Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Sports Sciences

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2019

Articles 1 - 30 of 43

Full-Text Articles in Entire DC Network

ความคิดเห็นของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อกีฬาอีสปอร์ต, ชยภัทร สุนทรนนท์ Jan 2019

ความคิดเห็นของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อกีฬาอีสปอร์ต, ชยภัทร สุนทรนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อกีฬาอีสปอร์ต และเปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อกีฬาอีสปอร์ตตามตัวแปรลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปี กลุ่มวิชาที่ศึกษา และ รายรับต่อเดือนวิธีการดำเนินงานวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือนิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีใน ปีการศึกษา2562 จำนวน 420 คน ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.95 และมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าในการเปรียบเทียบรายคู่ และ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดี่ยวโดยตั้งระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ 0.05 ผลการวิจัย ความคิดเห็นด้านต่างๆ ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่ออีสปอร์ต โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน โดยสูงที่สุดคือ ความคิดเห็นด้านการใช้เวลาว่าง รองลงมาคือด้านลักษณะนิสัยการทำงาน ด้านการประกอบอาชีพ และมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ตามลำดับ ในส่วนของความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์กับความคิดเห็นที่มีต่ออีสปอร์ต พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มี เพศ อายุ กลุ่มวิชาที่ศึกษา ที่แตกต่างกันมีผลต่อความคิดเห็นที่มีอีสปอร์ต แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และผู้ตอบแบบสอบถามที่ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่แตกต่างกัน และมีรายรับต่อเดือนในการใช้ชีวิตประจำวันแตกต่างกัน มีผลต่อความคิดเห็นแตกต่างกันในด้านผลกระทบต่อการดำรงชีวิต สรุปผลการวิจัย ภาพรวมความคิดเห็นของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่ออีสปอร์ต อยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อกีฬาอีสปอร์ต โดยรวม จำแนกตาม เพศ อายุ กลุ่มวิชาที่ศึกษา มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และด้านชั้นปีที่ศึกษา รายรับต่อเดือนในการใช้ชีวิตประจำวันมีความแตกต่างกันในด้านผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


ผลของการฝึกออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลางต่อการออกซิเดชันของไขมันในขณะพักฟื้นหลังออกกำลังกายในอุณหภูมิร้อนและเย็นของหญิงอ้วน, ปริมล แก้วผลึก Jan 2019

ผลของการฝึกออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลางต่อการออกซิเดชันของไขมันในขณะพักฟื้นหลังออกกำลังกายในอุณหภูมิร้อนและเย็นของหญิงอ้วน, ปริมล แก้วผลึก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกกำลังกายเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดไขมันและน้ำหนักสำหรับคนอ้วน การเพิ่มการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นภายหลังเสร็จสิ้นการออกกำลังกายเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และมีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับอุณหภูมิแวดล้อมที่ส่งผลต่อการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นภายหลังการออกกำลังกายเพียงหนึ่งครั้งในหญิงอ้วน แต่ยังไม่มีการศึกษาในหญิงอ้วนที่มีการฝึกออกกำลังกาย งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาในเพศหญิงที่มีภาวะอ้วนจำนวน 16 คน อายุ 18-50 ปี มีดัชนีมวลกาย 27.5-40 กิโลกรัมต่อเมตร2 มีประจำเดือนปกติ โดยทำการศึกษาในช่วง follicular phase ของประจำเดือนเท่านั้น ผู้เข้าร่วมวิจัยควบคุมอาหารเป็นเวลา 1 เดือน และเข้าโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายบนลู่วิ่งสายพานที่ความหนักระดับปานกลาง (50-60% heart rate reserve (HRR) ระยะเวลา 30-60 นาที) เป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นทำการทดสอบการออกกำลังกาย 2 ครั้ง ที่ความหนัก 60%HRR เวลา 60 นาที และพักฟื้นนาน 60 นาที ในอุณหภูมิร้อน (HT; 31-32°C) ครั้งหนึ่ง และเย็น (CT; 22-23°C) อีกครั้งหนึ่ง ตามลำดับที่สุ่มไว้ มีการประเมินการออกซิเดชันของซับสเตรท และการใช้พลังงานรวมตลอดการทดสอบ ผลการศึกษาพบว่าขณะพักฟื้นในที่เย็นมีการออกซิเดชันของไขมันสูงกว่าในที่ร้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (CT; 56.0 ± 24.6 mg.kg-1.h-1 vs. HT; 39.7 ± 27.5 mg.kg-1.h-1, p < 0.001) และขณะพักฟื้นในที่ร้อนมีการออกซิเดชันของคาร์โบไฮเดรทมากกว่าในที่เย็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (HT; 104.0 ± 46.9 mg.kg-1.h-1 vs. CT; 64.6 ± 40.5 mg.kg-1.h-1, p < 0.001) ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างของการใช้พลังงานรวมขณะพักฟื้นในทั้งสองอุณหภูมิ (HT; 70.5 ± 19.6 kcal.h-1 vs. CT; 71.3 ± 13.7 kcal.h-1, p = 0.846) สรุปว่าปริมาณการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นในอุณหภูมิเย็นมากกว่าในอุณหภูมิร้อน ดังนั้นการพักฟื้นในอุณหภูมิเย็นภายหลังการฝึกออกกำลังกายในระดับปานกลาง จึงควรเป็นทางเลือกที่ดีในการลดไขมันและน้ำหนักสำหรับคนอ้วน


ผลของการออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ที่มีต่อการทรงตัวและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ, กรรณดนุ สาเขตร์ Jan 2019

ผลของการออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ที่มีต่อการทรงตัวและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ, กรรณดนุ สาเขตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ ที่มีผลต่อการทรงตัวและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60–75 ปี เพศหญิง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน ฝึกโปรแกรมออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน โดย 4 สัปดาห์แรกใช้เวลาวันละ 50 นาที และอีก 8 สัปดาห์ที่เหลือใช้เวลาวันละ 60 นาที (รวมอบอุ่นร่างกาย และคลายอุ่น) และกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คนใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ผู้วิจัยทำการทดสอบความสามารถด้านการทรงตัวและสมรรถภาพทางกายของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลอง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังจากฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ 12 สัปดาห์ ความสามารถด้านการทรงตัวในผู้สูงอายุดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบก่อน-หลังการทดลองภายในกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมแล้วความสามารถด้านการทรงตัวของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมเกือบทุกกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีเพียงการทดสอบการยืนด้วยขาสองข้างและแบบทดสอบความสามารถด้านการทรงตัวขณะเคลื่อนที่ Time up and go (TUG) ที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยทางสถิติ 2) หลังจากฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ 12 สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบก่อน-หลังการทดลองภายในกลุ่มทดลองพบว่า สมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุเกือบทุกกิจกรรมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีเพียงกิจกรรมเอื้อมแขนแตะมือด้านหลังที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทำการเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่า การลุกยืนจากเก้าอี้ 30 วินาที การงอพับศอก 30 วินาที และการนั่งเก้าอี้ยื่นแขนแตะปลายเท้าของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการเดินย่ำเท้า 2 นาทีและการเอื้อมแขนแตะมือด้านหลังไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล, ธนัชชา เวสสะโกศล Jan 2019

ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล, ธนัชชา เวสสะโกศล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล เพศชายและเพศหญิง จำนวน 492 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยสุ่มจากรายชื่อด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ของคนไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ปรับข้อคำถามส่วนข้อมูลทั่วไปให้เข้ากับบริบทของข้าราชการตำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาลส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้คิดเป็นร้อยละ 92.07 เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบพบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหลัก 3อ.2ส.อยู่ในระดับพอใช้ (x̄ = 7.19, S.D. = 1.50) ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.อยู่ในระดับพอใช้ (x̄ = 11.75, S.D. = 2.09) ด้านการสื่อสารเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.อยู่ในระดับพอใช้ (x̄ = 12.57, S.D. = 1.94) ด้านการจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.อยู่ในระดับพอใช้ (x̄ = 13.07, S.D. = 2.95) ด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.อยู่ในระดับพอใช้ (x̄ = 12.68, S.D. = 3.52) ด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลัก 3อ.2ส.อยู่ในระดับไม่ดี (x̄ = 9.92, S.D. = 1.98) 2. ปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพ ไม่ส่งผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล


ผลของการฝึกแบกน้ำหนักกระโดดท่าสควอทด้วยความหนักเอ็คเซ็นตริกที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความสามารถที่แสดงออกทางกีฬาในนักกีฬาบาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัย, ธงทอง ทรงสุภาพ Jan 2019

ผลของการฝึกแบกน้ำหนักกระโดดท่าสควอทด้วยความหนักเอ็คเซ็นตริกที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความสามารถที่แสดงออกทางกีฬาในนักกีฬาบาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัย, ธงทอง ทรงสุภาพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหนักเอ็คเซ็นตริกที่เหมาะสมของการแบกน้ำหนักกระโดดท่าสควอทที่มีต่อการพัฒนาความสามารถที่แสดงออกทางกีฬาในนักกีฬาบาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัย เพศชาย จำนวน 22 คน มีอายุระหว่าง 18-25 ปี และมีความแข็งแรงในท่าควอเตอร์สวอทอย่างน้อย 1.6 เท่าต่อน้ำหนักตัว งานวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 การศึกษา โดยการศึกษาที่ 1 เปรียบเทียบผลฉับพลันของการแบกน้ำหนักกระโดดด้วยความหนักเอ็คเซ็นตริกรูปแบบต่างๆ เพื่อหาเงื่อนไขใดจึงจะเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการฝึก เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาที่ 2 ต่อไป ในการศึกษาผลฉับพลันเพื่อเปรียบเทียบเงื่อนไขความหนักเอ็คเซ็นตริกที่เหมาะสม ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำการแบกน้ำหนักกระโดดท่าสควอทด้วยความหนัก 30 เปอร์เซ็นต์ของ 1 อาร์เอ็มของตนเอง จำนวณ 2 ชุด ๆ ละ 6 ครั้ง ในเงื่อนไขความหนักเอ็คเซ็นตริกที่ 50% 75% 100% และ 100% แบบลดแรงกระแทก บนเครื่องเอฟที 700 พาวเวอร์เคจ จากนั้นทำการทดสอบหาพลังกล้ามเนื้อสูงสุด ความเร็วบาร์เบลสูงสุด แรงปฏิกิริยาจากพื้น และแรงดลในช่วง 50 มิลลิวินาทีแรก รวมไปถึงคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อในช่วงกระโดดขึ้น และในช่วงลงสู่พื้น จากนั้นทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ และทำการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีแบบบอนเฟอร์โรนี่ กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า เงื่อนไขความหนักเอ็คเซ็นตริก 100% แบบลดแรงกระแทก เป็นเงื่อนไขที่เหมาะสมในการนำไปใช้ในการฝึก เนื่องจากในช่วงการลงสู่พื้น มีค่าเฉลี่ยแรงปฏิกิริยาจากพื้นสูงสุด และแรงดลในช่วง 50 มิลลิวินาทีแรก ต่ำกว่าเงื่อนไขอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ในช่วงการกระโดดขึ้นพบว่ามีค่าพลังกล้ามเนื้อ และความเร็วของบาร์เบลสูงสุดมากที่สุด ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อมีค่าไม่แตกต่างกับเงื่อนไขอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการศึกษาผลของการฝึกในการศึกษาที่ 2 ผู้วิจัยใช้รูปแบบการฝึกแบบความหนักเอ็คเซ็นตริก 100% (กลุ่มควบคุม) เปรียบเทียบกับเงื่อนไขความหนักเอ็คเซ็นตริก 100% แบบลดแรงกระแทก (กลุ่มทดลอง) โดยทั้ง 2 กลุ่ม ทำการฝึกแบกน้ำหนักกระโดดท่าสควอทด้วยความหนัก 30 % ของ 1 อาร์เอ็ม จำนวน 6 ชุด ๆ ละ 6 ครั้ง พักระหว่างชุด …


การวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์ของการเสิร์ฟลูกด้วยหลังมือในนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย, วรเมธ ประจงใจ Jan 2019

การวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์ของการเสิร์ฟลูกด้วยหลังมือในนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย, วรเมธ ประจงใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ท่าทางการเสิร์ฟลูกสั้นและลูกฟริคด้วยหลังมือ ณ ช่วงที่ไม้แบดมินตันกระทบลูกขนไก่ของที่ลูกตกลงบนพื้นที่ยอดเยี่ยม (Excellent) และพื้นที่ดี (Good) ในนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย ผู้เข้าร่วมการวิจัยในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทยที่เล่นในประเภทชายคู่ หญิงคู่และคู่ผสม ทั้งหมด 14 คน กลุ่มตัวอย่างทุกคนต้องทำการเสิร์ฟสั้นด้วยหลังมือจำนวน 21 ลูก และเสิร์ฟลูกฟริคด้วยหลังมือจำนวน 21 ลูก ตามลำดับ โดยการเสิร์ฟทั้งหมดจะถูกบันทึกด้วยกล้องความเร็วสูงแบบอินฟราเรด (300Hz) รุ่น Oqus7+ (Qualisys Oqus) ประเทศสวีเดน จำนวน 9 ตัว เพื่อเลือก 1 ครั้งที่ลูกขนไก่ที่ตกลงบริเวณพื้นที่ยอดเยี่ยมและพื้นที่ดีนำมาวิเคราะห์การเคลื่อไหวด้วยชุดโปรแกรม Qualisys track manager และ Visual 3D จากนั้น นำค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของชุดข้อมูลทางคิเนเมิติกส์และคิเนติกส์มาเปรียบเทียบระหว่างการเสิร์ฟลูกสั้นและลูกฟริคที่ตกลงบนพื้นที่ยอดเยี่ยมและพื้นที่ดีโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซํ้า (One-way analysis of variance with repeated measures) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้ พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของตัวแปร มุมข้อต่อข้อศอก ความเร็วเชิงมุมข้อต่อข้อมือ ความเร็วหัวไม้แบดมินตัน มุมของหน้าไม้แบดมินตันกับตาข่าย ระยะทางการดันไม้ออกจากร่างกายไปจนกระทบลูกขนไก่ ระยะเวลาการดันไม้ออกจากร่างกายไปจนกระทบลูกขนไก่ ความเร็วต้นของลูกขนไก่ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการเสิร์ฟลูกสั้นและลูกฟริคที่ตกลงบนพื้นที่ยอดเยี่ยม และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการเสิร์ฟลูกสั้นและลูกฟริคที่ตกลงบนพื้นที่ดีพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของตัวแปร มุมข้อต่อข้อศอก ความเร็วเชิงมุมข้อต่อข้อมือ ความเร็วหัวไม้แบดมินตัน มุมของหน้าไม้แบดมินตันกับตาข่าย ระยะทางการดันไม้ออกจากร่างกายไปจนกระทบลูกขนไก่ ระยะเวลาการดันไม้ออกจากร่างกายไปจนกระทบลูกขนไก่ ความเร่งของลูกขนไก่ ความเร็วต้นของลูกขนไก่ เช่นกัน ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบลูกเสิร์ฟสั้นและลูกเสิร์ฟฟริคที่ตกลงบนพื้นที่ยอดเยี่ยมและพื้นที่ดี ตามลำดับ จากผลการวิจัยดังกล่าว สามารถสรุปผลการวิจัยครั้งนี้ ได้ว่า มุมข้อต่อข้อศอก ความเร็วเชิงมุมข้อต่อข้อมือ น่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลถึงประเภทของการเสิร์ฟ ความเร็วและระยะทางในการเคลื่อนที่ไปของลูกขนไก่ที่ตกลงในบริเวณที่แตกต่างกัน


ผลของการฝึกกล้ามเนื้อรอบสะบักที่มีต่อความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบในนักกีฬาแบดมินตัน, สิรุษา ติระภากรณ์ Jan 2019

ผลของการฝึกกล้ามเนื้อรอบสะบักที่มีต่อความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบในนักกีฬาแบดมินตัน, สิรุษา ติระภากรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลของการฝึกกล้ามเนื้อรอบสะบักที่มีต่อความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบในนักกีฬาแบดมินตัน 2. เพื่อเปรียบเทียบความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบระหว่างกลุ่มนักกีฬาแบดมินตันที่ได้รับการฝึกกล้ามเนื้อรอบสะบักเสริมโปรแกรมปกติ และกลุ่มฝึกปกติ วิธีการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาแบดมินตัน อายุระหว่าง 14 – 18 ปี ทั้งเพศชายและหญิง จำนวน 16 คน ทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ความเร็วของไม้แบดมินตันในการเรียงลำดับแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 8 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุม ทำการฝึกซ้อมกีฬาแบดมินตันปกติ และกลุ่มทดลอง ทำการฝึกกีฬาแบดมินตันปกติร่วมกับเสริมโปรแกรมการฝึกกล้ามเนื้อรอบสะบัก จำนวน 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบัก ความเร็วเชิงมุมของข้อไหล่ และความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบก่อนและหลังการได้รับการฝึก เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนและหลังการฝึก และระหว่างกลุ่มโดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ผลการวิจัย ก่อนการฝึก กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยของอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผลการเปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึกพบว่า ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบัก แต่เฉพาะกลุ่มทดลองที่พบการเพิ่มขึ้นของความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.018) และผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มพบว่า กลุ่มทดลองแสดงการเพิ่มขึ้นของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบักสูงกว่าของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งกล้ามเนื้อ Middle trapezius, Lower trapezius และ Rhomboid (p = 0.01, 0.01 และ 0.02 ตามลำดับ) แต่ความเร็วเชิงมุมของข้อไหล่ และความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบมีการเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p = 0.47 และ 0.09 ตามลำดับ) สรุปผลการวิจัย ทั้งสองกลุ่มมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบักเพิ่มขึ้น แต่เมื่อได้รับการฝึกโปรแกรมการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบัก ส่งผลให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบัก และความเร็วของไม้แบดมินตันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบักที่เพิ่มขึ้นไม่ส่งผลให้ความเร็วเชิงมุมของข้อไหล่เพิ่มขึ้น แต่มีการเพิ่มขึ้นของความเร็วของไม้แบดมินตัน เนื่องจากปัจจัยในการควบคุมความเร็วของไม้แบดมินตัน น่าจะมีปัจจัยอื่นนอกเหนือจากความเร็วเชิงมุมของข้อไหล่ร่วมด้วย


ผลฉับพลันของระยะเวลาในการแช่น้ำเย็นที่มีต่อการฟื้นสมรรถภาพและปริมาณแลคเตท ในการว่ายน้ำท่าฟรอนท์ครอว์ลระยะ 100 เมตร, อภิสิทธิ์ เสลาหอม Jan 2019

ผลฉับพลันของระยะเวลาในการแช่น้ำเย็นที่มีต่อการฟื้นสมรรถภาพและปริมาณแลคเตท ในการว่ายน้ำท่าฟรอนท์ครอว์ลระยะ 100 เมตร, อภิสิทธิ์ เสลาหอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการแช่น้ำแย็นในระยะเวลาที่แตกต่างกัน ร่วมกับการนั่งพักแบบหยุดนิ่ง ที่ส่งผลต่อสถิติเวลา ปริมาณค่าความเข้มข้นของแลคเตทในเลือด และค่าอัตราของหัวใจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาว่ายน้ำตัวแทนทีมชาติไทย อายุระหว่าง 18-24 ปี จำนวน 12 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างได้รับมอบหมายให้ทำการว่ายน้ำท่าฟรอนท์ครอว์ลด้วยความเร็วสูงสุด ระยะทาง 100 เมตร หลังจากนั้นทำการฟื้นฟูสมรรถภาพใน 3 รูปแบบ ได้แก่ การนั่งพักแบบหยุดนิ่ง 20 นาที(รูปแบบควบคุม) กับการแช่น้ำเย็นที่อุณหภูมิของน้ำเท่ากับ 14 องศาเซลเซียส โดยการแช่น้ำ 10 นาที ตามด้วยนั่งพักแบบหยุดนิ่ง 10 นาที(รูปแบบทดลองที่ 1) และการแช่น้ำ 15 นาที ตามด้วยนั่งพักแบบหยุดนิ่ง 5 นาที(รูปแบบที่ 2) การทดสอบ 1 ครั้งจะทำการฟื้นฟูสมรรถภาพ 1 รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างจะเว้นระยะของการทดสอบ 48 ชั่วโมง(วันเว้นวัน) โดยขณะฟื้นฟูได้ทำการเก็บข้อมูลปริมาณค่าความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดจากบริเวณปลายนิ้ว และค่าอัตราการเต้นของหัวใจช่วง 3นาที 5นาที 10นาที 15นาที และ20นาที หลังจากนั้นว่ายน้ำท่าฟรอนท์ครอว์ล ระยะทาง 100 เมตร ด้วยความเร็วสูงสุดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อดูสถิติเวลาของการว่ายน้ำหลังจากการฟื้นฟูสมรรถภาพ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติการวัดความแปรปรวน 2 ทางชนิดวัดซ้ำ โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่.05 ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบค่าสถิติเวลาเฉลี่ยภายหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพของทั้ง 3 รูปแบบ พบว่าค่าเฉลี่ยสถิติเวลาการว่ายน้ำ ไม่แตกต่างอย่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยปริมาณกรดแลคเตทและค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจหลังจากฟื้นฟูสมรรถภาพ ของรูปแบบทดลองที่ 1 และรูปแบบทดลองที่ 2 ภายหลังของการฟื้นฟูสมรรถภาพ มีค่าเฉลี่ยที่ต่ำกว่ารูปแบบควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.50 ) สรุปได้ว่าการใช้การแช่น้ำเย็นอุณหภูมิ 14 องศาเซลเซียสโดยการแช่น้ำ 10 นาที นั่งพักแบบหยุดนิ่ง 10 นาที และการแช่น้ำ 15 นาที นั่งพักแบบหยุดนิ่ง 5 นาที ส่งผลให้ค่าปริมาณค่าความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดและอัตตราการเต้นของหัวใจลงลง ทำให้การฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างเร็ว


ปัญหาการจัดการสโมสรรักบี้ฟุตบอลในประเทศไทยโดยแนวคิด Tqm, ภัทรพัฒน์ กาญจนเกตุ Jan 2019

ปัญหาการจัดการสโมสรรักบี้ฟุตบอลในประเทศไทยโดยแนวคิด Tqm, ภัทรพัฒน์ กาญจนเกตุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบปัญหาการจัดการสโมสรรักบี้ฟุตบอลในประเทศไทยโดยแนวคิด TQMและเปรียบเทียบระดับการรับรู้ปัญหาการจัดการสโมสรรักบี้ฟุตบอลในประเทศไทยโดยแนวคิด TQM ทั้ง7 ด้านกับสถานภาพบุคลากรในสโมสรรักบี้ฟุตบอลและจากประสบการ์ในการทำงานเกี่ยวกับสโมสรรักบี้ฟุตบอล ประชากรตัวอย่างจำนวน 450 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.98 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.97 จากคณะกรรมการบริหารสโมสรและคณะผู้ควบคุมทีม จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบเพื่อเปรียบเทียบระดับการรับรู้ปัญหาในการจัดการสโมสรรักบี้ฟุตบอลจากประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสโมสรรักบี้ฟุตบอล โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่างใช้การวิเคราะห์รายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ และในส่วนการเปรียบเทียบระหว่าคณะกรรมการบริหารและผู้ควบคุมทีมใช้การวิเคราะห์ด้วยค่า "ที" (t-test) ที่มีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการทดสอบพบว่า ระดับการรับรู้ปัญหาการจัดการสโมสรรักบี้ฟุตบอลโดยใช้หลัก 7ด้านที่เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด TQM โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดรายข้อแต่ละด้านมีปัญหาอยู่ในระดับมากเช่นกัน และเมื่อเปรียบเทียบระดับการรับรู้ปัญหากับประสบกราณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสโมสรรักบี้ฟุตบอล ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการรับรู้ปัญหาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบระดับการรับรู้ปัญหาจากสถานภาพบุคลากรในสโมสร ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีระดับการรับรู้ปัญหาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยที่มีผลต่อการจดจำตราสินค้าของผู้ให้การสนับสนุนกีฬาฟุตบอลไทยลีกผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต, นวรัตน์ สิริรัตน์ Jan 2019

ปัจจัยที่มีผลต่อการจดจำตราสินค้าของผู้ให้การสนับสนุนกีฬาฟุตบอลไทยลีกผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต, นวรัตน์ สิริรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจดจำตราสินค้าของผู้ให้การสนับสนุนกีฬาฟุตบอลไทยลีกผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต โดยทำการศึกษาปัจจัย 4 ด้าน ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านเวลาที่ตราสินค้าออกอากาศ 2) ปัจจัยด้านคู่แข่งตราสินค้า 3) ปัจจัยด้านความคุ้นเคยกับตราสินค้า 4) ปัจจัยด้านการเคยใช้สินค้าหรือบริการของผู้ให้การสนับสนุน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็น นิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา นิสิตคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา และนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนวิชากิจกรรมกีฬา (SPORT ACTIVITY) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศชาย อายุ 21 – 25 ปี จำนวน 120 คน ผู้วิจัยเลือกใช้แบบแผนการทดลองขั้นต้น (Pre-experimental Design) แบบ One-Shot Case Study ผู้วิจัยดำเนินการทดลองโดยให้กลุ่มตัวอย่างดูคลิปไฮไลท์การแข่งขันฟุตบอลไทยลีกและตอบแบบสอบถาม จากนั้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค (Logistic regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า เวลาที่ตราสินค้าออกอากาศเพิ่มขึ้น 1 วินาที ส่งผลให้เกิดการจดจำตราสินค้าได้มากขึ้น 1.005 เท่า หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 จำนวนคู่แข่งตราสินค้าของผู้ให้การสนับสนุนที่ออกอากาศเพิ่มมากขึ้น 1 ตราสินค้า ส่งผลให้เกิดการจดจำตราสินค้าได้น้อยลง .960 เท่า หรือคิดเป็นร้อยละ 4 ความคุ้นเคยกับตราสินค้าของผู้ให้การสนับสนุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ส่งผลให้เกิดการจดจำตราสินค้าเพิ่มมากขึ้น 2.579 เท่า การเคยใช้สินค้าหรือบริการของผู้ให้การสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ส่งผลต่อการจดจำตราสินค้าของผู้ให้การสนับสนุนเพิ่มขึ้น 2.111 เท่า สรุปผลการวิจัยได้ว่า ปัจจัยด้านเวลาที่ตราสินค้าออกอากาศ ปัจจัยด้านความคุ้นเคยกับตราสินค้า ปัจจัยด้านการเคยใช้สินค้าหรือบริการของผู้ให้การสนับสนุน มีผลต่อการจดจำตราสินค้าในทิศทางบวก ปัจจัยด้านคู่แข่งตราสินค้า มีผลต่อการจดจำตราสินค้าในทิศทางลบ


ปัจจัยลักษณะทางกายภาพที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเลือกสถานที่เรียนกีฬาเทนนิสให้กับบุตรหลานของผู้ปกครอง, วิชญะ ลาชมภู Jan 2019

ปัจจัยลักษณะทางกายภาพที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเลือกสถานที่เรียนกีฬาเทนนิสให้กับบุตรหลานของผู้ปกครอง, วิชญะ ลาชมภู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะทางกายภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเลือกสถานที่เรียนกีฬาเทนนิสให้กับบุตรหลานของผู้ปกครอง ซึ่งสถานที่เรียนกีฬาเทนนิส เป็นสถานที่ส่งเสริมการออกกำลังกายซึ่งต้องอาศัยส่วนประสมทางการตลาดในด้านลักษณะทางกายภาพมาเป็นเครื่องชี้วัดถึงคุณภาพของสถานที่ เพื่อให้ผู้มาใช้บริการเกิดความพึงพอใจ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองที่มาใช้บริการสถานที่เรียนกีฬาเทนนิส จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติในการทดสอบสมมติฐานใช้ค่าสถิติ สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยลักษณะทางกายภาพส่งผลต่อความพึงพอใจในการเลือกสถานที่เรียนกีฬาเทนนิสให้กับบุตรหลานของผู้ปกครองในระดับมากที่สุด และปัจจัยลักษณะทางกายภาพด้านทำเลที่ตั้งของสถานที่เรียนกีฬาเทนนิส ด้านสภาพแวดล้อมและบริเวณโดยรอบของสถานที่เรียนกีฬาเทนนิส และด้านภาพลักษณ์ของสถานที่เรียนกีฬาเทนนิส ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า ปัจจัยลักษณะทางกายภาพของสถานที่เรียนกีฬาเทนนิสด้านทำเลที่ตั้งของสถานที่เรียนกีฬาเทนนิส ด้านสภาพแวดล้อมและบริเวณโดยรอบของสถานที่เรียนกีฬาเทนนิส และด้านภาพลักษณ์ของสถานที่เรียนกีฬาเทนนิส ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ


ผลของการฝึกแบบหนักสลับเบาที่มีต่อองค์ประกอบของร่างกาย สมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้มีภาวะอ้วน, สรวิศ ลาภธนชัย Jan 2019

ผลของการฝึกแบบหนักสลับเบาที่มีต่อองค์ประกอบของร่างกาย สมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้มีภาวะอ้วน, สรวิศ ลาภธนชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกแบบหนักสลับเบาที่มีต่อองค์ประกอบของร่างกาย สมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้มีภาวะอ้วน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือผู้มีภาวะอ้วนที่เป็นนิสิตหรือบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศชายและหญิง อายุ 18 – 45 ปี จำนวน 31 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน ได้รับการฝึกแบบหนักสลับเบา 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุม จำนวน 16 คน ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ เก็บข้อมูลตัวแปรด้านสรีรวิทยาและองค์ประกอบของร่างกาย ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด และตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลองของแต่ละกลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired-T test) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองโดย การทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent –T test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัย หลังการทดลอง 12 สัปดาห์ กลุ่มที่ได้รับการฝึกหนักสลับเบามีน้ำหนักตัว มีค่าเฉลี่ย น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลไขมัน อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้นกลุ่มฝึกหนักสลับเบา มีค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวที่ปราศจากไขมัน มวลกล้ามเนื้อ ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด ปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที ค่าแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด และค่าแรงดันการหายใจออกสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่า กลุ่มที่ได้รับการฝึกหนักสลับเบามีน้ำหนักตัว อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก เปอร์เซ็นต์ไขมัน ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด แรงดันการหายใจเข้าสูงสุด และแรงดันการหายใจออกสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกแบบหนักสลับเบาเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ช่วยพัฒนาองค์ประกอบของร่างกาย สมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้มีภาวะอ้วนได้


ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชัก, สร้อยนภา ใหมพรหม Jan 2019

ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชัก, สร้อยนภา ใหมพรหม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชัก และเปรียบเทียบระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชักจำแนกตามตัวแปรอายุและระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชักที่มารักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกคลินิกกุมารประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา กรุงเทพมหานคร จำนวน 108 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชักที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมา โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.86 และได้หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) จากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคูเดอร์ริชาร์ดสัน ในแบบประเมินตอนที่ 1 และตอนที่ 2 เท่ากับ 0.70 และ 0.71 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคในแบบประเมินตอนที่ 3 ตอนที่ 4 และตอนที่ 5 เท่ากับ 0.82, 0.70 และ 0.96 ตามลำดับ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) หากพบความแตกต่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จึงทำการทดสอบเป็นแบบรายคู่ โดยใช้วิธีแบบแอลเอสดี ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชักส่วนใหญ่มีระดับความรู้ด้านสุขภาพ อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 96.30 โดยการอ่านทำความเข้าใจตัวหนังสือและตัวเลข และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชักอยู่ในระดับดีมาก ส่วนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ และการสื่อสารเพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพของผู้ป่วยเด็กโรคลมชัก อยู่ในระดับพอใช้ เมื่อเปรียบเทียบระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชักจำแนกตามตัวแปรอายุและระดับการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชักที่มีอายุ 20-49 ปี มีความรอบรู้ด้านสุขภาพมากกว่าอายุ 50 ปีขึ้นไป และผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชักที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรีมีความรอบรู้ด้านสุขภาพมากกว่าผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรืออนุปริญญา และประถมศึกษาหรือไม่ได้เรียนหนังสือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลของไซมอน เอฟเฟค ทางการได้ยินที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาและความถูกต้องของการตอบสนองในนักกีฬาฟุตซอลเพศชาย, จิดาภา ศิริวรรณ์ Jan 2019

ผลของไซมอน เอฟเฟค ทางการได้ยินที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาและความถูกต้องของการตอบสนองในนักกีฬาฟุตซอลเพศชาย, จิดาภา ศิริวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของไซมอน เอฟเฟค ทางการได้ยินที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาและความถูกต้องของการตอบสนองในนักกีฬาฟุตซอลเพศชาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักกีฬาฟุตซอลเพศชาย สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุระหว่าง 18-21 ปี ทำการทดลองการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางการได้ยินด้วยการเคลื่อนที่เท้าข้างถนัดไปยังเป้าหมายตามทิศทางของคำสั่งอย่างรวดเร็วที่สุดเป็นจำนวน 4 ชุด ชุดละ 10 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 40 ครั้ง แบ่งเป็นรูปแบบที่สิ่งเร้าและการตอบสนองสอดคล้องกัน 20 ครั้ง และไม่สอดคล้องกัน 20 ครั้ง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่าเวลาปฏิกิริยา เวลาการเคลื่อนไหวและค่าเปอร์เซ็นความผิดพลาดในการตอบสนองของกลุ่มตัวอย่าง และวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางชนิดที่มีความเกี่ยวข้องกันในกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ 2 way ANOVA 2X2 (two by two) with repeated measures กำหนดค่าความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า พบว่าผลของความแตกต่างในเวลาปฏิกิริยาของความสอดคล้องกับไม่สอดคล้องสิ่งเร้ากับการตอบสนองและด้านซ้ายและขวา และของเวลาการเคลื่อนไหวของความสอดคล้องกับไม่สอดคล้องสิ่งเร้ากับการตอบสนองไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่า นักกีฬาที่มีประสบการณ์ และมีความเคยชินกับสถานการณ์ที่ต้องตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มีความขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกันส่งผลให้เกิดการหักล้าง (elimination) หรือการย้อนกลับ (reverse) ของไซมอน เอฟเฟคได้ และยังพบอิทธิพลของผลไซมอน เอฟเฟค ทางการได้ยินของนักกีฬาฟุตซอล เพศชาย ที่เวลาการเคลื่อนไหว ของการตอบสนองข้างซ้ายและขวา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ผลมาจากการที่ท่าทางกายวิภาคของขาในการก้าว ที่เป็นการหดเข้า (flexor) มีความแข็งแรงมากกว่าการยืดออก (adductor) และมีพลังในการเคลื่อนไหวได้มากกว่า ซึ่งในทางกลับกัน สรุปผลการวิจัย ในนักกีฬาฟุตซอล เพศชาย ไม่ได้รับอิทธิพลของไซมอน เอฟเฟคทางการได้ยิน


ผลของการฝึกเชิงซ้อนด้วยท่าบาร์เบลทรัสเตอร์ร่วมกับเมดิซินบอลวู้ดช็อปที่มีต่อความสามารถในการทุ่มด้วยหัวไหล่ในนักกีฬายูโดชาย, จุฑามาส ยังหัตถี Jan 2019

ผลของการฝึกเชิงซ้อนด้วยท่าบาร์เบลทรัสเตอร์ร่วมกับเมดิซินบอลวู้ดช็อปที่มีต่อความสามารถในการทุ่มด้วยหัวไหล่ในนักกีฬายูโดชาย, จุฑามาส ยังหัตถี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเชิงซ้อนด้วยท่าบาร์เบลทรัสเตอร์ร่วมกับเมดิซินบอลวู้ดช็อปที่มีผลต่อความสามารถในการทุ่มด้วยหัวไหล่ในนักกีฬายูโดชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬายูโด เพศชาย ระดับมหาวิทยาลัย อายุระหว่าง 18-24 ปี กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝึกเชิงซ้อนด้วยท่าบาร์เบลทรัสเตอร์ร่วมกับเมดิซินบอลวู้ดช็อป ทำการฝึกน้ำหนักในท่าทรัสเตอร์ ที่ความหนัก 85% ของความหนักสูงสุด จำนวน 6 ครั้ง พัก 30 วินาที แล้วฝึกต่อด้วยท่าวู้ดชอปกับเมดิซีนบอลในข้างที่ถนัด ที่ความหนัก 10% ของน้ำหนักตัว จำนวน 12 ครั้ง พักระหว่างชุด 4 นาที และกลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบปกติ ทำการฝึกน้ำหนักในท่าแบ็คสควอท ที่ความหนัก 85% ของความหนักสูงสุด จำนวน 6 ครั้ง พัก 30 วินาที แล้วฝึกต่อด้วยท่าสควอทจั๊มพ์ จำนวน 12 ครั้ง พักระหว่างชุด 4 นาที ทั้งสองกลุ่มทำการฝึกทั้งหมด 4 ชุด ฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ พลังกล้ามเนื้อ และความเร็วในการทุ่ม ก่อนการฝึกและหลังการฝึก จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแตกต่างภายในกลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Pair samples t-test) และความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent samples t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึก 6 สัปดาห์ภายในกลุ่มฝึกเชิงซ้อนด้วยท่าบาร์เบลทรัสเตอร์ร่วมกับเมดิซินบอลวู้ดช็อปและกลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบปกติ มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและพลังกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบหลังการฝึก 6 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มฝึกเชิงซ้อนด้วยท่าบาร์เบลทรัสเตอร์ร่วมกับเมดิซินบอลวู้ดช็อป มีความเร็วในการทุ่มเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าในการศึกษาครั้งนี้โปรแกรมการฝึกเชิงซ้อนด้วยท่าบาร์เบลทรัสเตอร์ร่วมกับเมดิซินบอลวู้ดช็อปช่วยให้นักกีฬายูโดสามารถพัฒนาความสามารถในการทุ่มด้วยหัวไหล่ได้


ปัจจัยส่วนประสมการตลาด 7ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าร่วมการแข่งขันไตรกีฬา, ชลธิชา เอี่ยมสิทธิพันธุ์ Jan 2019

ปัจจัยส่วนประสมการตลาด 7ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าร่วมการแข่งขันไตรกีฬา, ชลธิชา เอี่ยมสิทธิพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าร่วมการแข่งขันไตรกีฬาในประเทศไทยของนักไตรกีฬา โดยใช้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps รวมถึงลักษณะทางประชากรศาสตร์ทางด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของนักไตรกีฬาการวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Independent Sample t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว One-Way ANOVA โดยตั้งระดับความสำคัญทางนัยสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นระดับมากที่สุดทั้งในปัจจัยส่วนประสมทางการ ตลาด 7Ps และการตัดสินใจเลือกเข้าร่วมการแข่งขันไตรกีฬาในประเทศไทยของนักไตรกีฬา ผลการทดสอบ สมมติฐาน พบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการเท่านั้น ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าร่วมการแข่งขันไตรกีฬาในประเทศไทยของนักไตรกีฬาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่ลักษณะประชากรศาสตร์ทาง ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีระดับการตัดสินใจเลือกเข้าร่วมการแข่งขันไตรกีฬาในประ เทศไทยไม่แตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย มีเพียงปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้าน ลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการเท่านั้น ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าร่วมการแข่งขันไตรกีฬา ในประเทศไทยของนักไตรกีฬา อย่างไรก็ตาม ลักษณะประชากรศาสตร์ทางด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าร่วมการแข่งขันไตรกีฬาในประเทศไทย


ผลของการฝึกรำไทยร่วมกับการใส่น้ำหนักที่ข้อเท้าที่มีต่อความสามารถในการเดินและการทรงตัวในผู้สูงอายุ, ณัฐริกานต์ ศักดิ์สนิท Jan 2019

ผลของการฝึกรำไทยร่วมกับการใส่น้ำหนักที่ข้อเท้าที่มีต่อความสามารถในการเดินและการทรงตัวในผู้สูงอายุ, ณัฐริกานต์ ศักดิ์สนิท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกรำไทยร่วมกับการใส่น้ำหนักที่ข้อเท้าที่มีต่อความสามารถในการเดินและการทรงตัวในผู้สูงอายุ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว อายุ 60 – 79 ปี ทั้งเพศหญิงและเพศชาย จำนวน 34 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองจำนวน 17 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 17 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น แบ่งตามช่วงอายุ เพศ และค่าคะแนนการทรงตัวด้วยวิธีการทดสอบความสามารถในการทรงตัว (Timed up and go) กลุ่มทดลองทำการฝึกโปรแกรมรำไทยร่วมกับการใส่น้ำหนักที่ข้อเท้า 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมให้ดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ แล้วทำการทดสอบความสามารถในการเดิน ความสามารถในการทรงตัวทั้งขณะอยู่นิ่งและขณะเคลื่อนไหว ความแข็งแรง ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ก่อนการฝึกและหลังการฝึกโปรแกรม นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติทีแบบรายคู่ และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติที ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองที่ทำการฝึกการรำไทยร่วมกับการใส่น้ำหนักที่ข้อเท้า มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง ได้แก่ ความกว้างของการเดินปกติ ความเร็วและจำนวนก้าวในการเดิน การทรงตัวขณะอยู่นิ่ง การทรงตัวขณะเคลื่อนไหว ความแข็งแรง ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการทดลอง 12 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มทดลองที่ทำการฝึกการรำไทยร่วมกับการใส่น้ำหนักที่ข้อเท้า มีความยาวก้าวของการเดิน ความเร็วและจำนวนก้าวในการเดิน การทรงตัวขณะอยู่นิ่ง การทรงตัวขณะเคลื่อนไหว ความแข็งแรง ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อส่วนล่างดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกการรำไทยร่วมกับการใส่น้ำหนักที่ข้อเท้าเป็นโปรแกรมที่ช่วยพัฒนาความสามารถในการเดิน การทรงตัวขณะอยู่นิ่ง การทรงตัวขณะเคลื่อนไหว ความแข็งแรง ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อในผู้สูงอายุ


ผลของการฝึกหายใจแบบฟาริเนลลีที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ศุภวิชญ์ อิทธินิรันดร Jan 2019

ผลของการฝึกหายใจแบบฟาริเนลลีที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ศุภวิชญ์ อิทธินิรันดร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกหายใจแบบฟาริเนลลีและเปรียบเทียบผลของการฝึกหายใจแบบฟาริเนลลีกับการฝึกหายใจแบบใช้กะบังลม ที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า อายุ 51 – 80 ปี เพศชายและหญิง จำนวน 16 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ได้รับการฝึกหายใจแบบฟาริเนลลี จำนวน 8 คน และกลุ่มที่ 2 ได้รับการฝึกหายใจแบบใช้กะบังลม จำนวน 8 คน โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับการฝึกหายใจ 5 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ก่อนและหลังการทดลองทำการทดสอบข้อมูลด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ตัวแปรความสามารถทางแอโรบิก ตัวแปรด้านอาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และตัวแปรด้านสารชีวเคมีในเลือด จากนั้นนำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ด้วยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ไม่พบความแตกต่างของงค่าเฉลี่ยข้อมูลด้านสรีรวิทยา ได้แก่ น้ำหนักตัว อัตราการเต้นหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว ความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ดัชนีมวลกาย ค่าร้อยละไขมันในร่างกาย และค่าร้อยละของออกซิเจนในเลือดแดง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการทดลองและระหว่างกลุ่ม ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจพบว่า กลุ่มที่ได้รับการฝึกหายใจแบบฟาริเนลลี มีค่าเฉลี่ยปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าเฉลี่ยปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที ค่าเฉลี่ยปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออก ค่าเฉลี่ยปริมาตรหายใจเข้าสำรอง ค่าเฉลี่ยความจุหายใจเข้า ค่าเฉลี่ยแรงดันหายใจเข้าสูงสุด และค่าเฉลี่ยแรงดันหายใจออกสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มที่ได้รับการฝึกหายใจแบบใช้กะบังลม มีค่าเฉลี่ยของความจุหายใจเข้า และค่าเฉลี่ยแรงดันหายใจออกสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า ที่ฝึกหายใจแบบฟาริเนลลีมีค่าเฉลี่ยแรงดันหายใจเข้าสูงสุด และค่าเฉลี่ยแรงดันหายใจออกสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับกลุ่มฝึกหายใจแบบใช้กะบังลมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 สำหรับตัวแปรด้านความสามารถทางแอโรบิก และตัวแปรด้านอาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และตัวแปรด้านสารชีวเคมีในเลือด พบว่า ทั้งกลุ่มฝึกหายใจแบบฟาริเนลลีและกลุ่มฝึกหายใจแบบใช้กะบังลมมีค่าเฉลี่ยระยะทางในการเดินทดสอบ 6 นาที ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพในการใช้ออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และมีค่าเฉลี่ยคะแนนแบบประเมินผลกระทบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เมื่อเทียบระหว่างก่อนและหลังการทดลองแต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม นอกจากนี้ ตัวแปรด้านสารชีวเคมีในเลือดของกลุ่มที่ได้รับการฝึกหายใจแบบฟาริเนลลีพบว่ามีค่าเฉลี่ยทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟา ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม …


ความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันกีฬามวยไทยของผู้ชมชาวไทย, สุวิทย์ เลิศธนากุลวัฒน์ Jan 2019

ความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันกีฬามวยไทยของผู้ชมชาวไทย, สุวิทย์ เลิศธนากุลวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันกีฬามวยไทยของผู้ชมชาวไทย ได้แก่ ด้านการดำเนินงานในการจัดการแข่งขัน การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการจัดการแข่งขัน และการจัดบุคลากรในการดำเนินงาน และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันมวยไทยของผู้ชมชาวไทย ตามตัวแปรลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ชมชาวไทย จำนวน 440 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ และเคยเข้าชมมวยไทยช่อง 7 สี มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) เท่ากับ 0.88 และค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น α เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้ใช้วิธี LSD ทดสอบความแตกต่างรายคู่ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ชมส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 30 – 39 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,000 – 20,000 บาท ซึ่งพบว่าผู้ชมชาวไทยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันกีฬามวยไทยอยู่ในระดับมาก และผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันกีฬามวยไทยของผู้ชมชาวไทย พบว่า ผู้ชมชาวไทยที่มี เพศ อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันมวยไทยไม่แตกต่างกันและผู้ชมชาวไทยที่มีอายุ สถานภาพ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันมวยไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย ความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันกีฬามวยไทยของผู้ชมชาวไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยผู้ชมชาวไทยที่มีลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ สถานภาพ และระดับการศึกษาที่แตกต่างจะมีความพึงพอใจในองค์ประกอบการจัดการแข่งขันกีฬามวยไทยแตกต่างกัน


แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานของผู้ฝึกสอนส่วนบุคคลของฟิตเนส ในเขตกรุงเทพมหานคร, ศศิพิมล พรชลิตกิตติพร Jan 2019

แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานของผู้ฝึกสอนส่วนบุคคลของฟิตเนส ในเขตกรุงเทพมหานคร, ศศิพิมล พรชลิตกิตติพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานของผู้ฝึกสอนส่วนบุคคลของฟิตเนสในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความตรง เท่ากับ 0.96 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 ผลการศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานของผู้ฝึกสอนส่วนบุคคลของฟิตเนสใน เขตกรุงเทพมหานคร พบว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่อยู่ในระดับมากเป็นลำดับแรกคือ ด้านความต้องการทราบผลการตัดสินใจของตนเอง รองลงมาคือ ด้านความขยันขันแข็ง ด้านการคาดการณ์ล่วงหน้า ด้านความกล้าเสี่ยง ด้านทักษะในการจัดการระบบงาน ด้านความชอบการแข่งขัน และด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง อยู่ในระดับมากเป็นลำดับสุดท้าย ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ (ชาย-หญิง) ที่แตกต่างกัน มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานด้านความกล้าเสี่ยง ด้านการคาดการณ์ล่วงหน้า ด้านทักษะในการจัดการ ระบบงาน และด้านความชอบการแข่งขัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ฝึกสอนที่จบกับไม่จบหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือพลศึกษา มีด้านความต้องการทราบผลการตัดสินใจของตนเอง และด้านความชอบการแข่งขัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ฝึกสอนที่มีกับไม่มีใบมาตรฐานการรับรองผู้ฝึกสอนส่วนบุคคล มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานด้านความกล้าเสี่ยง ด้านความขยันขันแข็ง และด้านความต้องการ ทราบผลการตัดสินใจของตนเอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกัน มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงาน ด้านความกล้าเสี่ยง ด้านความขยันขันแข็ง ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง ด้านความต้องการทราบผลการตัดสินใจของตนเอง ด้านการคาดการณ์ล่วงหน้า ด้านทักษะในการจัดการระบบงาน และด้านความชอบการแข่งขัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการฝึกเสริมที่ความเข้มข้นสูงแบบหนักสลับเบาที่มีต่อความสามารถด้านแอโรบิกและแอนแอโรบิกของนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น, บริรักษ์ ปะกาสี Jan 2019

ผลของการฝึกเสริมที่ความเข้มข้นสูงแบบหนักสลับเบาที่มีต่อความสามารถด้านแอโรบิกและแอนแอโรบิกของนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น, บริรักษ์ ปะกาสี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมที่ความเข้มข้นสูงแบบหนักสลับเบาที่มีต่อความสามารถด้านแอโรบิกและแอนแอโรบิกของนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น และเปรียบเทียบผลของการฝึกเสริมที่ความเข้มข้นสูงแบบหนักสลับเบาร่วมกับการฝึกปกติและผลของการฝึกปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นเพศชายของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี โดยทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 24 คน จากนั้นแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คนเท่าๆกันด้วยใช้วิธีการจับคู่ (Matched pair) โดยใช้ค่า Vo2max และอายุเป็นเกณฑ์ ดังนี้ กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการฝึกปกติร่วมกับการฝึกเสริมที่ความเข้มข้นสูงแบบหนักสลับเบา โดยกลุ่มทดลองจะทำการฝึกเสริมด้วยการชกกระสอบทรายที่ความหนัก 90-95% ของชีพจรสูงสุด 20 วินาที และพักแบบมีการเคลื่อนไหว (Active Recovery) โดยการเต้นฟุตเวิคร์ (Boxing Footwork) อยู่กับที่ที่ความหนัก 65-70% ของชีพจรสูงสุด 10 วินาที ทำทั้งหมด 6 รอบ รวมเป็น 1 เซ็ต ฝึก 3 เซ็ต โดยมีการพักระหว่างเซ็ต 2 นาที โดยทำการฝึก 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการฝึกปกติเพียงอย่างเดียว ก่อนและหลังการฝึก สัปดาห์ที่ 6 ทำการวัดค่าตัวแปร ได้แก่ ความสามารถด้านแอโรบิก คือความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด ความสามารถด้านแอนแอโรบิก คือ ความสามารถสูงสุดแบบแอนแอโรบิกและพลังแบบแอนแอโรบิก นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) กำหนดระดับความมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัย ก่อนการฝึกทั้งสองก่อนมีค่าตัวแปรพื้นฐานทางสรีรวิทยาต่างๆ ได้แก่ อายุ น้ำหนัก เปอร์เซ็นไขมันในร่างกาย อัตราการเต้นหัวใจขณะพัก อัตราการเต้นหัวใจสูงสุด ความสามารถด้านเเอโรบิกและแอนแอโรบิกของกลุ่มฝึกเสริมที่ความเข้มข้นสูงแบบหนักสลับเบาและกลุ่มที่ฝึกแบบปกติ ไม่เเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความสามารถด้านแอโรบิกและแอนแอโรบิกสูงกว่ากลุ่มควบคุมแต่ไม่เเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัยโปรแกรมการฝึกที่ความเข้มข้นสูงแบบหนักสลับเบาในนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น ในการวิจัยครั้งนี้มีแนวโน้ม สามารถพัฒนาความสามารถด้านแอโรบิกและแอนแอโรบิกได้ดีกว่ากลุ่มที่ฝึกแบบปกติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการฝึกเสริมฯ มีแนวโน้มที่จะพัฒนาความสามารถด้านแอโรบิกและแอนแอโรบิกในนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นได้


ผลของการฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่งที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในเด็กวัยเรียนที่เป็นโรคหืด, กฤษณา บุญล้ำ Jan 2019

ผลของการฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่งที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในเด็กวัยเรียนที่เป็นโรคหืด, กฤษณา บุญล้ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่งและเปรียบเทียบผลของการฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่งกับการฝึกหายใจแบบหายใจเข้าสูงสุดและคงค้าง ที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในเด็กวัยเรียนที่เป็นโรคหืด กลุ่มตัวอย่างคือเด็กวัยเรียนโรคหืด อายุ 7–12 ปี ที่เข้ารับการรักษาที่ห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 30 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ได้รับการฝึกหายใจแบบหายใจเข้าสูงสุดและคงค้าง จำนวน 15 คน และกลุ่มที่ 2 ได้รับการฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่ง จำนวน 15 คน ทั้งสองกลุ่มฝึกหายใจ 5 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งก่อนและหลังการทดลองผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และตัวแปรด้านอาการของโรคหืด วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตัวแปรระหว่างก่อน และหลังการทดลอง โดยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มมีค่าเฉลี่ยข้อมูลด้านสรีรวิทยาได้แก่ น้ำหนักตัว ส่วนสูง อัตราการเต้นหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการทดลองและระหว่างกลุ่ม ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจพบว่า กลุ่มที่ฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่ง มีค่าเฉลี่ยปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าเฉลี่ยปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าเฉลี่ยอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด ค่าเฉลี่ยปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที ค่าเฉลี่ยแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด และค่าเฉลี่ยแรงดันการหายใจออกสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มที่ฝึกหายใจแบบหายใจเข้าสูงสุดและคงค้าง มีค่าเฉลี่ยปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที ค่าเฉลี่ยแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด และค่าเฉลี่ยแรงดันการหายใจออกสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า กลุ่มที่ฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่งมีค่าเฉลี่ยแรงดันการหายใจออกสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับกลุ่มที่ฝึกหายใจแบบหายใจเข้าสูงสุดและคงค้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับตัวแปรด้านอาการของโรคหืด พบว่า คะแนนการควบคุมโรคของทั้งสองกลุ่มมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเทียบระหว่างก่อนและหลังการทดลองแต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม สรุปผลการวิจัย การฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่งเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ช่วยพัฒนาสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ รวมถึงช่วยให้สามารถควบคุมโรคหืดได้ดียิ่งขึ้น


การพัฒนารูปแบบการฝึกเชิงซ้อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการเร่งความเร็วของนักวิ่งระยะสั้น อายุ 14-16 ปี, ชนวัฒน์ สรรพสิทธิ์ Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการฝึกเชิงซ้อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการเร่งความเร็วของนักวิ่งระยะสั้น อายุ 14-16 ปี, ชนวัฒน์ สรรพสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกเชิงซ้อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการเร่งความเร็วของนักวิ่งระยะสั้น อายุ 14-16 ปี ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 การศึกษาคือ การศึกษาที่ 1 ทำการเปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อในการวิ่งเร็วแบบก้าวกระโดดบนพื้นราบและบนพื้นลาดเอียงที่มุมแตกต่างกัน โดยให้นักวิ่งระยะสั้น เพศชาย จำนวน 12 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 3 คน ทำการทดลองแบบถ่วงดุลลำดับ โดยแต่ละกลุ่มได้รับการทดสอบการวิ่งเร็วแบบก้าวกระโดดบนพื้นราบและบนพื้นลาดเอียงที่มุมแตกต่างกัน คือ 3 องศา 6 องศา และ 9 องศา ใช้ระยะทางในการวิ่งเร็วแบบก้าวกระโดด 10 เมตร ทำสลับกันในมุมที่แตกต่างกันไปทุก ๆ สัปดาห์จนครบทุกกลุ่ม นักกีฬาทำการวิ่งเร็วแบบก้าวกระโดดจำนวน 5 เที่ยวแต่ละเที่ยวพัก 5 นาที และนำข้อมูลคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำการศึกษาจำนวน 9 มัด มาทำหาค่าตัวแปรคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อประกอบด้วย เปอร์เซ็นต์ความต่างศักย์ขณะกล้ามเนื้อหดตัวสูงสุด ระยะเวลาในการทำงานของ EMG ไปยังจุดสูงสุด และอัตราการพัฒนาคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ผลการทดลองพบว่า การวิ่งเร็วแบบก้าวกระโดดด้วยมุม 9 องศา มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการทำงานของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อมากที่สุด โดยกล้ามเนื้อส่วนใหญ่มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อมุมของพื้นลาดเอียงมากขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อ Vastus lateralis แสดงค่าเปอร์เซ็นต์ความต่างศักย์ขณะกล้ามเนื้อหดตัวสูงสุดมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกล้ามเนื้อมัดอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างของอัตราการพัฒนาคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อระหว่างพื้นราบและมุม 9 องศา ยกเว้นกล้ามเนื้อ Soleus ที่ไม่พบความแตกต่างในทุกมุมองศา การศึกษาที่ 2 ทำการศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกเชิงซ้อนแบบผสมผสานการฝึกด้วยแรงต้านกับการวิ่งเร็วแบบก้าวกระโดดบนพื้นราบและบนพื้นลาดเอียงที่มีต่อความสามารถในการเร่งความเร็วของนักวิ่งระยะสั้นอายุ 14-16 ปี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักวิ่งระยะสั้นชายของโรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ประกอบด้วย กลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกเชิงซ้อนแบบผสมผสานการฝึกด้วยแรงต้านกับการวิ่งเร็วแบบก้าวกระโดดบนพื้นลาดเอียง กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกเชิงซ้อนแบบผสมผสานการฝึกด้วยแรงต้านกับการวิ่งเร็วแบบก้าวกระโดดบนพื้นราบ และกลุ่มควบคุม ซึ่งกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม ทำการฝึก 2 …


การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนที่ครอบครัวยากจน, จริยา ศรีวิจารย์ Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนที่ครอบครัวยากจน, จริยา ศรีวิจารย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed method research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบวัดทักษะชีวิตของนักเรียนที่ครอบครัวยากจน 2) พัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนที่ครอบครัวยากจน และ 3) เปรียบเทียบประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนที่ครอบครัวยากจน เครื่องมือวิจัยใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบวัดทักษะชีวิต โปรแกรมการส่งเสริมทักษะชีวิต กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์บางกรวย จังหวัดนนทบุรี จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 15 คนและกลุ่มควบคุมจำนวน 15 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมจำนวน 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรม ผลการวิจัย พบว่า 1) แบบวัดทักษะชีวิตด้านการควบคุมอารมณ์และจัดการกับตนเองมีค่าความความตรงและความเที่ยงของแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 และ 0.918 ตามลำดับ 2) โปรแกรมการส่งเสริมทักษะชีวิตประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ การรู้จักและเข้าใจตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเอง การมีเป้าหมายในชีวิต การจัดการกับอารมณ์ และ การจัดการกับความเครียดและมี 24 กิจกรรม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.96 3) ผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมทักษะชีวิตระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะชีวิตสูงกว่ากลุ่มควบคุมหลังทดลองและระยะติดตามผล 4 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนทักษะชีวิตหลังทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โปรแกรมทักษะชีวิตมีความคงทนถึงระยะติดตามผล 4 สัปดาห์และสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมทักษะชีวิตได้ระบุว่ามีทักษะชีวิตมากขึ้นหลังการทดลองจนถึงระยะติดตามผล ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลสามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะชีวิตเพิ่มขึ้น ควรมีการส่งเสริมกิจกรรมทักษะชีวิตให้นักเรียนที่ครอบครัวยากจนด้อยโอกาสเพื่อส่งเสริมให้มีทักษะชีวิตเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันในการจัดการกับปัญหาและอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม


ความพึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อพันธะผูกพันและการบอกต่อของผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย, นวลพรรณ เนติทวีทรัพย์ Jan 2019

ความพึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อพันธะผูกพันและการบอกต่อของผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย, นวลพรรณ เนติทวีทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อพันธะผูกพันและการบอกต่อของผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) ใช้การเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ (Haphazard or Accidental Sampling) ด้วยวิธีการแจกแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) กับกลุ่มตัวอย่างคือผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย จำนวน 1,000 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง จำนวน 549 คน และเพศชาย จำนวน 451 คน ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 26 – 35 ปี มีการติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจ Volleyballthailand มากที่สุด 2) ความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพสารสนเทศ คุณภาพระบบ คุณภาพการบริการ ความพึงพอใจ พันธะผูกพัน และการบอกต่อของผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยอยู่ในระดับมาก 3) โมเดลแบบจำลององค์ประกอบเชิงยืนยัน และสมการโครงสร้างความพึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อพันธะผูกพันและการบอกต่อของผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 4) คุณภาพสารสนเทศ คุณภาพระบบ คุณภาพการบริการ มีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจ ความพึงพอใจมีอิทธิพลทางตรงต่อพันธะผูกพันและการบอกต่อ พันธะผูกพันมีอิทธิพลทางตรงต่อการบอกต่อ ความพึงพอใจมีอิทธิพลต่อการบอกต่อซึ่งถูกส่งผ่านโดยพันธะผูกพันของผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


ผลของการฝึกสปรินท์ในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา สารเคมีในเลือด และความสามารถในการสปรินท์ซ้ำในนักกีฬารักบี้ 7 คน, วดี พราหมณ์กระโทก Jan 2019

ผลของการฝึกสปรินท์ในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา สารเคมีในเลือด และความสามารถในการสปรินท์ซ้ำในนักกีฬารักบี้ 7 คน, วดี พราหมณ์กระโทก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 การศึกษา การศึกษาที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับพลันของการสัมผัสอากาศที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติ (FiO2=14.5%) ที่มีต่อตัวแปรทางสรีรวิทยา สารชีวเคมีในเลือด ปริมาณออกซิเจนในกล้ามเนื้อ และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2peak) โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬารักบี้ 7 คน ตัวแทนทีมชาติไทย เพศชาย จำนวน 7 คน มีอายุระหว่าง 18-33 ปี ทำการทดสอบการตอบสนองของสารชีวเคมีในเลือด ได้แก่ ปริมาณฮีโมโกลบิน (Hb) ปริมาณฮีมาโทคริต (Hct) และระดับโปรตีน HIF-1α และ VEGF ในเซรั่มขณะพัก และตัวแปรทางสรีรวิทยาและปริมาณออกซิเจนในกล้ามเนื้อ ได้แก่ปริมาณฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจน (O2Hb) ปริมาณฮีโมโกลบินที่ไม่จับกับออกซิเจน (HHb) ปริมาณฮีโมโกลบินและมัยโอโกลบิน (tHb) และดัชนีการใช้ออกซิเจน (TSI) ในกล้ามเนื้อ Vastus lateralis ขณะออกกำลังกายสูงสุดบนลู่กล ในห้องจำลองสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำ (Hypoxic room, FiO2=14.5%) เป็นระยะเวลา 3 ชั่วโมง เปรียบเทียบกับในสภาวะปริมาณออกซิเจนปกติ ผลการวิจัยพบว่า การสัมผัสอากาศที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำ (FiO2=14.5%) เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ทำให้มีปริมาณฮีโมโกลบิน และระดับโปรตีน HIF-1α ในเซรั่ม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ในขณะที่ระดับโปรตีน VEGF ในเซรั่ม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการสัมผัสอากาศ (FiO2=20.9%) และพบว่า ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง (SaO2) สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2peak) การระบายอากาศสูงสุด (VEmax) อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด (HRmax) และเวลาที่ใช้ในการออกกำลังกายจนหมดแรง (Time to exhaustion) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่ระดับรับรู้ความเหนื่อย (RPE) และความเข้มข้นสูงสุดของแลคเตทในเลือดไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจนในกล้ามเนื้อ (O2Hb) ก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการสัมผัสอากาศ ในการศึกษาที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกเสริมด้วยการสปรินท์ที่มีต่อตัวแปรทางสรีรวิทยา …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเลือกสถานที่เรียนกีฬาเทควันโดของผู้ปกครอง, วรัทยา เถาแตง Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเลือกสถานที่เรียนกีฬาเทควันโดของผู้ปกครอง, วรัทยา เถาแตง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเลือกสถานที่เรียนกีฬาเทควันโดของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองของนักเรียนที่ใช้บริการสถานที่เรียนกีฬาเทควันโดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 408 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างค่าคำถามและวัตถุประสงค์เท่ากับ 1.00 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.94 ผู้วิจัยทำการแจกแบบสอบถาม ณ สถานที่เรียนกีฬาเทควันโดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 68 แห่ง แห่งละ 6 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติในการทดสอบสมมติฐานใช้ค่าสถิติการถดถอยพหุคูณ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยคุณภาพการบริการของผู้ฝึกสอน ปัจจัยภาพลักษณ์องค์กร และปัจจัยการบอกต่อส่งผลต่อความตั้งใจในการเลือกสถานที่เรียนกีฬาเทควันโดของผู้ปกครองอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย ปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัยส่งผลต่อความตั้งใจในการเลือกสถานที่เรียนกีฬาเทควันโดของผู้ปกครอง โดยเรียงปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยคุณภาพการบริการของผู้ฝึกสอน ปัจจัยภาพลักษณ์องค์กร และปัจจัยการบอกต่อ


ผลของโปรแกรมการฝึกที่มีระยะเวลาการพักที่แตกต่างกันต่อความสามารถในการสปริ้นต์ซ้ำของนักกีฬาฟุตบอลหญิง, สุกัญญา ช.เจริญยิ่ง Jan 2019

ผลของโปรแกรมการฝึกที่มีระยะเวลาการพักที่แตกต่างกันต่อความสามารถในการสปริ้นต์ซ้ำของนักกีฬาฟุตบอลหญิง, สุกัญญา ช.เจริญยิ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการฝึกวิ่งสปริ้นต์ซ้ำด้วยระยะพักที่แตกต่างกันต่อความสามารถสปริ้นต์ซ้ำของนักกีฬาฟุตบอลหญิง วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลหญิงสโมสรชลบุรีเอฟซี อายุระหว่าง 18-24 ปี จำนวน 36 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน กลุ่มที่ 1 ฝึกวิ่งสปริ้นต์ซ้ำด้วยความเร็วสูงสุดระยะทาง 20 เมตร สลับกับระยะเวลาพัก 5 วินาที กลุ่มที่ 2 ฝึกวิ่งสปริ้นต์ซ้ำด้วยความเร็วสูงสุดระยะทาง 20 เมตร สลับกับระยะเวลาพัก 10 วินาที และกลุ่มที่ 3 ฝึกวิ่งสปริ้นต์ซ้ำด้วยความเร็วสูงสุดระยะทาง 20 เมตร สลับกับระยะเวลาพัก 15 วินาที ทั้งสามกลุ่มได้รับการฝึกสัปดาห์ละ 2 วัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ จากนั้นทำการทดสอบตัวแปรทางสรีรวิทยา ทดสอบความสามารถในการวิ่งสปริ้นต์ซ้ำ และทดสอบเวลาที่ใช้ในการวิ่งเร็วสูงสุด และนำผลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า เวลารวม เวลาที่ดีที่สุด เวลาเฉลี่ยและเปอร์เซ็นต์ความเมื่อยล้าของกลุ่มที่มีระยะเวลาพัก 10 วินาที มีระยะเวลาลดลงหลังการฝึก ส่วนเวลาในการวิ่งเร็วสุงสุดระยะทาง 10 เมตร, 20 เมตร และ 40 เมตร ของทั้งสามกลุ่ม มีระยะเวลาลดลงหลังการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และเมื่อทำการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม โดยเวลารวม เวลาที่ดีที่สุด และเวลาเฉลี่ยในการวิ่งสปริ้นต์ซ้ำของกลุ่มที่มีระยะเวลาพัก 10 วินาที มีระยะเวลาลดลงหลังการฝึกมากกว่ากลุ่มอื่น ส่วนเวลาในการวิ่งเร็วสูงสุดระยะทาง 10 เมตร ของกลุ่มที่มีระยะเวลาพัก 10 วินาที มีระยะเวลาลดลงหลังการฝึกมากกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สรุปการวิจัย การฝึกวิ่งสปริ้นต์ซ้ำด้วยความเร็วสูงสุดระยะทาง 20 เมตร สลับกับระยะเวลาพัก 10 วินาที ส่งผลดีต่อความสามารถในการวิ่งสปริ้นต์ซ้ำและเวลาที่ใช้ในการวิ่งเร็วสูงสุดระยะสั้น 10-40 เมตร จึงเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการฝึกในนักกีฬาฟุตบอลต่อการพัฒนาทักษะด้านดังกล่าวได้ดีที่สุด


ผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกฟังก์ชันนอลแบบหนักสลับพักที่มีต่อความสามารถที่แสดงออกทางอากาศนิยมและความสามารถในการเคลื่อนที่ในนักกีฬาแบดมินตัน, สุนันต์ ระฆังทอง Jan 2019

ผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกฟังก์ชันนอลแบบหนักสลับพักที่มีต่อความสามารถที่แสดงออกทางอากาศนิยมและความสามารถในการเคลื่อนที่ในนักกีฬาแบดมินตัน, สุนันต์ ระฆังทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกฟังก์ชันนอลแบบหนักสลับพักที่มีต่อความสามารถที่แสดงออกทางอากาศนิยมและความสามารถในการเคลื่อนที่ในนักกีฬาแบดมินตันชาย วิธีดำเนินการวิจัย นักกีฬาแบดมินตัน เพศชาย สโมสรทีไทยแลนด์ อายุ 18 – 25 ปี จำนวน 20 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีจับคู่ใช้ค่าความสามารถสูงสุดในการใช้ออกซิเจนในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมฝึกฟังก์ชันนอลแบบหนักสลับพักและฝึกปกติ และกลุ่มที่ 2 ได้รับการฝึกปกติ ทำการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทดสอบตัวแปรก่อนและหลังการทดลอง ได้แก่ องค์ประกอบของร่างกายทั่วไป ความสามารถที่แสดงออกทางอากาศนิยม ค่าจุดเริ่มล้า และความสามารถในการเคลื่อนที่ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลองด้วยค่าทีแบบรายคู่ (Pair t-test) และทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่ 1 มีค่าความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด ค่าจุดเริ่มล้า และความสามารถในการเคลื่อนที่ ดีกว่า กลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกแบบฟังก์ชันนอลแบบหนักสลับพัก สามารถพัฒนาความสามารถที่แสดงออกทางอากาศนิยม ค่าจุดเริ่มล้า และความสามารถในการเคลื่อนที่ของนักกีฬาแบดมินตันได้


บทบาทการเป็นตัวแปรส่งผ่านของแรงจูงใจของผู้ชมกีฬาที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดกับพฤติกรรมการบริโภคกีฬา, ณรงค์ฤทธิ์ นิ่มมาก Jan 2019

บทบาทการเป็นตัวแปรส่งผ่านของแรงจูงใจของผู้ชมกีฬาที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดกับพฤติกรรมการบริโภคกีฬา, ณรงค์ฤทธิ์ นิ่มมาก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการเป็นตัวแปรส่งผ่านของแรงจูงใจของผู้ชมกีฬาที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดกับพฤติกรรมการบริโภคกีฬา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เข้าชมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลอาชีพไทยลีก ประจำปี 2561 จำนวน 1,000 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ดำเนินการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และปรับแก้โมเดลเพื่อให้ข้อมูลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการใช้เทคนิคทางสถิติโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL Version 8.72 จนได้โมเดลที่เหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า 1.การสื่อสารการตลาดมีอิทธิพลทางตรงต่อแรงจูงใจของผู้ชมกีฬาฟุตบอลอาชีพ เท่ากับ 0.74 และมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการบริโภคของผู้ชมกีฬาฟุตบอลอาชีพเท่ากับ 0.17 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2.แรงจูงใจมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการบริโภคของผู้ชมกีฬาฟุตบอลอาชีพ เท่ากับ 0.77 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และแรงจูงใจมีบทบาทเป็นตัวแปรส่งผ่านอิทธิพล โดยที่การสื่อสารการตลาดมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคกีฬาโดยผ่านแรงจูงใจของผู้ชมกีฬาฟุตบอลอาชีพ ซึ่งเป็นอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.74 โดยเป็นอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.17 และอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.57 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3.โมเดลบทบาทการเป็นตัวแปรส่งผ่านของแรงจูงใจของผู้ชมกีฬาที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดกับพฤติกรรมการบริโภคกีฬา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 55.20, df = 44, p-value = 0.12, χ2/df = 1.25, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, CFI = 1.00, SRMR = 0.011, RMSEA = 0.016)