Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences

2017

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 56

Full-Text Articles in Entire DC Network

Effectiveness Of A Personally-Tailored Oral Care Program On Improving Periodontal Status Among Thai Persons With Physical Disabilities In Pathum Thani Province, Thailand, Nithimar Sermsuti-Anuwat Jan 2017

Effectiveness Of A Personally-Tailored Oral Care Program On Improving Periodontal Status Among Thai Persons With Physical Disabilities In Pathum Thani Province, Thailand, Nithimar Sermsuti-Anuwat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this study was to develop and evaluate the Personally-Tailored Oral Care Program on improving periodontal status among Thai persons with physical disabilities. This quasi-experimental study was conducted at Independent Living Center, a community club for persons with disabilities in Pathum Thani province, Thailand from February to May 2018. Total of 80 members who registered in Ladlumkaeo district (control) and Thanyaburi district (intervention), Pathum Thani Province were included (each group comprising 40 participants). Data were analyzed by using Chi-square test, t-test and repeated measures analysis of variance. The results, there were strongly significant difference in bleeding on probing …


การคืนกลับแร่ธาตุบนรอยผุจำลองระยะแรกที่ผิวเคลือบฟันที่ได้รับการเคลือบด้วยวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันต่างชนิด: การศึกษาในช่องปาก, วิชชุดา ผดุงลาภพิสิฐ Jan 2017

การคืนกลับแร่ธาตุบนรอยผุจำลองระยะแรกที่ผิวเคลือบฟันที่ได้รับการเคลือบด้วยวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันต่างชนิด: การศึกษาในช่องปาก, วิชชุดา ผดุงลาภพิสิฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาในช่องปากร่วมกับห้องปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการคืนกลับแร่ธาตุของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันต่างชนิด บนรอยผุจำลองระยะแรกที่ผิวด้านเรียบของฟัน โดยตัดชิ้นฟันจากด้านประชิดของฟันกรามน้อยจำนวน 24 ซี่ จำนวน 3 ชิ้นต่อซี่ ทำให้เกิดรอยผุจำลองระยะแรกบริเวณผิวเคลือบฟัน แบ่งชิ้นฟันเป็น 3 หน้าต่าง ได้แก่ หน้าต่างทดลอง หน้าต่างรอยผุจำลองระยะแรกก่อนการทดลอง และหน้าต่างควบคุมที่ไม่ได้เคลือบวัสดุ บริเวณหน้าต่างทดลองจะถูกเคลือบด้วยวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันเรซินที่มีฟลูออไรด์ (เดลตัน-เอฟเอสพลัส) หรือวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันเรซินที่ไม่มีฟลูออไรด์ (เดลตัน) หรือกลาสไอโอโนเมอร์ (ฟูจิเซเว่น) ติดชิ้นฟันบนแบร็กเกตที่ยึดกับแถบรัดจัดฟัน และสุ่มชิ้นฟันตัวอย่างติดบนฟันกรามแท้บนซี่ที่หนึ่งทั้งสองข้างของอาสาสมัครจำนวน 24 คน เป็นระยะเวลา 28 วัน มีช่วงพักการทดลอง 7 วัน หลังจากนั้นใช้ชิ้นฟันตัวอย่างที่เหลือติดในการทดลองช่วงที่ 2 ก่อนการทดลอง 7 วันจนสิ้นสุดการทดลองอาสาสมัครใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ วันละ 2 ครั้ง วัดค่าความหนาแน่นแร่ธาตุทั้ง 3 หน้าต่าง ด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตตโทโมกราฟี ภายหลังการทดลอง พบว่าวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันทั้ง 3 ชนิด เดลตัน เดลตัน-เอฟเอสพลัส และฟูจิเซเว่น มีค่าความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.018 และ p=0.001 และ p=0.000 ตามลำดับ) และเดลตัน-เอฟเอสพลัสกับฟูจิเซเว่นมีค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุมในช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.003 และ p=0.001 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มที่เคลือบด้วยฟูจิเซเว่น มีค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยสูงสุด และมีค่ามากกว่าเดลตันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.01) อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มฟูจิเซเว่นกับเดลตัน-เอฟเอสพลัส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.625) จึงสรุปได้ว่า การเคลือบหลุมร่องฟันสามารถเพิ่มการคืนกลับแร่ธาตุให้กับรอยผุได้ โดยวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันกลาสไอโอโนเมอร์ สามารถเพิ่มการคืนกลับแร่ธาตุได้ดีกว่าวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดเรซินที่มีและไม่มีฟลูออไรด์ ตามลำดับ


Induction Of S100a7 Expression From Mechanical Stress-Induced Human Dental Pulp Cells And Its Effect On Osteoclastogenesis, Hataichanok Charoenpong Jan 2017

Induction Of S100a7 Expression From Mechanical Stress-Induced Human Dental Pulp Cells And Its Effect On Osteoclastogenesis, Hataichanok Charoenpong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Mechanical injuries of dental pulp tissues could lead to root resorption by osteoclast/odontoclast. S100A7 has been demonstrated to involve in inflammatory processes and potentially involved in bone destruction. However, the roles of S100A7 in dental pulp have not been reported. Therefore, this this study aimed to investigate the effect of mechanical stress on S100A7 expression in human dental pulp cells (hDPCs) and to investigate the effect of S100A7 protein on osteoclast differentiation. HDPCs were stimulated with in vitro compressive loading. Cell viability was determined using MTT assay. Real-time PCR (qPCR) and ELISA were utilized to determine the mRNA and protein …


Cd103+ Tissue Resident Memory T Cells In Oral Lichen Planus, Phisut Amnuaiphanit Jan 2017

Cd103+ Tissue Resident Memory T Cells In Oral Lichen Planus, Phisut Amnuaiphanit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Oral lichen planus (OLP) is a chronic inflammatory disease that results from a disorder of infiltrating T cells. Tissue resident memory T cells (TRM cells) are CD103-expressing T cells that persist within previously inflamed oral mucosa in the long term to provide locally rapid defensive responses against encountered pathogens. They are also speculated to be associated with some diseases including OLP. This study aimed to determine the number and the proportion of CD103+ TRM cells in the OLP lesions as compared to the normal mucosa. Immunohistochemical study of CD3+, CD4+, CD8+ and CD103+ cells in 15 OLP tissues and 15 …


Development Of In Situ Gel For Artificial Saliva And Satisfaction Study, Rawi Tishyadhigama Jan 2017

Development Of In Situ Gel For Artificial Saliva And Satisfaction Study, Rawi Tishyadhigama

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Xerostomia, the subjective complaint about the dry mouth, may lead to the difficulty in daily living including speaking, swallowing, taste acuity and sleeping. Patients are often advised to drink water or chew ice to moisturize the oral cavity and also recommended to use stimulant or saliva substitute, such as sour candies, chewing gum and artificial saliva. In Thailand, there is no artificial saliva products available in the market and this makes it difficult to access the artificial saliva. Hence, artificial saliva have been developed in the form of solution in many hospitals to dispense for xerostomia patients in the hospitals. …


วิธีการเคลือบฟลูออไรด์เจลเฉพาะที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นทางเลือกในการเคลือบด้วยถาดเคลือบ, กมลวรรณ ศรีวงษ์ชัย Jan 2017

วิธีการเคลือบฟลูออไรด์เจลเฉพาะที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นทางเลือกในการเคลือบด้วยถาดเคลือบ, กมลวรรณ ศรีวงษ์ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาทางเลือกสำหรับการเคลือบฟลูออไรด์เจลเฉพาะที่ ด้วยการเปรียบเทียบวิธีการทาบนตัวฟันด้วยพู่กัน (Paint on) กับวิธีถาดเคลือบ (tray) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยศึกษาประสิทธิภาพของปริมาณฟลูออไรด์ที่คงค้างอยู่ในน้ำลาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางคลินิกแบบไขว้ ใช้อาสาสมัครจำนวน 19 คนที่มีช่วงอายุ 12-15 ปี ทำการเก็บน้ำลายชนิดไม่กระตุ้นก่อนและหลังการเคลือบฟลูออไรด์เจล ที่ 0, 5, 10, 20, 30 และ 60 นาที ระยะพัก (washout) 7 วัน วัดความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในน้ำลายด้วยฟลูออไรด์อิเลคโทรด ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณฟลูออไรด์เจลที่เหมาะสมในวิธีการทาบนตัวฟัน คือ ปริมาตร 0.4 มิลลิลิตรซึ่งน้อยกว่าวิธีถาดเคลือบถึง 12.5 เท่า ผลของฟลูออไรด์ในน้ำลายและฟลูออไรด์ในช่องปากจากวิธีการทาบนตัวฟันมีปริมาณมากกว่าวิธีถาดเคลือบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F= 113.458, p= .0001, t = 7.695, p= .0001 ตามลำดับ) อัตราการไหลของน้ำลายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=.121, p=.732 และค่าครึ่งชีวิต (t half-life) ของฟลูออไรด์ในน้ำลายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 3.505, p= .003) แม้ว่าวิธีการทาจะมีค่าครึ่งชีวิตสั้นกว่าแต่ความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในน้ำลายมีค่าสูงกว่าวิธีถาดเคลือบทุกช่วงเวลาที่วัด สรุปได้ว่าการเคลือบฟลูออไรด์เจลด้วยวิธีการทาบนตัวฟันโดยใช้พู่กัน เป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเคลือบฟลูออไรด์เจลเฉพาะที่โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคฟันผุสูงและไม่สามารถควบคุมการกลืนได้ นอกจากนี้ยังประหยัดทรัพยากร สะดวกในการบริหารจัดการ และอุปกรณ์หาได้ง่าย


ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของภาวะโภชนาการในผู้ป่วยโรคมะเร็งซึ่งได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด, จินนี่ เตโชนิมิต Jan 2017

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของภาวะโภชนาการในผู้ป่วยโรคมะเร็งซึ่งได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด, จินนี่ เตโชนิมิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเลวลงของภาวะโภชนาการและการลดลงของน้ำหนักตัวในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด รวมถึงศึกษาความเสี่ยงของการปรับลดขนาดยาและ/หรือเลื่อนการให้ยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยที่มีการเลวลงของภาวะโภชนาการภายหลังการให้ยาเคมีบำบัด โดยศึกษา ณ ศูนย์ให้ยาเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างเดือนมกราคมถึงตุลาคม 2560 ประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโดยใช้แบบประเมิน Subjective Global Assessment (SGA) จากผู้ป่วย 171 ราย พบผู้ป่วยที่มีการเลวลงของภาวะโภชนาการ 22 ราย (ร้อยละ 12.9) และผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวลดลงมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 5 จำนวน 13 ราย (ร้อยละ 7.6) ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบพหุคูณพบว่า การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารที่รุนแรง (OR, 8.73; 95% CI, 2.35-32.46; p=0.001) และการแพร่กระจายของโรคไปอวัยวะอื่น มีความสัมพันธ์กับการเลวลงของภาวะโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายของโรคไปอวัยวะอื่น (M1) หรือไม่สามารถประเมินการแพร่กระจายได้ (Mx) มีความเสี่ยงมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่พบการแพร่กระจายของโรค (M0) (OR, 5.34; 95% CI, 1.15-24.79; p=0.033 และ OR, 5.78; 95% CI, 1.10-30.37; p=0.038 ตามลำดับ) นอกจากนี้ ทั้งสองปัจจัยดังกล่าวยังเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการลดลงของน้ำหนักตัวมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 5 ภายหลังการให้ยาเคมีบำบัดอีกด้วย การศึกษาครั้งนี้ไม่พบความสัมพันธ์ของการเลวลงของภาวะโภชนาการกับการปรับลดขนาดยาและ/หรือเลื่อนการให้ยาเคมีบำบัด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการก่อนได้รับยาเคมีบำบัดมีความเสี่ยงที่จะปรับลดขนาดยาและ/หรือเลื่อนการให้ยามากกว่าผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการติดตามและดูแลด้านโภชนาการอย่างใกล้ชิดในระหว่างการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด


A Comparison Of Taper-Implant Designs And Bone Quality On The Primary Stability: An In Vitro Biomechanical Study, Ratchaya Chayangsu Jan 2017

A Comparison Of Taper-Implant Designs And Bone Quality On The Primary Stability: An In Vitro Biomechanical Study, Ratchaya Chayangsu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective To investigate the effect of the taper-implant design and the effect of bone quality on the primary stability in terms of insertion torque test, removal torque test and resonance frequency analysis. Methods Five taper-implant designs were test in artificial bone blocks with four qualities. Five repetitions per implant design were placed in each bone quality started from softest bone block. The implant motor was used to prepared the osteotomy sites and implant insertion according to manufacturers' recommendation. Peak insertion torque values were measured and recorded by implant motor when the platform of the implant flush to the bone level. …


The Longevity Of Ceramic Veneers: Clinical Evaluation Of Mechanical, Biological, And Esthetic Performances Of Ceramic Veneers Up To 7-Years Retrospective Study, Rapeepan Monaraks Jan 2017

The Longevity Of Ceramic Veneers: Clinical Evaluation Of Mechanical, Biological, And Esthetic Performances Of Ceramic Veneers Up To 7-Years Retrospective Study, Rapeepan Monaraks

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purpose: To evaluate the longevity and mechanical, biological and aesthetic performance of ceramic veneers placed after 5 to 7 years in service. Materials and Methods: Ceramic veneer restorations were clinically examined following modified from the United States Public Health Service (USPHS) and World Dental Federation (FDI) criteria. Clinical evaluation was performed by two clinicians regarding mechanical, biological and aesthetic performances during maintenance appointments between September 2016 and August 2017. Intra-examiner and inter-examiner reliability were evaluated by calculating the intraclass correlation coefficient and inter-examiner calibration. The results were analysed by Kaplan-Meier survival estimation method and log-rank test at a 95% confidence …


ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยหญิงที่มารับการรักษา ณ คลินิกมีบุตรยาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, สุธาสินี วิมลนิตย์ Jan 2017

ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยหญิงที่มารับการรักษา ณ คลินิกมีบุตรยาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, สุธาสินี วิมลนิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยหญิงที่มารับการรักษา ณ คลินิกมีบุตรยาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยหญิงที่มารับการรักษา ณ คลินิกมีบุตรยากจำนวน 111 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งประกอบ ด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยของภาวะมีบุตรยาก แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า ของ Beck Depression Inventory - IA (BDI-IA) แบบวัดสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส ของ The Spinner Dyadic Adjustment Scale (DAS) แบบสอบถามความรู้สึกหลากหลายมิติเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางสังคม ของ A revised Thai version of Multidimentional Scale of Perceived Social Support (r-T-MSPSS) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ Univariate analysis (ได้แก่ t-test และ Chi-Square) เพื่อทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า และใช้ Multivariate Analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้หญิงกลุ่มนี้ ผลการศึกษาพบความชุกของภาวะซึมเศร้าอยู่ที่ ร้อยละ 21.6 โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าเมื่อวิเคราะห์โดยวิธี Multivariate analysis 4 ปัจจัย ได้แก่ ความไม่เพียงพอของรายได้ การมีประวัติแท้งบุตร สาเหตุการมีบุตรยากจากการมีพังผืดในอุ้งเชิงกราน และการมีแรงสนับสนุนทางสังคมระดับต่ำ


Prevalence Of Chronic Temporomandibular Disorder Pain And Comorbidities In A Group Of Thai Patient: A Cross Sectional Study, Tra Thu Nguyen Jan 2017

Prevalence Of Chronic Temporomandibular Disorder Pain And Comorbidities In A Group Of Thai Patient: A Cross Sectional Study, Tra Thu Nguyen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objectives: 1. to investigate the prevalence of chronic temporomandibular disorder (TMD) and its comorbidities in a group of Thai patients; 2. to evaluate the relationship between pain parameters (pain duration, pain intensity, and pain frequency) with the number of comorbidities and widespread pain index (WPI); 3. to assess the relationship between the presence of chronic pain with familial history in TMD pain patients. Methods: A cross-sectional study was undertaken of 351 outpatients. Patients were given an interviewer-administered questionnaire which contained four parts (demographic data, pain parameters, WPI and comorbidities diagnosis). Diagnosis was made in accordance with Diagnostic Criteria for Temporomandibular …


Comparison Of The Accuracy Of Surgical Guided Template Produced From Intraoral Scan Technique And Model Scan Technique For Implantation Using Computer Assisted Implant Surgery, Prudsaporn Kiatkroekkrai Jan 2017

Comparison Of The Accuracy Of Surgical Guided Template Produced From Intraoral Scan Technique And Model Scan Technique For Implantation Using Computer Assisted Implant Surgery, Prudsaporn Kiatkroekkrai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objectives: To compare the accuracy of implant position placed by CAIS technique using surgical guided template produced by intraoral scan and model scan. Materials and methods: Patients who needed single tooth implant restoration were enrolled in this study and devided into two groups randomly according to the surface scan technique (n=30 each group). Intraoral scans were done using the Trios Scanner (3shape). While, diagnostic casts were scanned by D900L lab scanner (3shape). The templates were design by the clinician using coDiagnostiX software (Dental Wings Inc.). Implant surgery were performed according to fully CAIS protocol. CoDiagnostiX software was used to compare …


The Application Of Prostacyclin In Promoting Angiogenesis Of Dental Pulp Tissue In A Three Dimensional Organ Culture System, Sonntana Seang Jan 2017

The Application Of Prostacyclin In Promoting Angiogenesis Of Dental Pulp Tissue In A Three Dimensional Organ Culture System, Sonntana Seang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Dental pulp vitality can be threatened by carious or iatrogenic exposure that can lead to pulp tissue loss. The formation of a vascular network is crucial to provide a suitable environment for tissue regeneration. Thus, promoting angiogenesis is essential for successful pulpal repair in regenerative endodontics therapy. Iloprost, a prostacyclin analog, promotes vascularization in several organs such as, heart, lung, and corneal. Previously, it has been demonstrated that, iloprost induced pulpal blood flow and enhanced dentin formation in a rat mechanical pulp exposure model. However, the angiogenic effect of iloprost on the human dental pulp vasculature remains unknown. Objective: …


Associated Factors Of Hepatitis C Infection In Pregnantwomen At Outpatient Department Of Peoples Medical University And Hospital District Shaeed Benazir Abadsindh Province Pakistan, Akhlaque Hussain Jan 2017

Associated Factors Of Hepatitis C Infection In Pregnantwomen At Outpatient Department Of Peoples Medical University And Hospital District Shaeed Benazir Abadsindh Province Pakistan, Akhlaque Hussain

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purpose: The prevalence of hepatitis C is 3% of the world population with more the 3 million new cases are being reported, In Pakistan, the prevalence of hepatitis C virus Infection ranges from 8%-15% in the general population. In Pakistan about 13 million people are infected. Prevalence of hepatitis C in pregnancy has been studied across Pakistan and is reported with the range of 3.27%-8.9%. Methods: A descriptive cross sectional study was conducted between may to June 2018. in people's medical university at outpatient Department of gynaecology and obstetrics in district shaheed Benazir abad Sindh Pakistan. All pregnant Patient age …


A Randomized Controlled Trial On The Effectiveness Of Court-Type Traditional Thai Massage Versus Topical Diclofenac To Treat Frozen Shoulder, Puangpaka Tankitjanon Jan 2017

A Randomized Controlled Trial On The Effectiveness Of Court-Type Traditional Thai Massage Versus Topical Diclofenac To Treat Frozen Shoulder, Puangpaka Tankitjanon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aims to evaluate the effectiveness of the court-type traditional Thai massage (CTTM) in treating patients suffering from frozen shoulder in comparison with topical diclofenac (TD). A randomized controlled trial was conducted at the Thai Traditional Medical Service Center, Sukhothai Thammatirat University, Nonthaburi province. The participants of idiopathic frozen shoulder were diagnosed by the orthopedic doctor. Sixty female patients aged were randomly assigned to receive CTTM (treatment group, n=30) and TD (control group, n=30). CTTM was performed for 12 sessions during a 1-6 week period, and followed up at week 8th, 10th. TD was administered 5 g three times …


Immunohistochemical Assessment Of The Peri-Implant Soft Tissues Around Different Abutment Materials : An Experimental Study In Human, Sirikarn Thongmeearkom Jan 2017

Immunohistochemical Assessment Of The Peri-Implant Soft Tissues Around Different Abutment Materials : An Experimental Study In Human, Sirikarn Thongmeearkom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective To evaluate the effect of 4 different types of abutment material, which are titanium, zirconium oxide, gold alloy, and zirconia-coping cemented on titanium-base, on the surrounding soft tissues. Material and Methods Twenty dental implants in posterior edentulous area were randomly divided into 4 groups and inserted 4 types of abutment materials; Titanium, zirconia, gold-alloy, and titanium-base, on the implant installation surgery day. Eight weeks after implant surgery, peri-implant soft tissues around experimental abutments were harvested and split according to implant side; buccal, lingual, mesial, and distal. The specimens were processed through immunohistochemical preparation and stained with CD3, CD20, CD68, …


Subjective And Objective Outcomes On Denture Adhesive Usage Among Complete Denture Wearers, Budsara Thongyoi Jan 2017

Subjective And Objective Outcomes On Denture Adhesive Usage Among Complete Denture Wearers, Budsara Thongyoi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The propose of this clinical study was to evaluate the subjective and objective assessment factors affecting decision of complete denture wearers to use or not use denture adhesive. Sixty-six fully edentulous using upper and lower conventional complete dentures (aged 53 to 83 years) were recruited in this study. (1) Condition of denture-supporting tissue (ACP classification), (2) denture quality (CU-modified kapur criteria), (3) patients' satisfaction in prostheses and (4) oral impact on daily performances (OIDP) were evaluated as baseline (T0). All participants were assigned to use denture adhesive (Polident®, Ireland) for 1 month period and made decision by themselves to continue …


ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อภาวะน้ำลายแห้งในผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสี, รุ่งนภา บุญมี Jan 2017

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อภาวะน้ำลายแห้งในผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสี, รุ่งนภา บุญมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบ Follow up study กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสี แผนกผู้ป่วยนอกรังสีรักษา โรงพยาบาลราชวิถี แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน ได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินภาวะน้ำลายแห้ง โดยมีค่าสัมประสิทธ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Independent T-test และสถิติ Repeated measures ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรงของภาวะน้ำลายแห้งโดยรวมรายข้อของกลุ่มควบคุมเท่ากับ 5.45 ค่าเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรงของภาวะน้ำลายแห้งโดยรวมรายข้อของกลุ่มทดลองเท่ากับ 1.03 และความรุนแรงของภาวะน้ำลายแห้งของผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสีกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05)


ผลแบบทันทีของการรักษาด้วยเลเซอร์ความยาวคลื่นผสม 808 และ 905 นาโนเมตรต่อหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยวเฉียบพลัน: การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม, ธนธรณ์ พินธุโสภณ Jan 2017

ผลแบบทันทีของการรักษาด้วยเลเซอร์ความยาวคลื่นผสม 808 และ 905 นาโนเมตรต่อหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยวเฉียบพลัน: การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม, ธนธรณ์ พินธุโสภณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลแบบทันทีของการรักษาด้วยเลเซอร์ความยาวคลื่นผสม 808 และ 905 นาโนเมตรในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยวแบบเฉียบพลันในเพศหญิงโดยใช้การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ทำการศึกษาในผู้ป่วยหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยวจำนวน 42 คน โดยสุ่มออกเป็น กลุ่มทดลอง 21 คนและกลุ่มควบคุม 21 คน ทำการวัดผลก่อนการรักษา หลังการรักษารวมทั้ง 1สัปดาห์หลังการรักษา วัดผลโดยมาตรวัดระดับความเจ็บปวดด้วยสายตา (VAS) ค่าแรงกดที่น้อยที่สุดที่ทำให้เริ่มรู้สึกเจ็บ (PPT) และระยะอ้าปากกว้างสุด (MMO) ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้การทดสอบสถิติแมนวิทนีย์ยู ผลการวิจัยพบว่าเมื่อเปรียบเทียบค่า VAS ของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมกลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานก่อน,หลัง และ 1 สัปดาห์หลังการรักษา ดังต่อไปนี้ 54.00(41.75-70.50), 35.00(22.00-61.00) และ 9.00(2.00-31.00) กลุ่มควบคุม 61.00(43.50-74.00), 51.00(37.00-65.50) และ 26.50(13.00-49.00) ค่า PPT ของกลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานก่อน,หลัง และ 1 สัปดาห์หลังการรักษา ดังต่อไปนี้ 55.00(35.25-75.50 กิโลปาสคาล), 62.50(43.25-78.00 กิโลปาสคาล) และ 64.00(49.00-84.00 กิโลปาสคาล) กลุ่มควบคุม 55.00(35.00-80.75 กิโลปาสคาล), 49.00(41.25-77.25 กิโลปาสคาล) และ 63.00 (51.50-82.50 กิโลปาสคาล) ค่า MMO ของกลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานก่อน,หลังและ 1 สัปดาห์หลังการรักษา ดังต่อไปนี้ 40.00(33.00-43.50 มิลลิเมตร), 40.00(35.00-43.50 มิลลิเมตร) และ 40.00(37.00-43.00 มิลลิเมตร) กลุ่มควบคุม 42.00(32.00-45.00 มิลลิเมตร), 42.00 (31.50-45.00 มิลลิเมตร) และ 42.00 (34.00-45.00 มิลลิเมตร) ผลพบว่า VAS,PPT และ MMO หลังการรักษาและ 1 สัปดาห์หลังการรักษาไม่แตกต่างกับก่อนการรักษาอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.159, 0.070, 0.365, 0.930, 0.422 และ 0.278 …


ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความแข็งเหนียวของอาหารไทยจากความรู้สึกกับค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, ธนพร โสวิทยสกุล Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความแข็งเหนียวของอาหารไทยจากความรู้สึกกับค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, ธนพร โสวิทยสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความแข็งเหนียวของอาหารไทยจากความรู้สึกโดยใช้แบบสอบถามเทียบกับการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว เมื่อพิจารณาค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ในกลุ่มตัวอย่างเพศชายและหญิง อายุ 18-25 ปีของประเทศไทยที่สุขภาพดี ไม่มีปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร จำนวน 32 คน อาหารไทยที่มีความแข็งเหนียวแตกต่างกัน 5 ชนิด จะถูกทดสอบค่าแรงกดอาหารด้วยเครื่องทดสอบแรงกด แล้วหลังจากนั้นจึงให้กลุ่มตัวอย่างประเมินระดับความแข็งเหนียวของอาหารเหล่านี้ด้วยแบบสอบถามมาตรวัดด้วยสายตา (วีเอเอส) เทียบกับการบันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อบดเคี้ยว ผลการศึกษาพบว่าทั้งคะแนนความแข็งและความเหนียวของอาหารจากแบบสอบถาม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับค่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อบดเคี้ยวทุกๆ พารามิเตอร์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน อยู่ระหว่าง 0.224-0.384) นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบความสัมพันธ์ในระดับสูงระหว่างค่าแรงกดและคะแนนความแข็งของอาหารจากแบบสอบถาม (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันมีค่าเท่ากับ 0.750) โดยสรุปแล้วผู้วิจัยพบความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบอาหารด้วยแบบสอบถามกับการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวในระดับต่ำถึงปานกลาง อาจเนื่องมาจากกล้ามเนื้อบดเคี้ยวมีการปรับตัวที่ดีต่อความแข็งเหนียวของอาหาร การใช้แบบสอบถามมาตรวัดด้วยสายตาในการประเมินระดับความแข็งเหนียวของอาหาร จึงบ่งบอกถึงการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวได้ในระดับหนึ่ง


ผลของการปรับสกรูขยายในส่วนล็อกของเครื่องมือยื่นขากรรไกรล่างชนิดปรับได้แบบใหม่ : การทดสอบจำลองแรงดึง, อุทัย อุมา Jan 2017

ผลของการปรับสกรูขยายในส่วนล็อกของเครื่องมือยื่นขากรรไกรล่างชนิดปรับได้แบบใหม่ : การทดสอบจำลองแรงดึง, อุทัย อุมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบแรงดึงสูงสุดแนวดิ่งและแนวราบของส่วนล็อกในเครื่องมือยื่นขากรรไกรล่างชนิดปรับได้แบบใหม่ วัสดุและวิธีการ: ​ชิ้นงานจำนวน 20 คู่ ซึ่งแต่ละคู่ประกอบด้วยชิ้นงานล่างและชิ้นงานบนที่มีสกรูขยาย ถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม (กลุ่มละ 5 คู่ชิ้นงาน) คือ 1) ชิ้นงานไม่ปรับสกรูขยายสำหรับทดสอบแรงดึงแนวดิ่ง 2) ชิ้นงานปรับสกรูขยาย 5 มิลลิเมตรสำหรับทดสอบแรงดึงแนวดิ่ง 3) ชิ้นงานไม่ปรับสกรูขยายสำหรับทดสอบแรงดึงแนวราบ และ 4) ชิ้นงานปรับสกรูขยาย 5 มิลลิเมตรสำหรับทดสอบแรงดึงแนวราบ ชิ้นงานถูกทดสอบด้วยแรงดึงต่อเนื่องในแนวดิ่งหรือแนวราบจนกว่าชิ้นงานแตกหักหรือลื่นไถลออกจากกัน สาเหตุหยุดทดสอบในแต่ละชิ้นงานถูกประเมินด้วยเช่นกัน ผลการศึกษา: ​ ค่าเฉลี่ยแรงดึงสูงสุดแนวดิ่งของชิ้นงานในกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 คือ 267.31 ± 13.26 นิวตัน และ 262.70 ± 11.68 นิวตัน ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.576) ค่าเฉลี่ยแรงดึงสูงสุดแนวราบของชิ้นงานในกลุ่ม 3 และกลุ่ม 4 คือ 476.11 ± 100.08 นิวตัน และ 449.17 ± 95.87 นิวตัน ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.576) สาเหตุหยุดทดสอบมี 3 รูปแบบ คือ ชิ้นงานบนบิดเบี้ยว ชิ้นงานบนแตกหัก และชิ้นงานล่างแตกหัก สรุปผล: ค่าแรงดึงสูงสุดนี้ไม่ได้รับผลกระทบจากการขยายสกรูขยาย และค่าเฉลี่ยแรงดึงสูงสุดของเครื่องมือแบบใหม่จากการทดสอบชิ้นงานนี้ก็มีค่ามากกว่าแรงอ้าปากสูงสุดและแรงดึงกลับของขากรรไกรล่างในทางคลินิกอีกด้วย


อิทธิพลของการผนึกเนื้อฟันทันทีด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ที่มีผลต่อการบ่มตัวของวัสดุพิมพ์ฟัน, เอกลักษณ์ หวังหงส์หิรัญ Jan 2017

อิทธิพลของการผนึกเนื้อฟันทันทีด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ที่มีผลต่อการบ่มตัวของวัสดุพิมพ์ฟัน, เอกลักษณ์ หวังหงส์หิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารยึดติดที่ใช้ผนึกเนื้อฟันต่อการก่อตัวของวัสดุพิมพ์ฟัน วัสดุและวิธีการ ฟันกรามใหญ่ของมนุษย์ที่ปราศจากรอยผุ จำนวน ๒๒๕ ซี่ ฝังในท่อพลาสติกด้วยอะคริลิก โดยให้ตัวฟันโผล่ขึ้นมา ตัดด้านบดเคี้ยวออกในแนวตั้งฉากกับแกนฟันด้วยเครื่องตัดความเร็วต่ำจนเนื้อฟันเผยออก แบ่งฟันเป็น ๔ กลุ่ม กลุ่มละ ๕๕ ซี่ ตามชนิดของสารยึดติดที่ใช้ผนึกเนื้อฟัน ได้แก่ กลุ่มที่ ๑.ฟันที่เคลือบด้วยด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ซีโนไฟฟ์พลัสและซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์ซอลในสภาวะออกซิเจน กลุ่มที่ ๒.เนื้อฟันที่เคลือบสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ทั้งสองชนิดอยู่ในสภาวะก๊าซไนโตรเจน กลุ่มที่ ๓.เนื้อฟันที่ไม่มีการเคลือบด้วยสารใด ๆ และกลุ่มที่ ๔.ฟันที่เคลือบด้วยสารยึดติดทั้งสองชนิดแล้วถูกเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ โดยหลังทาด้วยสารยึดติดจะทำการบ่มด้วยแสง ที่ตามองเห็นจากเครื่องฉายแสง จากนั้นปิดทับด้วยวัสดุพิมพ์พอลิไวนิลไซลอกเซนกลุ่มละ ๑๐ ซี่ เมื่อปล่อยให้วัสดุพิมพ์ก่อตัว ๖ นาที นำวัสดุพิมพ์ออกเพื่อตรวจสอบการก่อตัวที่ผิวหน้าด้วยตาเปล่าและด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ จากนั้นทดสอบด้วยวัสดุพิมพ์พอลิอีเทอร์โดยวิธีเดียวกัน นำส่วนชิ้นทดสอบที่เหลืออีกกลุ่มละ ๑๐ ชิ้น วัดค่าความเป็นกรดด่าง และอีกกลุ่มละ ๕ ชิ้น ไปวิเคราะห์หาธาตุที่ผิวหน้าด้วยกล้องอิเล็กตรอนส่องกราดฟังก์ชั่นอีดีเอ็มเอ็กซ์ ผลการศึกษา เนื้อฟันที่เคลือบสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ทั้งสองชนิดมีค่าความเป็นกรดด่างใกล้เคียงกัน และร้อยละร้อยของวัสดุพิมพ์ด้านที่สัมผัสกับผิวหน้าของชิ้นทดสอบกลุ่มที่ ๑ และกลุ่มที่ ๒ ที่เคลือบด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ซีโนไฟฟ์พลัสถูกยับยั้งการก่อตัว ขณะที่ผิวหน้าของวัสดุพิมพ์ด้านที่สัมผัสกับผิวหน้าชิ้นทดสอบกลุ่มที่ ๓ และกลุ่มที่ ๔ มีการก่อตัวสมบูรณ์ เมื่อดูด้วยตาเปล่าและด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ ส่วนของการหาธาตุบนผิวฟันของทั้งสามกลุ่ม พบว่าผิวเนื้อฟันที่เคลือบด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ซีโนไฟฟ์พลัสมีองค์ประกอบของธาตุซัลเฟอร์ขณะที่ผิวเนื้อฟันที่เคลือบด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์ซอล และเนื้อฟันที่ไม่มีการเคลือบด้วยสารใด ๆ ไม่พบธาตุดังกล่าว สรุป สารยึดติดเซลฟ์เอทช์ซีโนไฟฟ์พลัสที่ผนึกผิวเนื้อฟันมีผลต่อการบ่มตัวของวัสดุพิมพ์พอลิไวนิลไซลอกเซน
คำสำคัญ: การผนึกเนื้อฟัน สารยึดติด พอลิไวนิลไซลอกเซน


การยึดอยู่ของสะพานฟันรูปแบบใหม่ที่กรอฟันน้อย ภายหลังได้รับแรงกระทำแบบเป็นวัฏจักร, รุจิรา ภัทรทิวานนท์ Jan 2017

การยึดอยู่ของสะพานฟันรูปแบบใหม่ที่กรอฟันน้อย ภายหลังได้รับแรงกระทำแบบเป็นวัฏจักร, รุจิรา ภัทรทิวานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบสะพานฟันที่ยึดด้วยวัสดุเรซินชนิดกรอฟันน้อยในฟันหลังรูปแบบใหม่ โดยเปรียบเทียบการยึดอยู่ระหว่าง 3 รูปแบบที่แตกต่างกันภายหลังได้รับแรงกระทำแบบเป็นวัฏจักร โดยใช้ฟันมนุษย์ที่ได้รับการถอนจำนวน 60 ซี่ เป็นฟันกรามน้อย 30 ซี่ และฟันกรามแท้ 30 ซี่ นำฟันกรามน้อยและฟันกรามแท้อย่างละซี่ยึดเข้ากับอะคริลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยตัวเองที่ระยะห่าง 11 มิลลิเมตรเพื่อจำลองการสูญเสียฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง แบ่งบล็อกฟันออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 10 บล็อก ตามรูปแบบการออกแบบชิ้นงาน โดยกลุ่มที่ 1 ชิ้นงานเป็นส่วนพักนอกตัวฟันด้านบดเคี้ยวที่มีลักษณะเช่นเดียวกับออนเลย์ กลุ่มที่ 2 ชิ้นงานเป็นส่วนพักในตัวฟันด้านประชิดร่วมกับข้อต่อขยับได้ และกลุ่มที่ 3 ชิ้นงานเป็นส่วนพักในตัวฟันด้านประชิดร่วมกับข้อต่อขยับไม่ได้ ชิ้นงานทำด้วยโลหะผสมไร้สกุล ปรับสภาพพื้นผิวด้านในด้วยอะลูมินาขนาด 50 ไมโครเมตร และยึดด้วยเรซินซีเมนต์ชนิดซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี ทดสอบชิ้นตัวอย่างด้วยแรงกดในแนวตรงลงบนฟันหลักทั้ง 2 ซี่และฟันแขวน ด้วยแรงขนาด 50 – 800 นิวตัน ที่ความถี่ 4 รอบต่อวินาที จำนวน 2,500,000 รอบ ภายหลังทดสอบด้วยแรงกด ถ้าชิ้นงานไม่เกิดความล้มเหลวจะนำไปทดสอบด้วยแรงดึงขึ้นในแนวตรงจนกระทั่งเกิดความล้มเหลวของชิ้นงาน และประเมินความล้มเหลวที่เกิดขึ้นว่าเกิดที่ระดับใด ผลการทดสอบพบว่าชิ้นตัวอย่างของทุกกลุ่มอยู่รอดภายหลังทดสอบด้วยแรงกดแบบเป็นวัฏจักร เมื่อทดสอบด้วยแรงดึงพบว่าค่าเฉลี่ยแรงยึดของชิ้นงานทั้ง 3 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยกลุ่มที่ 3 มีค่าแรงยึดสูงที่สุดโดยเฉลี่ย 529.9 ± 86.2 นิวตัน รองลงมาคือกลุ่มที่ 1 ที่มีค่า 396.7 ± 73.2 นิวตัน และกลุ่มที่ 2 มีค่าต่ำที่สุดโดยเฉลี่ย 228.3 ± 52.5 นิวตัน โดยรูปแบบความล้มเหลวของชิ้นงานจะเกิดการหลุดบริเวณรอยต่อระหว่างชิ้นงานและเรซินซีเมนต์และ/หรือภายในเรซินซีเมนต์เป็นส่วนใหญ่ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสะพานฟันหลังชนิดกรอฟันน้อยที่ชิ้นงานมีส่วนพักในตัวฟันด้านประชิดร่วมกับการใช้ข้อต่อขยับไม่ได้อาจส่งผลให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นส่วนพักนอกตัวฟันด้านบดเคี้ยวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับฟันผุด้านประชิดในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี, วันวิสาข์ ไพเราะ Jan 2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับฟันผุด้านประชิดในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี, วันวิสาข์ ไพเราะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับฟันผุด้านประชิด ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในเขตอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี วัสดุและวิธีการ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาชนิดตัดขวางในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 133 คน อายุเฉลี่ย 16.86 ± 0.48 ปี ที่แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ทุกเช้า การศึกษานี้ใช้ฟันผุด้านประชิดที่พบจากภาพรังสีชนิดกัดสบเป็นตัวแปรตาม เก็บข้อมูลความถี่ของการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตระหว่างมื้อจากแบบบันทึกอาหาร 3 วัน ตรวจทางคลินิกเพื่อเก็บข้อมูลฟันผุ รอยฟันผุในระยะเริ่มต้น ดัชนีคราบจุลินทรีย์พีเอชพี และดัชนีการมีเลือดออกจากเหงือกด้วยการตรวจทางคลินิก สัมภาษณ์พฤติกรรมการแปรงฟันก่อนนอน ระดับการศึกษาของมารดา อายุ และเพศ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติก ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีความชุกของฟันผุด้านประชิดร้อยละ 48.12 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติถดถอยโลจิสติก พบว่า ฟันผุด้านประชิดมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับดัชนีคราบจุลินทรีย์พีเอชพี (p = 0.005, OR 2.57) และความถี่ของการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตระหว่างมื้อ (p = 0.034, OR 1.52) ในทางตรงกันข้ามฟันผุด้านประชิดมีความสัมพันธ์ผกผันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับดัชนีการมีเลือดออกจากเหงือก (p = 0.018, OR 0.97) และระดับการศึกษาของมารดาที่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 (p = 0.002, OR 0.24) ส่วนปัจจัยอื่นไม่มีความสัมพันธ์กับฟันผุด้านประชิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป นักเรียนที่มีดัชนีคราบจุลินทรีย์พีเอชพีสูง หรือมีความถี่ของการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตระหว่างมื้อสูง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุด้านประชิดสูง


ช่องว่างของการบูรณะเรซิน คอมโพสิตชนิดบูรณะทั้งก้อนในโพรงฟันชนิดคลาสทู, ชินเดช จิระอานนท์ Jan 2017

ช่องว่างของการบูรณะเรซิน คอมโพสิตชนิดบูรณะทั้งก้อนในโพรงฟันชนิดคลาสทู, ชินเดช จิระอานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินถึงผลของวิธีการบูรณะวัสดุเรซิน คอมโพสิตชนิดบูรณะทั้งก้อนที่มีรูปแบบผลิตภัณฑ์และลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันในโพรงฟันชนิดคลาสทู ต่อช่องว่างที่เกิดขึ้นในการบูรณะ ด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี่ โดยทำการเตรียมโพรงฟันชนิดคลาสทูในฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งทั้งหมด 40 ซี่ และแบ่งตามกลุ่มของการบูรณะเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บูรณะด้วยฟิลเทค บัลค์ฟิลล์ โพสทีเรียแบบหลอด (Filtek Bulk Fill Posterior, Syringes) โดยตักวัสดุใส่โพรงฟันเพียงครั้งเดียว กลุ่มที่ 2 บูรณะด้วยฟิลเทค บัลค์ฟิลล์ โพสทีเรียแบบหลอด (Filtek Bulk Fill Posterior, Syringes) โดยตักวัสดุใส่โพรงฟันสองครั้ง กลุ่มที่ 3 บูรณะด้วยฟิลเทค บัลค์ฟิลล์ โพสทีเรียแบบแคปซูล (Filtek Bulk Fill Posterior, Capsule) โดยฉีดวัสดุเพียงครั้งเดียว และกลุ่มที่ 4 ทำการบูรณะด้วยโซนิคฟิลล์แบบแคปซูล (SonicFill 2, Capsule) โดยฉีดวัสดุเพียงครั้งเดียวจากเครื่องมือฉีดสำหรับวัสดุโซนิคฟิลล์ (SonicFill Handpiece) สารยึดติด OptiBond FL ถูกใช้เตรียมพื้นผิวโพรงฟันก่อนบูรณะ ภายหลังบูรณะเก็บชิ้นตัวอย่างไว้ในตู้ที่มีความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 100 ที่ อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นประเมินร้อยละของช่องว่างที่เกิดขึ้นทั้งหมดภายในโพรงฟันที่บูรณะแล้วด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย One-way ANOVA ร่วมกับ Tukey Post-hoc test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละของช่องว่างในกลุ่มที่ 2 ซึ่งบูรณะด้วยการตักวัสดุสองครั้ง (1.62 %) มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ร้อยละของช่องว่างของกลุ่มที่ 1 ซึ่งตักวัสดุเพียงครั้งเดียวหรือกลุ่มที่ 3 และ 4 ซึ่งฉีดวัสดุใส่โพรงฟันเพียงครั้งเดียวไม่แตกต่างกัน (0.49 %, 0.33 % และ 0.21 % ตามลำดับ) …


Evaluation Of Push Out Bond Strength Of Glass Fiber Post Related With Ultrasonic Irrigation, Nomjit Vidhyaphum Jan 2017

Evaluation Of Push Out Bond Strength Of Glass Fiber Post Related With Ultrasonic Irrigation, Nomjit Vidhyaphum

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective This study compared the bond strength of glass fiber post to dentin using different irrigation methods and solutions and to evaluate the bond strength in different regions of the root. Methods One hundred human anterior maxillary teeth were randomly divided into 10 groups (n=10). Root canal filling and post space preparation were carried out followed by diverse final irrigation techniques. Groups 1 to 3 underwent syringe irrigation, groups 4 to 6 irrigation with ultrasonic instrumentation and groups 7 to 9 passive ultrasonic irrigation. Different irrigant solutions were used in each groups as 2.5% NaOCl (groups 1,4,7), 17% EDTA (groups …


Microleakage Of Enamel Preservation At Gingival Wall Of Class Ii Resin Composite Restorations (Nanofilled Vs Bulk-Fill), Onladda Pisuttiwong Jan 2017

Microleakage Of Enamel Preservation At Gingival Wall Of Class Ii Resin Composite Restorations (Nanofilled Vs Bulk-Fill), Onladda Pisuttiwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objectives. This in vitro study tested the hypothesis that preserving a thin enamel layer at the gingival margin and using bulk-fill resin composites could minimize microleakage of class II resin composite. Materials and Methods. Thirty-six human third molars were randomly divided into three groups of 12 specimens each: Filtek Bulk Fill Posterior Restorative in Capsules (BFC), Filtek Bulk Fill Posterior Restorative in Syringes (BFS) and Filtek Z350 XT (Z350). Teeth were prepared on two sides for a class II cavity (3 mm buccolingually x 2 mm mesiodistally at occlusal and 1.5 mm at coronal x 4 mm of axial depth) …


Effect Of Remineralization On Color Change Of Bleached Tooth, Panita Suttisakpakdee Jan 2017

Effect Of Remineralization On Color Change Of Bleached Tooth, Panita Suttisakpakdee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this in vitro study was to investigate the effect of remineralization and time on the color and microhardness change of teeth bleached using 10% carbamide peroxide (10%CP) or 40% hydrogen peroxide (40%HP). Seventy-two 6x6x2 mm3 enamel slabs were prepared from human premolars. The specimens' color and Vickers' microhardness were recorded at baseline (T0). The specimens were divided into six groups, two groups were treated with 10%CP with or without casein phosphopeptides and amorphous calcium phosphate (CPP-ACP) (10%CP and 10% CP/CPP-ACP, respectively), two groups were treated with 40% HP with or without CPP-ACP (40%HP and 40%HP/CPP-ACP, respectively), one …


The Overall Esthetic Assessment Of Anterior Single-Tooth Implant Restoration: Modified Objective Criteria, Pongsakorn Komutpol Jan 2017

The Overall Esthetic Assessment Of Anterior Single-Tooth Implant Restoration: Modified Objective Criteria, Pongsakorn Komutpol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objectives: The aim of this study was to observe the correlation of esthetic outcomes of single-tooth implant restoration when using Pink Esthetic Score/White Esthetic Score and the new modified assessment (Modified Objective Criteria; MOC) Materials and Methods: This crossectional retrospective study, up to 5 years, recruited 26 patients who single implant in maxillary central incisor area was placed. All the implants were recalled. Demographic data, intraoral photograph, dental model, periapical radiograph and CBCT were taken. One examiner assessed the esthetic outcomes by using PES/WES and MOC (gingiva, prosthesis and bone foundation) with 2 weeks between each evaluation. The score of …


Host Responses In Peri Implant Tissue In Comparison To Periodontal Tissue, Raviporn Madarasmi Jan 2017

Host Responses In Peri Implant Tissue In Comparison To Periodontal Tissue, Raviporn Madarasmi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The host response in peri-implant tissue may differ from that in periodontal tissue in a healthy individual. The purpose of this study is to investigate the expression of inflammatory cytokines in peri-implant crevicular fluid (PICF)from single implant with two different abutment types in comparison to healthy periodontal tissue. Moreover, the effect of these inflammatory cytokines on the expression of FAK and RANKL were also studied. Nineteen participants with healthy implants and teeth were recruited according to the inclusion and exclusion criteria. PICF and gingival crevicular fluid (GCF) was collected using sterile paper points. The expression level of inflammatory cytokines including …