Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Public Affairs, Public Policy and Public Administration

Chulalongkorn University

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Entire DC Network

การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในห้วงรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กันยายน 2557 - พฤษภาคม 2564, ถลัชนันท์ เอ่งฉ้วน Jan 2021

การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในห้วงรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กันยายน 2557 - พฤษภาคม 2564, ถลัชนันท์ เอ่งฉ้วน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาลักษณะของการใช้ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี กระบวนการกำหนดและ นำข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีไปปฏิบัติ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ในห้วงรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กันยายน 2557 – พฤษภาคม 2564 โดยใช้แนวคิดกระบวนการนโยบาย (Policy process) และการนำนโยบายไปปฏิบัติ และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 9 คน ซึ่งมีข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัย คือ ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีจำนวนมากกว่าข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีในสมัยก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด โดยจะถูกใช้ใน 4 โอกาส ได้แก่ การลงพื้นที่ตรวจราชการของนายกรัฐมนตรี การประชุมคณะกรรมการระดับชาติที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน การเป็นประธานในพิธีเปิด/ปิดงาน และมอบนโยบาย และการใช้ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีกรณีโควิด – 19 ผ่านศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีในสมัยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชามุ่งเน้นการบูรณาการทำงานข้ามหน่วยงาน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่แตกต่างกับการใช้ในสมัยรัฐบาลก่อนหน้าที่มีจำนวนน้อย ใช้ในกรณีเร่งด่วนเท่านั้น และเป็นการสั่งการผ่านหน่วยงานปฏิบัติโดยตรง นอกจากนี้ พบปัญหาการนิยามและกำหนดว่าข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีคืออะไร และหน่วยงานใดบ้างที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสร้างกลไกทั้งหน่วยงานประจำและคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมา ส่งผลให้ในหลายกรณีนายกรัฐมนตรีไม่ได้เป็นผู้กำหนดข้อสั่งการแต่เป็นเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่จดข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ในแง่ของการนำข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีไปปฏิบัติ พบว่า ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับโควิด – 19 ถูกนำไปปฏิบัติและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่นำข้อสั่งการไปปฏิบัติในหน่วยงานระดับปฏิบัติมากที่สุด เมื่อเทียบกับข้อสั่งการในโอกาสอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาเดียวกัน รองลงมาคือ ข้อสั่งการในการลงพื้นที่ตรวจราชการ การปฏิบัติภารกิจเป็นประธานในพิธีเปิด/ปิดและมอบนโยบาย และการประชุมคณะกรรมการระดับชาติ ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม แม้จะเกิดการขับเคลื่อน การดำเนินงานตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี แต่ผลลัพธ์ของการดำเนินงานตามที่ฝ่ายบริหารคาดหวังถือว่าต่ำในภาพรวม ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่า ไม่ควรมีการผลิตข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีออกมาจำนวนมาก เนื่องจากจะส่งผลกระทบทางลบต่อการดำเนินงานอื่น ๆ ของหน่วยงานปฏิบัติได้


แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเล ภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล, ภัคพล รัชตหิรัญ Jan 2021

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเล ภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล, ภัคพล รัชตหิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาบทบาทและโครงสร้างองค์การของกรมศุลกากรและศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานของกรมศุลกากรด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเล ภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 3) เพื่อหาข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเลของกรมศุลกากร ภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 8 คน ซึ่งครอบคลุมข้าราชการกรมศุลกากรและเจ้าหน้าที่จากศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ผลการศึกษา พบว่า กรมศุลกากรมีบทบาทในฐานะหน่วยงานหลักภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยมีกองสืบสวนและปราบปรามที่ทำหน้าที่ในด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเล โดยปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็นหลัก ในด้านโครงสร้างองค์การนั้นกรมศุลกากรมีบทบาทในฐานะสำนักปฏิบัติการ 4 ที่มุ่งเน้นภารกิจด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรทางทะเลในรูปแบบของการบูรณาการ และได้มีการจัดทำแผนเผชิญเหตุ กรณีการลักลอบขนส่งอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงทางทะเล เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการบูรณาการร่วมกันระหว่างทั้งหน่วยงานภายในศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับภาวะปกติจนถึงภาวะที่ไม่ปกติที่อาจส่งผลต่อความเสียหายของประเทศอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ในด้านการปฏิบัติงานนั้น พบข้อจำกัดและอุปสรรคที่สำคัญคือ การขาดแคลนเรือตรวจการณ์ สถานที่จอดเรือ และระบบเทคโนโลยีในการติดตามเรือ ที่มีความเหมาะสมในการปฏิบัติงานในบางพื้นที่ รวมทั้งจำนวนบุคลากรที่ไม่สอดคล้องกับปริมาณงาน และวัฒนธรรมในการบูรณาการร่วมกันที่ควรมีการพัฒนาในรูปแบบการยึดผลงานและบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้นำองค์การอันจะนำมาสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแบบบูรณาการมากยิ่งขึ้น