Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences

1999

Mercury

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Entire DC Network

ความเป็นพิษของปรอทต่อเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อในโพรงฟันของคน, จีรศักดิ์ นพคุณ Sep 1999

ความเป็นพิษของปรอทต่อเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อในโพรงฟันของคน, จีรศักดิ์ นพคุณ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ปรอทถูกนํามาใช้เป็นส่วนผสมในวัสดุอุดฟันมาเป็นเวลานาน ซึ่งถึงแม้จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อ การบูรณะฟัน แต่ความเป็นพิษของปรอทต่อเซลล์ และเนื้อเยื่อยังคงเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ดังนั้น การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบความเป็นพิษของปรอทที่มีความเข้มข้น ระหว่าง 10-6-10-3 โมลาร์ (mole/L) เปรียบเทียบกับแกลเลี่ยม ที่มีความเข้มข้นเดียวกัน วัสดุและวิธีการ โดยทําการทดสอบกับเซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งเป็นเซลล์ไฟโบรบลาสต์ที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อในโพรงฟัน ของคน ทําการวิเคราะห์ความเป็นพิษของสารทดสอบด้วย MTT colorimetric assay ซึ่งเป็นวิธีการวิเคราะห์การ ทํางานของเอ็นไซม์ dehydrogenase ที่อยู่ในไมโทคอนเดรีย ผลการศึกษาและสรุป เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ปรากฏว่า สารปรอทที่ความเข้มข้นระหว่าง 10-3 ถึง 10-4 โมลาร์ จะแสดงความเป็นพิษต่อการทํางานของเอ็นไซม์ dehydrogenase โดยที่ความเข้มข้น 10-3 โมลาร์ จะทําให้การ ทํางานของเอ็นไซม์ยุติลงโดยสิ้นเชิง ในขณะที่แกลเลี่ยมในความเข้มข้นต่างๆ ที่ใช้ทดสอบไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อ การทํางานของเอ็นไซม์ dehydrogenase ในไมโทคอนเดรีย นอกจากนี้ยังพบว่าปรอทที่ความเข้มข้น 0.3 มิลลิโมลาร์ จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางกายภาพของเซลล์และผิวเยื่อของเซลล์ เมื่อทําการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด


ปริมาณสารปรอทในเลือดของทันตแพทย์, เกรียงไกร คุ้มไพโรจน์, ณัฐ อาจสมิติ Jul 1999

ปริมาณสารปรอทในเลือดของทันตแพทย์, เกรียงไกร คุ้มไพโรจน์, ณัฐ อาจสมิติ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารปรอทในเลือดของกลุ่มตัวอย่างทันตแพทย์ที่ให้บริการทั่วไป (general practitioner) ที่มีช่วงการทํางานประมาณ 10 ปีขึ้นไป จํานวน 51 คน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมได้แก่บุคคลทั่วไป จํานวน 70 คน วิธีการศึกษา หาปริมาณสารปรอทในเลือดของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองโดยวิเคราะห์ด้วยวิธีการของ National Institute for Occupation Safety and Health (NIOSH) เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารปรอทโดยโคลด์ เวเปอร์ อะตอมมิค แอบซอฟชั่น สเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (Cold vapor atomic absorption spectrophotometer) โดยเครื่องของ Laboratory Data Control u Mercury Monitor Model 1235 ผลการทดลองและสรุป พบว่าปริมาณสารปรอทในเลือดของกลุ่มควบคุมมีค่า 2.04±0.99 (0.0-6.00) ไมโครกรัม/ ลิตรและกลุ่มทันตแพทย์มีค่า 6.19±4.35 (0.67-18.83) ไมโครกรัม/ลิตร จากการทดสอบด้วย Unpairs student t-test พบว่าทั้ง 2 กลุ่มที่นํามาทดสอบมีค่าปรอทในเลือดแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ p<0.01 ค่าสูงสุด ของระดับปรอทในเลือดของทันตแพทย์มีค่า 18.83 ไมโครกรัม/ลิตร ซึ่งต่ํากว่าระดับที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กําหนดปริมาณสารปรอทในเลือดไม่ควรเกิน 35 ไมโครกรัม/ลิตร แสดงให้เห็นว่าการประกอบวิชาชีพทันตแพทย์ มีโอกาสได้รับสารปรอทเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้นกว่าบุคคลทั่วไป ผลของการวิจัยดังกล่าวน่าจะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางทันตกรรมต้องระวังถึงอันตรายจากพิษของปรอทที่อาจเกิดขึ้น