rule หรือ มาตรการที่ 3 การบัญญัติ LOB Rule ฉบับละเอียดไว้เพียงอย่างเดียว โดยควบคู่กับกฎหมายภายในประเทศที่ใช้เพื่อป้องกันปัญหา Conduit Arrangement ทั้งนี้ OECD ได้มีแผนปฎิบัติการที่ 15 เรื่อง Multilateral Instrument โดยพัฒนาสนธิสัญญาพหุภาคี Multilateral Convention to Implement Tax Treaty Related …


แนวทางการปรับปรุงมาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมการศึกษาในประเทศไทย, จักรินทร์ ภาณุวงศ์ Jan 2019

แนวทางการปรับปรุงมาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมการศึกษาในประเทศไทย, จักรินทร์ ภาณุวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระแสของโลกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติ เกิดโอกาส ปัจจัยเสี่ยงภัยและโรคภัยคุกคามที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ยกตัวอย่างได้ว่าในขณะที่ผู้ทําวิจัยเล่มนี้นั้นเกือบทั้งโลกรวมทั้งประเทศไทยได้ประสบกับการแพร่ระบาด (pandemic) อย่างรุนแรงของไวรัสโคโรน่า (Coronavirus disease) หรือมีชื่อย่อว่า โควิด-19 (COVID-19)ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการบริหารจัดการทรัพยากรรวมถึงเสรีภาพ การปรับวิถีชีวิตของประชาชนเพื่อให้ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจทั้งสังคมแบบทั่วไป และสังคมออนไลน์รวมถึงระบบการศึกษา ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ซึ่งได้ระบุถึงวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อที่นําประเทศเข้าสูประเทศที่พัฒนา อย่างไรก็ตามปัญหาด้านการศึกษาที่ผ่านมามีความซับซ้อน โดยเฉพาะในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา จึงทําให้ความเสี่ยงของการศึกษาไม่ได้มีแต่มีอยู่ในแต่ห้องเรียน แต่หมายถึงอาจจะไม่มีประชาชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุนทางปัญญาถดถอย ส่งผลให้ไม่มีความมั่นคงในระดับตนเองและครอบครัวซึ่งตรงข้ามกับคติพจน์ประจําชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” อย่างสิ้นเชิง เอกัตศึกษาเล่มนี้มุ่งศึกษามาตรการภาษีด้านการส่งเสริมการศึกษาทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเปรียบเทียกับมาตรการภาษีของต่างประเทศซึ่งจากการศึกษาพบว่า ภาครัฐยังไม่ได้ใช้มาตรการด้านภาษีในการสนับสนุนด้านการศึกษาอย่างเหมาะสม จึงสมควรที่ภาครัฐจะต้องกําหนดหลักเกณฑ์และมีการบัญญัติกฎหมายในด้านการส่งเสริมการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามกรอบยุทธศาสตร์และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความเสมอภาคทางภาษี


การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ศึกษากรณี : คำร้องขอหรือคำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากรัฐ, กิตติพงศ์ หาริเทศ Jan 2019

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ศึกษากรณี : คำร้องขอหรือคำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากรัฐ, กิตติพงศ์ หาริเทศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐมีคำร้องหรือคำสั่งขอเข้าถึงขอข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งกำลังประสบปัญหาอยู่ในหลาย ประการ ตลอดจนศึกษาถึงแนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลตามคำร้องขอหรือ คำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานของรัฐ เพื่อนำมาวิเคราะห์และนำเสนอถึงมาตรการทางกฎหมาย ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป จากการศึกษาระบุให้เห็นอย่างเป็นที่ประจักษ์ว่า การที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งหรือคำร้องขอเข้าถึง ข้อมูลส่วนบุคคลจากธุรกิจสถาบันการเงินนั้น ยังมีความไม่ถูกต้องชัดเจนในการใช้อำนาจ ส่งผลให้สถาบัน การเงินไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งแม้ในปัจจุบันประเทศไทยจะมี มาตรการทางกฎหมายหรือแนวทางปฏิบัติของสถาบันการเงินที่อาจปรับใช้กับปัญหาดังกล่าวได้อยู่บ้างก็ตาม แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมถึงกรณีปัญหาต่างๆได้อย่างเพียงพอ ฉะนั้น หากประเทศไทยได้มีการกำหนดมาตรการทาง กฎหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีดังกล่าวแล้ว ย่อมจะส่งผลให้ปัญหาการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ให้กับหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจกฎหมายถูกแก้ไขและเกิดความชัดเจนมากขึ้น


ปัญหาการยกเว้นภาษีเงินได้ : กรณีค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณอายุ, ปิยะธร ทองปิ่น Jan 2019

ปัญหาการยกเว้นภาษีเงินได้ : กรณีค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณอายุ, ปิยะธร ทองปิ่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีในการระงับข้อพิพาททางภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, นัฐพล ตรีโชติ Jan 2019

ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีในการระงับข้อพิพาททางภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, นัฐพล ตรีโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการดำเนินคดีล้มละลายภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย : ศึกษากรณีลูกหนี้ประวิงมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้, ศิริวาสน์ มังกรชัย Jan 2019

ปัญหาการดำเนินคดีล้มละลายภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย : ศึกษากรณีลูกหนี้ประวิงมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้, ศิริวาสน์ มังกรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษาลักษณะพฤติการณ์ประวิงคดีของลูกหนี้ และปัจจัยที่มีผลต่อการประวิงคดี ของลูกหนี้ในกระบวนการด าเนินคดีล้มละลายภายหลังศาลมีค าสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ของธนาคาร เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยเนื่องจากปัญหาความล่าช้าในการดำเนินคดีล้มละลายกับลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่ลูกหนี้ประวิงคดีมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ด้วยการยื่นคำขอประนอมหนี้หรือแก้ไขค าขอประนอมหนี้เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและลูกหนี้คาดหมายได้ว่าเจ้าหนี้ไม่อาจยอมรับคำขอประนอมหนี้เช่นนั้นได้ในขณะที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ไม่ได้มีบทบัญญัติกำหนด จำนวนเงินขั้นต่ำที่ลูกหนี้จะขอประนอมหนี้ได้ทำให้บรรดาเจ้าหนี้จำต้องขอเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ออกไปเพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้และในที่สุด ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่ยอมรับคำขอประนอมหนี้ฉบับดังกล่าวส่งผลให้ธนาคารต้องเสียทรัพยากรในด้านเวลาการทำงานของพนักงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายและค่าทนายความโดยที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยไม่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้แต่อย่างใด ผู้เขียนจึงนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันมิให้ลูกหนี้ประวิงมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในการ ดำเนินคดีล้มละลายภายหลังศาลมีค าสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย


การประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ภายใต้พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมิน ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, อัจฉริยา ทัดเทียม Jan 2019

การประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ภายใต้พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมิน ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, อัจฉริยา ทัดเทียม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 โดยมุ่งเน้นไปที่หลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีการรับมรดกว่าบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีการรับมรดกเมื่อพิจารณาภายใต้หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทําร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 หรือไม่ โดยศึกษาถึงวัตถุประสงค์และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดเก็บภาษีการรับมรดกเพื่อทําการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายซึ่งเป็นการวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายภาษีการรับมรดกว่าได้ผลตรงตามวัตถุประสงค์ของการตรากฎหมายนั้นมากน้อยเพียงใด คุ้มค่ากับภาระที่เกิดขึ้นแก่รัฐและประชาชนหรือไม่ หรือมีผลกระทบอื่นอันก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนหรือไม่ เพียงใด ผลการศึกษาพบว่าจากข้อมูลการวิเคราะห์การจัดเก็บภาษีการรับมรดกภายใต้หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทําร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายพ.ศ. 2562 พบว่ากฎหมายภาษีการรับมรดกในปัจจุบันยังไม่สัมฤทธิ์ผลด้วยเหตุผลหลายประการเช่นปัญหามูลค่าทรัพย์สินที่เป็นฐานภาษีในการจัดเก็บภาษีการรับมรดก ดังนั้นสมควรทําการปรับปรุงแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษีการรับมรดกให้เหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดและคุ้มค่ามากที่สุดในการบรรลุวัตถุประสงค์ตามบรรทัดฐานที่กฎหมายกําหนด อาทิความจําเป็นของกฎหมาย ความสอดคล้องกับสภาพการณ์และการลดความเหลื่อมลํ้าในสังคม เป็นต้น


ปัญหาการตีมูลค่าทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนแทนการชำระค่าหุ้นของบริษัทจำกัด, กมลชนก มานะชำนิ Jan 2019

ปัญหาการตีมูลค่าทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนแทนการชำระค่าหุ้นของบริษัทจำกัด, กมลชนก มานะชำนิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาการตีมูลค่าทรัพย์สินทีไม่มีตัวตนแทนการชำระค่าหุ้นของบริษัทจำกัด โดยมีสมมติฐานการวิจัยว่าการตีมูลค่าทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนแทนการชำระค่าหุ้นยังมีไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ จึงควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีความชัดเจนเพื่อให้สามารถบังคับใช้ได้จริงในทาง ปฏิบัติและตรงตามเจตนาที่แท้จริงของผู้ถือหุ้น จากการศึกษาพบว่ากฎหมายไทยอนุญาตให้ชำระค่าหุ้นด้วยทรัพย์สินได้แต่ในทางปฏิบัติทรัพย์สินที่ไม่ มีตัวตนที่สามารถนำมาจดทะเบียนชำระค่าหุ้นได้มีเพียงหุ้นเท่านั้น เมื่อไม่มีกฎหมายหรือหลักเกณฑ์กำหนดไว้ เกี่ยวกับคณ สมบัติของทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน ผู้มีหน้าที่ตีมูลค่าทรัพย์สิน วิธีการการตีมูลค่าทรัพย์สิน และความรับ ผิดกรณีตีมูลค่าทรัพย์สินสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติตามมาและต้องอาศัยดุลพินิจของ นายทะเบียนในการพิจารณา อีกทั้งยังทำให้ผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์และไม่สามารถนำทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนมาจด ทะเบียนชำระค่าหุ้นตามความประสงค์ที่แท้จริงได้ ผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรกำหนดคุณสมบัติของทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนไว้ในคำชี้แจงของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยการตีมูลค่าของทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนต้องเกิดจากความตกลงร่วมกันของประชุมผู้ถือหุ้น และเป็นอำนาจหน้าที่ของกรรมการตามหลัก Business Judgment Rule และให้สิทธิเจ้าหนี้ผู้สุจริตร้องขอต่อศาลเพื่อเรียกค่า หุ้นส่วนต่างได้ ทั้งนี้ ควรแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยการกำหนดโทษจำคุก ให้ครอบคลุมกรณีที่มีการตีมูลค่า ทรัพย์สินโดยทุจริตสำหรับกรณีที่บริษัทมีทนจดพะเบียนหรือเพิ่มทุนจนมีมูลค่าเกินห้าล้านบาท เพื่อป้องกันการ ทุจริตและคุ้มครองผู้มีส่วนได้เสีย


ปัญหาการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่มิใช่นำเข้าเพื่อทางการค้า ตามประเภท 5 และประเภท 12 ของภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530, ธิติมา ธรรมาชีวะ Jan 2019

ปัญหาการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่มิใช่นำเข้าเพื่อทางการค้า ตามประเภท 5 และประเภท 12 ของภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530, ธิติมา ธรรมาชีวะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่มิใช่นำเข้าเพื่อทางการค้าตามภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 เช่น การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของส่วนตัวหรือของใช้ในวิชาชีพตามประเภท 5 และการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับการนำเข้าของที่แต่ละรายมีราคาไม่เกิน 1,500 บาทตามประเภท 12 อันเป็นการยกเนสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อบริโภคเป็นการส่วนตัวมิได้มีวัตถุประสงค์ในทางการค้า ซึ่งเป็นการยกเว้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บและเป็นหลักปฏิบัติในทางสากลระหว่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันผู้นำเข้ากลับใช้ประโยชน์จากการยกเว้นอากรดังกล่าวเพื่อเลี่ยงภาษีกันอย่างแพร่หลายและมีการนำเข้าเกินกว่าปริมาณการบริโภคหรือใช้สอยตามปกติวิสัย ดังนั้น เมื่อบทบัญญัติยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายศุลกากรอันมีผลเป็นการยกเว้นรวมไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตที่เกิดจากการนำเข้ายังคงมีช่องว่างทำให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีอันพึงเก็บได้และไม่เป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีสำหรับของประเภทเดียวกันซึ่งจำหน่ายภายในประเทศไทย เพื่อให้มาตรการการจัดเก็บภาษีและยกเว้นภาษีมีความสอดคล้องกับอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานต่างๆ และเอื้อประโยชน์ต่อการจัดเก็บ จึงควรแก้ไขกฎหมายให้มีความชัดเจนและมีความยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์และรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงเป็นการศึกษาวิจัยเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติยกเว้นดังกล่าว เพื่อขจัดช่องว่าง ทำให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย นำไปสู่การใช้บังคับอย่าบมีสิทธิภาพในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น


ปัญหาการใช้อำนาจในการเปรียบเทียบปรับของคณะกรรมการเปรียบเทียบ ความผิดตามมาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535, ณฐพร ถนอมทรัพย์ Jan 2019

ปัญหาการใช้อำนาจในการเปรียบเทียบปรับของคณะกรรมการเปรียบเทียบ ความผิดตามมาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535, ณฐพร ถนอมทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาการใช้อำนาจในการเปรียบเทียบปรับของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดตามมาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จากการศึกษาในเรื่องของการเปรียบเทียบปรับของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดตาม มาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นั้น พบว่า พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไม่ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดไว้ รวมถึงไม่ได้มีการเปีดเผยวิธีการในการกำหนดจำนวนค่าปรับของคณะกรรมการดังกล่าว เมื่อเกิดกรณีการกระทำความผิดขึ้น จึงเป็นช่องทางให้คณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดใช้ดุลพินิจโดยปราศจากกรอบหรือหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนทำให้กระบวนพิจารณาขาดความโปร่งใสและไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มทำการศึกษาตั้งแต่ที่มาและองค์ประกอบของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิด ปรากฏฎว่าในการแต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดนั้นเป็นการแต่งตั้งตามประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ในประกาศดังกล่าวนั้นไม่มีการระบุถึงคุณสมบัติและข้อห้ามของบุคคลที่พึงได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิด เป็นการแต่งตั้งไปตามตำแหน่งเพียงเท่านั้น ทำให้ไม่มีการตรวจสอบถึงความเกี่ยวพันระหว่างกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งกับบุคคลที่กระทำความผิด และเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาแล้วในการกำหนดค่าปรับก็ไม่มีการเปิดเผยถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดค่าปรับของคณะกรมการเปรียบความผิดให้กับผู้กระทำความผิดและประชาชนได้รับทราบ ทำให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์รวมถึงนักลงทุนที่เข้าสู่กระบวนการเปรียบเทียบความผิด ไม่มั่นใจว่าจะได้รับความยุติธรรมในการดำเนินการของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดอันเนื่องจาการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 317 อันไม่เป็นไปตามหลักนิติรัฐและนิติธรรม ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย


แนวทางการเรียกคืนทรัพย์สินตามหลักลาภมิควรได้ : ศึกษากรณีการคืนภาษีอากร, พรชนก ศิริสร้างสุข Jan 2019

แนวทางการเรียกคืนทรัพย์สินตามหลักลาภมิควรได้ : ศึกษากรณีการคืนภาษีอากร, พรชนก ศิริสร้างสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายและหากได้ชําระค่าภาษีอากรไปแล้ว ต่อมาพบว่าตนนั้น ได้ชําระภาษีเกินไปกว่าที่ตนจะต้องเสีย หรือเมื่อชําระภาษีไปแล้วภายหลังพบว่าตนไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ภาษี กฎหมายก็กําหนดให้มีการคืนภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี ซึ่งการ ที่รัฐจะดําเนินการเก็บภาษีได้นั้นจะต้องมีบทบัญญัติกําหนดไว้ชัดแจ้งให้มีอํานาจกระทําได้ดังที่กล่าว ข้างต้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติให้รัฐนําเงินที่ผู้เสียภาษีชําระไว้เกินหรือไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีไปใช้จ่ายใน การบริหารประเทศได้ ดังนั้นรัฐจึงต้องคืนเงินค่าภาษีอากรดังกล่าวให้แก่ผู้เสียภาษี อย่างไรก็ตามบทบัญญัติกฎหมายภาษีอากรนั้นยังไม่ครอบคลุมและไม่สามารถนํามาปรับใช้ได้ ในทุกๆกรณี ทําให้ต้องมีการตีความกฎหมายซึ่งโดยหลักแล้วการตีความกฎหมายนั้นจะต้องตีความ โดยเคร่งครัด และหากตัวบทกฎหมายนั้นไม่ชัดเจน สามารถตีความได้หลายนัย ก็จะต้องตีความไป ในทางที่เป็นคุณหรือประโยชน์แก่ผู้เสียภาษี แต่ก็มีบางกรณีที่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีหลายๆคดีนั้น มีข้อเท็จจริงคล้ายคลึงกันแต่มีการตีความและนําหลักกฎหมายมาปรับใช้แตกต่างกัน เช่น นําหลัก กฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้มาปรับใช้ การปรับใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 193/31 และนําหลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิติดตามเอาคืนมาปรับใช้ ทําให้เกิดความ สับสนในการปรับใช้กฎหมายว่าการตีความกฎหมายอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุดและเป็นคุณหรือ ประโยชน์แก่ผู้เสียภาษี โดยเฉพาะบทบัญญัติในเรื่องการคืนภาษีอากร เนื่องจากตามประมวลรัษฎากรนั้นไม่ได้มีบทบัญญัติที่ชัดเจนว่าหากเกิดกรณีที่รัฐคืนภาษี อากรให้กับเอกชนไปโดยผิดพลาดแล้วจะต้องมีหลักเกณฑ์อย่างไร จึงทําให้ต้องมีการตีความและ ปรับปรุงกฎหมายโดยนําหลักกฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้มาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาในกรณีดังกล่าว


ปัญหาการบังคับค่าอากรที่ค้างชำระตามกฎหมายศุลกากรและแนวทางการแก้ไข, กชพร เจริญรูป Jan 2019

ปัญหาการบังคับค่าอากรที่ค้างชำระตามกฎหมายศุลกากรและแนวทางการแก้ไข, กชพร เจริญรูป

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงปัญหาการบังคับค่าอากรที่ค้างชำระตามกฎหมายศุลกากรและแนวทางแก้ไข ตลอดจนศึกษาถึงการบังคับภาษีค้างตามกฎหมายภาษีและการบังคับค่าอากรที่ค้างชำระตามกฎหมายศุลกากรของต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐสิงคโปร์ เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มีมาตรการบังคับทางปกครองในเรื่องการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียอากรเช่นเดียวกับประมวลรัษฎากร พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 กฎหมายศุลกากรของสาธารณรัฐเกาหลี และกฎหมายศุลกากรของประเทศญี่ปุ่น แต่ยังมีข้อแตกต่างในเรื่องการสืบทรัพย์สินของผู้ค้างชำระค่าอากร ทำให้กรมศุลกากรไม่สามารถบังคับใช้มาตรการดังกล่าวได้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย นอกจากนี้พบว่ากระบวนการบังคับค่าอากรที่ค้างชำระของประเทศไทยยังมีปัญหาข้อกฎหมายและข้อปฏิบัติโดยเฉพาะในประเด็นการออกแบบแจ้งการประเมิน การออกกฎหมายลำดับรอง และการใช้สิทธิทางศาลและการบังคับคดีตามคำพิพากษา อันทำให้กระบวนการบังคับค่าอากรศุลกากรที่ค้างชำระไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร ด้วยเหตุผลตามที่กล่าวข้างต้น ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวทางการแก้ไขโดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 และนำมาตรการในการบังคับภาษีอากรค้างตามกฎหมายภาษีอื่นมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้กรมศุลกากรสามารถจัดเก็บอากรที่ค้างชำระได้อย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพสูงสุด


ปัญหาทางกฎหมายของระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์, เสาวนีย์ เหมฤดี Jan 2019

ปัญหาทางกฎหมายของระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์, เสาวนีย์ เหมฤดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่มักเรียกว่า e-Payment เช่น บัตรเครดิต การโอนเงิน การชำระด้วยเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) การให้หักเงินจากบัญชี การชำระเงินผ่านระบบของโทรศัพท์มือถือหรือระบบอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันเป็นที่นิยมและมีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้นทุกปีตามสถิติที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความสะดวกสบายและปลอดภัย ไม่ต้องพกเงินสดในปริมาณมาก เมื่อมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ย่อมเกิดปัญหามากขึ้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนถึงนิติสัมพันธ์ของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ สิทธิหน้าที่ของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไร จึงเกิดประเด็นปัญหาทางกฎหมาย ดังนี้ (1) ปัญหาด้านข้อสัญญาสำเร็จรูป ที่ผู้ให้บริการกำหนดข้อสัญญาแต่ฝ่ายเดียว และข้อสัญญามักสร้างภาระหน้าที่ให้แก่ผู้ใช้บริการเกินสมควร (2) ในทางปฏิบัติผู้ใช้บริการต้องรับภาระความเสียหายจากการถูกทุจริต แม้ว่าผู้ใช้บริการไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทุจริต และผู้ใช้บริการไม่อาจเข้าแก้ไขหรือระมัดระวังต่อปัญหาดังกล่าวได้ (3) การเรียกร้องดอกเบี้ยหรือค่าเสียหาย ต้องใช้กำลังทรัพย์และระยะเวลาในการฟ้องร้องต่อสู้คดีเพื่อให้ได้มาซึ่งดอกเบี้ยและค่าเสียหายที่อาจไม่คุ้มค่าที่จะดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดี (4) หน่วยงานที่รับข้อร้องเรียนกลับทำหน้าที่เพียงส่งต่อเรื่องให้กับผู้ให้บริการแก้ไข ทั้งที่ปัญหามีความซับซ้อนต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ปัญหาและนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา และ (5) ผู้ใช้บริการไม่สามารถเข้าถึง และอาจไม่มีความรู้ความเข้าใจที่จะสามารถตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำและน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงจะศึกษาวิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และปัญหาของผู้บริโภคที่เกิดขึ้น เพื่อทำความเข้าใจและเพื่อแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเหล่านั้นให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น โดยศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล และกฎหมายของต่างประเทศ ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาโดย (1) เพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อระบุสิทธิหน้าที่ระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ (2) ออกมาตรการเกี่ยวข้อกำหนดในสัญญาบริการเพื่อป้องกันปัญหาการเกิดข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภค (3) จัดทำประมวลแบบแผนการปฏิบัติ (Code of Practice) ว่าด้วยวิธีการขั้นตอน มาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบที่ผู้ให้บริการพึงมีต่อผู้ใช้บริการ (4) ผลักภาระความเสียหายจากผู้ใช้บริการไปยังผู้ให้บริการแทน และจำกัดวงเงินการรับผิดของผู้ใช้บริการ (5) ตั้งผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคผู้เป็นกลางมาช่วยตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน และ (6) ให้หน่วยรับข้อร้องเรียนตรวจสอบและแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ผู้ใช้บริการควรได้รับ


กรณีศึกษาการนำแนวทางการยื่นแบบรายงานข้อมูลของบริษัทนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันประกอบการพิจารณาการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต, สรนชล นาควัชระ Jan 2019

กรณีศึกษาการนำแนวทางการยื่นแบบรายงานข้อมูลของบริษัทนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันประกอบการพิจารณาการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต, สรนชล นาควัชระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้เป็นกรณีศึกษาการนำแนวทางการยื่นแบบรายงานข้อมูลของบริษัทนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันของแผนปฏิบัติการโครงการป้องกันการถูกกัดกร่อนฐานภาษีและการโอนกำไรไปต่างประเทศ แผนปฏิบัติการที่ 13 มาใช้กับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโดยตรงเนื่องจากการไม่ยื่นแบบรายงานข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต บริษัทที่มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตบางรายอาจใช้ช่องว่างกำหนดราคาโอนเพื่อเลี่ยงภาษีโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีมีข้อสงสัยว่าอาจมีการโอนกำไรหรือสินทรัพย์บริษัทในเครือเดียวกัน จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีการนำแนวทางการยื่นแบบรายงานข้อมูลของบริษัทนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันมาใช้กับการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา71 ทวิ และ 71 ตรี แต่ไม่ใช้บังคับกับนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันมีรายได้น้อยกว่าสองร้อยล้านอีกทั้งกรมสรรพสามิตยังไม่ได้นำแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้โดยตรง จึงก่อให้เกิดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในประเทศไทย ทั้งนี้ ยังไม่มีประเทศใดที่นำแนวทางการยื่นแบบรายงานข้อมูลดังกล่าวมาใช้กับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโดยตรงก็อาจเป็นช่องว่างให้กำหนดราคาโอนได้ แต่อย่างไรก็ตาม องค์กรเครือข่ายยุติธรรมทางภาษีได้เสนอให้นำแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตด้วย ดังนั้น สำหรับประเทศไทย หากนำแนวทางการยื่นแบบรายงานข้อมูลตามประมวลรัษฎากรประกอบกับการกำหนดบุคคลตามกฎหมายศุลกากรมาปรับใช้กับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ก็อาจลดปัญหาการเลี่ยงภาษีโดยการกำหนดราคาโอนที่เกิดขึ้นได้


ความรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม ศึกษากรณีคู่สมรสยื่นภาษีเงินได้ร่วมกัน, นาตยา เนตรแก้ว Jan 2019

ความรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม ศึกษากรณีคู่สมรสยื่นภาษีเงินได้ร่วมกัน, นาตยา เนตรแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 57 ฉ ได้กำหนดให้คู่สมรสมีสิทธิที่จะเลือกยื่นภาษีแยกต่างหากจากกันหรือยื่นภาษีร่วมกันได้ เพื่อให้คู่สมรสเลือกวิธีการยื่นในทางที่เป็นประโยชน์แก่ตนมากที่สุดแต่หากเป็นกรณีที่คู่สมรสเลือกยื่นภาษีร่วมกัน คู่สมรสจะต้องร่วมรับผิดในหนี้ภาษีอากรค้างชำระที่เกิดขึ้นจากการยื่นภาษีร่วมกันโดยสิ้นเชิง (Strict Liability) ทั้งนี้ เมื่อคู่สมรสต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ภาษีอากรค้างชำระที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วมทำให้เกิด ความไม่เป็นธรรมต่อคู่สมรสที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดภาษีค้างชำระนั้นและส่งผลให้คู่สมรสต้องร่วมรับผิดในเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มที่เกิดขึ้น อีกทั้ง การร่วมยื่นภาษีเงินได้ร่วมกันยังทำให้คู่สมรสอาจตกเป็นผู้กระทำความผิดร่วมกันในความผิดอาญาในทางภาษีได้ สร้างความไม่ชัดเจนว่าคู่สมรสจะถือว่ามีการกระทำความผิดร่วมกันหรือไม่ เนื่องจากมีการลงลายมือชื่อร่วมกันซึ่งอาจถือได้ว่ามีการกระทำร่วมกัน ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรให้เปิดโอกาสให้คู่สมรสสามารถขอบรรเทาความรับผิดทางแพ่งได้ในกรณีที่ตนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดภาษีค้างชำระ และบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของคู่สมรสว่าจะต้องถือว่าคู่สมรสที่ยื่นภาษีร่วมกันไม่มีส่วน


ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ศึกษากรณีที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ, ชนันท์ภรณ์ สุนนท์ราษฎร์ Jan 2019

ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ศึกษากรณีที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ, ชนันท์ภรณ์ สุนนท์ราษฎร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการศึกษาพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 พบว่า การกำหนดลักษณะที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพตามกฎกระทรวงกำหนดที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ พ.ศ.2562 โดยพิจารณาจากลักษณะการทำประโยชน์ทางกายภาพแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงการทำประโยชน์ของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบริเวณใกล้เคียงประกอบด้วยนั้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อการคำนวณมูลค่าของฐานภาษีเพื่อการจัดเก็บภาษีอันไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและหลักภาษีอากรที่ดี เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ตลอดจนศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดเก็บภาษีที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามสมควรแก่สภาพของประเทศไทย ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับเจตนารณ์ของกฎหมาย และหลักภาษีอากรที่ดีต่อไป


แนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ : มาตรการสนับสนุนการจัดเก็บภาษี, อรวรรยา สิทธิราช Jan 2019

แนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ : มาตรการสนับสนุนการจัดเก็บภาษี, อรวรรยา สิทธิราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ความรับผิดในคดีภาษี : กรณีองค์ประกอบภายใน, จุฑามาศ บุญมี Jan 2019

ความรับผิดในคดีภาษี : กรณีองค์ประกอบภายใน, จุฑามาศ บุญมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความรับผิดในคดีภาษีเกิดจากการที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากร อันประกอบไปด้วยความผิดทางแพ่งและอาญา ซึ่งล้วนแล้วแต่กระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ และทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดเป็นอย่างมาก ดังนั้น ในการพิจารณาคดีภาษีอากร จึงต้องมีการพิจารณาองค์ประกอบความรับผิด โดยยึดตามหลักกฎหมายที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษีอย่างไรก็ดี ในการพิจารณาความรับผิดทางแพ่งภายใต้ประมวรัษฎากร มิได้มีการพิจารณาถึงองค์ประกอบภายในแต่อย่างใด ซึ่งเป็นการนำหลักทฤษฎีความรับผิดโดยเด็ดขาดมาใช้ จึงไม่สอดคล้องกับองค์ประกอบภายในของผู้เสียภาษี ในส่วนของความรับผิดทางอาญา มีการบัญญัติถ้อยคำเพื่อใช้ในการพิจารณาองค์ประกอบภายในที่แตกต่างกัน และผู้กระทำความผิดไม่สามารถยกความไม่รู้กฎหมายขึ้นเป็นข้อแก้ตัวได้ แม้ในความเป็นจริงประชาชนอาจไม่รู้ถึงกฎหมายเช่นว่านั้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร โดยให้มีการพิจารณาองค์ประกอบภายในและกำหนดโทษให้สอดคล้องกับองค์ประกอบภายในในความรับผิดทางแพ่ง และใช้เพียงถ้อยคำเดียว คือ "เจตนา" ในการพิจารณาองค์ประกอบภายในและกำหนดให้ผู้เสียภาษีสามารถยก


ความแตกต่างของการคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายการบัญชีกับกฎหมาย ภาษีอากร, จินห์จุฑา ชูแก้ว Jan 2019

ความแตกต่างของการคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายการบัญชีกับกฎหมาย ภาษีอากร, จินห์จุฑา ชูแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของความแตกต่างของการคํานวณกําไรสุทธิตามกฎหมายการบัญชีกับกฎหมายภาษีอากร โดยมีสมมติฐานของการศึกษาวิจัยว่า กฎหมายและมาตรฐานการบัญชีมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้และรายจ่ายหลายส่วนสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายภาษีอากร แต่ในขณะเดียวกันก็มีหลักเกณฑ์บางส่วนแตกต่างกับหลักเกณฑ์ในกฎหมายภาษีอากร ซึ่งทั้งความสอดคล้องกันและความแตกต่างกันอาจทําให้เกิดปัญหาในการใช้กฎหมายภาษีอากรเพื่อการจัดเก็บภาษีในการศึกษาและพิสูจน์สมมติฐานข้างต้นพบว่า การรับรู้รายได้และรายจ่ายตามกฎหมายการบัญชีกับกฎหมายภาษีอากร มีทั้งที่สอดคล้องกัน คล้ายคลึงกัน และไม่สอดคล้องกัน ส่งผลให้กําไรสุทธิในกฎหมายการบัญชีกับกฎหมายภาษีอากรนั้นไม่เท่ากัน นั้นเป็นเพราะวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่แตกต่างกัน ความสอดคล้องกันเป็นเรื่องง่ายในการปรับใช้กฎหมายสําหรับผู้ปฏิบัติงาน ความคล้ายคลึงกันนั้นเป็นเงื่อนไขหรือวิธีการที่กฎหมายภาษีอากรสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีซึ่งบางครั้งก็เคร่งครัดกับผู้เสียภาษีมากเกินไปจนสร้างภาระหนัก และความไม่สอดคล้องกันนั้นย่อมส่งผลกระทบในการปรับใช้กฎหมายของผู้เสียภาษีอย่างแน่นอน แต่ไม่ใช่ว่าทุกความไม่สอดคล้องจะต้องถูกขจัดเพราะวัตถุประสงค์บางอย่างของกฎหมายจึงจําเป็นที่ยังจะคงไว้ซึ่งความแตกต่าง เพราะไม่เพียงแต่ความคล้ายคลึงกัน และความไม่สอดคล้องกันเท่านั้นที่เกิดปัญหาในการจัดเก็บภาษี แม้ความสอดคล้องเองนั้นยังไม่เหมาะสมกับกฎหมายภาษีอากรในบางกรณี ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขประมวลรัษฎากรและกฎหมายลําดับรอง ทั้งความสอดคล้องกันความคล้ายคลึงกัน และความไม่สอดคล้องกันส่วนที่สร้างความไม่เป็นธรรม ก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษี และสร้างปัญหาในการปรับใช้กฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีโดยไม่มีความจําเป็นใช้บังคับอย่างมีสิทธิภาพในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้นเป็นแนวทางในการใช้มาตรการทางภาษีอากรและมาตรการอื่นในประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ


ปัญหาการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ: ศึกษากรณีการให้กู้ยืมเงินระหว่างบริษัทในเครือ, อภิชญา ชยวัฑโฒ Jan 2019

ปัญหาการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ: ศึกษากรณีการให้กู้ยืมเงินระหว่างบริษัทในเครือ, อภิชญา ชยวัฑโฒ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


มาตรการให้ความคุ้มครองผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิจากการถูกเพิกถอนการฉ้อฉล ในคดีล้มละลาย, นงนภัส บุญญาวัฒน์ Jan 2019

มาตรการให้ความคุ้มครองผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิจากการถูกเพิกถอนการฉ้อฉล ในคดีล้มละลาย, นงนภัส บุญญาวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉลและการให้เปรียบเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 - มาตรา 116 ที่ถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉลหรือการให้เปรียบเจ้าหนี้เป็นจำนวนมากทำให้ส่งผลกระทบต่อบุคคลภายนอกได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นกับผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิพ.ศ.2562 จึงได้ศึกษาไปถึงแนวคิด หลักการ รูปแบบการก่อตั้งสิทธิ ตลอดจนผลผูกพันทางกฎหมายที่เกิดขึ้นของทรัพย์อิงสิทธิ แต่เนื่องจากลักษณะและหลักการของสิทธิตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิพ.ศ.2562 ไม่ได้มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายต่างประเทศ จึงไม่สามารถนำตัวอย่างของแนวปฏิบัติของเรื่องดังกล่าว ในต่างประเทศมาเปรียบเทียบได้ จึงศึกษาเทียบเคียงเคียงกับสิทธิที่อ้างอิงในการใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากทรัพย์อิงสิทธิภายใต้กฎหมายไทย จากการศึกษาพบว่า เมื่อบัญญัติตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ.2562 ได้ให้สิทธิการใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์เป็นพิเศษมากกว่าผู้ที่ทรงสิทธิครอบครองตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงควรกำหนดมาตรการปกป้องคุ้มครองผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิที่สุจริตให้ชัดเจน เพื่อเป็นการรับรองสิทธิและป้องกันมิให้ถูกเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลายซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้รับโอนทรัพย์อิงสิทธิที่รับโอนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์โดยตรง และผู้รับโอนทรัพย์อิงสิทธิในลำดับต่อ ๆ ไป ผู้เขียนจึงได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินการกับทรัพย์อิงสิทธิเกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์การเพิกถอนการฉ้อฉลและการให้เปรียบเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ดังนี้ 1. ปัญหาตามหลักเกณฑ์การเพิกถอนการฉ้อฉลตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 และมาตรา 114 ในกรณีที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้โอนทรัพย์อิงสิทธิต่อไปให้ผู้ได้ลาภงอกและบุคคลภายนอกโดยไม่คิดค่าตอบแทน ซึ่งสามารถทำได้ตามกฎกระทรวงฯ ข้อ 12 (1) แต่พระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ มาตรา 13 และมาตรา 14 ได้ให้ความคุ้มครองบุคคลภายนอกที่สุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตซึ่งไม่สอดคล้องกัน ดังนั้น หากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะมีอำนาจจัดการทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ และหากเห็นว่านิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำมีลักษณะเป็นการให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เป็นการให้โดยเสน่หาทำให้ทรัพย์สินลดน้อยถอยลงไม่มีพอชำระหนี้ให้แก่เจาหนี้ หรือก่อตั้งภาระผูกพันเกินสมควรหรือหากทำภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายซึ่งเป็นเวลาตั้งข้อสงสัย กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีเจตนาให้เจ้าหนี้เสียเปรียบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนนิติกรรมได้ 2. ปัญหาตามหลักเกณฑ์การเพิกถอนการให้เปรียบเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 115 และมาตรา 116 ในกรณีที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้โอนทรัพย์อิงสิทธิต่อไปให้ผู้ได้ลาภงอกและบุคคลภายนอก ภายในระยะเวลา 3 เดือน หรือ 1 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายซึ่งเป็นเวลาตั้งข้อสงสัย ผู้ได้ลาภงอกและบุคคลภายนอกมีภาระกรพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้ว่าได้รับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียน ซึ่งคำว่า"สุจริต" กรณีนี้หมายถึง ไม่รู้ว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีหนี้สินล้นพ้นตัว และได้กระทำลงโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้รายอื่นเสียเปรียบ ซึ่งมีความหมายแคบกว่าสุจริตตมพระราชบัญญัติรัพย์อิงสิทธิ มาตรา 13 และมาตรา 14


ปัญหาการบริหารจัดการทรัพย์ประเภทหลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, โชติวรรณ นฤเทพ Jan 2019

ปัญหาการบริหารจัดการทรัพย์ประเภทหลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, โชติวรรณ นฤเทพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้เป็นการศึกษาวิธีการเก็บรักษาและการบริหารจัดการทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออาจถูกยึดในคดีฟอกเงิน โดยเฉพาะทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่จับต้องไม่ได้ (financial asset) แต่มีราคามูลค่า โดยทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์นี้มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างจากทรัพย์สินที่อาจจับต้องได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียม ยานพาหนะต่าง ๆ เครื่องประดับหรือเงินสด นอกจากนี้ ยังสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามระดับความเสี่ยงและระดับของผลตอบแทนที่เป็นไปได้ด้วย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันการกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารทรัพย์ที่ถูกยึดในคดีฟอกเงินนั้น ได้กำหนดไว้ใช้กับทรัพย์หลายประเภทไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือกิจการ หรือทรัพย์ที่เป็นสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่ถูกยึดหรืออาจถูกยึดในคดีฟอกเงินได้ แต่สำหรับทรัพย์ที่เป็นหลักทรัพย์นั้นซึ่งเป็นทรัพย์ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวกลับไม่มีการกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารจัดการดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ในกรณีทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่อาจนำทรัพย์สินดังกล่าวออกบริหารโดยให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทรัพย์สินไปดูแลและใช้ประโยชน์ เช่น นำออกให้เช่า หรือในกรณีทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ที่หากเก็บไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นก็อาจนำออกขายทอดตลาดตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะได้ตัวเงินมาเก็บไว้ในกองทุนการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเพื่อรอคำสั่งศาลได้ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพย์สินที่เป็นหลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเยียวยาผู้เสียหายหรือสามารถส่งคืนให้แก่รัฐได้อย่างสูงสุด จึงควรกำหนดวิธีการในการบริหารจัดการทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์เป็นการเฉพาะให้แยกต่างหากจากหลักทรัพย์ประเภทอื่น รวมทั้งวิเคราะห์ความเสี่ยงของหลักทรัพย์แต่ละชนิดเพื่อกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารจัดการที่เหมาะสมกับลักษณะของหลักทรัพย์แต่ละประเภท


การกำกับดูแลการแปลงสินทรัพย์ประเภทสิทธิบัตรเป็นหลักทรัพย์, ธันวา คว้าพงศ์ไพทูรย์ Jan 2019

การกำกับดูแลการแปลงสินทรัพย์ประเภทสิทธิบัตรเป็นหลักทรัพย์, ธันวา คว้าพงศ์ไพทูรย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิทธิบัตรเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่สามารถนำมาแปลงเป็นหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการจัดหาเงินทุน ของกิจการได้ตามพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 หรือพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อย่างไรก็ตาม แนวทางการกำกับดูแลการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ดังกล่าว ยังไม่เหมาะสมเพียงพอและอาจนำมาสู่ปัญหาทางกฎหมาย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการแปลงสิทธิบัตรเป็นหลักทรัพย์ในประเทศไทย อาทิ ความชัดเจนเกี่ยวกับนิยามของสินทรัพย์ การไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินอย่างแท้จริง การขาดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินมูลค่า หรือสภาพบุคคลของทรัสต์ เป็นต้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยและต่างประเทศ และมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการแก้ไขเพิ่มเติมและกำหนดมาตรการทางกฎหมายอื่น ๆ เพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่เหมาะสมเพียงพอของกฎหมายที่ใช้บังคับกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ เพื่อให้การแปลงสิทธิบัตรเป็นหลักทรัพย์เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การอุดช่องว่างกฎหมายภาษีอากร, ธีรพัฒน์ สงละออ Jan 2019

การอุดช่องว่างกฎหมายภาษีอากร, ธีรพัฒน์ สงละออ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การให้สิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ : กรณีศึกษาธุรกิจบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และบริการสอบเทียบมาตรฐาน, ฤษณะ ขาวเรือง Jan 2019

การให้สิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ : กรณีศึกษาธุรกิจบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และบริการสอบเทียบมาตรฐาน, ฤษณะ ขาวเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมีส่วนสําคัญในธุรกิจบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และสอบเทียบมาตรฐาน ทั้งนี้คนต่างด้าวที่จะประกอบธุรกิจในประเทศไทยต้องได้รับอนุญาตการประกอบธุรกิจเสียก่อน อย่างไรก็ตามเพื่อส่งเสริมการลงทุน พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและสิทธิประโยชน์อื่นๆ รวมไปถึงการยกเว้นให้คนต่างด้าวไม่ต้องขออนุญาตเพื่อประกอบกิจการในประเทศไทย อย่างไรก็ตามมีผู้ลงทุนบางกลุ่มเลือกจัดโครงสร้างเป็นนิติบุคคลไทยเพื่อขจัดข้อจํากัดในการประกอบธุรกิจแทนการขอรับการส่งเสริมการลงทุน เอกัตศึกษาเล่มนี้จึงมุ่งศึกษารูปแบบการเข้ามาประกอบธุรกิจของผู้ลงทุน ตลอดจนเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับ และพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆต่อการเลือกรูปแบบการลงทุน ทั้งนี้ผู้ศึกษาพบรูปแบบที่สําคัญสองรูปแบบ คือ การเข้ามาในฐานะต่างด้าวโดยขอรับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดีกว่าไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนจากประเทศใด ในขณะที่อีกรูปแบบคือ การเข้ามาโดยมีสถานะเป็นนิติบุคคลไทยผ่านการร่วมทุนหรือจัดโครงสร้างเป็นนิติบุคคลไทย แต่ไม่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนแม้ว่าจะไม่มีอุปสรรคทางกฎหมายที่เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษในการขอรับการส่งเสริมการลงทุนก็ตาม ทั้งนี้การเลือกรูปแบบที่สองผู้ลงทุนรับสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่ไม่ใช่ภาษีอากรในภาพรวมดีกว่ารูปแบบแรก นอกจากนี้ไม่ปรากฎว่าขนาดของกิจการของการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญต่อการขอรับการส่งเสริมการลงทุนแต่อย่างใด จากข้อมูลพบว่า แม้ผู้ลงทุนจะอยู่ในสถานะที่มีข้อจํากัดด้านกฎหมายในการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการขอรับการส่งเสริมการลงทุนน้อยที่สุด ผู้ลงทุนก็มีแนวโน้มจะเลือกใช้รูปแบบที่สองมากกว่ารูปแบบแรก แสดงถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้นไม่ใช่ปัจจัยสําคัญที่สุดในการพิจารณาเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย อย่างไรก็ตามปัจจัยทางภาษีส่งผลต่อการวางแผนรูปแบบองค์กรเพื่อให้ได้ประโยชน์ทางภาษีภายหลังตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นแหล่งลงทุนแล้ว ซึ่งชี้ว่าการส่งเสริมการลงทุนนั้นเปราะบางต่อการวางแผนภาษีในเชิงรุก อย่างไรก็ตามเอกัตศึกษานี้ไม่ได้ประเมินความคุ้มค่าของการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนแต่อย่างใด


การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ : กรณีศึกษาการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้า หรือหากำไรที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม, รพีพร จงใจ Jan 2019

การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ : กรณีศึกษาการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้า หรือหากำไรที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม, รพีพร จงใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร เป็นกิจการที่อยู่ภายใต้บังคับของภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรที่มีลักษณะตามมาตรา91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3 ของรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เฉพาะกรณีที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดิน โดยความรับผิดในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะเกิดในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าว ซึ่งกรมที่ดินมีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรแทนกรมสรรพากรจากการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะข้างต้น จึงทําให้การประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็น ทางค้าหรือหากําไรที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดินไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น การตกลงยกสิ่งปลูกสร้างให้แก่เจ้าของที่ดินตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา การขายที่ดินตามหนังสือแจ้งการครอบครอง(ส.ค.1) การขายที่ดินโดยระบุในสัญญาซื้อขายว่าขายเฉพาะที่ดินหรือขายที่ดินเปล่าไม่รวมสิ่งปลูกสร้างและมีการขายสิ่งปลูกสร้างในภายหลัง หรือการขายหุ้นในบริษัทที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์เป็นต้น เมื่อไม่สามารถจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรได้ในทุกกรณี เพราะการให้ความสําคัญกับรูปแบบทางทะเบียน จึงทําให้เกิดการจัดเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรม ทําให้เกิดช่องว่างในการหลบหลีกหรือเลี่ยงภาษี และทําให้รัฐสูญเสียรายได้ จึงไม่ควรกําหนดความรับผิดในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้กับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เพื่อให้การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากกขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรได้ครอบคลุมในทุกกรณี


มาตรการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบตามหลักจำกัดสิทธิประโยชน์ (Limitation On Benefits) ของประเทศสหรัฐอเมริกา, อัญชิสา คงงาม Jan 2019

มาตรการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบตามหลักจำกัดสิทธิประโยชน์ (Limitation On Benefits) ของประเทศสหรัฐอเมริกา, อัญชิสา คงงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาษีอากรเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการอย่างหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจจึงพยายามหาวิธีการเพื่อให้กิจการของตนเสียภาษีอากรน้อยที่สุดหรือไม่จําต้องเสียภาษีอากรเลยการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบ เป็นวิธีการที่ถูกใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางภาษีส่งผลให้นานาประเทศสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่รัฐควรจะได้รับมหาศาล โดยประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่เริ่มสนใจปัญหาการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนโดยมิชอบ และหามาตรการเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว ซึ่งหลักจํากัดสิทธิประโยชน์เป็นมาตรการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเลือกใช้มาเป็นระยะเวลายาวนาน และเชื่อว่าสามารถจัดการกับปัญหาการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวัตถุประสงค์ของหลักจํากัดสิทธิประโยชน์มีขึ้นเพื่อรับมือกับธุรกรรมบางประเภท อันเป็นมาตรการเฉพาะว่าด้วยการต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีอากร ทําให้หลักจํากัดสิทธิประโยชน์มีความชัดเจน แน่นอน จัดเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการวางแผนภาษีที่เกิดขึ้นใหม่ได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาพบว่าหลักการจํากัดสิทธิประโยชน์เป็นหลักการที่ประเทศไทยสมควรรับมาเป็นบทบัญญัติหนึ่งในอนุสัญญาภาษีซ้อน ด้วยเหตุนี้จึงจําเป็นต้องศึกษาถึงหลักเกณฑ์และแนวทางการบังคับใช้รวมถึงความมีประสิทธิภาพจากการบังคับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการนําหลักการจํากัดสิทธิประโยชน์มาปรับใช้ในประเทศไทยต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ


การแบ่งประเภทเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไขประมวลรัษฎากร โดย คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขประมวลรัษฎากร, ธันยธรณ์ ผดุงอรรถ Jan 2019

การแบ่งประเภทเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไขประมวลรัษฎากร โดย คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขประมวลรัษฎากร, ธันยธรณ์ ผดุงอรรถ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภทตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรนั้น มักพบปัญหาเกี่ยวกับความชัดเจนของการแยกประเภทเงินได้ในแต่ละประเภทและมีผลทำให้การจัดเก็บภาษีไม่สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดี ตลอดจนไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่บัญญัติไว้ นอกจากในประเด็นเรื่องการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินแล้ว ผู้วิจัยยังศึกษาเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภทด้วย เนื่องจากการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินมีหลักสำคัญคือการก าหนดหลักเกณฑ์เฉพาะส าหรับเงินได้แต่ละประเภทให้แตกต่างกันออกไปการหักค่าใช้จ่ายจึงมีผลต่อการศึกษาการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินเช่นกัน และผู้วิจัยยังได้ศึกษาแนวทางการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินของประเทศอังกฤษ ประเทศมาเลเซีย และประเทศศรีลังกาซึ่งเป็นประเทศที่มีการแบ่งเงินได้พึงประเมินเป็นหลายประเภทเช่นเดียวกับในปัจจุบันของประเทศไทยและบางประเทศก็มีการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินคล้ายกับข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไขประมวลรัษฎากร โดย คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขประมวลรัษฎากร เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเสนอแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่อไป เอกัตศึกษาฉบับนี้ได้เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลรัษฎากรมาตรา 40 เพื่อลดความซับซ้อนของการทำความเข้าใจลักษณะของเงินได้พึงประเมินประเภทต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาด้านการตีความในทางปฏิบัติ ลดความเหลื่อมล้ำและทำให้กฎหมายมีความเหมาะสมและชัดเจนแน่นอนมากยิ่งขึ้น