Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Business Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Operations and Supply Chain Management

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2018

Articles 1 - 9 of 9

Full-Text Articles in Business

รูปแบบการขนส่งทางถนนที่เหมาะสมสำหรับการกระจายพัสดุสายพลาธิการของกองทัพอากาศ, ณัฐพร คำพวง Jan 2018

รูปแบบการขนส่งทางถนนที่เหมาะสมสำหรับการกระจายพัสดุสายพลาธิการของกองทัพอากาศ, ณัฐพร คำพวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการขนส่งทางถนนสำหรับการกระจายพัสดุสายพลาธิการของกองทัพอากาศ และเพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการขนส่งทางถนนระหว่าง การขนส่งแบบ Milk Run โดยผ่านทุก ๆ หน่วยในภูมิภาค, การขนส่งแบบ Milk Run โดยแบ่งเป็นหลายเส้นทางในแต่ละภูมิภาค, การขนส่งผ่านศูนย์กระจายพัสดุ และการขนส่งผ่านศูนย์กระจายพัสดุ ร่วมกับ Milk Run เพื่อหาแนวทางเลือกที่มีความเหมาะสมกับการกระจายพัสดุไปยังหน่วยในแต่ละภูมิภาค โดยใช้สถิติการขนส่งพัสดุปีงบประมาณ 2559-2560 นำโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาช่วยในวิเคราะห์การหาตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับใช้เป็นจุดกระจายพัสดุของแต่ละภูมิภาค รวมถึงนำการหาระยะทางขนส่งที่สั้นที่สุด (Optimal Solution) มาช่วยในการจัดเส้นทางการขนส่งพัสดุในรูปแบบ Milk Run ของแต่ละภูมิภาคอีกด้วย จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการขนส่งผ่านศูนย์กระจายพัสดุ ร่วมกับ Milk Run ทำให้การขนส่งพัสดุในภาคเหนือมีต้นทุนต่ำที่สุด ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนการขนส่งลงได้ 18.04 %, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รูปแบบการขนส่งแบบ Milk Run โดยแบ่งเป็นหลายเส้นทางในภูมิภาค ทำให้การขนส่งพัสดุมีต้นทุนต่ำที่สุด ซึ่งสามารถลดต้นทุนการขนส่งลงได้ 2.04 %, ภาคใต้ รูปแบบการขนส่งผ่านศูนย์กระจายพัสดุ ทำให้การขนส่งพัสดุมีต้นทุนต่ำที่สุด สามารถลดต้นทุนการขนส่งลงได้ 27.79 % และภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก การขนส่งพัสดุในรูปแบบเดิม (Direct Shipment) มีต้นทุนการขนส่งถูกที่สุด


การศึกษาพัฒนาการด้านโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย, วีรชัย อู๋สมบูรณ์ Jan 2018

การศึกษาพัฒนาการด้านโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย, วีรชัย อู๋สมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมมีบทบาทอย่างยิ่งในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยพิบัติ งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาเชิงสำรวจโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมในการโต้ตอบภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยใช้เหตุอุทกภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยาช่วง พ.ศ. 2555 – 2560 เป็นกรณีศึกษา การวิเคราะห์เนื้อหาจากบทความความข่าวชี้ให้เห็นว่าหน่วยงานที่มีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ดำเนินการเชิงโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมมากขึ้นนับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการประกาศใช้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติฉบับ พ.ศ. 2558 การศึกษาครั้งนี้ยังเผยให้เห็นว่า การประเมินและการวางแผน เป็นกระบวนการเชิงโลจิสติกส์เพื่อโต้ตอบภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีจำนวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากที่สุด อย่างไรก็ตาม เนื้อหาข่าวกลับไม่กล่าวถึงการยุติความช่วยเหลือเท่าใดนักในกระบวนการบรรเทาภัยพิบัติ ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ช่วยส่งเสริมความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นต่อการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย ก่อประโยชน์แด่ทั้งเชิงวิชาการและเชิงนโยบายด้านการจัดการภัยพิบัติในประเทศ โดยในเชิงวิชาการ งานวิจัยฉบับนี้นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นให้ศึกษากระบวนการโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมในขั้นตอนอื่นๆนอกเหนือจากการโต้ตอบภัย อันประกอบกันขึ้นเป็นวงจรการบริหารจัดการภัยพิบัติ ส่วนในเชิงนโยบาย การศึกษาชี้ให้เห็นว่าหากแผนชาติได้ระบุขอบเขตความรับผิดชอบของผู้มีอำนาจอย่างชัดเจนจะส่งผลต่อปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนเมื่อภัยเกิดขึ้น


ตัวแบบการพยากรณ์ที่ส่งผลต่อยอดขายสินค้าที่ทำการส่งเสริมการขาย, ธันยพร เชี่ยวพานิชย์ Jan 2018

ตัวแบบการพยากรณ์ที่ส่งผลต่อยอดขายสินค้าที่ทำการส่งเสริมการขาย, ธันยพร เชี่ยวพานิชย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่คาดว่ามีอิทธิพลต่อยอดขายที่ทำ โปรโมชันซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาตัวแบบการพยากรณ์ยอดขายอย่างเหมาะสมกับแต่ละกลุ่มสินค้า เพื่อ เพิ่มความแม่นยำของการพยากรณ์ให้กับธุรกิจในการจัดการระดับสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยข้อมูลที่ศึกษาเป็นของบริษัทค้าปลีกแห่งหนึ่งที่มีการจัดจำหน่ายสินค้าผ่านรูปแบบสาขาที่แตกต่างกัน นั่นคือ Department Store, Extra Store และ Hypermarket ตั้งแต่เดือน มีนาคม ปี 2559 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2561 ของสินค้า 4 กลุ่ม ได้แก่ สินค้าประเภทเครื่องนอนกลุ่มหมอนและหมอนข้าง สินค้า ประเภทเครื่องนอนกลุ่มผ้านวมและผ้าปูที่นอน สินค้าประเภทพลาสติกกลุ่มกล่องอเนกประสงค์ และ สินค้าประเภทพลาสติกกลุ่มอุปกรณ์ไม้แขวน โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิง เส้นแบบพหุ ผลการวิจัยพบว่าแต่ละกลุ่มสินค้ามีปัจจัยที่ส่งผลต่อยอดขายที่แตกต่างกัน ดังนั้นธุรกิจจึงไม่สามารถใช้ปัจจัยเดียวกันในการพยากรณ์ทุกกลุ่มสินค้าได้ ส่งผลให้มีตัวแบบที่ใช้ในการพยากรณ์แต่ละ กลุ่มสินค้าแตกต่างกันไปด้วย ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์จะสามารถพัฒนาตัวแบบการพยากรณ์ ได้ทั้งสิ้น 12 ตัวแบบสำหรับแต่ละกลุ่มสินค้าเมื่อจัดจำหน่ายในรูปแบบสาขาที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นจึง ทำการคำนวณหาค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ด้วยการใช้ตัวแบบที่ได้จากการวิเคราะห์ความ ถดถอยเชิงพหุทั้ง 12 ตัวแบบเปรียบเทียบกับการพยากรณ์ด้วยประสบการณ์แบบดั้งเดิม พบว่าเมื่อมีการ นำตัวแบบไปประยุกต์ใช้ในการพยากรณ์สำหรับแต่ละกลุ่มสินค้าที่จัดจำหน่ายผ่านสาขาที่มีรูปแบบที่ แตกต่างกัน สามารถลดค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ลงได้ โดยสินค้าประเภทพลาสติกกลุ่ม อุปกรณ์ไม้แขวนมีค่าความคลาดเคลื่อนลดลงโดยเฉลี่ยมากที่สุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 36.44 เนื่องจากเป็น กลุ่มสินค้าที่มีค่าสัมประสิทธ์การตัดสินใจที่มีการปรับค่าแล้วที่ได้จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์สูงที่สุด โดยเฉลี่ยร้อยละ 91 นั่นหมายความว่าตัวแปรหรือปัจจัยที่ถูกคัดเลือกเข้าสู่สมการสำหรับสินค้ากลุ่มนี้ สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของยอดขายโดยเฉลี่ยได้สูงถึงร้อยละ 91


สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาขยะจากระบบขนส่งสินค้าทางทะเล จากเรือขนส่งสินค้าและเรือลำเลียง บริเวณพื้นที่จอดทอดสมอเรือบริเวณเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี, ณัฏฐภรณ์ ระลึกมูล Jan 2018

สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาขยะจากระบบขนส่งสินค้าทางทะเล จากเรือขนส่งสินค้าและเรือลำเลียง บริเวณพื้นที่จอดทอดสมอเรือบริเวณเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี, ณัฏฐภรณ์ ระลึกมูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญญาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาขยะจากระบบการขนส่งสินค้าทางทะเล ขยะจากเรือสินค้าระหว่างประเทศและเรือลำเลียง ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของมลพิษทางทะเลแก่เกาะสีชัง ดังนั้นจำเป็นต้องมีการจัดการที่ดี เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลของไทยในระยะยาว เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ผลการวิจัยพบว่า 1) สำหรับเรือสินค้าระหว่างประเทศ ผลจากการไม่ได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลภาวะจากเรือ ค.ศ.1973 และพิธีสาร ค.ศ. 1978 ภาคผนวกที่ 5 ข้อบังคับเกี่ยวกับการป้องกันมลพิษจากขยะบนเรือ ทำให้ 1.1) ประเทศไทยไม่มีอำนาจในการตรวจเรือและบังคับใช้กฎหมายแก่เรือได้อย่างสมบูรณ์ และการดำเนินการในปัจจุบันพบว่าสิ่งอำนวยความสะดวกในการรองรับของเสียจากเรือสินค้าระหว่างประเทศไม่เพียงพอ 1.2) ประเทศไทยไม่สามารถกำหนดพื้นที่ให้เป็นพื้นที่พิเศษและพื้นที่ทะเลที่มีความอ่อนไหวเฉพาะ ที่จะดำเนินการออกกฎหมาย เพื่อป้องกัน ลด และควบคุมมลพิษจากเรือสินค้าระหว่างประเทศได้ และ 2) สำหรับเรือลำเลียง ประกอบด้วย 2.1) ไม่มีการออกกฎหมายที่บังคับเฉพาะเรือลำเลียง ไม่มีการกำหนดแผนในการจัดการขยะแก่เรือลำเลียง 2.2) สิ่งอำนวยความสะดวกในการรองรับของเสียจากเรือลำเลียงไม่เพียงพอ เนื่องจากกระบวนการจัดการขยะโดยเทศบาลตำบลเกาะสีชัง โดยนำขยะจากเรือลำเลียงไปกำจัดที่ศูนย์กำจัดขยะของเกาะสีชังที่ประสบปัญหาเรื่องขยะตกค้างและก่อมลพิษแก่ชุมชนบนเกาะสีชัง โดยข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1) สำหรับเรือสินค้าระหว่างประเทศ ไทยควรเข้าสู่การเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลภาวะจากเรือ ค.ศ.1973 และพิธีสาร ค.ศ. 1978 ภาคผนวกที่ 5 ข้อบังคับเกี่ยวกับการป้องกันมลพิษจากขยะบนเรือ เพื่อทำให้ 1.1) ประเทศไทยมีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่สามารถดำเนินการบังคับใช้และกำหนดข้อปฏิบัติแก่เรือสินค้าระหว่างประเทศที่เข้ามาเทียบท่า และเพื่อการจัดการเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับของเสียอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ 1.2) ทำให้ประเทศมีประกาศอ่าวไทยเป็นพื้นที่พิเศษและพื้นที่ทะเลที่มีความอ่อนไหวเฉพาะ ที่จะทำให้เกิดข้อบังคับพิเศษที่จะช่วยป้องกันมลพิษทางทะเลจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากทะเล และ 2) สำหรับเรือลำเลียง 2.1) ไทยควรออกกฎหมายข้อบังคับที่บังคับแก่เรือลำเลียงโดยตรง โดยกำหนดให้เรือลำเลียงมีแผนจัดการขยะ เช่น ข้อกฎหมายบังคับแก่บริษัทเจ้าของเรือลำเลียง ให้กองเรือลำเลียงแยกขยะก่อนนำไปกำจัด 2.2) ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่เพียงลำเลียงขนส่งขยะตามหลักสุขาภิบาล โดยให้หน้าที่การกำจัดขยะเป็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแทน และควรนำข้อแนะนำปฏิบัติจากอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลภาวะจากเรือ ค.ศ.1973 และพิธีสาร ค.ศ. 1978 ภาคผนวกที่ 5 มาปรับใช้กับกฎหมายภายใน เพื่อบังคับใช้แก่เรือลำเลียงและข้อกำหนดเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับของเสีย


การพัฒนาเส้นทางการคมนาคมทางน้ำสำหรับเรือลำเลียงมีเครื่องยนต์เพื่อเชื่อมอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน, พีรดา ปิยะสกุลแก้ว Jan 2018

การพัฒนาเส้นทางการคมนาคมทางน้ำสำหรับเรือลำเลียงมีเครื่องยนต์เพื่อเชื่อมอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน, พีรดา ปิยะสกุลแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นผลการศึกษาในด้านระยะทาง ระยะเวลา ต้นทุนของการดำเนินงานของเรือ ความคิดเห็นและทัศนคติของผู้ให้บริการขนส่งทางทะเลด้วยเรือลำเลียงมีเครื่องยนต์ขนาดไม่เกิน 5,000 DWT และหน่วยงานของรัฐและองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องเพื่อเชื่อมอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน โดยเส้นทางที่ทำการศึกษานี้ยกเส้นทางแนวคลองไทย 7A (ตอนบนของทะเลสาปสงขลา จ.พังงา – ตอนใต้ของ อ.กันตัง จ.ตรัง) เพื่อทำการศึกษาซึ่งเป็นเส้นทางที่ใช้ทะเลสาบสงขลาตอนบนเป็นแนวคลองธรรมชาติทาง และการศึกษานี้จะไม่กล่าวถึงการคำนวณต้นทุนในเชิงวิศวกรรม โดยผู้วิจัยตั้งสมติฐานว่ามีเส้นทางคมนาคมทางน้ำอยู่แล้วในทำการวิจัยในเชิงพาณิชย์ ซึ่งศึกษาจากเรือลำเลียงติดเครื่องยนต์ที่มีการให้บริการในปัจจุบันขนาดไม่เกิน 5,000 DWT ผู้วิจัยศึกษาโดยการสร้างแบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการและผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเลถึงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ และสรุปถึงข้อเท็จจริงจากการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า (1) เส้นที่ทำการศึกษาเส้นทางนี้สามารถลดระยะทาง ระยะเวลาและต้นทุนการปฏิบัติงานของเรือได้เป็นอย่างมากและสามารถนำไปเป็นแนวทางในการกำหนดค่าภาระผ่านคลองที่เหมาะสม (2) ความคิดเห็นข้อเสนอแนะของผู้ให้บริการขนส่งทางทะเลด้วยเรือลำเลียงมีเครื่อยนต์ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในเรื่องการลดต้นทุนและการเพิ่มความถี่ในการเดินเรือ อีกทั้งมีความต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนการขนส่งสินค้าทางทะเลทั้งเชิงนโยบาย สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี (3) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาครัฐและองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องบางส่วนไม่เห็นด้วยเนื่องจากมีข้อกังวลในด้านแนวโน้มของขนาดจเรือที่เพิ่มขึ้น อุปสงค์และอุปทานของเส้นทางการเดินเรือ อีกทั้งในด้านกฎหมายความมั่นคง และสิ่งแวดล้อมจากการมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเส้นทางนี้


การพัฒนาระบบจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา ร้านขายอุปกรณ์เสริมสวย, วลัยพรรณ อนันต์ธเนศ Jan 2018

การพัฒนาระบบจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา ร้านขายอุปกรณ์เสริมสวย, วลัยพรรณ อนันต์ธเนศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบจัดการสินค้าคงคลังของกิจการร้านขายอุปกรณ์เสริมสวยกรณีศึกษา ภายใต้ระดับการให้บริการที่ต้องการ จากการวิเคราะห์กระบวนการดำเนินงานการจัดการสินค้าคงคลังของร้านกรณีศึกษา พบว่าสินค้าแต่ละประเภทมีปริมาณความต้องการที่ไม่คงที่ และผลการดำเนินงานก่อให้เกิดปัญหาคือ บางครั้งเกิดการขาดแคลนสินค้าบางรายการในบางช่วง และในขณะเดียวกันบางรายการมีปริมาณสินค้าคงคลังมากเกินความต้องการ ดังนั้นในการวิจัยจึงได้เลือกตัวอย่างสินค้าจำนวน 20 รายการเพื่อพัฒนานโยบายสั่งซื้อ กระบวนการพัฒนานโยบายสั่งซื้อจะเริ่มจากการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของสินค้าตัวอย่าง จากนั้นวิเคราะห์ข้อจำกัดต่างๆ ในการกำหนดนโยบายสั่งซื้อของร้านกรณีศึกษา เพื่อกำหนดแนวทางการกำหนดนโยบายการสั่งซื้อ ในงานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้ตัวแบบปริมาณการสั่งซื้อคงที่ (Q) ร่วมกับจุดสั่งซื้อ (Reorder point) มาใช้ในการจัดการสินค้าคงคลังของร้านค้ากรณีศึกษา โดยพิจารณาเปรียบเทียบจากปริมาณการสั่งซื้ออย่างประหยัด (EOQ) เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ อีกทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลสินค้าคงคลัง เพื่อช่วยแสดงผลปริมาณสินค้าคงคลัง และการเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลัง ผลการทดสอบระบบที่พัฒนา โดยเปรียบเทียบกับวิธีการดำเนินงานปัจจุบันของร้านค้ากรณีศึกษา โดยใช้ข้อมูลการดำเนินงานในปี 2561 พบว่า สามารถลดระดับสินค้าคงคลังเฉลี่ยได้ถึง 56% ทำให้ต้นทุนถือครองโดยรวมลดลง 50% โดยยังคงสามารถตอบสนองต่อลูกค้าที่ระดับการให้บริการ 95% นอกจากนี้ระบบใหม่สามารถลดขั้นตอนการตรวจนับจำนวนสินค้าในคลัง ก่อนการรับเข้า เบิกจ่าย และสั่งซื้อ อย่างไรก็ตามควรมีรอบการตรวจนับจำนวนสินค้า เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการบันทึกสินค้าคงคลังของระบบ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แน่ใจในประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบใหม่ที่นำเสนอ


ปัญหาและอุปสรรคในการขนส่งสินค้าประเภทข้าวสารด้วยเรือลำเลียงในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักของประเทศไทย, ปรารถนา รุ่งสุวรรณรัชต์ Jan 2018

ปัญหาและอุปสรรคในการขนส่งสินค้าประเภทข้าวสารด้วยเรือลำเลียงในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักของประเทศไทย, ปรารถนา รุ่งสุวรรณรัชต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการขนส่งสินค้าประเภทข้าวสารด้วยเรือลำเลียงในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักของประเทศไทย เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรครวมถึงหาแนวทางในการพัฒนาการขนส่งสินค้าทางน้ำเพื่อให้มีประสิทธิภาพและเกิดการขนส่งสินค้าทางน้ำอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้จะศึกษาโดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกจากผู้ส่งออกสินค้า, ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางน้ำด้วยเรือลำเลียงและผู้ให้บริการเรือลากจูงสินค้าในแม่น้ำ จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและอุปสรรค โดยเรียงลำดับจากปัญหามากที่สุดไปจนถึงปัญหาน้อยที่สุด ใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการขนส่งสินค้าประเภทข้าวสารด้วยเรือลำเลียงในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด ผลการศึกษาพบปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าทางน้ำด้วยเรือลำเลียงในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักมากที่สุด ได้แก่ มลภาวะ เช่น ฝุ่นละออง ควัน และเสียง มลภาวะจากเรือลำเลียงที่มีขยะเหลว ขยะแห้ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดมลภาวะขณะที่จอดเรือ ขณะเดินทาง จากอุบัติเหตุ และขณะการขนถ่ายสินค้า ปัญหารองลงมา ได้แก่ ความหนาแน่นและการจราจรตลอดเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก ซึ่งเกิดจากการเดินเรือได้เพียงช่องทางเดียว รวมถึงลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของแม่น้ำที่มีความลึก คดเคี้ยวและความโค้งในหลายแห่ง รวมถึงสะพานและสิ่งกีดขวางทางน้ำทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการลำเลียงขนส่งบรรทุกสินค้าทางน้ำและปัญหาคนประจำเรือ (สรั่งเรือ) ที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการขาดความรู้ความสามารถ สมควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน


การประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เพื่อเลือกวิธีการที่ช่วยในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ, ยุวลักษณ์ จุลปาน Jan 2018

การประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เพื่อเลือกวิธีการที่ช่วยในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ, ยุวลักษณ์ จุลปาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการนำเอากระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์มาประยุกต์ใช้ในการประเมินเพื่อเลือกวิธีการที่ช่วยในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ ใน 4 วิธีการ คือ เทคโนโลยีดาวเทียม เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ เซ็นเซอร์ใต้น้ำ และสถานีเรดาร์ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเกี่ยวข้องในวิธีการทั้ง 4 วิธีการ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือ โดยการให้คะแนนความสำคัญของแต่ละปัจจัย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาระดับความสำคัญของแต่ละปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการที่ช่วยในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ โดยการวินิจฉัยเปรียบเทียบความสำคัญของปัจจัยทีละคู่ และการให้คะแนนความสำคัญระหว่างวิธีการที่มีผลต่อแต่ละของผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้พบว่า ผู้ตัดสินใจให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการที่ช่วยในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ ใน 5 ลำดับแรก ตามลำดับ คือ ความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน ความเสี่ยงต่อการถูกโจมตี ความสะดวกในการใช้งาน ความน่าเชื่อถือของการใช้งาน และความเที่ยงตรงของข้อมูล สำหรับวิธีการที่เหมาะสมที่สุดที่ช่วยในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ คือ เทคโนโลยีดาวเทียม


การวิเคราะห์การลงทุนในประตูกั้นน้ำเพื่อการขนส่งสินค้าในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก, วาฤทธิ์ แซ่ลิ่ม Jan 2018

การวิเคราะห์การลงทุนในประตูกั้นน้ำเพื่อการขนส่งสินค้าในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก, วาฤทธิ์ แซ่ลิ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพของการขนส่งสินค้าทางน้ำโดยเฉพาะในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักซึ่งเป็นเส้นทางหลักของการขนส่งสินค้าทางน้ำในประเทศ โดยทำการรวบรวมข้อมูลการขนส่งสินค้าทางน้ำประกอบด้วยประเภทสินค้า ปริมาณสินค้า เส้นทางการขนส่งสินค้า ข้อจำกัดทางกายภาพของสะพานที่แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักไหลผ่านจากงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ถึงรูปแบบการขนส่งสินค้า ปัญหาและอุปสรรคในการขนส่งสินค้าทางน้ำในปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่าปัญหาหลักคือการเดินเรือผ่านสะพานที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำต่ำ (Air Draft) โดยสะพานที่ส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้ามีทั้งหมด 8 สะพาน โดยสะพานนวลฉวีเป็นสะพานที่ส่งผลต่อการขนส่งสินค้าทางน้ำมากที่สุด โครงการประตูกั้นน้ำจึงเป็นทางเลือกที่สำคัญที่ต่างประเทศนำมาใช้เพื่อเแก้ไขปัญหาดังกล่าวและเพิ่มความสามารถในการขนส่งสินค้า โดยนำทฤษฏีการตัดสินใจการลงทุนมาเป็นเครื่องมือวิเคราะห์และประเมินผลตอบแทนในการลงทุน ซึ่งมีต้นทุนก่อสร้าง อัตราคิดลด อายุโครงการ และปริมาณสินค้า เป็นปัจจัยหลักในการวิเคราะห์ค่าความอ่อนไหวของโครงการ ผลการวิจัยพบว่ากรณีที่ต้องการสร้างโครงการประตูกั้นน้ำเฉพาะจุดสะพานนวลฉวีที่มีต้นทุนก่อสร้าง 500,460,000 บาท โครงการให้ค่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV), อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (IRR), อัตราผลตอบแทนต่อค่าใช้จ่าย (B/C Ratio) เป็นบวกในทุกกรณีและในทุกอัตราคิดลด แต่หากสร้างทั้งหมด 8 จุดตรงสะพานที่ส่งผลกระทบทั้งหมด ด้วยมูลค่าก่อสร้าง 4,003,680,000 บาท อัตราคิดลดต้องต่ำกว่า 5% โดยปริมาณสินค้าต้องเพิ่มขึ้นปีละ 8% โครงการจึงจะเหมาะสมและควรลงทุน