Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 45

Full-Text Articles in Law

Tax Incentives For Attracting Foreign Direct Investment In Sub-Saharan Africa: A Comparative Study Of Ghana And Kenya, Patrick Ofori Oct 2019

Tax Incentives For Attracting Foreign Direct Investment In Sub-Saharan Africa: A Comparative Study Of Ghana And Kenya, Patrick Ofori

LLM Theses

Developing countries have increasingly resorted to the use of tax incentives to attract FDI, despite existing evidence of the shortcomings of tax incentives. In sub-Saharan Africa, tax incentives are a prominent feature of many investment codes. Sub-Saharan African countries find tax incentives as a means of attracting FDI because there are no viable alternatives per se, and they believe that tax incentives can be structured to ensure that FDI advances socio-economic and technological development. But the reliance on tax incentives at the expense of maximizing domestic tax revenue poses a challenge to sustainable development. This study examines Ghana and Kenya …


El Impuesto A La Renta Y Complementarios En Colombia Desde El Punto De Vista Del Contribuyente Persona Natural, Ley 1819 De 2016, Juan David Rojas, Natalia Ramírez Barbosa Jan 2019

El Impuesto A La Renta Y Complementarios En Colombia Desde El Punto De Vista Del Contribuyente Persona Natural, Ley 1819 De 2016, Juan David Rojas, Natalia Ramírez Barbosa

Contaduría Pública

El presente artículo, tiene como objetivo presentar el impuesto a la renta y complementarios en Colombia desde el punto de vista del contribuyente persona natural, ley 1819 de 2016, en el que permiten evitar la evasión y elusión fiscal en Colombia. La evasión y elusión de impuestos son fenómenos que se encuentran inmersos en los diferentes grupos sociales, afectando a la comunidad en aspectos económicos, sociales, culturales y fiscales. La evasión responde a conductas o prácticas que adoptan las personas en el intento de evitar o eludir una responsabilidad u obligación que se tiene consigo mismo, con la comunidad o …


Auditoría De Gestión En La Revisoría Fiscal, Andrés Camilo Vélez Acosta Jan 2019

Auditoría De Gestión En La Revisoría Fiscal, Andrés Camilo Vélez Acosta

Contaduría Pública

La Auditoría de Gestión representa un instrumento llamado a apoyar la gerencia estratégica en las organizaciones, mediante el suministro de herramientas que permiten medir y dar un juicio objetivo sobre el desempeño de las compañías, a fin de que éstas puedan lograr la consecución de sus metas. En el ámbito contable, este tema es causa de conflictos entre quienes conciben a la Auditoría de Gestión como una herramienta inherente al ejercicio de la Revisoría Fiscal y quienes están en desacuerdo con tal afirmación. Este artículo reflexiona respecto ambas posturas, pasando por una breve descripción de la Auditoría de Gestión, sus …


ประเด็นปัญหาการบริจาคของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี : กรณีศึกษาการบริจาคเป็นทรัพย์สิน, ธนวรรษ แซ่ลิ้ม Jan 2019

ประเด็นปัญหาการบริจาคของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี : กรณีศึกษาการบริจาคเป็นทรัพย์สิน, ธนวรรษ แซ่ลิ้ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบริจาคเสมือนเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพชนิดหนึ่งในการแก้ปัญหาลดความเหลื่อมล้ำ ในสังคมไทย การบริจาคจึงเป็นเครื่องมือในการกระจายทรัพยากรจากผู้บริจาคไปยังผู้รับบริจาค ทั้งในรูปแบบเงินสดและทรัพย์สิน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนา และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้ ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมค่ายอาสาเพื่อบูรณะโรงเรียนโดยรับบริจาคเงินสดหรือทรัพย์สิน และนำไปพัฒนาโรงเรียนให้มีสื่อการเรียนการสอนที่ดีขึ้น หรือวัดวาอารามที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร โดยการนำเงินสดหรือทรัพย์สินที่บริจาคมาพัฒนาให้วัดมีสาธารณสุขที่ดีขึ้น และการดำเนินชีวิต ของพระที่ดีขึ้น ดังนั้นการบริจาคจึงเป็นเครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้ อีกทั้งการบริจาคยังเป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือให้กับรัฐ ในส่วนที่รัฐยังไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือเป็นเครื่องมือที่ช่วยเหลือให้ทันต่อความต้องการของผู้รับบริจาค ซึ่งในบางครั้งรัฐเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรเอง อาจจะใช้เวลานานซึ่งไม่ทันต่อการแก้ไขปัญหา ตัวอย่างเช่น เมื่อต้นปี 2563 ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตโรคระบาด Covid-19 จะเห็นตามสื่อต่าง ๆ ว่าโรงพยาบาล มีหน้ากากอนามัยไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในการรักษาพยาบาล แต่ภาครัฐนั้นไม่สามารถจัดสรรหน้ากากอนามัยได้เพียงพอต่อความต้องการของโรงพยาบาลได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้ภาคเอกชนช่วยเหลือในการจัดหาหน้ากากอนามัยมาบริจาค เพื่อให้พอเพียงต่อความต้องการของโรงพยาบาล เป็นต้น ปัจจุบันรัฐบาลจึงได้เปิดโอกาสให้กับภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริจาคได้ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยอีกด้วย ในประเทศไทยมีผู้บริจาคทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ส่วนหนึ่งของการบริจาคมาจากผู้ที่บริจาคที่ต้องการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อหักลดหย่อนภาษี กับกรมสรรพากร เช่น การบริจาคเงินทั่วไปโดยบริจาคให้กับวัดวาอาราม สภากาชาดไทย หรือบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคมและโรงพยาบาลรัฐ อย่างไรก็ตามการบริจาคของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีประเด็นทางกฎหมายคือ ผู้ใดประสงค์จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้บริจาคที่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องบริจาคเป็นเงินสดเท่านั้น ไม่สามารถบริจาคเป็นทรัพย์สินได้ และหากจะยินยอม ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบริจาคเป็นทรัพย์สินได้ ยังไม่มีเกณฑ์ในการวัดมูลค่า ของทรัพย์สินเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ในการศึกษานี้ จะศึกษาประเด็นทางกฎหมายว่า ถ้ามีการบริจาคทรัพย์สินสำหรับ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะสามารถทำให้รัฐได้ประโยชน์จากการบริจาคทรัพย์สิน มากขึ้นกว่าที่จะยอมให้บริจาคเป็นเงินสดอย่างเดียว รวมถึงศึกษาการวัดมูลค่าของทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี


ปัญหาการกำหนดเงินได้พึงประเมินของบุคคลธรรมดาจากการจำหน่ายทรัพย์สิน: ศึกษากรณีบุคคลธรรมดาขายหุ้นอันได้มาโดยไม่มีค่าตอบแทน, สุธาสินี เนติวิวัฒน์ Jan 2019

ปัญหาการกำหนดเงินได้พึงประเมินของบุคคลธรรมดาจากการจำหน่ายทรัพย์สิน: ศึกษากรณีบุคคลธรรมดาขายหุ้นอันได้มาโดยไม่มีค่าตอบแทน, สุธาสินี เนติวิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากรกําหนดให้เงินได้พึงประเมินจากการ ขายหุ้นของบุคคลธรรมดา หมายถึง ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นเฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้ เกินกว่าที่ลงทุน ดังนั้น ในกรณีที่เป็นการขายหุ้นอันได้มาโดยไม่มีค่าตอบแทน ผู้ขายหุ้นจึงต้องนํา ผลประโยชน์ทั้งหมดที่ได้จากการขายหุ้นมาถือเป็นเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้เมื่อขายหุ้น อย่างไรก็ตาม ในขณะได้รับหุ้น ผู้ขายหุ้นถือว่ามีเงินได้พึงประเมินจากการได้รับหุ้นโดยไม่มี ค่าตอบแทนซึ่งจะต้องนํามาเสียภาษีด้วย จึงทําให้ผู้ขายหุ้นอาจต้องเสียภาษีซ้ําซ้อนจากเงินได้ พึงประเมินบนทรัพย์สินเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อได้รับหุ้นและเมื่อขายหุ้นออกไป จากการศึกษาพบว่า เพื่อให้เกิดเป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีควรกําหนดให้ผู้ขายหุ้นสามารถนํา ฐานของเงินได้พึงประเมินจากการรับโอนหุ้นเฉพาะส่วนที่ได้เสียภาษีไว้แล้ว มาถือเป็นต้นทุนเพื่อ คํานวณเงินได้พึงประเมินจากการขายหุ้นตามมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร และสามารถ นําเงินได้พึงประเมินที่ได้เสียภาษีจากการรับโอนไว้เฉพาะส่วนเกินจากราคาขายหุ้นหรือภาษีที่ได้เสีย ไปเกินกว่าภาษีที่ควรจะต้องชําระ มาหักออกจากเงินได้พึงประเมินหรือภาษีที่ต้องเสียเมื่อมีการขาย หุ้นได้นอกจากนี้ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าควรจะมีการกําหนดให้สามารถนําค่าใช้จ่ายใดๆที่ได้ จ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งหุ้นมาถือเป็นส่วนหนึ่งของเงินลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และควรมีการปรับแก้กฎหมายที่อาจเกี่ยวข้องเพื่อให้การปรับใช้กฎหมายเหมาะสมและเป็นธรรมมาก ขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาความไม่ชัดเจนในการกําหนดเงินได้พึงประเมินจากการขายหุ้นอันได้มาโดย ไม่มีค่าตอบแทนได้เพื่อช่วยหลีกเลี่ยงการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรอันจะส่งผลให้การ จัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรมีความยุติธรรมเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกด้วย


ปัญหาการขอรับสิทธิประโยชน์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต, กุลนิษฐ์ จตุรงคโชค Jan 2019

ปัญหาการขอรับสิทธิประโยชน์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต, กุลนิษฐ์ จตุรงคโชค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผู้ประกอบการในประเทศไทยจากร้อยละ 99 ของวิสาหกิจไทยนั้นเป็น SMEs การจ้างงาน ของ SMEs มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 82 โดยสัดส่วนของ GDP ที่มาจาก SMEs เป็นจํานวนถึงร้อยละ 42 SMEs จึงเป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจที่สําคัญที่จําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ประเทศไทยจึงมี มาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากหลายหน่วยงาน ซึ่งมีเพียงสํานักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่มีการออกมาตรการพิเศษในการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพ การผลิตโดยให้สิทธิและประโยชน์ที่เป็นการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่มาตรการที่ส่งเสริมของ กรมส่งเสริมกลับมีหลักเกณฑ์และข้อปฎิบัติที่ไม่เป็นการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ สามารถได้เข้าถึงการสนับสนุนได้อย่างจริงจัง เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทําขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาการขอรับสิทธิประโยชน์ของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ตลอดจนศึกษา หลักเกณฑ์ที่เป็นข้อจํากัดในการขอรับสิทธิและประโยชน์ เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์และข้อปฎิบัติที่ เป็นอุปสรรคในการยื่นขอรับการสนันสนุนสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเพื่อ ประโยชน์ในการพิจารณาหลักเกณฑ์การยื่นขอของมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพการผลิตของกรมส่งเสริมการลงทุน จากการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเป็นหลักเกณฑ์ที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อ การยื่นขอรับการส่งเสริมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ส่งผลให้ไม่มีการส่งเสริมได้จริง และ ไม่เป็นไปตามนโยบาย ทําให้วิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อมไม่สามารถเข้ารับการสนับสนุนได้อย่าง ที่คาดหวัง เนื่องจากหลักเกณฑ์และข้อกําหนดการให้สิทธิและประโยชน์มีความยุ่งยากซับซ้อน และ เป็นหลักเกณฑ์เดียวกันกับวิสาหกิจขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ตอบสนองถึงข้อจํากัดและอุปสรรคของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมที่ต่างกัน เนื่องจากหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ การผลิตเป็นหลักเกณฑ์ที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการยื่นขอรับการส่งเสริม ส่งผลให้ไม่มีการส่งเสริมได้จริง ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้เขียนได้เสนอแนวทางแก้ไขโดยให้มีการแยกหลักเกณฑ์การ พิจารณาสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่างจากวิสาหกิจขนาดใหญ่ โดยลดหย่อนในการ จัดทําตัวชี้วัด ยกเว้นการจัดทําข้อมูลสนับสนุนเชิงเทคนิค และลดหย่อนหลักเกณฑ์การลงทุน เครื่องจักรที่เป็นอัตโนมัติบางส่วนได้ เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับการสนับสนุนอ ย่างจริงจังและเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยได้เติบโตเพื่อ ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจไทยได้มากขึ้น


Trabajo De Campo En El Área Administrativa Y Contable Fundación Jesús El Buen Pastor, Katherine Lastra Vargas, Luis Eduardo Aroca Cobos Jan 2019

Trabajo De Campo En El Área Administrativa Y Contable Fundación Jesús El Buen Pastor, Katherine Lastra Vargas, Luis Eduardo Aroca Cobos

Administración de Empresas

En este trabajo podemos encontrar la aplicación de los conocimientos adquiridos en las carreras de Administración de Empresas y Contaduría Pública para el mejoramiento de los procesos y procedimientos de la Fundación Jesús El Buen Pastor, el cual contribuyó a crear un marco estratégico que permitió identificar la misión para la cual la organización fue creada y a su vez establecer lineamientos y herramientas que pudieran ayudar al crecimiento de la fundación tanto administrativo como contable. Al desarrollar este trabajo de grado se pudo obtener la situación actual de la fundación, realizar un diagnóstico de la misma y a su …


An Analysis And Critique Of Mental Health Treatment In American State Prisons And Proposal For Improved Care, Shelby Hayne Jan 2019

An Analysis And Critique Of Mental Health Treatment In American State Prisons And Proposal For Improved Care, Shelby Hayne

Scripps Senior Theses

Mental health treatment in state prisons is revealed to be highly variable, under-funded, and systematically inadequate. Existing literature exposes this injustice but fails to provide a comprehensive proposal for reform. This paper attempts to fill that gap, outlining a cost-effective, evidence-based treatment proposal, directly addressing the deficits in care revealed through analysis of our current system. In addition, this paper provides historical overviews of the prison system and mental health treatment, utilizing theoretical perspectives to contextualize this proposal in the present state of affairs. Lastly, the evidence is provided to emphasize the potential economic and social benefits of improving mental …


Pobreza Multidimensional En El Pacífico Colombiano 2010 - 2016, Lizeth Dayana Manzano Murillo, Laura Antonia Maturana Cifuentes Jan 2019

Pobreza Multidimensional En El Pacífico Colombiano 2010 - 2016, Lizeth Dayana Manzano Murillo, Laura Antonia Maturana Cifuentes

Economía

La pobreza es un fenómeno presente en muchos países de mundo, y un problema prioritario en las políticas de desarrollo económico y social, por lo que se hace pertinente estudiarla de manera rigurosa, analizando sus determinantes, y sus vínculos con los diferentes factores socioeconómicos de la población. Como bien se sabe, el Pacífico Colombiano es la región más pobre del país; cuenta con el menor ingreso per cápita, y elevadas tasas de pobreza monetaria y multidimensional. El objetivo de esta monografía de grado es analizar la pobreza en el Pacífico Colombiano, considerando la aproximación multidimensional, implementando de manera detallada la …


Efectos De La Política Montearía En Colombia A Través Del Mecanismo De Transmisión Del Crédito Bancario Sobre La Inflación En El Periodo 2001 A 2015., Diego Andrés Contreras Rodríguez Jan 2019

Efectos De La Política Montearía En Colombia A Través Del Mecanismo De Transmisión Del Crédito Bancario Sobre La Inflación En El Periodo 2001 A 2015., Diego Andrés Contreras Rodríguez

Economía

El presente trabajo se elaboró con el propósito de identificar la influencia que tuvo la política monetaria sobre la inflación, a través del mecanismo de transmisión del crédito bancario, teniendo en cuenta la evolución que registró, los depósitos que recibió y los préstamos que otorgó el sistema financiero al público, por medio de los bancos comerciales, a partir del 2001, año donde el banco central implementó una nueva estrategia monetaria con los objetivos de mantener una estabilidad en los precios y un crecimiento alto y sostenible del producto. En el análisis, se presentan los cambios en la postura monetaria, mediante …


Diseño Plan De Auditoría Para La Evaluación Al Sistema De Control Interno De Las Entidades Del Sector Financiero, Laura Juliana Contreras Caro Jan 2019

Diseño Plan De Auditoría Para La Evaluación Al Sistema De Control Interno De Las Entidades Del Sector Financiero, Laura Juliana Contreras Caro

Contaduría Pública

En el desarrollo del presente artículo se encontrará un contexto que guiará y sustentará la importancia de proponer un diseño de plan de auditoría para la evaluación del sistema de control interno en las entidades del sector financiero, el contenido corresponde a una temática apoyada en la normatividad colombiana. con responsabilidad frente a una normatividad internacional, con el ánimo de retroalimentar la perspectiva e importancia del control interno, de cara con algunos sucesos de inestabilidad en las entidades financieras ocurridos en la realidad y que develan la importancia de una óptima implementación y evaluación de control interno . Se encontrará …


แนวทางการตัดจำหน่ายและคำนวณค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อย (Low-Value Assets) เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล: ศึกษากฎหมายประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์, ตรีรัช ปรีชาบริสุทธิ์กุล Jan 2019

แนวทางการตัดจำหน่ายและคำนวณค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อย (Low-Value Assets) เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล: ศึกษากฎหมายประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์, ตรีรัช ปรีชาบริสุทธิ์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการแก้ไขปัญหาของประมวลรัษฎากรไทยในปัจจุบันที่ไม่มี ความยืดหยุ่นในหลักเกณฑ์ของการตัดจําหน่ายและการคํานวณค่าเสื่อมของสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อย โดยศึกษาหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวของกฎหมายของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งมีการกําหนด ในกฎหมายอย่างชัดเจนและเป็นการช่วยลดภาระแก่ผู้ประกอบการในการปรับปรุงรายการเพื่อ คํานวณกําไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อันสอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีในเรื่อง ความ ยืดหยุ่นและหลักการบริหารที่ดี จากการศึกษาพบว่า ประมวลรัษฎากรไทยยึดถือในหลักกรรมสิทธิ์และหลักประโยชน์ใช้สอย เท่านั้น โดยยังไม่มีบทบัญญัติใดอนุโลมให้ปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปในหลักความมี นัยสําคัญ จึงทําให้ยังมีประเด็นปัญหาที่สําคัญในการตัดจําหน่ายและคํานวณค่าเสื่อมราคาของ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยอยู่ 3 ประการ คือ (1) ประมวลรัษฎากรไม่มีหลักเกณฑ์ข้อผ่อนปรนสําหรับ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยเฉกเช่นเดียวกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป (2) แนวปฏิบัติของกรมสรรพากร ไม่สะท้อนความเป็นจริงของการมีอยู่ของทรัพย์สิน และ (3) ต้นทุนในการปรับปรุงรายการในการ คํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามเงื่อนไขการคํานวณกําไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม) เกี่ยวกับรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน อาจจะสูงเกินกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติให้ ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร ซึ่งปัญหาทั้ง 3 ประการนี้ ถือเป็นการสร้างภาระเกินจําเป็นแก่ ผู้ประกอบการและยังไม่สอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับหลักการเกณฑ์การตัดจําหน่ายและการคํานวณค่าเสื่อมราคาของ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ พบว่ากฎหมายของทั้ง 2 ประเทศมีการ กําหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจน รวมทั้งมีตัวอย่างการคํานวณและใช้สิทธิอย่างละเอียด ซึ่งเป็นการช่วยอํานวยความสะดวกและเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการในการคํานวณและตัด จําหน่ายค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรนําแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้ เพื่อเป็นการพัฒนาหลักเกณฑ์ในประมวลรัษฎากรไทยให้สอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีและ อํานวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางในการนําหลักเกณฑ์ของต่างประเทศมาปรับใช้ในประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาทั้ง 3 ประการที่กล่าวมาข้างต้น โดยผู้เขียนเห็นว่าวิธีการดังกล่าวมีความเหมาะสมและ ควรปรับปรุง สามารถประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้ ซึ่งจะทําให้เกิดความชัดเจนในประมวลรัษฎากร ไทย และเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้ประกอบการ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใน สินทรัพย์ใหม่ของกิจการ และช่วยให้กระแสเงินสดมีความคล่องตัวมากขึ้น


ผลกระทบในทางเศรษฐศาสตร์กับการยอมรับกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนชีวิตคู่, พศิน กานตพิชาน Jan 2019

ผลกระทบในทางเศรษฐศาสตร์กับการยอมรับกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนชีวิตคู่, พศิน กานตพิชาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากสังคมปัจจุบันมีการยอมรับในเพศทางเลือกมากขึ้นจากในอดีต จึงทำให้ปัจจุบันมีการใช้ชีวิตในลักษณะคู่ชีวิตเพศเดียวกันมากขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีการใช้ชีวิตร่วมกันในรูปแบบชีวิตคู่ทั้งที่แสดงออกและไม่แสดงออก ตลอดจนการสร้างครอบครัวให้ปรากฏชัดในสังคม อันเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคมและกรอบแนวความคิดเรื่องการยอมรับความหลากหลายทางเพศ จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคมในเรื่องการใช้ชีวิตของกลุ่มเพศเดียวกันและเพศทางเลือกมากขึ้น โดยปรัชญาของนิติศาสตร์เองมีเพื่อตอบสนองปัญหาของสังคม ณ ขนะนั้นเนื่องจากสังคมมีพลวัตและเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยระบบฎหมายในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิและหน้าที่ของคู่สมรสที่เป็นเพศเดียวกัน กล่าวคือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 กฎหมายลักษณะครอบครัว ไม่ได้บัญญัติรับรองถึงการสมรสของคู่ชีวิตเพศเดียวกัน จึงเป็นผลให้ไม่สามารถจดทะเบียนสมรสเพื่อให้มีผลผูกพันธ์ทางกฎหมายได้ ผลที่ตามมาก็คือบุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับการรับรองในเรื่องสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย และยังมีเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันในการใช้ชีวิตคู่ของกลุ่มบุคคลดังกล่าว ทั้งนี้ทางหลักนิติศาตร์ยังไม่ได้มีการยอมรับอย่างเป็นรูปธรรม ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่รับรองสถานะของการเป็นคู่สมรส หรือกฎหมายที่ให้สิทธิคุ้มครองในการครองคู่แก่คนกลุ่มเพศทางเลือกแต่ประการใด ที่ผ่านมาได้มีการทำสำรวจเรื่อง “สังคมไทยคิดอย่างไรกับเพศที่ 3” จากนิด้าโพลเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 โดยผลการสำรวจพบว่า การยอมรับของประชาชนกรณีมีเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานในองค์กรเป็นเพศที่ 3 ร้อยละ 90.15 ระบุว่า ยอมรับได้ ในขณะที่ร้อยละ 7.78 ระบุว่าไม่สามารถยอมรับได้ ดังนี้แล้วจึงมีเหตุผลและความจำเป็นในการจัดทำเอกัตศึกษานี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ของการให้สิทธิต่าง ๆ ทางกฎหมายแก่บุคคลเพศทางเลือก ตลอดจนเหตุผลสนับสนุนการบังคับใช้พระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. ... อันจะทำให้กลุ่มเพศทางเลือกมีสิทธิ และบทบาททางสังคมที่เทียบเท่ากันกับบุคคลอื่นในสังคมอย่างแท้จริง ซึ่งจะเกิดผลกระทบในทางเศรษฐศาสตร์ในเชิงบวกโดยตรง ดังนั้น การยอมรับทางสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจแต่การยอมรับทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการให้สิทธิต่าง ๆ จะสามารถส่งผลในทางบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจได้ หลายคนอาจมองว่าการจดทะเบียนนั้นไม่สำคัญสำหรับคนสองคนจะเป็นครอบครัวเดียวกันแค่คนสองคนรักกันก็พอ แต่ถ้ามองถึงสิทธิของพลเมือง การจดทะเบียนสมรสควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงจะได้ นอกจากนี้ยังเป็นการยืนยันสิทธิและแสดงหน้าที่ของคนทั้งสองได้มากกว่าแค่ความรัก การจดทะเบียนสมรสอาจจะไม่ใช่สิ่งที่คู่รักทุกคู่ต้องการ ขึ้นกับความสมัครใจของคนสองคน แต่การจดทะเบียนสมรสเป็นสิ่งที่พลเมืองทุกคนก็ควรจะได้รับสิทธิในการจดทะเบียนที่เท่าเทียมกัน แต่บุคคลคนกลุ่มเพศทางเลือกนั้นยังไม่ได้รับสิทธินี้


มาตรการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมภาพยนตร์ Measures Of Foreign Investment Promotion In The Film Industry, นรุตม์ ปุญญบาล Jan 2019

มาตรการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมภาพยนตร์ Measures Of Foreign Investment Promotion In The Film Industry, นรุตม์ ปุญญบาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันอุตสาหกรรมภาพยนตร์ถือเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สร้างรายได้และกระตุ้น เศรษฐกิจในระดับนานาชาติ ซึ่งประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากขยายตัวอย่างต่อเนื่องของ อุตสาหกรรมภาพยนตร์เช่นกัน ดังนั้นการศึกษานี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาด้านมาตรการส่งเสริม และสิทธิประโยชน์ของประเทศไทย ที่มอบให้กับภาพยนตร์ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาถ่ายท าในประเทศ ไทยของกองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนในระยะยาวของกองถ่าย ภาพยนตร์ต่างประเทศและนักลงทุน โดยเปรียบเทียบกับมาตรการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ของ ประเทศมาเลเซีย และประเทศสิงคโปร์ ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลและสรุปเกี่ยวกับ แนวทางปฏิบัติ ข้อก าหนด สิทธิที่ ได้รับ รวมทั้งประเด็นปัญหาที่ส าคัญ ได้แก่ ขั้นตอนที่ซับซ้อนและระยะเวลาที่ยาวนานในการติดต่อ ด าเนินการกับแต่ละหน่วยงาน นโยบายและมาตรการส่งเสริมที่มีในปัจจุบันไม่เพียงพอ นโยบายและ มาตรการส่งเสริมที่มีในปัจจุบันไม่ครอบคลุมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ที่ กระทบต่อการส่งเสริม ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนถ่ายท าภาพยนตร์ ต่างประเทศเป็นอย่างมาก จากการศึกษาข้อมูลของประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์ พบว่าทั้งสองประเทศมีมาตรการ ส่งเสริมฯ และสิทธิประโยชน์ที่มอบให้กับกองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศและนักลงทุนหลายมาตรการ ซึ่งแต่ละมาตรการประสบความส าเร็จในการดึงดูดกองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศและนักลงทุนเป็น อย่างมาก ดังนั้นประเทศไทยจึงน ามาตรการที่ประสบผลส าเร็จของทั้งสองประเทศ มาพัฒนาต่อยอด และปรับใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหา ได้แก่ การปรับปรุงและจัดระเบียบโครงสร้างหน่วยงาน One Stop Service ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การพิจารณาก าหนดมาตรการใหม่และเพิ่มเติมสิทธิ ประโยชน์ของมาตรการส่งเสริมฯ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน การจัดตั้งกองทุนหรือให้การสนับสนุนเงินลงทุนใน การเข้ามาถ่ายท าภาพยนตร์และการพิจารณาลิขสิทธิ์ของภาพยนตร์ที่ส่งผลต่อการลงทุนถ่ายท าใน ประเทศไทย เพื่อเอื้อประโยชน์แก่กองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศและนักลงทุน เป็นการดึงดูดการเข้า มาถ่ายท าภาพยนตร์ และป้องกันการเสียโอกาสที่กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี ้ควรเพิ่มความส าคัญด้านมาตรการส่งเสริมการถ่ายท าภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ทั ้งจาก หน่วยงานรัฐบาลและหน่วยงานเอกชน รัฐบาลควรให้ความสนับสนุนหน่วยงานเอกชนที่มีความเกี่ยวข้องกับการ เข้ามาถ่ายท าภาพยนตร์ของกองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศและนักลงทุน และส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ ภาพลักษณ์ของประเทศและข้อมูลที่ส าคัญแก่กองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศ นักลงทุน และผู้ที่สนใจ เพื่อให้ ประเทศไทยเป็นประเทศแนวหน้าในการเป็นสถานที่ถ่ายท าและลงทุนด้านภาพยนตร์ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดี และยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย


การใช้มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรมแบบยั่งยืน, พสิษฐ์ เจนดิษฐการ Jan 2019

การใช้มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรมแบบยั่งยืน, พสิษฐ์ เจนดิษฐการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รูปแบบการทำเกษตรกรรมในปัจจุบันเพื่อตอบสนองภาคอุตสาหกรรมและระบบทุนนิยมในหลายทศวรรษที่ผ่านมา เช่น เกษตรกรรมเชิงเดี่ยวและเกษตรกรรมแบบใช้สารเคมีทางการเกษตร ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเศรษฐกิจ จนมิอาจตอบโจทย์ความยั่งยืนในระยะยาวได้ เกษตรกรรมแบบยั่งยืน (Sustainable Agriculture) เป็นระบบเกษตรกรรมที่สร้างความสมดุลระหว่าง สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเศรษฐกิจ คือ การทำเกษตรกรรมที่ต้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติและความสมดุลของระบบนิเวศควบคู่กันโดยไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตร ในขณะเดียวกัน ก็สร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ และเอื้ออำนวยให้สามารถใช้ทรัพยากรหรือภูมิปัญญาในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาจากการทำเกษตรกรรมในปัจจุบัน และช่วยยกระดับรายได้ของเกษตรกร โดยมีรูปแบบที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป 6 รูปแบบ ได้แก่ เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรธรรมชาติ วนเกษตร เกษตรผสมผสาน และไร่หมุนเวียน ในปัจจุบัน ประเทศไทยก็กำลังเผชิญกับปัญหาจากการทำเกษตรกรรมที่ไม่มีความยั่งยืน แต่อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติกฎหมายส่งเสริมเป็นการเฉพาะ คือ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ. …. โดยร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวมีการกำหนดให้ใช้มาตรการส่งเสริมทางภาษี แต่ยังไม่ได้ระบุแนวทางที่เป็นรูปธรรมและชัดเจน รวมถึงยังไม่มีระบบงานรับรองมาตรฐานเกษตรกรรมแบบยั่งยืน ซึ่งจะเป็นระบบที่เชื่อมข้อมูลระหว่างภาครัฐและเกษตรกรให้สามารถใช้มาตรการส่งเสริมได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย และโครงสร้างภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรกรรมในประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีการส่งเสริมผลผลิตการเกษตรบางประเภท เช่น ข้าวและผลผลิตที่ไม่ได้แปรรูป แต่ก็ไม่เป็นธรรม ขาดความยืดหยุ่นและมีข้อจำกัดอยู่หลายประการจนไม่ส่งเสริมให้เกิดเกษตรกรรมแบบยั่งยืน ดังนั้น จึงควรหาแนวทางที่เหมาะสมในการใช้มาตรการเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรมแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดยเฉพาะมาตรการทางภาษี ซึ่งเป็นมาตรการที่งานศึกษาฉบับนี้มุ่งเน้นเป็นสำคัญ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ของรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อนำมาปรับใช้ในประเทศไทย


แนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสหากรรม รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย : กรณีศึกษาประเทศจีน, ปิยรัชต์ เจริญลาภ Jan 2019

แนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสหากรรม รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย : กรณีศึกษาประเทศจีน, ปิยรัชต์ เจริญลาภ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การค้นคว้าอิสระนี้มุ่งศึกษาแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายส่งเสริมการลงทุน ในอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย : กรณีศึกษาประเทศจีน ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาข้อจํากัดของมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตรถยนต์พลังงาน ไฟฟ้าในประเทศไทย (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายของประเทศจีนด้านการส่งเสริม การลงทุนภาคอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย และ (3) เพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมาย สําหรับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์รถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยโดยใช้วิธีการศึกษา เชิงเอกสาร (Documentary Research) ผลการศึกษาพบว่า ข้อจํากัดจากมาตรการทางกฎหมายไม่เอื้ออํานวยต่อการส่งเสริมการใช้รถยนต์ พลังงานไฟฟ้า เนื่องจากกฎหมายเกี่ยวกับภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่งผลให้รถยนต์ พลังงานไฟฟ้ามีราคาสูงกว่ารถยนต์พลังงานน้ํามัน ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ภาครัฐให้การส่งเสริมการลงทุนด้วยมาตรการและสิทธิพิเศษทางภาษีอากร ยังไม่เพียงพอต่อแข่งขัน เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการของประเทศจีน ประกอบกับข้อจํากัดความพร้อมของสิ่งอํานวยความสะดวก ได้แก่ สถานีเติมประจุไฟฟ้าที่ยังไม่เพียงพอและครอบคลุมในแต่ละพื้นที่ การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ มีน้ําหนักมากและราคาสูง ดังนั้นแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายควรทําให้ระดับราคารถยนต์ พลังงานไฟฟ้าที่จําหน่ายในประเทศไทยต่ําลง โดยพัฒนามาตรการทางกฎหมายภาษีศุลกากร และภาษีสรรพสามิต โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมายส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้ต้นทุนการผลิต ของภาคอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ด้วยการให้การส่งเสริมการการลงทุนแก่ผู้ผลิตในอุตสาหกรรม ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยแบบครบวงจร ให้ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร และหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล 10 ปีสําหรับการผลิตชิ้นส่วน อะไหล่ มอเตอร์ แบตเตอรี่ และเทียบเท่าการผลิตเพื่อส่งออก รวมถึงการส่งเสริม ภาคเอกชนที่เข้ามาลงทุนในกิจการสถานีบริการเติมประจุไฟฟ้าด้วย พิจารณาภาษีนําเข้าสําหรับรถยนต์ไฟฟ้า จากต่างประเทศ และพิจารณาลดหย่อนภาษีสรรพสามิตเหลือ 0% ใน 3 ปีแรก หรือตลอดอายุการใช้งาน ของรถยนต์เมื่อการพัฒนาแบตเตอรี่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม


มาตรการสนับสนุนการระดมทุนของธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย(สตาร์ทอัพ), จันทรรัตน์ รัชชพงศ์รักษ์ Jan 2019

มาตรการสนับสนุนการระดมทุนของธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย(สตาร์ทอัพ), จันทรรัตน์ รัชชพงศ์รักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภายใต้แนวคิด Thailand 4.0 ที่มีนโยบายให้ประเทศไทยมีรูปแบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย นวัตกรรม และเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยกําลังผลักดันให้เกิดกลุ่มธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้น (สตาร์ทอัพ) มากยิ่งขึ้น เนื่องจากธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้น (สตาร์ทอัพ) ในระยะแรกมักขาดเงินทุนและ แผนธุรกิจที่แข็งแกร่งจึงไม่สามารถเติบโตได้ในระยะยาว การกู้ยืมเงินจากแหล่งสถาบันการเงินอาจไม่ สามารถทําได้เนื่องจากในช่วงแรกบริษัทอาจยังไม่มีสินทรัพย์เพียงพอต่อการขอสินเชื่อ ผู้ประกอบการ จึงเลือกพึ่งพาแหล่งเงินทุนในรูปแบบขององค์กร และนักลงทุนอิสระซึ่งเป็นทางเลือกที่ผู้ประกอบการ พอจะสามารถทําได้ และถึงแม้ปัจจุบันในประเทศไทยจะมีมาตรการ นโยบายส่งเสริมสนับสนุนเพื่อ ช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้น(สตาร์ทอัพ) ในการระดมเงินทุนแก่ธุรกิจแต่มาตรการ และนโยบายดังกล่าวกลับกําหนดคุณสมบัติหรือเงื่อนไขบางประการที่เป็นผลให้นักลงทุนและ ผู้ประกอบการไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์จากมาตรการสนับสนุนการระดมเงินทุน ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์มีมาตรการ และนโยบายส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายบริษัทของสิงคโปร์ เพื่อสร้างความยืดหยุ่นและ ทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้น(สตาร์ทอัพ) และผู้ลงทุน นํามาซึ่งความคล่องตัวให้แก่ ผู้ประกอบการในการระดมทุน โดยเฉพาะเป็นผลให้ธุรกิจสามารถพัฒนาและเติบโตได้ในระยะยาว ดังนั้น การส่งเสริมการระดมทุนของผู้ประกอบธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้น(สตาร์ทอัพ) ควรมีการปรับลด มาตรการ นโยบาย และหลักเกณฑ์เพื่อสร้างทางเลือกในการระดมทุนของธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้น (สตาร์ทอัพ) และนักลงทุนโดยการนําหลักเกณฑ์กฎหมายบริษัทของประเทศสิงคโปร์มาปรับใช้และให้ ภาครัฐจัดตั้งนโยบายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้น(สตาร์ท อัพ) ไทยอย่างแท้จริง


ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากการบังคับใช้ พระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562, พงษ์ศักดิ์ วชิรศักดิ์พานิช Jan 2019

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากการบังคับใช้ พระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562, พงษ์ศักดิ์ วชิรศักดิ์พานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติทรัพย์ อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 ด้วยวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลเอกสาร ตำราวิชาการที่ เกี่ยวข้อง บทความ งานวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับหลักการส าคัญ แนวความคิดทางกฎหมาย ความ เป็นมา และมาตรการแก้ไขข้อจำกัดเรื่อง “การเช่าทรัพย์สิน” ของกลุ่มประเทศในระบบกฎหมาย Civil Law, กลุ่ม ประเทศในระบบกฎหมาย Common Law และประเทศไทย เพื่อน ามาวิเคราะห์ถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ และ เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องต่างๆ อันจะส่งผลให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 มี ความเหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพได้อย่างสูงสุดในทางความเป็นจริง จากการศึกษาพบว่า นอกเหนือจากผลกระทบในเชิงบวกที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติทรัพย์ อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม เช่น ก่อให้เกิดการลงทุน และการจ้างงานในธุรกิจ พัฒนาที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์มากขึ้นแล้วนั้น การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆในทาง ปฏิบัติได้เช่นกัน อาทิปัญหาเรื่องการเอื้อประโยชน์แก่นักลงทุนต่างชาติที่อาจอาศัยช่องว่างของกฎหมายเพื่อไม่ให้ ต้องนำเงินของตนเองเข้ามาลงทุนในประเทศไทย หรือปัญหาเรื่องการที่จะต้องปรับเปลี่ยนระบบการพิจารณา อนุมัติสินเชื่อเพื่อการจ านองทรัพย์อิงสิทธิของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินทั่วทั้งประเทศ หรือปัญหาเรื่อง การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิที่ไม่เหมาะสม และมีอัตราสูงกว่าค่าธรรมเนียม ของการทำนิติกรรมในประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิการเช่า เป็นต้น ซึ่งประเด็น ปัญหาต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นปัจจัยส าคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจ และการตัดสินใจของบรรดานักลงทุนได้ว่า ตนควรที่จะนำทรัพย์สินไปจดทะเบียนก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิตามกฎหมายฉบับนี้ต่อไปหรือไม่ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้แล้ว ก็ ย่อมส่งผลให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่สัมฤทธิผลสมดังเจตนารมณ์ของรัฐซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายแต่ อย่างใด ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะแนวทางของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไว้ว่า รัฐ หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะต้องด าเนินการเร่งออกกฎหมายล าดับรองในประเภทต่างๆ เพื่อก าหนดหลักเกณฑ์ไว้ ให้ชัดเจนว่า ให้ผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิที่เป็นนักลงทุนต่างชาติจะต้องนำเงินลงทุนขั้นต่ าเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าที่ กฎหมายลำดับรองกำหนดไว้มาใช้ในการลงทุนเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์อิงสิทธิให้เสร็จสิ้นเสียก่อนในขั้นแรก ก่อนที่จะได้มีการนำเอาทรัพย์อิงสิทธิไปตราเป็นหลักประกันการช าระหนี้ด้วยวิธีการจดทะเบียนจำนองไว้กับ สถาบันการเงิน หรือธนาคารพาณิชย์ในล าดับถัดไป หรือให้ปรับเปลี่ยนแนวทางการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเพื่อการ จดทะเบียนจำนองทรัพย์อิงสิทธิของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ทุกฝ่ายปฏิบัติร่วมกัน หรือให้ปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมของการรังวัดแบ่งแยกที่ดิน และ/หรือค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนก่อตั้ง ทรัพย์อิงสิทธิให้มีจำนวนเท่ากับ หรือ น้อยกว่าอัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิการเช่า เป็นต้น …


ผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้ จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ต่อการรับรู้รายได้และรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีธุรกิจจัดหาระบบและบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, วสกานต์ ธนัตถานนท์ Jan 2019

ผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้ จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ต่อการรับรู้รายได้และรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีธุรกิจจัดหาระบบและบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, วสกานต์ ธนัตถานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทาง การเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ท ากับลูกค้า ต่อการรับรู้รายได้และรายจ่ายตามประมวล รัษฎากรของธุรกิจจัดหาระบบและบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมาตรฐานการรายงานทาง การเงิน ฉบับที่ 15 ได้ถูกประกาศใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 เรื่องรายได้ โดยให้ถือปฏิบัติ ส าหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities: PAEs) กับงบการเงิน ส าหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป ซึ่งหลักการส าคัญของ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการรับรู้รายได้ใหม่อย่างมี นัยส าคัญ ท าให้ธุรกิจจัดหาระบบและบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับผลกระทบจากการน า มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 มาใช้กับงบการเงินของกิจการ จากการศึกษาพบว่า การรับรู้รายได้และรายจ่ายของธุรกิจจัดหาระบบและบริการด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศตามหลักเกณฑ์ของประมวลรัษฎากรนั้น มีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การ รับรู้รายได้และรายจ่ายของหลักการบัญชีเดิม คือ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 18 แต่ไม่มีความ สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้และรายจ่ายของหลักการบัญชีใหม่ คือ มาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 15 ส่งผลให้กิจการที่ประกอบธุรกิจจัดหาระบบและบริการด้านเทคโนโลยี สารสนเทศต้องมีรายการปรับปรุงก าไรสุทธิตามหลักการบัญชีเพื่อให้ได้ก าไรสุทธิทางภาษีอากรเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อย่างไรก็ดี หากผู้ประกอบการถูกก าหนดให้ต้องรับรู้รายได้และรายจ่ายตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่จะมีผลให้เกิดปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษีอากรและปัญหา ความไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของภาษีอากรที่ดี


มาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ : ศึกษากรณีบทลงโทษผู้แนะนำการลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์, วิศัทวรรณ วิมลศิลปิน Jan 2019

มาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ : ศึกษากรณีบทลงโทษผู้แนะนำการลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์, วิศัทวรรณ วิมลศิลปิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บริษัทหลักทรัพย์ถือเป็นหัวใจหลักของตลาดทุน เป็นที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบัน การลงทุน ย่อมมีความสําคัญกับประชาชนทั่วไป ในการจัดการเงินออม เพื่อให้เกิดผลงอกเงย โดยตลาดทุนเป็น กลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในองค์รวม ตลาดทุนจึงเป็นทางเลือกของแหล่งระดมทุนและ เป็นทางเลือกในการออม สําหรับประชาชน นอกเหนือจากตลาดเงิน จึงทําให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่ สําคัญของประเทศอีกแห่งหนึ่ง โดยในส่วนของผู้แนะนําการลงทุนผู้ซึ่งทําหน้าที่ในบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อให้คําแนะนําในการลงทุนกับผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยภายใต้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้แนะนํา การลงทุนในการให้คําแนะการลงทุนต่อผู้ลงทุน ผู้แนะนําการลงทุนจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐาน การปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ได้ กําหนดไว้ ซึ่งถ้าผู้แนะนําการลงทุนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามแนวทางของสํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนดไว้ซึ่งจะมีบทลงโทษทางปกครองสําหรับ ผู้แนะนําการลงทุนที่กระทําความผิดโดยการพักหรือเพิกถอนการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แนะนําการลงทุน ซึ่งหากพิจารณาถึงลักษณะของพฤติกรรมการกระทําความผิดของผู้แนะนําการลงทุนที่กระทําทุจริต เช่น ฉ้อโกงหรือยักยอกต่อทรัพย์สินของผู้ลงทุน จะพบว่าการดําเนินการลงโทษทางปกครองกับผู้ แนะนําการลงทุนนั้นไม่เพียงพอต่อการยับยั้งการกระทําความผิดของผู้แนะนําการลงทุน ดังนั้นจึงมี ความจําเป็นอย่างมากที่จะต้องมีมาตรการทางกฎหมายที่รุนแรงขึ้นเพื่อปูองกันไม่ให้ผู้แนะนําการ ลงทุนกระทําทุจริตต่อทรัพย์สินของผู้ลงทุน เอกัตศึกษาเล่มนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาบทลงโทษทางปกครองของผู้แนะนําการลงทุนที่กระทํา ความผิดเพื่อเปรียบเทียบกับฐานความผิดการลงโทษทางอาญาสําหรับพฤติกรรมของผู้แนะนําการ ลงทุนที่กระทําทุจริตต่อทรัพย์สินของผู้ลงทุน โดยศึกษาแนวทางมาตรการลงโทษทางอาญาสําหรับผู้ที่ ฉ้อโกง ยักยอกหรือหลอกลวง แนวทางมาตรการลงโทษของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้พบว่าทางสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้มีมาตรการลงโทษทางอาญาสําหรับผู้ที่ทุจริตหรือการหลอกลวงที่ เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ รวมถึงการฉ้อโกงหลักทรัพย์ซึ่งมีผลต่อหน้าที่เป็นตัวแทน นายหน้าและที่ปรึกษาทางการเงินในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย ทั้งนี้ใน พระราชบัญญัติประกันชีวิตในประเทศไทยได้มีมาตรการลงโทษทางอาญาสําหรับผู้ที่กระทําทุจริต หลอกลวง ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายของการกํากับดูแลบุคลากรในตลาดทุนสําหรับ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการกระทําทุจริตของผู้ แนะนําการลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์ ผู้เขียนจึงได้ศึกษาเพื่อรองรับการดําเนินการมาตรการทางอาญา เฉพาะพฤติกรรมของผู้แนะนําการลงทุนที่กระทําทุจริต ฉ้อโกงหรือยักยอกทรัพย์สินของผู้ลงทุน โดย มาตรการริบทรัพย์, มาตรการลงโทษปรับ และมาตรการลงทาจําคุก มาใช้เป็นมาตรการเสริมสําหรับ การบังคับใช้กฎหมายเพิ่มเติมจากมาตรการลงโทษทางปกครองที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอาจทําให้บรรลุ วัตถุประสงค์ในการปูองกันไม่ให้ผู้แนะนําการลงทุนหรือบุคลากรในตลาดทุนกระทําทุจริตต่อทรัพย์สิน ของผู้ลงทุน


ปัญหาการจัดเก็บภาษีจากธุรกิจการให้บริการภาพยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ในประเทศไทย, อภิญญา ธัมมวิจยะ Jan 2019

ปัญหาการจัดเก็บภาษีจากธุรกิจการให้บริการภาพยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ในประเทศไทย, อภิญญา ธัมมวิจยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีความเร็วอินเทอร์เน็ตทำให้การดูภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือการดูหนังแบบ Streaming ได้รับความนิยมอย่างมากโดยมีการคิดค่าบริการเป็นลักษณะของค่าบริการแบบรายเดือน ซึ่งผู้ให้บริการที่เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย คือ Netflix โดยรูปแบบธุรกิจของผู้ให้บริการภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์นั้นจะไม่ได้มีการจัดตั้งเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย ไม่มีสถานประกอบการหรือตัวแทนในไทย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการให้บริการหรือการรับชำระค่าบริการ จะกระทำการโดยบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศทั้งหมด คือเมื่อผู้ใช้บริการจะติดต่อสอบถามก็จะใช้การสื่อสารด้วยอีเมลหรือระบบสอบถามอัตโนมัติผ่านทางหน้าเว็บไซต์ การชำระค่าบริการก็เป็นการชำระผ่านช่องทางออนไลน์อย่างเช่น บัตรเครดิต หรือ ช่องทางออนไลน์อื่นๆ ดังนั้นด้วยรูปแบบธุรกิจแล้ว ทำให้ผู้ให้บริการภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์ไม่จำเป็นต้องมีสถานประกอบการในประเทศไทย และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นช่องว่างทางกฎหมายที่ทำให้รัฐบาลไม่สามารถเก็บภาษีใดๆ จากค่าบริการรายเดือนที่ผู้ใช้บริการซึ่งอยู่ในประเทศไทยและได้ใช้บริการในไทยที่ชำระให้แก่ผู้ให้บริการภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งมีสถานประกอบการอยู่ในต่างประเทศ จึงเป็นเหตุที่เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ธุรกิจที่คล้ายกันอย่างเช่นโรงภาพยนตร์ที่เสียภาษีอย่างถูกต้อง ยิ่งไปกว่านั้น การให้บริการภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์นั้นกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงมีการเติบโตขยายจำนวนผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากจึงแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลได้สูญเสียภาษีที่เก็บไม่ได้เป็นจำนวนมาก และรวมถึงในอนาคตด้วยถ้ายังไม่สามารถที่จะหาแนวทางในการจัดเก็บภาษีจากค่าบริการภาพยนตร์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้


การยกเว้นหนี้ภาษีให้แก่ลูกหนี้ภาษีอากรซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา ภายหลังศาลได้มีคำสั่งปลดจากการล้มละลายแล้ว, อภิชา กิตติวรารัตน์ Jan 2019

การยกเว้นหนี้ภาษีให้แก่ลูกหนี้ภาษีอากรซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา ภายหลังศาลได้มีคำสั่งปลดจากการล้มละลายแล้ว, อภิชา กิตติวรารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปลดจากการล้มละลายตามหลักกฎหมายล้มละลายนั้นมีวัตถุประสงค์หนึ่งที่สําคัญคือ เพื่อให้โอกาส ลูกหนี้ได้เริ่มต้นใหม่ทางการเงิน ซึ่งเมื่อพิจารณาในกฎหมายล้มละลายของไทยพบว่ากฎหมายได้กําหนดไว้ว่า บุคคลล้มละลายซึ่งถูกปลดจากล้มละลายแล้วจะต้องชําระหนี้เกี่ยวกับหนี้ภาษีอากรต่อไปจนครบถ้วน หนี้ภาษีที่คง ค้างนี้ขัดกับหลักการของกฎหมายล้มละลายที่ต้องการให้ลูกหนี้เริ่มต้นใหม่โดยแท้จริง นอกจากนี้เมื่อบุคคลธรรมดา ได้รับการปลดจากล้มละลาย หนี้ภาษีอากรไม่หลุดพ้นไปด้วย ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมของหน่วยภาษีระหว่าง บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล การที่ยังคงมีภาระหนี้ภาษีอากรอยู่นั้น ทําให้การเริ่มต้นใหม่ทางการเงินเป็นไปได้ยาก และลดแรงจูงใจในการประกอบอาชีพของลูกหนี้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหากับประเทศต่อไป รวมถึงการต้องรับผิดใน ภาษีอากรคงค้างภายหลังการปลดจากการล้มละลายของบุคคลธรรมดาที่สุจริตนั้น การให้ลูกหนี้รับภาษีอากรที่คง ค้างหนักเกินไปจึงอาจเป็นการลงโทษที่เกินสมควรอีกด้วย และอาจเพิ่มแรงจูงใจให้ลูกหนี้กระทําการหนีภาษี ดังนั้น จึงควรมีมาตรการที่จะช่วยยกเว้นภาระทางภาษีที่ไม่ขัดกับหลักการของกฎหมายล้มละลาย สร้าง ความเป็นธรรมระหว่างหน่วยภาษี และสร้างแรงจูงใจให้ผู้เสียภาษีเริ่มต้นธุรกิจใหม่ได้รวดเร็วขึ้น เพื่อให้รัฐมีโอกาส ได้จัดเก็บภาษีจากบุคคลที่ถูกปลดจากการล้มละลายได้ใหม่ ซึ่งจะสร้างรายได้ให้แก่รัฐมากขึ้น ผู้เขียนจึงได้นําเสนอ แนวทางในในการยกเว้นหนี้ภาษีอากรของต่างประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคน าดา มา ปรับใช้กับแนวทางของประเทศไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยการปรับลดจํานวนหนี้ภาษีอากรที่ไม่หลุดพ้นภายหลัง การปลดจากการล้มละลายให้เฉพาะลูกหนี้ที่สุจริต คือเมื่อลูกหนี้ได้รับการปลดจากการล้มละลายจะยกเว้นหนี้ภาษี เงินได้ทั้งจํานวนในหนี้ภาษีอากรที่ค้างชําระนานเกินกว่าระยะเวลา 2 ปี หรือ 5 ปี โดยอ้างอิงตามแนวทางการ ประเมินภาษีย้อนหลังของประมวลรัษฎากรตามมาตรา 19 โดยจะยกเว้นให้เฉพาะหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เท่านั้นโดยไม่ยกเว้นให้แก่ หนี้ภาษีทรัพย์สิน หนี้ภาษีสรรพสามิต หนี้ภาษีศุลกากร เนื่องจากหนี้ภาษีดังกล่าว สามารถบังคับชําระได้กับตัวทรัพย์ ส่วนหนี้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ไม่ยกเว้นเนื่องจากไม่ใช่หนี้ที่ ลูกหนี้ภาษีอากรก่อขึ้นแต่เป็นเงินที่ลูกหนี้เก็บมาจากบุคคลอื่นเพื่อนําส่งกรมสรรพากร และควรกําหนดเงื่อนไขที่ ลูกหนี้ได้รับยกเว้นภาระทางภาษีที่เหมาะสม เช่น ต้องได้ยื่นแบบฟอร์มภาษีเงินได้ให้กรมสรรพากรด้วยตัวเอง มาแล้วเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปีนับจากวันที่ถูกฟ้องล้มละลาย และในกรณีที่เป็นหนี้ภาษีที่ถูกประเมินเพิ่มนั้นลูกหนี้ ต้องได้ยื่นแบบให้สรรพากรประเมินโดยระยะเวลาผ่านมาเป็นเวลาอย่างน้อย 240 วัน รวมถึงกําหนดให้มีการจํากัด จํานวนครั้งของหนี้ภาษีที่ได้รับการปลดจากหนี้ภาษีอากร โดยไม่ให้รัฐเสียประโยชน์จนเกินควร นอกจากนั้นรัฐควร กําหนดมาตรการให้เจ้าหนี้กรมสรรพากรมีสิทธิในการระบุทรัพย์เหมือนเจ้าหนี้มีหลักประกันได้ โดยลูกหนี้จะได้รับ การปลดจากหนี้ภาษีเมื่อมีการบังคับชําระจากหลักประกันแล้ว ซึ่งเอกัตศึกษาฉบับนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบแล้ว พบว่า หากนํามาตรการเหล่านี้มาใช้ ก็จะทําให้บุคคลธรรมดาหลุดพ้นจากหนี้ภาษีอากรได้โดยที่รัฐสามารถเก็บภาษี อากรได้เพิ่มขึ้นด้วย


ปัญหาการหลบหลีกภาษีมรดก ศึกษากรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked), กัญญลักษณ์ นิธิกุล Jan 2019

ปัญหาการหลบหลีกภาษีมรดก ศึกษากรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked), กัญญลักษณ์ นิธิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันมีการจัดเก็บภาษีมรดกตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ที่จัดเก็บจากบุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีมรดกเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท ในอัตราร้อยละ 5 หากผู้ได้รับทรัพย์มรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานของเจ้ามรดก และร้อยละ 10 สำหรับกรณีผู้รับมรดกเป็นบุคคลอื่น ทำให้ปัจจุบันผู้มีทรัพย์สินมูลค่าสูงมีการวางแผนบริหาร จัดการทรัพย์สิน โดยอาจใช้วิธีการหลีกเลี่ยงภาษีที่จะต้องชำระ โดยใช้วิธีการต่างๆ ให้ภาระภาษี มีจำนวนที่น้อยลง เพื่อส่งต่อทรัพย์สินมรดกไปยังลูก หลาน หรือทายาทให้ได้มากที่สุด ซึ่งการทำกรมธรรม์ประกันชีวิต Unit Linked ถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่อาจถูกนำมาใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีได้ เนื่องจากเงินได้ที่ได้รับจากการทำกรมธรรม์ประกันชีวิต ถือเป็นเงินได้ ที่ผู้รับประโยชน์หรือทายาทมีได้รับตามสัญญาอันเนื่องมาจากความตาย ซึ่งไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้นจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดก อย่างไรก็ตามกรมธรรม์ประกันชีวิต Unit Linked เป็นกรมธรรม์ชีวิตรูปแบบใหม่ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยการผสมผสานกันระหว่างการประกันชีวิตและการลงทุนในหน่วยลงทุน ของกองทุนรวม โดยมีบริษัทผู้รับประกันภัยเป็นตัวกลางในการให้บริการซื้อ ขายหน่วยลงทุน ตามความต้องการของผู้เอาประกันภัย โดยผู้เอาประกันภัยจะเป็นผู้รับความเสี่ยงจากการลงทุนนั้นเอง (ผลตอบแทนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมูลค่าหน่วยลงุทนที่ผู้เอาประกันเป็นผู้ตัดสินใจลงทุน) และเมื่อพิจารณาถึงเงินสินไหมทดแทนหรือผลประโยชน์จากการมรณกรรมภายใต้กรมธรรม์ ประกันชีวิต Unit Linked เงินในส่วนนี้สามารถแบ่งได้อย่างชัดเจนเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เงินได้จากการประกันชีวิต ซึ่งเป็นเงินซึ่งบริษัทผู้รับประกันภัยจะจ่ายแก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยถึงแก่ความตาย ซึ่งไม่ถือเป็นทรัพย์มรดกและเงินได้จากการขายหน่วยลงทุน ซึ่งเกิดจากหน่วยลงทุนที่ผู้เอาประกันภัยเลือกลงทุน ผ่านกองทุนรวมที่บริษัทผู้รับประกันภัยกำหนดไว้ ซึ่งบริษัทผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ ต้องขายหน่วยลงทุนแล้วนำเงินที่ขายได้มาส่งมอบแก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยถึงแก่ความตาย ดังนั้นเงินได้ที่ได้รับจากการมรณกรรมในส่วนของการลงทุนนั้นผู้รับประโยชน์ควรที่จะนำไปเสียภาษีการรับมรดก รวมถึงเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระให้ผู้รับประกันภัยไปแล้ว เงินในส่วนนี้ถือเป็นทรัพย์มรดกที่ต้องนำไปเสียภาษีการรับมรดกเช่นกัน มิใช่การตีความว่าเงินสินไหมจากการมรณกรรมที่ได้รับจากการประกันชีวิต ไม่ใช่ทรัพย์มรดก ทั้งจำนวน แต่ควรต้องนำมาพิจารณาถึงข้อเท็จจริงของเงินสินไหมที่ได้รับด้วย เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงได้ทำการศึกษาปัญหาดังกล่าวข้างต้น เพื่อวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติสำหรับการเสียภาษีมรดก กรณีการทำประกันชีวิต Unit Linked โดยเฉพาะเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการตีความในการเสียภาษี และสอดคล้องกับหลักความเสมอภาค ทางภาษีอากร และการกำหนดฐานภาษีให้มีความชัดเจน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการเสียภาษี ทั้งต่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีและหน่วยงานรัฐ ผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีได้ใช้เป็นแนวทางเดียวกัน โดยอาจนำบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินประเภทอื่นมาปรับใช้ เพื่อเป็นการสร้างกรอบที่ชัดเจนเป็นไปตามหลักความแน่นอนในการเสียภาษี


ผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า กับการรับรู้ค่าใช้จ่ายค่าเช่าตามประมวลรัษฎากร, วิจักขณ์ เจติยานุวัตร Jan 2019

ผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า กับการรับรู้ค่าใช้จ่ายค่าเช่าตามประมวลรัษฎากร, วิจักขณ์ เจติยานุวัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเช่าเป็นหนึ่งในวิธีการบริหารการเงินที่สำคัญของกิจการ เป็นการช่วยให้กิจการผู้เช่ามีสิทธิในการเข้าถึงการใช้สินทรัพย์ซึ่งจะทำให้กิจการไม่ต้องลงทุนใช้เงินเพื่อซื้อสินทรัพย์ในครั้งเดียว แต่สามารถทยอยจ่ายชำระเป็นงวดครั้งไปได้อันเป็นการลดความเสี่ยงในด้านสภาพคล่องทางการเงิน ไม่เป็นการเพิ่มภาระต่อกิจการในช่วงแรกจนกันไป ซึ่งเป็นผลดีต่อการจัดสรรเงินทุนได้อย่างเหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจของกิจการ จากหลักเกณฑ์กฎหมายที่เกี่ยวกับการรับรู้รายการค่าใช้จ่ายค่าเช่าทางภาษีตามเกณฑ์สิทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 299/2561 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (แก้ไขเพิ่มเติมมาจากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528) ข้อ 3 (3.4) วรรคสอง ซึ่งวางหลักกฎหมายไว้ว่า การคำนวนรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้เช่าทรัพย์สินให้ใช้เกณฑ์สิทธิโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนำรายจ่ายค่าเช่าหรือค่างวดและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามส่วนแห่งระยะเวลาการเช่าทรัพย์สิน หรือตามเกณฑ์อื่นที่เหมาะสมตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยวิธีการทางภาษีที่ให้ทางเลือกแก่ผู้เช่าในการเลือกปฎิบัติโดยให้รับรู้รายการค่าใช้จ่ายตามจำนวนเงินที่ชำระตามสัญญาหรือตามวิธีการปฏิบัติทางบัญชีที่รับรองทั่วไปที่แต่เดิมผู้เช่าต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาเช่า โดยกำหนดให้พิจารณาว่าเป็นสัญญาเช่าการเงินหรือสัญญาเช่าเงินทุน แต่ปัจจุบันผู้เช่าต้องมาปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ซึ่งเปลี่ยนเป็นใช้วิธีการเดียวสำหรับผู้เช่า (Single lease accounting model) หรือก็คือให้รับรู้รายการสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่า โดยต้องมีการการรับรู้ค่าใช้จ่ายค่าเสื่อมราคาและดอกเบี้ยจ่ายจากการคำนวณซึ่งวิธีการทางบัญชีดังกล่าวนั้นไม่สอดคล้องกับหลักการทางภาษีอากรที่ค่าใช้จ่ายที่จะนำไปคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิทางภาษีนั้นต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิด ขึ้นจริง ประกอบกับการรับรู้ค่าใช้จ่ายตามวิธีการบัญชีนี้นั้นไม่สอดคล้องกับวิธีการรับรู้ค่าเสื่อมราคาและดอกเบี้ยจ่ายตามวิธีปฏิบัติทางภาษี ซึ่งถ้าหากผู้เช่าเลือกใช้วิธีการรับรู้ค่าใช้จ่ายค่าเช่าเพื่อคำนวณกำไรขาดทุนทางภาษีตามวิธีการบัญชีแล้วนั้นอาจจะทำให้การจัดเก็บภาษีอากรไม่สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดีและอาจก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษีอากรได้


แนวทางการจัดการเกี่ยวกับรายจ่ายในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในกิจการปิโตรเลียม : ศึกษากรณีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, วุฒิกร อนันต์เกษมสันต์ Jan 2019

แนวทางการจัดการเกี่ยวกับรายจ่ายในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในกิจการปิโตรเลียม : ศึกษากรณีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, วุฒิกร อนันต์เกษมสันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากการดําเนินการสํารวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยนั้น เริ่มมีแหล่งผลิตที่กําลัง จะหมดอายุสัมปทานและต้องเริ่มมีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง(Decommissioning) เช่น แท่นผลิต รวมถึงการสละหลุมเจาะปิโตรเลียมและฟื้นฟูพื้นที่ผลิตให้มีสภาพดังเดิม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่าย เป็นจํานวนมาก โดยเป็นหน้าที่ของผู้รับสัมปทานหรือผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตในการรื้อถอนสิ่งปลูก สร้าง รวมถึงรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่จําเป็นต่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างตามที่มาตรา 80/1และ 80/2 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2550 รวมถึงหลักเกณฑ์เงื่อนไข รวมถึงการวางหลักประกันทางการเงินในรูปแบบต่างๆที่กรม เชื้อเพลิงธรรมชาติวางหลักไว้แต่โดยที่รายจ่ายดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงปลายอายุของสัมปทานและ ต่อเนื่องไปจนหลังสัมปทานหมดอายุผู้รับสัมปทานและผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตจึงไม่มีรายได้ที่เพียง พอที่จะนํารายจ่ายดังกล่าวมาหักออกได้และไม่สามารถนํามาเป็นผลขาดทุนสะสมที่นําไปหักเป็น รายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปได้เนื่องจากสิ้นสุดสัมปทาน จากการศึกษาพบว่าการจัดตั้งกองทุนเพื่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเป็นแนวทางการจัดการ รายจ่ายที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้รับสัมปทานหรือผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้เมื่อ มีการนําส่งเงินเข้ากองทุน โดยภาครัฐมีหลักประกันที่เป็นตัวเงินชัดเจน ส่วนผู้รับสัมปทานและผู้รับ สัญญาแบ่งปันผลผลิตจะต้องสมทบเงินเข้ากองทุนตามจํานวนเงินและตารางเวลาที่ได้รับความ เห็นชอบจากผู้มีอํานาจและเงินที่สมทบนั้นหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้จะทําให้ภาคเอกชนสามารถใช้ รายจ่ายเพื่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในการคํานวณภาษีปิโตรเลียมได้สอดคล้องกับหลักการจับคู่รายได้ และค่าใช้จ่าย (Matching Concept) ตามสภาพวงจรของธุรกิจสํารวจและผลิตปิโตรเลียมเพื่อให้เกิด ความเป็นธรรมตามลักษณะภาษีอากรที่ดี


มาตรการทางกฎหมายสำหรับการนำระบบหักลบกลบหน่วยอัตโนมัติมาใช้ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับภาคประชาชน, รัชพร คงวิจิตรวงศ์ Jan 2019

มาตรการทางกฎหมายสำหรับการนำระบบหักลบกลบหน่วยอัตโนมัติมาใช้ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับภาคประชาชน, รัชพร คงวิจิตรวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย มีการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นเชื้อเพลิง หลักในการผลิตไฟฟ้ามาเป็นเวลานานซึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิลเหล่านี้เป็นสาเหตุทําให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global warming) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) จึงทําให้มีแนวคิดใน การผลิตไฟฟ้าสําหรับอนาคต โดยมุ่งไปสู่การเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น และลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลง การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของรัฐบาลในการรับมือกับการ เปลี่ยนแปลงนี้ โดยมีการจัดทําแผน AEDP 2015 ที่มีเป้าหมายแผนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน แสงอาทิตย์ ณ. สิ้นปีพ.ศ. 2579 จะติดตั้งให้ได้รวม 6,000 เมกะวัตต์รัฐบาลได้เปิดโอกาสและให้การ สนับสนุนภาคครัวเรือนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยในระยะที่ 1 ได้สนับสนุนในรูปแบบ Self-Consumption และระยะที่ 2 ที่จะมีการเปิดเสรีไฟฟ้าแบบ Peer to Peer โดยเอกัตศึกษาเล่มนี้ ได้มุ่งศึกษาเฉพาะการสนับสนุนของ ภาครัฐในระยะที่ 1 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ในปัจจุบันประเทศไทยมีโครงสร้างกิจการไฟฟ้าเป็นแบบผู้ซื้อรายเดียว โดยรัฐเป็นผู้ผูกขาด กิจการไฟฟ้าในทุกขั้นตอน อํานาจในการกําหนดราคาและเงื่อนไขต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับภาครัฐแต่เพียง ผู้เดียวซึ่ง กกพ. ได้ออกประกาศ เชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งบนหลังคาสําหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย ฉบับที่ 2 พ.ศ.2563 เพื่อจัดหาและรับ ซื้อไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ขนาดกําลังการผลิตที่ติดตั้งไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (kWp) ต่อครัวเรือน ในปริมาณไม่เกิน 100 เมกะวัตต์ (MWp) เป็นเวลา 10 ปี โดยได้ดําเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2562 เป็นต้นมา ซึ่งให้การสนับสนุนในรูปแบบ Net billing with buyback ที่มีอัตรารับซื้อไฟฟ้า ส่วนเกิน ในราคาต่ํากว่าราคาขายปลีกไฟฟ้าเฉลี่ย ซึ่งการสนับสนุนในรูปแบบ Self-Consumption ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่รูปแบบการเรียกเก็บเงินสุทธิ(Net billing) และรูปแบบหักลบกลบ หน่วยอัตโนมัติ(Net metering) โดยพบว่ารูปแบบ Net metering นั้น สามารถสร้างแรงจูงใจและ ให้ผลตอบแทนแก่ครัวเรือนที่ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้มากกว่า จึงเป็นประเด็นที่มีความสําคัญที่จะทําการศึกษาต่อไปว่าการบังคับใช้กฎหมายในต่างประเทศ …


ผลกระทบของการปรับโครงสร้างทางธุรกิจต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล, ณัชชารีย์ จุรีย์โรจน์ Jan 2019

ผลกระทบของการปรับโครงสร้างทางธุรกิจต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล, ณัชชารีย์ จุรีย์โรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการด าเนินธุรกิจอย่างไร้พรมแดน ย่อมท าให้เกิด การเคลื่อนย้ายทุน แรงงานและเทคโนโลยีระหว่างประเทศได้ง่าย มีการขยายตัวของนักลงทุนและ บริษัทข้ามชาติจ านวนมาก ซึ่งจ าเป็นจะต้องปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ บริษัทข้ามชาติซึ่งมักจะเป็นกลุ่มบริษัทที่มีการจัดตั้งและด าเนินธุรกิจอยู่ใน ประเทศตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป เพื่อให้กลุ่มบริษัทมีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจได้และ มีต้นทุนที่ต่ าที่สุด ซึ่งการพิจารณาปรับโครงสร้างทางธุรกิจของบริษัทข้ามชาติเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ ในการบริหารต้นทุนทางธุรกิจและภาษีเงินได้ของกลุ่มบริษัทให้ลดลงได้โดยมักมีการถ่ายโอนก าไรจาก ประเทศที่มีอัตราภาษีสูงไปยังประเทศที่อัตราภาษีต่ าเพื่อการเลี่ยงภาษีโดยอาศัยช่องว่างของ กฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่ลงรอยกัน ตลอดจนการใช้สิทธิประโยชน์ตามอนุสัญญาภาษีซ้อนเพื่อ บรรเทาภาระภาษีซ้อนโดยรวมภายในกลุ่มบริษัทข้ามชาติให้ลดลง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยเฉพาะในรัฐแหล่งเงินได้ที่สูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษี จากบริษัทข้ามชาติเป็นอย่างมาก เอกัตศึกษาฉบับนี้จัดท าขึ้นเพื่อศึกษาผลกระทบของการปรับโครงสร้างทางธุรกิจของ บริษัทข้ามชาติในลักษณะรูปแบบโครงสร้างธุรกิจต่างๆ รวมถึงหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้และ ผลกระทบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนศึกษาถึงมาตรการเพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคล จากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจดังกล่าว เพื่อน ามาประยุกต์ใช้กับบริบทของประเทศไทยได้ นอกจากนี้ ได้ศึกษาถึงกฎหมายและมาตรการต่างๆ ที่ใช้อยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีการก าหนดมาตรการรองรับผลกระทบหรือเพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคล ส าหรับกรณีการปรับโครงสร้างทางธุรกิจของบริษัทข้ามชาติไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งอาจส่งผลให้รัฐ ไม่สามารถจัดเก็บหรือจัดเก็บภาษีเงินได้ได้น้อยลง จากการศึกษาผลกระทบของการปรับโครงสร้างทางธุรกิจต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล และมาตรการเพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจโดยใช้รูปแบบ ลักษณะธุรกิจตามแนวทางของ OECD ประกอบกับการศึกษาถึงหลักการจัดเก็บภาษีและมาตรการ ป้องกันการเลี่ยงภาษีเงินได้ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อน ามาปรับใช้กับประเทศไทย ซึ่งสามารถ สรุปผลได้ว่า ประเทศไทยสมควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีการป้องกันการเลี่ยงภาษี ไว้เป็นหมวดเฉพาะ รวมถึงปรับปรุงกฎหมายภายในประเทศให้มีอ านาจในการสั่งการผู้ประกอบการ หรือนิติบุคคลจัดท ารายงานเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ เพื่อเป็นมาตรการป้องกัน การเลี่ยงภาษีอย่างรุนแรงของกลุ่มบริษัทข้ามชาติและลดโอกาสในการเลี่ยงภาษีจากการปรับ โครงสร้างทางธุรกิจและธุรกรรมระหว่างประเทศ


มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ, ฝนทิพย์ กระจ่างจันทร์ Jan 2019

มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ, ฝนทิพย์ กระจ่างจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศีกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการ ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติเขต เศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ... และประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจชุมชน ความเป็นมา แนวคิด และ ตัวอย่างของเศรษฐกิจชุมชน มาตรการในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของ สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งปัญหาและผลกระทบของการไม่มีการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขต เศรษฐกิจพิเศษของไทย แล้วจึงได้น าข้อมูลที่ได้ศึกษามารวบรวม และวิเคราะห์ โดยการศึกษา มาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีน และน ามาตรการของสาธารณรัฐประชาชนจีนมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า “ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ...” ที่รัฐบาลมีความ พยายามจะประกาศใช้ ถูกต่อต้านจากภาคประชาชนโดยเฉพาะคนในพื้นที่ สาเหตุมาจากการที่ ประชาชนในท้องถิ่นถูกริดรอนอำนาจและสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน รวมถึงการที่ประชาชนไม่รู้สึกถึงการมีส่วนร่วมและการ เป็นเจ้าของ โดยมีประเด็นปัญหาที่สำคัญ 3 ประการคือ (1) ปัญหาจากการกำหนดนโยบายที่ไม่ได้ตั้ง ต้นจากชุมชน (2) ปัญหาจากการบริหารงานแบบรวมศูนย์อำนาจ ชุมชนไม่มีอำนาจการตัดสินใจ (3) ปัญหาจากการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ต่อการกำหนดนโยบายที่เป็นของตนเอง จากปัญหาที่กล่าวมานี้ทำให้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทยยังไม่ถูกประกาศใช้ โดยผลการศึกษาพบว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการ จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นอย่างมาก โดยปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ (1) รัฐบาลมีนโยบายการ ดำเนินงานลักษณะจากล่างขึ้นบน (Top - Down) (2) มีรูปแบบการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ (Decentalization) และ (3) มีนโยบายให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายที่เป็นของตนเอง นอกจากนี้แล้ว ภายใต้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีนยังมีบทบัญญัติในการ คุ้มครองแรงงานในพื้นที่ รวมถึงมีมาตรการที่สามารถสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่าง เศรษฐกิจท้องถิ่นและเศรษฐกิจในประเทศได้เป็นอย่างดี จึงท าให้การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขต เศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีนประสบความส าเร็จอย่างสวยงาม เมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศไทยแล้ว ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของ ประเทศไทย โดยปรับเปลี่ยนมาตรการของรัฐ ดังนี้(1) กลไกในการกำหนดนโยบาย (2) กลไกในการ บริหารงาน (3) กลไกในการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยรัฐบาลเป็นผู้ก ากับดูแล เพื่อช่วยลดการต่อต้าน จากภาคประชาชน และช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษประสบความส าเร็จ


บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานใน บริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล, อนุพงษ์ ชำนาญการ Jan 2019

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานใน บริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล, อนุพงษ์ ชำนาญการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ด้วยองค์กรภาครัฐที่ควบคุมและกำกับดูแลการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินในประเทศ ไทย อาทิเช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการก ากับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ได้มีการปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย ตลอดรวมทั้งกฎเกณฑ์ ประกาศ แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สถาบันการเงินใน ประเทศไทยประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพปฏิบัติงานได้มาตรฐาน ถูกต้อง และเคร่งครัดมาก ขึ้น ผนวกกับปัจจุบันบริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่ง ประเทศไทย ได้เข้ามามีบทบาทในการพิจารณาและอนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคลให้กับทั้งภาคธุรกิจและ ลูกค้ารายบุคคล โดยจากสถิติการปล่อยสินเชื่อ จัดเก็บและประมวลผลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นและมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยอาศัย อำนาจตามพระราชบัญญัติสถาบันการเงิน จึงออกแนวปฏิบัติให้ธนาคารพาณิชย์มีการจัดตั้งหน่วยงาน กำกับดูแลการปฏิบัติงานตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางการ (Compliance Unit) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ก ากับดูแลการปฏิบัติงานขององค์กร แต่ทั้งนี้พบว่าปัจจุบันบริษัทผู้ประกอบธุรกิจ ประเภทสินเชื่อบุคคลภายใต้การก ากับของธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ จำนำรถ และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หน่วยงานทางการที่กำกับดูแล กลุ่มธุรกิจดังกล่าวยังไม่มีการตรากฎหมาย และ/หรือประกาศ กฎเกณฑ์กำหนดให้มีการจัดตั้ง หน่วยงานหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้องค์กรอาจมีการก ากับ ดูแลการปฏิบัติงานด้านธุรกิจได้อย่างไม่รัดกุมตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและประกาศของ หน่วยงานทางการเกี่ยวข้อง โดยผู้วิจัยได้ท าการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากการเปรียบเทียบหลัก กฎหมาย กฎเกณฑ์ ประกาศ ข้อบังคับต่างๆ ของประเทศไทยกับต่างประเทศอันเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงาน และมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการควบคุมและกำกับดูแลวิชาชีพอื่นในสถาบันการเงินและบริษัทมหาชนจำกัดทั้งที่จดทะเบียนใน และนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ระบุถึงประเด็นหลัก รวมถึงข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาแนว ทางการในทำงานและวิชาชีพของเจ้าหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติการในบริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ ส่วนบุคคลภายใต้กำกับ


ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นภาระของผู้บริโภคเกินสมควร กรณีศึกษาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าผ้าอนามัย, ทวีพร อดิทิพยางกูร Jan 2019

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นภาระของผู้บริโภคเกินสมควร กรณีศึกษาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าผ้าอนามัย, ทวีพร อดิทิพยางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์และสภาพร่างกายปกติจะมีประจําเดือนทุกเดือน ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทําให้ผ้าอนามัยเข้ามามีบทบาทในการดําเนินชีวิตของผู้หญิงในช่วงการมีประจําเดือน แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ผู้หญิง ทุกคนที่มีความาสามารถในการจับจ่ายและเข้าถึงผ้าอนามัยได้ หากเราตระหนักว่ายังมีประชาชนกลุ่มหนึ่ง ในประเทศที่ยังอดมื้อกินมื้อ นั่นก็คือ ผู้หญิงในกลุ่มนั้นก็น่าจะไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อผ้าอนามัยเช่นกัน ผ้าอนามัยเป็นสิ่งที่ช่วยซับเลือดประจําเดือน ทําให้ผู้หญิงที่สวมใส่เกิดความสะดวกสบาย มีความมั่นใจ ในช่วงเวลาที่ไม่ปกติของเดือน ข้อสําคัญของการใส่ผ้าอนามัยคือช่วยยับยั้งเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายในช่วงอ่อนไหว ของผู้หญิงอีกด้วย ในปัจจุบัน ผ้าอนามัยเป็นสินค้าที่ได้รับการควบคุมราคาโดยกระทรวงพาณิชย์แต่ยังคงเป็นสินค้าที่ถูก จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าผ้าอนามัยจะเป็นสินค้าที่สําคัญต่อสุขอนามัย เป็นสินค้าบริโภคขั้นพื้นฐาน ส่งผลถึง อนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงโดยตรง และในนานาชาติรวมถึงประเทศไทย ผ้าอนามัยได้รับการเรียกร้องให้มี การยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีบางประเทศที่การเรียกร้องนั้นประสบผลสําเร็จแล้วและในเอกัตศึกษา ฉบับนี้ได้นํามาศึกษา นั่นคือ ประเทศออสเตรเลีย วัตถุประสงค์ของเอกัตศึกษาฉบับนี้ ต้องการศึกษาหลักการการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และสินค้าที่ได้รับ การยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย เพื่อหาแนวทางว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าผ้าอนามัย สอดคล้องกับหลักการจัดเก็บของภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยหรือไม่ และมีแนวทางใดที่สามารถทําให้ ผ้าอนามัยเป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากผลการศึกษา สินค้าที่ประเทศไทยยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีความหลากหลาย ไม่ได้จําเพาะว่า เป็นสิ่งที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต เช่น ในรายการปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค มีเพียงอาหารที่ยังไม่แปรรูปเท่านั้นที่เป็นสิ่งที่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น หากจะผลักดันให้ ผ้าอนามัยได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาครัฐจะต้องให้ความตระหนักในความสําคัญและภาระที่ผู้บริโภค จะต้องได้รับให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญที่รัฐจะต้องบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมและป้องกันโรคให้แก่ประชาชน