Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Business Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

Human Resources Management

Chulalongkorn University

Articles 1 - 30 of 46

Full-Text Articles in Business

การวิเคราะห์มิติทางสังคมของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์, ณัฐดนยา ทิพยจารุโภคา Jan 2022

การวิเคราะห์มิติทางสังคมของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์, ณัฐดนยา ทิพยจารุโภคา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในมิติทางสังคม สำรวจประเด็นสำคัญ และผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วและอาจจะเกิดขึ้นทางด้านสังคม สุขภาพ ที่อาจจะมาจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ โดยผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยหรือกระบวนวิธีการวิจัยประกอบไปด้วยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์บุคคลจำนวน 20 คน จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเขียนรายงานผลงานวิจัยในลักษณะเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 โรงพยาบาลเอกชนต้องหาโอกาสใหม่ๆ ทดแทนการรายได้จากกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนไทย จึงได้หันไปหากลุ่มลูกค้าจากต่างประเทศซึ่งเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อสูง ต่อมารัฐบาลประสบปัญหาขาดดุลเดินสะพัดติดต่อกันหลายปี จึงได้มีการกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย โดยไทยมีการท่องเที่ยวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว มีกลุ่มสถานพยาบาลเอกชนที่ได้รับมาตรฐานด้านการบริการด้านสุขภาพหลายแห่ง ด้วยจุดแข็งเหล่านี้ จึงพัฒนาแผนและนโยบายเพื่อการเป็นศูนย์กลางสุขภาพ (Medical hub) ในระดับเอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกมองไปในด้านของผลดีด้านเศรษฐกิจรายได้กำไรที่เพิ่มขึ้นของประเทศ จึงมีประเด็นว่าผลกระทบการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์นั้นมักจะไม่ได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเมื่อมีการผลักดันนโยบายนี้ ดังนั้น การศึกษามิติทางสังคมของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ได้สำรวจประเด็นสำคัญไว้ดังนี้ 1. แนวคิดและนิยามของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) และนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourists) 2. ผลกระทบต่ออัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์และอัตราค่ารักษาพยาบาล 3. ผลกระทบจากโลกาภิวัตน์และกระบวนการทำให้เป็นสินค้า 4. มาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล 5. ผลกระทบด้านการแพร่กระจายปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา และโรคติดต่อที่ระบาดครั้งใหญ่ ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ ในอีกมุมหนึ่ง การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มีส่วนที่ทำให้การรักษาพยาบาลในยุคปัจจุบันเปรียบเสมือนเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและกลุ่มคนที่มีฐานะด้านการเงิน เรื่องนี้จึงมีความซับซ้อนและต้องทำความเข้าใจจากหลายแง่มุม และจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะมีการศึกษาพิจารณาจากแง่มุมที่ไม่ได้มีการพูดถึงมากนัก ทั้งในเรื่องของคำนิยามและความหมายของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ตามกระแสเสรีนิยมใหม่ซึ่งทำให้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์โยงใยได้กับข้อถกเถียงเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมธุรกิจและอุตสาหกรรมนี้ การทำความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นจะนำไปสู่การสร้างแนวทางการเสริมความเป็นธรรมด้านสุขภาพและการกระจายผลประโยชน์ให้สังคมโดยรวมได้ต่อไป


พลวัตแนวคิดและปฏิบัติการและการปรับตัวของคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน หลังปี 2549, นิภาวรรณ แก้วแสนทิพย์ Jan 2022

พลวัตแนวคิดและปฏิบัติการและการปรับตัวของคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน หลังปี 2549, นิภาวรรณ แก้วแสนทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าพัฒนาการแนวคิดและปฏิบัติการของคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) และการปรับตัวของ กป.อพช. ภายหลังการรัฐประหาร 2549 และหลังการรัฐประหาร 2557 ผ่านการวิเคราะห์ปฏิบัติการของ กป.อพช. และเครือข่าย ภายใต้แนวคิดเรื่องประชาสังคมและกระบวนการสร้างกรอบโครง โดยหลังการรัฐประหารปี 2549 – 2557 วิเคราะห์ผ่าน 3 ปฏิบัติการได้แก่ 1) การจัดทำข้อเสนอแนะรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และการประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2) การผลักดันแนวคิดเกษตรกรรมยั่งยืน และ 3) การผลักดันโฉนดชุมชน สำหรับหลังการรัฐประหาร 2557 ศึกษาผ่าน 3 ปฏิบัติการได้แก่ 1) ขบวนการจัดทำข้อเสนอแนะรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และการประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2) การคัดค้านนโยบายทวงคืนผืนป่า และ 3) การคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ผลการศึกษาพบว่า พลวัตแนวคิดและปฏิบัติการขององค์กรพัฒนาเอกชน สามารถแบ่งออกเป็น 5 ช่วงเวลาสำคัญ ช่วงแรก ช่วงหลังป่าแตก ปี 2523 ถึงช่วงปี 2534 เน้นการทำงานพัฒนาชนบท ภายใต้แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน ช่วงที่สอง ช่วงหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ถึงช่วงปี 2543 องค์กรพัฒนาเอกชนเติบโตภายใต้เงื่อนไขการทำงานสนับสนุนชาวบ้านในการเคลื่อนไหวท้าทายอำนาจรัฐจากการแย่งชิงทรัพยากร ด้วยแนวคิดเรื่องสิทธิชุมชน ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็ผลักดันทางเลือกการพัฒนาเข้าไปในรัฐ ช่วงที่สาม ยุครัฐบาลทักษิณ ปี 2544 ถึงช่วงปี 2549 องค์กรพัฒนาเอกชนผลักดันนโยบายเข้าไปในรัฐแต่สุดท้ายรัฐเข้ามาแทนที่ ในอีกด้านหนึ่งก็พยายามท้าทายอำนาจรัฐและนำไปสู่ขบวนการขับไล่รัฐบาล ช่วงที่สี่ ยุคหลังรัฐประหารปี 2549 ถึงการรัฐประหารปี 2557 เกิดการแตกแยกภายใน แต่องค์กรพัฒนาเอกชนพยายามเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันเชิงโครงสร้างและปรับตัวเป็นองค์กรวิชาชีพ ช่วงที่ห้า ช่วงรัฐประหารปี 2557 ถึงช่วงการเลือกตั้งปี 2562 แม้จะยังมีการการแบ่งแยกภายใน แต่ กป.อพช. ยังเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันเชิงโครงสร้างและตอบโต้นโยบายรัฐ ในขณะที่บางส่วนเข้าไปผนวกกับรัฐ สำหรับการปรับตัวของ กป.อพช. พบว่าภายหลังการรัฐประหาร 2549 พื้นที่ขององค์กรพัฒนาเอกชนหดแคบและมีความขัดแย้งภายใน แต่ กป.อพช.และเครือข่าย มีความพยายามในการปรับตัวใน 4 ลักษณะ …


บทบาทของพระสงฆ์ด้านสาธารณสงเคราะห์ในบริบทพุทธศาสนาเพื่อสังคม, พิรญาณ์ แสงปัญญา Jan 2022

บทบาทของพระสงฆ์ด้านสาธารณสงเคราะห์ในบริบทพุทธศาสนาเพื่อสังคม, พิรญาณ์ แสงปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ในบริบทของพุทธศาสนาเพื่อสังคม 2) ศึกษาการดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธของพระสังฆาธิการและภาคีเครือข่ายภายใต้กรอบที่มหาเถรสมาคมกำหนดไว้ 4 รูปแบบ คือ สงเคราะห์ เกื้อกูล พัฒนา บูรณาการ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการทำงานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธในอนาคตของคณะสงฆ์ไทย โดยกำหนดขอบเขตการวิจัย 3 ส่วน คือ 1) ขอบเขตเชิงเนื้อหา กิจกรรมสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธ 4 รูปแบบ ตามที่กล่าวในข้อ 2 จากพระสงฆ์ไทยในอดีตและปัจจุบัน 2) ขอบเขตเชิงพื้นที่ เพื่อศึกษาความเหมือน ความต่างและปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรม วัดที่กำหนดเป็นพื้นที่ศึกษา ได้แก่ (1) วัดห้วยหมู จังหวัดราชบุรี (2) วัดม่วงตารศ จังหวัดนครปฐม (3) วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม และ (4) วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี 3) ขอบเขตเชิงประชากร กลุ่มเป้าหมายหลักจาก 4 วัดที่ได้กำหนดไว้ในขอบเขตเชิงพื้นที่ รูปแบบการวิจัยใช้วิธีการวิจัยภาคสนาม ประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปองค์ความรู้และแนวคิดการทำงานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธ บทบาทสังคหธุระและพุทธศาสนาเพื่อสังคม เครื่องมือการวิจัยภาคสนามประกอบด้วยแบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยอิงกรอบแนวคิดทฤษฎีที่กำหนดไว้ในการศึกษาเพื่อสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย สรุปผลการศึกษา พบว่า 1) การดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ใน 4 พื้นที่เป้าหมายการศึกษา มีแนวทางที่สอดคล้องตามกรอบการดำเนินงานที่ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคมได้กำหนดไว้ซึ่งมีความโดดเด่นต่างกันไป 2) การดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ของพระครูจันทสีลากร พระครูโกวิทสุตสาร และพระราชธรรมนิเทศ เป็นแนวทางที่สอดคล้องไปตามแนวคิดสังคหธุระ 3)การดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ของกลุ่มอาสาคิลานธรรม เป็นแนวทางที่สอดคล้องไปตามแนวคิดพุทธศาสนาเพื่อสังคม 4) การดำเนินกิจกรรมของวัดห้วยหมู วัดม่วงตารศ และวัดสวนแก้ว ยังขาดการพัฒนาสังฆพัฒนาทายาท การพัฒนาองค์ความรู้ และการพัฒนาภาคีเครือข่าย ดังนั้นกิจกรรมต่าง ๆ จึงตั้งอยู่บนความเสี่ยงด้านความยั่งยืน 5)การดำเนินกิจกรรมของกลุ่มอาสาคิลานธรรมดำเนินไปอย่างมีระบบ มีหลักการที่ชัดเจน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องผ่านการอบรมและการสั่งสมประสบการณ์ จึงเป็นแนวทางที่มุ่งไปสู่ความยั่งยืน 6) การดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ของสงฆ์จะยั่งยืนได้ต้องมีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการการสาธารณสงเคราะห์ การพัฒนาศาสนทายาทและการพัฒนาภาคีเครือข่าย 7) การดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ที่ได้ประสิทธิผล ผู้ทำกิจกรรมควรมีคุณลักษณะของจิตอาสา


โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2t) กับการพัฒนาชุมชนด้านผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ ชุมชนบ้านทะเลน้อย ตำบลทางเกวียน และชุมชนบ้านวังหว้า ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง, รติมา พงษ์อริยะ Jan 2022

โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2t) กับการพัฒนาชุมชนด้านผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ ชุมชนบ้านทะเลน้อย ตำบลทางเกวียน และชุมชนบ้านวังหว้า ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง, รติมา พงษ์อริยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทและกระบวนการทำงานของโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาชุมชนด้านผลิตภัณฑ์ ในชุมชนบ้านทะเลน้อย และชุมชนบ้านวังหว้า จังหวัดระยอง 2) ศึกษาพัฒนาการด้านผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านทะเลน้อยและชุมชนบ้านวังหว้าหลังจากมีการดำเนินการตามโครงการ U2T 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการประสบความสำเร็จในการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างชุมชนบ้านทะเลน้อยและชุมชนบ้านวังหว้า หลังจากมีการดำเนินการตามโครงการ โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการให้ข้อมูล ได้แก่ ชาวบ้าน คณะทำงานโครงการ U2T และเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ศึกษา รวมถึงนักวิจัยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประเมินโครงการ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งกำหนดวิธีเลือกโดยการเจาะจง จำนวน 27 คน และใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การทำงานของโครงการมีส่วนช่วยในการพัฒนาชุมชนด้านผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน คิดกิจกรรมการอบรมที่ชาวบ้านต้องการเพื่อตอบสนองและแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับด้านผลิตภัณฑ์ 2) พัฒนาการด้านผลิตภัณฑ์ของชุมชนดีขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจากการเข้าร่วมกิจกรรมอบรม และผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจากการช่วยเหลือของโครงการ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการประสบความสำเร็จในการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ของชุมชนหลังดำเนินการตามโครงการ คือ ความรู้ความสามารถ การเอาใจใส่ต่อโครงการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ ความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ความร่วมมือจากชาวบ้าน การมีทุนทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ และการสร้างการมีส่วนได้ให้ชุมชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ช่วยให้โครงการดำเนินการได้อย่างราบรื่น


การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่ากรณีศึกษา: การท่องเที่ยวสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติกุยบุรี, วรัญญา ยิ้มแย้ม Jan 2022

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่ากรณีศึกษา: การท่องเที่ยวสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติกุยบุรี, วรัญญา ยิ้มแย้ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาคนกับช้างป่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เกษตรและที่อยู่อาศัยของคน จึงมีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และทำให้แหล่งอาหารของช้างป่าลดลง ช้างป่าจึงออกมากินผลผลิตภายในไร่ของชาวบ้าน ชุมชนจึงมีความพยายามที่จะแก้ปัญหาในลักษณะต่างๆ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาคนกับช้างป่าและผลกระทบจากช้างป่าต่อการดำรงชีพของชุมชนบ้านรวมไทย และศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านรวมไทย ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ร่วมกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาคนกับช้างป่าในบริเวณอุทยานแห่งชาติกุยบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า และเจ้าหน้าที่หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาคนกับช้างป่าในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านรวมไทย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากพื้นที่ป่ามาทำการเกษตรปลูกไร่สับปะรด เป็นสาเหตุที่ดึงดูดช้างป่าให้เข้ามาในพื้นที่และทำให้พฤติกรรมของช้างป่าเปลี่ยนแปลงไป จากการอพยพหาแหล่งอาหารในป่าลึก มาเป็นการปักหลักอยู่กับที่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นด้านทรัพยากรธรรมชาติ คือ ผลผลิตทางการเกษตร ถูกทำลาย ส่งผลกระทบต่อด้านการเงิน เพราะผลผลิตที่ถูกทำลายคือรายได้ของชาวบ้านที่จะได้รับ ส่งผลกระทบต่อด้านสุขภาพร่างกายและใจ เนื่องด้วยชาวบ้านต้องปกป้องผลผลิตทางเกษตร จึงต้องไปนอนเฝ้าไร่ตลอดทั้งคืน เกิดการอ่อนล้า อ่อนเพลีย หวาดระแวง และวิตกกังวล ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จึงเกิดวิธีการแก้ไขการแก้ไขปัญหาโดยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่หน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดขั้นตอนการทำงาน ดังนี้ 1) การค้นหาปัญหา โดยให้ข้อมูลผลกระทบที่ได้รับ ทรัพยากรที่มี และปัญหาการปฏิบัติงาน 2) การวางแผน โดยการจัดตั้งและบริหารชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่า ร่วมคิดกิจกรรมท่องเที่ยวชมสัตว์ป่า กำหนดกฎระเบียบสำหรับมัคคุเทศก์ท้องถิ่นและผู้ขับรถนำชมสัตว์ป่า 3) การดำเนินการ โดยร่วมบริหารจัดการชมรมฯ การบริการนักท่องเที่ยว และช่วยเหลืองานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า 4) การรับและแบ่งปันผลประโยชน์ โดยได้ค่าตอบแทนเมื่อเข้ามาปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงาน และได้รับการช่วยเหลือเยียวยาในกรณีเกิดเหตุร้ายแรง และ 5) การประเมินผล โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงาน และรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงงาน โดยระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในขั้นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง นำมาซึ่งผลกระทบด้านสังคม ที่ทำให้ชุมชนเกิดกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ภายในชุมชน ข้อมูลความรู้ที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาคนกับช้างป่าเพื่อลดปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น เพราะประเทศไทยมีหลายพื้นที่ที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน


ถอดบทเรียนการใช้หญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดานเพื่อทำการเกษตร : กรณีศึกษา พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี, วิศรุตา วิเชียร Jan 2022

ถอดบทเรียนการใช้หญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดานเพื่อทำการเกษตร : กรณีศึกษา พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี, วิศรุตา วิเชียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนการใช้หญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดานเพื่อทำการเกษตร และเสนอแนวทางในการรณรงค์ส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดานเพื่อทำการเกษตร ดำเนินการศึกษาโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เป็นเครื่องมือในการศึกษาและรวบรวมข้อมูล พิจารณาคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive random) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มหน่วยงานภาครัฐที่ขับเคลื่อนการใช้หญ้าแฝก คือ เจ้าหน้าที่จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 3 ท่าน และเจ้าหน้าที่จากสถานีพัฒนาที่ดินเพชรบุรี 1 ท่าน 2) กลุ่มภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง คือ เครือข่ายคนรักษ์แฝก 3 ท่าน และ 3) กลุ่มอาชีพเกษตร ในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายในการขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยี 8 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) และการตีความ (interpretation) ตามกรอบการวิจัยเชิงย้อนรอย (Expost facto research) โดยวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of change) ในลักษณะการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การที่กลุ่มเกษตรกรมีการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดานเพื่อทำการเกษตรที่ประสบผลสำเร็จ จุดเริ่มต้นมาจากการมีบทบาทผู้นำ (Actors) ในการขับเคลื่อนที่ชัดเจน กล่าวคือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบุรี และภาคีเครือข่ายคนรักษ์แฝก สร้างความร่วมมือกันในลักษณะเครือข่ายเพื่อกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน (Activity) ที่เน้นหนักในด้านการสนับสนุน (Input) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้กับกลุ่มเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง คือ 1) กลยุทธ์การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้หญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดาน 2) กลยุทธ์การแจกจ่ายพันธุ์กล้าหญ้าแฝก 3) กลยุทธ์การติดตามประเมินผล และ 4) กลยุทธ์การบริหารจัดการ ซึ่งบทบาทผู้นำ (Actors) และกลยุทธ์การดำเนินงาน (Activity) เปรียบเสมือนตัวแปรสำคัญที่สามารถสร้างความเชื่อมโยงและความร่วมมือระหว่างกลุ่มเกษตรกร ส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรและนำหญ้าแฝกไปใช้แก้ปัญหาดินดานในพื้นที่ เกิดผลการเปลี่ยนแปลงภายหลังจากการใช้หญ้าแฝกใน 3 มิติ คือ 1) ในแง่ของ Output คือ ดินดานลดน้อยลง พืชให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 2) ในแง่ของ Outcome คือ กลุ่มเกษตรกรยอมรับหญ้าแฝก ปรับเปลี่ยนวิธีการทำเกษตรที่คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรดินตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) …


การปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Smes) ในการจ้างงานแรงงานต่างด้าวในยุคโควิด-19 : กรณีศึกษาภาคการบริการ จังหวัดปทุมธานี, เบญจพร บุญบำรุง Jan 2022

การปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Smes) ในการจ้างงานแรงงานต่างด้าวในยุคโควิด-19 : กรณีศึกษาภาคการบริการ จังหวัดปทุมธานี, เบญจพร บุญบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ต่อผู้ประกอบการ SMEs ภาคการบริการ ที่มีการจ้างงานแรงงานต่างด้าว ศึกษาแนวทางการปรับตัวในการจ้างงานแรงงานต่างด้าว และเสนอแนะแนวทางในการปรับตัวหลังจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดปทุมธานี โดยวิธีการดำเนินการวิจัยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในเชิงปริมาณจำนวน 150 คน และในเชิงคุณภาพจำนวน 7 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ต่อผู้ประกอบการที่มีการจ้างงานแรงงานต่างด้าว โดยศึกษาสภาพการจ้างงานแรงงานต่างด้าวก่อนสถานการณ์โรคโควิด-19 อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.25 และในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.06 และแนวทางการปรับตัวในการจ้างงานแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการ SMEs อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.44 สำหรับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพช่วยให้เห็นภาพในเชิงลึกมากขึ้น พบว่า ช่วงสถานการณ์โรควิด-19 เริ่มระบาดหนักทำให้ผู้ประกอบการ SMEs บางรายพบปัญหาในการหาแรงงานต่างด้าวได้ยากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยหลายด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสาธารณสุข ทำผู้ประกอบการบางรายแบกรับภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจต้องพิจารณาที่ต้นทุนและรายได้ต่อธุรกิจ


กระบวนการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูงกรณีศึกษาน้ำพางโมเดล จังหวัดน่าน, กณภัทร รุ่งเรืองวงศ์ Jan 2022

กระบวนการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูงกรณีศึกษาน้ำพางโมเดล จังหวัดน่าน, กณภัทร รุ่งเรืองวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรในการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูง และเพื่อจัดทำแนวทางในการลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูง โดยกรณีศึกษาน้ำพางโมเดล จังหวัดน่าน เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่มีการขับเคลื่อนการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการลดการเผาเศษซากวัสดุทางการเกษตร และลด PM 2.5 และช่วยให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทำกินของตนได้ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการน้ำพางโมเดล และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลโครงการน้ำพางโมเดลรวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ด้วยวิธีสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล ผลการวิจัยได้ถูกวิเคราะห์และสรุปออกมาเป็น 5 กระบวนการ ประกอบด้วย 1)กระบวนการสร้างความเข้าใจร่วมกัน โดยการจัดตั้งเวทีเพื่อพูดคุยให้ตระหนักถึงปัญหาและคิดหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน จากนั้นจึงเกิดเป็น 2)กระบวนการรวมกลุ่มน้ำพางโมเดล เพื่อความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนชุมชนและการรักษาผืนป่า เช่น การเข้าร่วมโครงการและการตั้งวิสาหกิจชุมชน 3)กระบวนการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร โดยการจัดอบรมเพื่อพัฒนาและต่อยอดความรู้ด้านการเกษตร 4)กระบวนการร่วมกันสร้างระบบนิเวศป่าคือ การรักษาผืนป่าผ่านกิจกรรมปลูกป่า บวชป่า ทำแนวกันไฟ เป็นต้น และ 5)การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ทั้งในด้านเงินทุน ความรู้ รวมถึงกล้าพันธุ์ไม้ เพื่อให้โครงการน้ำพางโมเดลดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการศึกษาแนวทางการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูงผู้วิจัยได้วิเคราะห์และสรุปแนวทาง ประกอบด้วย 1) การระดมความคิดของเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง 2) การสร้างความเชื่อมั่น 3) การประกอบอาชีพเสริม 4) การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก 5) การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน 6) การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต โดยความยั่งยืนของโครงการสะท้อนผ่านความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างอย่างยืนเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิในที่ดินทำกินควบคู่กับการรักษาผืนป่าให้คงอยู่สืบไป


การให้ความหมายและแนวทางการยกระดับงานที่มีคุณค่าของลูกจ้างทำงานบ้านในยุคปกติใหม่: กรณีศึกษาลูกจ้างทำงานบ้านหญิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, บุรสิทธิ์ เหมาะใจ Jan 2022

การให้ความหมายและแนวทางการยกระดับงานที่มีคุณค่าของลูกจ้างทำงานบ้านในยุคปกติใหม่: กรณีศึกษาลูกจ้างทำงานบ้านหญิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, บุรสิทธิ์ เหมาะใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ชี้ให้เห็นถึงชีวิตและพลวัตการทำงานของลูกจ้างทำงานบ้านหญิงก่อนและระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 2) ค้นหาความหมายของงานที่มีคุณค่าในยุคปกติใหม่ และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนางานที่มีคุณค่าของลูกจ้างทำงานบ้านหญิง ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ลูกจ้างทำงานบ้านหญิงในกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 ราย นายจ้าง 3 ราย และนักวิชาการและเจ้าหน้าที่รัฐ 3 ราย ผลการศึกษาพบว่า 1) ชีวิตและพลวัตการทำงานของลูกจ้างทำงานบ้านก่อนสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ลูกจ้างทำงานบ้านหลายรายเริ่มเข้ามาประกอบอาชีพลูกจ้างทำงานบ้านตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นตอนต้นซึ่งมีระดับการศึกษาที่ไม่สูงมากนัก อีกทั้งมีปัญหาสะสมจากการทำงานในอาชีพดังกล่าว เช่น ไม่มีสัญญาการจ้างงาน ค่าตอบแทนที่ไม่สอดคล้องกับภาระงานและชั่วโมงการทำงาน และการขาดสวัสดิการในการทำงาน ด้านรูปแบบการทำงานจำแนกได้ 2 รูปแบบ คือ ทำงานประจำกับนายจ้างเพียงคนเดียว ทำงานแบบครั้งคราวโดยมีนายจ้างหลายคน เมื่อมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ลูกจ้างทำงานบ้านประสบกับสภาวะความยากลำบากที่มากยิ่งขึ้น ทั้งจากการทำงานที่หนักกว่าปกติ การถูกลดค่าจ้าง/เงินเดือน ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเดินทางและอุปกรณ์ป้องกันโรค รวมทั้งต้องบริหารจัดการเพื่อดูแลค่าใช้จ่ายให้สมาชิกในครอบครัวที่สูญเสียรายได้หรือถูกเลิกจ้างในช่วงเวลาดังกล่าว จนส่งผลให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ในขณะที่ความช่วยเหลือจากภาครัฐที่ลูกจ้างทำงานบ้านได้รับ เช่น โครงการเราชนะ โครงการคนละครึ่ง เป็นเพียงแค่การช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้บ้างในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น แต่ไม่มีมาตรการที่ให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบอาชีพนี้โดยตรงในการทำงาน 2) การให้ความหมายต่องานที่มีคุณค่า พบว่า ลูกจ้างทำงานบ้าน นายจ้าง ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ให้ความหมายไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ เป็นงานที่สามารถตอบสนองต่อการดำรงชีวิตหรือความต้องการในชีวิตของแรงงานได้ 3) แนวทางการพัฒนางานที่มีคุณค่าของลูกจ้างทำงานบ้านหญิง พบว่า ความต้องการสูงสุดของลูกจ้างทำงานบ้าน คือ การหลักประกันทางสังคมที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับแรงงานที่มีนายจ้างอื่น ๆ รวมถึงการได้รับการคุ้มครองแรงงานตาม อนุสัญญาฉบับที่ 189 และข้อแนะฉบับที่ 201 เพื่อให้เกิดความมั่นคงในการทำงาน


ผลกระทบและการปรับตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในกลุ่มอาชีพนักดนตรี, ธิดาพร สันดี Jan 2021

ผลกระทบและการปรับตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในกลุ่มอาชีพนักดนตรี, ธิดาพร สันดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลกระทบเชิงลบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ต่ออาชีพต่างๆ ล้วนสร้างปัญหาต่อแต่ละกลุ่มอาชีพต่างกัน กลุ่มอาชีพนักดนตรีเป็นกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงานของนักดนตรีในภาวะโควิด 19 2) เพื่อศึกษาผลกระทบและการปรับตัวของนักดนตรีในภาวะโควิด 19 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับตัวที่เหมาะสมของนักดนตรีในภาวะวิกฤติ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือนักดนตรีที่ทำงานในช่วงเวลากลางคืนตามสถานบันเทิง ประกอบด้วยผับบาร์ ร้านอาหารกึ่งผับบาร์ สวนอาหาร เพื่ออธิบายถึงชีวิตความเป็นอยู่และผลกระทบที่ได้รับของนักดนตรีในช่วงโควิด 19 เลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกนักดนตรีจำนวน 7 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักดนตรีมีสภาพการจ้างงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่มีสัญญาจ้าง ขาดความมั่นคงทางรายได้ 2) ผลกระทบหลักจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 คือด้านการทำงาน โดยเฉพาะการมีรายได้ที่ลดลง จากการปิดสถานบันเทิงหรือปิดกิจการสถานที่ที่นักดนตรีไปทำงาน และรูปแบบการจัดงานดนตรีเปลี่ยนไป ทำให้นักดนตรีถูกลดงานหรือเกิดการเลิกจ้าง ผลกระทบด้านสุขภาพจิต เกิดความเครียดจากภาวะว่างงาน และผลกระทบด้านการดำรงชีวิตความเป็นอยู่โดยเฉพาะภาระค่าใช้จ่ายที่ยังเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้องปรับตัวในวิถีชีวิตแบบใหม่ และ 3) การว่างงานของนักดนตรีที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอในการดำรงชีวิต เกิดแนวทางการปรับตัวด้วยการหาอาชีพที่สอง เช่น อาชีพขนส่งอาหารเดลิเวอรี่ ครูสอนดนตรี ผู้ช่วยผู้จัดการร้านอาหาร และเกิดการเปลี่ยนเวลาการทำงานจากกลางคืนเป็นกลางวันเป็นการทำงานที่บ้าน (Work From Home) เช่นการทำงานลงเสียงดนตรี แต่งเพลง การแสดงดนตรีผ่านทางสื่อออนไลน์เช่นเฟชบุ๊ค (facebook) การฝึกฝนทักษะใหม่ๆเพิ่ม และการประหยัดร่วมกับการลดค่าใช้จ่าย ซึ่งนักดนตรีไม่มีความแตกต่างจากอาชีพอื่น เช่น รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป เกิดการประหยัด และ วางแผนอนาคตมากขึ้น


การรับรู้และพฤติกรรมการตอบสนองต่อฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (Pm2.5) : กรณีศึกษากลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร, ศรัณณ์พักตร์ แก้วเพชร Jan 2021

การรับรู้และพฤติกรรมการตอบสนองต่อฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (Pm2.5) : กรณีศึกษากลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร, ศรัณณ์พักตร์ แก้วเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ต่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกต่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ดำเนินการศึกษาโดยใช้เทคนิควิจัยเชิงปริมาณ มีขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 312 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ดังต่อไปนี้ ผลการศึกษาการรับรู้ของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพกลุ่มผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร มีระดับการรับรู้มาก และรับรู้ว่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่มีค่าเกินมาตรฐานที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งรู้ว่าตนเองเป็นทั้งผู้รับและผู้ปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) โดยผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ รู้ว่าพื้นที่ดินแดงมีค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน ส่งผลต่อการตรวจเช็คค่าฝุ่นก่อนออกจากบ้านมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 แต่ไม่มีการใส่หน้ากาก N95 โดยผลการศึกษาด้านความรู้ทำให้ทราบว่ากลุ่มผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างยังขาดความรู้ได้เรื่อง 1) การใส่หน้ากากอนามัย 2 ชิ้นไม่สามารถจะช่วยป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้ 2) การตรวจเช็คค่าฝุ่นผ่านแอพพลิเคชั่น 3) ความหมายของค่า AQI (ประเทศไทย) 4) เรื่องดำเนินชีวิตประจำวันสามารถช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 สำหรับผลการศึกษาผลกระทบและการสนองทั้ง 4 ด้าน สูงที่สุดคือ 1) ด้านเศรษฐกิจในกลุ่มผู้ที่รับรู้ต่อฝุ่นละอองมีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการตรวจเช็คสุขภาพในกลุ่มผู้ที่รับรู้ต่อฝุ่นละออง รองลงมาคือ 2) ด้านสุขภาพมีผลกระทบทางด้านสุขภาพมีอาการ เจ็บคอ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล และอาการผื่นคันตามผิวหนัง และอาการตาแดง และ 3) ด้านสังคมมีการดำเนินชีวิตของประชาชนยุ่งยากมากขึ้นในระดับมาก สุดท้ายคือ 4) ด้านการป้อนกันมีเช็คค่าฝุ่นก่อนออกจากบ้าน และข้อเสนอแนะต่อการสร้างพฤติกรรมเชิงบวก มาตรการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ ที่กลุ่มผู้ขับขี่ต้องการให้ส่งเสริมมากที่สุดคือ การช่วยลดค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องยนต์ (รัฐช่วยออกคนละครึ่ง) รองลงมา ควรมีการให้ความรู้ที่เกี่ยวของกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในเรื่อง 1)การให้ความรู้ในการใส่หน้ากาก 2) การเช็คค่าฝุ่นผ่านแอพพลิเคชั่น 3) ความรู้เรื่อง ค่า AQI โดยกลุ่มที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุดจากการศึกษาพบว่ามี 4 กลุ่มที่ไม่มีการรับรู้เรื่องของฝุ่นได้แก่ 1.กลุ่มผู้มีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 2. …


ผลกระทบของความเหลื่อมล้ำต่อการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทย, ธนกร วรพิทักษานนท์ Jan 2021

ผลกระทบของความเหลื่อมล้ำต่อการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทย, ธนกร วรพิทักษานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาระดับอุดมศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สามารถเข้าถึงโอกาสในการประกอบอาชีพและการเลื่อนชั้นทางสังคมได้ อย่างไรก็ตามการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมทางโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียน ซึ่งเป็นผลกระทบของความเหลื่อมล้ำในมิติปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้กระทำการต่อปัจเจกนักเรียน ส่งผลให้ไม่สามารถเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาได้และนำไปสู่ผลกระทบตามมา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการคัดเลือกเข้าอุดมศึกษาและปัจจัยหลักที่มีส่วนต่อการเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย 2) ศึกษาความเหลื่อมล้ำในปัจจัยหลักที่มีส่วนต่อการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทย และ 3) ศึกษาผลกระทบของความเหลื่อมล้ำต่อการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกรณีศึกษาที่มีความเป็นตัวแทนจำนวน 16 คนประกอบด้วย กรณีศึกษานักเรียนในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดจำนวน 12 คน และกรณีศึกษาอาจารย์แนะแนวจากสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนจำนวน 4 คน และทำการวิเคราะห์ผ่านทฤษฎีความเหลื่อมล้ำในสำนักคิดแนวสมรรถภาพมนุษย์และแนวคิดการจัดการศึกษาในแนวปรัชญาพิพัฒนาการนิยม ผลการศึกษา พบว่า ความเหลื่อมล้ำในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทยประกอบด้วยปัจจัยหลักความเหลื่อมล้ำที่เกี่ยวข้อง 3 ปัจจัยหลักคือ 1) ปัจจัยทุนทางเศรษฐกิจและทุนทางสังคม 2) ปัจจัยสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐหรือเอกชน และ 3) ปัจจัยระบบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา โดยความเหลื่อมล้ำจากปัจจัยหลักทั้งสามและความเหลื่อมล้ำในโครงสร้างทางสังคมได้ส่งผลกระทบต่อการศึกษาต่อของนักเรียนในสองส่วน ได้แก่ 1) ผลกระทบของความเหลื่อมล้ำภายใต้แนวคิดและปรากฎการณ์ โดยพบว่า ภายใต้แนวคิดและปรากฎการณ์นี้ความเหลื่อมล้ำได้ส่งผลกระทบผ่านปัจจัยหลักทั้งสามที่ได้กระทำการต่อนักเรียนโดยได้ลิดรอนสมรรถภาพและลดทอนโอกาสในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาจนนำไปสู่ผลกระทบในการขาดอิสรภาพทางโอกาสของนักเรียน และ 2) ผลกระทบของความเหลื่อมล้ำในมิติเชิงลึก โดยพบว่า ภายใต้โครงสร้างทางสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำได้สร้างผลกระทบในมิติเชิงลึก ได้แก่ มิติภายในครอบครัว มิติทางสุขภาพ มิติทางเพศ รวมถึงค่านิยม การพึ่งพาและการลงทุนในการศึกษาต่อ ทั้งนี้รัฐได้พยายามลดความเหลื่อมล้ำด้วยการปรับระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษาและผ่านระบบกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาแม้ยังคงพบปัญหาและข้อจำกัดก็ตามแต่นักเรียนก็ควรมีส่วนต่อการรับผิดชอบตนเองในการวางแผนกลยุทธ์และการต่อรองภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่ให้สามารถผ่านการคัดเลือกของระบบคัดเลือกเพื่อให้เข้าศึกษาต่ออุดมศึกษาได้ตามที่ต้องการ


แนวทางการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยตามหลักการของมูฮัมหมัด ยูนุส, ศราวุธ นาควิทยานนท์ Jan 2021

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยตามหลักการของมูฮัมหมัด ยูนุส, ศราวุธ นาควิทยานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดธุรกิจเพื่อสังคมของมูฮัมหมัด ยูนุส 2) เพื่อศึกษาการดำเนินงานและความเป็นไปได้ของการนำแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคมมาใช้ในธุรกิจเพื่อสังคมของประเทศไทย 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยตามหลักการของศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส โดยมีวิธีการดำเนินงานวิจัยในรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการดำเนินการ 2 ส่วน คือ 1) การวิจัยเอกสาร และ 2) วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิโดยใช้รูปแบบเทคนิคเดลฟาย ซึ่งจะใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิแบ่งออกเป็นกลุ่ม ดังนี้ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากหน่วยงานภาครัฐบาล 2) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากหน่วยงานภาคเอกชน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากนักวิชาการที่มีประสบการณ์การทำงาน 4) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ ธุรกิจเพื่อสังคมที่สังกัดสมาชิกของสมาคมธุรกิจเพื่อสังคมแห่งประเทศไทย ผลการวิจัยค้นพบว่า สถานการณ์การดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมตามแนวทางของยูนุสในประเทศไทย ในแง่มุมทางกฎหมายถือว่าเป็นเรื่องล่าช้า แต่ภาครัฐเริ่มมีการให้ความสําคัญด้วยการเพิ่มโอกาสในการลงทุน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคมและธุรกิจเพื่อสังคม ในด้านกฎหมาย องค์กรส่วนใหญ่ได้นิยามตามกฎหมายเพื่อเป็นประโยชน์ในการระบุกิจการที่เข้าเกณฑ์ในการได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล ประกอบกับระบบการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตามกฎหมาย การจดทะเบียนดังกล่าวไม่ได้ให้สถานะความเป็นนิติบุคคลกับผู้จดทะเบียน ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจเพื่อสังคมทั้งที่จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมและไม่ได้จดทะเบียนจึงมีรูปแบบองค์กรที่หลากหลาย


กระบวนการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่ออัตลักษณ์เชิงพื้นที่ของอาคารร้านค้าดั้งเดิมในย่านตลาดเก่าชุมชนเยาวราช, ณัฐวุฒิ รุ่งโรจน์สิทธิชัย Jan 2020

กระบวนการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่ออัตลักษณ์เชิงพื้นที่ของอาคารร้านค้าดั้งเดิมในย่านตลาดเก่าชุมชนเยาวราช, ณัฐวุฒิ รุ่งโรจน์สิทธิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ย่านตลาดเก่าชุมชนเยาวราชเป็นย่านการค้าย่านที่อยู่อาศัยที่สำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีนที่สำคัญ ในปัจจุบันยังคงแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่และเป็นย่านการค้ารูปแบบตลาดสดเพียงแห่งเดียวที่หลงเหลืออยู่ของย่านเยาราช เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและพัฒนาการของเมืองที่เป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในย่านตลาดเก่าและส่งผลกระทบต่ออัตลักษณ์เชิงพื้นที่ย่านตลาดเก่าชุมชนเยาวราช การศึกษาครั้งนี้เพื่อ 1.) เพื่อศึกษาพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงต่ออัตลักษณ์เชิงพื้นที่ของอาคารร้านค้าในย่านตลาดเก่าชุมชนเยาวราช 2.) เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงต่ออัตลักษณ์เชิงพื้นที่ของอาคารร้านค้าในย่านตลาดเก่าชุมชนเยาวราช และ 3.) เพื่อศึกษาสาเหตุ ปัจจัย และลักษณะที่เป็นองค์ประกอบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่ออัตลักษณ์เชิงพื้นที่ของอาคารร้านค้าในย่านตลาดเก่าชุมชนเยาวราช การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการดำเนินการสองส่วนคือ การวิจัยเอกสาร การศึกษาและรวบรวมข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ย่านตลาดเก่าชุมชนเยาวราชโดยมีวิธีการดำเนินการคือการสัมภาษณ์เชิงลึกจากการสัมภาษณ์แบบทางการจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในย่านเยาวราช ผู้อยู่อาศัยเจ้าของกิจการในย่านตลาดเก่าชุมชนเยาวราช ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตลาดเก่าชุมชนเยาวราช รวมทั้งสิ้นจำนวน 15 คน และการสัมภาษณ์เบื้องต้นกับผู้มาเยือนย่านตลาดเก่าชุมชนเยาวราชจำนวน 20 คน ร่วมกับการใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วน และการสร้างแผนที่เดินดิน ผลการวิจัยพบว่า 1.) ย่านตลาดเก่ามีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมจากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ของย่านตลาดเก่ายังคงเป็นย่านที่อยู่อาศัยและย่านการค้าของชาวไทยเชื้อสายจีนไม่เปลี่ยนแปลง 2.) มีการปรับเปลี่ยนไปของร้านค้าที่เข้ามาใหม่ในพื้นที่ตามความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ 3.) การท่องเที่ยวที่เข้ามามีบทบาทในย่านเยาวราชส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร้านค้าภายในพื้นที่ตลาดเก่า 4.) อัตลักษณ์เชิงพื้นที่ของย่านตลาดเก่ายังคงดังเดิมเป็นย่านการค้าที่มีความสำคัญต่อชาวไทยเชื้อสายจีนไม่เปลี่ยนแปลงแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวไทยเชื้อสายจีนในย่านตลาดเก่าหรือตลาดเล่งบ้วยเอี๊ยะชุมชนเยาวราชที่ยังคงดังเดิม แม้ว่าบริบททางสังคมในพื้นที่จะมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย


การรับรู้และแนวทางการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการจัดการขยะพลาสติกภายใต้บริบทของเทศบาลนครนนทบุรี, ชไมกานต์ ดวงแก้ว Jan 2020

การรับรู้และแนวทางการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการจัดการขยะพลาสติกภายใต้บริบทของเทศบาลนครนนทบุรี, ชไมกานต์ ดวงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ต่อแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการจัดการขยะพลาสติกของบุคลากรทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติงานของเทศบาลนครนนทบุรี 2) จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการจัดการขยะพลาสติกภายใต้บริบทของเทศบาลนครนนทบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ อาศัยการสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วม ดำเนินการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ บุคลากรทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติงาน จำนวน 8 คน วิธีดำเนินการวิจัย ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เพื่อศึกษาการรับรู้แนวทางการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการจัดการขยะพลาสติกของเทศบาลฯ และจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการจัดการขยะพลาสติกของเทศบาลฯ ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติงาน มีการรับรู้ต่อแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการจัดการขยะพลาสติกไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการรับรู้ว่าเศรษฐกิจหมุนเวียนมีหลักการดำเนินงานเช่นเดียวกับ 3Rs ซึ่งได้นำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการวางแผน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ภายใต้แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน จังหวัดสะอาด ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมทุกระดับ เสริมสร้างพลังในการนำหลัก 3Rs ไปปฏิบัติแบบปูพรมทุกพื้นที่ ก่อให้เกิดความสะดวกในการเก็บขน สำหรับร้านรับซื้อของเก่าหรือร้านรับซื้อขยะในพื้นที่เขตเทศบาลฯ เป็นอีกกลไกสำคัญที่เปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากร เปลี่ยนของเหลือทิ้งให้เป็นรายได้ เป็นตัวต่อสำคัญที่กระจายรายได้ในอุตสาหกรรมรีไซเคิล 2) ข้อเสนอแนะสำหรับการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในระบบบริหารจัดการขยะพลาสติกของเทศบาลฯ ประกอบด้วย ผลักดันและสร้างการรับรู้ให้แก่บุคลากรทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติงาน เพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการของแนวคิด ริเริ่มนำแนวคิดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการวางแผน, กำหนดกลยุทธ์หรือมาตรการจัดการของเสียเพื่อนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบอีกครั้ง, ผลักดันให้เกิดการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการริเริ่มนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ กับกระทรวงมหาดไทย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการจัดการขยะพลาสติกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ในการส่งเสริมการนำขยะพลาสติกกลับไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ, ริเริ่มปฏิบัติการสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชน ได้แก่ สนับสนุนการดำเนินงานตามหลักความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบเก็บรวบรวมขยะบรรจุภัณฑ์ สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด สนับสนุนการพัฒนา CE Platform ในการสร้างผู้ประกอบการเศรษฐกิจหมุนเวียน และสนับสนุนการให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มในการจัดการขยะรีไซเคิล เพื่อให้เกิดฐานข้อมูลขยะที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดทางธุรกิจในหลายรูปแบบ


ความเปราะบางและผลกระทบทางสังคมในระดับครัวเรือนจากหมอกควันตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา, ปราติหารย์ มีคุณ Jan 2020

ความเปราะบางและผลกระทบทางสังคมในระดับครัวเรือนจากหมอกควันตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา, ปราติหารย์ มีคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางสังคมในระดับครัวเรือนต่อปัญหาหมอกควัน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของความเปราะบางและผลกระทบทางสังคมในระดับครัวเรือนต่อปัญหาหมอกควัน รวมถึงจัดทำข้อเสนอแนะในการลดความเปราะบางในระดับครัวเรือนจากปัญหาหมอกควัน ในพื้นที่ บ้าน กม. 36 ตำบลอัยเยอร์เอง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (systematic sampling) ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 217 ครัวเรือน วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ประกอบไปด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการบรรยายข้อมูลพื้นฐานของหัวหน้าครัวเรือน ข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือน และข้อมูลด้านผลกระทบทางสังคม ใช้สถิติเชิงอนุมาน (inferential statistics) ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของความเปราะบางและผลกระทบทางสังคม โดยการวิจัยในครั้งนี้กำหนดระดับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการศึกษาพบว่า ครัวเรือนในพื้นที่ บ้าน กม. 36 ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ผลกระทบทางสังคมจากปัญหาหมอกควันที่ได้รับมากที่สุด ได้แก่ ผลกระทบด้านความกลัวและความกังวล ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของความเปราะบางและผลกระทบทางสังคม ปัจจัยความเปราะบางที่สัมพันธ์กับผลกระทบทางสังคมโดยรวม ได้แก่ ระยะเวลาการอาศัยอยู่ในพื้นที่ การสวมหน้ากากเมื่อต้องออกไปข้างนอกและเมื่อต้องประกอบกิจกรรมกลางแจ้ง ศักยภาพการเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันหมอกควัน และการมีส่วนร่วมเรียกร้องมาตรการรับมือปัญหาหมอกควัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมถึงข้อเสนอแนะต่อพื้นที่เพื่อลดความเปราะบาง ได้แก่ รณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ให้ความสำคัญต่อการสวมหน้ากากเพื่อป้องกันหมอกควัน พร้อมทั้งให้ความรู้ถึงผลกระทบต่อร่างกายจากการไม่ป้องกันตนเองจากหมอกควัน เพิ่มช่องทางการช่วยเหลือประชาชน เช่น การแจกอุปกรณ์ป้องกันหมอกควัน หรือนำมาจัดจำหน่ายในราคาที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ รณรงค์การงดการเผาภายในพื้นที่ เพื่อลดการสร้างผลกระทบร่วมต่อหมอกควันข้ามพรมแดน จัดทำมาตรการรับมือเพื่อเตรียมการต่อสถานการณ์หมอกควันข้ามพรมแดนโดยเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และคอยเฝ้าระวัง ไม่ให้เกิดการเผาในพื้นที่ช่วงสถานการณ์หมอกควันข้ามพรมแดน โดยการขอความร่วมมือประชาชนไม่ให้เผา รวมถึงขอความร่วมมือให้ประชาชนคอยเฝ้าระวังร่วม


ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนชุมชนเกษตรคาร์บอนต่ำภายใต้แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่: กรณีศึกษา ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี, มาศชนก ขาวทอง Jan 2020

ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนชุมชนเกษตรคาร์บอนต่ำภายใต้แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่: กรณีศึกษา ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี, มาศชนก ขาวทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถอดบทเรียนการเป็นชุมชนเกษตรคาร์บอนต่ำของชุมชนคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เสนอแนวทางในการขับเคลื่อนชุมชนเกษตรสู่การเป็นชุมชนเกษตรแบบคาร์บอนต่ำ วิธีดำเนินการวิจัยโดยการวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าของศูนย์การเรียนรู้, เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรภาคที่เจ็ด,เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเกษตรกร วิธีดำเนินการวิจัย สำรวจพื้นที่ชุมชนคลองน้อย วิเคราะห์ผลสำเร็จของศูนย์การเรียนรู้โดยใช้ ToC (Theory of Change) ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนต้นแบบนี้เกิดจากริเริ่มจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาราคาพืชผลและการใช้สารเคมีของเกษตรกรในพื้นที่ซึ่งตระหนักว่า การทำเกษตรสารเคมีก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและทุนการผลิตสูง กระทั่งภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมด้านทรัพยากร และให้ความรู้ด้านแนวคิดสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนตั้งแต่การวางแผน และร่วมดำเนินการติดตามขับเคลื่อนการเกษตร ให้การสนับสนุนชุมชนที่อ้างอิงตามความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ การร่วมกันประสานงานเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมการเกษตร ให้เกิดการรวมกลุ่มภาคประชาชนเพื่อทราบปัญหาและแนวทางการแก้ไข เป็นกลไกในการสร้างให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรในชุมชน ทั้งนี้พบปัจจัยความสำเร็จการขับเคลื่อนสู่การเป็นชุมชนเกษตรคาร์บอนต่ำ ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำและความสามารถของเจ้าของศูนย์การเรียนรู้ และ (2) บทบาทภาคีเครือข่ายภาครัฐที่ให้การสนับสนุนชุมชนที่อ้างอิงตามความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่


ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนศาสนา ของคริสต์ศาสนิกชนคาทอลิกใหม่ในกรุงเทพมหานคร, จักรายุทธ เอี่ยมละออ Jan 2020

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนศาสนา ของคริสต์ศาสนิกชนคาทอลิกใหม่ในกรุงเทพมหานคร, จักรายุทธ เอี่ยมละออ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Qualitative data) และข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเปลี่ยนศาสนาของคริสต์ศาสนิกชนคาทอลิกใหม่ในกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเปลี่ยนศาสนาของคริสต์ศาสนิกชนคาทอลิกใหม่ในกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนศาสนาของคริสต์ศาสนิกชนคาทอลิกใหม่ในกรุงเทพมหานคร คือ 1) ปัจจัยองค์กรคริสต์ศาสนา เป็นผลมาจากความสวยงามของพิธีกรรม กิจกรรมทางศาสนา สภาพแวดล้อม กระบวนการเรียนการสอนที่เป็นระบบ และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ของโบสถ์ที่มีความรวดเร็ว 2) ปัจจัยภายใน มาจากแรงจูงใจภายในจิตใจ ประสบการและวิกฤติชีวิตที่เป็นจุดเริ่มต้นไปสู่การตัดสินใจเปลี่ยนศาสนา 3) ปัจจัยภายนอกในมิติครอบครัว สังคม ชุมชน วัฒนธรรม และมิติทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นทั้งแรงจูงใจรวมถึงเป็นปัญหาและอุปสรรคในการตัดสินใจเปลี่ยนศาสนาด้วย ได้แก่ 3.1 ด้านครอบครัว ไม่เห็นด้วยและไม่อนุญาตให้เดินทางมาเรียนและเปลี่ยนศาสนา 3.2 ด้านเศรษฐกิจ ปัญหาเรื่องค่าครองชีพที่ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายจึงต้องทำงานในวันหยุดเสาร์และอาทิตย์ และ 3.3 ด้านสังคม ชุมชน และวัฒนธรรม เป็นผลกระทบมาจากการย้ายถิ่นเข้ามาทำงานในเมืองหลวงทำให้ความเป็นอยู่เปลี่ยนไปจากสังคมชนบทมาเป็นสังคมเมือง ทำให้คริสต์ศาสนิกชนคาทอลิกใหม่เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว เป็นผลมาจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป และต้องการแสวงหาที่พึ่งพิงทางจิตใจ 4) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำให้ทราบข้อมูลเบื้องต้นของผู้ที่ตัดสินใจเปลี่ยนศาสนา


บริบทและเงื่อนไขการยุติการเป็นขอทาน: กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร, วัฒนา ธรรมลังกา Jan 2020

บริบทและเงื่อนไขการยุติการเป็นขอทาน: กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร, วัฒนา ธรรมลังกา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาขอทานเป็นปัญหาสังคมมายาวนานทั้งในแง่เศรษฐกิจและสังคม และส่งผลไปยังปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การค้ามนุษย์ การป้องกันและแก้ปัญหาให้ขอทานหลุดพ้นจากสภาวะการเป็นขอทานจึงเป็นประเด็นสำคัญ การศึกษาครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาถึงเงื่อนไขของการเข้าสู่การเป็นคนขอทาน 2) ศึกษาถึงเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการยุติการเป็นคนขอทาน 3) ศึกษาถึงรูปแบบและวิธีการที่คนขอทานไทยยุติการเป็นคนขอทาน และ 4) เสนอแนะแนวทางการป้องกันและการให้ความช่วยเหลือแก่คนขอทานไทย ผ่านการศึกษาเชิงคุณภาพแบบประวัติศาสตร์ชีวิต (Life History) ของกรณีศึกษา โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงเป็นบุคคลที่หลุดพ้นสถานะของคนขอทานในสองสถานะคือบุคคลที่ประกอบอาชีพอยู่แล้ว และบุคคลอยู่ในระหว่างการพักฟื้นภายในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จำนวน 6 คน จากผลการศึกษาพบว่า เงื่อนไขที่ส่งผลให้กลายเป็นคนขอทานเมื่อพิจารณาจากแนวคิดนิเวศวิทยาเชิงสังคม ได้แก่ 1) เงื่อนไขระดับบุคคล (Individual Level) ประกอบด้วย ปัจจัยทางเศรษฐกิจ และปัญหาความยากจน ปัจจัยด้านความพร้อมของสภาพร่างกายและจิตใจ และเงื่อนไขปัจจัยด้านระดับการศึกษา 2) เงื่อนไขระดับระหว่างบุคคล (Interpersonal Level) หรือปัจจัยด้านครอบครัวเป็นเงื่อนไขหลักที่ผลักดันให้กรณีศึกษาแทบทุกกรณีกลายเป็นคนขอทาน 3) เงื่อนไขระดับสถาบัน (Organizational / Institutional Level) ประกอบด้วยปัจจัยด้านทุนทางสังคมและการเข้าถึงทุนทางสังคม ที่คอยให้การสนับสนุน เงื่อนไขในระดับ ที่ 4) เงื่อนไขระดับชุมชน (Community Level) และ 5) เงื่อนไขระดับสังคม (Social Level) เป็นเงื่อนไขที่ไม่ส่งอิทธิพลต่อการกลายเป็นขอทาน อย่างไรก็ตามเพื่อให้หลุดพ้นจากการเป็นขอทานพบว่าประกอบด้วยสามระยะ คือ 1) ช่วงระยะตั้งต้น 2) ช่วงเปลี่ยนผ่านมาเป็นคนทั่วไปและพร้อมที่จะเริ่มต้นทำงาน และ 3) ช่วงสร้างความมั่นคงในงานหรืออาชีพ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้ชีวิตของอดีตคนขอทานสามารถทะยานพ้นจากการเป็นขอทานซึ่งอยู่ในเงื่อนไขระดับสถาบันและเงื่อนไขระดับสังคมมากกว่าเงื่อนไขระดับที่ใกล้ตัวขอทาน คือ ปัจจัยจากภาครัฐ และภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมอย่าง สถาบันทางศาสนาเป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์การเปลี่ยนผ่านมาเป็นขอทานและการกลับไปเป็นคนปกติมีปัจจัยที่แยกขาดออกจากกันไม่ได้อย่างชัดเจน เพราะแต่ละปัจจัยมีความซับซ้อนและเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ดังนั้นขอทานแต่ละคนจะมีเงื่อนไขของการกลับไปสู่คนปกติที่แตกต่างกัน และการแก้ไขเป็นกระบวนการที่สิ้นเปลืองทรัพยากรมากกว่าการป้องกันไม่ให้กลายมาเป็นขอทาน ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ คือ การกำหนดนโยบายในการป้องกันเพื่อไม่ให้บุคคลในสังคมต้องเปลี่ยนสถานะเป็นคนขอทาน และนโยบายที่ให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลที่มีสถานะเป็นคนขอทานให้สอดคล้องกับบริบทของปัญหาในสถานการณ์ปัจจุบันอย่างเหมาะสม ในกลุ่มคนที่สามารถหลุดพ้นสถานะจากการเป็นคนขอทานและเปลี่ยนสถานะมาเป็นคนที่เริ่มต้นจะเป็นคนทำงาน และมีสถานะเป็นคนทำงานแล้ว รัฐและสถาบันอื่น ๆ ในสังคมก็ควรที่จะหยิบยื่นโอกาสและมอบความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ประกอบกับทัศนคติที่ผู้คนในสังคมมีต่อกลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้


ผลกระทบและการยอมรับการทำนาแบบเปียกสลับแห้งเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชาวนาในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี, พนิดา พุทธรัตน์รักษา Jan 2020

ผลกระทบและการยอมรับการทำนาแบบเปียกสลับแห้งเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชาวนาในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี, พนิดา พุทธรัตน์รักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ผลกระทบและการยอมรับนวัตกรรมการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ศึกษาปัจจัยการรับรู้ผลกระทบและการยอมนวัตกรรมการทำนาแบบเปียกสลับแห้งเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชาวนาในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี และแนวทางสำหรับการส่งเสริมการใช้การทำนาแบบเปียกสลับแห้งเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ดำเนินการศึกษาโดยใช้เทคนิควิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลทั้งหมดร้อยละ 100 จำนวน 150 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการบรรยายข้อมูลสภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร สถิติอนุมาน (Inferential Statistics) โดยการวิเคราะห์ Enter Multiple Linear Regression เพื่อใช้ในการศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้ผลกระทบและการยอมรับนวัตกรรมการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง โดยการวิจัยในครั้งนี้กำหนดระดับนัยสำคัญทางสิถิติไว้ที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรรับรู้ผลกระทบการทำนาแบบเปียกสลับแห้งมากที่สุดในด้านสภาพแวดล้อมในเรื่องของการมีน้ำเพียงพอต่อการปลูกข้าวช่วยให้เกษตรกรใช้น้ำได้อย่างคุ้มค่า ลดการใช้เชื้อเพลิงในการสูบน้ำ และช่วยลดการเกิดก๊าซมีเทนที่เกิดจากการหมักของน้ำในแปลงนา นอกจากนี้เกษตรกรยังรับรู้ในด้านผลผลิต ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ อีกด้วย ซึ่งการรับรู้การยอมรับนวัตกรรมเกษตรกรตระหนักในด้านความสามารถในการทดลองใช้ได้มากที่สุดในเรื่องของการทดลองทำนาแบบเปียกสลับแห้งได้ในพื้นที่ขนาดเล็ก หรือสามารถแบ่งพื้นที่ทำได้ รองลงไปเกษตรกรให้การตระหนักในด้านความได้เปรียบของนวัตกรรม ความไม่สลับซับซ้อน และความสอดคล้องกับบริบทสังคม ตามลำดับ ส่วนในเรื่องของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำนาแบบเปียกสลับแห้งของเกษตรกรสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกในเรื่องผลกระทบเกษตรกรให้ด้านเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่สำคัญในเรื่องของต้นทุนที่ลดลงของค่าเชื้อเพลิงในการสูบน้ำ ค่าปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ส่งผลให้เกษตรกรมีเงินออมเพียงพอสามารถชำระหนี้ได้ ส่วนในเรื่องของการยอมรับนวัตกรรมเกษตรกรให้ความไม่สลับซับซ้อนของตัวนวัตกรรมมีผลต่อการทำนาแบบเปียกสลับแห้งอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นแนวทางในการส่งเสริมของโครงการ Thai Rice NAMA หรือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเน้นในเรื่องของการรับรู้ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ และการยอมรับนวัตรรมต้องเน้นในเรื่องความไม่สลับซับซ้อนของตัวนวัตกรรมให้เพิ่มมากขึ้น


พัฒนาการและการปรับตัวเพื่อรองรับการท่องเที่ยวของชุมชนย่านเยาวราช, ทัศติยะ เต็มสุริยวงค์ Jan 2020

พัฒนาการและการปรับตัวเพื่อรองรับการท่องเที่ยวของชุมชนย่านเยาวราช, ทัศติยะ เต็มสุริยวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การท่องเที่ยวมีความสำคัญอย่างมากในประเทศไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย การท่องเที่ยวในเยาวราชเป็นอีกพื้นที่การท่องเที่ยวที่กรุงเทพมหานครให้ความสนใจ วิทยนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการของเมืองที่ส่งผลให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในย่านเยาวราช และ 2) เพื่อศึกษาการปรับตัวจากผลกระทบของสถานการณ์การท่องเที่ยวในช่วงการแพร่ระบาดโควิด - 19 ต่อผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวในย่านเยาวราช งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาในรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ และการศึกษาการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการศึกษาแบบขั้นตอนเชิงสำรวจ งานวิจัยชิ้นนี้เน้นการศึกษาแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ขั้นตอนแรกการเก็บข้อมูลวิจัยเชิง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยวในย่านเยาวราช จำนวน 13 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมการสัมภาษณ์เชิงลึก และแผนที่เดินดิน ขั้นตอนที่สองการเก็บข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็น ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กับนักท่องเที่ยวภายในประเทศที่เดินทางมาเยาวราชมีผู้ตอบแบบสอบถามด้วยความสมัครใจจำนวน 117 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) วัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของย่านเยาวราชมีด้วยกัน 3 ด้าน ได้แก่ ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และวิถีชีวิต 2) ย่านเยาวราชเปลี่ยนจากย่านที่อยู่อาศัย เป็นย่านเศรษฐกิจและเข้ามามีบทบาทด้านการท่องเที่ยวจากการพัฒนาของเมืองและการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยมีทรัพยากรทางด้านวัฒนธรรมเชื้อสายจีนเป็นเอกลักษณ์ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในย่านเยาวราช 3) การท่องเที่ยวในช่วงการแพร่ระบาดโควิด – 19 ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวในย่านเยาวราชปรับตัวโดยหันมาพึ่งพานักท่องเที่ยวภายในประเทศแทนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ


แนวทางการบริจาคอวัยวะเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอวัยวะของประเทศไทย, ปวิตรา กรีธาธร Jan 2020

แนวทางการบริจาคอวัยวะเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอวัยวะของประเทศไทย, ปวิตรา กรีธาธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์การขาดแคลนอวัยวะบริจาคของประเทศไทยทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจำนวนอวัยวะบริจาคไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากรไทย ด้วยเหตุนี้การศึกษานี้ได้เน้นศึกษาเปรียบเทียบระบบการบริจาคอวัยวะของประเทศไทยและต่างประเทศ ระดับความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ ต่อการบริจาคอวัยวะแบบถือว่ายินยอม ตลอดจนอิทธิพลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวในการปรับใช้ระบบการบริจาคอวัยวะแบบถือว่ายินยอม เพื่อแก้ไขสถานการณ์การขาดแคลนอวัยวะบริจาคของประเทศไทย ผลการศึกษาเอกสารต่าง ๆ พบว่า ค่าเริ่มต้นของระบบการบริจาคอวัยวะส่งผลอย่างมากต่ออัตราการแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ การบริจาคอวัยวะ และการปลูกถ่ายอวัยวะ ค่าเฉลี่ยดังกล่าวของประเทศที่ใช้ระบบการบริจาคอวัยวะแบบถือว่ายินยอมสูงกว่าประเทศที่ใช้ระบบการบริจาคอวัยวะแบบยินยอมอย่างชัดแจ้ง นอกจากนี้ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับประชาชนในเขตกรุงเทพฯ เฉพาะผู้มีอายุระหว่าง 20 - 70 ปี จำนวน 404 คน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 - 30 พฤศจิกายน 2562 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาพบว่า อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 42.64 ปี โดยกว่าร้อยละ 90.10 นับถือศาสนาพุทธ คะแนนเฉลี่ยของความรู้ต่อการบริจาคอวัยวะเท่ากับ 6.20 จาก 10 คะแนน ระดับความรู้ต่อการบริจาคอวัยวะของกลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 72.52 อยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยของทัศนคติต่อการบริจาคอวัยวะเท่ากับ 41.29 จาก 50 คะแนน ระดับทัศนคติต่อการบริจาคอวัยวะของกลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 74.01 อยู่ในระดับเป็นกลาง อย่างไรก็ดี กลุ่มตัวอย่างส่วนน้อยร้อยละ 25.00 เห็นด้วยกับระบบการบริจาคอวัยวะแบบถือว่ายินยอม ส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญพบว่า ทรัพยากรด้านบุคลากร อุปกรณ์ และสถานที่ แผนงานและงบประมาณ ตลอดจนอิทธิพลทางสังคม สามารถส่งผลกระทบต่อความสำเร็จและความล้มเหลวในการปรับใช้ระบบการบริจาคอวัยวะแบบถือว่ายินยอม เพื่อแก้ไขสถานการณ์การขาดแคลนอวัยวะบริจาคของประเทศไทย ดังนั้น หน่วยงานด้านการบริจาคอวัยวะควรต้องประเมินความคุ้มค่าประเมินทางสุขภาพและผลกระทบต่าง ๆ ก่อนการปรับเปลี่ยนระบบการบริจาคอวัยวะ เพื่อแก้ไขสถานการณ์การขาดแคลนอวัยวะบริจาคของประเทศไทย แม้สุดท้ายการเปลี่ยนเป็นระบบการบริจาคอวัยวะแบบถือว่ายินยอมไม่อาจเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย แต่หน่วยงานด้านการบริจาคอวัยวะควรต้องดำเนินมาตรการเบื้องต้นบางอย่าง เพื่อผ่อนคลายผลกระทบของสถานการณ์การขาดแคลนอวัยวะบริจาคให้ได้มากที่สุด เช่น การทบทวนและออกแบบแนวทางใหม่ของการสื่อสารประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในครอบครัว และการทบทวนแผนงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านสาธารณสุข


บทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว: กรณีศึกษากรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธนารัตน์ อุดมวรรณาเขตร Jan 2020

บทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว: กรณีศึกษากรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธนารัตน์ อุดมวรรณาเขตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว: กรณีศึกษากรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ (1) ศึกษาและทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่และลักษณะการจ้างงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุทั้ง 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็นทางการและผู้ดูแลผู้สูงอายุไม่เป็นทางการ รวมถึง (2) วิเคราะห์ถึงบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีต่อความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก เก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุจำนวน 180 ราย และครอบครัวผู้สูงอายุ จำนวน 10 ครอบครัว ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะการจ้างงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีบทบาทและหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุที่คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่ทำให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุทั้ง 2 ประเภทมีความแตกต่างกัน คือ 1) ด้านเส้นทางการเข้าสู่อาชีพ 2) ด้านสัญญาจ้าง 3) ด้านมาตรฐานการทำงาน 4) ด้านค่าแรงและสวัสดิการ 5) ด้านระยะเวลาการทำงาน และ 6) ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน นอกจากนี้ ในส่วนของรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ สามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ 1) การดูแลเฉพาะผู้สูงอายุ 2) การดูแลและทำความสะอาดในพื้นที่ของผู้สูงอายุ และ 3) การดูแล เตรียมอาหารและทำความสะอาดในพื้นที่ของผู้สูงอายุ ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบของการดูแลผู้สูงอายุส่งผลต่อความสัมพันธ์ภายในครอบครัวทั้งในระดับดี ระดับปานกลาง และระดับแย่ จากผลการศึกษาข้างต้น นำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังนี้ (1) ผู้กำหนดนโยบายควรให้ความสำคัญกับอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้นโดยการพัฒนามาตรฐานอาชีพ รวมถึงระบบประเมินและตรวจสอบการทำงาน และ(2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเสริมสร้างบทบาทผู้ดูแลผู้สูงอายุในการการสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัวผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของทั้งผู้สูงอายุ สมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุ


แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วมในเมือง กรณีศึกษา สวนสาธารณะและพื้นที่ใต้สะพานพระราม 8 กรุงเทพมหานคร, อรทัย คุณะดิลก Jan 2020

แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วมในเมือง กรณีศึกษา สวนสาธารณะและพื้นที่ใต้สะพานพระราม 8 กรุงเทพมหานคร, อรทัย คุณะดิลก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในเมืองเป็นอย่างมาก แต่ทั้งนี้ปัญหาต่าง ๆ ของสวนสาธารณะที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะที่ยังขาดกลไกของกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างมีศักยภาพ งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะที่มุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะในเมือง กรณีศึกษา สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างแนวทางการจัดการพื้นที่สาธารณะที่มีศักยภาพและพื้นที่สาธารณะกรณีศึกษา และเพื่อนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเอกสารเพื่อสร้างตัวอย่างที่ดีในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วม โดยวิเคราะห์ผ่านแนวคิดการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะและทฤษฎีกระบวนการมีส่วนร่วม และวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วมในการใช้พื้นที่สวนสาธารณะพระราม 8 และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งใช้การสุ่มกลุ่มประชากรแบบเจาะจง ที่ทำกิจกรรมในสวนทั้งหมด 6 ประเภทๆละ 2 คน รวม 12 คน และสัมภาษณ์ผู้มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะ อีก 2 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการมีสวนร่วมในสวนหลวงพระราม 8 ประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญ 3 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านกายภาพ 2) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ และ 3) ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นปัจจัยทางกายภายที่ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะได้ชัดเจนที่สุดเมื่อเทียบกับปัจจัยอื่น ๆ ดังนั้นการสร้างตัวอย่างการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วมต้องมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ 1) การจัดหาพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วม 2) การออกแบบพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วม 3) การระดมทุนและจัดสร้างพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วม 4) การบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วม 5) การดูแลและฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วม ทั้งนี้ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะของประเทศไทย มีดังนี้ 1) ปรับแก้ข้อกฎหมายที่ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะ 2) จัดตั้งองค์กรเอกชนเพื่อการพัฒนาพื้นที่สาธารณะและเป็นตัวแทนในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะ 3) กำหนดต้นแบบการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วมที่ระบุถึงขั้นตอนในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะ 4) สร้างจิตสำนึกการเป็นเจ้าของพื้นที่สาธารณะเพื่อให้เกิดการตระหนักในการดูแลรักษาพื้นที่สาธารณะ และ 5) ผลักดันโครงการ Green Bangkok 2030 ให้สอดคล้องกับต้นแบบการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วมและกำหนดเข้าสู่กรอบการออกกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม


แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน เพื่อผู้ใช้ถนนปลอดภัย : กรณีศึกษากลุ่มเสี่ยง ในเขตพื้นที่เสี่ยง จังหวัดปทุมธานี, มิณฑกานต์ สร้อยแสง Jan 2020

แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน เพื่อผู้ใช้ถนนปลอดภัย : กรณีศึกษากลุ่มเสี่ยง ในเขตพื้นที่เสี่ยง จังหวัดปทุมธานี, มิณฑกานต์ สร้อยแสง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงาน ตามนโยบายของรัฐด้านวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน ในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในเขตพื้นที่เสี่ยง จังหวัดปทุมธานี และเพื่อศึกษาการตอบสนองของผู้ใช้รถใช้ถนนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่เสี่ยง จังหวัดปทุมธานี ต่อนโยบายของรัฐด้านวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน กลุ่มเป้าหมายสำหรับการวิจัย คือผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอุบัติเหตุทางถนน และประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน ใช้เกณฑ์ในการเลือกโดยประเมินจากผู้ที่มีการใช้รถใช้ถนนเป็นประจำในช่วงอายุ 16-25 ปีในพื้นที่ที่ทำการศึกษา โดยกำหนดรูปแบบการวิจัยแบ่งเป็น การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกับกลุ่มประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 16-25 ปี ทั้งชายและหญิงจำนวน 150 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิจัยเชิงคุณภาพ คือการศึกษาภาคสนามโดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ซึ่งกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ 11 ท่าน และกลุ่มผู้ใช้รถใช้ถนนที่มีอายุตั้งแต่ 16-25 ปี และเคยประสบอุบัติเหตุทางถนน ทั้งชายและหญิง รวมทั้งสิ้นจำนวน 8 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง การตรวจสอบและวิเคราะห์ของการวิจัยเชิงคุณภาพในขั้นตอนนี้จะใช้วิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า 1) หน่วยงานที่รับผิดชอบอุบัติเหตุทางถนน ถูกกำหนดหน้าที่และภารกิจต่างกันภายใต้ 5 เสาหลัก ตามทศวรรษแห่งความปลอดภัย มีลักษณะการดำเนินงานที่มีความผสมผสานระหว่างตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล (Rational Model) ตัวแบบด้านการจัดการ (Management Model) และตัวแบบทางด้านการเมือง (Political Model) 2) ผู้ใช้รถใช้ถนนมีการตอบสนองด้านวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ส่วนการตอบสนองด้านวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนที่อยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ด้านความเร็วในการขับขี่บนท้องถนน และด้านการสวมหมวกนิรภัย ซึ่งการตอบสนองเหล่านี้ ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากครอบครัวและสังคม และการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่ก็มาจากการไม่ปฏิบัติตามพฤติกรรมที่ปลอดภัย แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยควรกระทำในเด็กและเยาวชนเป็นอันดับแรก แต่ต้องสร้างบรรยากาศเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนกับคนทุกเพศทุกวัย มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และอาศัยการร่วมมือจากทางภาครัฐโดยการบูรณาการภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน


การศึกษาการทำงานของผู้สูงอายุชาวมุสลิมในจังหวัดสงขลา, วราพัชร จันทร์เส้ง Jan 2020

การศึกษาการทำงานของผู้สูงอายุชาวมุสลิมในจังหวัดสงขลา, วราพัชร จันทร์เส้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านการทำงาน ปัจจัยเงื่อนไขที่เป็นปัญหาอุปสรรค และปัจจัยสนับสนุนในการทำงานของผู้สูงอายุชาวมุสลิมในจังหวัดสงขลา (2) เพื่อศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมในด้านการทำงานของผู้สูงอายุชาวมุสลิมในจังหวัดสงขลานี้ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ซึ่งมีขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลเริ่มจากการทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการเตรียมความพร้อมด้านการทำงานของผู้สูงอายุชาวมุสลิมในสี่อำเภอจังหวัดสงขลา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 – เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 เป็นระยะเวลา 8 เดือน ได้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุชาวมุสลิมรวมทั้งสิ้น 68 ราย ผลการศึกษา พบว่า ในด้านสถานการณ์การทำงานของผู้สูงอายุชาวมุสลิมในจังหวัดสงขลา ส่วนใหญ่ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องในทุกกลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะในภาคนอกระบบ ทั้งผู้สูงอายุตอนต้น (60 – 69 ปี ) และผู้สูงอายุตอนปลาย (70 ปีขึ้นไป) โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังคนเดียว และกลุ่มผู้สูงอายุที่ลูกหลานย้ายถิ่น ยังคงต้องพึ่งพารายได้จากการทำงานของตนเองเป็นหลัก ในขณะที่ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของผู้สูงอายุชาวมุสลิมได้ส่งผลต่อความมั่นคงทางด้านรายได้ รวมถึงสถานะสุขภาพของคนกลุ่มนี้ด้วย ดังนั้น การเพิ่มโอกาสในการทำงานให้กับผู้สูงอายุจึงเป็นแนวทางหนึ่งเพื่อให้ผู้สูงอายุชาวมุสลิมสามารถใช้ศักยภาพ และองค์ความรู้ที่มีอยู่เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุชาวมุสลิมยังมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นผู้นำทางศาสนา มีการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาให้ความรู้แก่คนในชุมชนในการส่งเสริมและเตรียมความพร้อมในการวางแผนเมื่อเข้าสู่สังคมสูงอายุ เพื่อให้ใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุข อันจะนำไปสู่เป้าหมายให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพทางสังคม


การประเมินความเปราะบางของครัวเรือนต่อการจัดการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม: ชุมชนหมู่1พัฒนา เทศบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น, ชนาภิวัฒน์ ขันทะ Jan 2020

การประเมินความเปราะบางของครัวเรือนต่อการจัดการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม: ชุมชนหมู่1พัฒนา เทศบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น, ชนาภิวัฒน์ ขันทะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบความต้องการต่อการบริหารจัดการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมระหว่างครัวเรือนที่มีความเปราะบางแตกต่างกัน และจัดทำข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ดำเนินการศึกษาโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ครัวเรือนในชุมชนหมู่1พัฒนา จำนวนทั้งสิ้น 231 ครัวเรือนและได้รับแบบสอบถามกลับคืน 111 ครัวเรือน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.812 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการบรรยายข้อมูลสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ความแตกต่างของตัวแปรที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Anova) ผลการศึกษาพบว่า ครัวเรือนที่มีความเปราะบางที่แตกต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกันต่อความต้องการบริหารจัดการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม, เกณฑ์อยู่ในระดับปานกลาง ,พบว่ามี 2 ประเด็น คือ การจัดหาพื้นที่หลับนอนและการจัดหาพื้นที่แยกสมาชิกกลุ่มเปราะบาง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ,และข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยการจัดเตรียมถุงยังชีพในครัวเรือนเพื่อพร้อมอพยพอยู่เสมอ ส่งเสริมกิจกรรมและกระตุ้นให้คนในชุมชนตระหนักถึงผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมที่ส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สิน


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นสมาร์ตฟาร์มเมอร์ในจังหวัดสระเเก้ว, ไชยวัฒน์ สมสอางค์ Jan 2019

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นสมาร์ตฟาร์มเมอร์ในจังหวัดสระเเก้ว, ไชยวัฒน์ สมสอางค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นสมาร์ตฟาร์มเมอร์ในจังหวัดสระแก้ว” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นสมาร์ตฟาร์มเมอร์ และได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานรัฐและเกษตรกร โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวนาที่ทำนานอกเขตชลประทานในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ทั้งเพศชายและหญิง จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) แบบวิธี Stepwise โดยการวิจัยในครั้งนี้กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นสมาร์ตฟาร์มเมอร์ของชาวนาในพื้นที่นอกเขตชลประทานของจังหวัดสระแก้ว ได้แก่ ปัจจัยด้านการได้รับการอบรม ใน 2 มิติ คือเรื่องการนำความรู้มาปรับใช้ในพื้นที่นา และเรื่องการได้รับการอบรมจะช่วยพัฒนาตนเองและอาชีพ ในด้านปัจจัยแรงจูงใจจากเกษตรกรต้นแบบ มี 1 มิติคือ เรื่องการได้รับแรงจูงใจจากเกษตรกรต้นแบบจะช่วยพัฒนาตนเองและอาชีพส่วนปัจจัยด้านการมีเป้าหมายที่ชัดเจน มี 1 มิติคือ เรื่องการมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยพัฒนาตนเองและอาชีพ รวมทั้งปัจจัยด้านการรวมกลุ่ม มี 1 มิติคือ เรื่องความสมัครใจในการเป็นสมาชิกกลุ่มด้านการเกษตร และปัจจัยด้านการบริหารจัดการพื้นที่นา ซึ่งมีค่าแปรผกผัน ใน 2 มิติ คือ เรื่องการรู้สภาพดินเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับวางแผนการทำนาและการบริหารจัดการพื้นที่นาจะช่วยพัฒนาตนเองและอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การออกแบบเกมกระดานเพื่อให้คนรุ่นใหม่ตระหนักรู้ประโยชน์ของสวนสาธารณะ : กรณีศึกษาสวนลุมพินีกรุงเทพมหานคร, ณัฐพล พูลนาผล Jan 2019

การออกแบบเกมกระดานเพื่อให้คนรุ่นใหม่ตระหนักรู้ประโยชน์ของสวนสาธารณะ : กรณีศึกษาสวนลุมพินีกรุงเทพมหานคร, ณัฐพล พูลนาผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความความรู้ความเข้าใจในประโยชน์สวนสาธารณะผ่านการเล่นเกมกระดาน 2) เพื่อออกแบบเกมกระดานให้คนรุ่นใหม่ตระหนักรู้ประโยชน์ของสวนสาธารณะ โดยเริ่มต้นจากการศึกษาประโยชน์ของสวนสาธารณะในประเทศไทยโดยเฉพาะการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สวนลุมพินี ซึ่งมีการไปสังเกตพฤติกรรมในการใช้ประโยชน์ของสวนลุมพินีของคนในช่วงวัยต่างๆ จากนั้นจะเป็นการสอบถามและพูดคุยเกี่ยวกับความรู้และความเข้าใจถึงประโยชน์ของพื้นที่สวนสาธารณะ จากการลงพื้นที่พูดคุยกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ทั้งกลุ่มคนวัยรุ่นและวัยทำงานพบว่า ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆนั้นต้องได้รับความสนุกสนานควบคู่ไปกับความรู้ ทางผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรนำเกมกระดานมาใช้เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความรู้และความเข้าในในประโยชน์ของพื้นที่สวนสาธารณะ เกมกระดานที่จะใช้นำมาใช้เป็นเครื่องมือในงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการออกแบบเป็นเกมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประโยชน์ของสวนสาธารณะซึ่งหลังจากนำเกมไปให้กลุ่มคนที่เข้ามาใช้พื้นที่สวนลุมพินีได้ลองเล่น และเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ในกลุ่มคนรุ่นใหม่มีความเข้าใจในการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สวนลุมพินีเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านการใช้พื้นที่สำหรับการออกกำลังกาย การพักผ่อน รวมถึงการใช้สวนสาธารณะทำกิจกรรมนันทนาการต่างๆ ผลจากการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะเรื่องการนำเกมกระดานไปสร้างความตระหนักรู้ประโยชน์ของสวนสาธารณะและนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการวัดความต้องการในการใช้ประโยชน์ของสวนสาธารณะในกลุ่มคนต่างๆในชุมชนจนนำไปสู่การออกแบบสวนสาธารณะที่ตรงกับความต้องการของคนในสังคม


การถอดบทเรียนการมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการคิดเชิงออกแบบ : กรณีศึกษาโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูชุมชนย่านตลาดน้อย กรุงเทพมหานคร, ธงชัย เลิศกาญจนาพร Jan 2019

การถอดบทเรียนการมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการคิดเชิงออกแบบ : กรณีศึกษาโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูชุมชนย่านตลาดน้อย กรุงเทพมหานคร, ธงชัย เลิศกาญจนาพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และค้นหาปัจจัยความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการคิดเชิงออกแบบจากโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูชุมชนย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร และเพื่อเสนอแนวทางส่งเสริมการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูชุมชนย่านเมืองเก่าต่อไป ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับกลุ่มเป้าหมายคือผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เข้าร่วมโครงการทุกครั้งและมีความสมัครใจให้ข้อมูลจำนวน 20 คน และศึกษาวิเคราะห์เอกสารรายงานสรุปผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่อง วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการวิจัยในลักษณะเชิงพรรณนาและพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการคิดเชิงออกแบบในการอนุรักษ์ฟื้นฟูชุมชนมี5ขั้นตอน คือ 1)ขั้นเข้าใจปัญหา ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการมีความสามารถในการเข้าถึงผู้คนในชุมชนและเข้าใจปัญหาในพื้นที่ ทำให้สามารถสร้างจุดร่วมและความเข้าใจปัญหาของชุมชนเกิดขึ้นกับคนในชุมชน 2) ขั้นกำหนดประเด็นปัญหา มีการส่งเสริมให้ชุมชนร่วมวิเคราะห์ปัญหาโดยกำหนดปัญหาและสิ่งที่ต้องพัฒนาที่ชัดเจนเพื่อให้ได้แนวทางและประเด็นที่ต้องแก้ไขร่วมกัน 3) ขั้นการระดมความคิดหาแนวทางแก้ปัญหา มีการจัดกระบวนการทำงานร่วมกันเป็นทีมระหว่างตัวแทนชุมชน ผู้ประกอบการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หน่วยงานราชการและนักวิชาการจากต่างสาขาและจัดประชุมกลุ่มย่อยที่ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมกล้าแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระเพื่อให้ได้แนวทางการแก้ปัญหาที่รอบด้านและแตกต่างจากวิธีการเดิม 4) ขั้นพัฒนาต้นแบบ มีกระบวนการร่วมกันสร้างภาพบริบทสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงในช่วงการประชุมและจัดทำภาพจำลองแสดงข้อมูลจึงทำให้สื่อสารแนวทางการแก้ปัญหาตามที่ได้วางแผนร่วมกันให้เข้าใจง่ายและตรงกันยิ่งขึ้น และ 5) ขั้นทดสอบ มีกระบวนการร่วมกันทดสอบและตรวจดูแบบผังต้นแบบของการพัฒนาย่าน ทั้งรอบทีมงานดำเนินกิจกรรม รอบประชาชนทั่วไปในพื้นที่และผู้ที่สนใจร่วมกันประชาพิจารณ์ทำให้ได้ข้อเสนอแนะมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงย่านให้ดีขึ้น โดยสรุปการถอดบทเรียนในครั้งนี้ทำให้ทราบว่าปัจจัยของความสำเร็จคือ กระบวนการคิดเชิงออกแบบเป็นกระบวนการที่ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมืออย่างจริงใจและจริงจัง เกิดความตระหนักเข้าใจในปัญหาของชุมชนและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจึงมีความรู้สึกเป็นเจ้าของงานซึ่งเป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จของโครงการ และที่สำคัญทางหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการมีความสามารถเข้าถึงปัญหาและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริงและเข้าถึงใจคนในชุมชนจนเป็นที่ไว้วางใจ เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความร่วมมือของชุมชนได้อย่างเต็มที่และเต็มใจ