Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Sociology

2019

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 48

Full-Text Articles in Entire DC Network

Feminization, Vulnerability, And Empowerment Of Laotian Migrant Women In Thailand, Cai Ling Koh Jan 2019

Feminization, Vulnerability, And Empowerment Of Laotian Migrant Women In Thailand, Cai Ling Koh

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis examines the feminization of large-scale, cross-border labour migration of Laotian women who migrate to Thailand for work, and aims to effect useful labour migration policy changes for all migrant women working in Thailand, using Laotian migrant women as a case study. This thesis explicates the feminization process and its gendered implications on Laotian migrant women’s vulnerability working in feminized work sectors in Thailand, using the main concepts of feminization of migration, vulnerability, and gender empowerment. This thesis focuses on qualitative research design, using structured qualitative interviews with 11 Laotian migrant women in domestic work, agricultural work, services work, …


Toward Decent Work Agenda: Case Study Of Domestic Care Workers In Thailand's Care Economy, Cholnapa Anukul Jan 2019

Toward Decent Work Agenda: Case Study Of Domestic Care Workers In Thailand's Care Economy, Cholnapa Anukul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Ageing population is global phenomenon. As it causes deficit workforce and family structural change, more care job opportunities are provided. Nevertheless, global care workers are experiencing poor working conditions involving low wage, less social security and hard work. The purpose of this study is to investigate the causes of indecent work among paid domestic care workers in Thailand, with the aim to give voice and enhance visibility of them. Research methodology includes decent work related regulations and a set of care policies review and eight in-depth interviews of paid domestic care workers. Results are that (i) Thai regulations is inadequate …


In Search Of The ‘Right’ Kind Of Financialization: Politics Of Financial Inclusion In Thailand, Frank Tyler Oneal Jan 2019

In Search Of The ‘Right’ Kind Of Financialization: Politics Of Financial Inclusion In Thailand, Frank Tyler Oneal

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis is a critical observation of the politics of financial inclusion in Thailand from 2001 until the present time. The systemic approach embedded in the Political Economy of Complex Interdependence encourages us to focus on the coevolution of financial innovation and regulation. With data collected through interviews, field observations, and doctrinal analysis, I argue that neoliberal axioms embedded in the first policies to expand financial services evolved to engender the financialization of everyday life under auspices of financial inclusion. Furthermore, how the interdependence of financial development and Thaksin's transformative policies recoupled subjects away from the state, and to the …


Livelihoods Training For Internally Displaced Persons (Idps) In Kachin State, Myanmar: Success And Challenges Beneficiaries, Lucia Lujan Jan 2019

Livelihoods Training For Internally Displaced Persons (Idps) In Kachin State, Myanmar: Success And Challenges Beneficiaries, Lucia Lujan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Over 100,000 persons have been internally displaced from various towns within Kachin State, Myanmar. Starting in 2015, some agencies began providing livelihood support programs for the IDP population in many campsites. This research focuses on the opportunities and challenges faced by Kachin IDPs who receive support from livelihood programs in pursuit of better employment opportunities. Drawing on a qualitative research approach, this research examines two of the most effective livelihood training activities and two less successful livelihood training activities which help IDPs to enhance their employment capacity, increasing their opportunities to receive an income. The livelihood support activities help IDPs …


The Politics Of Mobility, Structuration, And Infrastructure: A Case Study Of Myanmar Migrant Workers Under The Migrant Worker Management Regime In Thailand, Polwish Subsrisunjai Jan 2019

The Politics Of Mobility, Structuration, And Infrastructure: A Case Study Of Myanmar Migrant Workers Under The Migrant Worker Management Regime In Thailand, Polwish Subsrisunjai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The migrant worker management regime in Thailand has been operated to deal with the flow of migrant workers between Thailand and the neighbouring countries for almost 30 years. Several studies portray the production of the regime through various mechanisms such as non-citizen control system, documents regime, the employment process, policies and regulations, and classification of migrant workers. Under these studies, migrant workers have been presented in two distinct narratives; one is short-term labours, who are controlled and exploited by the regime, another is economic migrants, who migrate from home country to destination country in pursuance of incremental benefits. This thesis …


Access To Overseas Higher Education For Karen Students From The Knu-Controlled Areas: Barriers And Coping Strategies, Saw Than Min Htun Jan 2019

Access To Overseas Higher Education For Karen Students From The Knu-Controlled Areas: Barriers And Coping Strategies, Saw Than Min Htun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The provision of education in KNU controlled areas is political as it is indispensable to development and national identity building. In fact, issues of legitimacy are key to understanding education services in these areas. Through the Karen Education and Culture Department, the KNU has mainly been providing education services in its controlled areas with its own curriculum and administration for the past seventy years since the beginning of civil war in Myanmar. However, the students cannot access to universities in Myanmar due to the lack of recognition of their learning attainments by the Myanmar government and only a handful of …


The Effects Of Terrorism On Girls’ Access To Education: A Case Study Of Swat Valley (Of Khyber Pakhtunkhwa), Pakistan, Shahaba Jamal Khan Jan 2019

The Effects Of Terrorism On Girls’ Access To Education: A Case Study Of Swat Valley (Of Khyber Pakhtunkhwa), Pakistan, Shahaba Jamal Khan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Using Women Rights and the Feminist theory on Education, the thesis is aimed to evaluate the effects of terrorism on females of Mingora, Swat, the Khyber Pakhtunkhwah Province in Pakistan. The objective is to analyze the damages caused by extremists to girls’ education in terms of barring them from attending schools and institutions, assassinating and injuring teachers and students, inflicting and causing damages to infrastructure by bombing and destroying schools and college buildings. Secondary data was used as well as video link and phone call interviews as well as the researchers’ observations and documents are also used as the means …


Human Rights Due Diligence: Participation And Innovation In Multi-National Business In Thailand, William Midwinter Jan 2019

Human Rights Due Diligence: Participation And Innovation In Multi-National Business In Thailand, William Midwinter

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The United Nations Guiding Principles (UNGPs) for Business and Human Rights has contributed to the way in which businesses engage with, and understand human rights, and has been most notable at the Multinational Corporations (MNC) level. A key duty placed on businesses is the expectation that they will conduct human rights due diligence (HRDD) across their supply chains. This multifaceted process involves the identification of actual or potential human rights impacts that the business may have in their supply chains, drawing heavily on notions of transparency, traceability and stakeholder engagement, and is the focus of this thesis. Concentrating specifically on …


อาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: ศึกษากรณีชาวโรฮีนจาในประเทศเมียนมา, สัณหวรรณ ศรีสด Jan 2019

อาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: ศึกษากรณีชาวโรฮีนจาในประเทศเมียนมา, สัณหวรรณ ศรีสด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ “อาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: ศึกษากรณีชาวโรฮีนจาในประเทศเมียนมา” ฉบับนี้ มุ่งศึกษาปัจจัย สถานการณ์ และรูปแบบปฏิสัมพันธ์ของคนกลุ่มต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่อาชญากรรมที่มีลักษณะของอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยนำสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา ในระหว่างปี พ.ศ. 2555 ถึงปี พ.ศ. 2560 มาพิจารณาประกอบกับทฤษฎีการกระทำร่วมกัน หรือ Collective Action Theory ซึ่งเป็นทฤษฎีอาชญาวิทยาที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออธิบายอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยเฉพาะ ทั้งนี้ จากผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่รัฐยะไข่ โดยเฉพาะความรุนแรงที่เกิดแก่ชาวโรฮีนจาในปีพ.ศ. 2559 และ 2560 นั้นมีลักษณะเป็นการประกอบอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตามบทนิยามของอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยมีทั้งองค์ประกอบด้านการกระทำและด้านเจตนาพิเศษ เมื่อนำมาปรับเข้ากับทฤษฎีการกระทำร่วมกันพบว่าสถานการณ์ในรัฐยะไข่สนับสนุนทฤษฎีการกระทำร่วมกัน โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ ตามทฤษฎี ได้แก่ องค์ประกอบเกี่ยวกับระบอบการปกครอง มีการรวมกลุ่มสังคม มีการสร้างตัวตนสูง และมีเจตนาร่วมกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่เป็นการหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่ายังมีสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นแต่พบว่าไม่สอดคล้องกับทฤษฎีการกระทำร่วมกัน และทฤษฎีดังกล่าวยังจำต้องถูกปรับปรุงต่อไป เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างคตินิยมของบุคคลทั่วไปต่ออัตลักษณ์ชาวโรฮีนจา และปัจจัยที่หล่อหลอมโครงสร้างและสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในรัฐยะไข่ที่นำไปสู่การลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชาวโรฮีนจาและพัฒนาไปสู่การประกอบอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตามทฤษฏีการกระทำร่วมกันยังพบว่าปัจจัยทางด้านภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ ชาติพันธุ์ ศาสนา รูปแบบการปกครอง การจำกัดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และการสร้างความเกลียดชังในพื้นที่ล้วนเป็นองค์ประกอบของปัจจัยข้างต้นที่เอื้อต่อการใช้ความรุนแรงในรัฐยะไข่ทั้งทางตรงและทางอ้อม แนวทางการแก้ไขและป้องกันอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในพื้นที่รัฐยะไข่ประเทศเมียนมานั้นคือการกำจัดองค์ประกอบทั้งหลายตามทฤษฎีการกระทำร่วมกันมิให้เกิดขึ้น ทั้งการเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านการปกครอง การสนับสนุนให้มีการยอมรับความแตกต่างและยุติการเลือกปฏิบัติทั้งในความเป็นจริงและทางกฎหมาย การแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในทางเศรษฐกิจและสังคม ยุติโครงการใด ๆ ที่เอื้อให้พลเรือนเข้าร่วมการปฏิบัติการทางการทหาร และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ เป็นต้น


ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย, เศรษฐการ หงษ์ศิริ Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย, เศรษฐการ หงษ์ศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต รวมไปถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะปัญหาทางสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลชั้นทุติยภูมิจากการสำรวจผู้สูงอายุภายใต้โครงการการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและความอยู่ดีมีสุขในบริบทสังคมสูงวัย พ.ศ. 2559 ซึ่งจัดทำโดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ที่มีบุตรมีชีวิตอย่างน้อย 1 คน จำนวนทั้งสิ้น 4,812 คน สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยทวินามลบที่มีผลกระทบจากศูนย์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า มีผู้สูงอายุราวร้อยละ 59.93 ที่รายงานว่าตนมีปัญหาทางสุขภาพจิตอย่างน้อย 1 อาการ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ผู้สูงอายุในกลุ่มนี้มีอาการโดยเฉลี่ยประมาณ 2.04 อาการ ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตร พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ราวร้อยละ 88.32 มีความสัมพันธ์กับบุตรอยู่ในระดับดี โดยผู้สูงอายุร้อยละ 47.90 มีบุตรที่มีความสัมพันธ์กันดีมาก และร้อยละ 2.58 เท่านั้นที่มีบุตรที่มีความสัมพันธ์กันไม่ดีเลย จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุเพศชายที่มีความสัมพันธ์กับบุตรในระดับดี และมีบุตรอย่างน้อย 1 คนที่มีความสัมพันธ์กันในระดับดีมาก มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต ในทุกแบบจำลอง ในขณะที่ ผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีความสัมพันธ์กับบุตรในระดับดี มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต เฉพาะในแบบจำลองที่ 1 เท่านั้น เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต ภายหลังเพิ่มการควบคุมอิทธิพลของปัจจัยอื่น ๆ พบว่า ปัจจัยด้านสุขภาพ ได้แก่ การประเมินสุขภาพตนเอง และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานและขั้นสูง และปัจจัยการเกื้อหนุนระหว่างรุ่น ได้แก่ รูปแบบการอยู่อาศัย การให้เงินแก่บุตร เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิตด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านประชากรและสังคม ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา เขตที่อยู่อาศัย ภูมิภาค ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ระดับรายได้ ความเพียงพอของรายได้ และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีความแตกต่างไปตามเพศของผู้สูงอายุด้วย


สถานการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยากของสตรีไทย : ข้อค้นพบจากการสำรวจระดับประเทศ, ฤทธิเกียรติ งามสมศักดิ์ Jan 2019

สถานการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยากของสตรีไทย : ข้อค้นพบจากการสำรวจระดับประเทศ, ฤทธิเกียรติ งามสมศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รายงานสถานการณ์ของการรายงานภาวะมีบุตรยาก และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรายงานภาวะมีบุตรยาก ด้วยปัจจัยทางประชากร ปัจจัยอนามัยเจริญพันธุ์ ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยสุขภาพ และปัจจัยของคู่สมรส ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีสถานภาพกำลังสมรสแต่ยังไม่เคยมีบุตรในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลการสำรวจระดับประเทศซึ่งเป็นข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจของโครงการการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและความอยู่ดีมีสุขในบริบทสังคมสูงวัย ของวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งดำเนินการจัดเก็บข้อมูลในเดือนมิถุนายนถึงกันยายม พ.ศ.2559 มีกลุ่มประชากรตัวอย่างเป็นสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 49 ปี โดยการศึกษาครั้งนี้คัดเลือกเฉพาะสตรีที่มีอายุระหว่าง 25 ถึง 49 ปี มีสถานภาพกำลังสมรสแต่ยังไม่เคยมีบุตร และมีข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ที่สมบูรณ์ทั้งหมด 548 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกทวิภาค (Binary Logistic Regression Analysis) โดยมีตัวแปรตามเป็นการรายงานภาวะมีบุตรยากของสตรี กำหนดให้ 0 แสดงถึงสตรีที่ไม่มีการรายงานภาวะมีบุตรยาก (กลุ่มอ้างอิง) 1 แสดงถึง สตรีที่รายงานภาวะมีบุตรยาก ผลการศึกษาพบว่า สตรีมากกว่าครึ่ง คิดเป็นร้อยละ 51.5 รายงานภาวะมีบุตรยาก ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 35 ถึง 39 ปี โดยร้อยละ 61 ของสตรีกลุ่มนี้รายงานว่าตนเองมีบุตรยาก ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับการรายงานภาวะมีบุตรยากพบว่า ปัจจัยทางประชากร ได้แก่ อายุของสตรี จำนวนบุตรที่ปรารถนา ปัจจัยอนามัยเจริญพันธุ์ ได้แก่ การใช้การคุมกำเนิด การแท้ง ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ ระดับการศึกษาสตรี เขตที่อยู่อาศัย มีความสัมพันธ์กับการรายงายภาวะมีบุตรยากของสตรี


ความสัมพันธ์ระหว่างแรงบีบมือและความชุกโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะสมองเสื่อม และภาวะพึ่่งพิงในกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุไทย, อรวรรณ ประสิทธิ์ศิริผล Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างแรงบีบมือและความชุกโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะสมองเสื่อม และภาวะพึ่่งพิงในกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุไทย, อรวรรณ ประสิทธิ์ศิริผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคหลายชนิดและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในผู้สูงอายุสามารถป้องกันได้โดยการคัดกรองโรคเบื้องต้นและการใช้มาตรการที่เหมาะสม แรงบีบมือเป็นมาตรวัดที่ใช้งานง่ายและราคาไม่สูง และมาตรวัดนี้ผ่านการทดสอบความตรงในงานวิจัยหลายชิ้นว่าเป็นมาตรวัดที่เหมาะสมในการคัดกรองโรคหลายชนิดซึ่งให้ผลการศึกษาที่เด่นชัดในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีงานวิจัยไม่มากนักที่ศึกษาความแตกต่างของมาตรวัดแรงบีบมือ รวมถึงการศึกษาว่ามาตรวัดเหล่านี้ความสัมพันธ์กับโรคหัวและหลอดเลือดและภาวะสมองเสื่อมมากน้อยเพียงใด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมาตรวัดแรงบีบมือสามมาตรวัด (แรงบีบมือสัมบูรณ์ แรงบีบมือสัมพัทธ์ต่อน้ำหนักร่างกาย และแรงบีบมือสัมพัทธ์ต่อดัชนีมวลกาย) กับความชุกของโรคสามชนิด ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะสมองเสื่อม และภาวะพึ่งพิงในกิจวัตรประจำวัน รวมถึงค้นหามาตรวัดของแรงบีบมือที่เหมาะสมกับแต่ละโรคมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีการค้นหาปัจจัยเศรษฐกิจและสังคมและปัจจัยพฤติกรรมสุขภาพที่มีความสัมพันธ์มาตรวัดของแรงบีบมือทั้งสามมาตรวัด ข้อมูลของการศึกษานี้มาจากตัวอย่างอายุ 60 ปีขึ้นไปของการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-52 ผลการศึกษาบ่งชี้ความสัมพันธ์ทางลบระหว่างมาตรวัดแรงบีบมือทั้งสามมาตรวัดและความชุกของโรค รวมถึงความแปรปรวนของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในเพศ เมื่อพิจารณาค่าถ่วงน้ำหนักอาไคเคะ แรงบีบมือสัมพัทธ์ต่อน้ำหนักร่างกายเป็นมาตรวัดของแรงบีบมือที่ดีที่สุดสำหรับความชุกของโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งผู้สูงอายุชายและหญิง สำหรับภาวะสมองเสื่อมและภาวะพึ่งพิงในกิจวัตรประจำวัน มาตรวัดของแรงบีบมือที่ดีที่สุดสำหรับผู้สูงอายุชายคือ แรงบีบมือสัมบูรณ์ ส่วนผู้สูงอายุหญิงคือ แรงบีบมือสัมพัทธ์ต่อดัชนีมวลกาย ส่วนการศึกษาค่าจุดตัดที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุชายและหญิงที่สามารถจำแนกระหว่างผู้ที่มีภาวะปกติกับผู้ที่เป็นโรคด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ Receiver Operating Characteristic (ROC) นั้น ผลการศึกษาพบว่า ค่าอำนาจจำแนกโรคอยู่ในระดับต่ำมากถึงพอใช้ (AUC= 54.9% – 74.9%) นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นเมื่อควบคุมตัวแปรอื่นให้คงที่แล้ว พบว่า การศึกษา สถานะการทำงาน รายได้ พื้นที่อาศัย ภูมิภาค และกิจกรรมทางกายมีความสัมพันธ์กับแรงบีบมือของผู้สูงอายุชายอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ สถานะการทำงาน รายได้ ภูมิภาค การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับแรงบีบมือของผู้สูงอายุหญิงอย่างมีนัยสำคัญ ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการศึกษาคือ แรงบีบมือเป็นเครื่องมือคัดกรองที่มีประโยชน์และควรนำไปใช้ร่วมกับโปรแกรมตรวจคัดกรองปกติ นอกจากความสัมพันธ์ทางบวกของสถานะทำงานกับแรงบีบมือพบในผู้สูงอายุชายและหญิง สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลควรส่งเสริมการจ้างงานในผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับสุขภาพทางกายและจิตของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ควรมีการศึกษาครั้งต่อไปในสถานบริการทางคลินิคเพื่อยืนยันผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษา


“คุกมีไว้ขังคนจน” กับนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญา, กฤตานนท์ มะสะนิง Jan 2019

“คุกมีไว้ขังคนจน” กับนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญา, กฤตานนท์ มะสะนิง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย การให้ความหมาย และอำนาจที่อยู่เบื้องหลังการให้ความหมายเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” ผ่านการแพร่กระจายความเชื่อในสังคมไทย รวมทั้งเพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญาของรัฐต่อการทัดทานความเชื่อเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการส่งผ่าน/เผยแพร่ หรือสร้างความเข้าใจเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญา ซึ่งมีข้อค้นพบ ดังนี้ 1) การให้ความหมาย “คุกมีไว้ขังคนจน” จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสองกลุ่มได้สะท้อน 4 ประเด็น ได้แก่ กระบวนการยุติธรรมมีราคาแพง กระบวนการยุติธรรมมีการเลือกปฏิบัติ กระบวนการยุติธรรมมีความซับซ้อน มีแบบแผนพิธีการ และประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญา ได้เพิ่มเติมในประเด็นความยากจนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน 2) องค์ประกอบหรืออำนาจที่อยู่เบื้องหลังการให้ความหมาย “คุกมีไว้ขังคนจน” นั้น มี 3 ประเด็น ได้แก่ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การผลิตซ้ำของสื่อ และการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เสมอภาค โดยใน 2 ประเด็นแรกนั้น ได้รับการอธิบายจากทั้งสองกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่อธิบายตรงกัน มีเพียงประเด็นสุดท้ายที่อธิบายจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการส่งผ่าน/เผยแพร่ หรือสร้างความเข้าใจเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” เพียงกลุ่มเดียว 3) การรับรู้หรือได้ยินเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย และถือเป็นเรื่องที่ปรากฏให้เห็นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแม้ว่าการรับรู้หรือได้ยินของผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสองกลุ่มนั้นได้แตกต่างกันไปตามแต่ละบริบท แต่จุดร่วมประการหนึ่งที่สำคัญของการรับรู้หรือได้ยินเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” คือ ได้ยินมานานและรับรู้มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการส่งผ่านจาก 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ ส่งผ่านจากเหยื่อของกระบวนการยุติธรรม จากสื่อมวลชน และจากข้อมูลจากหน่วยงานรัฐ 4) ความเชื่อของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีต่อประเด็นเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” สามารถจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เชื่อ กลุ่มที่ไม่เชื่อ และกลุ่มที่ยังลังเล และ 5) แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญาของรัฐต่อการทัดทานความเชื่อเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” จะประกอบไปด้วยการขับเคลื่อนกองทุนยุติธรรมตามพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 การปล่อยตัวชั่วคราวแบบไม่มีประกันที่เป็นไปตามข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกัน หรือหลักประกันในการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 …


เพศต้องห้าม: การวิเคราะห์ในเชิงอาชญาวิทยาและวิพากษ์โดยใช้ทฤษฎีเควียร์ถึงความรุนแรงในครอบครัวต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (Lgbtq) ในสังคมไทย, ณรงค์ศักดิ์ กล้าปราบโจร Jan 2019

เพศต้องห้าม: การวิเคราะห์ในเชิงอาชญาวิทยาและวิพากษ์โดยใช้ทฤษฎีเควียร์ถึงความรุนแรงในครอบครัวต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (Lgbtq) ในสังคมไทย, ณรงค์ศักดิ์ กล้าปราบโจร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยดังกล่าวเป็นการศึกษาถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัวของสังคมไทยต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ซึ่งมีรูปแบบของสาเหตุความรุนแรงที่มี “ลักษณะพิเศษ” เนื่องจากการใช้ความรุนแรงต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) นั้นล้วนเกิดจากการมลทินประทับ (Stigmatization) ว่าบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างจากบรรทัดฐานทางสังคมนั้นเป็นสิ่งที่ “ผิดปกติ” และ “น่าอับอาย” จึงส่งผลให้พ่อและแม่เลือกวิธีการใช้ความรุนแรงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบี่ยงเบน (Deviant Behavior) ของทายาทให้กลับสู่ความเป็น “ปกติ” ตามบรรทัดฐานของสังคมที่ได้กำหนดไว้ จากการศึกษาวิจัย พบว่า สาเหตุของการใช้ความรุนแรงในครอบครัวต่อทายาทเพศต้องห้าม (LGBTQ) ของสังคมไทย ล้วนเกิดจากการมลทินประทับ (Stigmatization) ของสมาชิกในครอบครัว ว่าเป็นสิ่งที่ “แตกต่าง” ไปจากบรรทัดฐานทางสังคมโดยทั้งสิ้น ซึ่งการมลทินประทับต่อเพศสภาพที่หลากหลาย (LGBTQ) ของครอบครัวในสังคมไทยสามารถจำแนกได้ 4 รูปแบบ ดังนี้ 1) การมลทินประทับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ว่าเป็นผู้ที่มีความ “ผิดปกติ” “วิปริต” หรือเป็นความบกพร่องทางจิตรูปแบบหนึ่ง 2) การมลทินประทับว่าการมีทายาทชายที่เป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) เป็นการบ่อนทำลายภาพลักษณ์ของครอบครัว 3) การมลทินประทับว่าทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ไม่สามารถสืบต่อสกุล / วงศ์ตระกูลได้ 4) การมลทินประทับว่าอนาคตของทายาทชายที่เป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) จะต้องเผชิญกับความล้มเหลวในชีวิต ซึ่งจากการวิพากษ์โดยทฤษฎีเควียร์ (Queer Theory) ต่อการมลทินประทับของครอบครัวไทยต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ทั้ง 4 รูปแบบ ก็ถือว่าเป็นการยืนยันถึงการ ”ดำรงอยู่” ของบรรทัดฐานทางสังคมแบบกลุ่มคนรักเพศตรงข้าม (Heteronormativity) ว่ายังคงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยอยู่ ทั้งนี้ แนวทางการยุติความรุนแรงความรุนแรงในครอบครัวต่อทายาทเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับความร่วมมือจากครอบครัว ชุมชน และภาครัฐในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ควบคู่ไปกับการรื้อถอนการประกอบสร้างทางสังคม (Deconstruction) ว่าด้วยเรื่องของไม่เท่าเทียมทางเพศที่เกิดขึ้นในบริบทของสังคมไทย เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเสมอภาคกันทางเพศ ตลอดจนการเคารพสิทธิและเสรีภาพในการเป็น “มนุษย์” คนหนึ่ง


เส้นทางชีวิตของนักโทษหญิงที่กระทำผิดซ้ำคดียาเสพติด, ตฤณห์ โพธิ์รักษา Jan 2019

เส้นทางชีวิตของนักโทษหญิงที่กระทำผิดซ้ำคดียาเสพติด, ตฤณห์ โพธิ์รักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง เส้นทางชีวิตการกระทำผิดของผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากผู้ต้องขังหญิงจำนวน 7 คน จากทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพมหานคร การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางชีวิตการกระทำผิดของผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด โดยก่อคดีตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็กและเยาวชน และเพื่อศึกษามูลเหตุจูงใจของการก่ออาชญากรรมของผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด โดยก่อคดีตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็กและเยาวชน จากนั้นจะเป็นการศึกษาเพื่อสร้างแนวทางในการป้องกันการกระทำผิดของเด็ก เยาวชนและผู้หญิง ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิงในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โดยก่อคดีแรกครั้งยังเป็นเด็กและ เยาวชน มีมูลเหตุจูงใจมาจากปัจจัยด้านอายุ ครอบครัว กลุ่มเพื่อนในขณะที่เริ่มเสพยาเสพติด สภาพจิตใจ สภาพสังคม การศึกษา การติดยาและการบำบัด และสภาพเศรษฐกิจ โดยเรียงลำดับจากมูลเหตุจูงใจที่เกี่ยวข้องจากมากไปน้อยตามลำดับ มูลเหตุจูงใจด้านอายุที่เริ่มเสพยาเสพติด ผลการศึกษาพบว่า ยิ่งกรณีมีการเริ่มใช้ยาเสพติดอายุน้อยเท่าใดก็จะมีโอกาสเสพติดต่อเนื่องไปยาวนานเท่านั้น ซึ่งกรณีศึกษาทุกรายไม่ได้เข้ารับการบำบัดให้เลิกเสพอย่างเด็ดขาดตั้งแต่ครั้งแรก ส่งผลให้เมื่อพ้นโทษ จึงกลับมาเสพ และกระทำผิดซ้ำ มูลเหตุจูงใจรองลงมาได้แก่ครอบครัว การขาดการดูแลเอาใจใส่ และไม่มีความผูกพันกับครอบครัว ส่งผลให้กรณีศึกษา เข้าสู่วงจรยาเสพติดได้ง่าย ไม่มีสมาชิกในครอบครัวคอยสอดส่องดูแล หรือห้ามปราม ถัดมาคือกลุ่มเพื่อน ซึ่งพบว่า เป็นมูลเหตุจูงใจที่มีอิทธิพลมากที่สุด ในการชักชวนให้กรณีศึกษาเริ่มลองยาเสพติด มูลเหตุจูงใจถัดมา ได้แก่สภาพจิตใจของกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่า กรณีศึกษามักมีปัญหาทางด้านครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้น ตัวอย่างเช่น ความไม่พอใจ ที่บิดาของตนมีภรรยาใหม่ จึงแสดงความก้าวร้าวและก่อปัญหา หรือ การที่กรณีศึกษาเคยโดนลวนลามทางเพศโดยญาติผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ภายในบ้านเดียวกัน ปัญหาเหล่านี้ส่งผลร้ายต่อสภาพจิตใจอย่างมาก และเมื่อไม่สามารถพึ่งพิงคนในครอบครัวได้ การหันหน้าไปหาเพื่อนที่มีปัญหาเหมือนกัน หรือ หันมาใช้ยาเสพติดช่วยให้ผ่านช่วงเวลาเลวร้ายไปในแต่ละวัน จึงทางออกสำหรับกรณีศึกษา และมูลเหตุจูงใจอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำได้แก่ สภาพสังคม การศึกษา การติดยาและการบำบัด และสภาพเศรษฐกิจ ตามลำดับ ข้อเสนอแนะของการวิจัยพบว่าแนวทางในการป้องกันการกระทำผิดของเด็ก เยาวชนและผู้หญิง ได้แก่ การบำบัดให้หายขาดตั้งแต่ครั้งแรกของการเสพยาเสพติด รวมถึงการทบทวนการลงโทษแบบเดิม ร่วมกับการปรับใช้ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกรุงเทพฯ (Bangkok Rules) และการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนทั้งรัฐบาล เอกชน และชุมชนเอง ช่วยกันสอดส่องดูแล เฝ้าระวังพฤติกรรมของเด็กในชุมชน พร้อมทั้งให้ความรู้ถึงโทษของยาเสพติด มีการฝึกงานอาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาด มีการพบปะเยี่ยมเยียนสมาชิกในชุมชนจากผู้นำของชุมชนเป็นประจำ และให้โอกาสกลับคืนสู่สังคมสำหรับสมาชิกที่ผิดพลาด เพื่อป้องกันปัญหาการกระทำผิดซ้ำอย่างถาวร


การศึกษามาตรการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อสถาบันการเงิน, ปรมัตถ์ ไวรักษ์ Jan 2019

การศึกษามาตรการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อสถาบันการเงิน, ปรมัตถ์ ไวรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของธนาคารกลางของไทยในการกำกับดูแลสถาบันการเงินต่อการบังคับใช้มาตรการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และศึกษาถึงแนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มสถาบันการเงิน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม แบ่งเป็น ผู้ปฏิบัติงานในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกลุ่มสถาบันการเงิน ผู้ปฏิบัติงานจากสายงานกระบวนการยุติธรรมหรือสายกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านการจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ผลการศึกษา พบว่า 1) บทบาทที่สำคัญของธนาคารกลางของไทย คือ การวางกรอบแนวทางการรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ โดยมีการกำหนดเป็นมาตรการและนโยบายต่าง ๆ ร่วมกับการตรวจสอบกำกับดูแล และการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ภาคประชาชน 2) ธนาคารกลางของไทยมีการสร้างความร่วมมือกับกลุ่มสถาบันการเงินและองค์กรอื่น ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแบ่งปันข้อมูลข่าวสารด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดทักษะความรู้ใหม่ ๆ ในการร่วมมือกันแก้ปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์ ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติการ สถาบันการเงินควรมีการฝึกซ้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไปพร้อมกับการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ภาคประชาชนในเชิงรุก รวมทั้งสร้างเครือข่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการเงิน ด้านการออกนโยบาย เสนอให้เพิ่มบทลงโทษสถาบันการเงินจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่บังคับใช้ และเสนอให้มีการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีบทเรียนเกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์และมาตรการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์


แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้กระทําผิดทางเพศ และการแจ้งเตือนต่อสาธารณชนของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ, นพรัตน์ บุญถนอม Jan 2019

แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้กระทําผิดทางเพศ และการแจ้งเตือนต่อสาธารณชนของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ, นพรัตน์ บุญถนอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศและการแจ้งเตือนต่อสาธารณชนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุ และลักษณะเฉพาะของการกระทำผิดทางเพศ รวมถึงมาตรการป้องกันปราบปรามการกระทำผิดทางเพศที่มีอยู่ในปัจจุบัน ศึกษาหลักการ แนวคิด รูปแบบ และวิธีการนำระบบขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศและการแจ้งเตือนต่อสาธารณชนมาใช้ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางเพศ ที่ได้ดุลยภาพระหว่างการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมกับสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบแนวทางในการที่จะนำ “การขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศและการแจ้งเตือนต่อสาธารณชน” มาใช้พัฒนาฐานข้อมูลการกระทำผิดทางเพศในกระบวนการยุติธรรมของไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการค้นคว้าเอกสารวิชาการ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ประกอบกับการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและหาแนวทางสรุป ผลการวิจัยพบว่า การกระทำผิดทางเพศเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ เกิดขึ้นจากความผิดปกติทางจิตใจ หากไม่ได้รับการรักษาหรือดำเนินการอย่างเหมาะสม จะทำให้มีความเสี่ยงที่จะกระทำผิดทางเพศซ้ำเมื่อกลับเข้ามาสู่สังคมได้ ซึ่งในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ประเทศฝรั่งเศส และอีก 27 ประเทศ มีระบบการขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศและการแจ้งเตือนต่อสาธารณชน เป็นมาตรการหนึ่งในการดำเนินการกับผู้กระทำผิดทางเพศเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดทางเพศซ้ำ แต่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการดังกล่าว ดังนั้น ผู้วิจัยเห็นว่าประเทศไทยควรตรากฎหมายในการขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศและการแจ้งเตือนต่อสาธารณชนขึ้นเพื่อให้การป้องกันปราบปรามการกระทำผิดทางเพศในประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานในการจัดเก็บและบริหารข้อมูล มีการบูรณาการข้อมูลผู้กระทำผิดทางเพศกับฐานข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากรเดิม แบ่งประเภทผู้กระทำผิดทางเพศตามความรุนแรงของการกระทำผิด และกำหนดระยะเวลาการขึ้นทะเบียน 5 ปี 15 ปี และ 25 ปี ตามลำดับ สำหรับการเปิดเผยข้อมูล ผู้วิจัยกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลผู้กระทำผิดทางเพศที่มีความรุนแรงและกระทำต่อเหยื่อที่เป็นเด็กเท่านั้น เพื่อรักษาดุลยภาพของความปลอดภัยของสมาชิกในสังคมโดยรวมและสิทธิ เสรีภาพของผู้กระทำผิดทางเพศ โดยผู้วิจัยได้กำหนดให้มี การจำกัดถิ่นที่อยู่ การจำกัดอาชีพ และการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศด้วย อันเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในสังคม และประสิทธิภาพการป้องกันการกระทำผิดทางเพศ


การแปลงเปลี่ยนพฤติกรรมและความสำเร็จในการกลับคืนสู่สังคม: จากนักโทษสู่นักกีฬาอาชีพ, พรรณวดี คำไชยวงค์ Jan 2019

การแปลงเปลี่ยนพฤติกรรมและความสำเร็จในการกลับคืนสู่สังคม: จากนักโทษสู่นักกีฬาอาชีพ, พรรณวดี คำไชยวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแปลงเปลี่ยนพฤติกรรมและความสำเร็จในการกลับคืนสู่สังคมของผู้เคยเป็นนักโทษสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพ ศึกษาแนวทางการใช้กีฬาเพื่อฟื้นฟูผู้กระทำผิดและลดการกระทำผิดซ้ำ ใช้วิธีศึกษาเชิงคุณภาพโดยการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง โดยการศึกษาแบบกรณีศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญของการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพของการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ คือ นักกีฬาอาชีพผู้ซึ่งเคยเป็นนักโทษ ผู้ทรงคุณวุฒิในระดับนโยบาย ผู้บริหารค่าย/สโมสรที่นักกีฬาสังกัดอยู่ และเพื่อนร่วมงานรวมถึงผู้ใกล้ชิด รวมทั้งสิ้น 22 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยพรรณนาเชิงวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแปลงเปลี่ยนพฤติกรรมและความสำเร็จในการกลับคืนสู่สังคม ประกอบด้วย 1) แรงจูงใจ ประกอบด้วย แรงจูงใจภายนอก คือการมีเป้าหมายในความสำเร็จ การได้รับโอกาส การเป็นที่ยอมรับ การได้รับการยกย่องว่าเป็นแบบอย่าง การมีรายได้ที่เพียงพอในการดูแลครอบครัวและใช้จ่ายส่วนตัว และแรงจูงใจภายในประกอบด้วย การรับรู้ในความสามารถตนเอง ความรู้สึกว่ามีคุณค่า และความกลัวที่ต้องกลับไปรับโทษหากกระทำผิดซ้ำ 2) สภาพแวดล้อมที่ดีทางสังคม คือ ครอบครัวและเพื่อน 3) การฟื้นฟูและแก้ไขผู้กระทำผิดจากในเรือนจำ คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในระหว่างการรับโทษด้วยการใช้กีฬา โดยกรมราชทัณฑ์ได้ใช้กีฬาเพื่อฟื้นฟูผู้กระทำผิดซ้ำ เสริมสร้างสมรรถภาพร่างกาย พัฒนาด้านจิตใจ ส่งเสริมระเบียบวินัย รวมถึงมีการสนับสนุนนักโทษที่มีความสามารถในกีฬาเฉพาะด้าน ให้เข้ารับการแข่งขันในรายการต่าง ๆ ตลอดจนโครงการด้านกีฬาจากภาครัฐและเอกชนที่ให้ความร่วมมือในการสร้างโอกาสในการกลับคืนสู่สังคม


การตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ, รษิกา พงษ์ยุทธกร Jan 2019

การตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ, รษิกา พงษ์ยุทธกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง "การตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการตกเป็นเหยื่อ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อ และเพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากการกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยและเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ 2) สมาชิกในครอบครัวเดียวกันกับผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ 3) บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุ มี 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การเอาทรัพย์สินไปจากผู้สูงอายุโดยใช้เอกสารหรือลายเซ็นต์ของผู้สูงอายุไปทำธุรกรรม 2) การละเมิดทางทรัพย์สินที่มีการทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ หรือการปล่อยทิ้งผู้สูงอายุร่วมด้วย 3) การละเมิดเหยื่อที่มีลักษณะนิ่งเฉย 4) การเอาทรัพย์สินไปจากผู้สูงอายุโดยตรง เช่น การลักทรัพย์ บัตรเอทีเอ็ม เครื่องประดับ เป็นต้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุประกอบด้วย 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) ความอ่อนแอทางร่างกายหรือจิตใจ 2) การรับรู้เกี่ยวกับการตกเป็นเหยื่อ 3) การขาดผู้ดูแลหรืออยู่คนเดียว 4) ความไว้วางใจยอมให้ผู้อื่นกระทำการแทน 5) กิจวัตรประจำวัน 6) ภาวะพึ่งพิง ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรสร้างความตระหนักในปัญหาการละเมิดทางทรัพย์สินต่อผู้สูงอายุให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับหน่วยงานภาครัฐควรทำงานร่วมกับภาคประชาชนในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุ อีกทั้งควรตรวจสอบการทำธุรกรรมที่ผู้สูงอายุมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และควรปรับปรุงกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีด้านการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุ


การกระทำความผิดทางอาญากับอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง (Hate Crime) ในประเทศไทย, ลดาวัลย์ ใยมณี Jan 2019

การกระทำความผิดทางอาญากับอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง (Hate Crime) ในประเทศไทย, ลดาวัลย์ ใยมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่ประเทศไทยยังไม่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยนั้นเผชิญหน้ากับอาชญากรรมประเภทนี้มาเป็นเวลายาวนานแล้ว ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ของอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อวิเคราะห์ประเภทของอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังในประเทศไทย เพื่อศึกษาสาเหตุและมูลเหตุจูงใจของผู้กระทำความผิด และเพื่อเสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา จากการศึกษาวิจัย 17 กรณีศึกษา ในประเทศไทยพบว่า ในส่วนของประเภทของอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังนั้น ประเทศไทยมี 4 ประเภทคือ ประเภทที่หนึ่ง พวกที่ทำเพื่อความสนุกสนาน ประเภทที่สอง พวกทำเพื่อป้องกันหรือโต้กลับ ประเภทที่สาม พวกปฏิบัติตามหน้าที่ และประเภทที่สี่ พวกที่ได้ยินเรื่องเล่าลือว่ามีผู้ทำร้ายคนในกลุ่มเดียวกับตนเอง จึงลงมือประกอบอาชญากรรมในลักษณะการแก้แค้นทดแทน ส่วนมูลเหตุจูงใจที่พบมี 4 ประเภทคือ มูลเหตุจูงใจจากสถาบันชั่วคราวหรือการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย มูลเหตุจูงใจที่มาจากเพศ มูลเหตุจูงใจที่มาจากเชื้อชาติ สัญชาติ และศาสนา และมูลเหตุจูงใจที่มาจากอัตลักษณ์หรือรสนิยมทางเพศ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ประกอบอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังนั้นคือ ฐานะทางเศรษฐกิจ การไม่ประสบความสำเร็จทางการศึกษา การชอบดูละครที่มีทัศนคติเป็นลบ การคบเพื่อนฝูงที่ประกอบอาชญากรรม และการที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ส่วนแนวทางการป้องกันและแก้ไขนั้นสามารถกระทำได้โดยใช้สองมาตรการ โดยมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางสังคม ในส่วนของผู้วิจัยนั้นสนับสนุนให้ใช้มาตรการทางสังคมนำมาตรการทางกฎหมาย


อาชญากรรมเศรษฐกิจ: ศึกษากรณีการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ, วนัสนันท์ กันทะวงศ์ Jan 2019

อาชญากรรมเศรษฐกิจ: ศึกษากรณีการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ, วนัสนันท์ กันทะวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์อาชญากรรมเศรษฐกิจ: ศึกษากรณีการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการหลอกลวง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อ และแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกี่ยวกับการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญในหน่วยงานภาครัฐบาลและภาคประชาชน และผู้ตกเป็นเหยื่อ จำนวน 17 คน ผลการศึกษาพบว่าวิธีการหลอกลวงประชาชนให้ตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมี 2 กรณี คือ 1) กรณีผู้กระทำผิดที่เป็นบุคคลธรรมดา มีวิธีการสอนให้เก็งกำไรด้วยตัวเองผ่านบริษัทเก็งกำไรในต่างประเทศ โดยผู้กระทำผิดจะได้รับเงินจากการสอนคอร์สสัมมนา และค่าตอบแทนจากบริษัทเก็งกำไรในต่างประเทศในลักษณะของ Internal Broker หรือ IB 2) กรณีผู้กระทำผิดที่เป็นนิติบุคคล มีวิธีการจัดตั้งทีมงานชักชวน อ้างว่าใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือหุ่นยนต์เก็งกำไร เน้นการชักชวนประชาชนเข้าร่วมลงทุน มีการการันตีผลตอบแทนและกำหนดระยะเวลาที่จะได้รับเงิน นิติบุคคลจะได้เงินจากการร่วมลงทุน ซึ่งทั้งสองกรณีเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนที่เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ วิธีการชักชวนจะประกาศโฆษณาผ่านทาง Facebook และพูดคุยผ่านทาง LINE ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อพบว่ามี 8 ปัจจัย ได้แก่ 1) เศรษฐกิจ 2) ความโลภ 3) เทคโนโลยีสมัยใหม่ 4) คบหาสมาคม 5) ภาพลักษณ์ 6) ความรู้ความเข้าใจ 7) กิจวัตรประจำวัน 8) การทำงานภาครัฐ อีกทั้งผู้วิจัยได้พบปัญหาที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) ปัญหาด้านกฎหมาย 2) ปัญหาเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ 3) ปัญหาในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 4) ปัญหาด้านการปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับแชร์ลูกโซ่ 5) ปัญหาด้านการป้องกันอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับแชร์ลูกโซ่ มีแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดังนี้ หน่วยงานการเงินการธนาคาร หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ภาคประชาชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรจัดตั้งคณะทำงาน (Task force) ทำงานร่วมกันในเชิงรุกในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ได้แก่ 1) ควรมีการจัดตั้งศูนย์อาชญากรรมเศรษฐกิจแชร์ลูกโซ่ 2) พิจารณาจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเหยื่อแชร์ลูกโซ่ 3) ผลักดันนโยบายด้านการออมเงินเเพื่อการแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน 4) ผลักดันแผนรับมือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศต่อไป


Governmentality, Resettlement, And Resistance Of Ethnic Minority Migrants In Vietnam: A Case Study In Dak Lak Province, Chau Le Minh Doan Jan 2019

Governmentality, Resettlement, And Resistance Of Ethnic Minority Migrants In Vietnam: A Case Study In Dak Lak Province, Chau Le Minh Doan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aimed to learn about the governmentality of the Vietnamese state toward ethnic minority migrants, through the examination of resettlement policy. This study focused on the case study in Cu Kbang commune, Ea Sup district, Dak Lak province, Vietnam. Base on the concepts of "The will to improve" of Tania Li (T. Li, 2007), the researchers examined the resettlement policy as a solution proposed by the Government to resolve the situation of the ethnic minority migration in Central Highland Vietnam. The research used the qualitative methodology and discourse analysis regarding the conceptual framework of Escobar and Li on policy …


การนำนโยบายเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาแรงงานเด็กข้ามชาติในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล, ปานชนก ชูหนู Jan 2019

การนำนโยบายเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาแรงงานเด็กข้ามชาติในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล, ปานชนก ชูหนู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำนโยบายและแผนระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายมาปฏิบัติกับแรงงานเด็กข้ามชาติในกิจการอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล พร้อมทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการมาปฏิบัติ โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่มประชากรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการในส่วนขององค์กรภาครัฐ 9 คน เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ จำนวน 1 คน และ ตัวแทนนายจ้างในสถานประกอบกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ จำนวน 3 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการละเมิดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย กอปรกับการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 182 จึงก่อให้เกิดนโยบายและแผนระดับชาติฯ ฉบับนี้ขึ้นมา 2) การนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัตินั้นดำเนินงานผ่าน 5 ยุทธศาสตร์ คือ การป้องกันการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย การช่วยเหลือและคุ้มครองแรงงานเด็กจากการทำงานในรูปแบบที่เลวร้าย การพัฒนาและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคีเครือข่าย การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติที่สามารถแบ่งออกเป็น 5 ปัจจัยคือ 1. ความสามารถในการจัดการปัญหา คือ การจัดการปัญหาของการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ความซับซ้อนเชิงพฤติกรรมของนายจ้าง ลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่ผู้เข้าไปตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมายกับสถานประกอบกิจการ 2. ลักษณะของตัวนโยบายและแผนระดับชาติฯ คือการตรานโยบายและแผนระดับชาติฯ ที่ไม่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหา การเขียนรายละเอียดของการนำไปปฏิบัติแบบภาพกว้าง 3.หน่วยงานที่นำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติ คือ การขาดความเข้าใจและความรู้สึกผูกพันในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.บุคลากรที่นำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติ คือการไม่เข้าใจในรายละเอียดและขอบข่ายงาน อาจมีผลมาจากความไม่ชัดเจนในตัวของนโยบายฯ และ 5. การติดตาม ประเมินผล การนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการนำไปปฏิบัติได้อย่างไม่เป็นรูปธรรม คือ ปัญหาในส่วนของการรวบรวมข้อมูล ความล่าช้าในการรายงานของหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบย้อนกลับ


การได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย, ฉัตรกมล พีรปัญญาวรานันท์ Jan 2019

การได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย, ฉัตรกมล พีรปัญญาวรานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การฝากครรภ์ที่มีคุณภาพส่งผลให้สุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกมีความปลอดภัย โดยมีส่วนสำคัญในการลดอัตราการตายของมารดา ตลอดจนส่งเสริมให้ทารกมีน้ำหนักแรกคลอดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และมีสุขภาวะที่ดีในตลอดช่วงวัย การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ และองค์ประกอบของการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย ตามกรอบแนวคิดขององค์การอนามัยโลก ซึ่งประกอบด้วย 1) การได้รับการฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ 2) การได้รับการฝากครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 5 ครั้ง และ 3) การได้รับการฝากครรภ์จากแพทย์ หรือพยาบาลวิชาชีพและการผดุงครรภ์ ซึ่งใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีวัยเจริญพันธุ์ในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุระหว่าง 15-49 ปี ที่คลอดบุตรคนสุดท้องภายใน 2 ปีก่อนการสัมภาษณ์ จำนวนทั้งสิ้น 2,092 คน และทำการวิเคราะห์ด้วยการถดถอยโพรบิท ผลการศึกษาพบว่า อายุขณะตั้งครรภ์บุตร ลำดับของบุตร ความต้องการมีบุตร อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ เพศของหัวหน้าครัวเรือน ระดับสถานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน ระดับการศึกษา ศานาที่นับถือ การเรียนเรื่องเพศศึกษาในโรงเรียน และพื้นที่อยู่อาศัย ส่งอิทธิพลต่อการได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ และองค์ประกอบของการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพที่แตกต่างกัน ฉะนั้น จึงนำไปสู่แนวทางการสนับสนุนให้สตรีตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพจากภาครัฐ ผ่านแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านสาธารณสุขในเชิงพื้นที่ ควบคู่กับการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ตรงจุด


แนวทางในการปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว, จุฑามาศ จุลจันทรังษี Jan 2019

แนวทางในการปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว, จุฑามาศ จุลจันทรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาบทบาทของกรมราชทัณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว และเพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 ท่าน ได้แก่ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการจากทัณฑสถานหญิงชลบุรี ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า บทบาทของกรมราชทัณฑ์ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวภายใต้การดูแลของกรมราชทัณฑ์ปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่ยึดหลักสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules) เป็นหลักการสำคัญในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงมีบทบาทสำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ 1) บทบาทด้านการจำแนกและรับตัวผู้ต้องขังหญิง 2) บทบาทด้านสุขภาพอนามัย 3) บทบาทด้านการจัดการสภาพแวดล้อมและอาคารสถานที่ 4) บทบาทด้านการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย และ5) บทบาทด้านการติดตามหลังพ้นโทษ นอกจากนี้พบว่าการปฏิบัติงานของกรมราชทัณฑ์ปัจจุบันมีปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งจากภายในและจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของกรมราชทัณฑ์ ทั้งนี้กรมราชทัณฑ์ควรประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพการดูแลผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดเนื่องจากเคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวอย่างเหมาะสมต่อไป


แนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เกี่ยวกับสกุลเงินเข้ารหัสในประเทศไทย: กรณีศึกษาบิทคอยน์, กิจชัยยะ สุรารักษ์ Jan 2019

แนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เกี่ยวกับสกุลเงินเข้ารหัสในประเทศไทย: กรณีศึกษาบิทคอยน์, กิจชัยยะ สุรารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ รูปแบบ สภาพปัญหาและสาเหตุของอาชญากรรมที่ใช้บิทคอยน์ในฐานะสกุลเงินเข้ารหัสเป็นเครื่องมือ ตลอดจนศึกษาแนวนโยบาย กฎหมายและมาตรการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินเข้ารหัสทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อเสนอแนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เกี่ยวกับสกุลเงินเข้ารหัสในประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาจากเอกสารและการวิจัยภาคสนามโดยการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการศึกษาพบว่าปัจจุบันมีการนำบิทคอยน์ไปใช้เป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรมโดยตรงด้วยการนำไปใช้เป็นสื่อกลางในการกระทำความผิดในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย การฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนให้กลุ่มผู้ก่อการร้าย และการนำไปใช้เป็นเครื่องมือในทางอ้อมด้วยการนำเอาชื่อของบิทคอยน์ไปหลอกลวงฉ้อโกงในลักษณะคล้ายกันกับแชร์ลูกโซ่ โดยมีสภาพปัญหาและสาเหตุจากลักษณะพิเศษต่างๆของบิทคอยน์ที่เอื้อต่อการนำไปใช้ในการก่ออาชญากรรม โดยเฉพาะคุณสมบัติที่ไม่มีการเปิดเผยตัวตนผู้ใช้งาน สภาพปัญหาและสาเหตุจากกฎหมาย ได้แก่ สถานภาพทางกฎหมายที่ไม่ชัดเจนของบิทคอยน์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถใช้ป้องกันการนำบิทคอยน์ไปใช้ในการกระทำผิดได้ ปัญหาในด้านการตีความกฎหมายที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับการเก็บพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ และการขาดกฎหมายที่บัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการในการยึดและอายัดบิทคอยน์ รวมทั้งสภาพปัญหาและสาเหตุจากการบังคับใช้กฎหมายที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยังขาดองค์ความรู้ วิธีการ และเครื่องมือหรือกลไกต่างๆ ทั้งยังขาดการบูรณาการร่วมกันทั้งจากหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชนและความร่วมมือระหว่างประเทศ และจากการศึกษาแนวนโยบาย กฎหมายและมาตรการต่างๆที่เกี่ยวข้องพบว่าแต่ละประเทศมีทิศทางการกำหนดนโยบายที่แตกต่างกันทั้งรูปแบบของการยอมรับ กึ่งยอมรับกึ่งควบคุม และปฏิเสธบิทคอยน์และสกุลเงินเข้ารหัสต่างๆขึ้นอยู่กับแนวคิดทางการเมือง สภาพเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ทั้งนี้ ประเทศไทยควรมีการกำหนดมาตรการในการยืนยันตัวตนผู้ใช้งาน กำหนดหลักปฏิบัติในการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ชัดเจน บัญญัติหลักกฎหมายเกี่ยวกับการยึดและอายัดสกุลเงินเข้ารหัส ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือ และกลไกต่างๆ การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนและหน่วยงานระหว่างประเทศ รวมทั้งการผลักดันให้มีการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติ และการสร้างความรับรู้ให้แก่ประชาชนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมที่เกี่ยวกับสกุลเงินเข้ารหัส


ความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำ, จุฬารัตน์ รัฐพิทักษ์สันติ Jan 2019

ความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำ, จุฬารัตน์ รัฐพิทักษ์สันติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำ ประเภทความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด และใช้ผลการศึกษาเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำ การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และใช้วิธีการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไป จำนวน 9 คน ในเรือนจำพิเศษมีนบุรี ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด คือ ปัจจัยด้านภูมิหลัง ได้แก่ ครอบครัว การศึกษา สภาพแวดล้อม การคบเพื่อน อาชีพ และรายได้ ปัจจัยด้านจิตใจ ได้แก่ การคิดก่อนกระทำผิด ความรู้สึกแปลกแยก และปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ ความกดดันทางสังคม พันธะทางสังคม ประสบการณ์การใช้ชีวิตในเรือนจำ ประสบการณ์การใช้ชีวิตหลังได้รับการปล่อยตัวก่อนกระทำผิดซ้ำ และการถูกตีตรา 2) ความกลัวที่มีผลต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดมากที่สุดคือความกลัวต่อการสูญสิ้นอัตตา รองลงมาคือความกลัวต่อการสูญเสียที่เกี่ยวกับชีวิตกับความกลัวต่อการโดนทอดทิ้ง และความกลัวต่อการสูญเสียอิสรภาพของตนเอง โดยความกลัวต่อความพิกลพิการไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด ข้อเสนอแนะต่อแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษของการศึกษานี้ ได้แก่ การนำปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่น ครอบครัว ศาสนา อาชีพ และรายได้ มาใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมของผู้ต้องขัง นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการคืนคนดีสู่สังคม และลดอุปสรรคที่ส่งผลให้เกิดความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำ เช่น ความกดดันทางสังคม การถูกตีตรา เพื่อให้ผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษสามารถรับมือกับความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำได้อย่างถูกต้อง


อาชญากรรมต่อสัตว์: ประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์ผ่านการรับรู้ของสังคมไทย, ณธัญ วงศ์วานิช Jan 2019

อาชญากรรมต่อสัตว์: ประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์ผ่านการรับรู้ของสังคมไทย, ณธัญ วงศ์วานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์หัวข้อ อาชญากรรมต่อสัตว์: ประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์ผ่านการรับรู้ของสังคมไทยนี้มุ่งเน้นการศึกษาประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์และที่มาของปัญหานี้ที่ถูกพบได้ในสังคมไทยและแนวคิดประกอบกับหลักการเกี่ยวกับการลงโทษความผิดเกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์ที่มีความเหมาะสมตามมุมมองของกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องอย่างสำคัญต่อสัตว์อีกทั้งมีความสอดคล้องต่อลักษณะความเป็นไปของสภาพสังคมไทย จากการศึกษานั้นพบว่าการทารุณกรรมสัตว์นั้น มีเหตุมาจากปัญหาเกี่ยวกับสัตว์ดังเช่น ปริมาณสัตว์จรจัดจำนวนมากที่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ประชาชน จนเกิดการออกมาแก้ปัญหาเองโดยใช้ความรุนแรง ซึ่งได้กระทำการทารุณกรรมสัตว์เหล่านั้นเพื่อแก้ปัญหาความรำคาญดังกล่าว หรือการกระทำทารุณกรรมสัตว์ที่กระทำเพื่อหาความพึงพอใจหรือผลประโยชน์ในแง่ต่างๆ เช่นการหายรายได้บนโลกไซเบอร์ ซึ่งในนิติรัฐสมัยใหม่นี้เองก็ได้มีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยการตราขึ้นและบังคับใช้กฎหมายในกรณีการคุ้มครองสัตว์ เพื่อให้เกิดการคุ้มครองตัวสัตว์และปกป้องศีลธรรมอันดีในสังคมไทย โดยทั้งนี้เอง การป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ในอนาคต นอกจากการบังคับใช้กฎหมายแล้วนั้น ยังจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังแนวคิดเกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์แก่ประชาชนประกอบไปด้วย เนื่องจากที่มาของปัญหานั้นเกิดจากการปล่อยให้ปัญหาสัตว์จรจัดนั้นดำเนินต่อไป จากการจัดการที่ไม่เด็ดขาดของรัฐ จากผู้เลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีความรับผิดชอบ หรือจากบุคคลที่ไม่เห็นถึงคุณค่าของสัตว์ ผู้วิจัยจึงเห็นว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์ และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองสัตว์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งการนำมาตรการอื่นๆมาใช้เพื่อแก้ปัญหาสัตว์จรจัด และสัตว์ถูกทารุณกรรมในต่อไป


แนวทางในการพัฒนาการใช้แอพพลิเคชั่น "Police I Lert U", ณัฐดนัย บำรุงศรี Jan 2019

แนวทางในการพัฒนาการใช้แอพพลิเคชั่น "Police I Lert U", ณัฐดนัย บำรุงศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง แนวทางในการพัฒนาการใช้แอพพลิเคชั่น Police I Lert U มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนในการใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U ปัญหาและอุปสรรคของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U และแนวทางการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Police I Lert U การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณควบคู่กับการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่รู้จัก Police I Lert U และการสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U ผลการศึกษาพบว่าประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อแอพพลิเคชั่น Police I Lert U สามารถช่วยให้การแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และช่วยลดการสูญเสียจากอาชญากรรมได้ ปัญหาและอุปสรรคของประชาชนในการเข้าถึงการตัดสินใจใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U โดยภาพรวมส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้จักแอพพลิเคชั่น Police I Lert U จึงทำให้ไม่มั่นใจในการตัดสินใจใช้งานในด้านปัญหาและอุปสรรคของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U ผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในระดับมากในทุกประเด็นยกเว้นประเด็นที่แอพพลิเชั่น Police I Lert U ช่วยลดการเกิดอาชญากรรมกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ผู้ให้ข้อมูลมีความเห็นว่า มีความยากในการเข้าถึงในระดับน้อย ขั้นตอนในการลงทะเบียนการใช้งานมีความยุ่งยากในระดับน้อย มีความรู้สึกถึงการกระทบสิทธิส่วนบุคคลในการให้ข้อมูลในระดับน้อย ผู้ให้ข้อมูลรู้สึกหวาดกลัวการถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลในระดับน้อย และกลัวข้อมูลการแจ้งเหตุรั่วไหลไปยังคนร้ายในระดับน้อย แนวทางการพัฒนาแอพพลิเคชั่น ควรมีปุ่มยืนยันการแจ้งเหตุ ควรมีปุ่มยกเลิกการแจ้งเหตุ และควรมีหมายเลขโทรศัพท์ของสถานีตำรวจในพื้นที่ปรากฏบนแอพพลิเคชั่น Police I Lert U ส่วนแนวทางการพัฒนาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรมีบริการอื่นเสริม ข้อมูลที่รับแจ้งควรนำไปวิเคราะห์พัฒนาเพิ่มเติม และนำเสนออาชญากรรมที่เกิดขึ้นในท้องที่ได้


พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550: จากเจตนารมณ์สู่การปฏิบัติ, ฐานา วิบูลย์ภาณุเวช Jan 2019

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550: จากเจตนารมณ์สู่การปฏิบัติ, ฐานา วิบูลย์ภาณุเวช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและสถานการณ์ของสตรีที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว หลังจากที่มีการนำพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ไปบังคับใช้ 2) เพื่อศึกษาแนวคิด ที่มา เจตนารมณ์และกระบวนการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 โดยศึกษาเปรียบเทียบจากปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรี (Declaration on the Elimination of Violence Against Women) 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และผลกระทบต่อหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย สตรีที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรง และผลกระทบต่อสังคม ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 และ 4) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของกระบวนการออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงพัฒนากระบวนการออกกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อเสริมพลังสตรีที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรง โดยผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interviews) เพื่อรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าเจตนารมณ์ในการออกกฎหมายคือ 1) เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐและประชาชนเข้ามามีส่วนในการรักษาสิทธิต่อเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวได้รับความคุ้มครองจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม 2) เพื่อใช้กฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวแทนการใช้กฎหมายอาญา กรณีการกระทำความรุนแรงในครอบครัว 3) เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด และปกป้องคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง 4) เพื่อรักษาสถานภาพความเป็นครอบครัว เมื่อนำพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ไปใช้บังคับ พบว่ามีปัญหาหลัก 5 ประการ ดังนี้ 1) ในมาตรา 5 ต้องให้มีการร้องทุกข์ให้เป็นคดีก่อนแล้วจึงมีกลไกในการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว การฟื้นฟูและปรับปรุงพฤติกรรม 2) เปิดโอกาสให้ยอมความได้ในทุกชั้นของกระบวนการยุติธรรม 3) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ประสานกันระหว่างหน่วยงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก 4) ความไม่รู้กฎหมายของประชาชน และ 5) มีงบประมาณไม่เพียงพอสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการ สิ่งเหล่านี้ควรเร่งแก้ไขปรับปรุงให้กฎหมายมีความชัดเจน สร้างแนวทางการปฏิบัติงานให้เจ้าหน้าที่ ตลอดจนสร้างความรู้เรื่องกฎหมายให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงได้เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงสามารถใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อปกป้องสิทธิของตนเองได้