Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

1999

Chlorhexidine

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Entire DC Network

ผลของน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซีดีนต่อเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ในน้ำลาย, อัจฉรา วัฒนสานติ์, สุภาพร เมฆวัน, วรรณวิมล อนวัชพันธุ์ Apr 1999

ผลของน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซีดีนต่อเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ในน้ำลาย, อัจฉรา วัฒนสานติ์, สุภาพร เมฆวัน, วรรณวิมล อนวัชพันธุ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซีดีนความเข้มข้นร้อยละ 0.1 และความเข้มข้นร้อยละ 0.2 มีน้ำเกลือ เป็นตัวควบคุม (control solution) ในการลดจํานวนเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ (SM) วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาในอาสาสมัครจํานวน 12 คน โดยใช้น้ำยาบ้วนปากทั้งสามชนิดในเวลาต่าง ๆ กัน ครั้งละหนึ่งสัปดาห์ และเว้นว่างหนึ่งสัปดาห์ ก่อนที่จะเปลี่ยนชนิดของยาบ้วนปาก ทั้งนี้อาสาสมัครและผู้ทดลองจะ ไม่ทราบว่ากําลังใช้ยาชนิดใด เมื่อไร (double-blind randomized crossover design) เพื่อทําการเพาะเชื้อ SM จากน้ำลาย ผลการศึกษาและสรุป จากการศึกษาพบว่า จํานวนเชื้อ SM ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ในกลุ่มที่ใช้คลอเฮกซีตีน ความเข้มข้น ร้อยละ 0.2 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาความเข้มข้นร้อยละ 0.1 (p = 0.0077) และกลุ่มที่ใช้น้ําเกลือ บ้วนปาก (p = 0.0033) แต่การใช้คลอเฮกซีนความเข้มข้นร้อยละ 0.1 ได้ผลไม่แตกต่างจากการใช้น้ำเกลือบ้วนปาก จึงสรุปผลจากการวิจัยว่าน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซีดีนความเข้มข้น ร้อยละ 0.2 เป็นน้ำยาบ้วนปากที่เหมาะสมในการใช้ เพื่อลดจํานวนเชื้อ SM กว่าน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซีดีน ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 และน้ำเกลือ


ฟลูออไรด์และคลอร์เฮกซีดีนลดปริมาณกรดแลคติกที่เกิดจากสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ในหลอดทดลอง, เกรียงไกร คุ้มไพโรจน์, ศิวพร สุขสว่าง, ทิพรัตน์ เมฆาอภิรักษ์ Jan 1999

ฟลูออไรด์และคลอร์เฮกซีดีนลดปริมาณกรดแลคติกที่เกิดจากสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ในหลอดทดลอง, เกรียงไกร คุ้มไพโรจน์, ศิวพร สุขสว่าง, ทิพรัตน์ เมฆาอภิรักษ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเข้มข้นของฟลูออไรด์และคลอร์เฮกซิดีน ที่เหมาะสมต่อการยับยั้งการ สร้างกรดแลคติกจากเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ (Streptococcus mutans) สายพันธุ์ KPSK-2 โดยใช้ฟลูออไรด์ และคลอร์เฮกซิดีน กลูโคเนตที่มีความเข้มข้นต่างๆ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอุปกรณ์ และวิธีการทดลอง การทดลองแบ่งตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุม กลุ่มทดสอบฟลูออไรด์ และกลุ่มคลอร์เฮกซิดีน ในกลุ่มควบคุมเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ถูกบ่มในกับอาหารเลี้ยงเชื้อ Todd Hewitt ส่วนกลุ่มทดสอบเติมฟลูออไรต์ให้มีความเข้มข้น 5, 10, 15 และ 20 ส่วนในล้านส่วนและคลอร์เฮกซิตีนให้มีความ เข้มข้น 0.07, 0.10, 0.50 และ 1.00 mg% ลงในหลอดเลี้ยงเชื้อตามลําดับ นําไปบ่มที่ 37 องศาเซลเซียส ใน 5% CO2 เป็นเวลา 48 ชั่วโมง เก็บเชื้อโดยนําไปปั้นที่ 3,000 รอบต่อนาที นําส่วนใสมาตรวจหากรดแลคติก ผลการทดลอง พบว่าการสร้างกรดแลคติกลดลงเมื่อมีความเข้มข้นของฟลูออไรด์และคลอร์เฮกซีนเพิ่มขึ้น โดยมี ความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ p<0.05 (ANOVA) บทสรุป จากการวิจัยนี้สรุปได้ว่า ยาอมบ้วนปากโซเดียมฟลูออไรด์ และหรือคลอร์เฮกซิดีน กลูโคเนตในความเข้มข้น ที่ต่ํา สามารถยับยั้งการสร้างกรดแลคติกของเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ในหลอดทดลองได้