Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Entire DC Network

Job Design For Manual Fish Processing Process Improvement, Anawat Benjalak Jan 2018

Job Design For Manual Fish Processing Process Improvement, Anawat Benjalak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper presents the development and experimental of the Job Design and Ergonomic principles to a local manual fish processing factory in fish trimming, fish de-scaling and fish gutting processes for worker performance improvement. The fish processing factory experimented in this research is in one of the provinces next to the sea in southern Thailand, namely Pattani, where the leading economy industry of this province are seafood processing and manufacturing. However, because most of the local processing factories in this province are still manually processing the aquatic products, they are affected by more stringent regulation of migrant workers implemented by …


Ecological Impacts Of Fishing Gears In Ko Chang, Trat Province, Thailand, Wichin Suebpala Jan 2018

Ecological Impacts Of Fishing Gears In Ko Chang, Trat Province, Thailand, Wichin Suebpala

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Knowledge of ecological impacts of fishing, especially in small-scale sector, is not always readily available, making it difficult to employ an ecosystem-based approach to fisheries management and to achieve sustainability. The topic of this dissertation was formulated with the aim to enhance this knowledge through conducting researches in Mu Ko Chang, Trat Province, the Eastern Gulf of Thailand. This study focuses on two main types of impacts, i.e. bycatch and habitat damages, consisting of three research modules: 1) assessing existing knowledge and analyzing the knowledge gap regarding bycatch and habitat impacts of fishing methods in Thai waters; 2) investigating fishing …


นวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้งของเกษตรกรรายย่อยภายใต้กลุ่มสหกรณ์, ธนภัทร ยีขะเด Jan 2018

นวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้งของเกษตรกรรายย่อยภายใต้กลุ่มสหกรณ์, ธนภัทร ยีขะเด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมด้านสารสนเทศต่อการสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยภายใต้กลุ่มสหกรณ์ 2) พัฒนาต้นแบบนวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้ง 3) ศึกษาการยอมรับการใช้งานนวัตกรรม และ 4) การนำนวัตกรรมต้นแบบไปสู่เชิงพาณิชย์ โดยในการวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านสารสนเทศในการจัดการฟาร์มและสนับสนุนการตัดสินใจ และการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจำนวน 90 ตัวอย่าง และการพัฒนาตัวแบบพยากรณ์ราคากุ้งเพื่อใช้สนับสนุนการวางแผนและตัดสินใจจากชุดข้อมูลราคากุ้งและข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องย้อนหลัง 5 ปี (2557-2561) จำนวน 830 ชุดข้อมูล โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอย และได้นำโมเดลพยากรณ์ราคากุ้งมาพัฒนาระบบวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจด้านการเงินและจัดการข้อมูลการเลี้ยงกุ้งผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น จากนั้นได้ศึกษาการยอมรับการใช้งานและแนวทางการนำนวัตกรรมต้นแบบสู่เชิงพาณิชย์ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งภายใต้กลุ่มสหกรณ์ใช้สารสนเทศในการวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจบนพื้นฐานของ 7 งานหลักคือ การเลือกแหล่งที่ตั้งของฟาร์ม การวางแผนธุรกิจเลี้ยงกุ้ง การจัดการบ่อเลี้ยง การจัดการกุ้ง การจัดการด้านการเงิน การจัดการฟาร์ม และการจัดการชุมชน สังคมหรือกลุ่มเกษตรกร และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง พบว่า ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความคาดหวังต่อความพยายาม อิทธิพลจากสังคม การสนับสนุนของทรัพยากร และอำนาจของผู้มีส่วนร่วม มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีที่ระดับ 51.4% 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับโมเดลพยากรณ์ราคากุ้งพบว่า ราคากุ้ง = -1759.426-1.066(ขนาดของกุ้ง)+9.881(อัตราเงินเฟ้อ)+11.135(ดัชนีราคาผู้ผลิต)-1.835(ดัชนีราคาผู้ผลิตภาคเกษตรกรรม) +1.863(อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา)+0.002(อัตราผลิตกุ้งขาวแวนนาไมรวม)-1.864(ราคาน้ำมันดีเซล)+42.448(ถ้าเป็นเดือนมกราคม)+53.286 (ถ้าเป็นเดือนกุมภาพันธ์)+30.325(ถ้าเป็นเดือนมีนาคม)+2.057(ถ้าเป็นเดือนเมษายน)-20.070(ถ้าเป็นพฤษภาคม)-10.085(ถ้าเป็นเดือนมิถุนายน)-3.180(ถ้าเป็นเดือนกรกฎาคม)-3.320 (ถ้าเป็นเดือนสิงหาคม)-11.835(ถ้าเป็นเดือนกันยายน)-30.390(ถ้าเป็นเดือนตุลาคม)-11.835(ถ้าเป็นเดือนพฤศจิกายน) ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลต่อราคากุ้งร้อยละ 89.7 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 โดย โมเดลพยากรณ์ราคากุ้งนี้ได้นำมาพัฒนาเป็นโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจทางด้านการเงินของผู้เลี้ยงกุ้งภายใต้ชื่อ Smart Aqua 3) จากการสอบถามทัศนคติจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานนวัตกรรมต้นแบบจำนวน 30 ตัวอย่าง พบว่ามีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบในด้านความสามารถของระบบ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านความปลอดภัย ด้านการรับรู้ประโยชน์ของระบบ ด้านการสนับสนุนทรัพยากรและข้อมูล ทัศนคติต่อการใช้ และการยอมรับการใช้ในระดับพอใจมากและ 4) การให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียวเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดในการนำนวัตกรรมต้นแบบสู่เชิงพาณิชย์ โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาคืนทุน 3.5 ปี


การเปลี่ยนปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นประเด็น “ความมั่นคง” ในประเทศไทย: การวิเคราะห์วัจนกรรม, สุทธิพงศ์ วรอุไร Jan 2018

การเปลี่ยนปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นประเด็น “ความมั่นคง” ในประเทศไทย: การวิเคราะห์วัจนกรรม, สุทธิพงศ์ วรอุไร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการเปลี่ยนปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นประเด็นความมั่นคง: การวิเคราะห์เชิงวัจนกรรม ตั้งแต่ 2000-2018 พบว่าแรงผลักดันจากตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาสู่การเปลี่ยนปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นประเด็นความมั่นคงในประเทศไทย โดยใช้ (1) วัจนกรรมประเภทบอกกล่าว เพื่อเปิดประเด็นวาระการค้ามนุษย์ในเวทีระดับระหว่างประเทศ ด้วยการกล่าวถ้อยความเพื่อระบุข้อเท็จจริงของปัญหาการค้ามนุษย์ (2) วัจนกรรมประเภทคำสั่ง เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงปทัสถานภายในประเทศให้สอดคล้องกับหลักมาตรฐานสากล โดยเฉพาะการให้ความสำคัญต่อประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นปทัสถานอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และ (3) วัจนกรรมประเภทประกาศ เพื่อประกาศข้อกฎหมายหรือสถานะการค้ามนุษย์ของประเทศไทยในรายงานต่าง ๆ ที่ออกโดยตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศ เช่น รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (ทิป รีพอร์ต) ซึ่งเป็นลักษณะของการติดตามตรวจสอบการทำงานด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ของรัฐบาลไทย มากไปกว่านั้น การรับวาระการค้ามนุษย์ของประเทศไทยส่งผลให้รัฐบาลไทยจำเป็นต้องดำเนินนโยบายด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ตามสภาพปัญหาที่ถูกผลักดันเข้ามาจากภายนอกที่มีความแตกต่างกัน ได้แก่ ช่วงที่ 1 (2000-2007) เป็นการพิจารณาปัญหาการค้ามนุษย์ตามปรากฏการณ์ด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาความมั่นคงจากตัวแสดงที่มิใช่รัฐ ช่วงที่ 2 (2008-2013) เป็นการพิจารณาปัญหาการค้ามนุษย์อย่างครอบคลุม โดยเฉพาะการให้ความสำคัญต่อการค้ามนุษย์เพื่อการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน ช่วงที่ 3 (2014-2018) เป็นการพิจารณาปัญหาการค้ามนุษย์ที่ถูกนำมาเชื่อมโยงกับประเด็นเรื่องความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การศึกษายังพบอีกว่า ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยให้ความสำคัญต่อปัญหาการค้ามนุษย์โดยพิจารณาปัญหาตามสภาพบริบทระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นสำคัญ โดยมีตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศทำหน้าที่เปิดประเด็น หามาตรการบังคับ และติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ทั้งนี้ การประกาศสถานะการค้ามนุษย์ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (ทิป รีพอร์ต) และการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (ไอยูยู) กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองระหว่างประเทศที่ส่งผลให้รัฐบาลไทยต้องดำเนินนโยบายต่อต้านการค้ามนุษย์ตามข้อเรียกร้องที่กำหนด โดยมีเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ของประเทศเป็นเป้าหมายสำคัญในการเรียกร้องการปฏิบัติภารกิจด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ดังนั้น การพิจารณาการค้ามนุษย์ในมุมมองของรัฐไทยจึงให้ความสำคัญกับการเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่เกิดจากแรงขับเคลื่อนจากตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลไทยจะต้องรักษาสมดุลระหว่างการต่างประเทศ สิทธิมนุษยชน และความมั่นคง ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในการบริหารประเทศยุคปัจจุบัน