Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Business Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Insurance

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

Publication Year

Articles 1 - 8 of 8

Full-Text Articles in Business

การคาดการณ์อัตรามรณะไทยตามสาเหตุของการตายด้วยวิธีการกระทบยอดรวม, สุพัตรา ยกซ้าย Jan 2022

การคาดการณ์อัตรามรณะไทยตามสาเหตุของการตายด้วยวิธีการกระทบยอดรวม, สุพัตรา ยกซ้าย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคาดการณ์อัตรามรณะของประชากรไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า แยกตามสาเหตุของการตายที่สำคัญ ได้แก่ โรคมะเร็งทุกชนิด โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด อุบัติเหตุจากการคมนาคมขนส่งทางบก โรคเบาหวาน และรวมทุกสาเหตุการตาย ตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ (ICD-10) โดยใช้ตัวแบบ ลี-คาร์เตอร์ จากนั้นทำการกระทบยอดในแบบ Bottom-up และ Trace minimization forecasts (MinT) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ จำนวนประชากรกลางปีและจำนวนประชากรที่เสียชีวิตแยกตามสาเหตุของการตาย จำแนกตามเพศและอายุ จากสถิติสาธารณสุข กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 – 2562 ผลการวิจัยพบว่า ค่าคาดการณ์อัตรามรณะของประชากรไทย เมื่อทำการกระทบยอดแบบ Bottom-up และแบบ Trace minimization forecasts (MinT) มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันทั้งเพศชายและเพศหญิง คือมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและลดลงในช่วงอายุเริ่มต้น ยกเว้นการตายด้วยโรคมะเร็งทุกชนิดและอุบัติเหตุจากการคมนาคมขนส่งทางบก หลังจากนั้นค่าอัตรามรณะมีการเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายของช่วงอายุ ยกเว้นการตายด้วยโรคหัวใจขาดเลือด และโรคเบาหวานในเพศหญิง โดยที่การคาดการณ์กระทบยอดแบบ Trace minimization forecasts (MinT) มีความเหมาะสมกว่าแบบ Bottom-up นอกจากนั้นการวิจัยนี้ได้นำค่าอัตรามรณะที่คำนวณได้ไปใช้ในการคำนวณหาเบี้ยประกันภัยสุทธิของแบบประกันชีวิตตัวอย่าง ที่ให้ผลประโยชน์การตายตามสาเหตุการตายที่สำคัญด้วย


การเปรียบเทียบแบบจำลองการกำหนดราคาหลักทรัพย์ Capm และแบบจำลอง Fama-French ในการอธิบายอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในกลุ่มธุรกิจสุขภาพ, พรชิตา ชินตานนท์ Jan 2022

การเปรียบเทียบแบบจำลองการกำหนดราคาหลักทรัพย์ Capm และแบบจำลอง Fama-French ในการอธิบายอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในกลุ่มธุรกิจสุขภาพ, พรชิตา ชินตานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในกลุ่มธุรกิจสุขภาพและเปรียบเทียบความสามารถของแบบจำลองการกำหนดราคาหลักทรัพย์ในการอธิบายความผันผวนของอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในกลุ่มธุรกิจสุขภาพ โดยศึกษาข้อมูลหลักทรัพย์กลุ่มธุรกิจสุขภาพ จำนวน 5 หลักทรัพย์ ได้แก่ BCH, BDMS, BH, CHG และ MEGA ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 เป็นระยะเวลา 108 เดือน ผลการศึกษาพบว่า เมื่อพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจพหุคูณ (Adjusted R-Squared) แบบจำลองหกปัจจัยที่มีการกำหนดปัจจัยโมเมนตัมโดยใช้อัตราผลตอบแทนสะสม 2-12 เดือนก่อนหน้าสามารถอธิบายความผันผวนของอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ได้ดีที่สุด โดยอธิบายได้ 3 หลักทรัพย์ นอกจากนี้พบความสัมพันธ์ของความเสี่ยงตลาดและความเสี่ยงของขนาดกับอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์กลุ่มธุรกิจสุขภาพในทุกหลักทรัพย์ แต่ไม่พบความสัมพันธ์กับปัจจัยการลงทุน และเมื่อพิจารณาในช่วงก่อนและหลังการเกิดโควิด-19 พบว่าหลังการเกิดโควิด-19 ปัจจัยความสามารถในการทำกำไร กลายเป็นปัจจัยที่ไม่มีนัยสำคัญ แต่ปัจจัยด้านการลงทุนกลายเป็นปัจจัยที่มีนัยสำคัญ


การประมาณค่าอัตรามรณะของผู้สูงอายุไทยโดยใช้วิธีการโฮริอูจิกับโคล และวิธีการมิทรา, ปาณิสรา แย้มสุข Jan 2022

การประมาณค่าอัตรามรณะของผู้สูงอายุไทยโดยใช้วิธีการโฮริอูจิกับโคล และวิธีการมิทรา, ปาณิสรา แย้มสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อคำนวณเบี้ยประกันภัยของสัญญาประกันชีวิตแบบบำนาญ ส่วนแรกเป็นการประมาณค่าอัตรามรณะของผู้สูงอายุไทยด้วย 6 ตัวแบบ คือ ตัวแบบกอมเพิทซ์ ตัวแบบคานนิสโต ตัวแบบกอมเพิทซ์โดยใช้วิธีการประมาณพารามิเตอร์โฮริอูจิกับโคล ตัวแบบกอมเพิทซ์โดยใช้วิธีการประมาณพารามิเตอร์มิทรา ตัวแบบคานนิสโตโดยใช้วิธีการประมาณพารามิเตอร์โฮริอูจิกับโคล ตัวแบบคานนิสโตโดยใช้วิธีการประมาณพารามิเตอร์มิทรา ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย ข้อมูลจำนวนประชากรปลายปีระหว่างปีพ.ศ. 2558 – 2564 จำแนกตามเพศและรายอายุ จากกระทรวงมหาดไทย และข้อมูลจำนวนการตาย ระหว่างปีพ.ศ. 2559 – 2564 จำแนกตามเพศและรายอายุ จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ทำการเปรียบเทียบค่าอัตรามรณะที่ได้จากแต่ละตัวแบบ แต่ละวิธีการ เพื่อหาตัวแบบที่มีความเหมาะสม ด้วยค่าร้อยละสมบูรณ์ของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย หลังจากนั้นนำอัตรามรณะที่ได้มาคำนวณเบี้ยประกันภัยของแบบประกันภัยตัวอย่างและทำการเปรียบเทียบเบี้ยประกันภัยสุทธิที่ได้และเบี้ยประกันภัยสุทธิที่คำนวณจากตารางบำนาญไทย ปี 2552 เบี้ยประกันภัยของสัญญาประกันชีวิตแบบบำนาญตัวอย่างที่มีระยะเวลาการชำระเบี้ยประกันภัย 10 ปี เป็นรายปี อายุของผู้เอาประกันภัย คือ 30 ถึง 50 ปี คุ้มครองถึงอายุครบ 110 ปี และใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละสองต่อปี พบว่าเมื่อผู้เอาประกันภัยมีอายุมากขึ้น เบี้ยประกันภัยสุทธิจะมีค่ามากขึ้น เบี้ยประกันภัยของเพศชายมีค่าน้อยกว่าเพศหญิงในช่วงอายุ 30 – 36 ปี แต่มากกว่าในช่วงอายุ 37 – 50 ปี นอกจากนี้ เบี้ยประกันภัยสุทธิที่คำนวณจากตารางบำนาญไทย ปี 2552 มีค่ามากกว่าเบี้ยประกันภัยที่คำนวณจากตัวแบบ อีกทั้งยังพบว่าการระบาดของโควิด 19 ไม่ส่งผลต่ออัตรามรณะ


Cryptocurrency Trading With Ensemble Machine Learning Algorithm, Siwat Assavakijphanich Jan 2021

Cryptocurrency Trading With Ensemble Machine Learning Algorithm, Siwat Assavakijphanich

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this project, we aimed to use ensemble machine learning algorithms to trade ten cryptocurrencies along with attempting to add more external factors. Cryptocurrency included in this project were Cardano (ADA), Binance Coin (BNB), Bitcoin (BTC), DOGE, DOT, Ethereum (ETH), LINK, Polygon (MATIC), Uniswap (UNI), and Ripple (XRP). Furthermore, ten external factors, which are ten major stock indices, were added to the algorithm. All machine learning algorithms in this project are used to trade for four trading circumstacnes, an 1-hour interval, six-hour interval, daily interval and weekly interval. There are six machine learning models in this project which will be …


การประเมินความเสี่ยงของกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนโดยใช้ทฤษฎีค่าสุดขีดหลายตัวแปร, ธนัสภรณ์ ธนสิริธนากร Jan 2021

การประเมินความเสี่ยงของกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนโดยใช้ทฤษฎีค่าสุดขีดหลายตัวแปร, ธนัสภรณ์ ธนสิริธนากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงของสินทรัพย์และกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนในเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ โดยใช้ทฤษฎีค่าสุดขีดตามการแจกแจงพาเรโตนัยทั่วไปในรูปแบบตัวแปรเดียว เพื่อประเมินมูลค่าความเสี่ยงและค่าเฉลี่ยความเสียหายส่วนเกินของแต่ละสินทรัพย์ลงทุน งานวิจัยนี้ยังวิเคราะห์ความเสี่ยงของกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนที่ประกอบด้วยสินทรัพย์ประเภทเดียว และกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนที่ประกอบด้วยสินทรัพย์มากกว่าหนึ่งประเภท จนกระทั่งขยายไปเป็นรูปแบบหลายตัวแปร โดยใช้ตัวแบบ Orthogonal GARCH ในการประมาณค่ามูลค่าความเสี่ยงและค่าเฉลี่ยความเสียหายส่วนเกินของกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุน งานวิจัยนี้ได้เปรียบเทียบระดับความเสี่ยงของสินทรัพย์และกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนแต่ละรูปแบบ รวมทั้งได้ทดสอบความแม่นยำของตัวแบบโดยการทดสอบย้อนกลับ ผลการวิจัยพบว่า อัตราผลตอบแทนรายวันของสินทรัพย์มีการแจกแจงพาเรโตนัยทั่วไป และตัวแบบที่นำเสนอในงานวิจัยนี้มีความเหมาะสมในการนำมาประเมินความแปรปรวนร่วมแบบมีเงื่อนไขของกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนทั้งหมด นอกจากนั้น ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการกระจายความเสี่ยงด้วยการสร้างกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนจะช่วยลดระดับความเสี่ยงที่จะเกิดการขาดทุนจากการลงทุนได้ และจากการทดสอบความน่าเชื่อถือของตัวแบบด้วยการทดสอบย้อนกลับ พบว่า กระบวนการทฤษฎีค่าสุดขีดหลายตัวแปร สามารถทำนายมูลค่าความเสี่ยงของกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนได้อย่างแม่นยำ หรือสามารถชี้วัดระดับความเสี่ยงที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำเอาตัวแบบในงานวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการประเมินความเสี่ยงของผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์และกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุน


ตัวแบบการกำหนดราคาของการประกันภัยโรคร้ายแรงโดยใช้อัตราความชุกในประเทศไทย, รติกร แย้มสรวล Jan 2017

ตัวแบบการกำหนดราคาของการประกันภัยโรคร้ายแรงโดยใช้อัตราความชุกในประเทศไทย, รติกร แย้มสรวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรงและคำนวณหาอัตราเบี้ยประกันภัยสุทธิสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรงที่คุ้มครอง 6 โรค ได้แก่ โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับวายและโรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง โดยใช้อัตราความชุกในการประมาณค่าอัตราอุบัติการณ์ของโรคร้ายแรงที่ไม่ทราบค่า ซึ่งใช้ตัวแบบหลายสถานะ(multiple state model) และฟังก์ชันคงตัวเป็นช่วง (piecewise constant function) ในการประมาณค่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะจากสถานะสุขภาพดีไปยังสถานะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงและสมมติให้ความรุนแรงของเสียชีวิตของทั้งคนสุขภาพดีและผู้ป่วยด้วยโรคร้ายแรงเป็นไปตามตัวแบบ Gompertz-Makeham (GM) ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยคือ 1) จำนวนประชากรกลางปี 2) จำนวนการตายของประชากรไทย จำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ 3) จำนวนการตาย และ 4) จำนวนการป่วย จำแนกตามกลุ่มอายุ เพศและสาเหตุการตายและการป่วยตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับแก้ไขครั้งที่ 10 (ICD-10) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554-2558 จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษาพบว่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะจากสถานะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงไปยังสถานะเสียชีวิตเนื่องจากโรคร้ายแรงประมาณได้ด้วยตัวแบบ GM(4,0) ทั้งเพศชายและเพศหญิง และจากสถานะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงไปยังสถานะเสียชีวิตเนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ นอกเหนือจากโรคร้ายแรง สามารถประมาณได้ด้วยตัวแบบ GM(1,2) และ GM(2,2) สำหรับเพศชายและหญิงตามลำดับ เบี้ยประกันภัยสุทธิจ่ายครั้งเดียวสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรงแผนกำหนดผลประโยชน์ไม่ครอบคลุมการเสียชีวิต (Stand-alone benefit) และแผนกำหนดผลประโยชน์ครอบคลุมการเสียชีวิต (Acceleration benefit) มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นและเบี้ยประกันภัยสำหรับเพศชายมีค่าสูงกว่าเพศหญิงทุกกลุ่มอายุ


การคำนวณหาเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาแนบท้ายการประกันภัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงโดยใช้ตัวแบบหลายสถานะ, วิริยะ เก้าเอี้ยน Jan 2017

การคำนวณหาเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาแนบท้ายการประกันภัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงโดยใช้ตัวแบบหลายสถานะ, วิริยะ เก้าเอี้ยน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณหาเบี้ยประกันภัยสุทธิสำหรับสัญญาแนบท้ายการประกันภัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่จ่ายผลประโยชน์ตามระยะของโรค 4 ระยะหลัก โดยใช้ข้อมูลจากอัตราอุบัติการณ์การวินิจฉัยพบมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงจากสถาบันวิจัยมะเร็งแห่งประเทศไทยและงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่เป็นประชากรไทย ซึ่งได้มีการระบุอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีและอัตราส่วนของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงในแต่ละระยะ สำหรับอัตราการเสียชีวิตรวมทุกสาเหตุจะใช้อัตรามรณะตามตารางมรณะไทยประจำปีพ.ศ. 2560 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) วิธีการหาความน่าจะเป็นที่เกี่ยวข้องจะใช้ตัวแบบหลายสถานะและกระบวนการลูกโซ่มาร์คอฟ เพื่อให้สอดคล้องกับการแบ่งระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง การคำนวณเบี้ยประกันภัยสุทธิใช้หลักการของการเท่ากันของมูลค่าปัจจุบันทางประกันภัย โดยผลประโยชน์ของสัญญาแนบท้ายการประกันภัยตัวอย่างกำหนดไว้แบ่งเป็น 2 กรณีคือกรณีที่ 1 ให้ผลประโยชน์ 1,000,000 บาทจ่ายเมื่อวินิจฉัยพบว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงสำหรับทุกระยะของโรคหรือเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าว และกรณีที่ 2 ที่กำหนดให้ผลประโยชน์สำหรับแต่ะละระยะของมะเร็งไม่เท่ากัน โดยผลประโยชน์จ่ายเมื่อวินิจฉัยพบหรือเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงระยะที่ 1 เท่ากับ 1,000,000 บาท ส่วนระยะที่ 2,3, และ 4 จะมีค่าเป็น 2,3 และ 4 เท่าของระยะที่ 1 ในขณะที่ระยะเวลาคุ้มครองและจ่ายเบี้ยประกันภัยของสัญญาแนบท้าย 5 ปี และ กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดการคุ้มครองเท่ากับร้อยละ 4 ต่อปี ผลการศึกษาพบว่าเบี้ยประกันภัยสุทธิมีค่าเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัย เมื่อกำหนดผลประโยชน์ในกรณีที่ 1 เบี้ยประกันภัยสุทธิมีค่าอยู่ระหว่าง 56.28 บาทถึง 1451.45 บาทสำหรับเพศชายและมีค่าระหว่าง 33.11 บาทถึง 1027.95 บาทสำหรับเพศหญิง และเมื่อกำหนดผลประโยชน์ในกรณีที่ 2 เบี้ยประกันภัยสุทธิมีค่าอยู่ระหว่าง 173.02 บาทถึง 4487.95 บาทสำหรับเพศชายและมีค่าระหว่าง 101.85 บาทถึง 3175.32 บาทสำหรับเพศหญิง เบี้ยประกันภัยสุทธิของเพศชายมีค่าสูงกว่าของเพศหญิง โดยมีความแตกต่างไม่สม่ำเสมอในแต่ละอายุทั้งสองกรณี ในขณะที่เบี้ยประกันภัยสุทธิเมื่อกำหนดผลประโยชน์แบบกรณีที่ 2 มีค่าสูงกว่าแบบกรณีที่ 1 ทุกอายุและเพศ เมื่อเปรียบเทียบกับเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตที่มีระยะเวลาการคุ้มครองและจ่ายเบี้ยประกันภัย 5 ปีที่ใช้อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 4 ต่อปี โดยให้ผลประโยชน์คุ้มครองการเสียชีวิตทุกสาเหตุเท่ากับ 1,000,000 บาทพบว่าเบี้ยประกันภัยสุทธิของกรณีที่ 1 คิดเป็นประมาณร้อยละ 3.48-7.37 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 5 ปีสำหรับเพศชายและประมาณร้อยละ 4.09-12.83 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 5 ปีสำหรับเพศหญิง ส่วนในกรณีที่ 2 คิดเป็นประมาณร้อยละ 10.71-22.70 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 5 …


การคำนวณเบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งระยะยาวภายใต้อัตรามรณะไทย, ปฏิญญา มากระจัน Jan 2017

การคำนวณเบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งระยะยาวภายใต้อัตรามรณะไทย, ปฏิญญา มากระจัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อคำนวณเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งระยะยาวที่มีเวลาครบกำหนดกรมธรรม์ 10 ปี ถึง 30 ปี ของผู้เอาประกันภัยอายุ 50 ปี 55 ปี และ 60 ปี ส่วนแรกเป็นการประมาณค่าอัตรามรณะของผู้สูงอายุไทยด้วยตัวแบบอินเวอร์สเมคแฮมร่วมกับวิธีโคล-กิสเกอร์ และพยากรณ์อัตรามรณะด้วยตัวแบบลี-คาร์เตอร์ ส่วนที่สองเป็นการประมาณโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยจากตัวแบบ Cox-Ingersoll-Ross (CIR) และในส่วนสุดท้ายเป็นการประมาณค่าคอลออปชั่นแบบยูโรเปี่ยนออปชั่น โดยตัวแบบแบล็คโชลส์ ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วยข้อมูลจำนวนประชากรปลายปี และจำนวนประชากรตายระหว่างปี พ.ศ.2545 - 2559 แยกตามเพศและอายุ จากกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ตามลำดับ ข้อมูลพันธบัตรรัฐบาลไทยระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 ถึง วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จากสมาคมตราสารหนี้ไทย และข้อมูลราคาปิดของหุ้น SET50 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2541 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2559 ผลการศึกษาพบว่าเบี้ยประกันภัยมีค่าลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อวันครบกำหนดสัญญามีค่าเพิ่มขึ้น โดยเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัยที่มีอายุมากมีค่าน้อยกว่าเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัยอายุน้อย เนื่องจากกรมธรรม์นี้ให้ผลประโยชน์เมื่อครบกำหนดสัญญา เบี้ยประกันภัยของเพศหญิงมีค่ามากกว่าของเพศชายเมื่อเปรียบเทียบในช่วงอายุเดียวกันและวันครบกำหนดสัญญาเดียวกัน ดังนั้นการประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งจึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ และเหมาะกับสัญญาประกันภัยแบบระยะยาว ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป