Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 88

Full-Text Articles in Architecture

Rationalizing Public Transport System Of Dhaka City: Proposal Of Creating A Multimodal Hierarchical Transport Network To Reduce Traffic Congestion, Maher Niger Jun 2019

Rationalizing Public Transport System Of Dhaka City: Proposal Of Creating A Multimodal Hierarchical Transport Network To Reduce Traffic Congestion, Maher Niger

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

The concept of rationalization can be defined as a structured process to increase effectiveness througha maximize use of existing resources. Rationalization in terms of road infrastructure or systems can be achieved in various ways; establishing hierarchy of routes, optimize bus-stop points with density distribution changes, proper integration of motorized and non-motorized transport and providing policy framework. In the highly densely populated city of Dhaka, rationalizing public transport is one way to minimize the mismatch between demand and supply.This paper is concerned with the following issues: providing a general description of the city transport system, identifying problems and demands analysis in …


Anti-Democratic Spaces And Impoverishment: Role Of Roads In Low-Income Residential Areas, Allison John, Mabel Allison, Dennis Ejike Amadi, Crispin Allison Jun 2019

Anti-Democratic Spaces And Impoverishment: Role Of Roads In Low-Income Residential Areas, Allison John, Mabel Allison, Dennis Ejike Amadi, Crispin Allison

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

TABSTRACT his article identifies the low-income group as eco-friendly in terms of their favoured transit systems. Despite the group's eco-friendly and sustainable attributes, they suffer the most in their use of urban spaces, in low-cost housings and in transportation planning, in particular the roads. There is corruption among others who push for road dominance in the infrastructure. There is a call for action in developing the following: greater transparency, democratic approaches, and compact developments with a rich juxtaposition of greenery enhancing pedestrian corridors. Community spaces connecting working areas with the Central Business Districts (CBD) and high densities residencies to be …


Application Of Hazus-Mh Flood Model In Developing Countries: The Case Of Piura, Peru, Wan Chantavilasvong, Leo Guerrero Jun 2019

Application Of Hazus-Mh Flood Model In Developing Countries: The Case Of Piura, Peru, Wan Chantavilasvong, Leo Guerrero

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

This research looks at the U.S.'s HAZUS-MH Flood Model and adapts some of its methodologies to Piura, Peru, as an example of many regions around the world with limited technical and capital capacity to estimate inundation risks. Thus, this research proposes a methodology for accessible and achievable flood risk estimation which takes into account limited available data. The proposed methodology will produce maps of potential inundation areas and monetized damage values from flood scenarios. These outputs can further help local authorities design, decide, and prepare their risk mitigation and adaptation plans for the future.


Effects Of Growth On Urban Morphology And Land Use Pattern In Mymensingh: A Historic Town Of Bangladesh, Naimul Aziz, Farida Nilufar Jun 2019

Effects Of Growth On Urban Morphology And Land Use Pattern In Mymensingh: A Historic Town Of Bangladesh, Naimul Aziz, Farida Nilufar

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

This study explores the effects of growth on the urban morphology and the land use pattern of a historic town Mymensingh, by analyzing the morphological transformation through Space Syntax along with the changes of land-use pattern. Mymensingh is one of the oldest and historic towns of Bangladesh that lies along the river Brahmaputra. This town was developed as an urban conglomeration during the period of the British colonists more than two hundred years ago. Through the juxtaposition of different establishments by the British colonists, local land-lords and local inhabitants at different time periods, a unique type of morphological pattern was …


Serial Cultural Heritage: Concept, Applications, Categorization And Its Roles In Present Day Contexts, Saowalux Poshyanandana Jun 2019

Serial Cultural Heritage: Concept, Applications, Categorization And Its Roles In Present Day Contexts, Saowalux Poshyanandana

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

Serial cultural heritage is a category of cultural heritage that is characterized by its formation of several cultural heritage sites which have shared meaning and values. The first recognition of serial cultural heritage was part of the World Heritage Convention and its subsequent Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention, 1980. Since that time, cultural heritage series have been nominated and inscribed as World Heritage Sites continuously.In general context, serial cultural heritage has been known and remembered since ancient times. Seven Wonders of the World is an example, although they are not called 'serial cultural heritage'. Apart …


Transformation Of Cultural Landscape Through Resilience Lens: A Case Study Of Mae Kampong Village, Chiang Mai, Thailand, Teranetr Tienthavorn Jun 2019

Transformation Of Cultural Landscape Through Resilience Lens: A Case Study Of Mae Kampong Village, Chiang Mai, Thailand, Teranetr Tienthavorn

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

This study aims to understand the dynamics of the Mae Kampong's cultural landscape through two intervening approaches. The study includes the cultural landscape and the community resilience. Both are examined to determine the transformations. An analysis was made of capital sources and management of resources. The methodology includes literary reviews, site observations, and interviews. The findings illustrate three periods; resilience, adaptation, and transformation. In the last phase, the community utilized their opportunities to transform into entrepreneurs. New activities emerged that included: rental houses, cafes, innovative mixed-use spaces and artisan-based shops located within the living museum sites. Sources of capital and …


A Proxemic Study Of Waterfront Shophouses At The Hua Takhe Market, Bangkok, Thailand, Waricha Wongphyat Jun 2019

A Proxemic Study Of Waterfront Shophouses At The Hua Takhe Market, Bangkok, Thailand, Waricha Wongphyat

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

Given that a physical environment is a manifestation of its socio-cultural context, this paper seeks to examine the development of the Hua Takhe settlement, the physical components of the community, the socio-spatial interconnection, and the spatial essences of the waterfront shophouses in relation to the ownership patterns. Based on field surveys, oral histories, and observations, the research employs Hall's theory of space to extricate the anthropological aspects of the case studies. It is noted that different types of ownership, i.e. inherited and long-term rental, affect the physical and spatial transformations as well as the social proxemics of the shophouses. This …


Transformation Of Housing In Low-Income Settlement: A Study Of Domestic Spaces In Ershad Nagar Resettlement Camp, Masud Ur Rashid Jun 2019

Transformation Of Housing In Low-Income Settlement: A Study Of Domestic Spaces In Ershad Nagar Resettlement Camp, Masud Ur Rashid

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

Housing transformation is a major strategy among low-income households in formal and informal settlements. Domestic spaces are produced for social unity. This study illustrates the analysis ofdomestic spaces in a low-income settlement and their impact on the inhabitants' ways of life. The factors that affect the physical organization of spaces and its quality are evaluated with respect to the survival strategy of the low-income dwellers. The space organization of the dwelling units illustrates different structures and forms that may not fit the conventional understanding of modern urban housing. The space organization of a dwelling reflects the user's needs and space …


การพัฒนาที่พักนักท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับชุมชนแวดล้อมในจังหวัดฉะเชิงเทรา : กรณีศึกษา โครงการเดวารีสอร์ท โครงการสวนปาล์มฟาร์มนกรีสอร์ท และโครงการบางปะกงโบ๊ทคลับแอนด์รีสอร์ท, เสาวลักษณ์ ลิ้มสวัสดิ์ Jan 2019

การพัฒนาที่พักนักท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับชุมชนแวดล้อมในจังหวัดฉะเชิงเทรา : กรณีศึกษา โครงการเดวารีสอร์ท โครงการสวนปาล์มฟาร์มนกรีสอร์ท และโครงการบางปะกงโบ๊ทคลับแอนด์รีสอร์ท, เสาวลักษณ์ ลิ้มสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาที่พักนักท่องเที่ยวพร้อมกับจัดกิจกรรมเรียนรู้ธรรมชาติและวิถีชุมชน เป็นแนวทางพัฒนาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพอย่างจังหวัดฉะเชิงเทรา งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาแนวคิดและกระบวนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่พักนักท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับวิถีชุมชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยคัดเลือกกรณีศึกษา 3 แห่ง ได้แก่ โครงการเดวารีสอร์ท โครงการสวนปาล์มฟาร์มนกรีสอร์ท และโครงการบางปะกงโบ๊ทคลับแอนด์รีสอร์ท รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ผู้นำในการจัดกิจกรรมของชุมชน และนักท่องเที่ยว ประกอบการสำรวจโครงการ และรวบรวมความคิดเห็นผู้เข้าพักจากเว็บไซต์ผู้ให้บริการจองที่พัก สิ้นสุดภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 วิเคราะห์ผลโดยถอดความสำคัญจากบทสัมภาษณ์ และสรุปความคิดเห็นการเข้าพักของนักท่องเที่ยว ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวคิดสำคัญของผู้ประกอบการในการพัฒนาโครงการทั้ง 3 แห่ง มีความคล้ายคลึงกัน คือ มีแนวคิดการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่คำนึงถึงสภาพพื้นที่ซึ่งมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวิถีวัฒนธรรมชุมชน โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ริมแม่น้ำที่มีชุมชนแวดล้อม ทำให้มีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่พักนักท่องเที่ยวและการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม 2) กระบวนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทนี้มีขั้นตอนที่สำคัญ คือ การออกแบบที่สอดคล้องกับธรรมชาติแวดล้อม การเลือกใช้ทรัพยากรและแรงงานท้องถิ่นในการก่อสร้างและการให้บริการ 3) การให้บริการผู้เข้าพักในโครงการโดยการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน พบว่าโครงการที่มีระดับการมีส่วนร่วมกับชุมชนสูง ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีและนำมาซึ่งความพึงพอใจของชุมชนในระดับสูง 4) ผู้ประกอบการเห็นว่าการจัดกิจกรรมของโครงการเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเข้าพักซ้ำและทำให้อัตราการเข้าพักสูงขึ้น อย่างไรก็ตามในความเห็นของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในเรื่องทัศนียภาพและการบริการ ส่วนเรื่องกิจกรรมเป็นความพึงพอใจในระดับรองลงมา ผลการศึกษาชี้ให้เห็นบทเรียนที่สำคัญว่า การพัฒนาที่พักนักท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับชุมชนควรพิจารณาการนำแนวความคิดทั้งเชิงธุรกิจและแนวคิดการมีส่วนร่วมกับชุมชนมาใช้ร่วมกับการพัฒนาโครงการ ที่ตั้งอยู่ในทำเลที่มีคุณค่าทั้งในด้านธรรมชาติและวัฒนธรรมชุมชน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรพิจารณาศึกษาคือการบริหารจัดการนักท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อสภาพความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมของชุมชนได้ งานวิจัยฉบับนี้จะเกิดประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะนี้ รวมถึงการวางแผนบริหารจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบในพื้นที่รอยต่อเมืองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, กชกร ธรรมกีรติ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบในพื้นที่รอยต่อเมืองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, กชกร ธรรมกีรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันในกรุงเทพมหานครมีการขยายตัวสู่จังหวัดปริมณฑลโดยเฉพาะในพื้นที่รอยต่อของกรุงเทพและปริมณฑลมีการพัฒนาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ทำให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการเริ่มหันมาอยู่อาศัยและลงทุนโครงการที่อยู่อาศัยชานเมืองบริเวณพื้นที่รอยต่อ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลนั้นมีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีข้อกำหนดทางกฎหมายเป็นข้อบังคับและจำกัดแนวทางการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ได้แก่ กฎหมายผังเมือง กฎหมายควบคุมอาคาร ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้ซื้อคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่มีความเห็นว่าโครงการคอนโดมิเนียมระหว่างกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการแตกต่างกัน ซึ่งปัจจัยความแตกต่างของราคาที่พักอาศัยและปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อห้องพักอาศัยมากที่สุด และกลุ่มผู้ซื้อบ้านเดี่ยวส่วนใหญ่มีความเห็นว่าโครงการบ้านเดี่ยวระหว่างกรุงเทพมหานครและนครปฐมแตกต่างกันและความแตกต่างนั้นส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่พักอาศัย ซึ่งปัจจัยความแตกต่างของราคาที่พักอาศัย ปัจจัยด้านบุคคลากร และปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่พักอาศัยมากที่สุด และในส่วนของแนวทางการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบพบว่าการแบ่งเขตระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลไม่มีผลต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย


พฤติกรรมผู้อยู่อาศัยในการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ติดตั้งมากับคอนโดมิเนียมของบริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน): กรณีศึกษาโครงการ เดอะโมนูเมนต์ สนามเป้า , โครงการเดอะไลน์ อโศก-รัชดาฯ , โครงการ โมริ เฮ้าส์ สุขุมวิท77 และ โครงการ เดอะเบส การ์เด้น พระราม9, กชกร พรธนาชัย Jan 2019

พฤติกรรมผู้อยู่อาศัยในการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ติดตั้งมากับคอนโดมิเนียมของบริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน): กรณีศึกษาโครงการ เดอะโมนูเมนต์ สนามเป้า , โครงการเดอะไลน์ อโศก-รัชดาฯ , โครงการ โมริ เฮ้าส์ สุขุมวิท77 และ โครงการ เดอะเบส การ์เด้น พระราม9, กชกร พรธนาชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ริเริ่มนำเทคโนโลยีมาพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยตั้งแต่ในปี 2560 ซึ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีในโครงการคอนโดมิเนียมเพื่อส่งเสริมการอยู่อาศัยให้ดียิ่งขึ้น งานวิจัยนี้มุ่งศึกษารูปแบบอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ติดตั้งในคอนโดมิเนียมของบริษัท แสนสิริ ในกรุงเทพมหานคร ศึกษาคอนโดมิเนียมที่แตกต่างกัน 4 ระดับราคา โดยรวบรวมข้อมูลแนวคิดการพัฒนาที่อยู่อาศัยของบริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) จากการศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดและการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ จำนวน 3 ท่าน ศึกษาอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ติดตั้งในคอนโดมิเนียม จากการค้นคว้าทางเว็บไซต์กับการสัมภาษณ์นิติบุคคลในโครงการ และศึกษาพฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีของผู้อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมทั้ง 4 ระดับราคา ด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้อยู่อาศัย 229 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์ผลเปรียบเทียบความความแตกต่างในโครงการกรณีศึกษาทั้ง 4 โครงการ ผลการวิจัยพบว่า 1) อุปกรณ์เทคโนโลยีในคอนโดมิเนียมของ บริษัท แสนสิริ มีทั้งหมด 3 ประเภท คือ ประเภทความปลอดภัย ประเภทสนับสนุนการดำเนินชีวิต เป็นอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานที่มีการติดตั้งในโครงการทุกระดับราคา เช่น ระบบคีย์การ์ดเข้า-ออกและแท่นชาร์จรถไฟฟ้า และ ประเภทการจัดการพลังงานและทรัพยากรที่ติดตั้งเฉพาะโครงการระดับหรูราขึ้นไป ทั้งนี้พบว่า โครงการระดับหรูหราพิเศษติดตั้งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสำหรับมากที่สุด มีสัดส่วนอุปกรณ์สำหรับรักษาความปลอดภัย 1.56 เครื่องต่อห้อง และ ติดตั้งอุปกรณ์ในห้องพัก 2 เครื่องต่อห้อง ขณะที่โครงการระดับหรูหรา ติดตั้งอุปกรณ์สนับสนุนการดำเนินชีวิตมากที่สุด ติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมด 13 เครื่องและ ติดตั้งในหน่วยพัก 1เครื่องต่อห้อง 2) พฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีของผู้อยู่อาศัยทั้ง 4 โครงการ มีความถี่ในการใช้งานอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยเป็นประจำ(ค่าเฉลี่ย 3.28-4.41) ขณะที่ไม่ค่อยมีการใช้งานอุปกรณ์ด้านสนับสนุนการดำเนินชีวิต(ค่าเฉลี่ย 1.61-2.10) ทั้งนี้ผู้อยู่อาศัยมีความพึงพอใจในอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย 3.73-4.06) ขณะที่ความพึงพอใจอุปกรณ์ด้านสนับสนุนการดำเนินชีวิตในระดับน้อย(ค่าเฉลี่ย 2.93-3.21) ซึ่งผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่พบปัญหาอุปกรณ์ไม่ทำงาน อุปกรณ์ทำงานล่าช้า มีความซับซ้อนในการใช้งาน และอุปกรณ์ไม่เพียงพอในโครงการที่มีหน่วยพักมาก 3) ความแตกต่างในพฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีพบว่า ผู้อยู่อาศัยอายุ31-50ปี มีความถี่และความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยมากที่สุด ขณะที่ผู้อยู่อาศัยอายุ 21-30ปี และผู้เช่าอาศัยในโครงการที่มีหน่วยพักมาก มีความถี่และความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์สนับสนุนการดำเนินชีวิตมากที่สุด งานวิจัยแสดงให้เห็นถึงการติดตั้งอุปกรณ์เทคโนโลยีและพฤติกรรมการใช้งานของผู้อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมในระดับราคาที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมที่ติดตั้งอุปกรณ์เทคโนโลยีส่งเสริมการอยู่อาศัยโดยมีความคุ้มค่าและตอบโจทย์แก่ผู้อยู่อาศัยต่อไป


การปรับปรุงวิธีการออกแบบทาวน์เฮาส์ที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, จุฬาลักษณ์ อมรเศรษฐพงศ์ Jan 2019

การปรับปรุงวิธีการออกแบบทาวน์เฮาส์ที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, จุฬาลักษณ์ อมรเศรษฐพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เพื่อให้แบบทาวน์เฮาส์ของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ในแต่ละโครงการมีลักษณะเฉพาะ ทำให้ขั้นตอนการออกแบบทาวน์เฮาส์และชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปปัจจุบัน ใช้ระยะเวลานานถึง 63 วัน ในขณะที่การก่อสร้างทาวน์เฮาส์พร้อมกัน 7 คูหา ใช้ระยะเวลาเพียง 50 วัน จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะลดเวลาและขั้นตอนการออกแบบทาวน์เฮาส์และชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โครงการทาวน์เฮาส์พฤกษาวิลล์ ที่ใช้เป็นกรณีศึกษา มีขนาด 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ และที่จอดรถ 1 คัน ประกอบด้วยชิ้นส่วนผนังคอนกรีตสำเร็จรูปจำนวน 29 ชิ้น 29 รูปแบบ จากงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่า เมื่อใช้ระบบประสานพิกัด ลดรูปแบบช่องเปิด และเพิ่มระยะริมช่องเปิด สามารถลดรูปแบบชิ้นส่วนผนังคอนกรีตสำเร็จรูป เหลือเพียง 20 ชิ้น 11 รูปแบบเท่านั้นแต่ทาวน์เฮาส์จะมีแบบเรียบๆเหมือนกันหมด แต่ละโครงการไม่มีลักษณะเฉพาะ นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดการใช้วิธียื่นครีบผนัง เปลี่ยนตำแหน่งผนัง และเชื่อมระนาบแผ่นผนัง ที่นอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาน้ำรั่วซึมบริเวณรอยต่อของผนังแล้ว ยังช่วยให้แบบทาวน์เฮาส์มีความแตกต่างกัน ผู้วิจัยจึงออกแบบชิ้นส่วนผนังคอนกรีตสำเร็จรูปจำนวน 87 ชิ้น 16 รูปแบบ มาใช้ทดลองออกแบบทาวน์เฮาส์ ได้ 4 แบบ ที่แตกต่างกัน จึงเสนอให้ฝ่ายสถาปนิกและฝ่ายโรงงาน ประชุมจัดทำแบบทาวน์เฮาส์มาตรฐาน โดยให้สถาปนิกใช้วิธีดังกล่าว ออกแบบทาวน์เฮาส์เพิ่มเติม ให้ได้หลากหลายแบบ และเก็บเป็นคลังแบบ ส่วนฝ่ายโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป เตรียมไว้ในคลัง เมื่อมีโครงการใหม่ ทางโครงการใช้วิธีเลือกแบบทาวน์เฮาส์ และเลือกชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป จากคลัง ไปก่อสร้างได้ทันทีเป็นการลดเวลาและขั้นตอนการออกแบบทาวน์เฮาส์และชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปลงได้ ทั้งนี้การพัฒนาคลังรูปแบบและชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่เสนอนี้ ยังสามารถพัฒนาเข้าสู่ แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling-BIM) ได้ต่อไป


โอกาสและข้อจำกัดในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ตามหลักมาตรการ Pud (Planned Unit Development): กรณีศึกษาโครงการถนนกรุงเทพกรีฑา-ตัดใหม่, จักรกฤช วิสุทธินันท์ Jan 2019

โอกาสและข้อจำกัดในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ตามหลักมาตรการ Pud (Planned Unit Development): กรณีศึกษาโครงการถนนกรุงเทพกรีฑา-ตัดใหม่, จักรกฤช วิสุทธินันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเมือง สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานครได้กำหนดมาตรการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ หรือมาตรการ PUD (Planned Unit Development) ภายใต้ (ร่าง) ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) เพื่อเป็นเครื่องมือในพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้งผู้ประกอบการ ประชาชน และสาธารณะ งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาสและข้อจำกัดในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ตามหลักมาตรการ PUD (Planned Unit Development) โดยคัดเลือกโครงการถนนกรุงเทพกรีฑา-ตัดใหม่ ของ บจม.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค บนที่ดินขนาด 300 ไร่ เป็นกรณีศึกษา โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การออกแบบโครงการจำลอง และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการ ปัจจุบันโครงการเดิม (โครงการถนนกรุงเทพกรีฑา-ตัดใหม่) เป็นโครงการประเภทที่อยู่อาศัยบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮม ประกอบด้วย 5 โครงการย่อย ใน 6 แปลงที่ดิน ตั้งอยู่บนที่ดินที่ผังเมืองรวมกำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินไว้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.3) เมื่อนำโครงการเดิมนี้ มาออกแบบเป็นโครงการที่นำใช้ มาตรการ PUD สามารถปรับย่านการใช้ประโยชน์ที่ดินสูงสุดเป็นประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.6) โดยที่ค่าอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR) ในพื้นที่โครงการไม่เปลี่ยนแปลง เกิดเป็นรูปแบบโครงการที่ผสมผสานระหว่างที่อยู่อาศัยกับกิจกรรมอื่นๆ จากการศึกษาด้านการตลาดของโครงการ เมื่อนำใช้มาตรการ PUD จึงพบความเป็นไปได้ขององค์ประกอบ 4 ประเภท ได้แก่ (1) โครงการเวลเนสเซ็นเตอร์และสปอร์ต คลับ (2) โรงแรม (3) โรงเรียนนานาชาติ และ(4) ศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์ มอลล์ เมื่อนำ 4 องค์ประกอบดังกล่าว มาทำการศึกษาด้านกฎหมาย จึงพบว่ากฎหมายเอื้ออำนวยให้สามารถดำเนินการได้ จากการออกแบบวางผังทางกายภาพโครงการ เมื่อนำใช้มาตรการ PUD เกิดเป็นอัตราการใช้ประโยชน์ที่ดินดังนี้ (1) ที่อยู่อาศัย ร้อยละ 68 (2) โรงเรียนนานาชาติ ร้อยละ 13 (3) โรงแรม ร้อยละ 5 (4) โครงการเวลเนสเซ็นเตอร์และสปอร์ต คลับ ร้อยละ 5 และ(5) …


ปัจจัยกำหนดการตัดสินใจในการเลือกซื้อหรือเช่าโครงการคอนโดมิเนียมเพื่ออยู่อาศัยของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, จิรวัฒน์ วิระพรสวรรค์ Jan 2019

ปัจจัยกำหนดการตัดสินใจในการเลือกซื้อหรือเช่าโครงการคอนโดมิเนียมเพื่ออยู่อาศัยของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, จิรวัฒน์ วิระพรสวรรค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสังคมเศรษฐกิจ ลักษณะทางกายภาพโครงการคอนโดมิเนียมและปัจจัยการตัดสินใจของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเลือกซื้อหรือเช่าโครงการคอนโดมิเนียมโดยการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจากนิสิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปีการศึกษา 2561 จำนวน 401 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มนิสิตผู้ซื้อและกลุ่มนิสิตผู้เช่า พบว่ามีสัดส่วนซื้อมากกว่า คิดเป็นร้อยละ 53 และกลุ่มนิสิตผู้เช่า 47 ตามลําดับ ส่วนใหญ่เป็นนิสิตชั้นปริญญาตรี เพศหญิง กลุ่มนิสิตผู้ซื้อ ด้านภูมิลําเนาเดิมพบว่านิสิตที่เลือกโครงการในกรุงเทพมหานครชั้นในมีภูมิลําเนาเดิมในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งต่างจากกลุ่มนิสิตในเขตกรุงเทพมหานครชั้นกลางและปริมณฑลที่มีภูมิลําเนามาจากต่างจังหวัด โดยประเภทที่อยู่อาศัยเดิมส่วนใหญ่คือ บ้าน ด้านรายได้ครัวเรือนของผู้ปกครอง กลุ่มนิสิตที่อยู่ในโครงการเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน พบว่าผู้ปกครองมีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 150,000 บาท กลุ่มนิสิตผู้เช่า พบว่านิสิตส่วนใหญ่มีภูมิลําเนามาจาก ต่างจังหวัด ด้านรายได้ครัวเรือนของผู้ปกครองพบว่าส่วนใหญ่ผู้ปกครองมีรายได้ต่อเดือนคือ 50,001-100,000 บาท โดยมีค่าเช่าสำหรับคอนโดมิเนียมต่อเดือนส่วนใหญ่คือ 15,001-20,000 ด้านทําเลที่ตั้งของโครงการที่ตั้งโครงการอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในพบนิสิตอยู่อาศัยมากที่สุด ได้แก่ เขต บางรัก เขตราชเทวี และพญาไท ขนาดห้องพักส่วนใหญ่คือ 21-30 ตารางเมตร แบบ 1 ห้องนอน กลุ่มนิสิตทั้งผู้ซื้อและนิสิตผู้เช่า ที่อาศัยอยู่ในเขตบางรัก ซึ่งเป็นทําเลที่ตั้งที่ใกล้กับมหาวิทยาลัย จะใช้วิธีการเดินมายังมหาวิทยาลัย และนิสิตในโครงการอื่นๆในพื้นที่ไกลออกไปจะใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อมายังมหาวิทยาลัย จากการศึกษาปัจจัยในการเลือกโครงการคอนโดมิเนียมของนิสิตในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นิสิตและผู้ปกครองต้องการความปลอดภัยให้แก่บุตรหลาน โดยพบว่า ทำเลที่ตั้งของโครงการเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุด โดยทำเลดังกล่าวต้องมีความสะดวกต่อการเดินทาง ใกล้สถาบันการศึกษาและมีความปลอดภัย โดยรายได้ครัวเรือนของผู้ปกครองเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเลือกทำเลที่ตั้งของโครงการ กรรมสิทธิ์ห้องพัก รวมถึงระดับของโครงการ สรุปการศึกษา เสนอแนะแนวทางควรมีการวางแผนจัดเตรียมพัฒนาและเพิ่มเติมที่พักอาศัยเพื่อรองรับสำหรับกลุ่มนิสิตเหล่านี้ ควรให้ความสำคัญกับลักษณะโครงการที่ต้องมีภาพลักษณ์ที่ดีและมีความปลอดภัย และหึความสำคัญทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอาทิเช่น ร้านอาหารและร้านสะดวกซื้อ พื้นที่ Co-Working space และสวนย่อมเพื่อการใช้ชีวิตอยู่อาศัยระหว่างการศึกษาในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ผู้เรียน การศึกษาครั้งนี้เพื่อให้เป็นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ร่วมถึงผู้บริหารสถานศึกษา เป็นแนวทางในการสร้างกลยุทธ์และการตัดสินใจในการลงทุนประเภทที่พักอาศัยโครงการคอนโดมิเนียมสอดคล้องความต้องการในปัจจุบัน


แนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงสถาปัตยกรรมของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา โครงการเดอะรูมสุขุมวิท69 และ เดอะรูมสาทร-ถนนปั้น, ชุติมา ศรีอรุณ Jan 2019

แนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงสถาปัตยกรรมของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา โครงการเดอะรูมสุขุมวิท69 และ เดอะรูมสาทร-ถนนปั้น, ชุติมา ศรีอรุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการสำรวจในปัจจุบันมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยในแนวสูงหรืออาคารชุดเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมากในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเนื่องจากการเจริญเติบโตของเมือง ในพื้นที่เขตชั้นในมีจำนวนจำกัดการพัฒนาอาคารสูงจึงเป็นทางเลือกที่ผู้ประกอบการต่างเลือกใช้นำมาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์และในปัจจุบันประชาชนก็หันมาอยู่อาศัยในอาคารประเภทอาคารชุดกันมากขึ้น ในประเทศเกาหลีใต้นั้นมีงานวิจัยที่ศึกษาถึงผลกระทบจากการอยู่อาศัยในอาคารสูงว่าด้วยลักษณะของอาคารที่สูงขึ้นไปนั้นทำให้มีความกังวลใจ ผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารสูงที่ตั้งแต่ชั้นที่ 18 ขึ้นไป อัตราเกิดโรควิตกกังวลสูงขึ้น ความดันเลือดสูงขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและเด็กทารก ผู้อยู่อาศัยมีความเครียดมากขึ้นจากเสียงรบกวน และการใช้งานลิฟต์รวมไปถึงด้านความปลอดภัยและอุบัติเหตุจึงเป็นเป็นที่มาในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะของผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารชุดในกรุงเทพมหานคร และหาแนวทางในการพัฒนาที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดที่ส่งเสริมสุขภาวะของผู้อยู่อาศัยต่อไป โดยศึกษาจากผู้อยู่อาศัย รวมไปถึงนำความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญมาสรุปผลเพื่อหาแนวทางโดยการเก็บข้อมูลใช้วิธีการเก็บแบบสอบถามและสัมภาษณ์ โดยลงพื้นที่ศึกษาโครงการเดอะรูมสุขุมวิท69 และเดอะรูมสาทร-ถนนปั้น ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าการอาศัยอยู่ในโครงการที่มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินส่งผลกับสุขภาวะของตนมากที่สุดเป็นอันดับแรก รองลงมา 4 อันดับ พบว่าเป็นปัจจัยด้านการบริหารจัดการทั้งสิ้น เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยภายในผู้อยู่อาศัย พบว่าปัจจัยทางด้านกายภาพทั่วไปมีผลคล้ายคลึงกับมุมมองของผู้อยู่อาศัย ส่วนกลุ่มปัจจัยลักษณะทางกายภาพของโครงการและกลุ่มปัจจัยการบริหารจัดการ มีความแตกต่างกัน ในด้านความสูงอาคาร จากการอาศัยอาคารชุดที่อาศัยในระดับชั้นที่แตกต่างกัน 3 ระดับ ได้แก่ ชั้น 1 – 8 ชั้น 9 – 24 และชั้น 25 ขึ้นไป มีระดับสุขภาวะไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มีความเห็นว่าปัจจัยทางด้านสังคมมีความ สำคัญต่อสุขภาวะของผู้อยู่อาศัยจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ปัจจัยบริหารจัดการ ในส่วนของปัจจัยด้านกายภาพที่ดีจะส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยมีสุขภาวะที่ดีขึ้น


การดัดแปลงอาคารประเภทตึกแถวเก่าตามข้อกฎหมายเพื่อใช้ประโยชน์เป็นโฮสเทล : กรณีศึกษา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร, ณัฏฐ์ชยกร ภัทราศิริธนิศร Jan 2019

การดัดแปลงอาคารประเภทตึกแถวเก่าตามข้อกฎหมายเพื่อใช้ประโยชน์เป็นโฮสเทล : กรณีศึกษา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร, ณัฏฐ์ชยกร ภัทราศิริธนิศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันพบว่ามีการนำตึกแถวเก่ามาดัดแปลงเป็นโฮสเทลจำนวนมากโดยภาครัฐได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีการผ่อนปรนข้อกำหนดบางข้อในการดัดแปลงอาคารจากข้อกำหนดที่บังคับใช้อยู่ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ข้อกฎหมายที่ใช้ในการดัดแปลงอาคารตึกแถวเก่าให้เป็นโฮสเทลและศึกษาปัญหาตลอดจนแนวทางการแก้ไขในการดัดแปลงอาคารตึกแถวเก่าให้เป็นโฮสเทล โดยวิจัยนี้ใช้วิธีการสำรวจและการสัมภาษณ์โฮสเทลที่เปิดให้บริการในเขตพื้นที่บางรัก จากผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นตึกแถวเก่าที่ดัดแปลงเป็นโฮสเทลในเขตบางรัก จำนวน 22 อาคาร พบว่า ตึกแถวส่วนใหญ่มีความสูงที่ 4 ชั้นขึ้นไป มีขนาด 1 คูหาและเดิมเคยเป็นที่พักอาศัย รองลงมาเป็นร้านค้าและสำนักงาน นอกจากนี้ยังพบว่าในธุรกิจโฮสเทลมีทั้งที่เป็นเจ้าของตึกและผู้เช่า โดยมีระยะเวลาการเช่าในช่วง 3 ปีมากที่สุด ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายดัดแปลงอาคาร แต่เพื่อให้การดัดแปลงเหมาะสมกับการใช้งานจึงมีการให้สถาปนิกหรือวิศวกรทำการออกแบบมากกว่าที่จะออกแบบเอง จากผลสำรวจลักษณะทางกายภาพภายนอกในเรื่องของความสูงพบว่าในบางอาคารมีการต่อเติมโครงสร้างในชั้นดาดฟ้าหลังจากเปลี่ยนมาเป็นโฮสเทลและที่ว่างด้านหลังอาคาร ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่มีการต่อเติมใช้งานที่ว่างดังกล่าวมาตั้งแต่แรกและในบางอาคารมีการต่อเติมพื้นที่นี้ทีหลัง และการดัดแปลงพื้นที่ภายในอาคารพบว่ามีทั้งหมด 15 รายการได้แก่ ห้องน้ำ กั้นผนังห้อง ผนังภายนอก บันไดหนีไฟ พื้น ดาดฟ้า ช่องแสง ผนังภายใน บันไดหลัก เสา ระเบียง ลิฟต์ ผนังบันไดหนีไฟภายนอก และพื้นที่ทางเดินภายใน โดยพบว่าห้องน้ำมีการดัดแปลงมากที่สุด พบในทุกโฮสเทล รองลงมาเป็นการกั้นผนังห้อง ซึ่งจากข้อมูลมีทั้งส่วนที่ตรงและไม่ตรงตามกฎหมาย ผู้วิจัยแบ่งผลการศึกษาได้ดังนี้ 1) ส่วนที่ตรงตามกฎหมายทั้งหมดมีอยู่ด้วยกัน 5 รายการได้แก่ ห้องน้ำ กั้นผนังห้อง หลังคา เสา ลิฟต์ 2) ส่วนที่มีทั้งตรงและไม่ตรงตามกฎหมายมีอยู่ด้วยกัน 6 รายการได้แก่ ช่องแสง ความสูง บันไดหนีไฟภายนอก บันไดหลัก พื้นที่ทางเดิน 3) ส่วนที่ไม่ตรงตามกฎหมาย มีอยู่ด้วยกัน 2 รายการได้แก่ การใช้บันไดหลักหนีไฟแต่ไม่ปิดล้อมพื้นที่ด้วยวัสดุทนไฟ และการต่อเติมที่ว่างด้านหลังอาคาร จากข้อมูลส่วนที่ไม่ตรงตามกฎหมาย ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการตรวจสอบและการดัดแปลงอาคารถึงแนวทางปฏิบัติและแนวทางแก้ไขพบว่า 1) เรื่องความสูงของอาคาร กรณีที่มีการต่อเติมความสูงจากเดิมหรือที่ว่างด้านหลังอาคารที่มีการต่อเติมใช้งานพื้นที่ที่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อพบว่าขัดต่อข้อกำหนดจะแจ้งให้ผู้ประกอบการทำการรื้อในส่วนที่นั้นออก 2) เรื่องขนาดช่องทางเดิน บันไดหลักและการใช้บันไดหลักเป็นบันไดหนีไฟ ในส่วนนี้ได้มีการออกกฎหมายผ่อนปรนข้อกำหนดจากข้อกฎหมายควบคุมอาคารที่บังคับใช้อยู่ ซึ่งกฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2559และ2561(ฉบับที่2) แต่พบว่าส่วนที่ไม่สามารถดำเนินการตามกฎหมาย คือ ความกว้างทางเดินภายในและบันไดหลักกว้างไม่ถึง 1.2 เมตรตามที่กำหนด และการไม่ปิดล้อมบันไดหลักที่ใช้เป็นบันไดหนีไฟ ทางเจ้าหน้าที่แนะนำให้ดำเนินการตามกฎหมายเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน โดยการเลือกใช้วัสดุที่สามารถทนไฟได้ 30 นาทีตามกฎหมายผ่อนปรนปิดล้อมพื้นที่บันไดหลัก ซึ่งในปัจจุบันมีวัสดุหลากหลายชนิดที่ทนไฟและผู้ประกอบการสามารถปรึกษากับทางผู้ออกแบบเพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสม แต่ต้องดำเนินการภายใน 18 สิงหาคม 2564 เพราะกฎหมายผ่อนปรนมีอายุการบังคับใช้แค่ …


การจัดให้มีที่จอดรถยนต์และการใช้งานที่จอดรถยนต์ของผู้อยู่อาศัยในโครงการอาคารชุดเปรียบเทียบตามระยะห่างของโครงการจากสถานีระบบขนส่งมวลชนแบบเร็ว, นัทชา เลิศประดิษฐ์ Jan 2019

การจัดให้มีที่จอดรถยนต์และการใช้งานที่จอดรถยนต์ของผู้อยู่อาศัยในโครงการอาคารชุดเปรียบเทียบตามระยะห่างของโครงการจากสถานีระบบขนส่งมวลชนแบบเร็ว, นัทชา เลิศประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการอาคารชุดในกรุงเทพมหานครอยู่ภายใต้กฎหมายซึ่งกำหนดจำนวนขั้นต่ำของที่จอดรถยนต์ที่ต้องจัดเตรียมในโครงการโดยกำหนดจำนวนที่จอดรถยนต์จากขนาดพื้นที่ห้องชุดและพื้นที่อาคาร อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยที่กล่าวถึงระยะเดินเท้าของคนที่แสดงถึงพฤติกรรมการเดินเท้าของผู้พักอาศัยโดยรอบสถานีระบบขนส่งมวลชนแบบเร็วหรือรถไฟฟ้าที่ต่างกันไปตามระยะห่างจากสถานี ซึ่งอาจส่งผลถึงความต่างของพฤติกรรมการใช้รถยนต์ของผู้พักอาศัย และการจัดเตรียมจำนวนที่จอดรถยนต์ในโครงการพักอาศัยที่ตั้งอยู่ในระยะห่างจากสถานีที่ต่างกัน อีกทั้ง การลงทุนพัฒนาโครงการอาคารชุดต้องใช้เงินลงทุนสูง ผู้ประกอบการจึงได้นำเสนอแนวคิดว่า การลดอัตราส่วนที่จอดรถยนต์ลงสามารถมีส่วนช่วยลดต้นทุนได้ โดยเฉพาะโครงการอาคารชุดตามทำเลแนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนแบบเร็วหรือรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นทำเลที่ที่ดินมีราคาสูง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์และพฤติกรรมการใช้งานที่จอดรถยนต์ของผู้อยู่อาศัยในโครงการอาคารชุดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เปรียบเทียบตามระยะห่างจากโครงการอาคารชุดถึงสถานีระบบขนส่งมวลชนแบบเร็ว โดยใช้วิธีการศึกษาทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านอุปทาน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างโครงการอาคารชุดจำนวน 430 โครงการ จากการสุ่มตัวอย่างจากรายชื่อโครงการอาคารชุดที่ได้รับอนุมัติความเห็นชอบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2561 ในเอกสารรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และด้านอุปสงค์ โดยศึกษาด้วยการเก็บแบบสอบถามข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานที่จอดรถยนต์ในโครงการอาคารชุดจากกลุ่มตัวอย่างผู้พักอาศัยจำนวน 293 คน ซึ่งอาศัยในโครงการอาคารชุดที่มีลักษณะเดียวกันกับโครงการกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาด้านอุปทาน จากนั้นจึงนำข้อมูลที่รวบรวมได้ มาวิเคราะห์เชิงสถิติ สรุปผล และอภิปราย จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า โครงการอาคารชุดในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่จัดเตรียมที่จอดรถยนต์ไว้เท่ากับจำนวนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31 ของจำนวนโครงการทั้งหมด โดยจัดเตรียมที่จอดรถยนต์ไว้โดยเฉลี่ยที่สัดส่วนร้อยละ 104 เมื่อเทียบกับจำนวนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 82 จัดเตรียมที่จอดรถยนต์ในโครงการไว้เป็นสัดส่วนไม่เกินค่าเฉลี่ยดังกล่าว เมื่อเทียบกับจำนวนห้องชุด โครงการอาคารชุดในภาพรวมมีการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์เฉลี่ยที่ร้อยละ 54 ต่อจำนวนห้องชุดในแต่ละโครงการ กล่าวคือ เตรียมไว้ประมาณกึ่งหนึ่งของจำนวนห้องชุดทั้งหมด ความแตกต่างของระยะห่างของที่ตั้งโครงการจากสถานีระบบขนส่งมวลชนแบบเร็วไม่ทำให้เกิดความแตกต่างในการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์ในแต่ละโครงการ โดยโครงการอาคารชุดที่ตั้งอยู่ในระยะห่างที่ต่างกันมีการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์ไว้ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยทั้งสิ้น โครงการอาคารชุดในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในมีแนวโน้มที่จะจัดเตรียมที่จอดรถยนต์เกินจากที่กฎหมายกำหนดในสัดส่วนที่สูงกว่าพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นกลาง และชั้นนอก ส่วนความแตกต่างของพื้นที่ในและนอกย่านศูนย์เศรษฐกิจ ไม่ก่อให้เกิดความต่างในการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์ในโครงการอาคารชุดนัก สำหรับโครงการที่จัดเตรียมที่จอดรถยนต์ไว้เกินกว่าจำนวนที่จอดรถยนต์ที่กฎหมายกำหนดค่อนข้างสูงนั้น จะตั้งอยู่ใกล้สถานีระบบขนส่งมวลชนรูปแบบสถานีทั่วไปที่ไม่ใช่สถานีร่วม เมื่อศึกษาพฤติกรรมการของผู้พักอาศัยในการใช้ที่จอดรถยนต์ในโครงการอาคารชุด พบว่า ร้อยละ 75 ของกลุ่มตัวอย่างใช้รถยนต์ในการเดินทางเป็นประจำ โดยมีสัดส่วนการใช้ที่จอดรถยนต์ในโครงการแตกต่างกันไปตามช่วงวันและเวลา ตั้งแต่ร้อยละ 15 ถึงร้อยละ 57 ต่อจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ในช่วงวันจันทร์-ศุกร์ผู้พักอาศัยกลุ่มตัวอย่างจอดรถยนต์เป็นจำนวนมากในช่วงเวลาตั้งแต่ 18.00-08.00 น. ในขณะที่ช่วงเวลา 08.00-18.00 มีอัตราการจอดรถยนต์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 18 ส่วนในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ผู้พักอาศัยกลุ่มตัวอย่างจะจอดรถยนต์ในโครงการเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 30 จากการอภิปรายผล ในภาพรวมที่จอดรถยนต์ที่โครงการจัดเตรียมซึ่งส่วนใหญ่เตรียมไว้ใกล้เคียงกับจำนวนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดนั้นมีความสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งานจริง และหากจะปรับลดจำนวนที่จอดรถยนต์ขั้นต่ำลงก็มีความเป็นไปได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ใกล้สถานีระบบขนส่งมวลชนแบบเร็ว เนื่องจากผู้พักอาศัยในระยะ 500 เมตรจากสถานีใช้การเดินเท้าเป็นรูปแบบการเดินทางหลัก ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดเรื่องระยะการเดินเท้าที่ผ่านมา


การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสิ่งอำนวยความสะดวก และพื้นที่ส่วนกลางในอาคารชุดพักอาศัย ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่าง พ.ศ.2536-2561, บุษกร ลี่สถาพรวงศา Jan 2019

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสิ่งอำนวยความสะดวก และพื้นที่ส่วนกลางในอาคารชุดพักอาศัย ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่าง พ.ศ.2536-2561, บุษกร ลี่สถาพรวงศา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสิ่งอำนวยความสะดวก และพื้นที่ส่วนกลางในอาคารชุดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ยุค เพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุและความสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยโดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ, ผู้เชี่ยวชาญ และแจกแบบสอบถามผ่านกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้อยู่อาศัยภายในอาคารชุดทั้ง 12 โครงการกรณีศึกษา ของ 3 บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นตัวแทนของระดับราคาขายสูง ปานกลางและปานกลางถึงล่าง จำนวน 304 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ คือ ราคาที่ดินที่สูงขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาโครงการมีห้องชุดที่ขนาดเล็กลงจากอดีตและทำให้พื้นที่ส่วนกลางมีความสำคัญมากขึ้น นำมาสู่ 2) ปัจจัยทางด้านคู่แข่ง ส่งผลให้การพัฒนาโครงการต้องศึกษาคู่แข่งถึงรายละเอียดพื้นที่ส่วนกลางเพื่อนำมาพัฒนาและเป็นกลยุทธ์การส่งเสริมการขาย ซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ กล่าวคือ เศรษฐกิจดีทำให้เกิดการแข่งขัน ประเภทพื้นที่ส่วนกลางเพิ่มขึ้น 3) ลักษณะการใช้งานพื้นที่ส่วนกลาง พบว่าพื้นที่ที่มีการใช้งานสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยเรียงลำดับความถี่การใช้งานมากไปน้อย ได้แก่ พื้นที่ส่วนกลางเพื่อด้านการบริการ, พื้นที่ส่วนกลางด้านกิจกรรม และพื้นที่ส่วนกลางด้านการพักผ่อนและทำงาน ตามลำดับ 4) ทัศนคติของผู้อยู่อาศัยต่อพื้นที่ส่วนกลาง และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต้องมีในโครงการ 3 อันดับแรก คือ ร้านค้าสะดวกซื้อ, ห้องออกกำลังกาย และสระว่ายน้ำ ส่วนด้านพื้นที่ส่วนกลาง และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ควรจะมีเพื่อสอดคล้องกับพฤติกรรม 3 อันดับแรก คือ จุดรับอาหารบริการสั่งซื้อ, พื้นที่ทำงานรวม และตู้ล็อคเกอร์รับฝากของ 24 ชั่วโมง ตามลำดับ จากการศึกษาจึงได้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่ส่วนกลางในอาคารชุด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ด้านกายภาพของพื้นที่ส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวก ควรใช้การออกแบบและตกแต่งที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้สอดคล้องตามพฤติกรรมผู้อยู่อาศัยในอนาคต เช่น อุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว การประหยัดพลังงาน และการออกแบบให้อากาศถ่ายเท ได้รับแสงสว่างจากธรรมชาติที่เพียงพอเหมาะสม 2) ด้านการบริหารจัดการของพื้นที่ส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวก ควรคำนึงถึงค่าส่วนกลางในระยะยาวสำหรับการปรับปรุงดูแลรักษาอาคารชุดในอนาคตที่จะเสื่อมสภาพลง เช่น งานระบบภายในอาคารและภายนอกอาคาร งานระบบสระว่ายน้ำ และงานปรับปรุงภายนอกอาคาร เป็นต้น


กลยุทธ์ในการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยกรณีศึกษา บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน), พรรณรัตน์ หะรารักษ์ Jan 2019

กลยุทธ์ในการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยกรณีศึกษา บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน), พรรณรัตน์ หะรารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่ถือว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศเป็นอย่างมาก โดยมีความสำเร็จของภาคเอกชนเป็นรากฐานที่สำคัญ แต่ก็เป็นธุรกิจที่มักจะได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอาคารชุดมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงมากในปัจจุบัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์ระดับองค์กรของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงวิธีการในการรับมือกับสภาพเศรษฐกิจในแต่ละปีที่ส่งผลถึงกลยุทธ์ระดับผลิตภัณฑ์ และแนวคิดในการพัฒนาของอาคารชุดแต่ละแบรนด์ที่มีในปัจจุบัน จากการเลือกกรณีศึกษาที่มีความโดดเด่นด้านรายได้ คือบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารเผยแพร่ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ รายงานข้อมูลประจำปี (56-1) และเอกสารอ้างอิงต่างๆ จากนั้นจึงเก็บข้อมูลปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) แบ่งโครงสร้างบริษัทเป็นฝั่งแวลูและพรีเมียม ซึ่งมีกลยุทธ์และแนวคิดที่แตกต่างกัน โดยฝั่งแวลูเน้นการสร้างฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่เป็นหลัก ไม่ซับซ้อน เน้นราคาและทำเล ส่วนฝั่งพรีเมียมเน้นการสร้างความแตกต่างจากไลฟ์สไตล์ลูกค้า ในส่วนของเป้าหมายและการกำหนดทิศทางของแต่ละปีนั้น บริษัทคำนึงถึงการปรับตัวตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยการสร้างแบรนด์ให้เกิดความหลากหลาย ครอบคลุมทุกกลุ่มตลาด เพื่อที่จะสามารถปรับตัวให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ในทุกสภาวะเศรษฐกิจ ผลการศึกษาสรุปว่า กลยุทธ์การพัฒนาสำหรับอาคารชุดพักอาศัยของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) คือการขยายพอร์ทให้เติบโตและยืดหยุ่นตามสภาวะตลาด โดยการสร้างธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ และบริการที่หลากหลาย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปรับตัวตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในแต่ละปี ซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วงระยะเวลา คือ ช่วงที่ 1 (พ.ศ.2550-2553) เริ่มพัฒนาโครงการอาคารชุด ใช้กลยุทธ์การบริหารต้นทุนและกระจายการลงทุน สอดคล้องกับนโยบาย BOI ของรัฐบาล ช่วงที่ 2 (พ.ศ.2554-2557) เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่และปัญหาการเมือง จึงยังคงเน้นกลยุทธ์การบริหารต้นทุนเป็นหลัก โดยมีกลยุทธ์สร้างเสร็จไว เร่งการรับรู้รายได้และสร้างความแข็งแรงในองค์กรเป็นกลยุทธ์รอง และช่วงที่ 3 (พ.ศ.2558-2562) ตลาดบนเป็นที่ต้องการ เริ่มมีการแข่งขันด้านนวัตกรรม การพัฒนาโครงการแบบมิกซ์ยูส ทำให้เกิดแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับไลฟ์สไตล์ลูกค้ามากขึ้น เน้นกลยุทธ์เพิ่มมูลค่า กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์และการตลาดแบบออนไลน์ โดยที่กลยุทธ์หลักยังคงเป็นเรื่องของการบริหารต้นทุน


ความพึงพอใจเครื่องเรือนที่จัดให้พร้อมการขาย ของกลุ่มผู้ซื้อห้องชุดพักอาศัยระดับราคาปานกลาง กรณีศึกษา โครงการเดอะทรี สุขุมวิท 71 และโครงการพลัม คอนโด รามคำแหง สเตชั่น, ปานประดับ สังเขป Jan 2019

ความพึงพอใจเครื่องเรือนที่จัดให้พร้อมการขาย ของกลุ่มผู้ซื้อห้องชุดพักอาศัยระดับราคาปานกลาง กรณีศึกษา โครงการเดอะทรี สุขุมวิท 71 และโครงการพลัม คอนโด รามคำแหง สเตชั่น, ปานประดับ สังเขป

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผู้ประกอบการมีการจัดรายการส่งเสริมการขายหลายรูปแบบเพื่อเร่งระบายสินค้าคงเหลือ เครื่องเรือนพร้อมการขายเป็นรายการส่งเสริมการขายลักษณะหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจต่อผู้ที่มีกำลังซื้อและสนใจครอบครองห้องชุด ให้ตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม พฤติกรรมการใช้งาน และความพึงพอใจเครื่องเรือนที่จัดให้พร้อมการขาย โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ มาวิเคราะห์ร่วมกับแนวคิดการเลือกและการจัดเครื่องเรือนในพื้นที่ขนาดเล็ก แนวคิดความพึงพอใจของมนุษย์ เพื่อสรุปรูปแบบเครื่องเรือนที่สอดคล้องกับพฤติกรรม และลักษณะผู้ซื้อห้องชุด ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 21 – 40 ปี มีราคาห้องชุดส่วนใหญ่ในระดับราคาปานกลางตั้งแต่ 2,000,001 – 2,500,000 บาท รายได้ครัวเรือนต่อเดือนตั้งแต่ 25,001 บาทขึ้นไป รายจ่ายครัวเรือนต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท รายจ่ายห้องชุดต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท มีงบประมาณในการซื้อเครื่องเรือนส่วนใหญ่ 50,001 – 100,000 บาท จากการศึกษาพฤติกรรมการใช้งานเครื่องเรือนพบว่า เครื่องเรือนบางชนิดมีการใช้งานมากกว่า 1 รูปแบบเนื่องจากมีพื้นที่จำกัดและขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการอยู่อาศัย เช่น โซฟา ใช้เพื่อนั่งเล่นและนอนหลับ, โต๊ะกลาง ใช้เพื่อพักผ่อนและทำงาน เป็นต้น มีความพึงพอใจเครื่องเรือนพร้อมการขายที่มีลักษณะติดตายมากกว่าเครื่องเรือนลอยตัว บางชนิดมีที่เก็บของน้อยเกินไป บางชนิดมีขนาดไม่เหมาะสมกับพื้นที่ บางชนิดวัสดุไม่มีความแข็งแรงทนทาน โดยกลุ่มตัวอย่างที่เลือกห้องชุดแบบเครื่องเรือนบางส่วน เนื่องจากอยู่อาศัยเองและต้องการตกแต่งเอง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เลือกห้องชุดแบบเครื่องเรือนพร้อมอยู่ เนื่องจากสะดวกพร้อมอยู่ ต้องการประหยัดงบประมาณ และต้องการปล่อยเช่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้านพฤติกรรมการใช้งานพบว่า เครื่องเรือนที่จัดให้พร้อมการขายในห้องชุดขนาดเล็กสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งานน้อย จึงควรออกแบบให้มีความยืดหยุ่น รองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ควรออกแบบเครื่องเรือนควบคู่กับการวางผังห้องชุด เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า สอดคล้อง และเหมาะสมกับพื้นที่ภายในห้องชุด ควรเพิ่มที่เก็บของทั้งแนวตั้งและแนวนอนให้ได้มากที่สุด จึงไม่ควรจัดเครื่องเรือนพร้อมการขายแบบสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด และมุ่งเน้นการจัดเครื่องเรือนที่จำเป็นต่อการใช้งานมากไปน้อยตามลำดับ โดยคำนึงถึงความต้องการพื้นที่ในแต่ละอิริยาบทพื้นฐานตามหลักการเทียบส่วนมนุษย์ (Human Scale) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ขนาดของพื้นที่ภายในห้องชุดมีผลต่อการจัดวางผังเครื่องเรือน และจุดประสงค์การครอบครองห้องชุดมีผลต่อความต้องการได้รับเครื่องเรือนพร้อมการขาย ข้อเสนอแนะต่อผู้ประกอบการ คือ ควรจัดกลุ่มเครื่องเรือนออกเป็น 3 กลุ่ม แบบ “Typical Priority” เพื่อให้ผู้ซื้อห้องชุดสามารถเลือกรับเครื่องเรือนในรูปแบบที่สอดคล้องกับพฤติกรรม


พฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพกรณีศึกษา : แขกรับเชิญรายการอายุน้อยร้อยล้าน, มณีศร อัฑฒ์วงศ์ไพศาล Jan 2019

พฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพกรณีศึกษา : แขกรับเชิญรายการอายุน้อยร้อยล้าน, มณีศร อัฑฒ์วงศ์ไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเกิดการชะลอตัว ในขณะที่ความต้องการที่อยู่อาศัยของประชากรไทยยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งที่อยู่อาศัยที่ประชากรไทยต้องการนั้นสัดส่วนจะอยู่ที่โครงการระดับราคาสูง ด้วยเหตุนี้ตลาดที่อยู่อาศัยราคาสูงจึงมีการเติบโตสวนทางกับเศรษฐกิจ ปัจจุบันที่อยู่อาศัยมีหลากหลายรูปแบบ โดยทั้งหมดทั้งมวลผู้ประสบความสำเร็จเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเลือกที่อยู่อาศัยได้ครบรูปแบบมากที่สุด ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพ กรณีศึกษาแขกรับเชิญรายการอายุน้อยร้อยล้าน โดยแขกรับเชิญรายการอายุน้อยร้อยล้านต้องเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีรายได้ของธุรกิจ 100 ล้านบาท/ปีขึ้นไป และมีอายุไม่เกิน 45 ปี สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีความสำเร็จในอาชีพ ซึ่งการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมและแนวโน้มการเลือกที่อยู่อาศัย ศึกษาปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในการวางแผนด้านที่อยู่อาศัยของผู้สบความสำเร็จในอาชีพ และเสนอแนะลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพ Generation X และ Y ทั้งนี้ดำเนินการโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูลและใช้การพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกที่อยู่อาศัยคือ ปัจจัยด้านรายได้ สมาชิกครัวเรือน ภูมิลำเนา และช่วงอายุ โดยลักษณะที่อยู่อาศัยที่ต้องการเมื่อประสบความสำเร็จแล้วคือ บ้านเดี่ยวที่ปลูกเอง และอยู่ในบริเวณเดียวกับสถานที่ทำงาน ซึ่งเป็นบริเวณชานเมือง เนื่องจากลุ่มผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีธุรกิจในระดับอุตาหกรรม ดังนั้นข้อจำกัดในการเลือกที่อยู่อาศัยของผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพคือ ทำเล และเวลาในการเดินทาง อีกทั้งยังต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกในที่อยู่อาศัย เช่น ระบบรักษาความปลอดภัย กล้องวงจรปิด พื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ และพื้นที่จอดรถ เป็นต้น ทั้งนี้นอกจากที่อยู่อาศัยที่ใช้เป็นที่พักอาศัยแล้ว ผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพยังพิจารณาที่อยู่อาศัยในด้านการลงทุน หรือการค้าขายอีกด้วย


ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ และทัศนคติต่อที่พักอาศัยรวม เพื่อการเช่าระยะยาว : กรณีศึกษาโครงการทริปเปิ้ล วาย เรสซิเดนซ์, รุ่งกานต์ ภู่หอมเจริญ Jan 2019

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ และทัศนคติต่อที่พักอาศัยรวม เพื่อการเช่าระยะยาว : กรณีศึกษาโครงการทริปเปิ้ล วาย เรสซิเดนซ์, รุ่งกานต์ ภู่หอมเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครมีราคาที่ดินที่สูงขึ้นมาก และส่งผลให้ต้นทุนโดยรวมในการพัฒนาโครงการปรับตัวสูงขึ้น ผนวกกับพื้นที่ดินแบบได้กรรมสิทธิ์ในย่านใจกลางเมืองมีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ ในขณะที่ความต้องการพื้นที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองยังคงมีมาก การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยประเภทที่พักอาศัยรวมเพื่อการเช่าระยะยาว จึงเกิดขึ้นมากในบริเวณใจกลางเมือง โดยส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัยแนวสูง ในรูปแบบให้เช่ากรรมสิทธิ์เป็นระยะเวลา 30 ปี และมักจะมีราคาขายต่ำกว่าคอนโดมิเนียมแบบขายขาดประมาณร้อยละ 30 ถึง 40 ของราคาขายบนทำเลเดียวกัน ในงานวิจัยนี้ได้เลือกโครงการทริปเปิ้ล วาย เรสซิเดนซ์ซึ่งเป็นโครงการกรณีศึกษา สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2562 ตั้งอยู่บนที่ดินทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากทำเลที่ตั้งนี้มีโครงการคอนโดมิเนียมแบบขายขาดเป็นทางเลือกเปรียบเทียบมากกว่าทำเลที่ตั้งโครงการคอนโดมิเนียมแบบเช่าระยะยาวแห่งอื่นๆ การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ซื้อคอนโดมิเนียมประเภทเช่าระยะยาว ความเกี่ยวข้องของตัวแปรต่างๆ กับการตัดสินใจซื้อ และทัศนคติ ความคิดเห็นที่มีต่อโครงการ แล้วนำมาวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ โดยมีมุ่งเน้นการประมวลผลจากการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 75 ฉบับ จากประชากรผู้ซื้อโครงการทริปเปิ้ล วาย เรสซิเดนซ์ ซึ่งผลของงานวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ซื้อหรือผู้ร่วมตัดสินใจซื้อโครงการทริปเปิ้ล วาย เรสซิเดนซ์ เป็นเพศหญิงมากถึงร้อยละ 64 และมีอายุส่วนมากอยู่ที่ 46-55 ปี หรือร้อยละ 42.7 โดยที่มีสถานภาพสมรสถึงร้อยละ 60 และเป็นกลุ่มคนมีบุตรถึงร้อยละ 62.7 นอกจากนี้บุคคลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อหรือเป็นเหตุให้เกิดการตัดสินใจซื้อส่วนมากเป็นบุตร-ธิดา อยู่ที่ร้อยละ 42.7 โดยมีวัตถุประสงค์การซื้อเพื่ออยู่อาศัยเองถึงร้อยละ 84 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสมาชิกในครอบครัวกำลังศึกษาอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 35 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ทั้งนี้ปัจจัยที่ค้นพบว่ามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อ ได้แก่ อายุ สถานภาพของผู้ซื้อ บุคคลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย โดยมีปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านส่งเสริมการขาย เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ ในขณะที่มีปัจจัยด้านทัศนคติความพึงพอใจในระยะเวลาของสัญญาเช่า 30 ปี เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดเห็นภายหลังการซื้อ ทั้งความรู้สึกคุ้มค่า และความต้องการบอกต่อ


ความต้องการในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, วรรณวสา ขำสุข Jan 2019

ความต้องการในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, วรรณวสา ขำสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปลี่ยนแปลงของประชากรสูงวัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มของประชากรสูงวัยทั่วโลก และมีแนวโน้มของประชากรสูงวัยที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้แต่ละประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบสังคมที่แตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม เช่น นโยบายประเทศ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ รวมถึงมีการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น มีค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการที่ประชากรแต่งงานลดลง การมีลูกลดลง ก็ส่งผลให้สัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเช่นกัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความสำคัญของสถานการณ์ ดังกล่าว และเล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลรักษาเฉพาะทางสำหรับผู้สูงอายุ จึงดำเนินการสร้างอาคารเพื่อดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรขึ้น โดยเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2558 และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอาคารว่า "อาคาร ส.ธ." ถือเป็นศูนย์การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ ซึ่งมีพื้นที่ 18 ชั้นที่มีหน่วยให้บริการดูแลผู้สูงวัยในทุก ๆ ด้าน เพื่อรองรับประชากรสูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ความต้องการของผู้สูงอายุก็แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ ในการศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของการอยู่อาศัยในของผู้สูงอายุ เพื่อนำมาวิเคราะห์ความต้องการในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุและเสนอแนะแนวทาง งบประมาณในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ในที่อยู่อาศัยแต่ละประเภท รวมทั้งติดตามผลการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ พบว่าสมาชิกชมรมฯ ส่วนมากมีที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯชั้นใน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในที่อยู่อาศัยรูปแบบบ้านเดี่ยว มีรายได้หลังเกษียณอยู่ในช่วง 20,001-50,000 บาท มากที่สุด โดยมากจะอาศัยร่วมกับญาติ พี่น้อง และใช้เงินเก็บส่วนตัวเป็นแหล่งเงินในการปรับปรุงที่อยู่อาศัย และมีจำนวนน้อยมากที่จะใช้เงินกู้เพื่อมาปรับปรุง พื้นที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือ ห้องน้ำ จึงควรเตรียมการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ด้วยการปรับปรุงวัสดุพื้นกันลื่นและราวจับช่วยพยุงสำหรับลุกนั่ง ซึ่งจะส่งผลต่องบประมาณในการปรับปรุง และพบว่าหากผู้สูงอายุส่วนมากมีรายได้ที่ 20,001-50,000 บาท จะใช้เวลาในการผ่อนจ่ายค่าอุปกรณ์ประเภทพื้นและราวจับ เป็นเวลามากกว่า 7 เดือน


กลยุทธ์การพัฒนาโครงการอาคารชุดของผู้ประกอบการท้องถิ่นในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์, วรัชยา รักคำมี Jan 2019

กลยุทธ์การพัฒนาโครงการอาคารชุดของผู้ประกอบการท้องถิ่นในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์, วรัชยา รักคำมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผู้ประกอบการท้องถิ่นเริ่มมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอาคารชุดนอกเหนือคู่แข่งที่มีความเชี่ยวชาญจากกรุงเทพมหานคร บทความวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษากลยุทธ์การพัฒนาโครงการอาคารชุดของผู้ประกอบการท้องถิ่นในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ โดยศึกษาแนวคิดและกลยุทธ์ในการพัฒนาโครงการ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไข ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการท้องถิ่น 3 บริษัท รวมถึงการสำรวจโครงการ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเพิ่มเติมถึงแนวคิดผู้ประกอบการผ่านความคิดเห็นผู้อยู่อาศัยจำนวน 55 ราย โดยใช้การถอดเทปสัมภาษณ์และวิเคราะห์คำสำคัญรวมถึงความหมายเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ประกอบท้องถิ่นทั้ง 3 ราย มีภูมิลำเนาเดิมจากอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีประสบการณ์การณ์การพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวราบมาก่อนที่จะเริ่มพัฒนาโครงการอาคารชุด โดยบุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วมในการพัฒนา ในฐานะผู้ประกอบการท้องถิ่นทำให้ได้เปรียบในการเข้าถึงข้อมูล การรับรู้ความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคและต้นทุนราคาที่ดิน 2) ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายมีแนวคิดในการพัฒนาโครงการอาคารชุดแตกต่างกันส่งผลต่อการเลือกใช้กลยุทธ์การพัฒนาที่แตกต่างกัน ถึงแม้จะมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายคล้ายคลึงกัน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและวิสัยทัศน์ขององค์กร ซึ่งรูปแบบโครงการเน้นการพัฒนาอาคารชุดความสูงไม่เกิน 8 ชั้น ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ที่มีระยะทางที่รถจักรยานยนต์เข้าถึงได้ เพื่อความสะดวกสบายต่อการเดินทาง มีการออกแบบและการเลือกใช้วัสดุที่แตกต่างกันเพื่อสร้างความแตกต่างในตลาด ส่งผลให้ราคาขายต่างกัน สำหรับผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ด้านโครงการอาคารชุดมาก่อนสามารถรับรู้ถึงความต้องการของผู้บริโภคและปัญหาในการพัฒนารูปแบบแนวสูง โดยได้มีการพัฒนาคุณภาพการก่อสร้างและเน้นบริการหลังการขายและการดูแลลูกค้า เพราะเป็นสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังและมั่นใจในตัวโครงการ 3) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประสบปัญหาในเรื่องการก่อสร้าง โดยเฉพาะงานก่อสร้างที่ยังไม่ได้คุณภาพ เนื่องจากทีมงานและผู้รับเหมายังขาดประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการแนวสูง ซึ่งส่งผลให้การขายชะลอตัวลง ทางผู้ประกอบการจึงได้จ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาควบคุมและดูแลงาน รวมถึงปัญหาวัสดุก่อสร้างไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ประกอบการต้องหาวัสดุคุณภาพที่ดีกว่าเข้ามาทดแทน งานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดในการพัฒนาโครงการอาคารชุดของผู้ประกอบการท้องถิ่น รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนหรือผู้ประกอบการที่มีความสนใจพัฒนาโครงการอาคารชุดในเขตหัวเมือง เพื่อเป็นแนวทางและลดความเสี่ยงในการพัฒนาที่นำไปสู่การประสบความสำเร็จต่อไป


รูปแบบการบริหารจัดการอาคารชุดของโครงการบ้านเอื้ออาทร ในเขตกรุงเทพมหานคร, วันฟ้า ศรีพวงเพิศ Jan 2019

รูปแบบการบริหารจัดการอาคารชุดของโครงการบ้านเอื้ออาทร ในเขตกรุงเทพมหานคร, วันฟ้า ศรีพวงเพิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการบ้านเอื้ออาทรในรูปแบบอาคารชุดเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งการเคหะแห่งชาติก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองและยกระดับคุณภาพชีวิต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารนิติบุคคลอาคารชุด ศึกษาความพอพึงใจของผู้อยู่อาศัย และวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยในแต่ละรูปแบบ โดยมีขอบเขตการศึกษา คือ ศึกษาโครงการบ้านเอื้ออาทรอาคารชุดในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 นิติบุคคล 4 โครงการ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้จัดการนิติบุคคล การศึกษารายงานประจำปี และแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด แบ่งเป็นนิติบุคคลละ 50 ชุด ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันมีรูปแบบการบริหารจัดการอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ การบริหารโดยเจ้าของร่วมและการบริหารโดยบริษัท และมีโครงสร้างการบริหารจัดการทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 ที่ไม่มีผู้ช่วยผู้จัดการนิติบุคคล ผู้จัดการนิติบุคคลจะควบคุมดูแลฝ่ายปฏิบัติงานเอง รูปแบบที่ 2 มีผู้จัดการนิติบุคคลและผู้ช่วยผู้จัดการนิติบุคคลควบคุมดูแลฝ่ายปฏิบัติงานร่วมกัน และรูปแบบที่ 3 มีผู้ช่วยผู้จัดการนิติบุคคลควบคุมดูแลฝ่ายปฏิบัติงาน ผู้จัดการนิติบุคคลจะดูแลเพียงการวางนโยบายการบริหารเท่านั้น ด้านการจัดจ้างฝ่ายปฏิบัติงาน พบว่า มีรูปแบบการจัดจ้างฝ่ายปฏิบัติการ 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการจัดจ้างบริษัท จัดจ้างผู้อยู่อาศัยในนามบริษัท และจัดจ้างผู้อยู่อาศัย ด้านการวางแผนนโยบาย พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมส่วนใหญ่เน้นการบริหารทางด้านกายภาพ ซึ่งรูปแบบการบริหารโดยบริษัทจะมีนโยบายที่ครอบคลุมมากกว่า ด้านการวางแผนดูแลชุมชน พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมส่วนใหญ่จะมีการวางแผนการงานเป็นรายปีแต่ไม่ระบุเดือนในการทำงาน ต่างจากรูปแบบการบริหารโดยบริษัทที่มีแผนการทำงานเป็นรายปีและระบุเดือนในการทำงาน ซึ่งการบริหารมีเพียงการบริหารตามนโยบาย ไม่มีคู่มือการบริหารนิติบุคคลอาคารชุด ด้านการบริหารจัดการด้านการเงิน พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมมีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย (ขาดทุน) แต่รูปแบบการบริหารโดยบริษัทมีรายรับมากกว่ารายจ่าย (กำไร) และในด้านการจัดเก็บค่าส่วนกลาง พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมมีหนี้ค้างชำระต่อเดือนเฉลี่ยร้อยละ 20-40 แต่รูปแบบการบริหารโดยบริษัทมีหนี้ค้างชำระต่อเดือนเฉลี่ยร้อยละ 2-5 ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกชุมชน พบว่า ทั้ง 2 รูปแบบไม่แตกต่างกันมากนักเพราะทั้ง 2 รูปแบบต่างมีการพัฒนาคุณชีวิตของสมาชิกชุมชนไม่ครบทุกด้าน ด้านความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยในการบริหารทั้ง 2 รูปแบบ ซึ่งแยกการบริหารเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหาร ด้านกายภาพ ด้านความสะอาด ด้านความปลอดภัย ด้านสาธารณูปโภค และด้านการดูแลทรัพย์สิน ระหว่างรูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมและรูปแบบการบริหารโดยบริษัท พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมมีระดับความพึงพอใจปานกลางค่อนข้างต่ำ ต่างกับรูปแบบการบริหารโดยบริษัทมีระดับความพึงพอใจปานกลางค่อนข้างสูง เมื่อแยกรูปแบบการบริหาร พบว่า ด้านที่ระดับความพึงพอใจแตกต่างกัน …


ผลกระทบของสวนสาธารณะที่ส่งผลต่ออสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบ:กรณีศึกษา สวนสันติภาพ, สัณฑศักย์ ตันติเมฆบุตร Jan 2019

ผลกระทบของสวนสาธารณะที่ส่งผลต่ออสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบ:กรณีศึกษา สวนสันติภาพ, สัณฑศักย์ ตันติเมฆบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สวนสาธารณะเป็นพื้นที่สีเขียวที่สำคัญของเมือง ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อประชาชน โดยสวนสาธารณะก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้านต่อประชาชนที่อยู่อาศัยหรือทำงานในพื้นที่โดยรอบ รวมทั้งโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่โดยรอบ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลของผู้ใช้บริการสวนสาธารณะ และวิเคราะห์ผลกระทบของสวนสาธารณะที่ส่งผลต่ออสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบ โดยการศึกษาครั้งนี้ได้เลือก สวนสันติภาพ ที่ตั้งอยู่ในเขตราชเทวี เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากเป็นสวนประเภทสวนละแวกบ้าน ซึ่งมีขนาดและระยะรัศมีบริการเหมาะสมแก่การศึกษา รวมถึงตำแหน่งที่ตั้งและบริบทโดยรอบที่มีอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภท โดยมีระเบียบวิธีในการศึกษาคือ 1) ทบทวนเอกสาร หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2) สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง และ 3) วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ โดยในงานวิจัยนี้มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ใช้บริการสวนสันติภาพ จำนวน 286 คน และผู้จัดการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบภายในโครงการอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบสวนสันติภาพ จำนวน 13 คนจาก 13 โครงการ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อผู้ใช้บริการสันติภาพที่มีการใช้งานอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบ และข้อมูลด้านพฤติกรรมการใช้จ่ายในพื้นที่โดยรอบสวนสาธารณะของผู้ใช้บริการสันติภาพ รวมถึงผลกระทบในด้านต่าง ๆ ของสวนสันติภาพที่ส่งผลต่ออสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบ โดยจากการศึกษาสามารถสรุปผลได้ดังนี้ 1) ข้อมูลด้านประชากรและข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานสวนสาธารณะของผู้ใช้บริการสวนสันติภาพ จากกลุ่มตัวอย่างของผู้ใช้บริการสวนสันติภาพ พบว่า ผู้ใช้บริการสวนสันติภาพส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 41-50 ปี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้ในช่วง 15,001-30,000 บาทต่อคนต่อเดือน โดยส่วนมากอาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยแนวสูง และเป็นประเภทเช่า มีลักษณะการใช้งานเป็นการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่มาใช้งานคนเดียว ในช่วงเวลา 15.00-21.00 น. มีระยะเวลาการใช้งานต่ำกว่า 60 นาที โดยมาใช้งานสัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง เดินทางโดยการเดินเท้า และใช้ระยะเวลาต่ำกว่า 15 นาที โดยส่วนมากเดินทางมาจากที่อยู่อาศัย และกลับที่อยู่อาศัยหลังใช้งานเสร็จ 2) ผู้ใช้บริการสวนสันติภาพที่มีการใช้จ่ายในพื้นที่โดยรอบคิดเป็นร้อยละ 70.63 ของผู้ใช้บริการสวนสันติภาพทั้งหมด ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมี 2 ประเภท ได้แก่ ค่าใช้จ่ายประเภทซื้อสินค้า และค่าใช้จ่ายประเภทอาหารและเครื่องดื่ม โดยส่วนใหญ่ของค่าใช้จ่ายจะเป็นประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อครั้งอยู่ที่ 107 บาท โดยผู้ใช้บริการสวนสันติภาพกลุ่มที่มีการใช้จ่ายมากกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ กลุ่มที่มีอาชีพธุรกิจส่วนตัวและทำงานอิสระ กลุ่มที่มีรายได้ 15,000 บาท ขึ้นไป กลุ่มที่มาใช้งานเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ กลุ่มที่มาใช้งานในช่วงเวลา 15:00-18:00 …


ปัจจัยทำเลที่ตั้งของแปลงขายภายในโครงการที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา โครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์ราคาขายไม่เกิน 4 ล้านบาท ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, สุพัชฌาย์ ศรีสมบูรณ์ Jan 2019

ปัจจัยทำเลที่ตั้งของแปลงขายภายในโครงการที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา โครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์ราคาขายไม่เกิน 4 ล้านบาท ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, สุพัชฌาย์ ศรีสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากแนวโน้มการพัฒนาโครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยข้อมูลในปีพ.ศ. 2561 มีการขออนุญาตโครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์มากถึง 55,812 แปลง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.72 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56 จากโครงการจัดสรรประเภทที่อยู่อาศัยทั้งหมด 99,311 แปลง ทำให้เกิดการแข่งขันของผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น และเมื่อศึกษางานวิจัยถึงปัจจัยที่ผู้บริโภคเลือกซื้อที่อยู่อาศัย พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคส่วนใหญ่ คือ ราคา ประกอบกับการสังเกตุถึงราคาขายของโครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์พบว่ามีราคาขายที่แตกต่างกันทั้งที่ขนาดแปลงใกล้เคียงกันและแบบบ้านเหมือนกัน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยด้านตำแหน่งที่ตั้งของแปลงขายภายในโครงการที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาทั้งในด้านบวกและด้านลบ โดยมีขั้นตอนการศึกษา คือ 1) ศึกษารวบรวมข้อมูล 2) สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 3) กำหนดตัวแปร 4) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง 5) วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาในครั้งนี้เป็นโครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์ราคาขายไม่เกิน 4 ล้านบาทในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งหมด 15 โครงการ จำนวน 4,541 แปลง จากผู้ประกอบการจำนวน 3 ราย โดยทำการศึกษา 5 กลุ่มปัจจัย 27 ตัวแปร ประกอบด้วยปัจจัยด้านตำแหน่งที่ตั้ง 2 ตัวแปร ปัจจัยด้านลักษณะกายภาพด้านข้างของแปลงริม 10 ตัวแปร ปัจจัยด้านทิศ 4 ตัวแปร ปัจจัยด้านถนนด้านหน้าแปลง 4 ตัวแปร และปัจจัยด้านวิวทิวทัศน์ 7 ตัวแปร แล้วนำตัวแปรมาวิเคราะห์ด้วยวิธีวิสมการการถดถอย (Regression Analysis) เพื่อหาความมีนัยสำคัญต่าง ๆ ของตัวแปร จากการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยราคาขายของกลุ่มตัวอย่าง 5 ลำดับแรก ได้แก่ ตัวแปรลักษณะกายภาพด้านข้างของแปลงริมติดกับช่องกลับรถ ส่งผลต่อราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.900 ตัวแปรตำแหน่งแปลงกลาง ส่งผลต่อราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.794 ตัวแปรลักษณะกายภาพด้านข้างของแปลงริมติดกับสวนหย่อม ส่งผลต่อราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.484 ตัวแปรวิวทิวทัศน์ตรงข้ามแปลงเป็นสวนสาธารณะ ส่งผลต่อราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.283 และตัวแปรวิวทิวทัศน์ตรงข้ามแปลงเป็นสโมสรสระว่ายน้ำ ส่งผลต่อราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.190 ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลส่งผลให้ราคาลดลงมี 2 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรวิวทิวทัศน์ตรงข้ามแปลงเป็นที่พักขยะ ส่งผลต่อราคาลดลงร้อยละ 17.957 และตัวแปรลักษณะกายภาพด้านข้างของแปลงริมติดกับหลังบ้านอื่น ส่งผลต่อราคาลดลงร้อยละ …


ความสัมพันธ์ระหว่างที่อยู่อาศัยกับแหล่งงานของบุคลากรระดับกลาง: กรณีศึกษากระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี, สายธาร หนูเกลี้ยง Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างที่อยู่อาศัยกับแหล่งงานของบุคลากรระดับกลาง: กรณีศึกษากระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี, สายธาร หนูเกลี้ยง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี เป็นหน่วยงานราชการขนาดใหญ่ มีถนนล้อมรอบอยู่ทั้ง 4 ด้าน และมีวิธีการเข้าถึงหลากหลายวิธี รวมถึงมีรูปแบบและระดับราคาของที่อยู่อาศัยที่หลากหลาย ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในวิธีการเลือกที่อยู่อาศัยหรือการเดินทางเข้าสู่แหล่งงาน นำมาซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาลักษณะและที่ตั้งที่อยู่อาศัย พฤติกรรมการเดินทาง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างที่อยู่อาศัยกับที่แหล่งงาน ของบุคลากรระดับกลางในพื้นที่กระทรวงสาธารณสุข โดยใช้วิธีการแจกแบบสอบถาม จำนวน 367 ชุด ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-29 ปี สถานภาพโสด และมีอายุงาน 1-3 ปี ระดับเงินเดือน 18,001-21,000 บาท อาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรี จากกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีทั้งลักษณะการครอบครองที่อยู่อาศัยแบบเป็นเจ้าของเองและเช่า ผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เอง มีผู้ร่วมพักอาศัย จำนวน 2 คน โดยพักอาศัยกับบิดา – มารดา เป็นบ้านเดี่ยว/บ้านแฝด เหตุผลในการเลือกที่ตั้งที่อยู่อาศัยของทุกระดับรายได้ คือ การเดินทางสะดวก เดินทางไปทำงานโดยใช้รถยนต์ส่วนตัว ไม่มีผู้ร่วมเดินทาง ใช้ระยะเวลาเดินทาง 16-30 นาที เหตุผลในการเลือกวิธีการเดินทาง คือ ความสะดวก มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 21-50 บาท/วัน และวิธีการเดินทางที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุด ในการเดินทางไปทำงานของผู้ที่ไม่มีรถส่วนตัว กว่าครึ่งมีความคิดเห็นว่าการโดยสาร รถแท็กซี่ มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในการเดินทางไปทำงาน การถือครองกรรมสิทธิ์แบบเช่าที่อยู่อาศัย มีระดับราคาค่าเช่า 2,501-3,000 บาท/เดือน ภาระค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยจึงเป็นค่าเช่ามากกว่าค่าซื้อที่อยู่อาศัย ผลการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างที่อยู่อาศัยและที่ทำงาน สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มระดับรายได้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในระยะ 10 กิโลเมตรจากที่ทำงาน มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 5.53% ของรายได้ และมีค่าใช้จ่ายในการอยู่อาศัย 13.49% ของรายได้ ปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยการเดินทาง ได้แก่ ระดับเงินเดือน ค่าใช้จ่ายในการอยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และวิธีการเดินทาง ส่งผลต่อการเลือกที่ตั้งที่อยู่อาศัย โดยกลุ่มตัวอย่างที่เช่าที่อยู่อาศัยจะอาศัยอยู่ในระยะ 5 กิโลเมตร พักอาศัยในทำเลที่ใกล้กับกระทรวงสาธารณสุขมากกว่ากลุ่มอื่น และจะอยู่ใกล้กับแหล่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า กลุ่มที่มีรายได้ปานกลางค่อนต่ำ (ระดับรายได้ต่ำกว่า 15,000 -21,000 บาท) ที่เช่าอยู่อาศัยคนเดียวจะพักอาศัยในรูปแบบของ อพาร์ทเมนท์/หอพัก ในระดับราคาค่าเช่า 2,000-2,500 …


การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณสำหรับกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร, อภิชญาฎา ภู่ระหงษ์ Jan 2019

การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณสำหรับกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร, อภิชญาฎา ภู่ระหงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณเป็นสิ่งที่ควรมีการวางแผนทันทีที่มีโอกาส จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่าคนไทยเริ่มวางแผนเกษียณในวัย 42 ปี และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการออมเพื่อเกษียณเมื่ออายุมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเศรษฐกิจ สังคม และที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนวัยก่อนเกษียณช่วงอายุ 40-59 ปี แนวคิดต่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณ และการวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณของกลุ่มคนดังกล่าว โดยสอบถามกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น 400 คน ผลจากการศึกษาพบว่า 1) ผู้ที่มีแนวคิดในการวางแผนฯต่อผู้ที่ยังไม่มีการวางแผนฯในสัดส่วนประมาณร้อยละ 66 : 34 ตามลำดับ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณ ได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ประจำ (ต่อเดือน) รูปแบบที่อยู่อาศัย-ทำเลที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน และการวางแผนด้านที่อยู่อาศัยในวัยเกษียณ 2) การวางแผนด้านที่อยู่อาศัยของผู้ที่มีการวางแผนฯ ร้อยละ 57.3 มีแนวคิดที่จะย้ายที่อยู่อาศัย รูปแบบบ้านปลูกเองเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73.1) ในขณะที่ผู้ที่ยังไม่มีการวางแผนฯร้อยละ 55.1 ต้องการอาศัยอยู่ที่เดิม และกว่าร้อยละ 79.8 ยังไม่มีแนวคิดที่จะปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับวัยเกษียณ 3) การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณพบว่าคนวัยก่อนเกษียณเลือกที่จะวางแผนโดยการออมเงิน (ร้อยละ 70) ในสัดส่วนร้อยละ 21 ของรายได้และเริ่มออมเมื่ออายุเฉลี่ย 32 ปี ในขณะที่ผู้ที่ยังไม่มีการวางแผนฯ ให้เหตุผลที่ยังไม่วางแผนเนื่องจากยังมีภาระหนี้สิน ค่าใช้จ่ายมาก และมีเงินไม่พอที่จะออม (ร้อยละ 55) และจากการประมาณค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาทต่อเดือน จากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มคนวัยก่อนเกษียณช่วงอายุ 40-59 ปีมีการเตรียมความพร้อมในวัยเกษียณด้านการวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณแต่ยังขาดการวางแผนด้านที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการเป็นวัยเกษียณ อีกทั้งยังมีกลุ่มที่ยังไม่วางแผนอีกกว่าร้อยละ 35 ที่มีรายได้ต่อเดือนที่ไม่มากพอ ความมั่นคงในอาชีพ ประกอบกับหนี้สินจากที่อยู่อาศัยส่งผลให้การเตรียมความพร้อมในวัยเกษียณยังรวมถึงการวางแผนค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณน้อยเกินจริง ส่งผลให้ภาครัฐยังต้องมีบทบาทในการในการสนับสนุนกลุ่มคนวัยเกษียณในด้านการวางแผนดังกล่าวเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อบุตรหลาน และส่งเสริมด้านที่อยู่อาศัยเพื่อไม่ให้เกิดหนี้สินในวัยเกษียณ


ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้งาน และทัศนคติที่มีต่ออาคารโครงสร้างสำเร็จรูประบบกล่อง : กรณีศึกษา ผู้เข้าชมงานสภาสถาปนิก'19, อภิวัฒน์ กิจมานะวัฒน์ Jan 2019

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้งาน และทัศนคติที่มีต่ออาคารโครงสร้างสำเร็จรูประบบกล่อง : กรณีศึกษา ผู้เข้าชมงานสภาสถาปนิก'19, อภิวัฒน์ กิจมานะวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การก่อสร้างระบบโครงสร้างสำเร็จรูป เป็นทางเลือกหนึ่งที่เข้ามามีบทบาท และช่วยทำให้การก่อสร้างมีประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้ระบบก่อสร้างแบบดั้งเดิม และในปัจจุบัน ได้มีการประยุกต์นำระบบกล่องเข้ามาใช้ร่วมกับโครงสร้างสำเร็จรูป โดยมีจุดเด่นสำคัญ คือ ช่วยลดระยะเวลาก่อสร้างในพื้นที่ก่อสร้าง และยังเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานก่อสร้าง ทำให้ภาคเอกชน หรือผู้ประกอบการเล็งเห็นถึงแนวโน้มการเติบโต จึงมีการดำเนินกิจการผลิตอาคารโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูประบบกล่องเพื่อใช้งานทั้งในประเทศ และส่งออกเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการใช้งานที่หลากหลาย และปัจจัยมี่ต้องพิจารณามากยิ่งขึ้น งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้งาน รวมไปถึงการศึกษาทัศนคติที่มีต่ออาคารโครงสร้างสำเร็จรูประบบกล่อง โดยกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือ ผู้เข้าชมงานสภาสถาปนิก’19 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 14-17 พฤศจิกายน พ.ศ.2562 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า อิมแพ็ค เมืองทองธานี จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม จากนั้นจึงนำข้อมูลที่รวบรวมได้ มาวิเคราะห์เชิงสถิติ สรุปผล และอภิปรายผล ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่มีแผนใช้งานอาคารโครงสร้างสำเร็จรูประบบกล่อง คิดเป็นร้อยละ 67.00 และกลุ่มที่มีแผนใช้งาน ส่วนใหญ่มีแผนใช้ในระยะเวลา 12 เดือนขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 50.00 โดยมีวัตถุประสงค์ใช้งานในเชิงที่พักอาศัย คิดเป็นร้อยละ 60.40 กำหนดงบประมาณไว้ที่ 250,001-500,000 บาท ในขณะที่ส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 84.75 ยังไม่เคยมีประสบการณ์การใช้งานมาก่อน นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยความมั่นคง และความแข็งแรงของโครงสร้างอาคารในระดับสำคัญมากที่สุด มีทัศนคติต่อจุดเด่นสำคัญ เป็นอันดับ 1 คือ ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างน้อยกว่าการก่อสร้างระบบดั้งเดิม และมีทัศนคติต่อจุดด้อยสำคัญ อันที่ 1 คือ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการขนส่ง จากการอภิปรายผล ปัจจัยด้านราคา เป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้งานอาคารโครงสร้างสำเร็จรูประบบกล่อง เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่มีแผนใช้งานส่วนใหญ่ใช้เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบเลือกผู้ประกอบการ และการควบคุมงบประมาณก่อสร้าง ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติ รวมถึงการให้ความสำคัญกับโปรโมชั่นส่วนลดเงินสด ซึ่งปัจจัยทั้งหมดสอดคล้องกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น นอกจากนี้ ด้านช่องทางที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการรับรู้ข้อมูล หรือใช้ในการสืบค้นข้อมูล ส่วนใหญ่จะเป็นช่องทางแบบออฟไลน์ เช่น งานมหกรรม หรือสอบถามข้อมูลจากพนักงานขายประจำอาคารตัวอย่าง ดังนั้น ภาคเอกชน หรือผู้ประกอบการสามารถใช้ช่องทางแบบออนไลน์ ในการสื่อสารไปยังผู้บริโภคได้อีกมาก เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และเห็นถึงศักยภาพของการก่อสร้างระบบสำเร็จรูปมากขึ้น