Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences

Journal

Composite resin crown

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Entire DC Network

ความต้านทานต่อการแตกหักของครอบคอมโพสิตเรซิน, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, เรวดี วิจักษณ์ตระกูล, เปรมจิตร อุทัยไพศาลวงศ์ Jan 1999

ความต้านทานต่อการแตกหักของครอบคอมโพสิตเรซิน, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, เรวดี วิจักษณ์ตระกูล, เปรมจิตร อุทัยไพศาลวงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความต้านทานต่อการแตกหักระหว่างครอบฟันที่ ทําด้วยคอมโพสิตเรซินกับครอบฟันที่ทําด้วยโลหะในฟันกรามน้อยบน เพื่อประเมินผลการนําครอบฟันที่ ทําด้วยคอมโพสิตเรซินมาใช้ในฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟันแล้ว วิธีการวิจัย ทําการทดสอบโดยนําฟันกรามน้อยบนที่รักษารากฟันแล้วจํานวน 20 ซี่ มาตัดยอดฟันทางด้าน เพดานออกทั้งหมด เพื่อให้เหมือนสภาพความเป็นจริงที่พบเสมอในคลินิก นําฟันมากรอเพื่อเตรียมทําครอบ ฟันแบบพาร์เชียลวีเนียร์ และกรอโพสท์ลงในคลองรากฟันประมาณ 2 มิลลิเมตร จากนั้นจึงแบ่งฟันทั้งหมด ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ซี่ ฟันกลุ่มแรกบูรณะด้วยโลหะ ฟันกลุ่มที่สองบูรณะด้วยคอมโพสิตเรซิน แล้วนําไป ทดสอบความต้านทานการแตกหักด้วยเครื่องทดสอบอินสตรอนจนฟันแตก หาค่าเฉลี่ยของแรงในแต่ละกลุ่ม และ เปรียบเทียบผลความต้านทานต่อการแตกหักของครอบฟันทั้งสองชนิดด้วย Unpaired t - test ที่ p > 0.05 ผลการวิจัยและสรุป จากการทดสอบพบว่าค่าเฉลี่ยแรงกดที่ทําให้ฟันแตก 1106.75 ± 162.02 ปอนด์ สําหรับครอบฟันโลหะ และ 324.18 ± 58.34 ปอนด์ สําหรับครอบฟันคอมโพสิตเรซิน แรงกดที่ทําให้ฟันแตกในฟันที่บูรณะด้วยครอบคอมโพสิตเรซิน มีค่าน้อยกว่าครอบโลหะอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ แต่เนื่องจากแรงกด ที่ทําให้ฟันที่บูรณะด้วยคอมโพสิตเรซินแตกมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าแรงบดเคี้ยวในช่องปาก (140-180 ปอนด์) ประกอบ กับคอมโพสิตเรซินมีสีธรรมชาติ ให้ความสวยงามมากกว่าโลหะ และเสียเวลาและค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ดังนั้น การบูรณะฟันที่แตกหักด้วยการครอบฟันคอมโพสิตเรซินจึงเป็นที่ยอมรับ และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วย และตัวทันตแพทย์เอง แต่ควรจะได้ทําการทดสอบความคงทนของการใช้ครอบฟันโพสิตเรซินในระยะยาวทางคลินิกด้วย