Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Business Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Business

A Mixed-Methods Study: Self-Efficacy And Barriers To Participation In Workplace Wellness Programs, Massiel Perez-Calhoon Apr 2017

A Mixed-Methods Study: Self-Efficacy And Barriers To Participation In Workplace Wellness Programs, Massiel Perez-Calhoon

Dissertations

America needs a healthy workforce to sustain the country. The scourge of obesity continues to plague Americans despite government initiatives such as the Affordable Care Act and wellness programs in the workplace to combat this epidemic. However, despite initiatives to make America healthy, barriers continued to impede the nation’s health. Lack of awareness and sensitivity to what motivates individual participants versus group participants built formidable barriers to accessing all workplace employees equitably. The purpose of this study was twofold. First, the intent of this study was to explore the relationship between self-efficacy and the impact on participation and engagement when …


ตัวแบบการกำหนดราคาของการประกันภัยโรคร้ายแรงโดยใช้อัตราความชุกในประเทศไทย, รติกร แย้มสรวล Jan 2017

ตัวแบบการกำหนดราคาของการประกันภัยโรคร้ายแรงโดยใช้อัตราความชุกในประเทศไทย, รติกร แย้มสรวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรงและคำนวณหาอัตราเบี้ยประกันภัยสุทธิสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรงที่คุ้มครอง 6 โรค ได้แก่ โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับวายและโรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง โดยใช้อัตราความชุกในการประมาณค่าอัตราอุบัติการณ์ของโรคร้ายแรงที่ไม่ทราบค่า ซึ่งใช้ตัวแบบหลายสถานะ(multiple state model) และฟังก์ชันคงตัวเป็นช่วง (piecewise constant function) ในการประมาณค่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะจากสถานะสุขภาพดีไปยังสถานะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงและสมมติให้ความรุนแรงของเสียชีวิตของทั้งคนสุขภาพดีและผู้ป่วยด้วยโรคร้ายแรงเป็นไปตามตัวแบบ Gompertz-Makeham (GM) ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยคือ 1) จำนวนประชากรกลางปี 2) จำนวนการตายของประชากรไทย จำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ 3) จำนวนการตาย และ 4) จำนวนการป่วย จำแนกตามกลุ่มอายุ เพศและสาเหตุการตายและการป่วยตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับแก้ไขครั้งที่ 10 (ICD-10) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554-2558 จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษาพบว่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะจากสถานะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงไปยังสถานะเสียชีวิตเนื่องจากโรคร้ายแรงประมาณได้ด้วยตัวแบบ GM(4,0) ทั้งเพศชายและเพศหญิง และจากสถานะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงไปยังสถานะเสียชีวิตเนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ นอกเหนือจากโรคร้ายแรง สามารถประมาณได้ด้วยตัวแบบ GM(1,2) และ GM(2,2) สำหรับเพศชายและหญิงตามลำดับ เบี้ยประกันภัยสุทธิจ่ายครั้งเดียวสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรงแผนกำหนดผลประโยชน์ไม่ครอบคลุมการเสียชีวิต (Stand-alone benefit) และแผนกำหนดผลประโยชน์ครอบคลุมการเสียชีวิต (Acceleration benefit) มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นและเบี้ยประกันภัยสำหรับเพศชายมีค่าสูงกว่าเพศหญิงทุกกลุ่มอายุ


การคำนวณหาเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาแนบท้ายการประกันภัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงโดยใช้ตัวแบบหลายสถานะ, วิริยะ เก้าเอี้ยน Jan 2017

การคำนวณหาเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาแนบท้ายการประกันภัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงโดยใช้ตัวแบบหลายสถานะ, วิริยะ เก้าเอี้ยน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณหาเบี้ยประกันภัยสุทธิสำหรับสัญญาแนบท้ายการประกันภัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่จ่ายผลประโยชน์ตามระยะของโรค 4 ระยะหลัก โดยใช้ข้อมูลจากอัตราอุบัติการณ์การวินิจฉัยพบมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงจากสถาบันวิจัยมะเร็งแห่งประเทศไทยและงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่เป็นประชากรไทย ซึ่งได้มีการระบุอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีและอัตราส่วนของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงในแต่ละระยะ สำหรับอัตราการเสียชีวิตรวมทุกสาเหตุจะใช้อัตรามรณะตามตารางมรณะไทยประจำปีพ.ศ. 2560 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) วิธีการหาความน่าจะเป็นที่เกี่ยวข้องจะใช้ตัวแบบหลายสถานะและกระบวนการลูกโซ่มาร์คอฟ เพื่อให้สอดคล้องกับการแบ่งระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง การคำนวณเบี้ยประกันภัยสุทธิใช้หลักการของการเท่ากันของมูลค่าปัจจุบันทางประกันภัย โดยผลประโยชน์ของสัญญาแนบท้ายการประกันภัยตัวอย่างกำหนดไว้แบ่งเป็น 2 กรณีคือกรณีที่ 1 ให้ผลประโยชน์ 1,000,000 บาทจ่ายเมื่อวินิจฉัยพบว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงสำหรับทุกระยะของโรคหรือเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าว และกรณีที่ 2 ที่กำหนดให้ผลประโยชน์สำหรับแต่ะละระยะของมะเร็งไม่เท่ากัน โดยผลประโยชน์จ่ายเมื่อวินิจฉัยพบหรือเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงระยะที่ 1 เท่ากับ 1,000,000 บาท ส่วนระยะที่ 2,3, และ 4 จะมีค่าเป็น 2,3 และ 4 เท่าของระยะที่ 1 ในขณะที่ระยะเวลาคุ้มครองและจ่ายเบี้ยประกันภัยของสัญญาแนบท้าย 5 ปี และ กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดการคุ้มครองเท่ากับร้อยละ 4 ต่อปี ผลการศึกษาพบว่าเบี้ยประกันภัยสุทธิมีค่าเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัย เมื่อกำหนดผลประโยชน์ในกรณีที่ 1 เบี้ยประกันภัยสุทธิมีค่าอยู่ระหว่าง 56.28 บาทถึง 1451.45 บาทสำหรับเพศชายและมีค่าระหว่าง 33.11 บาทถึง 1027.95 บาทสำหรับเพศหญิง และเมื่อกำหนดผลประโยชน์ในกรณีที่ 2 เบี้ยประกันภัยสุทธิมีค่าอยู่ระหว่าง 173.02 บาทถึง 4487.95 บาทสำหรับเพศชายและมีค่าระหว่าง 101.85 บาทถึง 3175.32 บาทสำหรับเพศหญิง เบี้ยประกันภัยสุทธิของเพศชายมีค่าสูงกว่าของเพศหญิง โดยมีความแตกต่างไม่สม่ำเสมอในแต่ละอายุทั้งสองกรณี ในขณะที่เบี้ยประกันภัยสุทธิเมื่อกำหนดผลประโยชน์แบบกรณีที่ 2 มีค่าสูงกว่าแบบกรณีที่ 1 ทุกอายุและเพศ เมื่อเปรียบเทียบกับเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตที่มีระยะเวลาการคุ้มครองและจ่ายเบี้ยประกันภัย 5 ปีที่ใช้อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 4 ต่อปี โดยให้ผลประโยชน์คุ้มครองการเสียชีวิตทุกสาเหตุเท่ากับ 1,000,000 บาทพบว่าเบี้ยประกันภัยสุทธิของกรณีที่ 1 คิดเป็นประมาณร้อยละ 3.48-7.37 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 5 ปีสำหรับเพศชายและประมาณร้อยละ 4.09-12.83 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 5 ปีสำหรับเพศหญิง ส่วนในกรณีที่ 2 คิดเป็นประมาณร้อยละ 10.71-22.70 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 5 …


การคำนวณเบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งระยะยาวภายใต้อัตรามรณะไทย, ปฏิญญา มากระจัน Jan 2017

การคำนวณเบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งระยะยาวภายใต้อัตรามรณะไทย, ปฏิญญา มากระจัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อคำนวณเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งระยะยาวที่มีเวลาครบกำหนดกรมธรรม์ 10 ปี ถึง 30 ปี ของผู้เอาประกันภัยอายุ 50 ปี 55 ปี และ 60 ปี ส่วนแรกเป็นการประมาณค่าอัตรามรณะของผู้สูงอายุไทยด้วยตัวแบบอินเวอร์สเมคแฮมร่วมกับวิธีโคล-กิสเกอร์ และพยากรณ์อัตรามรณะด้วยตัวแบบลี-คาร์เตอร์ ส่วนที่สองเป็นการประมาณโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยจากตัวแบบ Cox-Ingersoll-Ross (CIR) และในส่วนสุดท้ายเป็นการประมาณค่าคอลออปชั่นแบบยูโรเปี่ยนออปชั่น โดยตัวแบบแบล็คโชลส์ ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วยข้อมูลจำนวนประชากรปลายปี และจำนวนประชากรตายระหว่างปี พ.ศ.2545 - 2559 แยกตามเพศและอายุ จากกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ตามลำดับ ข้อมูลพันธบัตรรัฐบาลไทยระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 ถึง วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จากสมาคมตราสารหนี้ไทย และข้อมูลราคาปิดของหุ้น SET50 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2541 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2559 ผลการศึกษาพบว่าเบี้ยประกันภัยมีค่าลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อวันครบกำหนดสัญญามีค่าเพิ่มขึ้น โดยเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัยที่มีอายุมากมีค่าน้อยกว่าเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัยอายุน้อย เนื่องจากกรมธรรม์นี้ให้ผลประโยชน์เมื่อครบกำหนดสัญญา เบี้ยประกันภัยของเพศหญิงมีค่ามากกว่าของเพศชายเมื่อเปรียบเทียบในช่วงอายุเดียวกันและวันครบกำหนดสัญญาเดียวกัน ดังนั้นการประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งจึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ และเหมาะกับสัญญาประกันภัยแบบระยะยาว ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป