Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Sociology

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2020

Articles 1 - 30 of 32

Full-Text Articles in Entire DC Network

ชีวอำนาจกับฮาบิทัสของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในจังหวัดสมุทรสาคร, ปิยชัย นาคอ่อน Jan 2020

ชีวอำนาจกับฮาบิทัสของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในจังหวัดสมุทรสาคร, ปิยชัย นาคอ่อน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง ชีวอำนาจกับฮาบิทัสของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในจังหวัดสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในระลอกที่สองในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร 2.เพื่อศึกษาการใช้ชีวอำนาจที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร 3.เพื่อวิเคราะห์การปรับตัวของฮาบิทัสที่ได้รับผลจากชีวอำนาจของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา การศึกษานี้ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาจำนวน 15 คน ด้วยการคัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า การเกิดขึ้นของโรคระบาดเชื้อไวรัส Covid-19 ทำให้รัฐไทยเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการโรคระบาดในรูปแบบการส่งผ่านชีวอำนาจทางในมิติต่าง ๆ ประการแรกคือ การใช้อำนาจรัฐโดยตรงในระดับจังหวัดกล่าวคือ การออกนโยบาย กฎหมาย มาตรการ ประกาศจังหวัด เพื่อควบคุมแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาและองค์กรเอกชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร การดำเนินการดังกล่าวของรัฐเป็นไปเพื่อให้แรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ดูแลรักษาตนเองให้เป็นปกติอยู่ตลอดเวลาสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ประการที่สองการใช้อำนาจรัฐโดยส่งผลต่อวิถีชีวิตแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา การใช้อำนาจดังกล่าวส่งผลให้การเคลื่อนย้าย การพบปะสังสรรค์ และการทำกิจกรรมทางศาสนาหยุดชะงักลงหรือได้รับการควบคุม ทั้งนี้สื่อสังคมออนไลน์เป็นปัจจัยที่เข้ามาทดแทนกิจกรรมดังกล่าว ประการสุดท้ายคือการใช้อำนาจรัฐโดยส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอันส่งผลต่อแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาและองค์การเอกชน การใช้อำนาจในส่วนนี้ได้ส่งผลต่อรายได้ ค่าใช้จ่ายประจำวัน และการส่งเงินกลับประเทศที่ลดลงอันเนื่องมาจากคำสั่งปิดกิจการชั่วคราวและการเข้าถึงความช่วยเหลือเยียวยาที่ยากลำบาก งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า 1. หน่วยงานระดับจังหวัด ได้แก่ สำนักงานประกันสังคมและสำนักงานสาธารณสุข ต้องเข้ามาช่วยเหลือในส่วนเงินเยียวยาจากผลกระทบเชื้อไวรัส Covid-19 ในเรื่องของสุขภาพและสุขภาพจิตของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาเช่นเดียวกับชาวไทย 2. ผู้ประกอบการและเจ้าของกิจการควรเข้ามาอำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการต่อใบอนุญาตทำงานและดำเนินการด้านเอกสารประกันสังคมเพื่อช่วยเหลือเยียวยาต่อไป


Understanding Chinese Tourists Motivation To Go And See A Ladyboy Show In Thai Touristic Cities, Kang Wang Jan 2020

Understanding Chinese Tourists Motivation To Go And See A Ladyboy Show In Thai Touristic Cities, Kang Wang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Over the years, China has gradually become the most important outbound market for international tourism destinations, especially for Thailand. Meanwhile, Thailand's tourism industry is well developed with local characteristics. Tourism has already become an essential sector which has a deep impact on the development of Thailand’s economy. Besides the beautiful natural scenery, Thailand is known as a dream like beautiful tourist paradise, which is closely related to Thailand's unique "Ladyboy Show". Among them, the world-famous singing and dancing performances of Ladyboy Show are more amazing and appeal to many tourists. Ladyboy is one of the highlights and characteristics of Thailand's …


การทำงานต่ำระดับของประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัยในประเทศไทย, สุกัญญา มีสกุลทอง Jan 2020

การทำงานต่ำระดับของประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัยในประเทศไทย, สุกัญญา มีสกุลทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์การทำงานต่ำระดับ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานต่ำระดับ และ 3) การเข้าสู่การทำงานต่ำระดับและการปรับตัวของประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัย โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานรูปแบบคู่ขนานเข้าหากัน การวิจัยเชิงปริมาณได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลโครงการสำรวจแรงงานนอกระบบ จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้กลุ่มตัวอย่าง 49,394 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกรณีตัวอย่าง 40 คน ครอบคลุม 5 ภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและสถิติอนุมานร่วมกับข้อค้นพบจากการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า การทำงานต่ำระดับของประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัยกระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทยทั้งด้านเวลา ด้านการศึกษา และด้านรายได้ โดยมีผู้ทำงานต่ำระดับมากกว่า 1 ด้านในลักษณะซับซ้อนและซ้ำซ้อน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยแบบจำลองโพรบิทพบว่า ในภาพรวมนั้น ปัจจัยซึ่งมีผลต่อการทำงานต่ำระดับทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ สถานภาพสมรส สถานะการจ้างงาน ประเภทอาชีพ ประเภทอุตสาหกรรม ภูมิภาคที่อยู่อาศัย ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลเฉพาะด้านการศึกษาและด้านรายได้ ได้แก่ รุ่น เพศ จำนวนปีที่ศึกษา ปัจจัยที่มีผลเฉพาะด้านเวลาและด้านการศึกษา ได้แก่ รายได้ และปัจจัยที่มีผลเฉพาะด้านรายได้ ได้แก่ เขตการปกครอง การเข้าสู่การทำงานต่ำระดับนั้นมีสาเหตุหลักและสาเหตุรองประกอบกันในลักษณะที่แตกต่างกันไป โดยอาจจัดการประกอบกันได้ 5 กลุ่ม ดังนี้ 1) การรักษาสมดุลระหว่างการทำงานกับการดูแลครอบครัวประกอบกับความไม่พึงพอใจในงานเดิม 2) การรักษาสมดุลระหว่างการทำงานกับการดูแลครอบครัวประกอบกับปัญหาสุขภาพ 3) การไม่สามารถหางานที่เหมาะสมได้ประกอบกับสาเหตุรองด้านความไม่พึงพอใจในงานเดิม ครอบครัวมีภาระหนี้สิน การออกจากระบบการศึกษากลางคัน สภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้อต่อการทำงาน ข้อจำกัดในการหางานเมื่อมีอายุมากขึ้น 4) ความพึงพอใจในงานประกอบกับสาเหตุรองด้านความไม่พึงพอใจในงานเดิม การมีปัญหาสุขภาพ ครอบครัวมีภาระหนี้สิน และ 5) ความพึงพอใจในงานประกอบกับปัญหาสุขภาพ ทั้งนี้ ภายหลังเข้าสู่การทำงานต่ำระดับพบการปรับตัวของทั้งประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัยใน 2 ลักษณะ คือ 1) การไม่ปรับตัว และ 2) การปรับตัวด้านจิตใจ ด้านการทำงาน ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม รวมถึงพบการปรับตัวของบุคคลใกล้ชิด ได้แก่ ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน นายจ้าง อย่างไรก็ตาม เมื่อพ้นช่วงการปรับตัวนั้น ทั้งประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัยยังมีความเสี่ยงต่อเนื่องทั้งด้านการทำงานและการดำรงชีวิต ดังนั้น …


สถานการณ์ของความโกรธกับมุมมองเชิงพื้นที่ของผู้ขับรถยนต์และการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในกรุงเทพมหานคร, ชัญญาณ์ภัช ทิพพาบุญ Jan 2020

สถานการณ์ของความโกรธกับมุมมองเชิงพื้นที่ของผู้ขับรถยนต์และการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในกรุงเทพมหานคร, ชัญญาณ์ภัช ทิพพาบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องสถานการณ์ของความโกรธกับมุมมองเชิงพื้นที่ของผู้ขับรถยนต์ และการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในกรุงเทพมหานครมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาอารมณ์โกรธ และการแสดงออกขณะที่โกรธของผู้ขับรถยนต์ภายใต้สถานการณ์ต่างๆบนท้องถนน มุมมองเชิงพื้นที่ของผู้ขับรถยนต์ภายใต้ภาวะอารมณ์โกรธ และความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์โกรธและการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์บนท้องถนนโดยอาศัยกรอบแนวคิดทฤษฎีสังคมวิทยาอารมณ์ ทฤษฎีการปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ แนวคิดการผลิตพื้นที่ มุมมองต่อพื้นที่ และแนวคิดเกี่ยวกับอุบัติเหตุ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสังเกตการณ์ขณะขับรถยนต์และสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้กรณีศึกษาจำนวน 20 คน และระยะที่ 2 การสังเกตการณ์ผ่านกล้องบันทึกภาพในรถยนต์ โดยใช้กรณีศึกษาที่คัดเข้าจากระยะที่ 1 จำนวน 10 คน ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์ที่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้สึกและถ่ายทอดความคิดในสถานการณ์ธรรมชาติได้ดี ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เรื่องเล่าจากข้อความและภาพของกรณีศึกษาด้วยการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างผู้ขับรถยนต์และบริบทต่างๆ ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจงและพฤติกรรมที่เกิดจากการกระทำของผู้ขับรถยนต์มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในกรุงเทพมหานคร โดยที่ความโกรธและการแสดงความโกรธของผู้ขับรถยนต์เกี่ยวข้องทางอ้อม ความโกรธที่เกิดขึ้นบนถนนประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก คือสถานการณ์ ตัวตน และสัญญะที่เกิดจากการการปฏิสัมพันธ์ที่มีผลในการเป็นตัวจุดชนวน เพิ่ม ลด หรือหยุดความโกรธได้ และมีองค์ประกอบรองคือมุมมองของพื้นที่ เพราะอารมณ์โกรธเป็นกระบวนการผลิตที่ถูกผลิตสร้างจากการใช้พื้นที่ที่เกิดขึ้นจากการรับรู้พื้นที่ถนนที่แตกต่างกัน การให้ความหมายของพื้นที่ที่แตกต่างกัน และการใช้รถใช้ถนนที่แตกต่างกันในการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นของผู้ขับรถยนต์จนถูกผลิตสร้างจิตสำนึกในการใช้พื้นที่และการใช้รถใช้ถนนขึ้น ดังนั้นผู้ขับรถยนต์จึงมีการใช้ตัวตนของตนเองในการตีความ และตัดสินทั้งสถานการณ์และบุคคลอื่นในทุกพื้นที่ที่ใช้งานและแสดงตัวตนนั้นออกมาผ่านการกระทำที่ล้วนแสดงให้เห็นถึงบริบทบนท้องถนนของผู้ขับรถยนต์ในกรุงเทพมหานค


การซ้อนทับจับวางของวาทกรรมทัณฑวิทยา: วงศาวิทยาของการใช้โทษประหาร และความรุนแรงเพื่อการลงทัณฑ์ในประวัติศาสตร์ไทย, ภูวดล ไชยอินทร์ Jan 2020

การซ้อนทับจับวางของวาทกรรมทัณฑวิทยา: วงศาวิทยาของการใช้โทษประหาร และความรุนแรงเพื่อการลงทัณฑ์ในประวัติศาสตร์ไทย, ภูวดล ไชยอินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการลงทัณฑ์ในประวัติศาสตร์ไทยเป็นการใช้ความรุนแรงของรัฐกระทำต่อมนุษย์ผู้อยู่ในสังคม โดยสังคมย่อมยินยอมให้รัฐลงโทษมนุษย์ที่กระทำความผิด อย่างไรก็ตามการลงโทษทัณฑ์ของรัฐต้องอาศัยความสมเหตุสมผลซึ่งเป็นอำนาจของความรู้อย่างหนึ่งในการสร้างความชอบธรรมในการปกครอง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของโทษทัณฑ์ในฐานะวาทกรรมอย่างหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงตามรูปแบบของรัฐไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงการให้เหตุผลในการลงโทษในแต่ละสมัย โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนผ่านรูปแบบการให้ความสมเหตุสมผลของภาครัฐ และความเห็นจากภาคสังคม ผ่านกรณีศึกษาการลงโทษประหารชีวิต และรูปแบบของเรือนจำ ด้วยวิธีวงศาวิทยาเชิงประวัติศาสตร์ จากปัจจุบันร่วมสมัยจนถึงรัฐสมัยโบราณ ซึ่งทำให้เห็นว่าในมิติทางประวัติศาสตร์การลงโทษเป็นเพียงวาทกรรมที่ปรากฏเด่นชัดในแต่ละยุคสมัย โดยเป็นอิทธิพลของการรับเอาวิธีคิดจากภายนอกเข้ามาปะทะกับความคิดภายในสังคมแบบเดิม และทำให้ความคิดที่เป็นวาทกรรมเกิดการซ้อนทับกันเป็นชั้น โดยต่างเป็นการจับวางในวาทกรรมทัณฑวิทยาทั้งรูปแบบดังต่อไปนี้ (1) การแก้แค้นทดแทนให้สาสม (2) การลงโทษเพื่อการยับยั้งป้องกัน และ (3) การลงโทษเพื่อการบำบัดฟื้นฟู ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งของรัฐไทยในการผดุงความชอบธรรมของความสมเหตุสมผลของการลงโทษในสังคมไว้แบบเดิม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นับเป็นคุณูปการในการพยามนำเสนอการใช้วิธีวงศาวิทยาในการศึกษาการลงทัณฑ์ในประวัติศาสตร์ไทย ตลอดจนเปิดมุมมองที่หลากหลายต่อความสมเหตุสมผลของกรอบคิดของการลงโทษแบบอื่นๆต่อไป


การป้องกันปัญหาอาชญากรรมสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาผลกระทบจากมลพิษทางอากาศในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด, กรณัฏฐ์ อัครธนบูลย์ Jan 2020

การป้องกันปัญหาอาชญากรรมสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาผลกระทบจากมลพิษทางอากาศในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด, กรณัฏฐ์ อัครธนบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ สาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศในมุมมองอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อม เพื่อเสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหามลพิษทางอากาศในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 6 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด ผู้นำและตัวแทนชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ นักวิชาการอิสระ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รวมทั้งสิ้นจำนวน 24 คน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาและผลกระทบจากมลพิษทางอากาศส่งผลต่อ (1) สุขภาพของประชาชน โดยประชาชนยังคงมีความเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง และภาวะความผิดปกติต่างๆ อันเนื่องมาจากการสูดดมมลพิษทางอากาศเข้าไป และ (2) สิ่งแวดล้อม ซึ่งจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศพบว่า ยังคงมีสารมลพิษถูกปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) บางประเภท สาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ เป็นผลมาจาก (1) การพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่สมดุลกับสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศ (2) การบริหารจัดการของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม (3) มาตรการและระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศไม่สะท้อนข้อเท็จจริง และ (4) การบังคับใช้กฎหมายและการบังคับโทษไม่ชัดเจน โดยสาเหตุการกระทำผิดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในมุมมองอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (1) ภาครัฐ ดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่สร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนซึ่งเป็นทั้งเหยื่อทางตรงและทางอ้อม (2) ผู้ประกอบการหรือผู้ก่อมลพิษ ไม่รู้ตัวว่ากำลังก่ออาชญากรรมสิ่งแวดล้อมอยู่ หรือ จงใจกระทำผิดเนื่องจากเห็นว่าได้รับประโยชน์จากช่องโหว่ของกฎหมายมากกว่าได้รับโทษจากกฎหมาย (3) ผู้ได้รับผลกระทบ หรือ เหยื่อทางตรงที่เป็นมนุษย์ ได้รับความเสียหายจากการก่ออาชญากรรมสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากการพิสูจน์หาตัวและจับกุมผู้กระทำผิดทำได้ยาก (4) ประชาชนทั่วไป หรือ เหยื่อทางอ้อมที่เป็นมนุษย์ ขาดความรู้ความเอาใจใส่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่ได้ตระหนักในสิทธิการดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ พบว่า ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการควรปรับปรุงและบูรณาการกฎหมายสิ่งแวดล้อมให้มีการบังคับใช้และบทลงโทษที่ชัดเจนควบคู่กับการส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมตระหนักถึงการดูแลและใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถจำแนกเป็นรูปธรรมได้โดย (1) ประสานความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการจัดการกับปัญหามลพิษทางอากาศในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดอย่างจริงจัง (2) ใช้หลักทางวิศวกรรมในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศควบคู่กับการควบคุมมาตรฐานในการปล่อยทิ้งอากาศเสีย (3) มีระบบบริหารจัดการแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


ความเป็นแม่เชิงเทคโน : การประกอบสร้างเชิงภววิทยาของความเป็นแม่, ปาณิภา สุขสม Jan 2020

ความเป็นแม่เชิงเทคโน : การประกอบสร้างเชิงภววิทยาของความเป็นแม่, ปาณิภา สุขสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่มีส่วนสำคัญต่อการประกอบสร้างความเป็นแม่ของมนุษย์ให้มีลักษณะซับซ้อนและก้าวข้ามความเป็นมนุษย์ สิ่งเหล่านี้เรียกร้องกรอบแนวคิดใหม่ที่ไม่ใช่แต่เป็นเพียงการประกอบสร้างในเชิงความหมายทางสังคม หากแต่รวมไปถึงภววิทยาของความเป็นแม่ที่ถูกสร้างขึ้นด้วย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจบทบาทของเทคโนโลยีในกระบวนการสร้างความเป็นแม่ และติดตามปฏิบัติการของการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี ที่ส่งผลให้ความเป็นแม่ก้าวข้ามภววิทยาของความเป็นมนุษย์ออกไป ผู้วิจัยนำเสนอเครื่องมือเชิงวิเคราะห์แบบใหม่ผ่านมุมมองแบบหลังมนุษยนิยม และทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำ และใช้วิธีวิทยาแบบมาตุพันธุ์วรรณาเชิงเทคโน (techno-maternography) เพื่อทำความเข้าใจความเป็นแม่ที่ถูกสร้างขึ้นโดยมีผู้กระทำที่เป็นมนุษย์และเทคโนโลยีเข้ามาร่วมปฏิบัติการ เทคโนโลยีที่ใช้เป็นกรณีศึกษาได้แก่ เทคโนโลยีเพื่อการเจริญพันธุ์ เทคโนโลยีเชิงวัตถุสำหรับเลี้ยงดูลูก และเครือข่ายเชิงเทคโนที่สร้างการสนับสนุนแม่ งานวิจัยเสนอว่า เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นแม่ดำรงอยู่ในหลายรูปแบบ ซึ่งการดำรงอยู่ในแต่รูปแบบสามารถแสดงศักยภาพในฐานะผู้กระทำ โดยช่วยให้มนุษย์ก้าวข้ามข้อจำกัดของตัวเองทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ปฏิบัติการของเทคโนโลยีมีบทบาทอย่างมากในประกอบสร้างความเป็นแม่ให้กลายมาเป็น "ความเป็นแม่เชิงเทคโน" ซึ่งเป็นภววิทยาแบบหนึ่งที่มีรูปแบบที่ไม่ตายตัว และสามารถปรับเปลี่ยนไปตามองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เข้ามาร่วมประกอบสร้าง ภววิทยาของความเป็นแม่เชิงเทคโนสามารถอยู่ในรูปแบบที่เป็นทั้งภววิทยาเชิงพื้นที่ ภววิทยาเชิงวัตถุ และภววิทยาเชิงเครือข่าย การศึกษาปฏิบัติการของเทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการประกอบสร้างความเป็นแม่สะท้อนให้เห็นว่า การประกอบสร้างความเป็นแม่ไม่ใช่สิ่งที่ถูกสร้างจากตัวแสดงที่เป็นมนุษย์เท่านั้น หากแต่ตัวแสดงที่ไม่ใช่มนุษย์อย่างเทคโนโลยีก็มีส่วนในการสร้าง กำกับ และเปลี่ยนแปลงความเป็นแม่ได้ ความเป็นแม่ที่เคยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางและเกี่ยวข้องกับความเป็นอัตวิสัย จึงเป็นเรื่องที่มีวัตถุและสิ่งอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องหรือมีความเป็นวัตถุวิสัยร่วมอยู่ด้วยเสมอ ความเป็นแม่เป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้างและมีลักษณะความเป็นสัมพัทธ์นิยม อีกทั้งไม่ได้ถูกจำกัดแต่เพียงการสร้างทางสังคมในเชิงความหมายแบบเดิมอีกต่อไป


แนวทางการพัฒนารูปแบบการสืบสวนสอบสวนคดียาเสพติดในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ, จักรี กันธิยะ Jan 2020

แนวทางการพัฒนารูปแบบการสืบสวนสอบสวนคดียาเสพติดในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ, จักรี กันธิยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการสืบสวนสอบสวนคดียาเสพติดและเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการสืบสวนสอบสวนคดียาเสพติดในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติในประเทศไทย โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อยและการเก็บแบบสอบถามจากบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง แบบประชุมกลุ่มย่อยและแบบสอบถามและผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหารวมถึงสถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและอุปสรรคของการสืบสวนสอบสวนคดียาเสพติดในประเทศไทยประกอบด้วย 1.1) ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ยังขาดยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพและขาดนโยบายในการป้องกันและปราบปรามคดียาเสพติดในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติอย่างจริงจัง 1.2) ด้านกฎหมายและการลงโทษซึ่งการบังคับใช้กฎหมายและการลงโทษยังขาดประสิทธิภาพและไม่มีการนำมาตรการมาใช้อย่างจริงจัง 1.3) ด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการปฏิบัติงานในการสืบสวนสอบสวนแต่ละหน่วยงานแตกต่างกัน ตลอดจนไม่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดีและ 1.4) ด้านบุคลากร เจ้าหน้าที่รัฐขาดประสบการณ์ในคดียาเสพติดในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติและ 2) แนวทางการพัฒนารูปแบบการสืบสวนสอบสวนคดียาเสพติดในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติในประเทศไทยภาครัฐต้องมีแนวทางการพัฒนาในด้าน 2.1) นโยบายและยุทธศาสตร์โดยการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ยาเสพติด 2.2) ด้านกฎหมายและการลงโทษ เช่น การแก้ไขกลไกทางกฎหมาย/แนวทางการปฏิบัติระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว 2.3) ด้านหน่วยงาน สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการเข้าถึงข้อมูล ตลอดจนหน่วยงานภาคีทั้งในและต่างประเทศและ 2.4) ด้านบุคลากร เช่น ความรู้ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญ ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรบุคคลให้เหมาะสมทั้งนี้การพัฒนาดังกล่าวเพื่อให้การดำเนินการสืบสวนสอบสวนคดียาเสพติดในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติในประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้นและนำผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย


เนื้อหาละครโทรทัศน์เกาหลีกับการเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงในทางย้อนแย้งของคู่รักวัยรุ่นไทย: กรณีศึกษาละครโทรทัศน์เรื่อง Princess Hour, You Who Came From The Stars And Crash Landing On You, วริศรา กรีธาพล Jan 2020

เนื้อหาละครโทรทัศน์เกาหลีกับการเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงในทางย้อนแย้งของคู่รักวัยรุ่นไทย: กรณีศึกษาละครโทรทัศน์เรื่อง Princess Hour, You Who Came From The Stars And Crash Landing On You, วริศรา กรีธาพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ตีความเนื้อหาละครโทรทัศน์เกาหลีที่สามารถเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงในทางย้อนแย้งของคู่รักวัยรุ่นไทย โดยศึกษาจากละครโทรทัศน์เกาหลี 3 เรื่อง ได้แก่ Princess Hours, You Who Came from the Stars และ Crash Landing on You และ (2) ศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงของคู่รักวัยรุ่นไทยหลังจากการดูละครโทรทัศน์เกาหลี โดยศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกคู่รักวัยรุ่นชาวไทยเพศชายและเพศหญิงอายุ 18-25 ปีที่รับชมและชื่นชอบละครโทรทัศน์เกาหลี ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ละครโทรทัศน์เกาหลีสามารถเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงในทางย้อนแย้งของคู่รักวัยรุ่นไทยในด้านความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม ด้วยการนำเสนอภาพตัวละครนำชายที่มีลักษณะของความเป็นชายแบบใหม่และความเป็นสุภาพบุรุษ รวมถึงการไม่ใช้ความรุนแรงกับคนรัก ซึ่งย้อนแย้งกับความเป็นจริงของสังคมเกาหลีที่เป็นสังคมปิตาธิปไตยและเพศชายมีการใช้ความรุนแรงต่อคู่รักของตน ซึ่งงานวิจัยนี้อาจเป็นแนวทางและความรู้สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสร้างเนื้อหาละครโทรทัศน์ให้สามารถเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงของคู่รักวัยรุ่นไทย เพื่อลดการเรียนรู้และลอกเลียนแบบความรุนแรงจากสื่อ


แบบจำลองการคาดคะเนปัจจัยที่เป็นข้อบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย, ดิเรกฤทธิ์ บุษยธนากรณ์ Jan 2020

แบบจำลองการคาดคะเนปัจจัยที่เป็นข้อบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย, ดิเรกฤทธิ์ บุษยธนากรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง แบบจำลองการคาดคะเนปัจจัยที่เป็นข้อบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาปัญหาอาชญากรรมลูกผสมที่เป็นปัญหาสำคัญในสังคมไทย (2) สร้างแบบจำลองการคาดคะเนปัจจัยที่เป็นข้อบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมที่ใช้ในการจำแนก และอธิบายความสัมพันธ์และ/หรือหลักฐานในการยอมรับว่าเป็นอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย และ (3) ศึกษาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานของการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักสำคัญจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน กรมสอบสวนคดีพิเศษ จำนวน 400 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น (IOC = 0.868, Reliability = 0.981) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทยโดยใช้ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้าง ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ปฏิบัติงานระดับผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับปัญหาอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย จำนวน 15 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่ออธิบายและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเชิงปริมาณ รวมทั้งเป็นส่วนเสริมหรือส่วนเติมเต็มความสมบูรณ์ถูกต้องของงานวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาอาชญากรรมในสังคมไทยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบด้านปัญหาอาชญากรรมลูกผสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.18) ซึ่งเป็นอาชญากรรมมากกว่ารูปแบบเดียว ที่เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างอาชญากรรมรูปแบบเดิมและอาชญากรรมรูปแบบใหม่ เป็นอาชญากรรมลูกผสมพื้นฐาน อาชญากรรมลูกผสมขั้นสูง อาชญากรรมลูกผสมอื่น ๆ และในอนาคต โดยปรากฏลักษณะสำคัญของปัญหาอาชญากรรมลูกผสมในมิติด้านต่าง ๆ ได้แก่ ผู้กระทำผิดหรืออาชญากรมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย/องค์กรมากขึ้น ข้ามรัฐ/ไร้พรมแดน พึ่งพาเทคโนโลยี วิธีการที่หลากหลาย/ซับซ้อน ส่งผลกระทบในวงกว้าง ไม่จำกัดช่วงเวลาและสถานที่ สร้างการเลียนแบบ เข้าถึงเป้าหมายได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากับเป้าหมาย คุ้มค่ามากที่สุดในการก่อเหตุต่อครั้ง เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน ติดตามตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ยาก ทำให้สูญเสียบุคลากรและงบประมาณจำนวนมากในการปราบปราม ป้องกันและแก้ไข ซึ่งการสร้างแบบจำลองการคาดคะเนปัจจัยบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทยตามสมมติฐาน มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ (p-value = 0.881, Chi-square / df = 0.920, CFI = 0.95, GFI = 0.96, AGFI = 0.95, RMSEA = 0.000, SRMR = 0.040) สรุปได้ว่า ปัญหาอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทยได้รับอิทธิพลรวม …


Factors And Reasons Of Migration In Tambon Bannang Sata During The Time Of Conflict, Naruemon Yamareng Jan 2020

Factors And Reasons Of Migration In Tambon Bannang Sata During The Time Of Conflict, Naruemon Yamareng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aims to find out the reasons and factors of migration in Tambon Bannang Sata, one of the most violence-affected zones with high mobility rate, since the recurrence of violence in the south in 2004, and how those reasons and factors differ between Muslims and Buddhists. Interview of all categories of migration were carried out including in-migration, out-migration and non-migration. Human security is used as a framework for data collection and analysis. It is found that people moved in and out of Tambon Bannang Sata with many reasons which could be categorized into three mains reasons: family matters, fear …


Social Innovation And Inclusive Business Model For The Bottom Of The Pyramid: A Case Study Of Organic Tourism Ecosystem In Thailand, Yunkang Liu Jan 2020

Social Innovation And Inclusive Business Model For The Bottom Of The Pyramid: A Case Study Of Organic Tourism Ecosystem In Thailand, Yunkang Liu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Social inequality and poverty are major challenges facing all humans in the 21st century. At the same time, income gaps, uneven development of urban-rural, and poverty as the stumbling block of Thailand to achieving the UN 2030 Sustainable Development Goals. It is necessary to explore new development models by promoting social innovation. On the one hand, in the past few decades, the private sector is one of the main contributors to Gross domestic product (GDP) growth in the ASEAN region. It is important to encourage the private sector to assume more responsibilities for contributing to local development. The inclusive business …


Environmental Displacement In Thailand's Disaster Policy And Practice: A Case Study Of Samut Chin, Cynthia Nitsch Jan 2020

Environmental Displacement In Thailand's Disaster Policy And Practice: A Case Study Of Samut Chin, Cynthia Nitsch

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As the world is experiencing more frequent disasters, sudden and slow-onset, the number of communities facing displacement is rapidly increasing. Some international frameworks suggest definitions and promote human rights-based approaches to dealing with mobility caused by environmental concerns, however, there is no legal term nor general consensus on how to label this group of people. With a lack of agreement on how to categorize those displaced on the international stage, nations are left to create and implement their own definitions and policies to assist. Displaced groups experience specific vulnerabilities and are at risk of human rights violations. The responsibility to …


Policy Engagements For A Just Decarbonisation: China's 2060 Carbon Neutrality Pledge's Ramifications On The Coal Industry Workforce In Shanxi, Lucile Charriaut Jan 2020

Policy Engagements For A Just Decarbonisation: China's 2060 Carbon Neutrality Pledge's Ramifications On The Coal Industry Workforce In Shanxi, Lucile Charriaut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

To achieve its ambitious carbon neutrality pledge by 2060, China, whose energy mix is still largely dominated by coal, must progressively phase out coal-fired power plants. Being highly polluting, coal is no longer perceived as suitable to promote a sustainable, clean, and long-standing economy. Shanxi, a landlocked northern province, is considered one of China's most coal-dependent provinces and accounts for a colossal coal workforce depending on the industry. Such a transition will, therefore, considerably alter the economic prospects and labour relations of this province. Considering the inevitability to lay off coal workers, the objective of this thesis is to determine …


Thailand As A Performative State : An Analysis Of Thailand's Cultural Diplomacy Towards The People's Republic Of China, Natdanai Kietigaroon Jan 2020

Thailand As A Performative State : An Analysis Of Thailand's Cultural Diplomacy Towards The People's Republic Of China, Natdanai Kietigaroon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand as a performative state is a research that looked at the cultural dimensions of Thailand's diplomacy, by taking the alternative view on Thai cultural diplomacy towards PRC. Thai cultural diplomacy, according to existing literature, revolves around promoting Thainess. However, in the case of China, Thailand has been using Chineseness as Thai cultural diplomacy. The research specifically looked at five Thai state actors that are most involved with Chineseness, namely, the royal family, the government, the Ministry of Culture, the Ministry of Foreign Affairs, and the Tourism Authority of Thailand. Two questions were raised in this research. Firstly, how Chineseness …


Communication Strategy For Conservation Of Thai Food Product : A Case Study Of Moo-Naem, Ananporn Sakulraungsri Jan 2020

Communication Strategy For Conservation Of Thai Food Product : A Case Study Of Moo-Naem, Ananporn Sakulraungsri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study of Communication strategy for conservation of thai food product : a case study of Moo-Naem consisted of three objectives. 1) To add value to Moo-Naem and communicate the value to its customer; 2) To encourage people to perceive the value of Moo-Naem and purchase Moo-Naem; and 3) To use communication strategy as a tool to conserve Moo-Naem as the traditional and cultural cuisine. Two methodologies were utilized: 1) questionnaire surveys in which the population of the study is the people who lived in Bangkok, Thailand. Simple random sampling method was applied and self-administrated written in Thai and English …


ความสัมพันธ์ระหว่างการไร้ตัวตนกับอาชญากรรมไซเบอร์, ปรเมศวร์ กุมารบุญ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างการไร้ตัวตนกับอาชญากรรมไซเบอร์, ปรเมศวร์ กุมารบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการไร้ตัวตนกับอาชญากรรมไซเบอร์ด้วยทฤษฎีเกม โดยการไร้ตัวตนในดุษฎีนิพนธ์นี้หมายถึง การหลบพ้นการสืบสวนจับกุมทางดิจิทัลและการไม่สามารถรวบรวมพยานหลักฐานดิจิทัลเพื่อดำเนินคดีเอาผิดได้ เพราะอาชญากรไซเบอร์เป็นอาชญากรที่คอยมองหาโอกาสอยู่เสมอและเมื่อได้พบไซเบอร์เทคโนโลยีใดที่มีปัจจัยการไร้ตัวตนจะตัดสินใจเลือกก่ออาชญากรรมทันทีและเมื่อไซเบอร์เทคโนโลยีนั้นการไร้ตัวตนหมดสิ้นไป อาชญากรรมไซเบอร์ประเภทนั้นจะหมดไปเป็นวัฏจักร ดุษฎีนิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานมีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณจากสถิติคดีอาชญากรรมไซเบอร์กับการสำรวจความเห็นออนไลน์จำนวน 35 ราย และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร รวบรวมเนื้อหาอาชญากรรมไซเบอร์ คำสารภาพของอาชญากรไซเบอร์ คดีที่มีคำพิพากษาอาชญากรรมไซเบอร์ที่เคยเกิดขึ้นจากอดีตจนถึงปัจจุบันและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 1 กรณีศึกษา จากนั้นเลือกกรณีศึกษาที่น่าสนใจขึ้นมา 17 กรณีศึกษาและใช้ทฤษฎีเกมกับทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมไซเบอร์กับการไร้ตัวตน โดยอธิบายรูปแบบความสัมพันธ์เป็น ต้นไม้การตัดสินใจ ตารางผลตอบแทน และสมการผลตอบแทน ผลการวิจัยพบว่า ทฤษฎีเกมอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการไร้ตัวตนและการเกิดอาชญากรรมไซเบอร์ให้ได้เข้าใจง่ายและได้มีข้อเสนอแนะให้รัฐแก้กฎหมายที่ยังมีช่องว่างและเสนอให้มีศาลชำนัญพิเศษพิจารณาอาชญากรรมไซเบอร์โดยเฉพาะต่อไป


สถานการณ์และผลกระทบของการแพร่กระจายข่าวปลอมที่เกี่ยวกับ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และมาตรการป้องกันในประเทศไทย, พรรณวดี ชัยกิจ Jan 2020

สถานการณ์และผลกระทบของการแพร่กระจายข่าวปลอมที่เกี่ยวกับ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และมาตรการป้องกันในประเทศไทย, พรรณวดี ชัยกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ผลกระทบ และมาตรการป้องกันการแพร่กระจายข่าวปลอมเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในไทย อันจะนำไปสู่การแสวงหาข้อเสนอแนะเชิงมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่กระจายข่าวปลอมของไทยในอนาคต โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีขอบเขตการศึกษาระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยจำแนกสถานการณ์การศึกษาออกเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ 1) การแพร่ระบาดรอบที่ 1 ระว่างเดือนมกราคม-เดือนพฤศจิกายน 2563 และ 2) การแพร่ระบาดรอบที่ 2 เดือนธันวาคม 2563-เดือนมีนาคม 2564 ตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่คัดเลือกด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง เพื่อวิเคราะห์ประเด็นอย่างรอบด้านผ่าน 4 มุมมอง ได้แก่ 1) มุมมองเชิงนโยบายจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 2) มุมมองเชิงข้อเสนอแนะจากนักวิชาการ 3) มุมมองเชิงสาธารณะจากภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน สื่อ และผู้มีอิทธิพลทางความคิดบนโลกออนไลน์ และ 4) มุมมองเชิงการสื่อสารจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นตัวการสำคัญที่ให้เกิดการแพร่กระจายข่าวปลอมจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร โดยการส่งต่อข่าวปลอมมีปัจจัยกระตุ้นมาจากการรับรู้ ความคิด และอารมณ์ร่วมขณะเสพข่าว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดการผลักดันการส่งต่อข่าวระหว่างกัน ขณะเดียวกันผู้รับสารยังสามารถเปลี่ยนบทบาทมาทำหน้าที่ผู้ส่งสารได้อย่างคู่ขนานด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ การส่งต่อข่าวปลอมได้ก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญ 5 มิติ ได้แก่ 1) ผลกระทบต่อสุขภาพ 2) ผลกระทบต่อจิตใจ 3) ผลกระทบต่อสังคม 4) ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และ 5) ผลกระทบต่อความมั่นคงและความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ดี แม้ว่าการดำเนินมาตรการป้องกันข่าวปลอมของไทยเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถจำแนกมาตรการออกเป็น 2 มาตรการหลัก คือ มาตรการจากภาครัฐ และมาตรการที่ไม่ใช่ภาครัฐ แต่กลับพบว่ามาตรการดังกล่าวยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ งานชิ้นนี้จึงมุ่งแสวงหามาตรการป้องกันข่าวปลอมที่มีประสิทธิภาพผ่านข้อเสนอแนะเชิงมาตรการทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านระบบและเทคโนโลยี 2) ด้านโครงสร้าง 3) ด้านความรู้ 4) ด้านการมีส่วนร่วม 5) ด้านการสื่อสาร และ 6) ด้านการดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิด


การศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อเด็กและเยาวชน ในโครงการฟื้นฟูเยียวยา และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนชายขอบในสังคมเมือง, วณีนุช ตั้งพรพิพัฒน์ Jan 2020

การศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อเด็กและเยาวชน ในโครงการฟื้นฟูเยียวยา และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนชายขอบในสังคมเมือง, วณีนุช ตั้งพรพิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อเด็กและเยาวชน ในโครงการฟื้นฟูเยียวยา และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนชายขอบในสังคมเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อเด็กและเยาวชน ตลอดจนศึกษาถึง ปัญหา อุปสรรค โอกาสในการพัฒนา และการสร้างความยั่งยืนต่อโครงการฟื้นฟูเยียวยาและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนชายขอบในสังคมเมือง เพื่อแสวงหารูปแบบแนวทางการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยใช้วิธีการดำเนินการวิจัย คือ การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลโครงการฯ หัวหน้าแก๊งและเด็กเยาวชนชายขอบ พี่เลี้ยงจิตอาสา และเครือข่ายพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการฯ ผลการศึกษา พบว่า แนวทางปฏิบัติที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในโครงการฯ มี 4 แนวทางคือ (1) P : POSSIBILITY มองปัญหาเป็นโอกาสเสมอ (2) C : COOPERATION บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (3) L : LEARNING รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย และ(4) O : OCCUPATION มุ่งเน้นกิจกรรมสร้างอาชีพ ที่ดำเนินงานผ่านแนวคิด "5C พิชิตใจเด็กชายขอบ" ซึ่งประกอบไปด้วย Core person หากลุ่มคนที่ใช่ Connect ติดต่อ สร้างสัมพันธ์ในเชิงลึก Control ควบคุมกำหนดทิศทาง Continue ติดตามอย่างต่อเนื่อง และ Complete บรรลุผลสำเร็จ นำมาซึ่งรูปแบบแนวทางการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากที่โครงการฯได้ดึงศักยภาพ และคุณความดีในจิตใจของเด็กเยาวชนชายขอบออกมาให้เห็นชัดเจนมากขึ้น ส่งผลให้เด็กเยาวชนชายขอบสามารถสร้างอาชีพ ดูแลตนเอง ดูแลครอบครัว และทำประโยชน์เพื่อสังคมได้ ส่งผลให้คนในสังคมให้การยอมรับเด็กเยาวชนชายขอบมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามโครงการฯยังคงพบปัญหาอีกหลายประการ คือ ปัญหาด้านการเข้าถึงเด็กและเยาวชนชายขอบ ปัญหาการดูแลเด็กและเยาวชนไม่ทั่วถึง ปัญหาด้านการปรับเปลี่ยนทัศนคติเด็กและเยาวชนชายขอบ ปัญหาด้านการประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย และปัญหาด้านความยั่งยืนของโครงการฯ จึงนำมาซึ่งข้อเสนอแนะต่อโครงการฯดังนี้ รัฐบาลควรมีนโยบายในการผลักดันการปฏิบัติต่อเด็ก เยาวชนชายขอบในทุกพื้นที่ วางแผนจัดกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์เด็กเยาวชนชายขอบระหว่างจังหวัด มอบหมายหน้าที่ให้รุ่นพี่ที่มีพฤติกรรมที่ดี เป็นหัวหน้ากลุ่มในการช่วยดูแลทีม เปิดพื้นที่ให้เด็กเยาวชนชายขอบแสดงศักยภาพผ่านสื่อออนไลน์ ต่อยอดสร้างอาชีพเจ้าของธุรกิจให้ทีมแกนนำเยาวชนในโครงการฯ เพื่อต่อยอดพัฒนาโครงการฯ และขยายไปยังเครือข่ายจังหวัดอื่นที่สนใจต่อไป


การผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชน: กรณีศึกษาผู้ต้องขังสูงอายุ, พรรษพร สุวรรณากาศ Jan 2020

การผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชน: กรณีศึกษาผู้ต้องขังสูงอายุ, พรรษพร สุวรรณากาศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง การผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชน: กรณีศึกษาผู้ต้องขังสูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาของผู้ต้องขังสูงอายุ เพื่อศึกษาถึงกระบวนการและรูปแบบการผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชน และเพื่อเสนอแนวทางการผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชนสำหรับผู้ต้องขังสูงอายุในสังคมไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ต้องขังจำนวน 24 คนและเจ้าหน้าที่จำนวน 14 คน และการสนทนากลุ่มเจ้าหน้าที่จำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ต้องขังสูงอายุเผชิญสภาพปัญหาทั้งทางด้ายร่างกาย จิตใจและสังคม ในกระบวนการผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชนพบว่าในแต่ละขั้นตอนมีข้อจำกัด ดังนี้ 1) ขั้นตอนการรับตัว เนื่องจากการบริหารจัดการแต่ละเรือนจำที่แตกต่างกันผู้ต้องขังที่ชราในเรือนจำจึงอาจไม่ได้รับการจำแนกซ้ำเพื่อจัดเข้าอยู่ในกลุ่มพิเศษที่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าร่วมโปรแกรมเฉพาะเพื่อแก้ไขฟื้นฟู 2) ขั้นดำเนินการ การจัดสรรงบประมาณส่วนใหญ่จะเป็นการให้ความสำคัญต่อการดูแลด้านสวัสดิการเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งของจำเป็นมากกว่าการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรการแก้ไขฟื้นฟู ดังนั้นการส่งเสริมการให้ความรู้สิทธิและสวัสดิการสูงอายุจึงยังคงมิได้ครอบคลุม 3) ขั้นตอนเตรียมการปลดปล่อย ที่ประสบปัญหาการเชื่อมโยงการปฏิบัติงานในรูปแบบเครือข่ายภายในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการใช้ชีวิตหลังพ้นโทษและพัฒนาเนื้อหาหลักสูตรเตรียมพร้อมก่อนปล่อยสำหรับผู้สูงอายุให้สามารถนำไปใช้ได้จริง 4) ขั้นติดตามหลังปล่อยที่ยังคงไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์ผู้ต้องขังสูงอายุโดยเฉพาะและความล่าช้าของระบบราชการที่ทำให้ติดตามหรือสงเคราะห์มิอาจทันท่วงที ดังนั้นการเสนอรูปแบบการผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชนสำหรับผู้ต้องขังสูงอายุในสังคมไทย คือ ควรเป็นรูปแบบเครือข่ายที่เน้นการทำงานลักษณะบูรณาการขององค์กร โดยทางราชทัณฑ์ควรมีลักษณะที่เป็นองค์กรกลางเนื่องด้วยมีความใกล้ชิดเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติกับผู้ต้องขังในระยะรอยต่อที่ควรเริ่มตั้งแต่ในเรือนจำ และแต่ละหน่วยงานซึ่งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องที่อยู่รายล้อมยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่องจนได้รับการปล่อยตัว


การละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้ต้องหาในชั้นก่อนฟ้องคดี, พจมานพจี ทวีสว่างผล Jan 2020

การละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้ต้องหาในชั้นก่อนฟ้องคดี, พจมานพจี ทวีสว่างผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง "การละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้ต้องหาในชั้นก่อนฟ้องคดี" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาและผู้ถูกจับกุมในการดำเนินคดีอาญาชั้นก่อนฟ้องคดี ประกอบกับระยะเวลาที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพผู้ต้องหาและผู้ถูกจับกุม เพื่อเสนอแนวทางในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพผู้ต้องหาและผู้ถูกจับกุมในการดำเนินคดีอาญาชั้นก่อนฟ้องคดี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ต้องหา จำนวน 7 ราย และ2) กลุ่มบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม จำนวน 26 ราย รวมทั้งสิ้น 33 ราย ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาการละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้ต้องหาในชั้นก่อนฟ้องคดี ปรากฎอยู่ใน 3 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นตอนการจับกุม : มีการทำร้ายร่างกายผู้ต้องหา สร้างพยานหลักฐานเท็จเพื่อปรักปรำโดยผู้ต้องหาที่ไม่ได้กระทำผิด การเรียกรับประโยชน์จากผู้ต้องหา 2) ในขั้นตอนการสอบสวน : ผู้ต้องหาไม่ได้รับสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติให้ทราบถึงการจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก ไม่ได้รับสิทธิพบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว ไม่ได้รับสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนในชั้นสอบสวน ไม่ได้รับสิทธิได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร ไม่ได้รับสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย อีกทั้งพบว่า พนักงานสอบสวนมีจำนวนน้อย ปริมาณงานมาก ทำให้พนักงานสอบสวนย้ายไปทำงานในตำแหน่งอื่นที่ก้าวหน้ามากกว่า และที่สำคัญที่สุดระยะเวลาการควบคุมผู้ต้องหา 48 ชั่วโมง ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน 3) ในขั้นตอนการสั่งคดี : พนักงานสอบสวนมักจะส่งสำนวนล่าช้าไม่เหลือเวลาให้พนักงานอัยการตรวจสอบและไม่สามารถส่งสอบสวนเพิ่มเติมได้ เนื่องจากไม่มีเหลือเวลาในการควบคุมผู้ต้องหา มีผลให้พนักงานอัยการต้องรีบสั่งฟ้องคดี หรือหากไม่มีหลักฐานเพียงพอพนักงานอัยการต้องสั่งไม่ฟ้องและปล่อยตัวผู้ต้องหาไป สำหรับแนวทางการปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพผู้ต้องหา : เจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานสอบสวนงดสร้างพยานหลักฐานเท็จเพื่อปรักปรำผู้ต้องหาที่ไม่ได้กระทำผิด งดทำลายพยานหลักฐาน งดการข่มขู่ งดการทำร้ายร่างกาย เรียกรับผลประโยชน์จากผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนควรส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการมีระยะเวลาการตรวจสอบ ผู้วิจัยนำเสนอให้แยกเวลาพิจารณาคดีระหว่างพนักงานสอบสวนออกจากพนักงานอัยการ หากควบคุมตัวผู้ต้องหาได้ 48 วัน ควรเหลือเวลาให้พนักงานอัยการอย่างน้อย 14 วัน และหากการควบคุมตัวผู้ต้องหาได้ 84 วัน ควรเหลือเวลาให้พนักงานอัยการอย่างน้อย 28 วัน และพนักงานอัยการเข้าตรวจสอบการสอบสวนคดีร่วมกับพนักงานสอบสวน


เหยื่อจากศัลยกรรมความงามและกระบวนการเยียวยาเหยื่อในประเทศไทย, ศิริรัตน์ พรหมหิตาธร Jan 2020

เหยื่อจากศัลยกรรมความงามและกระบวนการเยียวยาเหยื่อในประเทศไทย, ศิริรัตน์ พรหมหิตาธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "เหยื่อจากศัลยกรรมความงามและกระบวนการเยียวยาเหยื่อในประเทศไทย" นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมเกี่ยวกับศัลยกรรมความงาม 2) ศึกษากระบวนการเยียวยาผู้ตกเป็นเหยื่อการทำศัลยกรรมที่เกิดความผิดพลาด และ 3) ศึกษาแนวทางป้องกันและเยียวยาการตกเป็นเหยื่อศัลยกรรมความงาม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารวิชาการและข่าวที่นำเสนอในปี 2558-2562 ที่ปรากฏในสื่อ เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากการทำศัลยกรรมความงาม ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ที่ได้รับความเสียหาย ญาติและผู้ใกล้ชิดกับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการศัลยกรรมความงามจากหมอกระเป๋าและคลินิกศัลยกรรมความงาม จำนวน 5 คน รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการเยียวยาผู้เสียหายจากการทำศัลยกรรมที่มีประสบการณ์ในการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี รวมทั้งหมด 9 คน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ความรุนแรงที่ผู้ตกเป็นเหยื่อได้รับผลกระทบที่ปรากฏให้เห็นภายนอกทั้งทางร่างกายและจิตใจตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อย เสียโฉม พิการและเสียชีวิต อีกทั้งพบว่ารูปแบบการทำศัลยกรรมกับหมอกระเป๋าได้รับความนิยมในกลุ่มสาวประเภทสอง เพราะความต้องการตอบสนองด้านความงาม ต้องการเหมือนผู้หญิง เป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ทำศัลยกรรมความงาม ปัจจุบันความนิยมเหล่านี้ขยายวงกว้างในกลุ่มผู้หญิง เกือบทุกช่วงอายุ เนื่องจากอิทธิพลของกระบวนการสร้างอัตลักษณ์โดยใช้สื่อทางสังคม การโฆษณา การรีวิว และการบอกกันแบบปากต่อปาก การเยียวยาผู้ตกเป็นเหยื่อจากการศัลยกรรมความงามพบว่ามีการเยียวยาโดยสังคมผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย องค์กรต่างๆที่ไม่หวังผลกำไร, การเยียวยาโดยคู่กรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหายผ่านกระบวนการไกล่เกลี่ย และการบังคับตามคำพิพากษาของศาล ประกอบกับการเยียวยาโดยภาครัฐผ่านพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และ การเยียวยาตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ พ.ศ.2545 ในมาตรา 41 ที่นำหลักการชดเชยความเสียหายโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิดมาใช้ แต่ยังไม่ครอบคลุมความเสียหายจากการทำศัลยกรรมความงาม ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยเพื่อเป็นแนวทางป้องกันการตกเป็นเหยื่อศัลยกรรมความงาม คือ ควรเพิ่มช่องทางตรวจสอบใบอนุญาตประกอบกิจการสถานเสริมความงาม, การมีข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะของแพทย์ที่จะทำศัลยกรรมความงาม, การทำความเข้าใจระหว่างแพทย์และผู้รับบริการถึงขั้นตอนและวิธีการรักษา การผ่าตัด และผลกระทบ, มีการควบคุมข้อความที่ใช้โฆษณาของคลินิกศัลยกรรมให้มีความเหมาะสม, การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนถึงผลดีและผลเสียที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการทำศัลยกรรมความงาม และการตรวจสอบแพทย์และคลินิกศัลยกรรมความงาม รวมทั้งการผสานการทำงานเชิงรุกของหน่วยงานภาครัฐและมีหน่วยงานกลางกำกับดูแลเฉพาะเรื่องศัลยกรรมความงาม และแนวทางการเยียวยาความเสียหายจากการทำศัลยกรรมความงาม คือ เพิ่มเติมข้อกำหนดในพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ พ.ศ.2545 ในมาตรา 41 ให้มีการชดเชยที่ครอบคลุมความเสียหายจากการทำศัลยกรรมความงาม, จัดให้มีการประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์ หรือกองทุนเพื่อเยียวยากรณีเกิดความผิดพลาดจากการทำศัลยกรรมความงาม


แนวทางการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยธุรกรรมเงินสกุลเข้ารหัส, วิสูต กัจฉมาภรณ์ Jan 2020

แนวทางการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยธุรกรรมเงินสกุลเข้ารหัส, วิสูต กัจฉมาภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ "แนวทางการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยธุรกรรมเงินสกุลเข้ารหัส" เป็นการศึกษาวิจัยธุรกรรมเงินสกุลเข้ารหัสอันเป็นนวัตกรรมการโอนมูลค่าระหว่างกันโดยตรงแบบไร้พรมแดนได้อย่างรวดเร็วและไม่มีหน่วยงานกลางใดกำกับ เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออาชญากรที่อาจเลือกใช้เป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน รูปแบบของอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลเข้ารหัส รวมถึงแนวทางการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยธุรกรรมเงินสกุลเข้ารหัสที่เหมาะสม โดยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับเทคนิควิธีเดลฟายรูปแบบปรับปรุง จากการศึกษาพบว่า ระบบนิเวศเงินสกุลเข้ารหัสมีกลไกการปกปิดตัวตนของผู้ใช้งาน สามารถกลบเกลื่อนร่องรอยเส้นทางธุรกรรมไม่ให้พิสูจน์ย้อนกลับถึงต้นทางได้ กอรปกับมีช่องว่างทางกฎหมายของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน อาชญากรจึงอาจเลือกใช้เงินสกุลเข้ารหัสเป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน ทั้งนี้ มาตรการป้องกันและปราบปรามที่เหมาะสม คือ ควรเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ตัวตนของผู้ขอใช้งานโดยจัดทำระบบจัดการฐานข้อมูลกลางของประเทศ เฝ้าระวังธุรกรรมแปรสภาพเงินสกุลเข้ารหัสของผู้ต้องสงสัย พร้อมกับสร้างความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศด้านการต่อต้านการฟอกเงิน และปรับปรุงกฎระเบียบในกระบวนการดำเนินคดีเกี่ยวกับธุรกรรมเงินสกุลเข้ารหัส รวมถึงพัฒนาโปรแกรมสืบค้นเส้นทางธุรกรรมบนระบบปฏิบัติการบล็อกเชน และเสริมทักษะความรู้เกี่ยวกับเงินสกุลเข้ารหัสที่ถูกต้องให้แก่เจ้าหน้าที่ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมถึงประชาชนทั่วไป


แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนต่อการป้องกันจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมและเป็นผู้กระทำผิดในสังคม: กรณีศึกษาโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์, กรวรรณ คำกรเกตุ Jan 2020

แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนต่อการป้องกันจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมและเป็นผู้กระทำผิดในสังคม: กรณีศึกษาโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์, กรวรรณ คำกรเกตุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวนต่อการป้องกันจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมและเป็นผู้กระทำผิดในสังคม: กรณีศึกษาโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ เพื่อศึกษาถึงปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดในการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชน ผ่านโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ เพื่อนำไปสู่ตัวอย่างรูปแบบและนโยบายที่เหมาะสมต่อการสร้างภูมิคุ้มกันของเด็กและเยาวชนต่อโอกาสในการตกเป็นเหยื่อและเป็นผู้กระทำผิดในสังคมที่เหมาะสมกับประเทศไทยและแต่ละบริบทสังคมต่อไป การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 25 คน และการจัดสนทนากลุ่มย่อย ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 5 คน ผลการศึกษาพบว่า การกำหนดแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนนั้น ต้องมีการสำรวจสภาพปัญหาของเด็กและเยาวชนก่อน ทั้ง 5 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) ปัจจัยทางด้านครอบครัว 3) ปัจจัยทางด้านกลุ่มเพื่อน /สถาบันการศึกษา 4) ปัจจัยทางด้านสังคม และ 5) ปัจจัยอื่น ๆ เพื่อกำหนดรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมในการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนให้มีวัคซีนทางสังคมต่อการป้องกันตนเองจากการตกเป็นเหยื่อ และการกระทำความผิดในสังคม โดยปัญหาและอุปสรรคจากกรณีศึกษาการดำเนินโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2562 สามารถแบ่งปัญหาออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านนโยบาย และการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ 2) ด้านวิธีการแก้ไข/เนื้อหา หรือกิจกรรม 3) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้แก้ไข 4) ด้านเด็กและเยาวชนผู้รับการแก้ไข 5) ด้านระยะเวลา และ 6) ปัญหาด้านอื่น ๆ ทั้งงบประมาณ การติดตามประเมินผล และสถานการณ์ Covid-19 ดังนั้น การนำเสนอนโยบาย และรูปแบบที่เหมาะสม โดยผู้ศึกษาวิเคราะห์และนำเสนอผ่านกระบวนการตามหลักของทฤษฎีระบบ (System Theory) การวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ การวิเคราะห์และสำรวจสภาพปัญหา จากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนโดยใช้เครื่องมือในการประเมินเพื่อนำมาวิเคราะห์และกำหนดกระบวนการ (Process) คือ แนวทาง/วิธีการ/โปรแกรม ที่จะนำไปสู่กระบวนการในการเปลี่ยนแปลง และนำแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนต่อการป้องกันจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมและเป็นผู้กระทำผิดในสังคม ตามบริบทของสังคมไทยไปปฏิบัติที่เหมาะสม แบ่งเป็นหลักสูตรแกนกลาง และหลักสูตรเฉพาะด้าน ในแต่ละโรงเรียน จึงนำไปสู่ผลลัพธ์ (Output) คือ เด็กและเยาวชนมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตนเอง ไม่หันไปกระทำผิดในสังคมหรือตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสังคม โดยกระบวนการต่าง ๆ นั้น ดำเนินการผ่านการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้อัตราการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนลดลง และเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างแท้จริง จึงนำไปสู่แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนต่อการป้องกันจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมและเป็นผู้กระทำผิดในสังคมที่เหมาะสมกับประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การป้องกันการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์, พรรษาวดี คล้อยระยับ Jan 2020

การป้องกันการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์, พรรษาวดี คล้อยระยับ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการป้องกันการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ 2) ปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ และ 3) เสนอแนะแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงลึกในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือองค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน อัยการ จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศในสื่อสังคมออนไลน์ปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้น สาเหตุการคุกคามทางเพศในโลกออนไลน์ เกิดจากหลายสาเหตุทั้งจากตัวของเด็กที่เข้าถึงโซเชียลมีเดียได้ง่าย ครอบครัวของเด็กมีปัญหาในครอบครัวทำให้ต้องพึ่งพาสังคมออนไลน์ สภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่ รวมไปถึงเพื่อนของเด็ก และตัวผู้กระทำความผิดมักจะเป็นผู้มีความชำนาญ รูปแบบการคุกคามทางเพศในโลกออนไลน์ มีดังนี้คือ การกลั่นแกล้งทางเพศ การข่มขู่ทางเพศ การลวนลามทางเทศ และ การอนาจารทางเพศ 2) ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ พบว่า กฎหมาย บทลงโทษตลอดจนนโยบายของรัฐ เกี่ยวกับการป้องกันการถูกคุกคามทางเพศในโลกออนไลน์ มีความสอดคล้องเหมาะสม แต่การนำผู้ต้องหามาลงโทษมีความยากลำบาก เนื่องจากในโลกออนไลน์ไม่สามารถเก็บพยานหลักฐานได้ครบ ขาดการประสานงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาครัฐกับภาคเอกชน และการได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนยังไม่เพียงพอทั้งด้านงบประมาณ ด้านข้อมูล และบุคลากรยังไม่เพียงพอ 3) แนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ ดังนี้ คือรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการดำเนินการเชิงรุก โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่เด็กและเยาวชน ประชาชน ในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศในโลกออนไลน์ องค์กรเอกชน หรือภาคเอกชน ร่วมเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ เพื่อลดความเสี่ยง ควรให้การสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งทางด้านงบประมาณ บุคลากร และข้อมูล เนื่องจากภาครัฐมีทรัพยากรดังกล่าวไม่เพียงพอและ ผู้ปกครองสร้างความรู้ความเข้าใจ เอาใจใส่ดูแลบุตรหลาน ทุกหน่วยงานต้องมีส่วนร่วมป้องกัน แก้ไขปัญหากันอย่างจริงจัง เจ้าหน้าที่รัฐไม่เผยแพร่ข้อมูลเหยื่อสู่สาธารณะ


แนวทางการลงโทษประหารชีวิตในสังคมไทย: กรณีศึกษาอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุดตามแนวทางสหประชาชาติ, ตุลาการ ขยันขันเกตุ Jan 2020

แนวทางการลงโทษประหารชีวิตในสังคมไทย: กรณีศึกษาอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุดตามแนวทางสหประชาชาติ, ตุลาการ ขยันขันเกตุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัย เรื่อง "แนวทางการลงโทษประหารชีวิตในสังคมไทย: ศึกษากรณีอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุดตามแนวทางสหประชาชาติ" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อกำหนดและแนวทางของสหประชาชาติ รวมถึงความสอดคล้องของสภาพสังคมไทยกับการลงโทษประหารชีวิตในคดีอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุด และแนวทางที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทยในการลงโทษประหารชีวิตในคดีอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุดตามมาตรฐานสหประชาชาติ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มผู้กำหนดนโยบาย ผู้นำนโยบายมาปฏิบัติ กลุ่มประชาสังคม และกลุ่มนักวิชาการ จำนวน 14 คน ผลการศึกษาพบว่า ข้อกำหนดและแนวทางการลงโทษประหารชีวิตในคดีอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุดของสหประชาชาติเป็นมาตรฐานสากลที่พึงปฏิบัติ แม้ว่าในแต่ละประเทศจะมีบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน หากประเทศไทยกำหนดนโยบายการลงโทษประหารชีวิตในคดีอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุดสอดคล้องต่อแนวทางของสหประชาชาติจะส่งผลให้สามารถลดความผิดพลาดในการดำเนินคดีอาญาด้วยการลงโทษผู้บริสุทธิ์ และลดผลกระทบต่อเหยื่อได้ แนวทางที่เหมาะสมในการใช้โทษประหารชีวิตในกรณีคดีอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุดตามแนวทางของสหประชาชาติ คือ การใช้โทษประหารชีวิตเฉพาะในคดีเจตนาฆ่าทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต และอาจพักการใช้โทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ อีกทั้งการนำมาตรการแทนการลงโทษประหารชีวิตในฐานความผิดที่มีอัตราโทษสูงถึงขั้นประหารชีวิตที่ไม่สอดคล้องต่อแนวทางของสหประชาชาติ คือ กำหนดโทษจำคุกเพิ่มเข้าไปในบางฐานความผิดที่มีบทลงโทษประหารชีวิตเพียงสถานเดียว, การใช้โทษจำคุกระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนในการพ้นโทษ, การจำคุกตลอดชีวิตโดยไม่ได้รับการลดโทษ และการนำนักโทษประหารไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อการเปลี่ยนแปลงแนวทางการลงโทษประหารชีวิตในคดีอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุด (Most Serious Crime) ที่สอดคล้องกับแนวทางของสหประชาชาติและเหมาะสมกับสังคมไทยในปัจจุบันและอนาคตสืบไป


ความแตกต่างของการเสียชีวิตระหว่างเพศและภูมิภาคของประชากรวัยผู้ใหญ่ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2543-2560, ภัคจิรา น้อยจันทร์ Jan 2020

ความแตกต่างของการเสียชีวิตระหว่างเพศและภูมิภาคของประชากรวัยผู้ใหญ่ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2543-2560, ภัคจิรา น้อยจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างและแนวโน้มของความแตกต่างระหว่างเพศของการเสียชีวิตในแต่ละกลุ่มอายุประชากรในประเทศไทย 2) ศึกษาความแตกต่างและแนวโน้มของความแตกต่างระหว่างภาคของการเสียชีวิตในเพศชายและหญิง และ 3) ศึกษาปัจจัยเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสาธารณสุข ที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตอย่างหยาบเพศชายและหญิงในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ Burden of Disease Thailand (BOD) และ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข การวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และเชิงอนุมาน ในส่วนของการวิเคราะห์เชิงพรรณนาจะใช้แผนภูมิแสดงแนวโน้มของการตายในแต่ละกลุ่มอายุ เพศ และภูมิภาค โดยใช้การคำนวณมาตราวัด 3 รูปแบบ ได้แก่ อัตราส่วนระหว่างเพศของการเสียชีวิต (Sex ratio of mortality) ความแตกต่างระหว่างเพศของการเสียชีวิต (Sex differential in mortality) และ ความล่าช้าในการของอายุเพศชายและหญิง (Male and Female age delay in mortality) และการวิเคราะห์เชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multivariate analysis) ผลการศึกษา พบว่า เมื่อใช้มาตรวัดความแตกต่างระหว่างเพศของการเสียชีวิต ความแตกต่างและแนวโน้มของความแตกต่างของการเสียชีวิตระหว่างเพศชายและหญิงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามกลุ่มอายุของประชากร ในขณะที่มาตรวัดอัตราส่วนระหว่างเพศของการเสียชีวิตและอายุที่ล่าช้าในการเสียชีวิตของเพศชายและหญิงแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของการเสียชีวิตของเพศชายและหญิงที่ลดลงเมื่อประชากรมีอายุสูงขึ้น ในระดับภาคนั้น พบว่า ความแตกต่างของการเสียชีวิตของประชากรลดลงเมื่ออายุมากขึ้นในทุกภูมิภาค จากการใช้มาตรวัดอัตราส่วนระหว่างเพศของการเสียชีวิตและมาตรวัดอายุที่ล่าช้าในการเสียชีวิตของเพศชายและหญิง ในทางตรงกันข้ามเมื่อใช้มาตรวัดความแตกต่างระหว่างเพศของการเสียชีวิต ความแตกต่างของการเสียชีวิตในทุกภูมิภาคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นผันตรงกับอายุ แต่มีเพียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้นที่มีแนวโน้มของความแตกต่างเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ส่วนการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตอย่างหยาบเพศชายและหญิง พบว่า ตัวแปรผลิตภัณฑ์มวลรวมรายภาค จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ย ภูมิภาค (ภาคเหนือ และภาคกลาง) และปี มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตของเพศชายและหญิงสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้


กลไกการหลอกลวงต่อการใช้เครื่องสำอางปลอมในกลุ่มพริตตี้, ณฐมน นวมนาคะ Jan 2020

กลไกการหลอกลวงต่อการใช้เครื่องสำอางปลอมในกลุ่มพริตตี้, ณฐมน นวมนาคะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการหลอกลวงเครื่องสําอางปลอมในกลุ่มพริตตี้ โดยศึกษา พฤติกรรมการเลือกเครื่องสําอางของพริตตี้ที่แตกต่างในแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ เกิดความรู้ ความเข้าใจว่าเหตุใด เครื่องสําอางปลอมยังคงเป็นที่นิยมอยู่ในสังคมไทย และเหตุใดในกลุ่มพริตตี้ มีการใช้เครื่องสําอางปลอมเหล่านี้ และให้แนวทางป้องกันการตกเป็นเหยื่อของพริตตี้จากกลไกการ หลอกลวงเครื่องสําอางปลอม งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการเก็บข้อมูล สัมภาษณ์ แบบเจาะลึกในพริตตี้ทั้งหมด 15 คน โดยแบ่งประเภทผู้ให้สัมภาษณ์ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 7 คน และอีก 1 คน โดยกลุ่มแรก เรียกว่า กลุ่มพริตตี้ที่ใช้เครื่องสําอางปลอมเป็น ประจำ กลุ่มที่สองเรียกว่า กลุ่มพริตตี้ที่ไม่ใช้เครื่องสําอางปลอมเป็นประจำ และอีก 1 คน คือ พริตตี้ที่ไม่เคยใช้เครื่องสําอางปลอม จากการศึกษาพบว่า กลุ่มพริตตี้ที่ใช้เครื่องสําอางปลอมเป็น ประจำมีความเสี่ยง และมีผลกระทบมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น โดยจาก กลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้ 7 รายมีผลกระทบเกิดขึ้น 4 ราย ในขณะเดียวกันกลุ่มที่ไม่ใช้เครื่องสําอางปลอม เป็นประจำ มี ทั้งหมด 7 คน แต่ได้รับผลกระทบ 1 ราย ดังนั้นหากพริตตี้มีการใช้เครื่องสําอางปลอมเป็นประจำ ความเสี่ยงก็จะมีมากขึ้นในส่วนของผลกระทบที่จะเกิด นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่า กลไกการหลอกลวง ในเครื่องสําอางปลอมเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ 1. การใช้ค่านิยมของสังคม 2. การใช้สื่อโฆษณาชวนเชื่อ 3. การพิจารณาจากบุคคลต่างๆ เช่น ผู้มีชื่อเสียงในสังคม หรือการให้ความเห็นจากบุคคลอื่น 4.การเชื่อถือบุคคลรอบข้างเพื่อน บุคคลใกล้ชิดโดยเป็นส่วนสำคัญอย่างมาก ที่ส่งผลต่อกลุ่มพริตตี้ยังคงเป็นเหยื่อในเครื่องสําอางปลอม


การกำหนดคำอธิบายและการให้ความหมายความรุนแรงในโลกออนไลน์:กรณีศึกษานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุภาพร กมลฉ่ำ Jan 2020

การกำหนดคำอธิบายและการให้ความหมายความรุนแรงในโลกออนไลน์:กรณีศึกษานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุภาพร กมลฉ่ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษามุมมองของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อการให้คำอธิบายและการให้ความหมายความรุนแรงในโลกออนไลน์ 2. เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อการแบ่งระดับความรุนแรงในโลกออนไลน์ และ 3. เพื่อวิเคราะห์การให้คำอธิบายและการให้ความหมายความรุนแรงในโลกออนไลน์ว่าเป็นผลมาจากแหล่งอิทธิพลทางสังคมอย่างไร โดยสัมภาษณ์นิสิตจุฬาฯ ที่มีอายุระหว่าง 18-23 ปี จำนวน 21 คน คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมด 15 คน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นิสิตจุฬาฯ ให้คำอธิบายความรุนแรงในโลกออนไลน์ว่าเป็นความรุนแรงที่ปรากฏให้เห็นได้ตามความแตกต่างของแพลตฟอร์มและชุมชนออนไลน์ต่าง ๆ อีกทั้งความรุนแรงในโลกออนไลน์ยังสามารถอธิบายได้ด้วยเงื่อนไขด้านความแตกต่างของเพศ และช่วงวัย โดยความหมายของความรุนแรงในโลกออนไลน์จะเกี่ยวข้องกับการแสดงออกของคำพูดหรือการกระทำที่ส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจของบุคคล การคุกคามและการละเมิดความเป็นส่วนตัว และเนื้อหาที่ถูกเผยแพร่ลงในสื่อออนไลน์ ขณะที่การแบ่งระดับความรุนแรงในโลกออนไลน์ออกเป็นระดับต่าง ๆ ได้ชี้ให้เห็นถึงทัศนคติของนิสิตจุฬาฯ ตามการรับรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย รวมถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลจากครอบครัวที่ส่งผลต่อความคิดเรื่องความรุนแรงของกลุ่มเยาวชนโดยตรง การวิจัยนี้ จึงให้ต้องการชี้ให้เห็นถึงการศึกษาเบื้องต้นที่จะเป็นองค์ความรู้พื้นฐานสำหรับนักวิจัยที่ต้องการศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงในโลกออนไลน์ในเชิงลึก เพื่อนำมาพัฒนาแก้ไขป้องกันปัญหาความรุนแรงในโลกออนไลน์ได้ทันต่อยุคสมัย


การเปลี่ยนผ่านของสัญศาสตร์แห่งชนชั้นในพิธีการไหว้บรรพบุรุษในเทศกาลเช็งเม้ง: กรณีศึกษาคนไทยเชื้อสายจีน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา, อธิพร เรืองทวีป Jan 2020

การเปลี่ยนผ่านของสัญศาสตร์แห่งชนชั้นในพิธีการไหว้บรรพบุรุษในเทศกาลเช็งเม้ง: กรณีศึกษาคนไทยเชื้อสายจีน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา, อธิพร เรืองทวีป

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเปลี่ยนผ่านของสัญศาสตร์แห่งชนชั้นในพิธีการไหว้บรรพบุรุษในเทศกาลเช็งเม้ง: กรณีศึกษาคนไทยเชื้อสายจีน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมองผ่านมุมมองสัญศาสตร์และชนชั้นทางสังคม กลุ่มตัวอย่างพิจารณาจากคนไทยเชื้อสายจีน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเจเนอเรชันเบบี้บูมเมอร์และกลุ่มเจเนอเรชันเอ็กซ์ในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ใช้การสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วมเพื่อเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า การให้ภาพสัญญะและการให้ความหมายภายใต้การประกอบพิธีเช็งเม้ง มีการให้สัญญะจากอัตลักษณ์ของความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์จีนกวางไสในพื้นที่เบตง สิ่งนี้นำไปสู่ความเฉพาะทางวัฒนธรรม ทั้งเรื่องอาหาร การใช้ภาษา ความเชื่อ ขั้นตอนการประกอบพิธีและลักษณะเฉพาะของสุสานตำบลยะรม สัญญะภายใต้การประกอบพิธีเช็งเม้งจึงแตกต่างจากพื้นที่อื่น ซึ่งสร้างชนชั้นทางสังคมจากการมีทุนที่แตกต่างกัน อันนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านการประกอบสร้างความหมาย การวิจัยพบว่าการเปลี่ยนผ่านเป็นผลมาจากการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยที่มีปัจจัยทางสังคมที่แตกต่างกัน ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่าน 4 ประเด็น คือ 1) การลดขั้นตอนการทำพิธี 2) ประเภทอาหาร 3) การฝังศพสู่การเผาศพ 4) ป้ายฮวงซุ้ย นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าชนชั้นทางสังคมที่แฝงอยู่ภายใต้การประกอบพิธีเช็งเม้ง เป็นชนชั้นทางสังคมภายใต้ข้อจำกัดในเรื่องทุน ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการให้ความหมายสัญญะต่อสิ่งของ วัตถุและบทบาททางเพศที่ต่างกัน จากปัจจัย 4 ประการ คือ 1) การประกอบอาชีพ 2) ฐานะทางเศรษฐกิจ 3) ระดับการศึกษา 4) การเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามสิ่งของบางประเภทไม่ได้มีนัยยะสำคัญในเรื่องชนชั้นทางสังคมในทุกครอบครัวของคนไทยเชื้อสายจีน การศึกษานี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าสัญญะและชนชั้นทางสังคมที่อยู่ภายใต้การประกอบพิธีเช็งเม้ง ควรพิจารณาปัจจัยทางสังคม ความแตกต่างของพื้นที่และอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์จีนที่ต่างกัน