Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Business Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Technology and Innovation

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2018

Articles 1 - 14 of 14

Full-Text Articles in Business

การพัฒนาอุปกรณ์ออกกำลังกายที่ป้องกันการล้มสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการทรงตัว, จาริณี จิระพันธุ์ Jan 2018

การพัฒนาอุปกรณ์ออกกำลังกายที่ป้องกันการล้มสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการทรงตัว, จาริณี จิระพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาอุปกรณ์ออกกำลังกายที่ป้องกันการล้มสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการทรงตัว สำหรับใช้ร่วมกับโปรแกรมฝึกการทรงตัวที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยศึกษาในอาสาสมัครหญิง อายุระหว่าง 70-85 ปี ที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนล่างอยู่ในระดับ 2+ ถึง 3+ จำนวน 26 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 13 คน ได้แก่ กลุ่มทดลอง เป็นกลุ่มที่ฝึกการทรงตัวด้วยโปรแกรมฝึกการทรงตัวร่วมกับอุปกรณ์ออกกำลังกายที่ป้องกันการล้มสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการทรงตัว อายุเฉลี่ย 75 ปี และกลุ่มควบคุม เป็นกลุ่มที่ฝึกการทรงตัวด้วยโปรแกรมฝึกการทรงตัวเพียงอย่างเดียว อายุเฉลี่ย 76 ปี ซึ่งได้ฝึกการทรงตัวร่วมกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที จากนั้นเปรียบเทียบกรณีกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน ด้วยการทดสอบค่าทีใน 12 การทดสอบ ได้แก่ ความสามารถในการทรงตัวแบบอยู่กับที่ ทดสอบด้วยอุปกรณ์ ไบโอเด็กซ์ บาลานซ์ ซีสเต็ม (ทดสอบการทำงานประสานกันของระบบรับความรู้สึกและการทรงตัวทางคลินิค 3 การทดสอบ ความสามารถในการควบคุมการทรงตัว 3 การทดสอบ และความเสี่ยงในการล้ม 1 การทดสอบ) ความสามารถในการทรงตัวแบบเคลื่อนที่ทดสอบด้วย การลุกเดินจากเก้าอี้ไปและกลับ 8 ฟุต ภาวะกลัวการล้มทดสอบด้วยแบบทดสอบภาวะกลัวการล้มสำหรับผู้สูงอายุไทย ความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวันทดสอบด้วยแบบบาร์ทัล เอดีแอล ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนล่างทดสอบด้วยการทดสอบลุกยืนจากเก้าอี้ 30 วินาที และความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวทดสอบด้วยถุงลมวัดความดัน พบว่า ค่าเฉลี่ยของทุกการทดสอบในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน และผลการเปรียบเทียบแยกรายกลุ่ม ก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลองด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวเมื่อวัดซ้ำพบว่า กลุ่มทดลองมีผลการทดสอบ ความสามารถในการควบคุมการทรงตัวแบบหน้า-หลัง การลุกเดินจากเก้าอี้ไปและกลับ 8 ฟุต การทดสอบภาวะกลัวการล้ม การทดสอบลุกยืนจากเก้าอี้ 30 วินาที และการทดสอบด้วยถุงลมวัดความดัน พัฒนาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) กลุ่มควบคุมมีผลการทดสอบ ความสามารถในการควบคุมการทรงตัวแบบด้านข้าง ความสามารถในการควบคุมการทรงตัวภาพรวม การลุกเดินจากเก้าอี้ไปและกลับ 8 ฟุต การทดสอบภาวะกลัวการล้ม การทดสอบลุกยืนจากเก้าอี้ 30 วินาที และการทดสอบด้วยถุงลมวัดความดัน พัฒนาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการฝึกการทรงตัวด้วยโปรแกรมฝึกการทรงตัวที่ผู้วิจัยออกแบบขึ้น ช่วยพัฒนาสมรรถนะการทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนล่าง และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว อีกทั้งการนำอุปกรณ์ออกกำลังกายที่ป้องกันการล้มสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการทรงตัวมาใช้ร่วมกับโปรแกรมฝึกการทรงตัวนั้น มีแนวโน้มช่วยส่งเสริมสมรรถนะการทรงตัวให้ดีขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงในการล้มขณะฝึกการทรงตัวได้ดี มีความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ในการทำธุรกิจอุปกรณ์ออกกำลังกายที่ป้องกันการล้มสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการทรงตัว ร่วมกับโปรแกรมฝึกการทรงตัวที่พัฒนาขึ้น โดยใช้เงินลงทุน 1,800,000 บาท มีมูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 4,739,498 บาท คืนทุนในเวลา 3 ปี 5 เดือน ผลตอบแทนการลงทุนร้อยละ 37


นวัตกรรมระบบประเมินสมรรถนะพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, ทิพย์สุดา วงศ์คำดี Jan 2018

นวัตกรรมระบบประเมินสมรรถนะพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, ทิพย์สุดา วงศ์คำดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบสมรรถนะพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ได้ดำเนินการวิจัยโดยใช้การศึกษาแบบเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง ตามด้วย EFA และ CFA โดยเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง เริ่มจากการสัมภาษณ์จำนวน 3 รอบ ซึ่งใน รอบที่ 1 ใช้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 28 ท่าน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นในรอบที่ 2 และ 3 เหลือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 23 ท่าน แล้วทำการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามปลายปิด 5 ระดับ ประกอบด้วยข้อความที่เกี่ยวข้องกับตัวบ่งชี้สมรรถนะพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 60 ข้อความ การวิเคราะห์ผลข้อคำตอบจากแบบสอบถามรอบที่ 3 โดยพิจารณาจากค่ามัธยฐานตั้งแต่ 4.50 ขึ้นไป ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.50 และความแตกต่างระหว่างฐานนิยม และค่ามัธยฐานไม่เกิน 1.00 ในแต่ละข้อความ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้ง 23 ท่านได้แสดงประเด็นให้เห็นถึง องค์ประกอบที่สำคัญเกี่ยวกับสมรรถนะพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 7 องค์ประกอบ คือ 1.ด้านการประมวลผลสารสนเทศและเทคโนโลยี 2.ด้านการติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน 3.ด้านการสร้างคอนเทนต์ 4.ด้านความปลอดภัย ความมั่นคงข้อมูล และความเป็นส่วนตัว 5.ด้านการแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง 6.ด้านพื้นฐานธุรกิจ 7. ด้านกฎหมายและกฎเกณฑ์ โดยมีความเห็นสอดคล้องในระดับมากที่สุดต่อข้อความ 1) สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ 2) สามารถทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ ใช้ Mobile Banking ได้ และ 3) มุ่งเน้นให้ลูกค้าบอกต่อ หรือลูกค้าเดิมมาซื้อซ้ำ เน้นการบริการที่ดี ด้วยค่ามัธยฐาน = 5.00 ค่าพิสัยควอไทล์ = 0.00 และค่าความแตกต่างระหว่างค่าฐานนิยม และค่ามัธยฐาน = 0.00 โดยเมื่อใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 3 รอบ มีองค์ประกอบที่นำมาใช้จริง 7 ด้าน 60 ตัวบ่งชี้ เมื่อผ่านการทำ EFA และ CFA เหลือองค์ประกอบจำนวน 7 …


นวัตกรรมระบบประเมินความพร้อมชุมชนเพื่อความยั่งยืนทางด้านการเกษตรและการท่องเที่ยว, ธนัยนันท์ ธนันท์ปพัฒน์ Jan 2018

นวัตกรรมระบบประเมินความพร้อมชุมชนเพื่อความยั่งยืนทางด้านการเกษตรและการท่องเที่ยว, ธนัยนันท์ ธนันท์ปพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมชุมชนเพื่อความยั่งยืนทางด้านการเกษตรและการ ท่องเที่ยว ศึกษาเกณฑ์การประเมินความพร้อมชุมชน ออกแบบและพัฒนาระบบประเมินความพร้อมชุมชนที่เป็นที่ ยอมรับและสามารถนำระบบไปสู่การใช้ประโยชน์ของนวัตกรรมในการประเมินความพร้อมชุมชนเพื่อความยั่งยืน ทางด้านการเกษตรและการท่องเที่ยวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยนำกระบวนการสร้างนวัตกรรม 5D คือ 1. การค้นหาโอกาสทางนวัตกรรม (Discovery) 2. การทำความเข้าใจและระบุปัญหา (Define) 3. การออกแบบแนวคิดนวัตกรรม (Design) 4. การ พัฒนานวัตกรรม (Develop) 5. การนำนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (Deploy) มาเป็นกรอบในการวิจัย โดยการศึกษาเอกสารตำรา หนังสือและข้อมูลทุติยภูมิต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การศึกษาข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ เบื้องต้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนและการสนทนากลุ่มผู้นำชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง 5 ชุมชน การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำชุมชนต้นแบบด้านการเกษตรและการท่องเที่ยว 12 ชุมชน การสัมภาษณ์ เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 7 ท่าน และการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างชุมชนด้วยแบบสอบถามจาก 251 ชุมชน จำนวน 602 ตัวอย่างจากทุกภูมิภาคของประเทศ และนำผลมาวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยหลักการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ และการถ่วงน้ำหนักองค์ประกอบ ผลการศึกษาพบว่า ความพร้อมชุมชนเพื่อความยั่งยืนทางด้านการเกษตรและการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 9 ด้าน ได้แก่ ด้านความร่วมมือและการบริหารจัดการ ด้านการผลิตและการตลาด ด้านคุณธรรมและ ความเป็นเจ้าของ ด้านวัฒนธรรม ด้านผู้นำชุมชน ด้านกฎระเบียบและวินัยชุมชน ด้านการสื่อสาร ด้านการสนับสนุน จากหน่วยงานภายนอก และด้านความรู้ที่จำเป็น ทั้ง 9 ด้านนี้มีปัจจัยที่เป็นเกณฑ์ประเมินจำนวน 40 ข้อ ต้นแบบ นวัตกรรมระบบประเมินความพร้อมชุมชนเพื่อความยั่งยืนทางด้านการเกษตรและการท่องเที่ยวเพื่อชุมชนประเมิน ตนเองผ่านเว็บไซต์สามารถรายงานผลความพร้อมชุมชนฯ ให้ชุมชนรับรู้ โดยแสดงระดับความพร้อมชุมชนฯ 3 ระดับ คือ น้อย ปานกลาง และมาก ทั้งรายด้านและภาพรวม รวมทั้งเสนอแนวทางการยกระดับความพร้อมชุมชนฯ ทั้งรายด้านและภาพรวมด้วย ผลจากการทดสอบการยอมรับการใช้ระบบและการนำระบบไปสู่การใช้ประโยชน์ของ นวัตกรรมระบบประเมินความพร้อมชุมชนฯ จาก 30 ชุมชน พบว่าชุมชนร้อยละ 90 ให้ความสนใจนำนวัตกรรม ระบบประเมินความพร้อมชุมชนฯ ไปใช้ ซึ่งประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนในรูปแบบการคาดการณ์ ล่วงหน้า …


การใช้สารกระตุ้นชีวภาพไคโตซานในการเพิ่มคุณภาพของเมล็ดข้าว, ฐิติ เติมเศรษฐเจริญ Jan 2018

การใช้สารกระตุ้นชีวภาพไคโตซานในการเพิ่มคุณภาพของเมล็ดข้าว, ฐิติ เติมเศรษฐเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้สารกระตุ้นชีวภาพไคโตซาน ในการเพาะปลูกข้าวลักษณะ pre-harvest เพื่อเพิ่มคุณภาพของเมล็ดข้าวจากกระบวนการขัดสี ซึ่งเลือกทดลองในข้าวเจ้าพันธุ์ กข41 และพันธุ์ปทุมธานี 1 ใช้วิธีการวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design) มีปัจจัยในการศึกษาปัจจัยเดียวคือ การใช้สารกระตุ้นชีวภาพไคโตซานในแปลงทดลองเปรียบเทียบกับชุดแปลงทดลองควบคุม โดยนำผลลัพธ์ข้าวเปลือกที่ได้มาผ่านกระบวนการสีข้าว แล้วตรวจสอบปริมาณผลผลิตที่ได้จากกระบวนการขัดสี รวมถึงตรวจสอบคุณภาพเชิงกายภาพของเมล็ดข้าว ผลการทดลองพบว่า การใช้สารกระตุ้นชีวภาพไคโตซานในข้าวเจ้าพันธุ์ กข41 ทำให้ปริมาณข้าวกล้อง , ปริมาณข้าวขาวรวม และปริมาณข้าวขาวเต็มเมล็ดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยได้ปริมาณข้าวขาวเต็มเมล็ดเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.99 เมื่อเทียบกับชุดทดลองควบคุม สำหรับในข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 พบว่า มีปริมาณข้าวกล้อง, ปริมาณข้าวขาวรวม และปริมาณข้าวขาวเต็มเมล็ดที่ได้จากกระบวนการสีข้าวเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยได้ปริมาณข้าวขาวเต็มเมล็ดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.06 เมื่อเทียบกับชุดทดลองควบคุม หลังจากตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพของเมล็ดข้าว ได้แก่ นํ้าหนักข้าวกล้องเต็มเมล็ด 100 เมล็ด, ค่าความแกร่งเมล็ดข้าวกล้อง และขนาดเมล็ดข้าวกล้อง ในข้าวทั้ง 2 สายพันธุ์ พบว่ามีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับการศึกษาผลกระทบของนวัตกรรมสารกระตุ้นชีวภาพไคโตซานในเชิงพาณิชย์ พบว่า การใช้สารกระตุ้นชีวภาพไคโตซานในการเพาะปลูกข้าวทั้ง 2 สายพันธุ์ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตที่ได้จากกระบวนการสีข้าว แต่พบว่าจะมีความคุ้มค่าด้านการลงทุนเมื่อใช้สารกระตุ้นชีวภาพไคโตซานในข้าวสายพันธุ์ที่มีมูลค่าทางการตลาดสูงมากกว่าข้าวสายพันธุ์ที่มีมูลค่าทางการตลาดต่ำ และสามารถใช้สารกระตุ้นชีวภาพไคโตซานร่วมกับการฉีดพ่นปุ๋ยปกติ เพื่อลดต้นทุนค่าฉีดพ่นสารนี้ได้


นวัตกรรมการจัดการความรู้ด้านการเงินสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็กในประเทศไทย, ปณิตา ราชแพทยาคม Jan 2018

นวัตกรรมการจัดการความรู้ด้านการเงินสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็กในประเทศไทย, ปณิตา ราชแพทยาคม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันธุรกิจขนาดเล็กมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในหลาย ๆ ประเทศ เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ธุรกิจขนาดเล็กมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็กที่ขยายตัวตามอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็ก (ผู้ประกอบการ) เผชิญกับความล้มเหลวทางธุรกิจ เนื่องจากขาดความรู้ด้านการเงิน ประสบการณ์ และเครื่องมือการจัดการความรู้ด้านการเงินซึ่งมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของธุรกิจ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการจัดการความรู้ สภาพปัจจุบันและความต้องการความรู้ด้านการเงิน และสภาพปัจจุบันการใช้และความต้องการเครื่องมือการจัดการความรู้ด้านการเงินของผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็กในประเทศไทย (ผู้ประกอบการร้านอาหาร) เพื่อพัฒนาต้นแบบเครื่องมือการจัดการความรู้ด้านการเงินสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร เพื่อทดสอบการใช้และการยอมรับเครื่องมือการจัดการความรู้และพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้างเก็บข้อมูลเชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าผู้ประกอบการร้านอาหารให้ความสำคัญกับการหาความรู้มากที่สุด สำหรับความรู้ด้านการเงินผู้ประกอบการร้านอาหารให้ความสำคัญและต้องการความรู้ในการหาเงินทุนมากที่สุดเพื่อนำเงินมาเริ่มต้นธุรกิจ และความรู้ในการทำแผนธุรกิจเพื่อเตรียมความพร้อมทางธุรกิจ จากการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ด้วย Pearson's correlation และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ พบว่าระดับการหาความรู้และระดับการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับความต้องการเครื่องมือการจัดการความรู้ด้านการเงิน พบว่าความรู้เกี่ยวกับการหาเงินทุน การทำแผนธุรกิจ และการทำบัญชีมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับการหาความรู้ พบว่าความรู้เกี่ยวกับการทำแผนธุรกิจ และการทำบัญชีมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ จากการวิเคราะห์การจัดกลุ่มสามารถแบ่งผู้ประกอบการร้านอาหารออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ประกอบการร้านอาหารที่ใช้และต้องการเครื่องมือการจัดการความรู้ด้านการเงินในระดับต่ำและระดับสูง โดยในการวิจัยนี้ศึกษากลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีระดับการใช้และต้องการเครื่องมือการจัดการความรู้ด้านการเงินในระดับสูง จากผลการทดสอบคอครันคิวและการทดสอบแมคนีมาร์ พบว่าผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีระดับการใช้และต้องการเครื่องมือการจัดการความรู้ด้านการเงินในระดับสูงใช้เว็บไซด์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือหลักในการหาความรู้ และแบ่งปันความรู้ นอกจากนี้ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ พบว่าผู้ประกอบการร้านอาหารที่ใช้และต้องการเครื่องมือการจัดการความรู้ด้านการเงินในระดับสูง สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจร้านอาหารอย่างจำกัด ที่ต้องการเครื่องมือในการหาความรู้ที่มีลักษณะการใช้งานเพียงเลือกเมนูใช้งาน 2 - 3 ครั้งก็สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่ต้องการ และผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจร้านอาหารที่ต้องการเครื่องมือในการหาความรู้ และแบ่งปันความรู้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงพัฒนาต้นแบบเครื่องมือการจัดการความรู้ด้านการเงินสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารตามผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยนี้ สามารถเติมช่องว่างงานวิจัยจากการจัดการความรู้ในองค์กรขนาดใหญ่มาสู่การจัดการความรู้ในองค์กรขนาดเล็กในบริบทของผู้ประกอบการร้านอาหาร และช่องว่างงานวิจัยความรู้ด้านการเงินสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กมาสู่แนวคิดความรู้ด้านการเงินโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารซึ่งมีลักษณะการบริหารจัดการด้านการเงินต่างจากธุรกิจประเภทอื่น นอกจากนี้ ต้นแบบเครื่องมือการจัดการความรู้ด้านการเงินนี้เป็นเครื่องมือช่วยเสริมสร้างความรู้ด้านการเงินให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีหน้าที่ดูแลธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถนำแนวคิดและต้นแบบเครื่องมือการจัดการความรู้ด้านการเงินนี้ไปพัฒนาต่อยอดเป็นเครื่องมือการจัดการความรู้ด้านอื่น เช่น ความรู้ด้านปฏิบัติการ ความรู้ด้านการทำตลาดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น


นวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้งของเกษตรกรรายย่อยภายใต้กลุ่มสหกรณ์, ธนภัทร ยีขะเด Jan 2018

นวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้งของเกษตรกรรายย่อยภายใต้กลุ่มสหกรณ์, ธนภัทร ยีขะเด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมด้านสารสนเทศต่อการสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยภายใต้กลุ่มสหกรณ์ 2) พัฒนาต้นแบบนวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้ง 3) ศึกษาการยอมรับการใช้งานนวัตกรรม และ 4) การนำนวัตกรรมต้นแบบไปสู่เชิงพาณิชย์ โดยในการวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านสารสนเทศในการจัดการฟาร์มและสนับสนุนการตัดสินใจ และการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจำนวน 90 ตัวอย่าง และการพัฒนาตัวแบบพยากรณ์ราคากุ้งเพื่อใช้สนับสนุนการวางแผนและตัดสินใจจากชุดข้อมูลราคากุ้งและข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องย้อนหลัง 5 ปี (2557-2561) จำนวน 830 ชุดข้อมูล โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอย และได้นำโมเดลพยากรณ์ราคากุ้งมาพัฒนาระบบวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจด้านการเงินและจัดการข้อมูลการเลี้ยงกุ้งผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น จากนั้นได้ศึกษาการยอมรับการใช้งานและแนวทางการนำนวัตกรรมต้นแบบสู่เชิงพาณิชย์ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งภายใต้กลุ่มสหกรณ์ใช้สารสนเทศในการวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจบนพื้นฐานของ 7 งานหลักคือ การเลือกแหล่งที่ตั้งของฟาร์ม การวางแผนธุรกิจเลี้ยงกุ้ง การจัดการบ่อเลี้ยง การจัดการกุ้ง การจัดการด้านการเงิน การจัดการฟาร์ม และการจัดการชุมชน สังคมหรือกลุ่มเกษตรกร และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง พบว่า ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความคาดหวังต่อความพยายาม อิทธิพลจากสังคม การสนับสนุนของทรัพยากร และอำนาจของผู้มีส่วนร่วม มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีที่ระดับ 51.4% 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับโมเดลพยากรณ์ราคากุ้งพบว่า ราคากุ้ง = -1759.426-1.066(ขนาดของกุ้ง)+9.881(อัตราเงินเฟ้อ)+11.135(ดัชนีราคาผู้ผลิต)-1.835(ดัชนีราคาผู้ผลิตภาคเกษตรกรรม) +1.863(อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา)+0.002(อัตราผลิตกุ้งขาวแวนนาไมรวม)-1.864(ราคาน้ำมันดีเซล)+42.448(ถ้าเป็นเดือนมกราคม)+53.286 (ถ้าเป็นเดือนกุมภาพันธ์)+30.325(ถ้าเป็นเดือนมีนาคม)+2.057(ถ้าเป็นเดือนเมษายน)-20.070(ถ้าเป็นพฤษภาคม)-10.085(ถ้าเป็นเดือนมิถุนายน)-3.180(ถ้าเป็นเดือนกรกฎาคม)-3.320 (ถ้าเป็นเดือนสิงหาคม)-11.835(ถ้าเป็นเดือนกันยายน)-30.390(ถ้าเป็นเดือนตุลาคม)-11.835(ถ้าเป็นเดือนพฤศจิกายน) ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลต่อราคากุ้งร้อยละ 89.7 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 โดย โมเดลพยากรณ์ราคากุ้งนี้ได้นำมาพัฒนาเป็นโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจทางด้านการเงินของผู้เลี้ยงกุ้งภายใต้ชื่อ Smart Aqua 3) จากการสอบถามทัศนคติจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานนวัตกรรมต้นแบบจำนวน 30 ตัวอย่าง พบว่ามีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบในด้านความสามารถของระบบ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านความปลอดภัย ด้านการรับรู้ประโยชน์ของระบบ ด้านการสนับสนุนทรัพยากรและข้อมูล ทัศนคติต่อการใช้ และการยอมรับการใช้ในระดับพอใจมากและ 4) การให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียวเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดในการนำนวัตกรรมต้นแบบสู่เชิงพาณิชย์ โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาคืนทุน 3.5 ปี


นวัตกรรมแอปพลิเคชันมือถือสำหรับการประเมินรูปแบบตัวชี้วัดการท่องเที่ยวสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน, จิตรลดา ศุภชัยมงคล Jan 2018

นวัตกรรมแอปพลิเคชันมือถือสำหรับการประเมินรูปแบบตัวชี้วัดการท่องเที่ยวสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน, จิตรลดา ศุภชัยมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวัตกรรมแอปพลิเคชันมือถือสำหรับการประเมินรูปแบบตัวชี้วัดการท่องเที่ยวสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน เป็นเครื่องมือที่นำแนวคิดการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ที่มุ่งเน้นการสร้างความได้เปรียบในการสร้างคุณค่าของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานแห่งความเป็นไทย วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ เป็นต้นทุนการท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทยที่ควรอนุรักษ์ไว้ไปพร้อมกับการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยตามเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบ ตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน 2) ศึกษารูปแบบยืนยันโครงสร้างองค์ประกอบ และตัวชี้วัดในการประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน 3) พัฒนาระบบนวัตกรรมเทคโนโลยี การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน 4) ศึกษาการยอมรับนวัตกรรมเครื่องมือการประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนและแนวทางการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก 13 กลุ่มตัวอย่าง ถอดเทปสัมภาษณ์ วิเคราะห์เนื้อหาและจัดกลุ่มข้อมูล ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันจาก 253 กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ผลการศึกษาพบว่าโมเดลตัวชี้วัดการท่องเที่ยวสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ 36 ตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักของทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับดี กล่าวคือ ด้านพื้นที่ 0.824 ด้านกระบวนการ 0.843 ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ 0.810 ด้านการบริหารจัดการ 1.00 ด้านการจัดการความรู้ 0.937 ด้านเศรษฐกิจ 0.881 ด้านสังคม 0.854 และด้านสิ่งแวดล้อม 0.753 จากนั้นจึงออกแบบและพัฒนาเครื่องมือในรูปแบบของโมไบล์แอปพลิเคชัน นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 30 กลุ่ม พบว่าความพร้อมและการยอมรับนวัตกรรมอยู่ในเกณฑ์ระดับพอใจมาก นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่พัฒนาเป็นแบบเรียลไทม์ ลดการใช้กระดาษ ลดการสูญหายของข้อมูล และการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ได้รับการตอบรับจากองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน


Immersive Learning To Enhance International Exposure In Thai Technopreneurs, Siripen Buranapatimakorn Jan 2018

Immersive Learning To Enhance International Exposure In Thai Technopreneurs, Siripen Buranapatimakorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The ability of Thai technopreneurs to build the right technology product in the right market and to acquire funding is closely tied to their international exposure. However, many lack the financial resources required to obtain international exposure, putting them at a disadvantage in confidence and communication skill at international level. This research explores an affordable and effective solution for providing simulated international exposure to technopreneurs via immersive learning technology. Virtual reality (VR) is an immersive technology that provides a computer-generated three-dimensional environment, in which people can physically and mentally interact. This research investigates the feasibility of employing VR technology as …


นวัตกรรมระบบการเรียนรู้แบบเคลื่อนที่โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพบริการยานยนต์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง, เอกลักษณ์ อิสระมโนรส Jan 2018

นวัตกรรมระบบการเรียนรู้แบบเคลื่อนที่โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพบริการยานยนต์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง, เอกลักษณ์ อิสระมโนรส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการมากขึ้น ซึ่งอาชีวศึกษามีบทบาทที่สำคัญยิ่งในด้านนี้ อย่างไรก็ตามประเด็นปัญหาการพัฒนาในด้านทักษะและสมรรถนะยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานเท่าที่ควร อีกทั้งเทคโนโลยีสมัยใหม่ยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงคุณลักษณะของนักเรียนยังไม่ถูกศึกษาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยฉบับนี้คือการพัฒนาระบบการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ที่นำเอาเทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่และแนวคิดเกมมิฟิเคชันมาใช้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพบริการยานยนต์ โดยผ่านการทบทวนวรรณกรรมอย่างกว้างขวาง กอปรกับการวิเคราะห์ความต้องการของนักศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวิชาชีพ ผลการศึกษาพบองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเทคโนโลยี ด้านพฤติกรรม ด้านบริหารจัดการ และด้านกฏระเบียบข้อบังคับ สำหรับการค่าน้ำหนักของแต่ละองค์ประกอบถูกคำนวณผ่านวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการศึกษาเชิงประจักษ์ข้างต้นนำมาพัฒนาเป็นระบบในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อให้สถาบันอาชีวศึกษามีสื่อเทคโนโลยีการเรียนรู้ที่เหมาะสมต่อคุณลักษณะนักศึกษาไทย และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานด้านยานยนต์ ส่วนสุดท้ายของงานวิจัยเป็นการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ของนวัตกรรมระบบการเรียนรู้นี้


แบบจำลองการประเมินการบริหารจัดการความยั่งยืนเชิงดุลยภาพของรัฐวิสาหกิจไทย, ณัฏฐวี เฉลิมวิวัฒน์กิจ Jan 2018

แบบจำลองการประเมินการบริหารจัดการความยั่งยืนเชิงดุลยภาพของรัฐวิสาหกิจไทย, ณัฏฐวี เฉลิมวิวัฒน์กิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่แล้วรัฐวิสาหกิจจะเป็นองค์กรของรัฐที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศควบคู่หรือทดแทนภาคเอกชนที่อาจไม่สามารถดำเนินงานข้างต้นได้อย่างเต็มที่เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ทางธุรกิจเป็นสำคัญ วิทยานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาดัชนีรวม สำหรับชี้วัดความยั่งยืนของรัฐวิสาหกิจไทย และเนื่องจากปัจจุบันยังไม่พบการศึกษาที่ระบุนิยามและปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของรัฐวิสาหกิจภายใต้บริบทของสังคมไทย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่ครอบคลุมถึงการกำหนดนิยามและปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของรัฐวิสาหกิจไทยที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมอันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาแบบจำลองด้วยเช่นกัน โดยการพัฒนาดัชนีรวมนี้ประยุกต์ตามแนวทางการสร้างดัชนีรวม ของ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และดำเนินการวิจัยด้วยกระบวนการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ไอเอสโอ 26000 หลักการของการประเมินความยั่งยืนเชิงดุลยภาพ และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นแนวคิดเชิงจริยศาสตร์และสังคมศาสตร์ซึ่งทำให้งานวิจัยนี้มีความแตกต่างไปจากงานวิจัยอื่นที่อาศัยหลักการพัฒนาความยั่งยืนของประเทศที่พัฒนาแล้ว ก่อนนำปัจจัยที่ได้ไปดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง และทำการทดสอบความสัมพันธ์เชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากรัฐวิสาหกิจไทยจำนวน 52 แห่ง นำมาทดสอบความสัมพันธ์เชิงสถิติด้วยวิธีการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน หลังจากนั้นจึงได้ทดสอบความเที่ยงตรงและการยอมรับจากรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานกำกับดูแลภาครัฐ และจัดทำกรณีศึกษารัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง ดัชนีรวมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 กลุ่ม ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์และเสริมสร้างความผูกพันพนักงาน การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคและความท้าทายเพื่อบริหารความยั่งยืน การจัดการทรัพยากรที่ส่งผลต่อความยั่งยืน การกำกับดูแลกิจการที่ดี และการบริหารสมรรถนะด้านจริยธรรม ทั้งนี้ ดัชนีรวมนี้มีความโดดเด่นที่ความสมดุลโดยครอบคลุมตั้งแต่ภาวะผู้นำ กระบวนการปฏิบัติงาน จนถึงพฤติกรรมการทำงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจ


การใช้คราวด์ซอร์สซิ่งเป็นกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมตามแนวคิดธรรมาภิบาลภาครัฐใหม่, ฐาปกรณ์ กันเกตุ Jan 2018

การใช้คราวด์ซอร์สซิ่งเป็นกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมตามแนวคิดธรรมาภิบาลภาครัฐใหม่, ฐาปกรณ์ กันเกตุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบสำหรับการใช้คราวด์ซอร์สซิ่งเป็นกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมตามแนวคิดธรรมาภิบาลภาครัฐใหม่ และเพื่อออกแบบพัฒนาเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการใช้คราวด์ซอร์สซิ่งเป็นกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมตามแนวคิดธรรมาภิบาลภาครัฐใหม่ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง 48 คน คู่ขนานไปกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 14 คน และใช้โปรแกรม atlas.ti ช่วยวิเคราะห์ข้อมูล นอกจากนี้ยังศึกษาการยอมรับและการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเปิดรับโครงการเพื่อทดลองใช้จริงจำนวน 3 โครงการ แล้วศึกษาการยอมรับและการใช้ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์ใช้งานจริงจำนวน 12 คน ประเด็นคำถามประยุกต์จากประมวลทฤษฎีการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี 2 ผลจากการวิจัยคือตัวแบบสำหรับการใช้คราวด์ซอร์สซิ่งเป็นกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมตามแนวคิดธรรมาภิบาลภาครัฐใหม่ ประกอบด้วย 7 กระบวนการ ได้แก่ ริเริ่ม เห็นชอบ ร่วมคิด ตั้งโครงการ ระดมทุน ดำเนินโครงการให้สำเร็จเป็นจริง และความสามารถรับผิดชอบ โดยมีตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง 3 ประเภทได้แก่ มวลชน ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ และแพลตฟอร์ม ซึ่งทั้ง 3 ตัวแสดงนี้มีส่วนร่วมในแต่ละกระบวนการแตกต่างกันและมีปัจจัยที่ผลักดันหรือเป็นอุปสรรคในแต่ละกระบวนการแตกต่างกันด้วย ส่วนในการออกแบบเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศมีประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ การยืนยันตัวตนและการกำหนดสิทธิ การมีส่วนร่วม การระดมทุน ค่าธรรมเนียมการให้บริการ และรายละเอียดการออกแบบอื่นๆ ทั้งนี้ผลการศึกษาตัวแบบกระบวนการและการออกแบบเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำไปพัฒนาเป็นเว็บแพลตฟอร์ม www.vradom.com และจากการทดลองใช้งานจริง 3 โครงการ ผลการศึกษาสามารถยืนยันได้ว่ากระบวนการตามตัวแบบและเครื่องมือที่ออกแบบตามตัวแบบนั้นสามารถใช้ได้จริงและก่อให้เกิดการร่วมผลิตอย่างเต็มรูปแบบภายใต้ธรรมาภิบาลภาครัฐใหม่ นอกจากนี้ผลจากการศึกษาการยอมรับการใช้งาน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจที่จะใช้งานต่อไปทั้งในการริเริ่มโครงการ ร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมระดมทุน


การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อการบริหารจัดการการจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้าง, ธนากร วัฒกีเจริญ Jan 2018

การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อการบริหารจัดการการจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้าง, ธนากร วัฒกีเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันธุรกิจรับเหมาก่อสร้างภายในประเทศไทยมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมกับจำนวนผู้รับเหมาที่เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน เนื่องจากโครงการแต่ละโครงการมีความซับซ้อนที่แตกต่างกันและความเชี่ยวชาญของผู้รับเหมามีหลากหลาย ย่อมนำมาสู่ความยุ่งยากและความไม่เข้าใจในเนื้องานก่อสร้างของทั้งสองผ่ายได้ จากประเด็นดังกล่าว ผู้ที่ต้องการว่าจ้างอาจต้องเผชิญปัญหาที่หลากหลาย เช่น การมีความรู้ที่ไม่เพียงพอในการพิจารณาทำข้อตกลงเการก่อสร้าง การพิจารณาราคาการก่อสร้างที่เสนอโดยผู้ก่อสร้างแต่ละรายในตลาด รวมถึงช่องทางการหาผู้รับเหมาก่อสร้างที่จำกัด จึงกล่างได้ว่าการเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างที่เหมาะสมกับโครงการนับได้ว่าเป็นความยุ่งยากอย่างหนึ่ง จากประเด็นที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น การได้รับรู้รายละเอียดในสถานะปัจจุบันของผู้รับเหมาสำหรับผู้ที่ต้องการว่าจ้างนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว งานวิจัยนี้ได้นำเสนอแอปพลิเคชันที่ช่วยในการบริหารจัดการการจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างให้แก่ผู้ที่ต้องการว่าจ้าง ซึ่งจะส่งผลให้ความเสียหายจากการว่าจ้างมีโอกาสเกิดได้น้อยลงทั้งแก่ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง งานวิจัยนี้ได้กล่าวถึงการสำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรม รวมถึงความต้องการในการใช้แอปพลิเคชันโดยใช้แบบสอบถามเชิงปริมาณ ของกลุ่มตัวอย่าง 2 ส่วน ได้แก่ ผู้ที่ต้องการหาผู้รับเหมาก่อสร้าง และผู้รับเหมาก่อสร้าง จำนวนทั้งสิ้น 200 คน โดยทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่างได้ให้ความสนใจในการใช้แอปพลิเคชันในการหาผู้รับเหมาก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 80.0 และ 81.0 ตามลำดับ จึงสามารถสรุปได้ว่า แอปพลิเคชันที่นำเสนอนี้ก่อให้เกิดผลดีกับทั้งฝ่ายผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาก่อสร้างในทุกด้าน


System For Styling Apparels That Match With Occasion Wearing Via E-Commerce Channel Using Machine Learning, Yongplut Yeing-Aramkul Jan 2018

System For Styling Apparels That Match With Occasion Wearing Via E-Commerce Channel Using Machine Learning, Yongplut Yeing-Aramkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This work studies the factors effecting the selection of apparels according to fashion styling via an e-commerce platform in order to build an automatic system for suggesting proper apparel concurred with the customers' preferences. The factors obtained from interviewing experts in the fashion area found that cloth items, apparel colors, skin colors, and body shape are the main factors effecting the selection of fashion styling via an e-commerce platform. These discovered factors were used to partition a set of experimental fashion styling apparel and also to construct a set of suggesting rules based on different values of each factor. The …


ระบบคัดเลือกกลุ่มธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน, พัชร์นรี ธนาคุณ Jan 2018

ระบบคัดเลือกกลุ่มธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน, พัชร์นรี ธนาคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นโยบาย ประเทศไทย 4.0 มุ่งเน้นสนับสนุนการสร้างธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน (IDE) เพื่อสร้างสินค้านวัตกรรมที่สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้กับประเทศในระดับสูง ปัจจุบันรัฐมีการสนับสนุนกลุ่มธุรกิจนวัตกรรมในระดับและรูปแบบต่าง ๆ อย่างไรก็ดี ลักษณะและรูปแบบการสนับสนุนยังไม่เหมาะสมกับผู้รับการสนับสุนนเท่าที่ควร ทำให้มีความเสี่ยงเชิงเศรษฐกิจสูง และไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ด้วยเหตุที่ไม่สามารถจำแนกธุรกิจนวัตกรรมที่มีศักยภาพออกจากกลุ่มธุรกิจนวัตกรรมทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้ทำการศึกษาด้วยการวิจัยเชิงลึกและวิเคราะห์ปัจจัยที่บ่งชี้คุณลักษณะธุรกิจ เพื่อสร้างระบบคัดเลือกกลุ่มธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน (IDE) ที่มีศักยภาพสูง ออกจากธุรกิจนวัตกรรมทั่วไป (NON-IDE) ปัจจัยบ่งชี้ในมิติต่าง ๆ ได้จากการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานนโยบายภาครัฐ หน่วยงานสนับสนุนทุนนวัตกรรมภาครัฐ และผู้ประกอบการ IDE ที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ ปัจจัยบ่งชี้จำนวน 30 ปัจจัย ใน 4 มิติ ที่เป็นปัจจัยคุณลักษณะร่วมของธุรกิจนวัตกรรม ธุรกิจ Innovation Businesses ธุรกิจ Startups และธุรกิจ SMEs ประกอบขึ้นเป็นแบบสอบถามเพื่อการสำรวจกลุ่มธุรกิจนวัตกรรม IDE จำนวน 17 ธุรกิจ และ NON-IDE จำนวน 14 ธุรกิจ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติได้ค่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม IDE เปรียบเทียบกับกลุ่ม NON-IDE ชุดค่าคะแนนเปรียบเทียบประกอบเป็นชุดฐานข้อมูล IDE Mapping ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินอัตลักษณ์ของธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่เสนอขอรับทุนสนับสนุน ระบบคัดเลือกกลุ่มธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน ประกอบด้วย ชุดแบบสอบถามกลุ่มปัจจัยคุณลักษณะธุรกิจ 4 มิติ ชุด IDE Mapping และชุดวิเคราะห์อัตลักษณ์ธุรกิจ Applicant Profiles ถูกนำมาทดลองใช้กับ 5 ธุรกิจตัวอย่าง ผลการจำแนกอัตลักษณ์เป็นที่น่าพอใจ ระบบคัดเลือกกลุ่มธุรกิจสามารถพัฒนาเป็น Web Application เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพิจารณาการสนับสนุนทุนนวัตกรรมของหน่วยงานภาครัฐได้