Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law and Economics

Chulalongkorn University

Articles 1 - 30 of 262

Full-Text Articles in Law

วิเคราะห์และศึกษาหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริต (Duty Of Loyalty) ของกรรมการภายใต้กฎหมายบริษัทแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน, ชิวเย่ว เหว่ย Jan 2022

วิเคราะห์และศึกษาหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริต (Duty Of Loyalty) ของกรรมการภายใต้กฎหมายบริษัทแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน, ชิวเย่ว เหว่ย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์และการศึกษาหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริต(Duty of loyalty)ของกรรมการภายใต้กฎหมายบริษัทแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อทำความเข้าใจกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการจีนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาทางกฎหมายต่อผู้ถือหุ้นและนักลงทุน และเพื่อให้ทราบถึง ความรับผิดของกรรมการ หน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการในทางกฎหมาย ผลบังคับใช้ทางกฎหมาย และหน้าที่ในการรับผิดชดเชย หวังว่าเอกัตศึกษานี้จะสามารถให้คำแนะนำและแนวทางในการบริหารกรรมการและบริษัท และหวังว่าจะมีความสำคัญในการอ้างอิงสำหรับนักลงทุนหรือผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะนักลงทุนหรือผู้ประกอบธุรกิจของไทย เมื่อกฎหมายข้อกำหนดต่างๆที่ใช้ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้นได้ค่อยๆ พัฒนามาจนมีความสมบูรณ์มากขึ้น อำนาจในการควบคุมบริษัทโดยรวมและอำนาจในการบริหารกิจการนั้นได้แบ่งแยกออกจากกัน ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องธรรมาภิบาลของบริษัทไปแล้ว ในที่นี้หมายถึงอำนาจของผู้ที่ออกเงินทุนให้กับบริษัทและที่ประชุมผู้ถือหุ้นนั้นแยกส่วนออกจากที่ประชุมคณะกรรมการอันเป็นผู้บริหารบริษัทและชั้นผู้จัดการด้วย ดังนั้น เรื่องหน้าที่ของกรรมการและอำนาจบริหารจึงเป็นหัวข้อที่ควรค่าแก่การวิเคราะห์และขบคิดอย่างลึกซึ้ง เพื่อการควบคุมหน้าที่ของกรรมการเพื่อให้บริษัทได้ประโยชน์สูงสุด กฎหมายบริษัทจีนได้อ้างอิง“หลักการผลประโยชน์ทับซ้อน”จากประเทศอังกฤษเพื่อนำมาปรับใช้กับกฎหมายบริษัทจีน และตั้งหลักการหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการ หลักการนี้มาจากกฎหมายทรัสต์อันเก่าแก่ของประเทศอังกฤษ ซึ่งหมายความว่าผู้รับมอบหมายนั้นไม่อาจจะแสวงหาประโยชน์จากผู้มอบหมาย ให้กระทำการใด เขาจะกระทำการได้แค่เพื่อผลประโยชน์ของผู้รับประโยชน์และตัวแทนของผู้รับประโยชน์เท่านั้น หากว่าผู้รับมอบหมายนั้นละเมิดกฎก็ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าสำหรับกฎหมายบริษัทจีน บทสรุป หน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตเป็นข้อกำหนดของจรรยาบรรณของกรรมการ เมื่อกรรมการมีความขัดแย้งกับผลประโยชน์ของบริษัท ผลประโยชน์ของบริษัทต้องมาก่อนเสมอ งานวิจัยฉบับนี้ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการบริษัทจีน หลังจากการวิเคราะห์และการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการในประเทศจีนแล้ว สรุปได้ว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการในประเทศจีนยังมีข้อบกพร่องอยู่ ข้อบกพร่องอยู่หลักสามารุสรุปได้ดังต่อไปนี้ (1) กฎบางประการขาดผลทางกฎหมายหากมีการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎหมายมีโครงสร้างและลำดับชั้นที่เข้มงวด และกฎหมายที่ครอบคลุมควรประกอบด้วยสันนิษฐาน การปฏิบัติ และการลงโทษ สามประการนี้ขาดไม่ได้ หากขาดส่วนใดไป ผลของกฎหมายจะลดลงอย่างมาก จนไม่สามารถบรรลุบทบาทเชิงบรรทัดฐานในอุดมคติได้ หากกฎหมายมีเพียงข้อกำหนดที่ห้ามเท่านั้นและขาดข้อกำหนดในเชิงปฏิบัติจริง กฎหมายนั้นย่อมไม่สมบูรณ์และสามารถถือเป็นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปได้เท่านั้น (2) กฎหมายบางประการกำหนดไม่ชัดเจน ซึ่งส่งผลให้ศาลสามารถตัดสินคดีด้วยดุลพินิจและไม่มีข้อกฎหมายมารับรอง แต่ละศาลอาจมีการตีความกฎหมายที่แตกต่างกันในคดีเดียวกัน ซึ่งอาจนำไปสู่การพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมและเกิดความวุ่นวายในสังคมได้ พร้อมกันนี้ควรเรียนรู้จากมาตรการกฎหมายที่มีประสิทธิภาพจากต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างการจัดหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการ ออลิเวอร์ เวนเดล โฮล์มส์ (Oliver Wendell Holmes ) ผู้พิพากษาที่มีเชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาเคยกล่าวไว้ว่า "ชีวิตของกฎหมายไม่ได้อยู่ที่ตรรกะ แต่ปรากฏอยู่ที่ประสบการณ์ต่างหาก" (the life of the law has not been logic, it has been experience) ในกระบวนการแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายบริษัทอย่างต่อเนื่อง กฎหมายบริษัทไม่เพียงแต่อยู่ในระดับทฤษฎีและบทบัญญัติทางกฎหมายเท่านั้น แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ การตีความ พัฒนา และสร้างสรรค์ "กฎหมายบนกระดาษ" ตามสถานการณ์จริงระหว่างการพิจารณาคดี เพื่อให้กลายเป็น”กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน” ดังนั้น ประเทศจีนจึงต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการ เพื่อให้กฎหมายบริษัท มีความสอดคล้องและใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็ยังทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจราบรื่นขึ้น แม้ว่ากฎหมายปัจจุบันที่เกี่ยวกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่เชื่อว่ากฎหมายนั้นจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ในอนาคต ผลที่ตามมาก็คือ ผู้พิพากษาจะเกิดความซับซ้อนเมื่อพิจารณาคดี และจำเป็นต้องพิจารณาคดีตามดุลพินิจของตนเอง จึงสมควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป


ปัญหาการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อประเมินภาษี ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, รัชญา ธีรลักสน์ Jan 2022

ปัญหาการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อประเมินภาษี ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, รัชญา ธีรลักสน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาปัญหาในการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 อันเนื่องมาจากสาระสำคัญของกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินเดิมในเรื่องของการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ทำการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นแก่การประเมินฐานภาษีและกำหนดอัตราภาษี และประชาชนเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีหน้าที่ต้องแจ้งแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหากประเภทการใช้ปะโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเปลี่ยนแปลงไป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ขั้นตอนการสำรวจและรวบรวมข้อมูลมีความสำคัญต่อการจัดเก็บภาษีเป็นอย่างมาก ความเป็นปัจจุบัน เที่ยงตรงและครบถ้วนของข้อมูลที่ได้จะเป็นตัวแปรในการประเมินฐานภาษีและกำหนดอัตราภาษี มีผลโดยตรงต่อการะจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย จากการศึกษากฎหมายและสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานจริงในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลเมืองแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่ ถึงกระบวนการปฏิบัติการรวบรวมข้อมูลและการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พบปัญหาอยู่ 3 ประการคือ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นในกระบวนการนอกเหนือตัวองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหาในคุณสมบัติ ประสบการณ์และความพร้อมของเจ้าหน้าที่สำรวจ ปัญหาการขาดกระบวนการอื่นที่นำมาปฏิบัติร่วมเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลจำเป็นที่เที่ยงตรงต่อการประเมินฐานภาษี และเมื่อนำมาเปรียบกับกฎหมายและกระบวนการปฏิบัติของมลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีส่วนสาระสำคัญในกระบวนการที่เหมือนกับประเทศไทย แต่แตกต่างออกไปในบางรายละเอียดที่ดีกว่า สรุปเป็นข้อเสนอแนะ ดังนี้ ก) การบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นนอกเหนือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรกำหนดให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของในกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีหน้าที่ต้องแจ้งรายการที่ตนครอบครองตั้งแต่ได้รับกรรมสิทธิ์นั้นเนื่องจากเจ้าหน้าที่จะสามารถตรวจสอบความครบถ้วนได้จากฐานข้อมูล และทำข้อตกลงในช่องทางการรับแจ้งผลการประเมินให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการแอบอ้างอย่างไม่มีหลักฐานเพื่อหลีกเลี่ยงการประเมินภาษี ข) กำหนดให้มีการนำกระบวนการอื่นมาปฏิบัติร่วม เพื่อสนับสนุนการรวบรวมข้อมูลและสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือการรวมฐานข้อมูลไว้ที่ศูนย์กลางในส่วนของข้อมูลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความเป็นเจ้าของในกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การจดทะเบียนการค้าหรือบริษัทให้ได้ข้อมูลในแง่ของประเภทการใช้ประโยชน์ เพื่อให้องค์กรท้องถิ่นสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบันได้โดยตรง ไม่ต้องขอร่วมมือจากองค์กรอื่น สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบความครบถ้วนและการปฏิบัติตามกฎหมายของประชาชนหากไม่เข้ามาแจ้งความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใดๆ ค) กำหนดถึงคุณสมบัติและประสบการณ์ขั้นต่ำสำหรับผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานสำรวจ เนื่องจากพนักงานสำรวจถือเป็นบุคากรสำคัญในการปฏิบัติกระบวนการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินภาษีนี้


แนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เกิดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ออนไลน์โดยมาตรการกำกับดูแลของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม, ขวัญชนก ศรีภมร Jan 2022

แนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เกิดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ออนไลน์โดยมาตรการกำกับดูแลของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม, ขวัญชนก ศรีภมร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากสภาพสังคมของประเทศไทยในปัจจุบันได้มีการอาศัยเทคโนโลยีในการดำรงชีวิตประจำวันมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดต่อสื่อสารที่มีการพัฒนาและเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วโดยมีรูปแบบการติดต่อสื่อสารผ่านช่องทางที่หลากหลายจนทำให้เกิดช่องว่างในการหลอกลวงต่างๆมากมายทำให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้กลับมาระบาดในสังคมไทยเป็นวงกว้างและสร้างความสูญเสียมหาศาลอีกครั้ง ไม่เพียงแต่ประเทศไทยที่เจอปัญหากับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ต่างประเทศก็ประสบปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน จากการค้นคว้ากฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ผู้วิจัยพบว่าในประเทศไทยได้มีการบังคับใช้กฎหมายที่ใช้ในการปราบปรามโดยการกำหนดความผิดทางอาญาและการใช้นโยบายทางอาญาของรัฐซึ่งยังไม่รวมถึงมาตรการการป้องกันอาชญากรรมโดยความร่วมมือของเอกชนประกอบกับบริบทต่างๆที่ทำให้การบังคับกฎหมายดังกล่าวยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจึงทำให้ไม่สามารถจับกุมและกวาดล้างได้อย่างสมบูรณ์ เพราะมิจฉาชีพเหล่านี้มักมีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่งและรูปแบบการหลอกลวงมีวิธีที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ยากต่อการสืบสาวต้นตอและบทกฎหมายที่ใช้ในการปราบปรามทางผู้วิจัยมองว่าเป็นการแก้ปัญหาทางปลายเหตุ เนื่องจากบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องมักเป็นบทกฎหมายทางอาญา การที่จะสามารถลงโทษผู้กระทำความผิดดังกล่าวได้จะต้องเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วเท่านั้นประกอบกับการลงโทษผู้กระทำผิดจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆเนื่องจากเป็นการลงโทษทางอาญา การที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษแทบจะไม่ได้มีผลอะไรที่ทำให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ลดน้อยลง ดังนั้นประเทศไทยจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการป้องกันและกำกับดูแลก่อนที่จะเกิดเหตุเสียมากกว่า เพราะการหาแนวทางในการป้องกันตั้งแต่ต้นจะสามารถช่วยลดความเสียหายได้ไม่มากก็น้อยและเป็นการสร้างความตื่นตัวให้กับประชาชน (Public Awareness Raising) ในการระมัดระวังแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในปัจจุบัน ปัญหาการจับกุมและการบังคับใช้กฎหมายในการปราบปรามดังกล่าวก็เป็นปัญหาหลักของต่างประเทศเช่นเดียวกับประเทศไทย ดังนั้นในเมื่อขั้นตอนในการจับกุมหรือปราบปรามเป็นขั้นตอนที่ทำได้ยากในทางปฏิบัติ ผู้วิจัยจึงเห็นควรว่าถ้าทำปลายทางไม่ได้ก็ควรหันมาหาวิธีการป้องกันต้นทางตั้งแต่แรกก่อนเกิดเหตุการณ์จะดีกว่าและจากการศึกษาของผู้วิจัยพบว่า ในต่างประเทศมักจะเน้นการบังคับใช้แผนปฏิบัติการเชิงรุกและมาตรการทางกฎหมายที่ใช้การป้องกันแก๊งคอลเซ็นเตอร์เพื่อที่จะช่วยบรรเทาความเสียหายให้กับประชาชนมากกว่าการเน้นการปราบปรามและวิธีที่จะช่วยการป้องกันได้ดีคือการให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเป็นตัวดักจับความผิดปกติของหมายเลขโทรศัพท์นั่นเองเนื่องจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ส่วนใหญ่มักใช้หมายเลขโทรศัพท์ที่ผิดกฎหมายหรือหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่มีคนใช้งานโดยใช้เทคโนโลยีในการแปลงหมายเลขและแอบอ้างเป็นหน่วยงานหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือหมายเลขโทรศัพท์ผิดกฎหมายที่โทรมาจากต่างประเทศ ดังนั้นถ้าในส่วนของต้นทางคือกิจการโทรคมนาคมสามารถทำการตรวจสอบหรือตรวจพบตั้งแต่แรกจะทำให้ประชาชนเกิดความสูญเสียลดน้อยลง ซึ่งจากการที่ต่างประเทศหันมาสนใจการป้องกันมากกว่าปราบปรามพบว่าสถิติการสูญเสียของประชาชนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ


แนวทางการพัฒนากฎหมายเพื่อป้องกันการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์, จิตติมา กลิ่นสุวรรณ Jan 2022

แนวทางการพัฒนากฎหมายเพื่อป้องกันการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์, จิตติมา กลิ่นสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ Geographical Indication (GI) เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งให้การคุ้มครองชื่อหรือสิ่งที่เรียกแทนชื่อแหล่งกำเนิดของสินค้า ซึ่งคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะ เป็นผลมาจากแหล่งกำเนิดดังกล่าว เช่น ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ หรือภูมิปัญญาของชุมชนในแหล่งผลิตนั้น ทำให้สินค้าเหล่านั้นไม่สามารถผลิตได้ในพื้นที่อื่น ด้วยความพิเศษและความมีเอกลักษณ์ของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จึงถือได้ว่าสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นของดี ของหายาก และไม่สามารถหาซื้อได้ในพื้นที่อื่น ส่งผลให้สินค้า มีราคาสูง ประกอบกับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภค และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยการนำสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ไปใช้กับสินค้าที่ไม่ได้มาจากแหล่งผลิตตามที่ระบุไว้ในทะเบียน รวมถึงสินค้าที่มีคุณภาพ หรือคุณลักษณะเฉพาะที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในทะเบียน จนอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนหลงผิด และอาจส่งผลต่อชื่อเสียงของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงแหล่งผลิตที่แท้จริงของสินค้าได้อีกด้วย เอกัตศึกษาฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา หลักการคุ้มครอง และการบริหารจัดการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภายใต้กฎหมายสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ของไทยและสหภาพยุโรป และเพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนากฎหมายเพื่อป้องกัน การละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย เนื่องจากกฎหมายที่ให้การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย มีบทบัญญัติที่ไม่ครอบคลุมต่อการป้องกันการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ การไม่มีผู้ดูแลสิทธิในสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงไม่ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ดูแลสิทธิ การควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบย้อนกลับ ไม่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายอย่างชัดเจน และการไม่มีบทบัญญัติให้สินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ต้องแสดงฉลากหรือตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์บนสินค้า รวมถึงไม่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาที่แท้จริงของสินค้าได้ ส่วนสหภาพยุโรปมีบทบัญญัติที่ครอบคลุมและชัดเจนกว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลสิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงรายละเอียดของหน้าที่ดังกล่าว และบทบัญญัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบย้อนกลับ และการแสดงฉลาก ด้วยเหตุนี้ เพื่อขจัดข้อบกพร่องของกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยที่ทำให้เกิดปัญหาการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จึงควรมีการปรับปรุงบทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 โดยนำบทบัญญัติของกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของสหภาพยุโรปมาปรับใช้ ได้แก่ การแก้ไขผู้มีสิทธิ ขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงการเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบย้อนกลับ รวมถึงการแสดงฉลากและตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย เพื่อให้การป้องกันการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในทรัพย์สินบางประเภท : กรณีศึกษารถบ้านเคลื่อนที่, จิรัชยา ผู้พัฒน์ Jan 2022

ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในทรัพย์สินบางประเภท : กรณีศึกษารถบ้านเคลื่อนที่, จิรัชยา ผู้พัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิ่งปลูกสร้างได้มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาของที่อยู่อาศัยได้มีหลากหลายมากขึ้นโดยที่อยู่อาศัยไม่จำเป็นต้องมีการปลูกสร้างลงบนที่ดิน ฝังลงดิน หรือยึดติดตรึงถาวรเสมอไป ได้แก่ รถบ้านเคลื่อนที่ (Recreational Vehicle , Mobile Home, Caravan) ที่ใช้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและหาประโยชน์อื่นใด จึงมีประเด็นที่ควรพิจารณาว่า รถบ้านเคลื่อนที่ประเภทดังกล่าวเข้าข่ายขอบเขตตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 หรือไม่ โดยคำนิยาม “สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น” ที่บุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ซึ่งให้หมายความรวมถึงแพที่บุคคลอาจใช้อยู่อาศัยได้หรือที่มีไว้เพื่อหาผลประโยชน์ด้วย เอกัตศึกษาเล่มนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงหลักการจัดเก็บภาษีรถบ้านเคลื่อนที่ในประเทศไทย และการจัดเก็บภาษีรถบ้านเคลื่อนที่ในต่างประเทศเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงกฎหมายที่เกี่ยวข้องและหาจุดบกพร่องหรือข้อควรแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้มาตรการทางกฎหมายในประเทศไทย จากการศึกษาของผู้เขียนพบปัญหาการตีความ “สิ่งปลูกสร้าง” ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ที่ไม่ครอบคลุมถึงยานพาหนะที่เป็นที่อยู่อาศัยมีลักษณะเคลื่อนที่ได้ ทำให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี โดยไม่สอดคล้องกับหลักผลประโยชน์ที่ได้รับ (Benefit Principle) และหลักความเป็นธรรม (Fairness Principle) ซึ่งขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานของการจัดเก็บภาษีที่ดีและยังขัดต่อเจตนารมณ์ของภาษีทรัพย์สิน ผู้เขียนมีความเห็นว่ารถบ้านเคลื่อนที่มีองค์ประกอบการเป็นสิ่งปลูกสร้างอื่นที่บุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ หรือที่ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม ที่เข้าข่ายการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยพิจารณาจาก 4 องค์ประกอบเทียบเคียงได้จากแพ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง องค์ประกอบที่หนึ่ง ประโยชน์จากการใช้สินทรัพย์ที่มีวัตถุประสงค์ในการเข้าอยู่อาศัยและใช้สอย องค์ประกอบที่สอง ลักษณะการไม่ติดตรึงลงบนพื้นดิน องค์ประกอบที่สาม มีลักษณะที่สามารถการเคลื่อนที่ได้เช่นเดียวกับแพ องค์ประกอบที่สี่ การได้รับประโยชน์จากสาธารณูปโภคและทรัพยากรในท้องถิ่นเช่นเดียวกับแพ จากองค์ประกอบดังกล่าวทำให้ผู้เขียนมีความเห็นว่ารถบ้านเคลื่อนที่ ควรจะถือเป็น “สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่บุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้” ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยมีข้อเสนอแนะให้รถบ้านเคลื่อนที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และได้รับการยกเว้นจากการจัดเก็บภาษี รถบ้านเคลื่อนที่ทุกชนิด (รถเฉพาะกิจมอเตอร์โฮม) ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ประกอบกับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนของภาษีและเพื่อความเป็นธรรม ทั้งนี้ จะต้องมีการกำหนดลักษณะของรถบ้านที่ชัดเจน ในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เพื่อประโยชน์ในการจำแนก รถบ้านเคลื่อนที่ ออกจากรถยนต์ทั่วไปที่ใช้เพื่อการคมนาคมขนส่งโดยปกติ และเพื่อความชัดเจนในการยกเว้นภาษี นอกจากนี้ เมื่อรถบ้านเคลื่อนที่ (Recreational Vehicle , Mobile Home, Caravan) อยู่ในบังคับที่จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้ว ภาษีส่วนนี้ควรถูกจัดเก็บเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทนกรมขนส่งทางบก


ความแตกต่างในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีสำหรับกิจการอสังหาริมทรัพย์ระหว่างกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Paes) และกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Npaes), ชเนตตี นิลวงศ์ Jan 2022

ความแตกต่างในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีสำหรับกิจการอสังหาริมทรัพย์ระหว่างกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Paes) และกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Npaes), ชเนตตี นิลวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการรับรู้รายได้ของกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ถือปฏิบัติจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินของประเทศไทยที่ได้ปรับปรุงมาจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities : NPAEs) และกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities : PAEs) ซึ่งมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้รายได้ที่นำมาใช้ มีวิธีการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน คือ สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(NPAEs) สามารถเลือกรับรู้รายได้ได้ 3 วิธี ได้แก่ 1).การรับรู้รายได้ทั้งจำนวน 2).การรับรู้รายได้ตามอัตราส่วนงานที่ทำเสร็จและ 3).การรับรู้รายได้ตามเงินงวดที่ถึงกำหนดชำระ โดยอ้างอิงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ แต่สำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(PAEs) จะสามารถเลือกรับรู้รายได้ได้เพียงวิธีเดียว คือ เมื่อกิจการได้โอนความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่มีนัยสำคัญในสินทรัพย์ไปยังผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว โดยอ้างอิงตามมาตรฐานการรายการทางการเงิน TFRS 15 ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะที่เลือกใช้วิธีการรับรู้รายได้ทั้งจำนวน (Full Accrual Method) มีข้อจำกัดว่าจะสามารถใช้วิธีนี้ได้เมื่อกิจการมีการโอนกรรมสิทธิ์และนิติกรรมในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับที่มีการขายนั้นเกิดขึ้นตามประมวลรัษฎากร และส่งผลให้เกิดความแตกต่างทางด้านบัญชีและภาษี ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528 แก้ไขเพิ่มเติมโดย ท.ป.262/2559 แต่สำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะสามารถรับรู้รายได้เมื่อโอนกรรมสิทธิ์โดยที่หลักเกณฑ์ทางบัญชีและภาษีอากรไม่มีความแตกต่างกัน และไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในการโอนกรรมสิทธิ์ภายในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันเหมือนกับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ จึงทำให้เกิดความแตกต่างกันสำหรับการเลือกใช้วิธีการรับรู้รายได้แบบทั้งจำนวนหรือเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ในด้านภาษีอากรแห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาผลกระทบและเปรียบเทียบการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีสำหรับทั้งสองกิจการ เพื่อให้เห็นความแตกต่างในแต่ละวิธีการรับรู้รายได้ของทั้งสองกิจการ และเพื่อเสนอแนะแนวทางสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียให้สามารถเลือกใช้วิธีการรับรู้รายได้ทั้งจำนวนหรือเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ได้ โดยที่ไม่มีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ภายในระยะเวลาบัญชีเดียวกัน และเพื่อช่วยให้กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะสามารถชะลอการจ่ายภาษีเงินได้รวมถึงมีเงินทุนหมุนเวียนในกิจการเพียงพอ อีกทั้งการรับรู้รายได้ตามวิธีทั้งจำนวนหรือเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ยังเป็นวิธีการรับรู้รายได้ที่มีความแน่นอนมากกว่าวิธีอื่นๆ เนื่องจากกิจการจะรับรู้รายได้ตามวิธีก็ต่อเมื่อความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดได้โอนไปให้แก่ลูกค้าเรียบร้อยแล้ว


แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจบริการเสริมความงามเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2563, ชรัลธร หล่าบรรเทา Jan 2022

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจบริการเสริมความงามเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2563, ชรัลธร หล่าบรรเทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ธุรกิจที่ได้รับความนิยมในการประกอบอาชีพ นั่นก็คือ ธุรกิจเสริมความงาม เพราะเปิดธุรกิจดังกล่าวขึ้นเนื่องจาก ผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็น วัยรุ่น หรือวัยทำงานได้รับอิทธิพลการดูแลตัวเองมาจากประเทศเกาหลีใต้ ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น ละคร หรือวงการเพลง K-pop ที่ถ่ายทอดมาให้แก่ผู้บริโภคที่ได้รับสื่อ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลผิวให้เนียน กระจ่างใสด้วยการทำทรีทเมนต์หรือการรับการยิงเลเซอร์ การปรับรูปหน้าให้มีลักษณะเรียวขึ้น หรือแม้แต่การศัลยกรรม ล้วนมีความคาดหวังให้ผลลัพธ์ออกมาตามต้องการและออกมาในทางที่ดี หากแต่ว่า การเปิดธุรกิจแบบเชิงพาณิชย์มากเกินไปของผู้ประกอบการ ก็ทำให้มีผลลัพธ์ที่ออกมาผิดคาดไปในทางที่แย่ลงกว่าสภาพปกติ อย่างที่ได้เห็นตามข่าว ไม่ว่าจะเป็น ศัลยกรรมทำพิษ จนหน้าบิดเบี้ยว จมูกทะลุ หรือแม้แต่เสียชีวิตระหว่างได้รับการผ่าตัดเพราะแพ้ยาสลบ การแพ้เครื่องสำอางที่นำมาทำทรีทเมนต์ การได้รับหัตถการปรับรูปหน้าโดย botox filler และการร้อยไหม แต่แพทย์ที่ทำไม่ชำนาญจนใบหน้าเกิดการห้อยย้อย หรือเบี้ยว และแม้แต่หมอปลอมหรือหมอกระเป๋าที่แอบอ้างเป็นหมอจริงโดยขโมยหลักฐานจาก แพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะจริง ๆ มา ด้วยความที่อุปสงค์ของผู้บริโภคนั้นมีมาก ทำให้อุปทานการรับพนักงาน หรือตัวแพทย์เองไม่มีมาตรฐานที่แน่ชัด ในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านความปลอดภัย การป้องกันการเปรียบจากผู้ประกอบการจากการทำสัญญาฝ่ายเดียวของผู้ประกอบการหรือ แม้แต่กฎหมายในเรื่องนี้ยังไม่มีเป็นการเฉพาะ ดังนั้นแล้วเอกัตศึกษานี้จากการศึกษาพบว่า ในขณะนี้กระแสการรับบริการเสริมความงามนั้นมีความนิยมกันอย่างเปิดเผย โดยเฉพาะดารา นักร้องหรือนักแสดงได้ดูแลความสวยงามเพื่อเสริมความมั่นใจ เป็นที่ดึงดูดความสนใจ ทำให้กระแสดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคที่อยากมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น มีพฤติกรรมการลอกเลียนแบบเพื่อตอบสนอง เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ ทั้งนี้สืบเนื่องในปัจจุบันการใช้สื่อทางโทรทัศน์ สื่อโซเชียลออนไลน์ มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จึงทำให้ก่อเกิดเป็นค่านิยมให้การดูแลตัวเองซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหาย ใด อีกทั้งยังทำให้มีความก้าวหน้าในงานหรือประสบความสำเร็จในชีวิตเพราะตัวผู้บริโภคได้ลบจุดด้อยและเพิ่มจุดเด่นมากขึ้น เนื่องด้วยปัจจุบันทางการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้า มากขึ้น ลักษณะการให้บริการเสริมความงาม กล่าวคือ เพื่อรักษาปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนัง หรือ เพื่อปรับปรุงสภาพผิวหน้าให้ขาวใส ไร้ริ้วรอย เป็นการให้บริการเสริมความงามเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้เข้ารับโดยเฉพาะ นอกเหนือไปจากการรักษาปัญหาโรคผิวหนังโดยการบริการจะมีให้เลือกมากมาย จากการศึกษาทำให้ทราบว่าปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบกิจการสถานพยาบาลเสริมความงามตามพระราชบัญญัติผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2549 ยังไม่ชัดเจนและไม่ครอบคลุมอยู่หลายประการและยังได้ทราบปัญหาเกี่ยวกับด้านสัญญาที่ไม่มีความเสมอภาคกันโดยจะเป็นเพียงฝ่ายผู้ประกอบการธุรกิจที่ได้ทำสัญญาออกมาแบบสำเร็จรูปโดยที่ผู้บริโภคเสียเปรียบหากเกิดการเรียกร้องสิทธิที่ผู้บริโภคพึ่งได้รับ อาทิ การจำกัดสิทธิไม่ว่าจะเป็นการได้รับบริการที่ไม่ตรงตามที่ได้ตกลงมัดจำค่าคอร์ส เพราะปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มี คู่มือหรือแนวทางปฏิบัติในการทำสัญญาที่เกี่ยวกับการควบคุมสัญญาทั้งหมด เป็นเพียงการควบคุมการรับเงินในหลักฐานรับเงินเพียงเท่านั้น แต่เนื่องด้วย การรับบริการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ ชีวิต ร่างกาย และอนามัยของผู้บริโภคจึงควรปรับปรุงหรือยกระดับให้เป็นธุรกิจควบคุมสัญญาได้แล้วในปัจจุบัน


ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีการแก้ไขใหม่ ศึกษากรณีผู้ค้ำประกันเป็นผู้มีอำนาจจัดการหรือควบคุมในกิจการของลูกหนี้นิติบุคคล, ธนพร มิตรดี Jan 2022

ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีการแก้ไขใหม่ ศึกษากรณีผู้ค้ำประกันเป็นผู้มีอำนาจจัดการหรือควบคุมในกิจการของลูกหนี้นิติบุคคล, ธนพร มิตรดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้ทำการศึกษาความรับผิดของผู้ค้ำประกันกรณีผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นผู้มีอำนาจจัดการตามกฎหมายหรือมีอำนาจควบคุมในกิจการของลูกหนี้นิติบุคคลเมื่อมีการผ่อนเวลาชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ตามบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการค้ำประกันมาตรา 700 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีการแก้ไขใหม่ในปีพ.ศ. 2557 และปีพ.ศ. 2558 จากการศึกษาพบว่า การแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าวโดยห้ามไม่ให้มีการทำข้อตกลงยินยอมต่อการผ่อนเวลาไว้ล่วงหน้า และยกเว้นเพียงสิทธิของผู้ค้ำประกันที่เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือการค้ำประกันเพื่อสินจ้างเป็นปกติธุระเท่านั้นที่จะให้สามารถให้ความยินยอมต่อการผ่อนเวลาของลูกหนี้ไว้ล่วงหน้าได้นั้นไม่เพียงพอ เนื่องจากยังมีผู้ค้ำประกันทางพาณิชย์อีกกลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ทั้งนี้ผู้ค้ำประกันกลุ่มนี้ได้ประโยชน์จากการที่นิติบุคคลได้รับสินเชื่อและมีส่วนได้เสียกับลูกหนี้ที่เป็นนิติบุคคล นั่นคือ บุคคลผู้มีอำนาจจัดการตามกฎหมายหรือมีอำนาจควบคุมในกิจการของลูกหนี้ การผ่อนเวลาชำระหนี้ของลูกหนี้เป็นประโยชน์ต่อบุคคลกลุ่มนี้ด้วย อีกทั้งบุคคลกลุ่มนี้มักจะมีความเข้าใจในการเข้าทำนิติกรรมหรือสัญญาทางธุรกิจ และสามารถทราบถึงภาระหน้าที่ในการเข้าทำสัญญาค้ำประกันหรือพิจารณาหรือประเมินความเสี่ยงในการเข้าทำสัญญาได้เอง รวมถึงบุคคลกลุ่มนี้มีความรู้ในการประกอบธุรกิจและมีความน่าเชื่อถือเพียงพอที่ธนาคารจะพิจารณาให้สินเชื่อ ธนาคารจึงมักต้องการให้ผู้ค้ำประกันกลุ่มนี้ให้การค้ำประกันเพิ่มเติมด้วย นอกจากนี้แนวคิดที่แสดงให้เห็นว่าบุคคลผู้มีอำนาจจัดการหรือมีอำนาจควบคุมในกิจการของลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเทียบเท่ากับผู้ค้ำประกันทางแพ่งและสามารถรับผิดในหนี้ของลูกหนี้ได้มากกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไปปรากฏให้เห็นในบทบัญญัติมาตรา 727/1 วรรคสองที่ได้ปรับแก้ไขในปีพ.ศ. 2558 โดยยกเว้นให้บุคคลกลุ่มนี้สามารถเข้าค้ำประกันเพิ่มเติมในหนี้ของลูกหนี้นอกเหนือจากการจำนองได้อีก อีกทั้งเมื่อเทียบกับหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษและสิงคโปร์แล้ว พบว่า กฎหมายของทั้ง 2 ประเทศนี้ไม่ได้กำหนดห้ามการทำข้อตกลงเรื่องการผ่อนเวลาไว้ล่วงหน้า สัญญาค้ำประกันภายใต้กฎหมายประเทศอังกฤษและสิงคโปร์จึงสามารถมีข้อตกลงสงวนสิทธิของเจ้าหนี้ว่า ผู้ค้ำประกันจะยังคงรับผิดในหนี้ประธานของลูกหนี้แม้ว่าเจ้าหนี้จะทำการผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้ ซึ่งเป็นเสรีภาพในการทำสัญญาของคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย การห้ามไม่ให้ทำข้อตกลงดังกล่าวไว้ล่วงหน้าจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับเจ้าหนี้กรณีที่ไม่สามารถติดต่อให้ผู้ค้ำประกันลงนามตกลงยินยอมต่อการผ่อนเวลาของลูกหนี้ได้ และอาจกระทบต่อลูกหนี้เองเนื่องจากเจ้าหนี้จะระมัดระวังในการพิจารณาให้สินเชื่อและการพิจารณาผ่อนเวลาชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ จากผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่า กฎหมายควรกำหนดบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองระหว่างผู้ค้ำประกันทางแพ่งและผู้ค้ำประกันทางพาณิชย์โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจจัดการและควบคุมการดำเนินงานของลูกหนี้ให้แตกต่างกัน โดยบทบัญญัติควรให้ผู้ค้ำประกันที่มีอำนาจจัดการตามกฎหมายหรือมีอำนาจควบคุมในกิจการของลูกหนี้นิติบุคคลสามารถทำข้อตกลงยินยอมต่อการผ่อนเวลาของลูกหนี้ไว้ล่วงหน้าได้


ปัญหาความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับการเกษตร : กรณีศึกษาธุรกิจฟาร์มไก่เนื้อของประเทศไทย, ปรารถนา เป้อินทร์ Jan 2022

ปัญหาความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับการเกษตร : กรณีศึกษาธุรกิจฟาร์มไก่เนื้อของประเทศไทย, ปรารถนา เป้อินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับการเกษตร กรณีศึกษาธุรกิจฟาร์มไก่เนื้อของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ในประเทศไทยยังไม่ได้มีการแบ่งประเภทและรูปแบบของ ฟาร์มปศุสัตว์ระหว่างฟาร์มปศุสัตว์ของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งมีลักษณะเป็นฟาร์มอุตสาหกรรมกับฟาร์มขนาดเล็กซึ่งเป็นฟาร์มของผู้ประกอบการรายย่อยหรือฟาร์มของชาวบ้าน ทำให้การจัดเก็บภาษีระหว่างผู้ประกอบการ รายใหญ่กับฟาร์มขนาดเล็กยังใช้เป็นเกณฑ์การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในรูปแบบเดียวกันซึ่งนำมาซึ่งความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศออสเตรเลีย มีหลักเกณฑ์การพิจารณาจากปัจจัยสำคัญ เช่น ปัจจัยในด้านเงินลงทุน รายได้ และรูปแบบ สิ่งปลูกสร้าง ทำให้หลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีการแบ่งแยกที่ชัดเจน มีความเป็นธรรมและสอดคล้องกับแนวทางในการจัดเก็บภาษีที่ดี จากการศึกษากฎหมายต่างประเทศดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเสนอแนะแนวทางในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทยโดยให้มีการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของฟาร์มขนาดเล็กกับฟาร์ม ขนาดใหญ่โดยใช้หลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีที่แตกต่างกันเพื่อให้การจัดเก็บภาษีมีความเป็นธรรมและสอดคล้องกับแนวทางในการจัดเก็บภาษีที่ดี


การสร้างสมดุลระหว่างการเปิดเผยข้อมูลหน่วยงานของรัฐของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562, ศุทธิกานต์ สนขุนทด Jan 2022

การสร้างสมดุลระหว่างการเปิดเผยข้อมูลหน่วยงานของรัฐของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562, ศุทธิกานต์ สนขุนทด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หลังจากที่ประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึงการสร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล ตั้งแต่การเก็บ รวบรวม หรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมของเจ้าของข้อมูล ซึ่งเป็นการบังคับใช้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ขณะเดียวกันพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีการบังคับใช้ในหน่วยงานภาครัฐ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานต่าง ๆ ของรัฐเพื่อที่ประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็น และใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องกับความเป็นจริง อีกทั้งเพื่อให้ประชาชนสามารถปกปักรักษาประโยชน์ของตนได้ประกอบกับได้รับการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตามหน่วยงานราชการซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ ฯ และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฯ จึงควรจัดให้มีกระบวนการหรือขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตั้งแต่การจัดเก็บ การรักษา การใช้ หรือการโอนข้อมูลให้มีความปลอดภัย การกำหนดข้อยกเว้นของการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนความเชื่อมโยงระหว่างกฎหมายเพื่อให้เกิดเป็นมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงานของรัฐและเอกชนให้มีความสัมพันธ์หรือแนวทางการปฏิบัติที่สอดคล้องกัน ดังนั้นเอกกัตศึกษาเล่มนี้ ต้องการจะศึกษาว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 สามารถที่จะดำเนินการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารราชการตามคำร้องขอได้หรือไม่ ขณะเดียวกันการเปิดเผยนั้นจะเป็การการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลจนเกินสมควรหรือไม่ ดังนั้นจะมีหลักเกณฑ์หรือกลไกใดที่จะเข้ามาช่วยให้การดำเนินการการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวนั้นสามารถดำเนินการไปได้อย่างสมดุล และสอดคล้องเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เมื่อพิจารณาในภาพรวมควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการให้สามารถดำเนินการได้โดยไม่เป็นการทำลายการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของปัจเจกบุคคลจนเกินสมควร และสามารถเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยภายในหน่วยงานอาจจะมี 1.การกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามคำร้องขอว่าผู้ร้องขอมีวัตถุประสงค์ในการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้เพื่ออะไร 2. กำหนดสิทธิและหน้าที่รวมถึงอำนาจในการเก็บรวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลข่าวสารราชการ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจจะถูกรวมอยู่ด้วย เมื่อทราบแล้วว่าใครมีหน้าที่อย่างไร มีสิทธิเข้าถึงได้มากน้อยแค่ไหน และ 3. สามารถเปิดเผยข้อมูลใดได้บ้าง กล่าวคือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกรวมอยู่ในข้อมูลข่าวสารราชการ หากมีความจำเป็นต้องเปิดเผย ควรมีการลบ ตัดทอน หรือแก้ไขข้อมูลดังกล่าว โดยอาจจะใช้วิธีลดขนาดข้อมูล หรือทำให้เป็นข้อมูลนิรนาม (Anonymization) หรือเป็นการแฝงข้อมูล (Pseudonymization) 5. กำหนดความเสี่ยงสำหรับการเปิดเผยข้อมูลว่าข้อมูลประเภทแต่ละประเภท มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด จากนั้นก็ใช้ 6. มาตรการในการบริหารจัดการเข้ามาดูแลในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างเหมาะสม ขณะเดียวกัน 7. เจ้าหน้าที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลควรจะได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้ ทบทวนหน้าที่และขอบเขตงานของตนตลอดเวลา และ 8. ควรมีการประเมินผลการดำเนินงานว่าการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวมีประโยชน์และประสิทธิภาพต่อสาธารณชนและปัจเจกชนมากน้อยเพียงใด เป็นต้น


แนวทางในการนำมาตรการการจัดเก็บภาษีจากการผลิต การนำเข้า และการจำหน่ายปูนซีเมนต์มาปรับใช้ในประเทศไทย, ศวรรยารัตน์ อรรถีโสต Jan 2022

แนวทางในการนำมาตรการการจัดเก็บภาษีจากการผลิต การนำเข้า และการจำหน่ายปูนซีเมนต์มาปรับใช้ในประเทศไทย, ศวรรยารัตน์ อรรถีโสต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ก่อให้เกิดมลพิษหลายประการ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหาความเสื่อมโทรมของป่าไม้ ปัญหาจากการชะล้างพังทลายของดิน ปัญหามลพิษทางอากาศ มลพิษเสียง ความสั่นสะเทือน ปัญหาผลกระทบด้านการคมนาคมขนส่ง ปัญหาผลกระทบด้านสุนทรียภาพ และแหล่งธรรมชาติอันควรแก่การอนุรักษ์ ปัญหาผลกระทบต่อสังคมท้องถิ่นส่งผลให้เกิดความเสียหายด้านการใช้ชีวิตประจำวัน และปัญหาด้านสุขภาพต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาจากฝุ่นละอองส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง วัตถุประสงค์ของเอกัตศึกษานี้มุ่งศึกษาถึงมาตรการภาษีจากการผลิต การนำเข้า และการจำหน่ายปูนซีเมนต์ของรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา มาตรการชดเชย และเยียวยาความเสียหายสิ่งแวดล้อมตามกฎหมาย Comprehensive Environmental Response, Compensation, and Liability Act หรือที่เรียกว่ากฎหมาย CERCLA ของประเทศสหรัฐอเมริกา กับมาตรการกฎหมายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่มีการใช้ในปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยขาดมาตรการการเยียวยาด้านสิ่งแวดล้อมและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการผลิตปูนซีเมนต์ โดยปัจจุบันภาครัฐมีมาตรการกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการมลพิษจากการผลิตปูนซีเมนต์หลายมาตรการ แต่เป็นเพียงมาตรการในการควบคุมและบำบัดมลพิษเท่านั้น ส่วนผู้ประกอบการบางรายมีการทำกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility หรือ CSR) ซึ่งเป็นความสมัครใจในการดำเนินการของผู้ผลิตปูนซีเมนต์ ซึ่งไม่ถือเป็นมาตรการบังคับทางกฎหมายแต่อย่างใด ประการสำคัญหากผู้เสียหายจะดำเนินการฟ้องร้องค่าเสียหายต้องใช้ระยะเวลาในกระบวนการฟ้องร้องเป็นระยะเวลานาน ทั้งต้องมีการพิสูจน์ความเสียหาย และเสียค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องเป็นจำนวนมาก จากการศึกษามาตรการภาษีจากการผลิต การนำเข้า และการจำหน่ายปูนซีเมนต์ของรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา หากมีการนำมาปรับใช้กับประเทศไทย โดยการกำหนดให้ผู้รับผิดชอบเสียภาษี คือ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้บริโภคขั้นสุดท้าย เป็นผู้มีหน้าเสียภาษี สอดคล้องกับหลักการจัดการสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย ซึ่งเป็นการให้ผู้ก่อมลพิษแสดงความรับผิดชอบ และได้ตระหนักถึงมลพิษที่ตนได้ก่อ โดยอัตราภาษีที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 0.5%-1% หรือราคาตันละ 12 บาท โดยควรกำหนดให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นหน่วยงานจัดเก็บภาษี ทั้งนี้จะทำให้องค์กรปกครองสวนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถนำเงินภาษีที่จัดเก็บได้มาบริหาร ใช้จ่ายเพื่อการเยียวยาสิ่งแวดล้อม ผู้ได้รับผลกระทบ ปรับปรุงทัศนียภาพ โดยไม่ต้องเบิกเงินอุดหนุนจากส่วนกลาง ประการที่สำคัญ คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบได้รับการเยียวยาโดยตรง อันเป็นผลจากการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บรายได้เอง และมีอำนาจในการจัดสรรการใช้รายได้นี้ ส่งผลให้ไม่มีความจำเป็นในการรอเบิกเงินอุดหนุนจากส่วนกลางซึ่งใช้ระยะเวลานาน ทั้งงบประมาณอาจไม่เพียงพอ ส่งผลให้การเยียวยานั้นไม่ทั่วถึงและอาจไม่ทันเวลา


มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลการให้สินเชื่อและการรับสิทธิในเงินฝากเป็นหลักประกัน : ศึกษาเฉพาะกรณี Pico-Finance, ไพรัตน์ สุระศิรานนท์ Jan 2022

มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลการให้สินเชื่อและการรับสิทธิในเงินฝากเป็นหลักประกัน : ศึกษาเฉพาะกรณี Pico-Finance, ไพรัตน์ สุระศิรานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหามาตราการทางกฎหมายของโครงการสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ หรือ Pico Finance โดยศึกษาในการกำกับดูแลการให้สินเชื่อ และการรับสิทธิเงินฝากเป็นหลักประกัน ซึ่งรัฐบาลได้จัดตั้งโครงการนี้เพื่อแก้ปัญหาหนี้นอกระบบในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2559 โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ซึ่งใช้วิธีการศึกษาควบคู่ไปตามมาตรการทางกฎหมาย กับกระบวนการในการดำเนินการจริงโดยเริ่มตั้งแต่ต้นคือ ผู้ให้สินเชื่อขอใบอนุญาตในการประกอบ Pico Finance ไปจนถึง การยกเลิกจัดตั้งสถานประกอบการ โดยศึกษากฎหมายโดยตรง คือ ประกาศกระทรวงการคลัง (เรื่อง สินเชื่อย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ) และ ประกาศสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมประกอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะนิติกรรม สัญญา และ ลักษณะหนี้ , พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 , พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 , พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 , พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 และ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 โดยมีสมมติฐานว่า แม้กระทรวงการคลัง จะออกมาตรการสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) เพื่อต้องการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ แต่มาตรการทางกฎหมายในการกำกับและ ใช้หลักประกันทางธุรกิจ เช่น การกำกับวงเงินสินเชื่อ และสิทธิในเงินฝากเป็นหลักประกันเป็นต้นนั้น ยังเป็นปัญหา ดังนั้นจึงควรปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว เพื่อจะแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบด้วยมาตรการนี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในการศึกษาและพิสูจน์สมมติฐาน พบปัญหาในเรื่องยอดหนี้การปล่อยสินเชื่อ , ปัญหาการบัญญัติอัตราดอกเบี้ยแบบเหมารวม , ปัญหาการใช้เงินฝากเป็นหลักประกัน โดยมีการยึดสมุดบัญชี บัตรกดเงินสด และปัญหาของกฎหมายทวงหนี้ที่มุ่งคุ้มครองเพียงแต่บุคคลธรรมดา ซึ่งหากแก้ไขปัญหาทั้งหมดเหล่านี้ได้ โดยการแก้ไขมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็จะทำให้โครงการนี้มีประสิทธิผล มีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาหนี้นอกระบบได้ตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของโครงการ


แนวทางการกำกับดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของแรงงาน ในสถานที่อับอากาศ : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเคมีและการล้างถังและบ่อ, ณฐพล อุลิตร Jan 2022

แนวทางการกำกับดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของแรงงาน ในสถานที่อับอากาศ : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเคมีและการล้างถังและบ่อ, ณฐพล อุลิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อุตสาหกรรมเคมีและการล้างถังนั้นมีความสำคัญอย่างมากในโลกปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาเหล่านี้ทำให้มนุษย์มีคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วยราคาที่ไม่แพงเช่นบรรจุภัณฑ์สินค้า อุปโภค บริโภคที่ทำมาพลาสติกซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ได้มากจากกระบวนการผลิตที่ทำมาจากน้ำมัน โดยถังบรรจุเคมีนั้นจะต้องมีการทำความสะอาดอยู่เป็นประจำ โดยการทำความสะอาดนั้นส่วนมากจะเป็นการส่งแรงงานลงไปเพื่อปฏิบัติการล้างถัง โดยในประเทศไทยนั้นยังมีรายงานเรื่องอุบัติเหตุในที่อับอากาศอยู่เป็นประจำ อิงจากข้อมูลสถิติตั้งแต่ปี 2546 จนถึง 2561 นั้น ประเทศไทยมีรายงานผู้ประสพอันตรายเกี่ยวกับที่อับอากาศจำนวน 210 ราย จึงเกิดเป็นประเด็นที่ควรพิจารณาว่า พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 และ กฎกระทรวง การจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 ที่ออกมาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่แรงงานในที่อับอากาศนั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ การวิจัยเล่มนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหลักกฎหมายเรื่องการควบคุม ดูแล และป้องกันอันตรายต่อแรงงานจากการปฏิบัติงานในที่อับอากาศในประเทศอเมริกาและประเทศออสเตรเลียเพื่อวิเคราะห์และหาข้อแนะนำเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยตามอิริยาบทที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากจนเกินไปจนผิดหลักความไม่ได้สัดส่วน จากการศึกษาค้นขว้าวิจัยจึงพบว่ากฎหมายเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยในที่อับอากาศของประเทศไทยนั้นเป็นหลักการที่เขียนไว้อย่างกว้างและไม่มีความละเอียดมากพอจนเป็นต้นเหตุให้ไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งกฎหมายของประเทศไทยนั้นมีบทลงโทษแล้ว แต่ก็ไม่สามารถนำเอาผู้กระทำความผิดที่ละเลยการปฏิบัติตามหลักข้อบังคับที่มีมาลงโทษได้เพียงเพราะกฎหมายนั้นมีความกว้างเกินไป เมื่อนำมาเทียบกับประเทศไทยแล้วนั้น มีหลายหลักที่ประเทศไทยสามารถนำมาปรับใช้เช่น หลักการแยกและปิดกั้นพลังงานหรือสารเคมีในที่อับอากาศที่มีการระบุอย่างชัดเจนในสองประเทศว่าจะต้องมีการใช้อุปกรณ์ Lock Out Tag Out ในข้อกฎหมาย หรือหลักเฉพาะในประเทศอเมริกาเช่นแรงงานจะต้องได้รับข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของสารเคมีอันตรายที่จะพบในที่อับอากาศนั้น ๆ และหลักอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารที่นายจ้างจะต้องเตรียม ส่วนหลักพิเศษในประเทศออสเตรเลียที่คือหลักความรับผิดชอบของผู้ผลิตถังอับอากาศและหลักความรับผิดชอบของผู้คุมงานที่จะต้องดูแลแค่กิจกรรมในที่อับอากาศเดียวเท่านั้น หากมีการแก้ไขกฎกระทรวงและหลักในพระราชบัญญัติตามนี้ ประเทศไทยก็จะสามารถลดจำนวนอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับที่อับอากาศได้อย่างน้อย 50,000 รายและลดการเสียชีวิตอย่างน้อย 120 คนต่อปีหากอิงจากสถิติของประเทศอเมริกา เพื่อนำพาประเทศไทยสู่มาตรฐานอุตสาหกรรมในระดับโลกและลดภาระให้แก่ภาครัฐในระยะยาว


มาตรการทางภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Smes) ที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19, ณิชชาพัชร์ อิทธิเมศร์มงคล Jan 2022

มาตรการทางภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Smes) ที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19, ณิชชาพัชร์ อิทธิเมศร์มงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงมาตรการทางภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมุ่งเน้นในเรื่องมาตรการการบรรเทาภาระภาษีสำหรับวิสาหกิจ ฯ เป็นสำคัญ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อวิสาหกิจ ฯ ในหลายด้าน ทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน วิสาหกิจ ฯ ดังกล่าวเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีเงินทุนสำรองต่ำ ดังนั้นแล้วในหลายประเทศจึงมีการใช้มาตรการทางภาษีต่าง ๆ เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่วิสาหกิจ ฯ จากการการศึกษาพบว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่รัฐบาลออกมาเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจ ฯ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยยังไม่สามารถที่จะช่วยเหลือวิสาหกิจ ฯ ดังกล่าวได้ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคมีการใช้นโยบายทางด้านภาษีอย่างจริงจังในการช่วยเหลือทางด้านต้นทุนกับผู้ประกอบการ เช่น สาธารณรัฐสิงคโปร์ที่มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยตรงโดยการจ่ายเงินช่วยเหลือแรงงานร้อยละ 25-75 ของค่าจ้างพื้นฐานเป็นเวลา 9 เดือน มาตรการช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กโดยการให้เงินช่วยเหลือไม่เกิน 10,000 ดอลล่าร์สิงคโปร์ต่อบริษัทสำหรับประเทศไทยนั้นมีการช่วยเหลือทางด้านภาษีโดยมีลักษณะในการหักรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาด ฯ วิสาหกิจแทบจะไม่มีรายได้เลย ทำให้เกิดผลขาดทุน วิสาหกิจ ฯ จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนั้นซึ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวจึงควรมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของมาตรการภาษีของประเทศไทยและมีการนำมาตรการการบรรเทาภาระภาษีของสาธารณรัฐสิงคโปร์มาปรับใช้ โดยเฉพาะการยกเว้นภาษีสำหรับผลประโยชน์ที่นายจ้างได้รับจากรัฐบาลเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อให้ครอบคลุมถึงภาระค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการแบกรับเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าว การใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้วิสาหกิจ ฯ นั้น นอกจากจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถดำรงธุรกิจต่อไปได้ในช่วงเศรษฐกิจอันย่ำแย่แล้ว ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอากรตามหลักภาษีอากรที่อีกด้วย


การนำหลักการและวิธีการคำนวณต้นทุนการกู้ยืมตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 23 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืมมาปรับใช้กับการคำนวณต้นทางการกู้ยืมทางภาษีอากร, ธิชา ภัทจารีสกุล Jan 2022

การนำหลักการและวิธีการคำนวณต้นทุนการกู้ยืมตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 23 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืมมาปรับใช้กับการคำนวณต้นทางการกู้ยืมทางภาษีอากร, ธิชา ภัทจารีสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจัดหาเงินทุนเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญเนื่องจากเงินทุนแต่ละแหล่งจะก่อให้เกิดภาระผูกพันและมีต้นทุนที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไป โดยผู้บริหารสามารถพิจารณาการจัดหาแหล่งเงินทุนผ่านการประเมินสภาพคล่องและการประมาณการถึงกระแสเงินสดในอนาคตของกิจการ สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบันทึกรายการต้นทุนการกู้ยืมที่มีผลจากการจัดหาเงินทุนจึงได้มีการนำมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะมาปรับใช้ เนื่องจากรายการดังกล่าวมีผลกระทบต่องบการเงินเป็นวงกว้างและกระทบกับหลายบัญชีไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้หรือแม้กระทั่งค่าใช้จ่าย ซึ่งผลกระทบดังกล่าวที่เกิดขึ้นนี้ย่อมมีผลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะดังกล่าวถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 23 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม (ปรับปรุง 2562) โดยมีข้อกำหนดถึงหลักเกณฑ์การรับรู้รายการและวิธีการปฏิบัติให้กับ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีสามารถจัดทำบัญชีโดยอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน หลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรฐาน การบัญชีฉบับนี้กำหนดให้สินทรัพย์ที่แสดงอยู่ในงบการเงินต้องสามารถสะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ได้ โดยกิจการจะต้องประเมินถึงมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับและรับรู้ค่าเผื่อผลขาดทุนจากการด้อยค่าเมื่อสินทรัพย์นั้นมีราคาทุนสูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ขณะที่หลักเกณฑ์การรับรู้รายการต้นทุนการกู้ยืมในสินทรัพย์ ทางภาษีอากรไม่ได้มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้เป็นการเฉพาะ จะมีเพียงมาตรา 65 ในประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้รับรู้รายการรายได้และค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์สิทธิโดยไม่ได้มีการพิจารณาถึงมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ จึงส่งผลให้มูลค่าของสินทรัพย์ในทางภาษีอากรไม่สามารถสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงได้ ซึ่งผลแตกต่างระหว่าง การรับรู้รายการตามมาตรฐานการบัญชีและทางภาษีดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการแสดงข้อมูลในงบการเงินและการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แตกต่างกัน จากผลการศึกษาพบว่าหากกรมสรรพากรมีการกำหนดเงื่อนไขในการรับรู้รายการโดยพิจารณาถึง มูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติไว้เป็นการเฉพาะจะช่วยทำให้มูลค่าของสินทรัพย์สามารถสะท้อนได้ถึงประโยชน์ที่กิจการจะได้รับและส่งผลให้การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นไปตามหลักภาษีอากรที่ดีตามหลักของผลประโยชน์ที่ได้รับ อีกทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะจะช่วยทำให้ลดการใช้ดุลยพินิจในการรับรู้รายการทั้งในส่วนของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ซึ่งจะช่วยทำให้ลดความไม่แน่นอนและช่วยเพิ่มความสม่ำเสมอในการรับรู้รายการ อีกทั้งยังส่งผลให้เกิด ความเป็นธรรมและความเท่าเทียมอีกด้วย


แนวทางในการนำบริจาคบริการมาใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทย, นวพร กิจประเสริฐ Jan 2022

แนวทางในการนำบริจาคบริการมาใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทย, นวพร กิจประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และปัญหาเกี่ยวกับการบริจาคและการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการบริจาคสำหรับบุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการบริจาคเป็นบริการของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียเพื่อเป็นแนวทางในการนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการบริจาคของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการบริจาคเป็นเงินบริจาคเท่านั้น หากผู้เสียภาษีต้องการบริจาคเป็นบริการหรือสละเวลาทำงานจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคมโดยการใช้แรงกาย เวลาหรือบริการแทนเงินบริจาค จะไม่มีหลักเกณฑ์ในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคเป็นบริการ และยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการวัดมูลค่าของเวลาและบริการที่ใช้ไปในการบริจาคเพื่อคำนวณสิทธิประโยชน์ทางภาษี ในขณะที่กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียนั้นมีข้อกำหนดในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการบริจาคเป็นบริการสำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การบริจาคบริการเป็นหนึ่งในรูปแบบของการช่วยเหลือสังคม เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ รวมถึงมีข้อดีทั้งในแง่ของการลดภาระทางการคลังของรัฐบาลและช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมขององค์กรการกุศล ดังนั้นภาครัฐจึงควรปรับปรุงบทบัญญัติทางกฎหมายของประเทศไทยเพื่อให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและเป็นไปตามหลักการบริหารภาษีอากรที่ดี โดยนำหลักเกณฑ์ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียมาปรับใช้ ทำให้บุคคลธรรมดาสามารถบริจาคเป็นบริการและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี สามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการบริจาคบริการเพื่อการกุศลมาหักลดหย่อนภาษีได้ ถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถวัดมูลค่าของบริการหรือมูลค่าของเวลาที่ใช้ไปเพื่อนำมาลดหย่อนภาษี แต่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงอันเป็นผลโดยตรงจากบริการเพื่อช่วยเหลือสังคมจะสามารถนำมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการสนับสนุนบริจาคบริการในภาคเอกชน และถ้าหากผู้บริจาคได้รับค่าตอบแทนจากองค์กรการกุศลในฐานะที่เป็นอาสาสมัครหรือเป็นผู้ให้บริการเพื่อการกุศล ไม่ว่าจะเป็นเงินจ่ายคืนจากค่าใช้จ่ายที่อาสาสมัครออกเงินไปก่อน หรือเงินค่าธรรมเนียมการให้บริการจะถือเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อช่วยบรรเทาภาระภาษีของภาคเอกชนที่มีเจตนาที่จะบริการเพื่อช่วยเหลือสังคมโดยไม่ได้หวังผลตอบแทนใด ๆ


แนวทางในการจัดเก็บภาษีความั่งคั่ง (Wealth Tax) ในประเทศไทย, พัฒน์ณิชานนท์ ลาภประเสริญล้ำ Jan 2022

แนวทางในการจัดเก็บภาษีความั่งคั่ง (Wealth Tax) ในประเทศไทย, พัฒน์ณิชานนท์ ลาภประเสริญล้ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาษีความมั่งคั่ง ถือเป็นภาษีทางตรงที่เรียกเก็บจากบุคคลที่มีฐานะร่ำรวยและถือเป็นภาษีทรัพย์สินชนิดหนึ่ง ซึ่งภาษีทรัพย์สินนั้นเป็นภาษีที่มีความสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาส่วนท้องถิ่น เนื่องจากหลักการการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินโดยทั่วไปนั้น จะจัดเก็บจากอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในแต่ละท้องถิ่นเพื่อนำเงินรายได้ไปใช้จ่ายในการจัดหาบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนและพัฒนาท้องถิ่นนั้น ๆ ให้มีความเจริญมากยิ่งขึ้น หากประเทศใดมีระบบการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินที่ดีก็จะมีรายได้เพียงพอที่จะพัฒนาท้องถิ่นและลดภาระของรัฐบาลกลางที่จะต้องให้เงินอุดหนุนแก่ท้องถิ่นลงได้ จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีทรัพย์สินหลายฉบับ ซึ่งบางฉบับนั้นยังมีข้อบกพร่องหลายประการทั้งในด้านโครงสร้างภาษีและการบริหารจัดเก็บภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ส่งผลให้เงินรายได้จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่เพียงพอที่จะนำไปพัฒนาบริหารท้องถิ่น กล่าวคือ ในด้านโครงสร้างภาษีของกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีวิธีการบรรเทาภาระภาษีในส่วนของการลดอัตราภาษีและการยกเว้นภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรม โดยไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าของทรัพย์สินที่ถือครอง ทำให้ผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าน้อยมีภาระภาษีมากกว่าผู้ที่ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าสูง ประกอบกับอัตราภาษีที่ต่ำเกินไปจนกระทั่งไม่เป็นภาระแก่ผู้ถือครองทรัพย์สินทำให้ไม่มีการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินและกระจายทรัพย์สินที่ถือครอง ซึ่งขัดกับหลักประโยชน์ที่ได้รับและขัดกับวัตถุประสงค์ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 สำหรับในด้านการบริหารจัดเก็บภาษีนั้น มีการจัดเก็บภาษีในลักษณะที่เอื้อประโยชน์ให้แก่คนรวยและก่อให้เกิดการเลี่ยงภาษีได้ง่าย อีกทั้ง การประเมินมูลค่าทรัพย์สินซึ่งกำหนดให้ใช้มูลค่าประเมินโดยกรมธนารักษ์ที่เกิดขึ้นจากประเภทของทรัพย์สินและการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ยังขาดประสิทธิภาพและไม่มีความเป็นธรรม ดังนั้น ผู้เขียนเอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาและค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาภาษีทรัพย์สินของประเทศไทยในส่วนพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 และการนำหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดเก็บภาษีความมั่งคั่งของประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทยเป็นหลัก โดยเฉพาะการขยายฐานภาษีทรัพย์สินเพื่อให้รัฐบาลมีรายได้ที่เพียงพอต่อการบริหารพัฒนาประเทศซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศไทย ประกอบกับสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคมและลดความเหลื่อมล้ำในประเทศได้


ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากมูลค่าทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กรณีศึกษา : หอพัก อะพาร์ตเมนต์, ภนิตา ชูวงศ์วณิช Jan 2022

ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากมูลค่าทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กรณีศึกษา : หอพัก อะพาร์ตเมนต์, ภนิตา ชูวงศ์วณิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิธีการประเมินการจัดเก็บภาษีตามสภาพลักษณะของสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นมาตรฐานสากลเพื่อจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และเพื่อศึกษาการประเมิน การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย ที่ไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงถึงประเภทของทรัพย์สินที่ผูกโยงกับการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สิน เช่น หอพัก อะพาร์ตเมนต์ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสียภาษีอัตราที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัย และไม่เสียภาษีในอัตราเชิงพาณิชย์ แม้ว่ามีการจดทะเบียนพาณิชย์ อีกทั้งเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปรับปรุงและข้อเสนอแนะสำหรับการใช้วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เหมาะสมของประเทศไทย โดวิเคราะห์และเปรียบเทียบปัญหาการประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับธุรกิจหอพัก อะพาร์ตเมนต์ในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 และพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 และผู้วิจัยได้เปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของธุรกิจหอพัก อะพาร์ตเมนต์ในประเทศอังกฤษเพื่อใช้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย จากผลการศึกษาพบว่า การประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 การแบ่งประเภททรัพย์สินตามลักษณะการใช้ประโยชน์ได้กำหนดให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจหอพัก อะพาร์ตเมนต์ กับที่อยู่อาศัย เสียภาษีในอัตราเท่ากัน โดยไม่พิจารณาว่าหอพัก อะพาร์ตเมนต์ถือเป็นการประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ ก็นับว่าเป็นการกำหนดเกณฑ์ที่เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้เสียภาษี จึงได้ศึกษาหลักเกณฑ์ในการประเมินราคาและการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินสำหรับธุรกิจหอพัก อะพาร์ตเม้นต์ ในประเทศอังกฤษเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย จึงพบว่าประเทศอังกฤษได้มีการวางหลักเกณฑ์ประเมินมูลค่าทรัพย์สินแบ่งออกเป็น 2 ระบบ ได้แก่ การคำนวณภาษีด้วยวิธีคำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินและใช้วิธีการประเมินค่าเช่ารายปีสำหรับทรัพย์สินที่ใช้ในทางธุรกิจที่ควรได้รับเป็นฐานภาษีหรือวิธีค่ารายปี ซึ่งเป็นวิธีที่คล้ายคลึงกับพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 เมื่อศึกษาเปรียบเทียบทั้งข้อดีและข้อเสียของการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ผู้วิจัยได้ข้อสรุปว่าประเทศไทยควรแบ่งระบบการจัดเก็บภาษีเป็น2ระบบเหมือนประเทศอังกฤษเพื่อแบ่งแยกให้ชัดเจนว่าหากเป็นการใช้เพื่ออยู่อาศัยไม่ได้หาประโยชน์ จะใช้วิธี Council Tax เป็นการคำนวณภาษีจากมูลค่าทรัพย์สิน แต่หากเป็นสถานที่ที่ไม่มีการพักอาศัยหรือไว้ใช้หาประโยชน์ ใช้วิธี Non-Domestic Rate ประเมินมูลค่าทรัพย์สินโดยพิจารณารายได้ ซึ่งมีความคล้ายกับวิธีค่ารายปีที่ประเทศไทยเคยใช้ประเมินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 ซึ่งปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของธุรกิจหอพัก อะพาร์ตเมนต์ในประเทศไทย เพื่อทำให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษี


มาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายด้านการศึกษา, รุ่งนภา ชาติชำนิ Jan 2022

มาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายด้านการศึกษา, รุ่งนภา ชาติชำนิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายด้านการศึกษา จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยแม้ว่าจะมีมาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายสนับสนุนการศึกษาเพื่อบุคคลอื่นซึ่งเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการบริจาคแก่สถานศึกษาและค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร แต่ยังไม่มีมาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายด้านการศึกษาของผู้เสียภาษีเงินได้ แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าประเทศออสเตรเลีย ผู้เสียภาษีสามารถนำรายจ่ายด้านการศึกษาและรายจ่ายที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษามาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เพิ่มเติม โดยกฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจน ทำให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ในขณะที่ประเทศอินเดียมีมาตรการบรรเทาภาระภาษี สามารถนำดอกเบี้ยจ่ายสำหรับเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจากสถาบันการเงินมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ จากการศึกษากฎหมายต่างประเทศดังกล่าว ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางในการกำหนดมาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียภาษีโดยตรงของประเทศไทยเพื่อช่วยให้เกิดแรงจูงใจและส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต


แนวทางในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของเรือยอร์ชและยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ, วิรงรอง นัยวัฒน์ Jan 2022

แนวทางในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของเรือยอร์ชและยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ, วิรงรอง นัยวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เรือยอชต์เป็นยานพาหนะทางน้ำที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 โดยเรือยอชต์เป็นเรือที่มีคุณลักษณะเฉพาะแตกต่างจากเรือที่ใช้ในการสัญจรทางน้ำโดยทั่วไป และเป็นที่ทราบกันดีว่าเรือยอชต์เป็นสินค้าที่มีมูลค่าราคาสูงและมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงดูแลรักษาค่อนข้างสูง จากข้อจำกัดที่กล่าวข้างต้นทำให้มีผู้บริโภคเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่จะมีความสามารถในการจับจ่ายเพื่อเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ครอบครองเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญได้ ซึ่งเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญถือเป็นสินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือยโดยสภาพสำหรับบุคคลทั่วไป แต่อาจไม่ได้เป็นสินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือยสำหรับบุคคลที่มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลอันสมควรที่ภาครัฐจะต้องมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญตามหลักผลประโยชน์ที่ได้รับและหลักความสามารถในการเสียภาษี ประเทศไทยมีมาตรการทางภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของเรือยอร์ชและยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 คือ ประเภทที่ 08.01 สินค้าเรือ โดยกำหนดให้อัตราภาษีสรรพสามิตของเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญอยู่ที่อัตราร้อยละ 50 ตามมูลค่า ต่อมาได้มีกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ให้มีการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญให้เหลืออัตราร้อยละ 0 โดยวัตถุประสงค์ในการลดอัตราภาษีคือ เพื่อประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ต้องการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ซึ่งการที่ภาครัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญได้ ทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้มหาศาลจากการจัดเก็บภาษีเพื่อจะนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศชาติและก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีทำให้เกิดช่องว่างทางสังคมเพิ่มมากขึ้นระหว่างคนรวยและคนจน หากเปรียบเทียบกับประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์และประเทศกรีซ ซึ่งมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศ จะพบว่าทั้งสองประเทศยังคงมีมาตรการทางภาษีเพื่อใช้ในการควบคุมการบริโภค สำหรับเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ โดยประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์จัดเก็บภาษี สรรพสามิต ในอัตราร้อยละ 20 จากราคาขายหรือมูลค่า ในขณะที่ประเทศกรีซจัดเก็บภาษีเรือสันทนาการและเรือ ท่องเที่ยวรายวัน โดยเริ่มต้นจัดเก็บภาษีจากเรือที่ล่องในน่านน้ำกรีซที่ขนาดความยาวตั้งแต่7 เมตรขึ้นไป ซึ่งจะต้อง เสียภาษี16 € ต่อเดือน หรือ 192 € ต่อปีโดยขนาดของเรือยิ่งมีความยาวมากก็จะต้องเสียภาษีมากขึ้น ดังนั้นประเทศไทยควรมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความ สำราญเช่นในอดีตที่เคยปฏิบัติมา โดยกำหนดอัตราภาษีอยู่ที่ร้อยละ 20-30 เพื่อทำให้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตชองเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญของประเทศไทยเกิดความเป็นธรรมสอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดี นอกจากนี้มาตรการทาง กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะต้องมีการกำหนดให้มีความชัดเจนสอดคล้องกันไปด้วย ซึ่งได้แก่การกำหนดคำนิยามของเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญจะต้องมีความชัดเจน โดยจะต้องมีการระบุถึงลักษณะ ประเภท ขนาด หรือน้ำหนักของเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญที่จะทำการจัดเก็บภาษี ดังนั้นภาครัฐจึงควรที่จะประสานกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ ให้มีความชัดเจนและความสอดคล้องกัน เพื่อขจัดปัญหาโต้แย้งในการตีความคำนิยามและลดการใช้ดุลยพินิจของผู้ที่เกี่ยวข้อง และทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น


แนวทางการกับกับดูแลการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan), ศศิธร แซ่อึ๊ง Jan 2022

แนวทางการกับกับดูแลการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan), ศศิธร แซ่อึ๊ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สินเชื่อมีผลต่อเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมายในการกำกับดูแลระบบการเงินและความมั่นคงของสถาบันการเงิน ในการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ตลาดการเงินดิจิทัลนั้น ได้สนับสนุนให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินอย่างแพร่หลายตามแผนยุทธศาสตร์ธปท. ฉบับพ.ศ.2563-2565 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุมัติให้ผู้ประกอบธุรกิจให้สินเชื่อสามารถปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan) พร้อมทั้งออกประกาศฉบับที่ ธปท.ฝกส.(01) ว.977/2563 เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลไปยังสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้นและลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบ อีกทั้งช่วยลดต้นทุนและความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจให้แก่ผู้ให้ประกอบธุรกิจ การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นศึกษาการควบคุมความเสี่ยงในตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับที่ 977/2563 จากการศึกษาพบว่าประกาศฉบับดังกล่าวมีการควบคุมความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลที่ไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคทางการเงินที่ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล เนื่องจากมีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์ที่มากเกินไปในส่วนของการประเมินความน่าเชื่อถือของผู้ขอสินเชื่อและเรื่องการกำหนดให้ใช้เฉพาะข้อมูลทางเลือก (Alternative Data) ดังนั้น เพื่อให้ผู้บริโภคทางการเงินที่ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลได้รับความคุ้มครองมากขึ้น จึงควรมีการแก้ไขเนื้อหาของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับที่ 977/2563 ในส่วนที่มีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อและการต้องใช้เฉพาะข้อมูลทางเลือก ให้มีการบริหารความเสี่ยงที่เข้มข้นขึ้นเพื่อมิให้ผู้บริโภคก่อหนี้เกินตัว โดยกำหนดให้การให้สินเชื่อแก่ผู้บริโภคบนพื้นฐานของการบริหารความเสี่ยงตามหลักการพิจารณาให้สินเชื่อที่คำนึงถึงสถานะทางการเงิน ภาระหนี้สิน หรือความสามารถในการชำระหนี้ของผู้บริโภคเป็นหลักร่วมกับการใช้ข้อมูลทางเลือก อีกทั้งควรเพิ่มแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินจากการถูกฉ้อโกงหรือหลอกลวงจากผู้ประกอบการสินเชื่อดิจิทัลนอกระบบด้วย


หนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์กับภาระในการอ้างสิทธิของธนาคารพาณิชย์, สรชนก ยินดีฉัตร Jan 2022

หนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์กับภาระในการอ้างสิทธิของธนาคารพาณิชย์, สรชนก ยินดีฉัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐได้มีการกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจัดทำหนังสือค้ำประกัน โดยผู้ประกวดราคาหรือผู้ชนะการประมูลจะต้องนำหนังสือค้ำประกันมายื่นต่อหน่วยงานรัฐตามข้อสัญญาเพื่อนำมาเป็นหลักประกันผลงาน โดยหนังสือค้ำประกันจะต้องออกโดยธนาคารและให้ธนาคารเป็นผู้ค้ำประกันผลงาน ซึ่งสามารถยื่นได้ทั้งหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์และหนังสือค้ำประกันในรูปแบบกระดาษ ภาครัฐโดยกรมบัญชีกลางจึงได้มีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาใช้ในการดำเนินงานของระบบจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐ โดยจัดให้มีการทำหลักประกันทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบล็อกเชน เพื่อให้การทำธุรกรรมสามารถทำได้สะดวกรวดเร็ว ลดการจัดเก็บเอกสาร สร้างความน่าเชื่อถือให้กับหนังสือค้ำประกัน มีความโปร่งใส และมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น อย่างไรก็ดีการออกหนังสือค้ำประกันในรูปแบบกระดาษมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน อีกทั้งมีความเสี่ยงในการทุจริตทั้งปลอมแปลงเอกสารและลายมือชื่อ รวมถึงมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ง่ายกว่าหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผ่านมาธนาคารได้มีการนำข้ออ้างต่างๆ ในการปฏิเสธที่จะชำระหนี้ในฐานนะผู้ค้ำประกันให้กับเจ้าหนี้ โดยมีการนำข้ออ้างว่าหนังสือค้ำประกันเป็นเอกสารปลอม หรือเจ้าหนี้ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาค้ำประกัน การที่ลูกหนี้มีการปลอมแปลงเอกสารหนังสือค้ำประกัน หรือกรณีที่เจ้าหนี้คืนหนังสือค้ำประกันโดยความเข้าใจผิดในขณะที่หนี้ประธานยังไม่สิ้นสุด ซึ่งธนาคารมักใช้เหตุผลว่าธนาคารได้รับหนังสือค้ำประกันคืนมาอย่างสุจริตและเมื่อธนาคารได้รับหนังสือค้ำประกันธนาคารสามารถยกเลิกภาระผูกพันได้ตามธรรมเนียมปฏิบัติของธนาคาร ทั้งนี้เมื่อเกิดข้อพิพาทและได้มีการนำสืบพบว่าส่วนใหญ่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของธนาคารเอง ธนาคารยังคงมีภาระผูกพันในฐานะผู้ค้ำประกันและยังคงต้องชำระหนี้แทนลูกหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ดังนั้นหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถเข้ามาช่วยลดภาระในการอ้างสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้แทนลูกหนี้ รวมถึงยังสามารถลดปัญหาข้อพิพาทและการพิสูจน์เอกสารได้เนื่องจากการออกหนังสือค้ำประกันผ่านระบบบล็อกเชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบและอนุมัติธุรกรรมนั้นก่อนข้อมูลจึงจะถูกบันทึกลงบนระบบบล็อกเชน ทำให้โอกาสในการทุจริตหรือปลอมแปลงเอกสารทำได้ยากและยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของทุกฝ่าย


แนวทางการจัดเก็บภาษีจากการใช้ทรัพยากรน้ำของสระว่ายน้ำในประเทศไทย, สุชาดา ณัฏฐาชัย Jan 2022

แนวทางการจัดเก็บภาษีจากการใช้ทรัพยากรน้ำของสระว่ายน้ำในประเทศไทย, สุชาดา ณัฏฐาชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันสระว่ายน้ำในประเทศไทยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เดิมสระว่ายน้ำมักมีวัตถุประสงค์เพื่อการสันทนาการ เพื่อการกีฬา หรือเพื่อการรักษาบำบัด แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปสระว่ายน้ำกลายเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความหรูหราฟุ่มเฟือย สังเกตได้จากโครงการบ้านที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ที่ได้มีการขายบ้านพร้อมสระว่ายน้ำส่วนตัวหรือแม้กระทั่งโรงแรมที่มีการสร้างสระว่ายน้ำส่วนตัวภายในห้องพักหรือพูลวิลล่า ส่งผลให้สระว่ายน้ำมีจำนวนมากขึ้นทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรน้ำที่มากขึ้นเช่นกันโดยก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำและการแย่งใช้น้ำจากทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด เอกัตศึกษาจึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวทางในการกำหนดมาตรการทางภาษีจากการใช้ทรัพยากรน้ำของสระว่ายน้ำ โดยศึกษากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศได้แก่กฎหมายของประเทศฝรั่งเศสและประเทศกรีซ จากการศึกษาผู้เขียนพบว่า ประเทศไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับการจัดเก็บภาษีจากการใช้ทรัพยากรน้ำของสระว่ายน้ำ ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศสมีการจัดเก็บภาษีการพัฒนา และประเทศกรีซมีการจัดเก็บภาษีฟุ่มเฟือย จึงเสนอให้นำกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสและประเทศกรีซเป็นแบบอย่างในการกำหนดมาตรการทางภาษีการใช้ทรัพยากรน้ำของสระว่ายน้ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย


แนวทางการกำกับดูแลการผลิตและการให้ออโต้จีนัสวัคซีนในราชอาณาจักรไทย, หาญชัย วงศ์จักรแก้ว Jan 2022

แนวทางการกำกับดูแลการผลิตและการให้ออโต้จีนัสวัคซีนในราชอาณาจักรไทย, หาญชัย วงศ์จักรแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ออโต้จีนัสวัคซีน เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อจุลชีพที่เป็นต้นเหตุของการระบาดในฟาร์ม เมื่อผลิตเสร็จจะนำวัคซีนนั้นกลับไปใช้ ณ ฟาร์มที่เกิดปัญหา ดังนั้นจึงเป็นวัคซีนที่มีความจำเพาะต่อโรคระบาดที่เกิดขึ้นและสามารถลดความเสียหายและควบคุมการระบาดของโรคได้รวดเร็ว อย่างไรก็ดี สหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และเครือรัฐออสเตรเลีย การออกใบอนุญาตการผลิต จะต้องออกตามใบสั่งจากสัตวแพทย์เท่านั้น โดยได้รับการยกเว้นจากการขึ้นทะเบียนตำรับยา เพื่อนำไปใช้กับสัตว์ที่วินิจฉัยสาเหตุของการเกิดโรค เฉพาะในกรณีที่พบว่าไม่มีวัคซีนขึ้นทะเบียน หรือมีวัคซีนที่มีทะเบียนแต่ไม่ตรงสเตรนของสายพันธุ์ของเชื้อก่อโรคหรือมีหลักฐานแสดงว่าวัคซีนที่มีอยู่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ กฎหมายต่างประเทศที่ใช้ในการกำกับดูแล มีทั้งความเหมือนและความแตกต่าง โดยขึ้นกับบริบทต่อการบริหารจัดการและปัญหาอุปสรรค รวมทั้งข้อจำกัดของแต่ละประเทศ เนื่องจากเมื่อพิจารณาถึงกฎหมายของราชอาณาจักรไทยในปัจจุบัน ที่ใช้ในการบริหารจัดการเพื่อกำกับออโต้จีนัสวัคซีน อยู่ภายใต้การกำกับของพระราชบัญญัติยา พุทธศักราช 2510 ในมาตรา 4 เป็นสาระสำคัญหลัก ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตสถานที่ ผลิต นำเข้า ขาย และขึ้นทะเบียน คือมาตรา 12 มาตรา 79 และ มาตรา 83 (3) สำหรับเรื่องการกำหนดและข้อยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาตผลิต ขาย นำสั่ง ในราชอาณาจักรไทยจะอาศัยมาตรา 13 (1) และ 13 (5) ซึ่งเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาต และมาตรา 13 (2) ยังคงมีข้อให้ตีความทางกฎหมายกับแนวทางปฏิบัติตามข้อเท็จจริง อันเนื่องมาจาก ระบบการเลี้ยงสัตว์เป็นระบบ “ฝูง” โดยมาตรา 13 (1) ได้กำหนดข้อยกเว้น ไม่ใช้บังคับแก่ “(1) การผลิตยาซึ่งผลิตโดยกระทรวง ทบวง กรม ในหน้าที่ป้องกันหรือบำบัดโรค สภากาชาดไทย และองค์การเภสัชกรรม” กฎหมายที่ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะถูกหยิบขึ้นมาใช้เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติต่อระเบียบการกำกับดูแลออโต้จีนัสวัคซีน โดยปัจจุบันบทบาทหน้าที่และอำนาจการรับผิดชอบหลัก เป็นของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แต่เพียงผู้เดียว ตามกระบวนการกรอบการปฏิบัติเดิม เพราะแท้จริงแล้ว หากกรมปศุสัตว์ จะกระทำการแทนก็ย่อมจะกระทำได้โดยชอบ นอกจากนี้ผู้เขียนยังเสนอให้มีการออกร่าง “กฎหมายเฉพาะ” สำหรับบริหารจัดการโดยเฉพาะ โดยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับยา สารชีววัตถุ หรือวัคซีนสัตว์โดยตรงเป็นการเฉพาะ หรือทำการส่งเสริมสำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ (Bureau of Veterinary Biologics) ของกรมปศุสัตว์ ที่มีอยู่แล้วให้มาบริหารจัดการออโต้จีนัสวัคซีนเป็นการเฉพาะโดยประกอบด้วยคณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ เป็นผู้ทำงานที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับออโต้จีนัสวัคซีนอย่างแท้จริง


แนวทางการกำกับดูแลการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนระหว่างประเทศ ยังไม่สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง, อัมรินทร์ ปุณณุปูรต Jan 2022

แนวทางการกำกับดูแลการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนระหว่างประเทศ ยังไม่สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง, อัมรินทร์ ปุณณุปูรต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษา เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการขนส่งทางถนน เป็นการขนส่งทางบกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน การขนส่งสินค้าต่าง ๆ จะมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของสินค้าที่ทำการขนส่ง สินค้าควบคุมอุณหภูมิเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพของสินค้า ด้วยวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ได้ศึกษาความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอาหารควบคุมอุณหภูมิและอุปกรณ์พิเศษเพื่อใช้ใน การขนส่ง ของสหภาพยุโรป ที่มีการกำหนดมาตรฐานพร้อมทั้งการตรวจสอบพาหนะและอุปกรณ์ที่ ใช้ในการขนส่งสินค้าประเภทนี้ เพื่อนำมาหาแนวทางที่เหมาะสมในการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับพาหนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนโดยเฉพาะ อีกทั้งประเทศไทยยังได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ที่ภาคผนวก 3 ว่าด้วยเรื่องการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ ได้กล่าวถึงมาตรฐานและโครงสร้างที่เหมาะสมของพาหนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าประเภทนี้ไว้ แต่ภาคผนวกนี้ได้ถูกกำหนดให้เป็นเพียงการแนะนำแนวทางสำหรับประเทศภาคีเกี่ยวกับข้อกำหนดของการขนส่งสินค้าประเภทนี้เท่านั้น ไม่มีสภาพบังคับในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติ จะเห็นได้ว่า ความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคี ยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานของพาหนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนระหว่างประเทศไว้แต่อย่างใด จากการศึกษากฎหมายภายในของประเทศไทย พบว่า ยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับพาหนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนโดยเฉพาะ มีเพียงกฎหมาย ที่กำกับดูแลเฉพาะตัวสินค้าและกำกับดูแลพาหนะหรือการขนส่งเป็นการทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ในการจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนระหว่างประเทศ ควรมีการบัญญัติกฎหมายในเรื่องการขนส่งสินค้าประเภทนี้ไว้โดยเฉพาะขึ้นมาใหม่ ในรูปแบบของพระราชบัญญัติ ที่มีข้อกำหนดด้านพาหนะ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ การตรวจสอบอุปกรณ์ และการประสานกฎระเบียบหรือการอำนวยความสะดวกในการขนส่งระหว่างประเทศ มีกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานกำกับดูแล การตรวจและปล่อยผ่านสินค้า ให้กรมศุลกากรมีหน้าที่รับผิดชอบ และในส่วนของสินค้าที่ขนส่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า เช่น ผักผลไม้ หน่วยงาน ที่ดำเนินการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของสินค้าควบคุมอุณหภูมิ จะมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องและมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติจริงในการขนส่งทางถนน


แนวทางการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ สำหรับการจัดการเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ, กนกกาญจน์ บุญเปี่ยม Jan 2022

แนวทางการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ สำหรับการจัดการเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ, กนกกาญจน์ บุญเปี่ยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับการจัดการเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยศึกษาถึงปัญหาและผลกระทบเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย และหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย พร้อมทั้งศึกษาหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับการจัดการเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศออสเตรเลียเพื่อเป็นแนวทางในการนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาและผลกระทบเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยพบว่าประเทศไทยมักประสบกับปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะมาจากปัจจัยเสี่ยงทางธรรมชาติ หรือปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายต่อชุมชน สังคม และภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศ และเป็นผลทำให้รัฐบาลมีเงินงบประมาณไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ที่มีความสำคัญเช่นเดียวกันตามมา ดังนั้นการมีงบประมาณที่เพียงพอและเหมาะสมในการดำเนินโครงการเพื่อรับมือหรือจัดการกับเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติจึงนับได้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ เพราะจะสามารถช่วยส่งเสริมและพัฒนาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถรับมือหรือจัดการกับเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นผลทำให้ช่วยบรรเทาความสูญเสียและความเสียหายอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังไม่เคยมีการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับการจัดการเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติมาก่อน จึงได้มีการศึกษาถึงหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ และผลที่ได้จากการจัดเก็บภาษีดังกล่าวในประเทศออสเตรเลีย เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าประเทศออสเตรเลียประสบกับปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติในบริบทที่คล้ายคลึงกันกับประเทศไทย และรัฐบาลของประเทศออสเตรเลียได้ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ จึงได้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อหน่วยงานบริการดับเพลิงและบริการฉุกเฉินของแต่ละรัฐ เพื่อให้สามารถจัดการกับเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีกรอบในการจัดการภัยพิบัติที่ดี และสามารถปฏิบัติได้จริง ดังนั้นจึงมีความเหมาะสมที่จะนำแนวทางการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับการจัดการเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศออสเตรเลียมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย เพื่อเป็นการสรรหางบประมาณเพิ่มเติมให้กับหน่วยงานของรัฐบาล อีกทั้งยังสามารถนำรายได้จากการจัดเก็บภาษีไปใช้ในการจัดการกับเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ


แนวทางการนำข้อมูลด้านราคาโอนมาใช้ประโยชน์ในทางศุลกากร กรณีการกำหนดราคาศุลกากรในธุรกรรมของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติ, ธันยนันท์ ธีระพงศ์ภูเบศ Jan 2022

แนวทางการนำข้อมูลด้านราคาโอนมาใช้ประโยชน์ในทางศุลกากร กรณีการกำหนดราคาศุลกากรในธุรกรรมของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติ, ธันยนันท์ ธีระพงศ์ภูเบศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศและการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งในทางศุลกากร ธุรกรรมการซื้อขายระหว่างกันของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติดังกล่าว เข้าข่ายเป็นธุรกรรมการซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความสัมพันธ์กัน ที่อาจเป็นมูลเหตุให้ไม่สามารถรับราคาศุลกากรตามวิธีการกำหนดราคาศุลกากรวิธีที่ 1 ราคาซื้อขายของที่นำเข้าได้ เนื่องจากราคาซื้อขายระหว่างกันดังกล่าว อาจมีความแตกต่างจากราคาซื้อขายกับคู่สัญญาอื่นๆ ที่เป็นอิสระต่อกัน เพื่อรองรับแนวโน้มรูปแบบการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติที่เพิ่มมากขึ้นดังกล่าว WCO โดยความร่วมมือจาก OECD จึงได้ตีพิมพ์คู่มือ WCO Guide to Customs Valuation and Transfer Pricing ขึ้น โดยสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสาร Transfer Pricing Study เอกสาร Transfer Pricing Documentation เอกสาร Advance Pricing Arrangement (APA) หรือเอกสารราคาโอนนอื่นใดที่ระบุถึงรูปแบบความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย มาใช้ประกอบการตรวจสอบสภาพแวดล้อมการขาย ก่อนพิจารณากำหนดราคาศุลกากร พร้อมทั้งสนับสนุนให้หน่วยงานศุลกากรนำกลไกเรื่องการวินิจฉัยราคาศุลกากรล่วงหน้า (Advance Ruling on Customs Valuation) มาใช้ในกรณีธุรกรรมที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้นำแนวทางของคู่มือดังกล่าวมาใช้กับการกำหนดราคาศุลกากร จากการศึกษาแนวทางการนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสารที่เกี่ยวข้องด้านราคาโอน มาใช้ประกอบการกำหนดราคาศุลกากรของสหราชอาณาจักร ประเทศแคนาดา ประเทศออสเตรเลีย สาธารณรัฐเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่า แม้แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้ของแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันไป แต่มีข้อสังเกตว่า ทุกประเทศต่างมีจุดร่วมที่เหมือนกันคือ การมีข้อกฎหมายหรือแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยในกรณีของสหราชอาณาจักร และประเทศแคนนาดา มีการยอมให้กลุ่มบรรษัทข้ามชาติสามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสารด้านราคาโอนมาใช้ในการประกอบการสำแดงราคาศุลกากรได้ กรณีของประเทศออสเตรเลีย และสาธารณรัฐเกาหลี มีการยอมให้กลุ่มบรรษัทข้ามชาติสามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสารด้านราคาโอนมาใช้ประกอบการขอรับคำวินิจฉัยราคาล่วงหน้าได้ และในกรณีของสาธารณรัฐประชาชนจีนมีการยอมให้กลุ่มบรรษัทข้ามชาติสามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสารด้านราคาโอนมาใช้ได้ทั้งในการประกอบการสำแดงราคาศุลกากรและการใช้ประกอบการขอรับคำวินิจฉัยราคาล่วงหน้า สำหรับกรณีของประเทศไทย ผู้ศึกษาเห็นควรให้มีการออกแนวปฏิบัติหรือเพิ่มถ้อยความยอมรับ ในกฎหมาย โดยการออกประกาศกรมศุลกากรฉบับใหม่ ที่มีสาระสำคัญว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างราคาศุลกากรและราคาโอน และการให้การยอมรับการนำเอกสารที่เกี่ยวข้องด้านราคาโอนมาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดราคาศุลกากร และเห็นควรให้มีการปรับถ้อยความในแบบคำร้องขอให้กำหนดราคาศุลกากรล่วงหน้า ของประกาศกรมศุลกากรที่ 17/2561 ให้มีการเพิ่มข้อความ “เอกสารที่เกี่ยวข้องด้านราคาโอน” เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารที่มีความจำเป็นต่อการกำหนดราคาศุลกากรล่วงหน้า กรณีที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความสัมพันธ์กัน อีกทั้งเห็นควรให้มีการจัดทำโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานศุลกากรและสรรพากร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาศุลกากรและราคาโอนล่วงหน้า ในรูปแบบกระบวนการปรึกษาหารือร่วมกันสามฝ่ายร่วมกับผู้นำเข้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประเมินราคาศุลกากร ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติ รวมทั้งเป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดี


แนวทางในการพัฒนาการรับรองมาตรฐานผักอินทรีย์ในประเทศไทย, นิภาส แสงจันทร์ Jan 2022

แนวทางในการพัฒนาการรับรองมาตรฐานผักอินทรีย์ในประเทศไทย, นิภาส แสงจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการในการกำกับดูแล และการรับรองมาตรฐานผักอินทรีย์ของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันการเลือกที่จะบริโภคผักที่ปลอดสารพิษ และได้รับการรับรองที่ถูกต้องถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ รวมทั้งเรื่องการได้รับมาตรฐานต่างๆในการส่งออกหรือมาตรฐานในการรับรองที่เป็นที่ยอมรับ ปัจจุบันมีการพัฒนาตามเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและเทรนด์การดูแลสุขภาพที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นของโลก เราควรให้ความสำคัญกับการบริโภคผักอินทรีย์ที่มีมาตรฐานที่ดีเพื่อให้สอดคล้อง กับความต้องการของประชากร เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างมาตรฐานในการรับรองสินค้าผักอินทรีย์จากหน่วยงานภาครัฐเองให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยนั้นการรับรองมาตรฐานโดยหน่วยงานภาครัฐ ของประเทศไทย ได้มีการกำหนดใช้มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กําหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร โดยคณะทำงานเฉพาะกิจปรับปรุงมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทย และผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการรับรองเกษตรอินทรีย์โดยภาครัฐ และในส่วนขององค์กรภาคเอกชนในประเทศไทย สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) รวมถึงสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movement – IFOAM) ได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์เป็นที่ยอมรับในกลุ่มประเทศในยุโรปและในปัจจุบันนั้นก็พบว่าการรับรองผักอินทรีย์ในประเทศไทย ในการรับรองโดยหน่วยงานภาครัฐไม่ได้การยอมรับมาตรฐานสากล และไม่ได้ใช้เป็นมาตรฐานบังคับในส่วนของหน่วยงานที่ภาครัฐให้การรับรอง แนวทางการสร้างมาตรฐานผักอินทรีย์ในประเทศไทยปัจจุบัน ยังขาดความชัดเจนในเรื่องของการกำหนดมาตรฐานของสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะผักอินทรีย์ ให้เป็นมาตรบังคับ และส่งเสริมให้เป็นที่ยอมรับของสากล ทำให้มีสินค้าที่ผลิตได้ไม่มีมาตรฐานการรองรับที่ดี ส่งผลในเรื่องของความเชื่อมั่นกับตัวสินค้าในมุมมองของผู้บริโภคอีกด้วยจึงควรกำหนดแนวทางการพัฒนามาตรฐานผักอินทรีย์ให้มีมาตรฐานที่ดี โดยเปรียบเทียบกับการรับรองมาตรผักอินทรีย์จากต่างประเทศเพื่อการรับรองมาตรฐานผักอินทรีย์ในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองโดยหน่วยงานของภาครัฐให้มีมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้นและเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศอีกด้วย ผู้ศึกษาเห็นว่าตามที่ได้ไปศึกษามาในการรับรองมาตรฐานในต่างประเทศ โดยศึกษามาตรการของประเทศแคนนาดามีระบบเกษตรอินทรีย์แคนาดาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลแคนาดา (Canada Organic Regime-COR) ซึ่งได้กำหนดกฎระเบียบผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Products Regulations, 2009-SOR/2009-176) ปรากฏอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร (CANADA Agricultural Products Act) ซึ่งเนื้อหาว่าด้วยเรื่องของการรับรองหน่วยงาน รับรองระบบงาน หน่วยงานรับรอง การติดฉลาก และการค้าระหว่างประเทศ และประเทศญี่ปุ่นมีระบบเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลญี่ปุ่น กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries - MAFF) ซึ่งได้กำหนดแนวปฏิบัติระบบเกษตรอินทรีย์หน่วยงานที่สามารถให้การรับรอง และสามารถติดฉลาก Organic JAS และประเทศญี่ปุ่น และประเทศแคนนาดาเองจะให้ความสำคัญในการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานภาครัฐเพื่อรับรองทั้งสินค้านำเข้าและส่งออกได้รวมถึงพัฒนาระเบียบต่างๆให้เป็นที่ยอมรับของสากลรวมถึงเข้าร่วมมาตรฐานต่างๆของแต่ละประเทศที่เป็นที่ยอมรับ ดังนั้นเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับใช้ในประเทศไทย และเป็นแนวทางในการสร้างมาตรฐานในประเทศไทยของหน่วยงานภาครัฐที่ให้การรับรองให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากลอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทย ที่จะได้รับรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการส่งออกหรือสินค้ามีมาตรฐานที่ยอมรับมากขึ้นในประเทศ และเพื่อให้เกิดการพัฒนาในการรับรองมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐ สร้างความเชื่อมั่น (Credibility) ที่เป็นสิ่งสำคัญและเป็นหัวใจหลักของของการเกษตรและผู้ชอบดูแลสุขภาพ รวมถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ที่หวังว่าภาครัฐจะสามารถให้การรับรองในผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์เพื่อส่งออกไปขายยังต่างประเทศได้หน่วยงานภาครัฐจึงควรตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นมาเพื่อศึกษาหรือควบรวมกับภาคเอกชนให้สามารถมีมาตรฐานรับรองที่สามารถรับรองถึงมาตรฐานการนำเข้าสินค้า และส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศได้ เพื่อให้การรับรองเป็นมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐมีมาตรฐานมากขึ้นนั้นเอง และมาตรฐานของประกาศกระทรวงเกษตร เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์นั้นก็ควรแก้ไขให้ใช้เป็นเป็นมาตรฐานบังคับในการรับรองมาตรฐาน เพื่อให้การที่จะนำเข้า และส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศได้นั้นจะต้องยึดตามมาตรฐานตามกำหนดนี้ ซึ่งดูจากข้อมูลของต่างประเทศแล้วได้ใช้เป็นเกณฑ์บังคับ การรับรองมาตรฐานของแต่ละหน่วยงานควรจะต้องมีมาตรฐานที่ดีขึ้นและยังเป็นผลดีต่อทั้งผู้บริโภคอีกด้วยในการที่จะได้ซื้อสินค้าที่มีมาตรฐานที่ดีโดยที่หน่วยงานภาครัฐนั้นผ่านการตรวจสอบมาแล้วนั้นเอง อีกทั้งยังเป็นความสบายใจของผู้บริโภคที่จะได้บริโภคสินค้าที่ปลอดภัย


ความไม่สอดคล้องของการกำหนดวงเงินคุ้มครองเงินฝากตามพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 กับมาตรการส่งเสริมการออมเกษียณอายุ, ศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ Jan 2022

ความไม่สอดคล้องของการกำหนดวงเงินคุ้มครองเงินฝากตามพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 กับมาตรการส่งเสริมการออมเกษียณอายุ, ศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 คุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท ไม่ได้สัดส่วนกับนโยบายมาตรการส่งเสริมการออม ในการวางแผนเกษียณอายุ ในอดีตประเทศไทยไม่มีระบบคุ้มครองเงินฝากที่ชัดเจน การดูแลผู้ฝากเงินขึ้นกับนโยบายของทางการในแต่ละสถานะการณ์ จนในปี 2540 ประเทศไทยประสบวิกฤติการณ์ทางการเงินขั้นรุนแรง โดยเฉพาะการเกิดปัญหาฐานะหรือการดำเนินงานของธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 คณะรัฐมนตรีจึงได้ประกาศให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้เต็มจำนวน โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้รับหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินที่ประสบปัญหา ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลกได้เสนอมาตราการจัดการกับปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงินซึ่งก็คือ “ระบบคุ้มครองเงินฝาก” วงเงินคุ้มครองที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 จากคุ้มครองเต็มทั้งจำนวนแต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท ไม่เกิน 50 ล้านบาท และ ไม่เกิน 10 ล้านบาท จนกระทั้งบังคับใช้วงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาท ในวันที่ 11 สิงหาคม 2564 ผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกระบวนการชำระบัญชี ปัจจุบันสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 12 ล้านคน คิดเป็นอัตราร้อยละ 18 ของประชาการทั้งหมด โดยคาดการณ์ว่าในปี 2565 ประเทศไทยจะเป็นสังคม “สูงอายุอย่างสมบูรณ์” รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจึงมีโนบายในการจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อเป็นช่องทางการออมขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองเพื่อการชราภาพ ให้ได้รับผลประโยชน์ในรูปบำนาญอันทำให้แรงงานนอกระบบได้รับการดูแลจากภาครัฐ โดยกลุ่มที่ยังไม่มีระบบสวัสดิการรองรับในวัยเกษียณอายุ หรือการวางแผนเกษียณ เมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้หลังเกษียณ ต้องมีเงินออมหลังเกษียณอายุจำนวนเงิน 2,710,723.20 บาท ในช่วงระยะเวลา 20 ปี การศึกษานี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการบทบัญญัติกฎหมาย บทความ วารสาร สิ่งตีพิมพ์ และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสื่อข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต (Internet) ภาษาไทย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเสนอแนวทางและข้อควรพิจารณาในการพัฒนากฎหมาย เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบสถาบันการเงิน ทำให้ส่งเสริมการออมในประเทศ จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 คุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท ไม่ได้สัดส่วนกับนโยบายมาตรการส่งเสริมการออม และจากการคำนวณตามแผนการออมของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือแผนการออมของสถาบันการเงิน เช่นรูปแบบการออมเพื่อการเกษียณใน “กองทุนรวม” ต่างๆ ต้องวางแผนการสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ ต้องมีเงินออม 5,000,0000 บาท


แนวทางการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ (Non-Fungible Token: Nft) : ศึกษาเฉพาะกรณีบุคคลธรรมดา, เกวลิน อยู่เย็น Jan 2022

แนวทางการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ (Non-Fungible Token: Nft) : ศึกษาเฉพาะกรณีบุคคลธรรมดา, เกวลิน อยู่เย็น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาในการจัดเก็บภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ (NFT) ใน 4 ด้านหลัก ๆ ได้แก่ (1) การจัดประเภทเงินได้ (2) ค่าใช้จ่ายที่ถือเป็นรายจ่ายทางภาษี (3) หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ (4) การพิจารณาสถานะทางกฎหมายของ NFT ภายใต้กฎหมายภาษีีมูลค่าเพิ่ม โดยได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย เพื่อนำมาวิเคราะห์และหาข้อเสนอแนะในการกำหนดแนวทางการจัดเก็บภาษีข้างต้นให้เหมาะสมกับประเทศไทยต่อไป สำหรับประเทศไทยพบว่า กรณีที่ NFT ไม่เข้าลักษณะตามคำนิยาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯและมีเงินได้จากการซื้อขาย NFT ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นเงินได้ฝั่งผู้สร้าง NFT หรือนักลงทุน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามความจำเป็นและสมควร ในขณะที่ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีขณะทำธุรกรรมซื้อขาย NFT ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ฌ) ส่วนหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับ NFT ถือว่าเป็นแหล่งเงินได้ในประเทศไทยหรือในต่างประเทศให้ใช้หลักพิจารณาจาก Wallet ที่ใช้ในการซื้อขาย NFT อีกทั้งการพิิจารณาสถานะทางกฎหมายของ NFT ภายใต้กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม สรุปได้ว่า NFT เข้าลักษณะเป็นสินค้าอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้มีการกำหนดแนวทางในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ จากการศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเกี่ยวกับ NFT ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียพบว่า แนวทางการจัดเก็บภาษี NFT นั้นเหมือนกับแนวทางการจัดเก็บภาษีในสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ จึงส่งผลให้เกิดแตกต่างกับประเทศไทย เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียมองว่า เงินได้ที่เกิดจากการซื้อขาย NFT ของนักลงทุนควรเสียภาษีจากส่วนเกินทุน (Capital Gain) แทนเงินได้ปกติ (Ordinary Income) และกรณีในส่วนของการพิจารณาหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้จากการซื้อขาย NFT จะมุ่งพิจารณาถิ่นที่อยู่หรือสัญชาติของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเป็นสำคัญ นอกจากนี้ แนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของ NFT ทั้ง 2 ประเทศนั้นมีแนวทางให้ NFT อยู่ภายใต้บังคับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนเช่นกับประเทศไทย แต่จะมีการกำหนดหน้าที่และวิธีการในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มไว้อย่างชัดเจน โดยให้ NFT Marketplace ทำการหน้าที่จัดเก็บภาษีขายหรือภาษีสินค้าและบริการและนำส่งให้แก่ภาครัฐ ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรนำหลักการทางภาษีที่มีแนวทางอย่างชัดเจนในต่างประเทศมาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมต่อไป