Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 22 of 22

Full-Text Articles in Entire DC Network

The Prosperity Aspect Of Sustainable Agronomy Towards Sustainable Development: An Analytical Approach To The Future Of Thai Population When Deaths Are Greater Than Births, Anil Dhammasakiyo, Kua Wongboonsin, Piyachart Phiromsawad, Patcharawalai Wongboonsin, Pojjamarn Keattitorn Apr 2024

The Prosperity Aspect Of Sustainable Agronomy Towards Sustainable Development: An Analytical Approach To The Future Of Thai Population When Deaths Are Greater Than Births, Anil Dhammasakiyo, Kua Wongboonsin, Piyachart Phiromsawad, Patcharawalai Wongboonsin, Pojjamarn Keattitorn

Journal of Demography

This study aims to present a futuristic analytical approach towards a society of sustainable agronomy in Thailand with a focus on its prosperity along the Buddhist practices of the Noble Path so as to achieve the UN Sustainable Development Goals (SDGs). Based on the Harrison analytical framework, it presents an evaluation of the relationship between sustainable agronomy and SDGs as classified by opportunities, threats, and factors for an increasingly aging population and population shrinkage, followed by corresponding strategies with action plans for the achievement of SDGs via sustainable agronomy over a three-year term for development practices in families, villages, and …


การเมืองเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ: การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเล, ไพรินทร์ มากเจริญ Jan 2022

การเมืองเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ: การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเล, ไพรินทร์ มากเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการเมืองเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ: การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเลนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ธรรมาภิบาลความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล และวิเคราะห์ผลของการดำเนินงานและการคุ้มครองทางสังคมต่อแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าของเรือประมงพาณิชย์ แรงงานข้ามชาติ เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง จำนวน จำนวน 20 คน รวมทั้งการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในการตรวจแรงงานประมงทะเลรวมกับเจ้าหน้าที่รัฐ การเข้าร่วมประชุมการสัมมนาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่า 1) รัฐไทยมีพัฒนาการด้านนโยบายในการบริหารจัดการและคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเลเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและปัจจัยหลักที่รัฐให้ความสำคัญ ตั้งแต่การใช้นโยบายด้านความมั่นคง นโยบายการผ่อนผันให้ทำงานและนำแรงงานเข้าสู่ระบบกฎหมายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ จนกระทั่งปัจจุบันเป็นนโยบายภายใต้แรงกดดันจากภายนอก 2) การเมืองเรื่องธรรมาภิบาล ในช่วง พ.ศ.2558-2562 (ก่อนปลดใบเหลือง) กระบวนการบริหารจัดการร่วมกันเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีอำนาจไม่เท่ากัน รวมทั้งมีการเจรจาซึ่งหน้า มีความไว้วางใจ มีความมุ่งมั่นในการทำงาน และความเข้าใจร่วมกันน้อย ทำให้ขาดความร่วมมือร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการประมงทะเล มีรูปแบบเป็น ‘ธรรมาภิบาลแบบสั่งการ’ (Directive Governance) คือ ภาครัฐเป็นผู้กำหนดทิศทาง การบังคับใช้กฎหมายและบริหารจัดการแรงงานผ่านนายจ้าง และยังคงไว้ซึ่งการรวมศูนย์อำนาจและสั่งการแบบบนลงล่าง แต่ยังไม่สามารถสร้างระบอบที่เป็นกระบวนการตามแนวคิดธรรมาภิบาลความร่วมมือที่ทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมคิดร่วมทำได้ ต่อมาในช่วง พ.ศ.2562 (หลังปลดใบเหลือง) - 2565 เป็นช่วงรัฐบาลแบบปกติ ภาครัฐมีการสร้างกลไกในการบริหารจัดการที่ส่อให้เห็นความมีธรรมาภิบาลความร่วมมือมากขึ้น โดยเฉพาะกรมสวัสดิการแรงงาน กระทรวงแรงงาน ตัวอย่างของการรับฟังความคิดเห็นอันนำมาสู่การประนีประนอมเพื่อหาทางออกร่วมกันที่ชัดเจน เช่น กรณีประกันสังคม 3) ผลของการดำเนินงานและการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล แม้จะมีพลวัตรในเชิงหลักการ เช่น การออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองแรงงานประมงทะเลโดยตรง แต่ยังคงมีปัญหาด้านการปฏิบัติใช้ เช่น กรณีการเรียกร้องค่าชดเชยจากกองทุนเงินทดแทน ที่มีอุปสรรคในด้านเอกสาร และปัญหาข้อเรียกร้องที่เกิดขึ้นตามมาภายหลังจากการดำเนินการของภาครัฐ


Human Rights Due Diligence: Roles And Contributions Of Sustainability Professional In Thailand, Pimpilai Rumthum Jan 2022

Human Rights Due Diligence: Roles And Contributions Of Sustainability Professional In Thailand, Pimpilai Rumthum

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study examines the role of sustainability professionals in driving Human Rights Due Diligence (HRDD) within organizations and provides valuable insights into their responsibilities, competencies, and impact. As there was no study done to understand this particular career that tends to be trendy for sustainability businesses to achieve their goals beyond financial efficiency. The study examines the tasks, competencies, and impact of sustainability professionals from different viewpoints of related stakeholders. Using primary data gathered through semi-structured interviews, the research investigates the question that sustainability professionals positively contribute to HRDD processes. Through 9 interviews with key informants from diverse backgrounds, including …


การรับรู้ และทัศนคติของผู้ที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวงต่อภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล : กรณีศึกษา การลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายในทะเล และการทำประมงผิดกฎหมาย, ณโรจ ศรีวชิรวัฒน์ Jan 2022

การรับรู้ และทัศนคติของผู้ที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวงต่อภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล : กรณีศึกษา การลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายในทะเล และการทำประมงผิดกฎหมาย, ณโรจ ศรีวชิรวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษา “การรับรู้ และทัศนคติของผู้ที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวงต่อภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล : กรณีศึกษา การลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายในทะเล และการทำประมงผิดกฎหมาย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคลกับการรับรู้และทัศนคติ ที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และภารกิจในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และความคิดเห็นในการปฏิบัติภารกิจ ด้านการรักษากฎหมายในทะเล ในเรื่องการลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายในทะเล และการทำประมงผิดกฎหมาย การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามคือนายทหารสัญญาบัตรที่สำเร็จการศึกษา จากโรงเรียนนายเรือ ที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานในเรือหลวงตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป จำนวน 135 คน โดยใช้แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างข้าราชการที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวงมีความคิดเห็นต่อการรับรู้เกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเลโดยรวมอยู่ในระดับสูง และลักษณะส่วนบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้เกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล สำหรับระดับทัศนคติเกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของข้าราชการที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวง รวมอยู่ในระดับสูง ในส่วนของชั้นยศและระยะเวลาปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การแก้ไขปัญหาโรฮิงญาในมิติความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล, บุษยพรรณ ถิตานนท์ Jan 2021

การแก้ไขปัญหาโรฮิงญาในมิติความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล, บุษยพรรณ ถิตานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประเด็นปัญหาที่แท้จริงของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญา (2) เพื่อศึกษาผลกระทบของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาทางทะเลต่อความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล และ (3) เพื่อศึกษาหาแนวทาง และวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการ แก้ไขปัญหาของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างยั่งยืน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลปัญหาการลักลอบเข้าเมือง รวมทั้งทำการศึกษา ค้นคว้าแนวคิดและทฤษฎี รวมถึงเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการออกแบบคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า การหลบหนีเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโดยใช้เส้นทางทางทะเลมากขึ้น แต่ลดการแวะพักในประเทศไทยน้อยลง โดยมีต้นทางจากรัฐยะไข่ ประเทศพม่า ไปยังประเทศปลายทาง ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย หรือประเทศอินโดนีเซีย ใช้ประเทศไทยเป็นทั้งทางผ่านและปลายทางเช่นเดียวกัน ซึ่งสาเหตุของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญานั้นเปลี่ยนแปลงจากเหตุผลด้านเศรษฐกิจมาเป็นด้านของสิทธิ สถานะพลเมือง และการกดขี่ รวมถึงการใช้ความรุนแรง ซึ่งมีต้นเหตุมาจากประเทศต้นทาง โดยงานวิจัยในครั้งนี้สามารถสรุปถึงผลกระทบการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาต่อความมั่นคงของชาติทางทะเลได้ว่า มีผลกระทบในเชิงลบระดับปานกลาง โดยมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการใช้ประโยชน์จากทะเล แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมข้ามชาติ ขบวนการค้ามนุษย์ การใช้เรือไม่ชักธง และการหลบหนีเข้าเมืองทางทะเลซึ่งเป็นผลสืบเนื่องต่อความมั่นคงทางบก


การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในห้วงรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กันยายน 2557 - พฤษภาคม 2564, ถลัชนันท์ เอ่งฉ้วน Jan 2021

การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในห้วงรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กันยายน 2557 - พฤษภาคม 2564, ถลัชนันท์ เอ่งฉ้วน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาลักษณะของการใช้ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี กระบวนการกำหนดและ นำข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีไปปฏิบัติ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ในห้วงรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กันยายน 2557 – พฤษภาคม 2564 โดยใช้แนวคิดกระบวนการนโยบาย (Policy process) และการนำนโยบายไปปฏิบัติ และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 9 คน ซึ่งมีข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัย คือ ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีจำนวนมากกว่าข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีในสมัยก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด โดยจะถูกใช้ใน 4 โอกาส ได้แก่ การลงพื้นที่ตรวจราชการของนายกรัฐมนตรี การประชุมคณะกรรมการระดับชาติที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน การเป็นประธานในพิธีเปิด/ปิดงาน และมอบนโยบาย และการใช้ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีกรณีโควิด – 19 ผ่านศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีในสมัยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชามุ่งเน้นการบูรณาการทำงานข้ามหน่วยงาน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่แตกต่างกับการใช้ในสมัยรัฐบาลก่อนหน้าที่มีจำนวนน้อย ใช้ในกรณีเร่งด่วนเท่านั้น และเป็นการสั่งการผ่านหน่วยงานปฏิบัติโดยตรง นอกจากนี้ พบปัญหาการนิยามและกำหนดว่าข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีคืออะไร และหน่วยงานใดบ้างที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสร้างกลไกทั้งหน่วยงานประจำและคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมา ส่งผลให้ในหลายกรณีนายกรัฐมนตรีไม่ได้เป็นผู้กำหนดข้อสั่งการแต่เป็นเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่จดข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ในแง่ของการนำข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีไปปฏิบัติ พบว่า ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับโควิด – 19 ถูกนำไปปฏิบัติและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่นำข้อสั่งการไปปฏิบัติในหน่วยงานระดับปฏิบัติมากที่สุด เมื่อเทียบกับข้อสั่งการในโอกาสอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาเดียวกัน รองลงมาคือ ข้อสั่งการในการลงพื้นที่ตรวจราชการ การปฏิบัติภารกิจเป็นประธานในพิธีเปิด/ปิดและมอบนโยบาย และการประชุมคณะกรรมการระดับชาติ ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม แม้จะเกิดการขับเคลื่อน การดำเนินงานตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี แต่ผลลัพธ์ของการดำเนินงานตามที่ฝ่ายบริหารคาดหวังถือว่าต่ำในภาพรวม ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่า ไม่ควรมีการผลิตข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีออกมาจำนวนมาก เนื่องจากจะส่งผลกระทบทางลบต่อการดำเนินงานอื่น ๆ ของหน่วยงานปฏิบัติได้


The Determinants Of Export Performance And The Perspective To Improve International Competitiveness For Thai Fisheries Sector., Phatcharaphorn Kantasen Jan 2021

The Determinants Of Export Performance And The Perspective To Improve International Competitiveness For Thai Fisheries Sector., Phatcharaphorn Kantasen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand has been one of the major exporters in the global fish market. As globalization and economic integrations continue to increase, the Thai fisheries industry is facing increasingly tough competition from other competitors. Understanding Thailand's global competitiveness is important for the fisheries industry there to compete successfully. The study seeks to determine whether significant indicators have a significant relationship to export value and to explore ways to improve Thai fisheries sector export competitiveness. This study of export performance as the competitiveness in the fisheries sector is obtained through Porter’s diamond model and multiple regression method. The results clarify the determinants …


แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเล ภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล, ภัคพล รัชตหิรัญ Jan 2021

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเล ภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล, ภัคพล รัชตหิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาบทบาทและโครงสร้างองค์การของกรมศุลกากรและศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานของกรมศุลกากรด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเล ภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 3) เพื่อหาข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเลของกรมศุลกากร ภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 8 คน ซึ่งครอบคลุมข้าราชการกรมศุลกากรและเจ้าหน้าที่จากศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ผลการศึกษา พบว่า กรมศุลกากรมีบทบาทในฐานะหน่วยงานหลักภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยมีกองสืบสวนและปราบปรามที่ทำหน้าที่ในด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเล โดยปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็นหลัก ในด้านโครงสร้างองค์การนั้นกรมศุลกากรมีบทบาทในฐานะสำนักปฏิบัติการ 4 ที่มุ่งเน้นภารกิจด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเลในรูปแบบของการบูรณาการ และได้มีการจัดทำแผนเผชิญเหตุ กรณีการลักลอบขนส่งอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงทางทะเล เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการบูรณาการร่วมกันระหว่างทั้งหน่วยงานภายในศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับภาวะปกติจนถึงภาวะที่ไม่ปกติที่อาจส่งผลต่อความเสียหายของประเทศอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ในด้านการปฏิบัติงานนั้น พบข้อจำกัดและอุปสรรคที่สำคัญคือ การขาดแคลนเรือตรวจการณ์ สถานที่จอดเรือ และระบบเทคโนโลยีในการติดตามเรือ ที่มีความเหมาะสมในการปฏิบัติงานในบางพื้นที่ รวมทั้งจำนวนบุคลากรที่ไม่สอดคล้องกับปริมาณงาน และวัฒนธรรมในการบูรณาการร่วมกันที่ควรมีการพัฒนาในรูปแบบการยึดผลงานและบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้นำองค์การอันจะนำมาสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแบบบูรณาการมากยิ่งขึ้น


Developing A Model For The Integration Of Bajau Traditional Ecological Knowledge In The Management Of Locally Managed Marine Area: A Case Study Of Wakatobi Regency, Indonesia, Wengki Ariando Jan 2021

Developing A Model For The Integration Of Bajau Traditional Ecological Knowledge In The Management Of Locally Managed Marine Area: A Case Study Of Wakatobi Regency, Indonesia, Wengki Ariando

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Attaining sustainable resource management encompasses multilevel challenges and interdisciplinary approaches from grassroots efforts to international agreements. In the context of coastal and marine management, the complexities represented by the variety of local entities, regimes, and institutional supports are captured as current challenges in sustainability efforts. Such challenges, unfortunately, persist in the group of customary communities such as those of the Bajau, who live in coastal and marine areas. In an effort to address the aforementioned challenges, this research proposes a model for integrating the Traditional Ecological Knowledge (TEK) of the Bajau into Locally Managed Marine Areas (LMMA) scheme in Wakatobi, …


ทาสกลางทะเล: บทบาทของรัฐและนายทุนกับการขูดรีดแรงงานบนเรือประมงสัญชาติไต้หวัน, มาริสา สกุลชัย Jan 2020

ทาสกลางทะเล: บทบาทของรัฐและนายทุนกับการขูดรีดแรงงานบนเรือประมงสัญชาติไต้หวัน, มาริสา สกุลชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไต้หวันเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่พบปัญหาการค้าทาสกลางทะเล แรงงานจำนวนมากถูกกดขี่ และละเมิดสิทธิภายใต้ห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมประมง ตั้งแต่กระบวนการจ้างงาน กลไกการผลิตจนได้สินค้าออกสู่ตลาด แม้ว่าภายหลังการปลดใบเหลืองจากสหภาพยุโรปปี 2016 เป็นต้นมา ไต้หวันจะมีการปฏิรูปกฎระเบียบเพื่อจัดการกับปัญหาการใช้แรงงานบังคับ แต่ผลปรากฏว่าในปัจจุบันยังคงพบปัญหาการละเมิดสิทธิและขูดรีดแรงงานประมง สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษารูปแบบการใช้แรงงานบังคับบนเรือประมงสัญชาติไต้หวัน และการดำเนินนโยบายรัฐที่ส่งผลต่อนายทุนและแรงงานประมงสมัยรัฐบาลไช่ อิงเหวินระหว่างปี ค.ศ.2016 – 2021 โดยใช้กรอบแนวคิดรัฐเสรีนิยมใหม่เพื่ออธิบายพฤติกรรมของรัฐในกระบวนการกดขี่แรงงานภายใต้ห่วงโซ่อุปทานโลกและใช้แนวคิดเรื่อง “ระยะทาง” มาอธิบายในมิติการเคลื่อนย้ายภายในห่วงโซ่การผลิต จากการศึกษาพบว่า รัฐมีบทบาทสำคัญต่อการเกิดปัญหาการขูดรีดแรงงานประมงต่างชาติบนเรือประมงสัญชาติไต้หวัน ซึ่งมีส่วนช่วยในการอำนวยความสะดวกแก่กลุ่มทุนภายในห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมประมงซึ่งอยู่ในพื้นที่ยกเว้นจากรัฐในการตรวจสอบและปราศจากกฎหมายควบคุม โดยใช้ช่องว่างด้านระยะทางทั้งในด้านเชิงกายภาพ เชิงความรู้ และเชิงกฎหมาย ในการละเมิดและกดขี่แรงงานประมงข้ามชาติเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์รัฐซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มทุน


การประเมินตัวชี้วัดการขนส่งผลไม้สำหรับส่งออกบนเส้นทาง R3a กรณีศึกษาบริษัทขนส่ง Abc, ปรียาพร สายตา Jan 2020

การประเมินตัวชี้วัดการขนส่งผลไม้สำหรับส่งออกบนเส้นทาง R3a กรณีศึกษาบริษัทขนส่ง Abc, ปรียาพร สายตา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นพัฒนาตัวชี้วัดด้านการขนส่งผลไม้ผ่านระบบคอนเทนเนอร์ทำความเย็น บนเส้นทาง R3A ผ่านการทบทวนวรรณกรรมจำนวน 20 งานวิจัย เพื่อมาช่วยในการกำหนดปัจจัยเชิงโลจิสติกส์ที่สำคัญในการนำมาสู่การกำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดปัจจัยหลักเชิงโลจิสติกส์จากปัจจัย 3 มิติของสำนักโลจิสติกส์ ได้แก่ มิติต้นทุน 1 ตัวชี้วัด มิติเวลา 2 ตัวชี้วัดและมิติความเชื่อถือได้ 4 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดสร้างมาจากการสนทนากลุ่ม ระดมความคิดจากคณะผู้บริหารระดับสูงของบริษัทขนส่ง ABC และกำหนดค่าน้ำหนักผ่านกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) ที่ให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คนประเมินความสำคัญของปัจจัย ซึ่งสามารถสรุปลำดับความสำคัญตามค่าน้ำหนักของปัจจัยหลักจากมากไปน้อยดังนี้ มิติด้านต้นทุน (47%) มิติด้านความเชื่อถือได้ (36%) และมิติด้านเวลา (17%) เมื่อทำการเก็บข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี พบว่าบริษัทขนส่ง ABC มีคะแนนตัวชี้วัดเต็ม 5 คะแนน ได้แก่ ความสามารถในการส่งมอบสินค้าตรงเวลา อัตราความเสียหายของตู้ทำความเย็นที่เสียระหว่างการขนส่ง และอัตราการเกิดอุบัติเหตุของรถขนส่ง ทางด้านตัวชี้วัดที่บริษัทควรให้ความสำคัญ ได้แก่ อัตราการวิ่งเที่ยวเปล่า 2.75 คะแนน สุดท้ายภาพรวมของการประเมินตัวชี้วัดการขนส่งบริษัทขนส่ง ABC เฉลี่ยทั้ง 3 ปีอยู่ที่ 4.38 คะแนน แม้ว่าการประเมินผลโดยรวมจะอยู่ในระดับดีมาก แต่ยังพบว่ายังมีตัวชี้วัดบางตัวที่บริษัทยังไม่สามารถจัดการได้ดีเท่าที่ควร ดังนั้นบริษัทควรให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นเพื่อลดผลกระทบและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


Assessing Environmental Impact Through Dpsir Framework And Environmental Justice Lenses:A Case Study Of Inland Capture Fisheries In Mahakam River, Etik Sulistiowati Ningsih Jan 2020

Assessing Environmental Impact Through Dpsir Framework And Environmental Justice Lenses:A Case Study Of Inland Capture Fisheries In Mahakam River, Etik Sulistiowati Ningsih

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Inland capture fisheries significantly contribute to the achievement of SDG, but most inland capture fisheries are poorly managed or not managed at all. Inland fishery is often facing against the big-scale industrial project. In the Middle Mahakam Area, two dominant natural resources exploited for the industrial project are palm oil and coal mining. Palm oil production, coal mining production, the human population was increasing in the last ten years, and on the opposite, the water quality index is decreasing. However, although many previous studies suggested that fish catches are declining, fisheries statistics show the opposite data. Government statistics show that …


การนำนโยบายเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาแรงงานเด็กข้ามชาติในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล, ปานชนก ชูหนู Jan 2019

การนำนโยบายเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาแรงงานเด็กข้ามชาติในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล, ปานชนก ชูหนู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำนโยบายและแผนระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายมาปฏิบัติกับแรงงานเด็กข้ามชาติในกิจการอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล พร้อมทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการมาปฏิบัติ โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่มประชากรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการในส่วนขององค์กรภาครัฐ 9 คน เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ จำนวน 1 คน และ ตัวแทนนายจ้างในสถานประกอบกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ จำนวน 3 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการละเมิดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย กอปรกับการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 182 จึงก่อให้เกิดนโยบายและแผนระดับชาติฯ ฉบับนี้ขึ้นมา 2) การนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัตินั้นดำเนินงานผ่าน 5 ยุทธศาสตร์ คือ การป้องกันการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย การช่วยเหลือและคุ้มครองแรงงานเด็กจากการทำงานในรูปแบบที่เลวร้าย การพัฒนาและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคีเครือข่าย การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติที่สามารถแบ่งออกเป็น 5 ปัจจัยคือ 1. ความสามารถในการจัดการปัญหา คือ การจัดการปัญหาของการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ความซับซ้อนเชิงพฤติกรรมของนายจ้าง ลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่ผู้เข้าไปตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมายกับสถานประกอบกิจการ 2. ลักษณะของตัวนโยบายและแผนระดับชาติฯ คือการตรานโยบายและแผนระดับชาติฯ ที่ไม่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหา การเขียนรายละเอียดของการนำไปปฏิบัติแบบภาพกว้าง 3.หน่วยงานที่นำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติ คือ การขาดความเข้าใจและความรู้สึกผูกพันในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.บุคลากรที่นำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติ คือการไม่เข้าใจในรายละเอียดและขอบข่ายงาน อาจมีผลมาจากความไม่ชัดเจนในตัวของนโยบายฯ และ 5. การติดตาม ประเมินผล การนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการนำไปปฏิบัติได้อย่างไม่เป็นรูปธรรม คือ ปัญหาในส่วนของการรวบรวมข้อมูล ความล่าช้าในการรายงานของหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบย้อนกลับ


The Socio-Economic Impact Of Iuu-Fishing : The Case Of Eu Give Yellow Card To Thailand, Chaniga Dharmasaroja Jan 2019

The Socio-Economic Impact Of Iuu-Fishing : The Case Of Eu Give Yellow Card To Thailand, Chaniga Dharmasaroja

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Marine resources are a very important resource for global existence. If there is no organized management, it can damage the marine resources. Therefore, the European Union considers Illegal, Unregulated and Unreported (IUU) Fishing, which is a fishery that obstructs Violation or destruction of conservation measures in any fishing area And non-compliance with the requirements for fishery data collection, as well as not reporting fishery and fishery or false data reporting to responsible agencies From illegal fishing, the IUU may cause future marine resources to be depleted. However, Thailand has a large export value to the European Union. But Thailand is …


Job Design For Manual Fish Processing Process Improvement, Anawat Benjalak Jan 2018

Job Design For Manual Fish Processing Process Improvement, Anawat Benjalak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper presents the development and experimental of the Job Design and Ergonomic principles to a local manual fish processing factory in fish trimming, fish de-scaling and fish gutting processes for worker performance improvement. The fish processing factory experimented in this research is in one of the provinces next to the sea in southern Thailand, namely Pattani, where the leading economy industry of this province are seafood processing and manufacturing. However, because most of the local processing factories in this province are still manually processing the aquatic products, they are affected by more stringent regulation of migrant workers implemented by …


Ecological Impacts Of Fishing Gears In Ko Chang, Trat Province, Thailand, Wichin Suebpala Jan 2018

Ecological Impacts Of Fishing Gears In Ko Chang, Trat Province, Thailand, Wichin Suebpala

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Knowledge of ecological impacts of fishing, especially in small-scale sector, is not always readily available, making it difficult to employ an ecosystem-based approach to fisheries management and to achieve sustainability. The topic of this dissertation was formulated with the aim to enhance this knowledge through conducting researches in Mu Ko Chang, Trat Province, the Eastern Gulf of Thailand. This study focuses on two main types of impacts, i.e. bycatch and habitat damages, consisting of three research modules: 1) assessing existing knowledge and analyzing the knowledge gap regarding bycatch and habitat impacts of fishing methods in Thai waters; 2) investigating fishing …


นวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้งของเกษตรกรรายย่อยภายใต้กลุ่มสหกรณ์, ธนภัทร ยีขะเด Jan 2018

นวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้งของเกษตรกรรายย่อยภายใต้กลุ่มสหกรณ์, ธนภัทร ยีขะเด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมด้านสารสนเทศต่อการสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยภายใต้กลุ่มสหกรณ์ 2) พัฒนาต้นแบบนวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้ง 3) ศึกษาการยอมรับการใช้งานนวัตกรรม และ 4) การนำนวัตกรรมต้นแบบไปสู่เชิงพาณิชย์ โดยในการวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านสารสนเทศในการจัดการฟาร์มและสนับสนุนการตัดสินใจ และการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจำนวน 90 ตัวอย่าง และการพัฒนาตัวแบบพยากรณ์ราคากุ้งเพื่อใช้สนับสนุนการวางแผนและตัดสินใจจากชุดข้อมูลราคากุ้งและข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องย้อนหลัง 5 ปี (2557-2561) จำนวน 830 ชุดข้อมูล โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอย และได้นำโมเดลพยากรณ์ราคากุ้งมาพัฒนาระบบวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจด้านการเงินและจัดการข้อมูลการเลี้ยงกุ้งผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น จากนั้นได้ศึกษาการยอมรับการใช้งานและแนวทางการนำนวัตกรรมต้นแบบสู่เชิงพาณิชย์ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งภายใต้กลุ่มสหกรณ์ใช้สารสนเทศในการวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจบนพื้นฐานของ 7 งานหลักคือ การเลือกแหล่งที่ตั้งของฟาร์ม การวางแผนธุรกิจเลี้ยงกุ้ง การจัดการบ่อเลี้ยง การจัดการกุ้ง การจัดการด้านการเงิน การจัดการฟาร์ม และการจัดการชุมชน สังคมหรือกลุ่มเกษตรกร และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง พบว่า ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความคาดหวังต่อความพยายาม อิทธิพลจากสังคม การสนับสนุนของทรัพยากร และอำนาจของผู้มีส่วนร่วม มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีที่ระดับ 51.4% 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับโมเดลพยากรณ์ราคากุ้งพบว่า ราคากุ้ง = -1759.426-1.066(ขนาดของกุ้ง)+9.881(อัตราเงินเฟ้อ)+11.135(ดัชนีราคาผู้ผลิต)-1.835(ดัชนีราคาผู้ผลิตภาคเกษตรกรรม) +1.863(อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา)+0.002(อัตราผลิตกุ้งขาวแวนนาไมรวม)-1.864(ราคาน้ำมันดีเซล)+42.448(ถ้าเป็นเดือนมกราคม)+53.286 (ถ้าเป็นเดือนกุมภาพันธ์)+30.325(ถ้าเป็นเดือนมีนาคม)+2.057(ถ้าเป็นเดือนเมษายน)-20.070(ถ้าเป็นพฤษภาคม)-10.085(ถ้าเป็นเดือนมิถุนายน)-3.180(ถ้าเป็นเดือนกรกฎาคม)-3.320 (ถ้าเป็นเดือนสิงหาคม)-11.835(ถ้าเป็นเดือนกันยายน)-30.390(ถ้าเป็นเดือนตุลาคม)-11.835(ถ้าเป็นเดือนพฤศจิกายน) ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลต่อราคากุ้งร้อยละ 89.7 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 โดย โมเดลพยากรณ์ราคากุ้งนี้ได้นำมาพัฒนาเป็นโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจทางด้านการเงินของผู้เลี้ยงกุ้งภายใต้ชื่อ Smart Aqua 3) จากการสอบถามทัศนคติจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานนวัตกรรมต้นแบบจำนวน 30 ตัวอย่าง พบว่ามีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบในด้านความสามารถของระบบ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านความปลอดภัย ด้านการรับรู้ประโยชน์ของระบบ ด้านการสนับสนุนทรัพยากรและข้อมูล ทัศนคติต่อการใช้ และการยอมรับการใช้ในระดับพอใจมากและ 4) การให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียวเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดในการนำนวัตกรรมต้นแบบสู่เชิงพาณิชย์ โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาคืนทุน 3.5 ปี


การเปลี่ยนปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นประเด็น “ความมั่นคง” ในประเทศไทย: การวิเคราะห์วัจนกรรม, สุทธิพงศ์ วรอุไร Jan 2018

การเปลี่ยนปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นประเด็น “ความมั่นคง” ในประเทศไทย: การวิเคราะห์วัจนกรรม, สุทธิพงศ์ วรอุไร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการเปลี่ยนปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นประเด็นความมั่นคง: การวิเคราะห์เชิงวัจนกรรม ตั้งแต่ 2000-2018 พบว่าแรงผลักดันจากตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาสู่การเปลี่ยนปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นประเด็นความมั่นคงในประเทศไทย โดยใช้ (1) วัจนกรรมประเภทบอกกล่าว เพื่อเปิดประเด็นวาระการค้ามนุษย์ในเวทีระดับระหว่างประเทศ ด้วยการกล่าวถ้อยความเพื่อระบุข้อเท็จจริงของปัญหาการค้ามนุษย์ (2) วัจนกรรมประเภทคำสั่ง เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงปทัสถานภายในประเทศให้สอดคล้องกับหลักมาตรฐานสากล โดยเฉพาะการให้ความสำคัญต่อประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นปทัสถานอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และ (3) วัจนกรรมประเภทประกาศ เพื่อประกาศข้อกฎหมายหรือสถานะการค้ามนุษย์ของประเทศไทยในรายงานต่าง ๆ ที่ออกโดยตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศ เช่น รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (ทิป รีพอร์ต) ซึ่งเป็นลักษณะของการติดตามตรวจสอบการทำงานด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ของรัฐบาลไทย มากไปกว่านั้น การรับวาระการค้ามนุษย์ของประเทศไทยส่งผลให้รัฐบาลไทยจำเป็นต้องดำเนินนโยบายด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ตามสภาพปัญหาที่ถูกผลักดันเข้ามาจากภายนอกที่มีความแตกต่างกัน ได้แก่ ช่วงที่ 1 (2000-2007) เป็นการพิจารณาปัญหาการค้ามนุษย์ตามปรากฏการณ์ด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาความมั่นคงจากตัวแสดงที่มิใช่รัฐ ช่วงที่ 2 (2008-2013) เป็นการพิจารณาปัญหาการค้ามนุษย์อย่างครอบคลุม โดยเฉพาะการให้ความสำคัญต่อการค้ามนุษย์เพื่อการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน ช่วงที่ 3 (2014-2018) เป็นการพิจารณาปัญหาการค้ามนุษย์ที่ถูกนำมาเชื่อมโยงกับประเด็นเรื่องความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การศึกษายังพบอีกว่า ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยให้ความสำคัญต่อปัญหาการค้ามนุษย์โดยพิจารณาปัญหาตามสภาพบริบทระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นสำคัญ โดยมีตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศทำหน้าที่เปิดประเด็น หามาตรการบังคับ และติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ทั้งนี้ การประกาศสถานะการค้ามนุษย์ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (ทิป รีพอร์ต) และการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (ไอยูยู) กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองระหว่างประเทศที่ส่งผลให้รัฐบาลไทยต้องดำเนินนโยบายต่อต้านการค้ามนุษย์ตามข้อเรียกร้องที่กำหนด โดยมีเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ของประเทศเป็นเป้าหมายสำคัญในการเรียกร้องการปฏิบัติภารกิจด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ดังนั้น การพิจารณาการค้ามนุษย์ในมุมมองของรัฐไทยจึงให้ความสำคัญกับการเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่เกิดจากแรงขับเคลื่อนจากตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลไทยจะต้องรักษาสมดุลระหว่างการต่างประเทศ สิทธิมนุษยชน และความมั่นคง ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในการบริหารประเทศยุคปัจจุบัน


The Socio-Economic Impact Of Iuu-Fishing And Its Countermeasures On Small Scale Fishermen In Thailand : A Case Study Of Baan Khan Kradai, Ao Noi, Prachuap Kiri Khan, Roman Zwoelfer Jan 2017

The Socio-Economic Impact Of Iuu-Fishing And Its Countermeasures On Small Scale Fishermen In Thailand : A Case Study Of Baan Khan Kradai, Ao Noi, Prachuap Kiri Khan, Roman Zwoelfer

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigates the socio-economic effects of Illegal, Unreported and Unregulated fishing (IUU-fishing) on households of small scale fishermen, whose income derives almost entirely from fishing. The research question is "What are the socio-economic impacts of IUU-fishing and government's countermeasures on Thai fishing communities, in particular small scale fishermen's households, before and after 2015?". A mixed quantitative and qualitative approach was chosen to better grasp the complexity of fishing-related changes to household income and by the case study of a small scale fishing community in Ao Noi Subdistrict of Prachuap Kiri Khan Province. This resulted to a general understanding of …


Exploring Collaborative Governance Approaches To Addressing Trafficking And Forced Labour Of Migrant Workers In Thailand’S Fisheries Industry, Sara Sunisa Pasang Lehman Jan 2017

Exploring Collaborative Governance Approaches To Addressing Trafficking And Forced Labour Of Migrant Workers In Thailand’S Fisheries Industry, Sara Sunisa Pasang Lehman

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand's fishing industry has been in the global spotlight in recent years with continued international attention on human rights abuses taking place on fishing vessels and in fish processing areas. Recently, the Thai Government, suppliers and retailers have been spurred to action to eliminate forced labour and human trafficking from seafood supply chains, including collaborating through new multi-stakeholder initiatives (MSIs). This paper explores different examples of collaboration between the public sector, industry and civil society to combat forced labor and trafficking in Thailand's fishing industry. This research uses a conceptual framework based on collaborative governance to conduct qualitative research using …


The European Union(Eu) As A Global Actor --- Internationalisation Of Eu Fisheries Policy And Its Impact On Third Countries:Case Study Of Thailand, Ran Lu Jan 2017

The European Union(Eu) As A Global Actor --- Internationalisation Of Eu Fisheries Policy And Its Impact On Third Countries:Case Study Of Thailand, Ran Lu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The concept of global management of marine resources, especially fisheries governance is not a radically new topic. After World War II, mainly through the UN, FAO and increasing regional institutions, regulatory and implementing mechanisms began incrementally forming. The EU, as a global actor, vertically, absorbed these universal regulations with feedback from its experimentalist governance[1] and then uploaded its “Europeanized” ideas to the international arena, meanwhile, horizontally, externalizing the EU model to third countries. This thesis will focus on the role of the EU as an international actor in the field of fisheries policy by analyzing the IUU (illegal, unreported and …


การปรับเปลี่ยนนโยบายแรงงานข้ามชาติสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา, หฤทัย จงวัฒนบัณฑิตย์ Jan 2017

การปรับเปลี่ยนนโยบายแรงงานข้ามชาติสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา, หฤทัย จงวัฒนบัณฑิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีจุดม่งหมายในการค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายแรงงานข้ามชาติ และท่าทีต่อปัจจัยดังกล่าวของรัฐบาลในสมัยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีวิจัยเอกสารทางวิชาการ งานวิจัยต่างๆ และคำแถลงการณ์ของคณะรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านทางนายกรัฐมนตรีหัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยผลักดันที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายแรงงานข้ามชาติของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ภายในประเทศ แรงงานข้ามชาติมีส่วนให้เกิดปัญหาอาชญากรรม การค้ายาเสพติด และเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ส่วนภายนอกประเทศ เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีการบังคับใช้แรงงานเด็ก บังคับหญิงค้าประเวณี การใช้แรงงานทาสอันเชื่อมโยงไปสู่การค้ามนุษย์ ทำให้ถูกเพ่งเล็งโจมตี และได้รับแรงกดดันอย่างมากจากต่างชาติและองค์การระหว่างประเทศ จากปัจจัยดังกล่าว ทำให้ท่าทีของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเข้าสู่อำนาจทางการเมืองโดยรัฐประหาร มีฐานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ มีความคล่องตัวในการใช้อำนาจได้อย่างรวดเร็วในการแก้ปัญหา จึงให้ความสำคัญเรื่องการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติเป็นวาระเร่งด่วน อันนำไปสู่วาระแห่งชาติอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นการลดแรงกดดัน ทั้งจากภายในและโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากต่างประเทศ เพื่อสร้างการยอมรับในเรื่องการใช้อำนาจ พร้อมทั้งเร่งสร้างความเข้าใจในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อไม่ให้กระทบบรรยากาศการค้าและการลงทุน ภายหลังการดำเนินงานตามนโยบายแรงงานข้ามชาติที่ปรับเปลี่ยนโดยรัฐบาลนี้ ทำให้สถานการณ์การค้ามนุษย์ในปี 2559 ดีขึ้น ได้รับการเลื่อนอันดับอยู่ Tier 2 Watch List