Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Entire DC Network

การเมืองเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ: การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเล, ไพรินทร์ มากเจริญ Jan 2022

การเมืองเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ: การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเล, ไพรินทร์ มากเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการเมืองเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ: การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเลนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ธรรมาภิบาลความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล และวิเคราะห์ผลของการดำเนินงานและการคุ้มครองทางสังคมต่อแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าของเรือประมงพาณิชย์ แรงงานข้ามชาติ เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง จำนวน จำนวน 20 คน รวมทั้งการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในการตรวจแรงงานประมงทะเลรวมกับเจ้าหน้าที่รัฐ การเข้าร่วมประชุมการสัมมนาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่า 1) รัฐไทยมีพัฒนาการด้านนโยบายในการบริหารจัดการและคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเลเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและปัจจัยหลักที่รัฐให้ความสำคัญ ตั้งแต่การใช้นโยบายด้านความมั่นคง นโยบายการผ่อนผันให้ทำงานและนำแรงงานเข้าสู่ระบบกฎหมายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ จนกระทั่งปัจจุบันเป็นนโยบายภายใต้แรงกดดันจากภายนอก 2) การเมืองเรื่องธรรมาภิบาล ในช่วง พ.ศ.2558-2562 (ก่อนปลดใบเหลือง) กระบวนการบริหารจัดการร่วมกันเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีอำนาจไม่เท่ากัน รวมทั้งมีการเจรจาซึ่งหน้า มีความไว้วางใจ มีความมุ่งมั่นในการทำงาน และความเข้าใจร่วมกันน้อย ทำให้ขาดความร่วมมือร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการประมงทะเล มีรูปแบบเป็น ‘ธรรมาภิบาลแบบสั่งการ’ (Directive Governance) คือ ภาครัฐเป็นผู้กำหนดทิศทาง การบังคับใช้กฎหมายและบริหารจัดการแรงงานผ่านนายจ้าง และยังคงไว้ซึ่งการรวมศูนย์อำนาจและสั่งการแบบบนลงล่าง แต่ยังไม่สามารถสร้างระบอบที่เป็นกระบวนการตามแนวคิดธรรมาภิบาลความร่วมมือที่ทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมคิดร่วมทำได้ ต่อมาในช่วง พ.ศ.2562 (หลังปลดใบเหลือง) - 2565 เป็นช่วงรัฐบาลแบบปกติ ภาครัฐมีการสร้างกลไกในการบริหารจัดการที่ส่อให้เห็นความมีธรรมาภิบาลความร่วมมือมากขึ้น โดยเฉพาะกรมสวัสดิการแรงงาน กระทรวงแรงงาน ตัวอย่างของการรับฟังความคิดเห็นอันนำมาสู่การประนีประนอมเพื่อหาทางออกร่วมกันที่ชัดเจน เช่น กรณีประกันสังคม 3) ผลของการดำเนินงานและการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล แม้จะมีพลวัตรในเชิงหลักการ เช่น การออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองแรงงานประมงทะเลโดยตรง แต่ยังคงมีปัญหาด้านการปฏิบัติใช้ เช่น กรณีการเรียกร้องค่าชดเชยจากกองทุนเงินทดแทน ที่มีอุปสรรคในด้านเอกสาร และปัญหาข้อเรียกร้องที่เกิดขึ้นตามมาภายหลังจากการดำเนินการของภาครัฐ


Human Rights Due Diligence: Roles And Contributions Of Sustainability Professional In Thailand, Pimpilai Rumthum Jan 2022

Human Rights Due Diligence: Roles And Contributions Of Sustainability Professional In Thailand, Pimpilai Rumthum

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study examines the role of sustainability professionals in driving Human Rights Due Diligence (HRDD) within organizations and provides valuable insights into their responsibilities, competencies, and impact. As there was no study done to understand this particular career that tends to be trendy for sustainability businesses to achieve their goals beyond financial efficiency. The study examines the tasks, competencies, and impact of sustainability professionals from different viewpoints of related stakeholders. Using primary data gathered through semi-structured interviews, the research investigates the question that sustainability professionals positively contribute to HRDD processes. Through 9 interviews with key informants from diverse backgrounds, including …


การรับรู้ และทัศนคติของผู้ที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวงต่อภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล : กรณีศึกษา การลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายในทะเล และการทำประมงผิดกฎหมาย, ณโรจ ศรีวชิรวัฒน์ Jan 2022

การรับรู้ และทัศนคติของผู้ที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวงต่อภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล : กรณีศึกษา การลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายในทะเล และการทำประมงผิดกฎหมาย, ณโรจ ศรีวชิรวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษา “การรับรู้ และทัศนคติของผู้ที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวงต่อภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล : กรณีศึกษา การลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายในทะเล และการทำประมงผิดกฎหมาย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคลกับการรับรู้และทัศนคติ ที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และภารกิจในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และความคิดเห็นในการปฏิบัติภารกิจ ด้านการรักษากฎหมายในทะเล ในเรื่องการลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายในทะเล และการทำประมงผิดกฎหมาย การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามคือนายทหารสัญญาบัตรที่สำเร็จการศึกษา จากโรงเรียนนายเรือ ที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานในเรือหลวงตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป จำนวน 135 คน โดยใช้แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างข้าราชการที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวงมีความคิดเห็นต่อการรับรู้เกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเลโดยรวมอยู่ในระดับสูง และลักษณะส่วนบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้เกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล สำหรับระดับทัศนคติเกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของข้าราชการที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวง รวมอยู่ในระดับสูง ในส่วนของชั้นยศและระยะเวลาปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ