Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architectural Technology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 35

Full-Text Articles in Architectural Technology

Objetos Polivalentes De Arquitectura Efímera Sostenible Opaes Para El Espacio Público De Bogotá, Kevin Nicolas Chavarría Daza, Juan Diego Castillo Brochero Dec 2020

Objetos Polivalentes De Arquitectura Efímera Sostenible Opaes Para El Espacio Público De Bogotá, Kevin Nicolas Chavarría Daza, Juan Diego Castillo Brochero

Arquitectura

No abstract provided.


Oceanside Transit Center Transit-Oriented Development (Otc Tod): Revisioning North San Diego's County Transit Hub, Chad Johnston Dec 2020

Oceanside Transit Center Transit-Oriented Development (Otc Tod): Revisioning North San Diego's County Transit Hub, Chad Johnston

City and Regional Planning

Many California coastal communities lack a supply of housing, produce high levels of greenhouse gas emissions by daily auto commuters but have existing local and commuter rail stations with large fields of parking surrounding it. Transit-Oriented Development (TOD) integrates the building of housing, retail, office, and public space together focused around transit stations. This infill of development locates people within comfortable walking distance, usually within a quarter-mile, of a public trail transit station reducing automobile dependence for local trips or commuting for work.

The Oceanside Transit Center (OTC) is a major railway interchange, serving as a gateway to the San …


Semi Open Partitions: A Defense Strategy For Airborne Disease, Kerrie Marshall, Arik Palileo, Eric A. Schiff Oct 2020

Semi Open Partitions: A Defense Strategy For Airborne Disease, Kerrie Marshall, Arik Palileo, Eric A. Schiff

SyracuseCoE Research Brief Series

This brief summarizes research on two measures that reduce the risk of transmitting COVID-19 from an infected person to a virus-free individual. Semi-partitioned spaces can reduce airborne disease transmission when combined with a proper ventilation flow pattern in a room. With advanced displacement ventilation risk can be reduced by at least 4 times.


A Framework For Performance-Based Facade Design: Approach For Automated And Multi-Objective Simulation And Optimization, Mahsa Minaei Jul 2020

A Framework For Performance-Based Facade Design: Approach For Automated And Multi-Objective Simulation And Optimization, Mahsa Minaei

Doctoral Dissertations

Buildings have a considerable impact on the environment, and it is crucial to consider environmental and energy performance in building design. Buildings account for about 40% of the global energy consumption and contribute over 30% of the CO2 emissions. A large proportion of this energy is used for meeting occupants’ thermal comfort in buildings, followed by lighting. The building facade forms a barrier between the exterior and interior environments; therefore, it has a crucial role in improving energy efficiency and building performance. In this regard, decision-makers are required to establish an optimal solution, considering multi-objective problems that are usually competitive …


Multimodal Transit And A New Civic Architecture, Samuel Bruce Hill Jul 2020

Multimodal Transit And A New Civic Architecture, Samuel Bruce Hill

Masters Theses

We live in an age defined by the automobile and its infrastructure. This paradigm of movement has shaped how we live our lives, and the urban frameworks we inhabit. Cars as a form of transportation damage the environment and engender unsustainable lifestyles. They also create anti-social spaces with the infrastructure they require, and therefore their success is inverse to that of the pedestrian experience.

I seek to adapt this transit paradigm with a more flexible and resilient multimodal system. My work focuses on reinvigorating a rail line in central Massachusetts and designing a modular station system that can serve as …


Architecture In Open World Video Games, Congshuo Zhang Jul 2020

Architecture In Open World Video Games, Congshuo Zhang

English Language Institute

No abstract provided.


Connecting The Built And External Environments Through Architectural Compositions, Jacob Ellerbrock May 2020

Connecting The Built And External Environments Through Architectural Compositions, Jacob Ellerbrock

Honors Projects

A study regarding architectures' potential to address the separation of humanity and nature.


A Functional Escape, Zachary Spero May 2020

A Functional Escape, Zachary Spero

Architecture Undergraduate Honors Theses

Over the past two decades, the tree house has outgrown its more recent traditional role as a child’s place to play and has served many new functions. I intend to conduct research that questions how the tree house has evolved over the last twenty years based upon changes in program, technology, and relation to the tree itself. As a result of this research, I will deliver a clear understanding of tree house design best practices in the form of a manual.


Analyzation Of Sandpit Lakes In Grand Island, Nebraska, Olena Yarmolyuk, Morgan Davis Apr 2020

Analyzation Of Sandpit Lakes In Grand Island, Nebraska, Olena Yarmolyuk, Morgan Davis

Student Creative Activity, Architecture Program

The oxford dictionary defines “dichotomy” as, “noun: a division or contrast between two things that are or are represented as being opposed or entirely different.” In the context of Grand Island, Nebraska, a dichotomy exists in the development of housing. In the 1900s, sand quarrying began along the railroad in Grand Island. When the sand was dredged up from these quarries, the floodplain began to fill in holes over 5 feet deep, creating man-made lakes. As these lakes grew the sand could no longer be quarried, recreation and housing began to develop on their shores. The housing developments, in particular, …


การศึกษาความเหมาะสมของห้องพักหลังออกกำลังกายของผู้สูงอายุ, พงศกร เจริญพงพันธุ์ Jan 2020

การศึกษาความเหมาะสมของห้องพักหลังออกกำลังกายของผู้สูงอายุ, พงศกร เจริญพงพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อร่างกายและความรู้สึกร้อนหนาวของผู้สูงอายุภายหลังการออกกำลังกาย 2) เพื่อออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำห้องพักหลังออกกำลังกาย (Cool down) สำหรับผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงห้องพักหลังออกกำลังกาย (Cool down) สำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย แบบแผนการวิจัยเป็นวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง (One Group Pretest Posttest Design) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพปกติ ผู้วิจัยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) จากบ้านพักคนชรา A ในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ และ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาวะน่าสบายของผู้สูงอายุ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา รูปภาพ กราฟแท่ง และสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทิศทางเดียว ผลการวิจัยแบ่งเป็น 2 ข้อ ได้แก่ 1) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกร้อนหนาวของผู้สูงอายุทั้งก่อนและหลังการออกแบบฯ พบว่า อุณหภูมิของอากาศมีค่าเท่ากับ 24.580 และ 26.066 องศาเซสเซียล โดยที่ข้อกำหนดของ ASHRAE เท่ากับ 24.5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 51.879% และ 51.665% สูงกว่าข้อกำหนดเล็กน้อย 1.665-1.879% ความเร็วลมเท่ากับ 0.131 และ 0.132 เมตรต่อวินาที ต่ำกว่าข้อกำหนดเล็กน้อย 0.18-0.19 เมตรต่อวินาที อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวรอบร่างกาย เท่ากับ 26.872 และ 28.066 องศาเซลเซียส และผลการประเมินสภาวะน่าสบายตามการรับรู้ประสาทสัมผัสของผู้สูงอายุ เท่ากับ -0.833 และ -0.628 ต่ำกว่าข้อกำหนดของ ASHRAE ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0 และ 2) การออกแบบและแนวทางการปรับปรุงห้องพักหลังออกกำลังกาย (Cool …


โครงสร้างไม้ไผ่ประกับกาวและไม้ยางพาราวัสดุโครงสร้างผสม 2x4 นิ้ว สำหรับหน่วยพักอาศัย, ศวิษฐ์ พิริยะสุรวงศ์ Jan 2020

โครงสร้างไม้ไผ่ประกับกาวและไม้ยางพาราวัสดุโครงสร้างผสม 2x4 นิ้ว สำหรับหน่วยพักอาศัย, ศวิษฐ์ พิริยะสุรวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไม้ประกับกาวเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเพื่อทดแทนความต้องการไม้หน้ากว้าง ซึ่งมีจำนวนทรัพยากรลดน้อยลง ประเทศไทยยังคงมีการพัฒนาไม้ประกับกาวในรูปแบบ "Glued laminated timber" ตั้งแต่ ค.ศ.1971 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นการนำไม้มาเรียงต่อกันเป็นชั้นในทิศทางเดียว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความแข็งแรงในการนำมาใช้เป็นโครงสร้าง นอกจากทรัพยากรไม้ในพื้นที่ป่าเบญจพรรณในประเทศไทย ยังมี "ไผ่" ซึ่งถือวัสดุทางเลือกที่คนให้ความสนใจในหลายมิติ การนำไผ่มาใช้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพความแข็งแรงของไม้ประกับกาว รวมถึงเป็นการทดแทนอัตราการใช้ไม้ในระบบป่าอุตสาหกรรมให้เกิดความเพียงพอต่อจำนวนทรัพยากรในประเทศไทย วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุผสมไม้ไผ่ประกับกาวและไม้ยางพารา ขนาด 2x4 นิ้ว 2) เพื่อสร้างต้นแบบวัสดุผสมไม้ไผ่ประกับกาวและไม้ยางพารา ขนาด 2x4 นิ้ว 3) เพื่อสรุปแนวทางมาตรฐานวัสดุผสมไม้ไผ่ประกับกาวและไม้ยางพารา ขนาด 2x4 นิ้ว ซึ่งมีกระบวนการวิจัยดังนี้ 1) ศึกษาพัฒนาการไม้ประกับกาว และไม้อัดประสาน ในระดับนานาชาติ และในประเทศไทย 2) ศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของไม้ไผ่ประกับกาวและไม้ยางพาราวัสดุผสม สำหรับหน่วยพักอาศัยด้วยวิธีการทดสอบในห้องทดลอง และกระบวนการวิเคราะห์ "Finite elements analysis" 3) ประยุกต์ใช้วัสดุผสมไม้ไผ่และไม้ยางพาราประกับกาว 2x4 นิ้ว เป็นต้นแบบโครงสร้างใหม่สำหรับหน่วยพักอาศัย แบบ 1 ชั้น ขนาดพื้นที่ 24 ตารางเมตร หน้ากว้างอาคาร 5.00 เมตร ลึก 4.80 เมตร จากการศึกษาพบว่าวัสดุผสมไม้ไผ่ประกับกาวและไม้ยางพารา ขนาด 2x4 นิ้ว สามารถใช้เป็นโครงสร้างทดแทนไม้ยางพาราประกับกาวขนาด 2x6 นิ้ว ในรูปแบบการก่อสร้างแบบเดิม ในส่วนของตงพื้น แม้ว่าคุณสมบัติของไม้ยางพาราจะมีระยะยุบตัวน้อยกว่าวัสดุผสมไม้ไผ่ประกับกาวและไม้ยางพารา 0.33141 mm. หรือคิดเป็น 27.96 % รูปแบบวัสดุผสมไม้ไผ่และไม้ยางพาราประกับกาวที่สอดคล้องกับระบบอุตสาหกรรมไม้ในประเทศไทย การก่อสร้างหน่วยพักอาศัยด้วยวัสดุผสมไม้ไผ่และไม้ยางพาราประกับกาวพบว่ารูปแบบโครงสร้างที่ใช้วัสดุผสมไม้ไผ่และไม้ยางพาราประกับกาว สามารถลดส่วนประกอบของอาคารได้แก่ การใช้ผนังรับน้ำหนักแทนเสา การลดส่วนประกอบของหลังคาในขณะที่ยังสามารถสนับสนุนการรับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคาได้ รูปแบบโครงสร้างวัสดุผสมไม้ไผ่และไม้ยางพาราประกับกาวสำหรับหน่วยพักอาศัย ยังสามารถลดปริมาณไม้จากที่ใช้ไม้คิดเป็นปริมาตรไม้จาก 72.44 ลูกบาศก์ฟุต เหลือเพียง 46.40 ลูกบาศก์ฟุต และลดระยะเวลาในการก่อสร้างหน่วยพักอาศัยได้ 20% เมื่อเทียบกับรูปแบบการก่อสร้างแบบเดิม


การปลูกผักไฮโดรโพรนิคโดยใช้พลังงานทดแทนเสริมบนดาดฟ้า, ประกาย คำภูศิริ Jan 2020

การปลูกผักไฮโดรโพรนิคโดยใช้พลังงานทดแทนเสริมบนดาดฟ้า, ประกาย คำภูศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเทคโนโลยีและระบบการปลูกผักไร้สารพิษที่ใช้พลังงานทดแทน 2) เพื่อศึกษาการออกแบบพื้นที่สำหรับปลูกผักไร้สารพิษให้เหมาะสมกับพื้นที่ในอาคารพาณิชย์หรือทาวน์เฮาส์ และ 3) เพื่อศึกษาผลที่ได้จากการปลูกผักไร้สารพิษทั้งจากแปลงที่ใช้พลังงานทดแทนจากแผงโซล่าเซลล์ และแปลงที่ไม่ใช้พลังงานทดแทนจากแผงโซล่าเซลล์ หน่วยวิเคราะห์ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ต้นผักกรีนโอ้ค จำนวน 60 ต้น แบ่งเป็น 2 แปลง คือ แปลงที่ใช้แผงโซล่าเซลล์ และแปลงที่ไม่ใช้แผงโซล่าเซลล์ แปลงละ 30 ต้น แปลงผักตั้งอยู่บนอาคารพาณิชย์ ณ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยเก็บผลการปลูกเป็นเวลา 45 วัน โดยเก็บสภาพภูมิอากาศทั่วไป ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณแสงแดด และความเร็วลม พบว่า สภาพภูมิอากาศทั่วไปของแปลงทั้งสองแตกต่างกัน จึงนำมาเป็นตัวแปรร่วม (covariate variable) ในการวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบพหุ (MANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า แปลงผักถูกออกแบบให้สามารถตั้งอยู่บนพื้นที่จำกัดเช่นกัน คือ บ้านพักอาศัยและสถานที่ทำงานบนอาคารพาณิชย์ แปลงผักทั้งสองแปลงถูกออกแบบให้มีปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืชครบถ้วน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ อากาศ น้ำ ธาตุอาหาร และที่ค้ำจุนลำต้น นอกจากนี้ แปลงผักทั้งสองยังถูกออกแบบให้เป็นการปลูกพืชในน้ำแบบน้ำไหล โดยใช้ท่อพลาสติกให้เป็นรางน้ำอยู่ด้านบน และมีถังพักน้ำ ซึ่งมีปั้มน้ำอยู่ด้านในถังน้ำเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของน้ำ แปลงทั้งสองแตกต่างกันเพียงแปลงที่ 1 ได้เชื่อมต่อแผงโซล่าเซลล์ ส่วนแปลงที่ 2 ใช้พลังงานไฟฟ้าจากอาคารตามปกติ นอกจากนี้ แปลงผักทั้งสองยังถูกออกแบบให้มีความสวยงามเพื่อเป็นพื้นที่สีเขียวสำหรับนั่งพักผ่อนหย่อนใจได้อีกด้วย ผลที่ได้จากการปลูกผักพบว่า การใช้แผงโซล่าเซลล์ของแปลงที่ 1 มีระยะเวลาคืนทุน 9 เดือน แปลงที่ 1 ได้ผลผลิต 3.2 กิโลกรัม ใช้เวลาในการปลูกและพลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าแปลงที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และแปลงที่ 2 ได้ผลผลิต 2.7 กิโลกรัม ส่วนปริมาณปุ๋ยและปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชไม่แตกต่างกัน


การก่อตัวของเกาะความร้อน กรณีศึกษาตำบลรังสิตในอำเภอธัญบุรี และตำบลคลองห้า และตำบลคลองหกในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี, สรชา ไววรกิจ Jan 2020

การก่อตัวของเกาะความร้อน กรณีศึกษาตำบลรังสิตในอำเภอธัญบุรี และตำบลคลองห้า และตำบลคลองหกในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี, สรชา ไววรกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนากายภาพของเมืองในประเทศไทยส่งผลให้เกิดเกาะความร้อนเมือง การศึกษานี้ใช้พื้นที่ตำบลรังสิต ตำบลคลองห้า และตำบลคลองหก จังหวัดปทุมธานีซึ่งมีการพัฒนาด้านกายภาพจากพื้นที่เกษตรกรรมเป็นพื้นที่เมืองหนาแน่นในระยะเวลา 20 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ถึง 2562 ตัวแปรที่มีอิทธิพลประกอบด้วย พื้นที่สีเขียว พื้นที่อาคารและสิ่งปลูกสร้าง ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า และปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากการจราจรขนส่ง ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบลเกิดความร้อนประมาณ 80 78 28 ล้านล้านบีทียู ตามลำดับแหล่งความร้อนสูงสุดจากธรรมชาติคือ แสงอาทิตย์ แหล่งความร้อนจากการพัฒนาเมืองคือ การใช้กระแสไฟฟ้า การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง และพื้นที่อาคารสิ่งปลูกสร้าง เมื่อพื้นที่สีเขียวลดลงและในขณะเดียวกันเปลี่ยนเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้าง ทำให้เกิดการสะสมความร้อนจากแสงอาทิตย์และสะสม ประกอบกับปัจจัยแหล่งความร้อนภายนอกเพิ่มเติม ได้แก่ พลังงานความร้อนจากไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการจราจรขนส่ง ทำให้อุณหภูมิอากาศในเมืองสูงขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ปี 2552 และ ปี 2562 มีอุณหภูมิอากาศสูงขึ้น 0.45 0.55 และ 0.8 องศาเซลเซียสตามลำดับ การบรรเทาสภาวะเกาะความร้อนเมืองมีปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้อง 4 ประการ ได้แก่ 1) การลดพื้นที่อาคารและสิ่งปลูกสร้าง 2) การลดปริมาณการใช้พลังงานโดยใช้อุปกรณ์และรูปแบบการอาคารแบบประหยัดพลังงาน 3) การใช้แหล่งพลังงานในการจราจรขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูง และลดปริมาณความร้อน 4) การเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อดูดซับความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์


สมรรถนะการถ่ายเทความร้อน และประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นขนาด 2.5 ไมครอนของแผงบังแดดโดยใช้พืชใบแคบ และใบกว้าง, เอกรัชต์ ปานแร่ Jan 2020

สมรรถนะการถ่ายเทความร้อน และประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นขนาด 2.5 ไมครอนของแผงบังแดดโดยใช้พืชใบแคบ และใบกว้าง, เอกรัชต์ ปานแร่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นในการใช้ Living wall เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวดักจับฝุ่นละออง PM2.5 ที่เป็นปัญหาทางด้านมลพิษทางอากาศ ศึกษาการหาค่าสัมประสิทธิ์ในการบังแดดของพืชไม่ผลัดใบโดยเปรียบเทียบระหว่างพืชใบแคบ และใบกว้างและช่วยในการลดความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในอาคาร ซึ่งเป็นการลดการใช้พลังงานภายในอาคาร และการลดอุณหภูมิภายนอกที่มีการติดตั้งแผงบังแดด แผงบังแดดและต้นพลูด่าง แผงบังแดดและต้นเศรษฐีเรือนนอก การทดลองในงานวิจัยนี้แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ การลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก และการลดการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์เข้าสู่ตัวอาคาร สำหรับฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 ที่เป็นปัญหาในพื้นที่ที่มีการจราจรคับคั่ง เมื่อติดตั้ง Living wall จะสามารถลดปริมาณฝุ่นขนาดเล็กที่เข้าสู่ตัวอาคารได้ร้อยละ 17.96-20.95 Living wall สามารถลดการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์เข้าสู่ตัวอาคารได้ดี เมื่อติดตั้งในทิศตะวันตกจะสามารถลดอุณหภูมิภายในอาคารลงถึง 1.49-3.66 องศาเซลเซียส ซึ่งมีประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิในช่วงบ่ายดีกว่าช่วงเช้า โดยลักษณะใบของต้นพืชที่ใช้ในงานวิจัยนี้ไม่ส่งผลต่อการลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารเนื่องจากค่า SC อยู่ในช่วง 0.05-6.06 ซึ่งไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาการใช้พลังงานตลอดทั้งปี และการลดฝุ่นขนาดเล็กที่เข้าสู่อาคาร ยังคงให้ผลดีกว่าการติดตั้งแผงบังแดดเพียงอย่างเดียว จากผลการทดลอง พบว่าพลูด่างสามารถลดค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าถึงร้อยละ 11.08 โดยมีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 1 ปี และมีค่าความหนาแน่นของพุ่มใบเท่ากับ 5.66 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐีเรือนนอกที่สามารถลดค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าถึงร้อยละ 8.57 โดยมีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 1 ปี และมีค่าความหนาแน่นของพุ่มใบเท่ากับ 2.4 จะพบว่าพลูด่างให้ผลการทดลองที่ดีที่สุดจึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้เป็นพืชที่ปลูกในแผงบังแดดเพื่อลดความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร


การจัดการงานดูแลรักษางานภูมิทัศน์ของคอนโดมิเนียมแบบอาคารสูง ในเขตกรุงเทพมหานครฯ และ ปริมณฑล : กรณีศึกษา 9 โครงการ, ภัทรพร เสนาธรรม Jan 2020

การจัดการงานดูแลรักษางานภูมิทัศน์ของคอนโดมิเนียมแบบอาคารสูง ในเขตกรุงเทพมหานครฯ และ ปริมณฑล : กรณีศึกษา 9 โครงการ, ภัทรพร เสนาธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการอาคารชุดพักอาศัยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล พื้นที่งานภูมิทัศน์ ประกอบด้วย พรรณไม้ และ องค์ประกอบอย่างอื่น เช่น ภูมิทัศน์ดาดแข็ง (Hardscape) แต่เมื่อเริ่มเปิดใช้งานอาคาร กลับพบว่างานภูมิทัศน์มีปัญหาเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งงานภูมิทัศน์นั้น ถือเป็นกายภาพส่วนหนึ่งของอาคาร ที่ต้องได้รับการดูแลรักษา (Building Service Operation) การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบงานภูมิทัศน์ที่พบในโครงการคอนโดมิเนียมแบบอาคารสูง โดยได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง ที่มีเกณฑ์การคัดเลือกจากโครงการอาคารชุดพักอาศัยที่มีลักษณะเป็นอาคารสูง ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 9 โครงการ โดยได้ทำการศึกษาข้อมูลในประเด็น รูปแบบงานภูมิทัศน์ที่พบในโครงการ, วิธีการจัดการงานดูแลรักษา, และ ค่าใช้จ่ายของงานดูแลรักษางานภูมิทัศน์ จากการศึกษาพบว่า ในทุกโครงการ จะพบสวนในระดับพื้นชั้น 1 และ สวนบนอาคาร สำหรับสวนแนวตั้ง พบใน 6 โครงการ เฉพาะในโครงการที่มีช่วงราคาขายสูง มากกว่า 130,000 บาท/ตร.ม.ขึ้นไป ในส่วนของข้อมูลบริษัทผู้รับจ้าง พบว่าทุกกรณีศึกษาเป็นการจัดจ้างผู้รับจ้างบริษัทดูแลรักษางานภูมิทัศน์ในรูปแบบของบริษัทภายนอก (Outsourcing) ทั้งหมด ขอบเขตของงานดูแลรักษา พบว่า สามารถแบ่งกลุ่มงานได้เป็น 4 กลุ่ม คือ งานดูแลรักษาประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน และ งานซ่อมบำรุงงานสวนเป็นครั้งคราว ซึ่งสามารถจัดกลุ่มประเภทงานดูแลรักษาได้เป็น งานดูแลรักษาระดับทั่วไป และ งานดูแลรักษาแบบเฉพาะทาง ในส่วนของราคาค่าบริการงานดูแลรักษางานภูมิทัศน์จะพบว่าเมื่อนำไปวิเคราะห์หาสัดส่วนต่อค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่เกิดขึ้นในแต่ละโครงการ พบเพียงไม่เกินร้อยละ 1 ของอัตราค่าใช้จ่ายต่อพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก จึงเป็นข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่ามูลค่าของการดูแลรักษางานภูมิทัศน์มีสัดส่วนที่น้อย แต่เป็นส่วนที่จะส่งผลต่อภาพลักษณ์ บรรยากาศ รวมถึงมูลค่าของโครงการในอนาคต ข้อค้นพบจากการศึกษา พบว่า การจัดการงานดูแลรักษางานภูมิทัศน์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีวิธีการจัดการที่ไม่แตกต่างกัน คือเป็นวิธีการจัดหาผู้ให้บริการงานดูแลรักษาสวนแบบ Outsourcing โดยที่การดำเนินงานดูแลรักษา ยังเป็นไปตามเงื่อนไขที่ไม่จำเพาะเจาะจงกับรูปแบบงานภูมิทัศน์ที่แตกต่างกัน จึงควรมีการจัดการวิธีการดูแลรักษางานภูมิทัศน์ให้เหมาะสมกับรูปแบบงานภูมิทัศน์ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ของโครงการเพื่อให้งานดูแลรักษางานภูมิทัศน์ มีคุณภาพที่ดีขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดูแลอาคารให้มีสภาพเหมือนตอนเปิดใช้งานให้ได้มากที่สุด


คุณค่าทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์: กรณีศึกษา ย่านถนนพรหมราช จังหวัดอุบลราชธานี, ลลิดา บุญมี Jan 2020

คุณค่าทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์: กรณีศึกษา ย่านถนนพรหมราช จังหวัดอุบลราชธานี, ลลิดา บุญมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน พื้นที่ประวัติศาสตร์ของหลายเมืองมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ ซึ่งหากพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพเพียงอย่างเดียวอาจเป็นเรื่องยากต่อการรับรู้คุณค่าและความสำคัญขององค์ประกอบเมือง ทั้งนี้ เมืองอุบลราชธานีเป็นหนึ่งตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ ปรากฏความหลากหลายของรูปแบบสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตของคนในสังคม คุณลักษณะเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าในพื้นที่ประวัติศาสตร์เมืองมีชั้นประวัติศาสตร์หลายชั้นซ้อนทับกันอยู่และอยู่ร่วมกันมาตั้งแต่ตั้งถิ่นฐานจนถึงปัจจุบัน วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของคุณลักษณะเมืองอุบลราชธานี และวิเคราะห์คุณค่าและความสำคัญขององค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อเป็นฐานความเข้าใจสำหรับการวางแผนอนุรักษ์และพัฒนาเมืองอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยใช้ทฤษฎีภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์เป็นกรอบและแนวทางสำหรับการศึกษาเมืองอย่างเป็นองค์รวม และใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสถานที่เพื่อทำความเข้าใจมุมมองของคนที่อยู่ในพื้นที่ต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ ผลการศึกษาพบว่าพัฒนาการของเมืองส่งผลต่อภูมิทัศน์เมืองในปัจจุบัน ดังนั้น การทำความเข้าใจคุณค่าและความสำคัญจึงต้องพิจารณาทั้งมิติที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมควบคู่กันไป เพื่อให้มิติที่คงอยู่ช่วยอธิบายประวัติศาสตร์ของเมืองภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ มุมมองของคนในจากพื้นที่กรณีศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า นอกเหนือจากลักษณะทางกายภาพแล้ว คนในให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขาผูกพันจากมิติอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ความเชื่อ สังคม การใช้งาน เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาครั้งนี้คือกระบวนการสำหรับการทำความเข้าใจเมืองและข้อเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาสำหรับเมืองประวัติศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นองค์รวม


การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานของไม้สักในงานสถาปัตยกรรม, มัชฌิมาศ มรรคา Jan 2020

การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานของไม้สักในงานสถาปัตยกรรม, มัชฌิมาศ มรรคา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยมีการผลิตและนำไม้สักจากป่าธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ภายในประเทศและด้านการค้ามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ด้วยคุณสมบัติเฉพาะของไม้สักสามารถนำไปใช้งานได้สารพัดประโยชน์ จึงทำให้เป็นที่ต้องการของนานาประเทศ จนไม้สักกลายเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นจำนวนมหาศาล อีกทั้งไม้สักไม่ได้มีคุณค่าเฉพาะด้านความงามของงานช่างเท่านั้น แต่ยังเป็นหลักฐานของยุคสมัยที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและคุณค่าความสำคัญผ่านการใช้งานด้วย จากการค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่ายังขาดงานวิจัยที่สร้างความเข้าใจในโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานไม้สักในงานสถาปัตยกรรม การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานของไม้สักในงานสถาปัตยกรรม และวิเคราะห์ถึงจุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเชื่อมโยงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ของห่วงโซ่ และลำดับพัฒนาการห่วงโซ่ในแต่ละช่วงเวลา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงจากอดีตถึงปัจจุบันชัดเจนมากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีการทบทวนวรรณกรรมด้านประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทั้งข้อมูลทางสถิติและปริมาณการใช้งาน รวมถึงเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในย่านการค้าไม้เพิ่มเติม นำข้อมูลที่ได้เหล่านี้มาคำนวณเพื่อประเมินการใช้งานไม้สักแต่ละยุคสมัยในประเทศไทย โดยเน้นการใช้ข้อมูลหลักฐานบันทึกทางสถิติจำนวนประชากร ปริมาณการส่งออก ในสมัยรัชกาลที่ 3 และหลังรัชกาลที่ 4 มาเป็นฐานหลักในการคำนวณปริมาณการใช้ไม้สัก จากการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานของไม้สักในงานสถาปัตยกรรมเกิดจากความสัมพันธ์ของห่วงโซ่ 2 ส่วน ได้แก่ (1) ผลผลิตและการใช้งานไม้สัก ตั้งแต่สมัยสุโขทัยที่มีการส่งไม้สักไปเป็นเครื่องบรรณาการให้กับจีน การลงทุนทำการค้าของพ่อค้าชาวจีน และเริ่มมีการค้าอย่างจริงจังเมื่อบริษัทชาวยุโรปเข้ามาลงทุนกิจการค้าไม้ในประเทศไทย ซึ่งมีปริมาณการส่งออกขอนสักสูงสุดถึง 120,000 ท่อนในสมัยรัชกาลที่ 5 และ (2) จุดเปลี่ยนสำคัญ โดยมีปัจจัยเชิงการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของห่วงโซ่ 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) การเข้ามาทำธุรกิจการทำไม้สัมปทานของชาวต่างชาติ 2) ผลกระทบต่อปริมาณพื้นที่ป่าไม้จากการทำสัมปทาน และ 3) ปริมาณความต้องการและการใช้งานไม้สักในแต่ละช่วงเวลา จากปัจจัยทั้ง 3 ส่งผลให้เกิดจุดเปลี่ยนตามลำดับเหตุการณ์ 10 จุด ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของห่วงโซ่ จากความสัมพันธ์ทั้ง 2 ส่วนที่กล่าวมานั้น ทำให้สามารถสรุปลำดับพัฒนาการห่วงโซ่อุปทานของไม้สักในงานสถาปัตยกรรมได้ 2 ส่วน ได้แก่ (1) พัฒนาการช่วงการเปลี่ยนแปลง สามารถแบ่งช่วงการเปลี่ยนแปลงได้ 4 ยุค ได้แก่ ยุคที่ 1 การเข้ามาทำไม้สักของพ่อค้าชาวจีน ยุคที่ 2 การเข้ามาทำสัมปทานป่าไม้ของบริษัทต่างชาติ ยุคที่ 3 การตั้งชุมชนโรงเลื่อยหลังวัดสระเกศ และยุคที่ 4 การขยายตัวไปยังย่านบางโพ (2) พัฒนาการโครงสร้างห่วงโซ่ของต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และผู้ใช้งาน ในแต่ละช่วงเวลามีความแตกต่างกัน สังเกตจากการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านแหล่งที่มาของไม้สัก การขนส่ง และการใช้งานไม้ โดยการสรุปแผนผังแสดงการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานของไม้สักแยกตามยุคสมัยไว้ ทำให้เกิดข้อสังเกตว่าความสมดุลของปริมาณการใช้งานไม้สักในแต่ละช่วงเวลาไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณขอนสักที่ผลิตได้ การรักษาสมดุลของไม้สักเพื่องานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมจะต้องมีการวางแผนล่วงหน้า ไม้สักจากสวนป่าปลูกยังคงไม่ใช่วัสดุหลักในการใช้งานในเร็ว ๆ …


การเปลี่ยนแปลงสัณฐานย่านชุมชนเก่าเมืองรัตนโกสินทร์ กรณีศึกษาย่านสำเพ็ง, ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ Jan 2020

การเปลี่ยนแปลงสัณฐานย่านชุมชนเก่าเมืองรัตนโกสินทร์ กรณีศึกษาย่านสำเพ็ง, ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สำเพ็ง เป็นย่านการค้าชาวจีนนอกกำแพงเมืองที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ มีอาณาเขตตั้งแต่คลองวัดสามปลื้มถึงคลองวัดสำเพ็งหรือถนนมหาจักรถึงวัดปทุมคงคา ปัจจุบันสำเพ็งพัฒนาเป็นย่านศูนย์กลางการค้าและเป็นย่านชุมชนเก่าที่ถูกพัฒนาแบบไร้ทิศทางเนื่องจากขาดความเข้าใจในคุณค่าและความเป็นมาของย่านโดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นการตั้งถิ่นฐานชุมชนจีนในสำเพ็ง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและรูปแบบการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ และศึกษาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงสัณฐานกับการตั้งถิ่นฐานในสำเพ็งเพื่ออธิบายถึงความเป็นมาของพื้นที่ ซึ่งการศึกษาสัณฐานของย่านสำเพ็งในภาพรวมจะทำให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงและความเชื่อมโยงของลักษณะกายภาพในปัจจุบันกับในอดีตซึ่งสามารถนำไปต่อยอดในการออกแบบพัฒนาเมือง จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่าการศึกษาเกี่ยวกับภาพรวมของพื้นที่สำเพ็งโดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นกรุงรัตนโกสินทร์ถึงก่อนรัชกาลที่ 5 ยังมีอยู่น้อย โดยมากเป็นข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และการศึกษาเฉพาะพื้นที่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลานั้นเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ย่านสำเพ็งมีลักษณะแบบที่เห็นในปัจจุบันเนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนในพื้นที่ และจุดเปลี่ยนของการพัฒนาในพื้นที่ที่สำคัญหลายประการเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นมากกว่าในช่วงหลัง สัณฐานเดิมของพื้นที่สำเพ็งเป็นขนัดสวน มีแกนสำคัญคือถนนสำเพ็งซึ่งพัฒนามาจากเส้นทางเดินเชื่อมพระนครที่ประตูสะพานหันออกไปยังวัดต่างๆ ที่อยู่นอกเมืองริมแม่น้ำเจ้าพระยา สำเพ็งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับชุมชนจีนที่ตลาดน้อยและเชื่อมโยงกับพื้นที่คลองสานฝั่งธนบุรีด้วยท่าเรือหลายแห่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาและการย้ายไปมาของชาวจีนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ชุมชนจีนที่ย้ายมาจากท่าเตียนในช่วงรัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 3 มีศูนย์กลางชุมชนที่บริเวณถนนสำเพ็ง ต่อมาในรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 มีการตัดถนนเจริญกรุงจากทางช้างที่ประตูสามยอด ตัดถนนเยาวราชเข้าพระนครที่ป้อมมหาชัย และถนนอีกหลายสายเชื่อมเส้นทางในพื้นที่ เป็นการพัฒนาที่เกิดถัดขึ้นไปทางเหนือของถนนสำเพ็งและเชื่อมต่อกับพื้นที่เดิมด้วยตรอกซอยทางตั้งยาวจรดพื้นที่ริมน้ำ เมื่อเส้นทางสัญจรทั้งเก่าและใหม่ซ้อนทับกันจึงเกิดเป็นโครงข่ายและการพัฒนาบ้านเรือน ร้านค้า และพื้นที่ต่างๆ การพัฒนาดังกล่าวที่เกิดขึ้นเป็นผลจากปัจจัยทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการถือครองที่ดินจำนวนมากบริเวณริมน้ำตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นชุมชนโดยเชื้อพระวงศ์ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ดินบริเวณที่อยู่ถัดขึ้นไปจากถนนสำเพ็งตรอกอย่างตรอกอิศรานุภาพเป็นพื้นที่ค้าขายจนเกิดการขยายตัวของชุมชนเข้าไปในพื้นที่สวน ทั้งนี้หนึ่งในกลุ่มที่ทำให้เกิดการพัฒนาที่ดินในสำเพ็งคือชาวจีนที่มีฐานะหรือมีการผูกสัมพันธ์กับขุนนางเดิมในไทยทั้งทางสังคมและทางเศรษฐกิจ


การศึกษารูปแบบชุดสีทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่เมืองเก่าสงขลา, ณัฐกานต์ ประเสริฐสุข Jan 2020

การศึกษารูปแบบชุดสีทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่เมืองเก่าสงขลา, ณัฐกานต์ ประเสริฐสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พื้นที่เมืองเก่าเป็นสถานที่ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนานของประเทศไทยโดยเฉพาะงานสถาปัตยกรรม ที่ปัจจุบันเกิดความทรุดโทรมไปตามกาลเวลา การปรับปรุงสีอาคารเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำได้ง่ายและใช้งบประมาณน้อยกว่าวิธีอื่น ซึ่งการเลือกใช้สีและวัสดุให้มีความเหมาะสมนั้นเป็นสิ่งสำคัญ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมชุดสีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาคารพาณิชย์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์และลักษณะความกลมกลืนทางด้านสีของพื้นที่เมืองเก่าสงขลา โดยเก็บข้อมูลด้วยระบบดิจิตอลจากภาพถ่ายอาคารผ่านโปรแกรม Adobe Photoshop CS6 เพื่อหาค่าความถี่ของสีจากอาคารจำนวน 523 หลัง บนถนนหลักทั้ง 3 เส้นของเมืองเก่าสงขลา ผลแสดงให้เห็นว่าสีเทา สีขาวและสีน้ำตาล เป็นสีที่มีการใช้ในองค์ประกอบอาคารมากที่สุด โดยเมื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับสถานที่สำคัญในพื้นที่ทำให้ทราบถึงชุดสีที่แสดงถึงอัตลักษณ์ ได้แก่ สีขาว สีเทาอ่อนที่มีการเจือด้วยสีฟ้า สีเทากลางและสีแดง นอกจากนี้ยังพบว่าค่าความสดของสีอาคารส่วนใหญ่อยู่ในช่วงร้อยละ 0-20 มีค่าความสว่างของสีอยู่ในช่วงกว้างตั้งแต่ร้อยละ 21-100 และชุดสีที่มีการใช้มากที่สุดคือการใช้สีเดียว (Monochrome) การใช้สีคู่ตรงข้าม (Complementary) และการใช้สีที่อยู่ใกล้เคียงกัน (Analogous) ตามลำดับ งานวิจัยนี้ได้ผนวกทิศทางของแสงและตำแหน่งอาคารมาใช้ร่วมกับการเก็บค่าสีอาคาร โดยช่วยให้ได้ค่าสีที่มีความใกล้เคียงกับสีอาคารในภาพถ่ายมากขึ้น และยังเป็นแนวทางในการเลือกใช้สีให้กับเจ้าของอาคารและหน่วยงานที่ต้องการส่งเสริมภาพลักษณ์ในพื้นที่ ในท้ายที่สุดงานวิจัยชิ้นนี้ได้เสนอให้มีการเก็บค่าสีจากมุมสูงของพื้นที่ และการวิเคราะห์ค่าสีและค่าความสดของสี ร่วมกับทิศทางของแสงและตำแหน่งอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ


Applying Lca-Bim Integration For A Sustainable Management Process, Ayman Ahmed Ezzat Othman, Dalia Morsi Ahmed Morsi, Walaa S E Ismaeel, Ahmed Ehab Abd El Hamed Jan 2020

Applying Lca-Bim Integration For A Sustainable Management Process, Ayman Ahmed Ezzat Othman, Dalia Morsi Ahmed Morsi, Walaa S E Ismaeel, Ahmed Ehab Abd El Hamed

Architectural Engineering

This work investigates the benefits of performing Life Cycle Assessment (LCA) using Building Information Modelling (BIM) techniques on a case study management process. This provides insights for reducing the environmental impacts of building materials and elements along the life cycle of a concrete residential project in Egypt. The study follows the LCA ISO 14040 and 14044 guidelines, local materials database, Revit modelling and One-Click LCA plugin. The result outlines that most of the environmental impacts occur during the operation and manufacturing phase. It also shows that slabs and beams result in most of the environmental loads. In terms of the …


การตอบสนองทางอารมณ์ต่อสี และการตกแต่งผนังของห้องพักผู้ป่วยเด็ก, อัศวิน ลาหนองแคน Jan 2020

การตอบสนองทางอารมณ์ต่อสี และการตกแต่งผนังของห้องพักผู้ป่วยเด็ก, อัศวิน ลาหนองแคน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงปีที่ผ่านมาแผนกกุมารเวชกรรมในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทางด้านการออกแบบ สีและลวดลายตกแต่งบนผนังในห้องพักผู้ป่วยเด็กเป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถสร้างบรรยากาศที่ดี มีผลต่อผู้ปกครองในการตัดสินใจแทนบุตร หลานเข้ารับการรักษาและพักฟื้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะสี และลวดลายตกแต่งผนังที่แตกต่างกันภายในสภาพแวดล้อมห้องพักผู้ป่วยเด็กที่มีต่ออารมณ์ของผู้ปกครอง โดยที่งานวิจัยนี้มีผู้ปกครองที่มีบุตร หลานเข้าร่วมทดสอบทั้งหมด 64 คน ผู้เข้าร่วมทดสอบได้ทำการให้คะแนนในการตอบสนองทางอารมณ์ของตนเองต่อภาพจำลองของห้องพักผู้ป่วยเด็ก ด้วยมีสีที่แตกต่างกัน 4 สี และผนังที่แตกต่างกัน 2 ผนัง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การมีสีและลวดลายตกแต่งในสภาพแวดล้อมนั้นส่งผลดีกับสภาพแวดล้อมห้องพักผู้ป่วยเด็ก คุณลักษณะสี และลวดลายตกแต่งผนังที่แตกต่างกัน ส่งผลต่ออารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ความรู้สึกด้านสภาพอารมณ์ ผนังตกแต่งลวดลายธรรมชาติโทนสีฟ้า (WDNC) ส่งผลต่อความพึงพอใจมากที่สุด สำหรับความรู้สึกด้านสภาพแวดล้อม ผนังตกแต่งลวดลายธรรมชาติโทนสีฟ้า (WDNC) และผนังสีฟ้า (WCC) ส่งผลต่อความพึงพอใจมากที่สุด งานวิจัยนี้สรุปได้ว่าคุณลักษณะของสี และลวดลายตกแต่งผนังเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบสภาพแวดล้อมห้องพักผู้ป่วยเด็ก มีส่วนสร้างอารมณ์ในเชิงบวก จูงใจผู้ปกครองตัดสินใจแทนผู้ป่วยเด็กเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สำหรับการต่อยอดด้านการศึกษาในอนาคต ควรพิจารณาปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านอื่น เช่น ปัจจัยด้านแสงสว่างร่วมด้วย


การออกแบบการสื่อสารข้อมูลพลังงานในอาคารสำนักงาน: กรณีศึกษา โครงการพัฒนาและติดตั้งระบบบริหารจัดการพลังงาน (Cu Bems) อาคารจามจุรี 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ชนก สินสมบูรณ์ชัย Jan 2020

การออกแบบการสื่อสารข้อมูลพลังงานในอาคารสำนักงาน: กรณีศึกษา โครงการพัฒนาและติดตั้งระบบบริหารจัดการพลังงาน (Cu Bems) อาคารจามจุรี 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ชนก สินสมบูรณ์ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสื่อสารข้อมูลพลังงานในอาคารสำนักงานระหว่างข้อมูลภาพ และข้อมูลเชิงสถิติ เพื่อออกแบบและประเมินรูปแบบการสื่อสารข้อมูลพลังงานที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการติดตามผลพลังงาน และคุณภาพในการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันของผู้ใช้อาคาร โดยงานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ปฏิบัติงานภายในอาคารจามจุรี 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 40 คน ใช้วิธีดำเนินงานวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม และการใช้แบบสอบถามวัดระดับแรงจูงใจต่อการอนุรักษ์พลังงานในสำนักงาน 5 ระดับ หลังทดลองใช้งานเว็บแอปพลิเคชันทั้ง 3 รูปแบบคือ 1) รูปแบบข้อมูลเชิงสถิติซึ่งเป็นรูปแบบเดิมของโครงการ CU BEMS 2) รูปแบบภาพเสมือนสัตว์เลี้ยง 3) รูปแบบภาพเสมือนระบบนิเวศในฟาร์ม ทดลองใช้งานรูปแบบละ 1 สัปดาห์ รวม 3 สัปดาห์ เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาการออกแบบครั้งที่ 2 เพิ่มเติมเป็นรูปแบบที่ 4 รูปแบบผสมผสานระหว่างภาพเสมือนและข้อมูลเชิงสถิติ เปรียบเทียบระดับแรงจูงใจกับการออกแบบครั้งที่ 1 และทดสอบความสามารถในการใช้งาน ด้วยวิธีการทดสอบทางไกล (Remote Usability Testing) ตามหลัก ISO 9241-11 วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับแบบสอบถามความพึงพอใจจากการใช้งานเว็บแอปพลิเคชัน (PSSUQ) ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการสื่อสารข้อมูลพลังงงานในสำนักงาน ควรประกอบด้วย 6 ส่วนได้แก่ 1) ส่วนการให้ความรู้และคำแนะนำในการลดใช้พลังงาน 2) ส่วนการตรวจสอบและติดตามผลพลังงาน 3) ส่วนการเปรียบเทียบข้อมูลพลังงาน 4) ส่วนการให้รางวัล 5) ส่วนแนะนำการใช้งานเว็บแอปพลิเคชัน 6) ส่วนการแจ้งเตือน กาารใช้เว็บแอปพลิเคชันทั้ง 4 รูปแบบ ส่งผลต่อการเกิดแรงจูงใจในการติดตามผลพลังงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่ารูปแบบผสมผสานส่งผลต่อการเกิดแรงจูงใจในการอนุรักษ์พลังงานในสำนักงานมากที่สุด จากการทดสอบความสามารถในการใช้งานพบว่า กลุ่มตัวอย่างสามารถใช้งานเว็บแอปพลิเคชันรูปแบบผสมผสานถูกต้องสมบูรณ์ 100% มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จึงสรุปได้ว่าการออกแบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสื่อสารข้อมูลการใช้พลังงานในอาคารจามจุรี 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงควรเป็นรูปแบบผสมผสาน และเนื่องจากการดำเนินงานวิจัยครั้งนี้อยู่ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ทำให้อาคารจามจุรี 5 ปิดทำการ จึงไม่สามารถวัดผลการใช้พลังงานจริงของอาคารได้ ท้ายที่สุดหากมีการศึกษาเพิ่มเติมงานวิจัยนี้จึงเสนอให้ขยายผลการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานของอาคารก่อน และหลังการทดลอง เพื่อศึกษาการใช้เว็บแอปพิลเคชันเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารสำนักงานให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น


ประสิทธิภาพการลดความชื้นในห้องน้ำด้วยลมร้อนจากเทอร์โมอิเล็กทริก, อนุสรณ์ เมืองแก้ว Jan 2020

ประสิทธิภาพการลดความชื้นในห้องน้ำด้วยลมร้อนจากเทอร์โมอิเล็กทริก, อนุสรณ์ เมืองแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research is to evaluate the relative efficiency and cost-effectiveness of dehumidifying a residential bathroom comparing the use of a thermoelectric device and a conventional heater which generates hot air output at 65deg. C. The research is divided into 3 parts. Frist, to find the relationship between the temperature of the hot air output and the dehumidifying rate inside the bathroom. This is to derive the air ventilation rate and steady state temperature in the bathroom. Second, to compare the relative humidity between interior and exterior of the bathroom in the case of not using hot air …


สัดส่วนพื้นผิวดูดซับเสียงต่อความเป็นส่วนตัวของคำพูด ในสำนักงานแบบเปิดโล่ง, ตระการตา มหาสุคนธ์ Jan 2020

สัดส่วนพื้นผิวดูดซับเสียงต่อความเป็นส่วนตัวของคำพูด ในสำนักงานแบบเปิดโล่ง, ตระการตา มหาสุคนธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนพื้นผิวดูดซับเสียงที่ส่งผลต่อความเป็นส่วนตัวของคำพูด ในสำนักงานแบบเปิดโล่ง โดยนำข้อมูลสภาพแวดล้อมจริงจากสำนักงานต้นแบบที่มีมลภาวะทางเสียงในสำนักงานแบบเปิดโล่งมาทำการวิเคราะห์ด้วยซอฟท์แวร์จำลองสถานการณ์มลภาวะเสียง EASE 4.2 โดยการคำนวณค่าระดับความดันเสียง SPL ที่ลดลงจากการดูดซับเสียงของวัสดุ จนส่งผลให้ดัชนีความเข้าใจในคำพูด STI ลดลง ด้วยการวัดและประเมินตามข้อกำหนด ISO 3382-3 Open-plan office ผลจากการวิเคราะห์ด้วยซอฟท์แวร์จำลองสถานการณ์ของสภาพแวดล้อมใหม่ พบว่า การใช้ฝ้าแบบ A1 หรือ A2 ที่มีลักษณะพื้นผิวเป็นรูพรุนมีค่าการดูดซับเสียงมากมาใช้แทนฝ้าแบบฉาบเรียบเดิมที่มีค่าการดูดซับเสียงน้อยตรงบริเวณแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนจากการสนทนา ในระดับติดตั้งที่ความสูง 3.40 เมตร และใช้แผงกั้นส่วนสูง 1.50 ปิดผิวลามิเนท ที่ ตลอดจนการใช้พื้นกระเบื้องยางร่วมด้วย ก็สามารถลดมลภาวะทางเสียงได้ และผ่านเกณฑ์มาตรฐาน


การอนุรักษ์และฟื้นฟูเรือนแถวพื้นถิ่นในย่านเมืองเก่าสกลนคร, ธรรศ วัฒนาเมธี Jan 2020

การอนุรักษ์และฟื้นฟูเรือนแถวพื้นถิ่นในย่านเมืองเก่าสกลนคร, ธรรศ วัฒนาเมธี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การอนุรักษ์และฟื้นฟูเป็นระดับการอนุรักษ์ที่ช่วยรักษาเรือนแถวพื้นถิ่นในย่านเมืองเก่าสกลนคร วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและการใช้งาน นอกจากนี้ การวิจัยนี้ยังศึกษาเหตุปัจจัย วัตถุประสงค์ และแนวคิดที่นำไปสู่เทคนิควิธีการอนุรักษ์และฟื้นฟูเรือนให้สอดคล้องกับการใช้งานในปัจจุบัน แล้วนำผลการศึกษามาสรุปและเสนอแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูที่เหมาะสมกับเรือนแถวพื้นถิ่น วิธีวิจัยเริ่มต้นจากการสำรวจพื้นที่ศึกษาเบื้องต้น ร่วมกับการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นคัดเลือกกรณีศึกษาเพื่อศึกษาเชิงลึกด้วยการสำรวจ การรังวัด และการสัมภาษณ์ การศึกษาพบว่า ในปัจจุบัน เรือนแถวพื้นถิ่นในย่านเมืองเก่าสกลนครคงเหลืออยู่มากกว่า 60 หลัง ส่วนใหญ่ยังมีการใช้งาน มีส่วนน้อยที่ถูกทิ้งร้าง การอนุรักษ์และฟื้นฟูจากกรณีศึกษาแสดงให้เห็นว่า เรือนแถวมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ซึ่งอาจลดทอนความแท้และบูรณภาพของเรือนลง ในทางกลับกัน การดำเนินงานได้ช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ส่งเสริมภูมิทัศน์ย่านเมืองเก่า บอกเล่าประวัติศาสตร์ของพื้นที่ รักษาองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรม ตลอดจนช่วยรักษาคุณค่าทางจิตวิญญาณของอาคาร ข้อเสนอแนะแนวทางการในการอนุรักษ์ฟื้นฟูเรือนประกอบด้วยการส่งเสริมภูมิทัศน์ย่านเมืองเก่าที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์ผนังและองค์ประกอบภายนอกด้านหน้า การส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างร่วมสมัย ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าด้านการใช้งานและเศรษฐกิจ การเพิ่มความสำคัญของการจัดทำเอกสารรวบรวมข้อมูลและบันทึกสภาพ การประเมินคุณค่าก่อนการดำเนินการ การอนุรักษ์ไม้และใช้วัสดุในท้องถิ่น ตลอดจนการวางแผนการบำรุงรักษาอาคารตามขั้นตอนการอนุรักษ์และฟื้นฟู


การออกแบบระบบแสงที่เหมาะสมสำหรับพืชสมุนไพรในโรงเรือน, จุลพัฒน์ ไม้แก้วธนวัฒน์ Jan 2020

การออกแบบระบบแสงที่เหมาะสมสำหรับพืชสมุนไพรในโรงเรือน, จุลพัฒน์ ไม้แก้วธนวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการทดสอบหลอดแอลอีดี (LEDs) พบว่า ความยาวคลื่นแสงในช่วง PAR มี ปริมาณโฟตอนแสงสม่ำเสมอน้อยกว่าแสงอาทิตย์, การกระจายแสงเป็นแบบกระจุกเมื่ออยู่ชิดแต่ กระจายเมื่ออยู่ห่าง, และเป็นอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ งานวิจัยนี้ทำการศึกษาอิทธิพลของช่วง ความยาวคลื่นแสง, มุมองศาแผ่นสะท้อนแสง, และพลังงานทดแทน ต่อลักษณะการเจริญเติบโตของพืช เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบระบบแสงที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืช โดยใช้หลอดแอลอีดี R: G: B = 2.04 : 2.12 : 1.00 , R: G: B = 1.47: 1.83: 1.00 และ 2.53: 2.67: 1.00 เปรียบเทียบกับ แสงอาทิตย์ R: G: B = 1.11: 1.20: 1.00 ร่วมกับมุมองศาแผ่นสะท้อนแสงทามุม 60◦ และ 90◦ จากระนาบพื้น และระบบโซลาเซลล์กระแสตรงเป็นอุปกรณ์ในการศึกษา โดยศึกษา Cannabis sativa L. (กัญชา) เป็นข้อมูลตั้งต้นและเลือก Tagetes erecta L. (ดาวเรือง) เป็นพืชตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ช่วงความยาวคลื่นแสงของแสงอาทิตย์ R: G: B = 1.11 : 1.20 : 1.00 ส่งผลทำให้ดาวเรืองมีการสร้างมวลลำต้นและมวลดอกมากที่สุด, แผ่นสะท้อนแสงทำมุม 60◦ จากระนาบพื้น ส่งผลทำให้ดาวเรืองมีการสร้างมวลเพิ่มขึ้นทุกส่วน และกัญชามีการสร้างมวลลำต้นและมวลดอกเพิ่มขึ้น, รวมถึงการใช้ระบบโซลาเซลล์กระแสตรงสำหรับปลูกพืชมีประสิทธิภาพในการสร้างมวลเฉลี่ย 83% จากไฟบ้าน โดยมีการค้นพบหลักการสำคัญเกี่ยวกับการสะท้อนแสงเข้าสู่ด้านข้างของต้นพืช เมื่อต้นพืชได้รับแสงบริเวณใต้ใบเพิ่มขึ้น จะไปกระตุ้นรงควัตถุดูดซับแสงในชั้น Spongy mesophyll บริเวณใต้ใบที่มีสัดส่วนค่าการสังเคราะห์เป็น 62% ของการได้รับแสงเหนือใบ ส่งผลทำให้ ต้นพืชมีการเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้น


ค่าใช้จ่ายส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัย, สิทธิพร อิสระศักดิ์ Jan 2020

ค่าใช้จ่ายส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัย, สิทธิพร อิสระศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารชุดพักอาศัยมีอายุการใช้งานจำกัด การใช้งานทำให้อาคารเกิดการเสื่อมสภาพ จึงเกิดความต้องการการดูแลบำรุงรักษา นำมาซึ่งค่าใช้จ่ายการดูแลตลอดการใช้งานอาคาร ค่าใช้จ่ายมีการบันทึกเป็นประจำทุกปี อ้างอิงมาตรฐานระบบบัญชี บัญชีค่าใช้จ่ายจึงไม่สะท้อนค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ชัดเจน อายุอาคารที่มากขึ้นส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้น การเข้าใจค่าใช้จ่ายการส่วนกลางอาคารชุดที่แท้จริง จึงเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อการวางแผนงานดูแลรักษาและกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายส่วนกลาง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างการใช้งานอาคาร เพื่อให้เกิดความชัดเจนของโครงสร้างค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และเพื่อเข้าใจค่าใช้จ่ายความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่าย ลักษณะอาคาร และอายุอาคาร อาศัยแนวทางการวิจัยเชิงประจักษ์ โดยการเลือกอาคารชุดพักอาศัยเป็นกลุ่มประชากรตัวอย่าง รวบรวมข้อมูลทูติยภูมิจากบัญชีรายจ่ายนิติบุคคลอาคารชุด 39 กรณีศึกษา ที่มีการบันทึกต่อเนื่อง 14 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2546-2560 ทั้งหมด 296 บัญชี จาการศึกษาทำให้เข้าใจว่า รายการค่าใช้จ่ายส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัยทั้งหมด 83 รายการ ได้แก่ หมวดสาธารณูปโภค หมวดบริหารและจัดการ หมวดบริการอาคาร และหมวดซ่อมแซมและบำรุงรักษา การวิเคราะห์สัดส่วนค่าส่วนกลางอาคารชุด พบว่า ค่าบริหารและจัดการ ร้อยละ 40 ค่าบริการอาคาร ร้อยละ 45 ค่าสาธารณูปโภค ร้อยละ 10 และค่าดูแลและบำรุงรักษา ร้อยละ 5 รูปแบบการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายจำแนกตามการบริหารทรัพยากรกายภาพ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลง ระหว่าง ร้อยละ 5-10 เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ พบใน ค่าบริหารและจัดการ ค่าบริการอาคาร และการสาธารณูปโภค และการเปลี่ยนแปลงมากกว่า ร้อยละ 10 เพิ่มอย่างกระจัดกระจาย พบใน ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายพื้นฐานสำคัญที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายส่วนอาคารชุดพักอาศัยมาก ได้แก่ ค่าบริหารอาคาร ค่าบริการทำความสะอาด ค่ารักษาความปลอดภัย และค่าไฟฟ้า การเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ช่วงปีที่ 1-3 เป็นช่วงที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นสูงสุด ช่วงปีที่ 4-5 ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคงที่ เมื่ออายุอาคารมากกว่าปีที่ 6 พบว่าค่าใช้จ่ายการซ่อมแซมและบำรุงรักษายังคงเพิ่มขึ้นอย่างกระจัดกระจาย อย่างมีนัยยะสำคัญกับรอบอายุอาคาร ผลทดสอบความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างค่าใช้จ่ายส่วนกลางและลักษณะอาคาร และเวลา พบว่า ค่าใช้จ่ายส่วนกลางสัมพันธ์กับระดับราคาและอายุอาคารอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติสูงมาก ค่าใช้จ่ายส่วนกลางแปรผันตามอายุอาคารและราคาขาย แต่แปรผกผันกับขนาดอาคาร จำนวนห้องชุด จำนวนชั้น จำนวนอาคาร …


การเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืนด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรณี:มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคกลาง กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, ทรงกิต การีซอ Jan 2020

การเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืนด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรณี:มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคกลาง กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, ทรงกิต การีซอ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะประเมินประสิทธิภาพทางความยั่งยืน และเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืน ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาโดยทำการศึกษาด้วยวิธีการประเมินมหาวิทยาลัยตามหลักเกณฑ์การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก (UI Green Metric World Ranking) เน้นการประเมินในหัวข้อที่ 2 ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ อันได้แก่ 1.อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน 2.อาคารอัจฉริยะทั้งหมดของมหาวิทยาลัย 3.พลังงานทดแทนซึ่งผลิตได้ในมหาวิทยาลัย 4.ปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดหารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด 5.อัตราส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียนหารด้วยการใช้พลังงานทั้งหมดต่อปี 6.องค์ประกอบของอาคารสีเขียวที่ดำเนินการตามนโยบายการก่อสร้างและปรับปรุงทั้งหมด 7.การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ 8.ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทั้งหมดหารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด โดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในหัวข้อ การประเมิน ข้อที่ 2 และแสดงแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนโดยคำนึงความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีผลการประเมิน อยู่ที่ 500 คะแนน และหากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาต้องการเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืนด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะต้องใช้งบประมาณในการลงทุนประมาณ 35,321,906 บาท และ มีระยะเวลาในการคุ้มทุนประมาณ 6-7 ปี หลังจากดำเนินการ ท้ายที่สุดนั้นในงานวิจัยนี้สรุปได้ว่าการเพิ่มพื้นที่อาคารอัจฉริยะและเพิ่มจำนวนแหล่งที่มาของพลังงานทดแทนอื่นนอกจากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นหัวข้อที่ดำเนินการได้ยากที่สุด ในส่วนของการดำเนินการที่มหาวิทยาลัยควรเริ่มดำเนินการคือการลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช่วยส่งเสริมการประหยัดพลังงานจะทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืนด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีกว่าเดิมและต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ที่คุ้มค่าต่อการลงทุนในอนาคต


ลักษณะทางกายภาพของแผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลเอกชน กรณีศึกษา โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในจังหวัดชลบุรี, กัณฐวรรณ ทับหนองฮี Jan 2020

ลักษณะทางกายภาพของแผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลเอกชน กรณีศึกษา โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในจังหวัดชลบุรี, กัณฐวรรณ ทับหนองฮี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงพยาบาลเอกชนเป็นธุรกิจการให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับผู้มีกำลังซื้อ และเป็นธุรกิจที่ใช้งบประมาณในการลงทุนสูง จึงต้องคำนึงถึงผลตอบแทน ทำให้โรงพยาบาลเอกชนมีการกำหนดนโยบายทางการตลาดที่สอดคล้องกับบริบทและอัตลักษณ์ของแต่ละแห่ง โดยโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดชลบุรีตั้งอยู่ในบริบทของเมืองที่แตกต่างกัน ทำให้มีเป้าหมายและนโยบายที่หลากหลาย ผู้วิจัยจึงตั้งสมมติฐานว่าการออกแบบเพื่อตอบสนองกับนโยบายที่แตกต่างกันของแต่ละโรงพยาบาลจะส่งผลให้มีลักษณะทางกายภาพต่างกันออกไป โดยเฉพาะแผนกผู้ป่วยนอก เนื่องจากเป็นแผนกแรกที่ลูกค้าเข้ามารับบริการและมีสัดส่วนการใช้บริการมากที่สุด จากการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าทั่วไป จะเน้นให้ลูกค้าได้รับความเป็นส่วนตัวและความสะดวกสบายสูง ด้วยการจัดรูปแบบพื้นที่แบบกระจายและมีขนาดพื้นที่พักคอย 16.34-19.01 ตร.ม.ต่อห้องตรวจ ซึ่งใหญ่กว่าโรงพยาบาลที่รับผู้ใช้สิทธิ์ประกันสังคม ด้วยขนาดพื้นที่พักคอย 13.68-15.78 ตร.ม.ต่อห้องตรวจ และการออกแบบพื้นที่แบบรวมและแบบกระจาย และจะมีการแยกแผนกประกันสังคมออกจากแผนกผู้ป่วยนอกอื่น ๆ โดยรวมห้องตรวจแต่ละกลุ่มโรคในพื้นที่เดียวกัน ส่วนโรงพยาบาลที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าชาวต่างชาติ จะมีแผนกรับรองต่างชาติเพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนขนาดพื้นที่พักคอยต่อห้องตรวจของแผนกประกันสังคม แผนกผู้ป่วยนอกทั่วไป และแผนกรับรองต่างชาติอยู่ที่ 14.47 , 15.08 และ 31.20 ตร.ม.ต่อห้อง และมีขนาดห้องตรวจของแผนกประกันสังคม แผนกผู้ป่วยนอกทั่วไป และแผนกรับรองต่างชาติอยู่ที่ 14.94 , 15.07 และ 17.60 ตร.ม.ต่อห้องตรวจตามลำดับ ส่วนโรงพยาบาลเอกชนที่มีการแพทย์เฉพาะทาง จะทำให้พื้นที่ของแผนกเฉพาะทางนั้นมีขนาดใหญ่กว่าแผนกอื่นๆ และมีการออกแบบพื้นที่พักคอยแบบกระจาย เพื่อแยกผู้ป่วยโรคทั่วไป และโรคเฉพาะทาง นอกจากนั้นการออกแบบลักษณะกายภาพของแผนกผู้ป่วยนอกควรมีความยืดหยุ่น เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนต้องปรับตัวตามสภาพตลาด และมีการวางแผนขยายตัวในอนาคต ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ โรงพยาบาลที่มีที่ดินมากจะออกแบบวางผัง ก่อสร้างและเปิดใช้อาคารเป็นระยะ ส่วนโรงพยาบาลที่มีที่ดินน้อย จะลงทุนก่อสร้างอาคารไว้ล่วงหน้า แล้วทยอยเปิดใช้พื้นที่เมื่อมีความต้องการของตลาด ทั้งนี้ต้องคำนึงร่วมกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบแผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลเอกชน ได้แก่ นโยบายของโรงพยาบาล กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ความสะดวกสบายและเป็นส่วนตัว งบประมาณและความคุ้มค่า ลักษณะเฉพาะของแผนก บุคลากร และเส้นทางสัญจร และมีข้อจำกัดเรื่อง รูปแบบที่ดิน พื้นที่ และงบประมาณที่เป็นไปตามความสามารถในการลงทุนของโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งในโรงพยาบาลกรณีศึกษาแต่ละแห่งจะมีปัจจัยและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้ลักษณะทางกายภาพของแผนกผู้ป่วยนอกมีความแตกต่างกันและโรงพยาบาลต้องบริหารจัดการพื้นที่ที่มีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและคุ้มค่า


อิทธิพลของการจัดแสดงสินค้าแบบเคลื่อนไหวในตู้แสดงสินค้าของร้านขายรองเท้ากีฬาต่อการรับรู้ทางอารมณ์และการตัดสินใจเข้าร้าน, จินดารัตน์ ศรีอัมพร Jan 2020

อิทธิพลของการจัดแสดงสินค้าแบบเคลื่อนไหวในตู้แสดงสินค้าของร้านขายรองเท้ากีฬาต่อการรับรู้ทางอารมณ์และการตัดสินใจเข้าร้าน, จินดารัตน์ ศรีอัมพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ของการจัดแสดงสินค้าแบบเคลื่อนไหวต่อการรับรู้อารมณ์และการตัดสินใจเข้าร้านรองเท้ากีฬา มีเป้าหมายหลักในการเสนอแนวทางการออกแบบในด้านการรับรู้อารมณ์ ความเหมาะสมและการตัดสินใจเข้าร้านค้า จากผู้เข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 92 คน เพศชายและหญิงอายุระหว่าง 21-60 ปี ดำเนินการทดสอบด้วยวิธีทดลองจากภาพวิดีโอ 3 มิติผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ และตอบแบบสอบถามจากปัจจัยของรูปแบบการจัดแสดง 3 รูปแบบ ได้แก่ คลื่นแนวนอน คลื่นแนวตั้ง วงกลม ร่วมกับปัจจัยความเร็ว 5 ระดับ ได้แก่ 0.00 เมตร/วินาที 0.12 เมตร/วินาที 0.24 เมตร/วินาที 0.36 เมตร/วินาที และ 0.48 เมตร/วินาที เพื่อประเมินการรับรู้อารมณ์จากคู่คำตรงข้าม 9 คู่ ผลการวิจัยพบว่าการจัดแสดงสินค้าแบบเคลื่อนไหวส่งผลต่อการรับรู้อารมณ์เชิงบวกและการตัดสินใจเข้าร้านรองเท้ากีฬามากกว่าการจัดแสดงสินค้าแบบไม่เคลื่อนไหว โดยพบว่ารูปแบบวงกลมที่ระดับความเร็ว 0.12 เมตร/วินาที ส่งผลต่อการรับรู้เชิงบวกและการตัดสินใจเข้าร้านมากที่สุด และการจัดแสดงสินค้าแบบคลื่นแนวตั้งส่งผลต่อการรับรู้เชิงบวกน้อยที่สุด นอกจากนั้นยังพบว่าในกรณีที่ไม่มีการเคลื่อนไหว รูปแบบการจัดแสดงแบบวงกลมให้ค่าเฉลี่ยทางการรับรู้อารมณ์เชิงบวกในทุกด้านของการรับรู้ทางอารมณ์ งานวิจัยนี้เสนอแนะว่าในอนาคตควรพิจารณาปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์จากกลุ่มที่มีกำลังซื้อ และปัจจัยด้านรูปแบบการจัดแสดงสินค้าแบบเคลื่อนไหวที่หลากหลายขึ้น รวมถึงการทดลองในสถานที่จริง