Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 53

Full-Text Articles in Entire DC Network

Clinical Studies Of Voiding Dysfunction Among Asymptomatic Diabetic Subjects, Liu-Ing Bih, Su-Ju Tsai, Chien-Ning Huang, Ming-Miau Tsai, Ya-Chun Lai Dec 1999

Clinical Studies Of Voiding Dysfunction Among Asymptomatic Diabetic Subjects, Liu-Ing Bih, Su-Ju Tsai, Chien-Ning Huang, Ming-Miau Tsai, Ya-Chun Lai

Rehabilitation Practice and Science

Uroflowmetry and ultrasonic residual urine measurements had been done to 85 urologically asymptomatic diabetic patients and 20 control subjects. The prevalence of voiding dysfunction was 60% (51/85), and increased residual urine was found in 27% (23/85) of diabetic patients. The abnormal findings included increased residual urine (23/85), interrupted urine stream (9/85), voiding with abdominal strain (31/85), low flow rate (28/85), and enlarged bladder capacity (6/85). The group with voiding dysfunction had lower maximal and average flow rate, longer voiding time, and larger residual urine amount than the diabetic patients with normal voiding function and the healthy controls. The voiding volume …


Reliability Study And Features Of Falling Tendency When Standing In Unilateral Hemispheric Stroke Patients, Ling-Fu Meng, Shi-Dong Jush, Mei-Hsiang Chen Sep 1999

Reliability Study And Features Of Falling Tendency When Standing In Unilateral Hemispheric Stroke Patients, Ling-Fu Meng, Shi-Dong Jush, Mei-Hsiang Chen

Rehabilitation Practice and Science

”Astasia(inability to stand)” is a popular and immediate result after onset from stroke. Health professionals usually label astasia as ”poor” standing performance. However, few studies substantiate the falling tendency of astasia. The result of inability to stand is to fall toward one specific direction; therefore, this study used ”falling direction” as a medium to analyze the falling tendency of astasia. Three major results were found in this study. Firstly, the measurement used in this study to judge falling direction demonstrated good inter-rater reliability. Two raters' kappa value was .89, .88, .87 respectively(each p value < .001). Secondly, while comparing 5 …


Behçet's Disease-A Literature Review, Poramate Pitak-Arnnop Sep 1999

Behçet's Disease-A Literature Review, Poramate Pitak-Arnnop

Chulalongkorn University Dental Journal

Behçet's disease is a multisystemic inflammatory disease with histological evidence for vasculitis and characterized by mucocutaneous, ocular, articular, vascular, intestinal, pulmonary, renal and neurologic involvement. According to the diagnostic criteria formed by the International Study Group, recurrent oral ulceration is a prerequisite, with two more typical symptoms or signs. It is a disease of young adults with a more severe course in male subjects. Its prevalence is high in the Mediterranean basin, Turkey, Japan and those ethnic groups along the old Silk Route and has been known to be associated with HLA-B5 and HLA-B11. Although the pathogenesis of the disease …


Smile: An Esthetic Point Of View, Rud Sooparb, Issarawan Boonsiri Sep 1999

Smile: An Esthetic Point Of View, Rud Sooparb, Issarawan Boonsiri

Chulalongkorn University Dental Journal

Smile is a complicated system to express emotions. It was formed by both skeletal tissue and soft tissue. In the investigations of hard tissue, sella-nasion to mandibular plane (SN-MP) and sellanasion to palatal plane to upper incisal edge are the comprehensive factors. For soft tissue studies, nasolabial fold acts as the keystone of the smiling mechanism. The circumoral muscles play and important roll in 2 stages to raise upper lip first and then lip and fold are raise as well as contracted later. As smile was formed, it represented high, average, and low smile line. Upper lip that touches gingival …


ความเป็นพิษของปรอทต่อเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อในโพรงฟันของคน, จีรศักดิ์ นพคุณ Sep 1999

ความเป็นพิษของปรอทต่อเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อในโพรงฟันของคน, จีรศักดิ์ นพคุณ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ปรอทถูกนํามาใช้เป็นส่วนผสมในวัสดุอุดฟันมาเป็นเวลานาน ซึ่งถึงแม้จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อ การบูรณะฟัน แต่ความเป็นพิษของปรอทต่อเซลล์ และเนื้อเยื่อยังคงเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ดังนั้น การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบความเป็นพิษของปรอทที่มีความเข้มข้น ระหว่าง 10-6-10-3 โมลาร์ (mole/L) เปรียบเทียบกับแกลเลี่ยม ที่มีความเข้มข้นเดียวกัน วัสดุและวิธีการ โดยทําการทดสอบกับเซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งเป็นเซลล์ไฟโบรบลาสต์ที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อในโพรงฟัน ของคน ทําการวิเคราะห์ความเป็นพิษของสารทดสอบด้วย MTT colorimetric assay ซึ่งเป็นวิธีการวิเคราะห์การ ทํางานของเอ็นไซม์ dehydrogenase ที่อยู่ในไมโทคอนเดรีย ผลการศึกษาและสรุป เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ปรากฏว่า สารปรอทที่ความเข้มข้นระหว่าง 10-3 ถึง 10-4 โมลาร์ จะแสดงความเป็นพิษต่อการทํางานของเอ็นไซม์ dehydrogenase โดยที่ความเข้มข้น 10-3 โมลาร์ จะทําให้การ ทํางานของเอ็นไซม์ยุติลงโดยสิ้นเชิง ในขณะที่แกลเลี่ยมในความเข้มข้นต่างๆ ที่ใช้ทดสอบไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อ การทํางานของเอ็นไซม์ dehydrogenase ในไมโทคอนเดรีย นอกจากนี้ยังพบว่าปรอทที่ความเข้มข้น 0.3 มิลลิโมลาร์ จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางกายภาพของเซลล์และผิวเยื่อของเซลล์ เมื่อทําการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด


ความคงทนสีของวัสดุอุดฟันสีธรรมชาติต่อแสงอาทิตย์, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์, โบว์ พุกกะเวส, ฟ้าใส ภู่เกียรติ, ฐิตาภา สิริบุญวินิต Sep 1999

ความคงทนสีของวัสดุอุดฟันสีธรรมชาติต่อแสงอาทิตย์, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์, โบว์ พุกกะเวส, ฟ้าใส ภู่เกียรติ, ฐิตาภา สิริบุญวินิต

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ทดสอบความคงทนสีของวัสดุอุดฟันสีธรรมชาติชนิดต่างๆ ภายหลังจากการได้รับแสงอาทิตย์เป็นเวลา 50 100 150 200 250 และ 300 ชั่วโมง วัสดุและวิธีการ วัสดุอุดฟันสีธรรมชาติที่ใช้ศึกษาได้แก่ คอมโพสิตเรซิน 2100 และ Herculite XRV คอมโพสิต- เรซินชนิดดัดแปรด้วยกรดโพลี Dyract กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ Fuji IX และ Ketac-Molar กลาสไอโอโนเมอร์ซิเมนต์ชนิดดัดแปรด้วยเรซิน Fuji II LC improved และ Vitremer เตรียมชิ้นตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ซม. หนา 1.2 มม. จํานวน 6 ชิ้นในแต่ละผลิตภัณฑ์ แช่ในน้ํากลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมงแล้วนําไปวัดสี (L*, at, b) ด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ จากนั้นแช่ในน้ํากลั่น 30 ซม. นําไปวาง กลางแสงอาทิตย์ ทําการวัดสี ณ ชั่วโมงที่ 50 100 150 200 250 และ 300 จากนั้นนําค่า L* a* และ b* มา คํานวณค่าความแตกต่างสี (AE) ของวัสดุที่ใช้ในการทดลองที่ชั่วโมงต่างๆ ตามลําดับผล ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของ AE” ของวัสดุที่ใช้ในการทดลองที่ชั่วโมงต่างๆ ตามลําดับ ดังนี้ Z100 มีค่า 0.74±0.11 0.77±0.06 0.79±0.07 1.01 +0.16 1.97 +0.25 และ 0.79 -0.13 Herculite XRV มีค่า 2.30±0.18 2.99±0.35 …


อีริทีมาไมแกรนส์- ลักษณะทางคลินิกและพยาธิวิทยา, ปรเมศร์ พิทักษ์อรรณพ Sep 1999

อีริทีมาไมแกรนส์- ลักษณะทางคลินิกและพยาธิวิทยา, ปรเมศร์ พิทักษ์อรรณพ

Chulalongkorn University Dental Journal

อีริทีมาไมแกรนด์เป็นรอยโรคไม่ร้ายแรง พบบ่อยที่ลิ้น แต่อาจพบได้ที่เยื่อเมือกด้านแก้ม พื้นช่องปาก เพดานปาก เหงือกและริมฝีปากปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่าสัมพันธ์กับโรคทางระบบอื่นหลายชนิด โดยเฉพาะโรคสะเก็ดเงิน กลุ่มอาการไรเทอร์ โรคภูมิแพ้ และความเครียดทางอารมณ์ ลักษณะทางคลินิกเป็นรอยเลี่ยนแดงขอบขรุขระ หลายตําแหน่ง ล้อมรอบด้วยเส้นหรือแถบหนานูนสีขาว ลักษณะเฉพาะของรอยโรคทั้งที่เกิด ที่ลิ้นและเยื่อเมือกช่องปากคือการย้ายที่ได้ เป็นๆ หายๆ ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาของเยื่อบุผิวตรงกลางรอยโรคมีการลดความหนาของชั้นเคราติน บวมน้ำ และการงอกเจริญร่วมกับการแทรกซึมของเม็ดเลือดขาวที่มีนิวเคลียสหลายพูในลักษณะฝีขนาดเล็ก ส่วนขอบของรอยโรคมีการสร้างเคราตินหรือพาราเคราตินมากเกิน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการจึงไม่ต้องการการรักษาเฉพาะ แต่ควรบอกผู้ป่วยให้ทราบว่าเป็นรอยโรคไม่ร้ายแรง และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อร้ายได้ ยกเว้นในรายที่มีอาการเจ็บปวด หรือปวดแสบปวดร้อน อาจพิจารณาใช้ยาชาเฉพาะที่ ยาต้านฮีสตามีนยาสเตียรอยด์ หรือยาละลายเคราตินช่วยบรรเทาอาการได้


Shear Bond Strength Of Metal Brackets To Temporary Crowns With Different Dental Adhesives And Bond Failure, Sirima Charoenpone Sep 1999

Shear Bond Strength Of Metal Brackets To Temporary Crowns With Different Dental Adhesives And Bond Failure, Sirima Charoenpone

Chulalongkorn University Dental Journal

Objectives The purposes of the current study were to compare the mean shear bond strengths of brackets to temporary crowns with and without sandblasting when used by chemical-cured (self-cured) and light-cured composite resin, to self-cured and light-cured glass ionomer, and to evaluate bond failure of all samples. Materials and methods Three hundred temporary crowns were divided into 10 groups with 30 samples in each group to bond metal brackets with sandblasting (SB) or non-sandblasting (NSB). Five kinds of adhesives: one-paste (O), two-paste self-cured (T), light-cured (LC) composite resin, glass ionomer (1) and light-cured glass ionomer (LI) were used. The surface …


ผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต่อความแข็งแรง ดัดขวางของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยความร้อน, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์, รุ่งนภา วานิชวัฒนสิทธิ, สรนันทร์ จันทรางศุ, สิวัลย์ เฉลิมพิสุทธิศักดิ์ Sep 1999

ผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต่อความแข็งแรง ดัดขวางของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยความร้อน, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์, รุ่งนภา วานิชวัฒนสิทธิ, สรนันทร์ จันทรางศุ, สิวัลย์ เฉลิมพิสุทธิศักดิ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อพิจารณาผลของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต่อความแข็งแรงดัดขวางของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกชนิดบ่มด้วยความร้อน วัสดุและวิธีการ เตรียมชิ้นตัวอย่างวัสดุฐานฟันปลอม อะคริลิกชนิดบ่มด้วยความร้อนผลิตภัณฑ์โรเด็กซ์ (โรเดนท์, เอส.อาร์.แอล) รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 65x10x2.5 มม. จํานวน 60 ชิ้นแบ่งเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 10 ชิ้น นําไปแช่ ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผลิตภัณฑ์แบล็กแคท (บริษัท ยูไนเต็ด ไวน์เนอรี่ แอนด์ ดิสทิลเลอรี่ จํากัด) เข้มข้น 40 ดีกรี ที่อุณหภูมิ 5±2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 100 200 300 400 และ 500 ชั่วโมง ตามลําดับ จากนั้นทดสอบ ความแข็งแรงดัดขวางด้วยวิธีกด 3 จุด ด้วยเครื่องยูนิเวอร์ซัลเทสทิ้งแมชชีน (Lloyd, England) รุ่นแอลเค 10 ด้วย ความเร็วหัวกด 5 มิลลิเมตรต่อนาที ผล ค่าเฉลี่ย (หน่วยปาสคาล) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความแข็งแรงตัดขวางของกลุ่มต่างๆ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ไม่ได้แช่ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 59.57 ±4.39 กลุ่มที่ 2 แช่ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครบ 100 ชั่วโมง 59.24± 5.00 กลุ่มที่ 3 แซ่ครบ 200 ชั่วโมง 60.74 ± 5.38 กลุ่มที่ 4 แซ่ครบ 300 ชั่วโมง 59.19± 4.67 กลุ่มที่ 5 แซ่ครบ 400 ชั่วโมง 58.75± 7.22 กลุ่มที่ 6 แซครบ 500 ชั่วโมง 56.6 ±5.38 …


การเปรียบเทียบการติดแน่นของกลาสไอโอโนเมอร์สามชนิดต่อเนื้อฟันในห้องปฏิบัติการ, สรรพัชญ์ นามะโน, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล Sep 1999

การเปรียบเทียบการติดแน่นของกลาสไอโอโนเมอร์สามชนิดต่อเนื้อฟันในห้องปฏิบัติการ, สรรพัชญ์ นามะโน, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการติดแน่นของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ 3 ชนิด (ไฮบอนด์ (โซฟู), ฟูจิ (จีซี) และ เมอรอน (โวโค)] ต่อเนื้อฟันในห้องปฏิบัติการ วัสดุและวิธีการ ทําชิ้นตัวอย่าง 30 ชิ้น โดยการผ่าฟันออกตามแนวยาวแล้วนํามาฝังลงบนก้อนอะคลีลิกเรซิน ชนิดแข็งตัวได้ในอุณหภูมิห้อง โดยให้หงายเนื้อฟันด้านที่ถูกตัดออก จากนั้นนํากลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์แต่ละชนิด มายึดห่วงโลหะให้ติดกับเนื้อฟันทดสอบหาแรงดึงที่จะแยกห่วงโลหะและซีเมนต์ออกจากเนื้อฟันโดยทํา 10 ชิ้นตัวอย่างต่อซีเมนต์ 1 ชนิด ผลการทดลอง กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดเมอรอนให้ค่าแรงดึงสูงที่สุดในบรรดาซีเมนต์ที่ทดสอบในขณะที่ชนิดไฮบอนด์และฟูจิไม่ได้แสดงความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ สรุป กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดเมอรอนให้ค่าแรงดึงสูงที่สุดในบรรดาซีเมนต์ 3 ชนิดที่นํามาทดสอบ


ผลของวิตามินซีต่อการหายของแผลถอนฟันในมนุษย์การศึกษาทางคลินิก, ชัยวัฒน์ ปิ่นน้อย, ปฐมพร สอ้านวงศ์, สุดารัตน์ นับดี Jul 1999

ผลของวิตามินซีต่อการหายของแผลถอนฟันในมนุษย์การศึกษาทางคลินิก, ชัยวัฒน์ ปิ่นน้อย, ปฐมพร สอ้านวงศ์, สุดารัตน์ นับดี

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลของวิตามินซี ต่อการหายของแผลถอนฟันในอาสาสมัครคนไทยกลุ่มหนึ่ง ที่เข้า รับการรักษาในภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการศึกษาในขณะที่ผู้ป่วย ทุกคนรับประทานอาหารในชีวิตประจําวันตามปกติ วัสดุและวิธีการ ศึกษาจากอาสาสมัครซึ่งเป็นนิสิตทันตแพทย์จํานวน 22 คน อายุอยู่ระหว่าง 17-24 ปี โดยไม่ จํากัดเพศ ผู้ป่วยทุกคนมีฟันที่จะต้องถอนอย่างน้อยสองซี่ที่มีลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ใกล้เคียงกัน เช่นฟันกราม กับฟันกราม ฟันกรามน้อยกับฟันกรามน้อย และตําแหน่งต้องอยู่ในขากรรไกรเดียวกัน การถอนฟันครั้งแรกจะใช้ เป็นกลุ่มควบคุม โดยไม่ให้วิตามินซี วัดการหายของบาดแผลโดยการตรวจดูทางคลินิก แล้วใช้สาร Toluidin blue 1% ทาที่แผลถอนฟันจากนั้นล้างออกด้วยน้ํา ถ้าบาดแผลไม่ติดสีถือว่าแผลหายสนิท (Complete Epithelialization) ทั้งนี้เนื่องจากสาร Toluidin blue 1% จะติดสีเฉพาะเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) เท่านั้น ต่อจากนั้นจึง ทําการถอนฟันอีกที่หนึ่งซึ่งจะใช้เป็นกลุ่มทดลอง โดยให้วิตามินซี 2000 มก.ต่อวัน โดยแบ่งเป็น 4 ครั้งๆ ละ 500 มก.เป็นเวลา 10 วัน แล้วตรวจดูการหายของแผลเช่นเดียวกันนําระยะเวลาการหายของทั้งสองกลุ่มมาเปรียบเทียบ กันว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ ถ้ามีความแตกต่างกันจะแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติหรือไม่ ผลการศึกษา พบว่าวิตามินซีจํานวน 2000 มก.ต่อวันมีผลช่วยเร่งเวลาการหายของแผลถอนฟันให้หายเร็วขึ้นประ มาณ 20% ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุป วิตามินซีจะมีอยู่ในอาหารบางชนิดเท่านั้นเช่นผัก ผลไม้ เป็นต้น ซึ่ง RDA, ได้แนะนําว่า ร่างกายควรจะได้รับ วันละ 60 มก.เพื่อนําไปใช้ซ่อมแซมร่างกายในภาวะปกติ แต่ในขณะที่ร่างกายเกิดบาดแผล ถ้าร่างกายได้รับวิตามินซี เพิ่มขึ้น ก็จะทําให้ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ในขบวนการหายของแผลได้มากขึ้นซึ่งเป็นผลทําให้การหายของ แผลเร็วขึ้น จากการวิจัยครั้งนี้จะเห็นว่าวิตามินซีที่กลุ่มทดลองได้รับมีจํานวนประมาณ 35 เท่าของ RDA. แนะนําจะช่วยเร่งการหายของแผลให้เร็วขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ


ปริมาณสารปรอทในเลือดของทันตแพทย์, เกรียงไกร คุ้มไพโรจน์, ณัฐ อาจสมิติ Jul 1999

ปริมาณสารปรอทในเลือดของทันตแพทย์, เกรียงไกร คุ้มไพโรจน์, ณัฐ อาจสมิติ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารปรอทในเลือดของกลุ่มตัวอย่างทันตแพทย์ที่ให้บริการทั่วไป (general practitioner) ที่มีช่วงการทํางานประมาณ 10 ปีขึ้นไป จํานวน 51 คน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมได้แก่บุคคลทั่วไป จํานวน 70 คน วิธีการศึกษา หาปริมาณสารปรอทในเลือดของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองโดยวิเคราะห์ด้วยวิธีการของ National Institute for Occupation Safety and Health (NIOSH) เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารปรอทโดยโคลด์ เวเปอร์ อะตอมมิค แอบซอฟชั่น สเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (Cold vapor atomic absorption spectrophotometer) โดยเครื่องของ Laboratory Data Control u Mercury Monitor Model 1235 ผลการทดลองและสรุป พบว่าปริมาณสารปรอทในเลือดของกลุ่มควบคุมมีค่า 2.04±0.99 (0.0-6.00) ไมโครกรัม/ ลิตรและกลุ่มทันตแพทย์มีค่า 6.19±4.35 (0.67-18.83) ไมโครกรัม/ลิตร จากการทดสอบด้วย Unpairs student t-test พบว่าทั้ง 2 กลุ่มที่นํามาทดสอบมีค่าปรอทในเลือดแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ p<0.01 ค่าสูงสุด ของระดับปรอทในเลือดของทันตแพทย์มีค่า 18.83 ไมโครกรัม/ลิตร ซึ่งต่ํากว่าระดับที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กําหนดปริมาณสารปรอทในเลือดไม่ควรเกิน 35 ไมโครกรัม/ลิตร แสดงให้เห็นว่าการประกอบวิชาชีพทันตแพทย์ มีโอกาสได้รับสารปรอทเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้นกว่าบุคคลทั่วไป ผลของการวิจัยดังกล่าวน่าจะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางทันตกรรมต้องระวังถึงอันตรายจากพิษของปรอทที่อาจเกิดขึ้น


Giant Cell Fibroma Of The Oral Cavity. I. A Clinico-Pathological Study In Thai Population, Kittipong Dhanuthai, Somporn Swasdison Jul 1999

Giant Cell Fibroma Of The Oral Cavity. I. A Clinico-Pathological Study In Thai Population, Kittipong Dhanuthai, Somporn Swasdison

Chulalongkorn University Dental Journal

Thirty six cases of giant cell fibroma of the oral cavity in Thai patients were clinico-pathologically analyzed. The results showed that giant celll fibroma occurred in all age groups with the predilection for the third decade of life. No significant sex predilection of occurrence was noted. Clinically, the lesions presented as sessile or pedunculated masses with either smooth or papillary surface. Most of the lesions were under 10 mm in diameter. The most common location was the gingiva. Microscopically, the lesion was composed of large stellate-shaped mononuclear and multinuclear cells in a highly vascularized loose connective tissue. From this study, …


ปริมาณฟลูออไรด์ที่หลุดออกมาจากวัสดุบูรณะสีเหมือนฟันชนิดที่มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบ, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์ Jul 1999

ปริมาณฟลูออไรด์ที่หลุดออกมาจากวัสดุบูรณะสีเหมือนฟันชนิดที่มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบ, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบปริมาณของฟลูออไรด์ที่หลุดออกมาจากวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซิน วัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินชนิดดัดแปลงด้วยแก้ว และวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินชนิดที่มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบ วัสดุและวิธีการ เตรียมชิ้นทดลองทรงกระบอกของวัสดุ Compoglass F, Dyract AP, Hytac Aplitip, Photac Fil Quick และ Tetric ผลิตภัณฑ์ละ 10 ชิ้น นําชิ้นทดลองแต่ละชิ้นมาแช่ในภาชนะพลาสติกที่มีน้ํากลั่นปริมาตร 2 มิลลิลิตร ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ซม. นําชิ้นทดลองออกมาใส่ในภาชนะพลาสติกที่มี น้ํากลั่นปริมาตร 2 มิลลิลิตร ที่เตรียมขึ้นใหม่ และนําสารละลายในภาชนะเดิมไปวัดปริมาณฟลูออไรด์ ทําการเก็บ สารละลายและวัดปริมาณฟลูออไรด์ที่หลุดออกจากชิ้นทดลองแต่ละชิ้นด้วยวิธีเดิมในวันที่ 2, 3, 4, 5, 6, 7, 14, 21, 28, 35, 42, 49, 56, 63, 70, 77, 84 และ 91 โดย 24 ชั่วโมงก่อนที่จะเก็บสารละลายตัวอย่างในแต่ละช่วงเวลา จะนําชิ้นทดลองไปแช่ในภาชนะที่มีน้ํากลั่นใหม่ ผลการทดลอง มีฟลูออไรด์หลุดออกมาจากวัสดุทุกชนิดภายหลังการแข็งตัวตลอดระยะเวลา 9 วันที่ทําการทดลอง โดยมีปริมาณมากที่สุดในช่วง 24 ชั่วโมงแรก แล้วปริมาณจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงวันที่ 2 ถึงวันที่ 7 และมี ปริมาณค่อนข้างคงที่ตั้งแต่สัปดาห์ที่สองเป็นต้นไป ยกเว้น Tetric ที่ปล่อยฟลูออไรด์ในปริมาณที่คงที่ตั้งแต่วันที่ 2 จนสิ้นสุดการทดลอง ปริมาณฟลูออไรด์รวมที่หลุดออกจากวัสดุ Photac-Fil Quick มากที่สุด (P<0.05) ปริมาณ ฟลูออไรด์รวมที่หลุดออกจากวัสดุ Tetric น้อยที่สุด (P<0.05) ทุกช่วงเวลาตลอดระยะเวลาที่ทําการทดลองฟลูออไรด์ หลุดออกจากวัสดุ Compoglass F มีปริมาณมากกว่าที่หลุดจากวัสดุ Dyract AP, Hytac Aplitip และ Tetric (P<0.05) ฟลูออไรด์ที่หลุดออกจากวัสดุ Dyract AP มีปริมาณมากกว่าที่หลุดจาก Hytac Aplitip และ Tetric (P<0.05) และฟลูออไรด์ที่หลุดออกจากวัสดุ Hytac Aplitip มีปริมาณที่มากกว่าที่หลุดจากวัสดุ Tetric (P < 0.05) สรุป ฟลูออไรด์สามารถหลุดออกมาจากวัสดุบูรณะสีเหมือนฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบภายหลังการแข็งตัว ได้ โดยฟลูออไรด์ที่หลุดออกมาจากวัสดุ Photac-Fil Quick มีปริมาณมากที่สุด รองลงมาเป็นปริมาณฟลูออไรด์ที่หลุดจากวัสดุ Compoglass F, Dyract AP, Hytac Aplitip และ Tetric ตามลําดับ


การเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด-ด่างของผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์หลังการเผยต่ออากาศปกติของห้องและอากาศที่มีความชื้น, สมไชย ลิ้มสมบัติอนันต์, สุพินดา สาทรกิจ Jul 1999

การเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด-ด่างของผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์หลังการเผยต่ออากาศปกติของห้องและอากาศที่มีความชื้น, สมไชย ลิ้มสมบัติอนันต์, สุพินดา สาทรกิจ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของค่าความเป็นกรด-ด่างของผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์หลังจากการเผยต่ออากาศปกติของห้องและอากาศที่มีความชื้น วัสดุและวิธีการ ตัวอย่างผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์ของแต่ละกลุ่มที่ใช้ศึกษาในช่วงเวลาและภายใต้สถานการณ์เดียวกันมีจํานวน 10 ตัวอย่าง แต่ละตัวอย่างประกอบด้วยผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์จํานวน 0.2 กรัม โดยนําผงออกมาจากภาชนะบรรจุที่เพิ่งเปิดใช้ ใส่และเกลี่ยให้แผ่กระจายในจานแก้ว แล้วนําไปวางให้เผยต่ออากาศปกติของห้อง (25± 2°C, ความชื้นสัมพัทธ์ 50%) และเผยต่ออากาศชื้นในตู้ควบคุมความชื้น (25 ± 2°C, ความชื้นสัมพัทธ์ 100%) เป็นระยะ เวลา 1, 2, 4, 6, 8, 10 และ 12 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดแต่ละช่วงเวลา นําผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์แต่ละตัวอย่าง ไป ผสมกับน้ํากลั่นจํานวน 50 มิลลิลิตร กวนให้เข้ากันเป็นเวลา 5 นาที แล้ววัดค่าความเป็นกรด-ด่าง ด้วยเครื่องวัดความ เป็นกรด-ด่าง ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยของค่าความเป็นกรด-ด่างของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ของกลุ่มที่เผยต่ออากาศปกติของห้อง และกลุ่มที่เผยต่ออากาศชื้น มีค่าลดลงทุกช่วงเวลา ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 12 เมื่อเปรียบเทียบกับ ค่าที่วัดได้จากผงที่นําออกมาจากภาชนะบรรจุใหม่ๆ เมื่อพิจารณาในช่วงเวลาเดียวกันพบว่า ค่าเฉลี่ยของค่าความเป็น กรด-ด่าง ของแคลเซียมไฮดรอกไซด์กลุ่มที่เผยต่ออากาศชื้น มีค่าต่ํากว่ากลุ่มที่เผยต่ออากาศปกติของห้อง อย่างมีนัย สําคัญทางสถิติ (p<0.05) ตั้งแต่สัปดาห์ที่สองเป็นต้นไป สรุป ภายใต้สถานการณ์ของการทดลองนี้ พบว่าผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่มีการเผยต่ออากาศปกติของห้อง หรือ เผยต่ออากาศที่มีความชื้นสูง ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีค่าความเป็นกรด-ด่างที่วัดได้หลังการผสมกับน้ํากลั่นเสร็จใหม่ ๆ ลดลง


ผลของ Smear Layer ต่อการเปลี่ยนแปลงพีเอชของเนื้อฟันส่วนราก หลังจากใส่แคลเซียมไฮดรอกไซด์, เมตตจิตต์ นวจินดา, อมรรัตน์ บุญศิริ Jul 1999

ผลของ Smear Layer ต่อการเปลี่ยนแปลงพีเอชของเนื้อฟันส่วนราก หลังจากใส่แคลเซียมไฮดรอกไซด์, เมตตจิตต์ นวจินดา, อมรรัตน์ บุญศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของซีเมีย เลเยอะ smear layer) ต่อการเปลี่ยนแปลงของ พีเอช (pH) ในท่อเนื้อฟันที่บริเวณ 4 มิลลิเมตร จากปลายรากและลึก 1 มิลลิเมตรจากผิวของรากฟัน วัสดุและวิธีการ ฟันมนุษย์รากเดียวจํานวน 22 ปี ทําการขยายคลองรากฟันด้วยเคไฟล์ (K-file) จนเอ็มเอเอฟไฟล์ (MAF) ขนาด 40 แบ่งฟันออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 11 ซี่ โดยกลุ่มที่ 1 ไม่จํากัดซีเมีย เลเออะ โดยล้างคลอง รากฟันสุดท้ายด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (Soldiumhypochlorite) 5.25% 20 มิลลิเมตร และน้ํากลั่น 5 มิลลิเมตร กลุ่มที่ 2 กําจัดซีเมีย เลเยอะ โดยล้างคลองรากฟันสุดท้ายด้วยอีดีทีเอ (EDTA) 17% 10 มิลลิเมตร โซเดียม ไฮโปคลอไรด์ 5.25% 10 มิลลิเมตร และน้ํากลั่น 5 มิลลิเมตร นํากลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม เคลือบยาทาเล็บ 2 ชั้น บนผิวรากฟัน รวมทั้งรูเปิดปลายราก อุดคลองรากฟันด้วยส่วนผสมแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในฟันกลุ่มที่ 1 และ 2 กลุ่มละ 10 ปี ส่วนฟัน 1 ซี่ของแต่ละกลุ่ม จะเป็นกลุ่มควบคุม โดยปล่อยคลองรากฟันให้ว่างเปล่า นําฟันทั้ง 22 เจาะรูที่ผิวรากฟันห่างปลายรากฟัน 4 มิลลิเมตร และลึกจากผิวรากฟัน 1 มิลลิเมตร เก็บฟันไว้ในที่ความชื้นสัมพัทธ์ 100% อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นํามาวัดพีเอช ที่ 0, 7, และ 14 วัน …


การยับยั้งการละลายแร่ธาตุจากผิวฟัน โดยวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินชนิดที่มีฟลูออไรด์ เป็นองค์ประกอบและชนิดดัดแปลงด้วยแก้ว, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์ Jul 1999

การยับยั้งการละลายแร่ธาตุจากผิวฟัน โดยวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินชนิดที่มีฟลูออไรด์ เป็นองค์ประกอบและชนิดดัดแปลงด้วยแก้ว, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษาในห้องปฏิบัติการนี้ ทําเพื่อประเมินความสามารถในการต้านทานการละลายแร่ธาตุออก จากผิวฟัน ของวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินชนิดที่มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบและชนิดดัดแปลงด้วยแก้ว โดยมีวัสดุ บูรณะคอมโพสิตเรซินที่ไม่มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบและวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซิน เป็นวัสดุควบคุมบวกและควบคุมลบตามลําดับ วัสดุและวิธีการ เตรียมโพรงฟัน ขนาดกว้าง 2 มิลลิเมตร ยาว 3 มิลลิเมตร ลึก 2.5 มิลลิเมตร บริเวณรอยต่อ ของเคลือบฟันกับซีเมนตัมบนด้านแก้ม (buccal surface) ของฟันกรามน้อยของมนุษย์ที่ถูกถอนออกมาและไม่มี การยุบนด้านแก้ม จํานวน 60 ซี่ แบ่งฟันโดยการสุ่มออกเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 10 ซี่ บูรณะฟันแต่ละกลุ่มด้วยวัสดุ Compoglass F, Dyract AP, Hytac Aplitip, Tetric, Photac-Fil Quick และ Silux Plux ตามวิธีที่บริษัทผู้ผลิต กําหนด นําฟันทั้งหมดมาแช่ใน demineralized solution (Synthetic polymer acidified gel pH 5.0) เป็นเวลา 10 วัน เพื่อให้เกิดการละลายแร่ธาตุบริเวณผิวฟันรอบๆ วัสดุบูรณะ นําฟันมาล้างให้สะอาด หุ้มด้วยเรซินชนิดใส และตัดฟันผ่านวัสดุบูรณะในแนวบดเคี้ยว-คอฟัน (occluso cervical) ให้ได้ชิ้นทดลองหนา 100 ±20 ไมครอน จํานวน 2 ชิ้นต่อ 1 ชิ้นฟันทดลอง วัดระยะความลึกของรอยผุจากผิวฟันที่บริเวณขอบโพรงฟันทางด้านบดเคี้ยวและ ด้านคอฟัน ด้วยเครื่อง stereomicroscope (Olympus, Japan) และ Image analysis System (LECO 1001, Canada) ผลการทดลอง ฟันกลุ่มที่บูรณะด้วย Photac-Fil Quick มีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันรอบวัสดุน้อย ที่สุด (P<0.05) ฟันกลุ่มที่บูรณะด้วย Silux Plus มีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันรอบวัสดุมากที่สุด (P<0.05) สําหรับกลุ่มของฟันที่บูรณะด้วยวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินชนิดที่มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบและชนิด ดัดแปลงด้วยแก้วปรากฏว่า ฟันกลุ่มที่บูรณะด้วย Compoglass F มีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันรอบวัสดุ น้อยที่สุด (P<0.05) ฟันกลุ่มที่บูรณะด้วย Hytac Aplitip มีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันรอบวัสดุ มากที่สุด (P<0.05) ฟันกลุ่มที่บูรณะด้วย Tetric มีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันด้านบดเคี้ยว ไม่แตก ต่างอย่างมีนัยสําคัญจากกลุ่มที่บูรณะด้วย Compoglass F และมีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันด้านคอฟัน ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญจากกลุ่มที่บูรณะด้วย Dyract AP (P>0.05) สรุป ความสามารถในการต้านทานการละลายแร่ธาตุออกจากฟันของวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินชนิดดัดแปลงด้วยแก้วแต่ละผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างกัน …


การทํานายผลรวมความกว้างของฟันเขี้ยวและฟันกรามน้อยซี่ที่สองฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่ง จากเด็กไทยอายุ 13-15 ปี, วัชระ เพชรคุปต์, ปิยารัตน์ อภิวัฒนกุล Jul 1999

การทํานายผลรวมความกว้างของฟันเขี้ยวและฟันกรามน้อยซี่ที่สองฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่ง จากเด็กไทยอายุ 13-15 ปี, วัชระ เพชรคุปต์, ปิยารัตน์ อภิวัฒนกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้ทําขึ้นเพื่อหาสมการที่เหมาะสมสําหรับคนไทยในการทํานายความกว้างของฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่ง และฟันกรามน้อยซี่ที่สอง ซึ่งเป็นกลุ่มพื้นที่ขึ้นช้าที่สุดในช่องปาก วัสดุและวิธีการ โดยการวัดขนาดฟันทุกซี่จากแบบจําลองฟันของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนไทย 400 ราย ที่มีอายุใน ช่วง 13-15 ปี เป็นชายและหญิง อย่างละเท่าๆ กัน หาค่าเฉลี่ย, ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความกว้างมากที่สุด และน้อยที่สุดของฟันแต่ละซี่ รวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของฟันกับกลุ่มของฟันที่เลือกไว้ โดยใช้สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเปียร์สัน ผลการวิจัยและสรุป พบว่าค่าสัมประสิทธิ์ของผลรวมความกว้างของฟันเขี้ยว และฟันกรามน้อยทั้งสองซี่ มีความ สัมพันธ์กับความกว้างของฟันกรามแท้ซี่แรกที่อยู่ในขากรรไกรเดียวกันมากที่สุด โดยมีค่าเป็น 0.674 ในเพศชาย, 0.659 ในเพศหญิง และ 0.692 ในกลุ่มรวมสําหรับขากรรไกรบน ส่วนขากรรไกรล่างมีค่าเป็น 0.647, ในเพศชาย 0.673 ในเพศหญิง และ 0.694 ในกลุ่มรวม สําหรับความสัมพันธ์ที่มีต่อกลุ่มฟันหน้าของขากรรไกรเดียวกันจะมีค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ลดลงมาเล็กน้อยเป็น 0.664 ในขากรรไกรบน และ 0.616 ในขากรรไกรล่างของเพศชาย 0.626 ในขากรรไกรบน และ 0.641 ในขากรรไกรล่างของเพศหญิงมีค่า 0.670 ในขากรรไกรบน และ 0.650 ใน ขากรรไกรล่าง ของกลุ่มรวมเพศ การทํานายผลรวมความกว้างของฟันเขี้ยวและฟันกรามน้อยทั้งสองซี่ จึงเลือกใช้ ค่าความกว้างของฟันกรามแท้ซี่แรกมาสร้างเป็นสมการถดถอยอย่างง่ายในรูปของ y = a + bx เมื่อ y ความกว้างของฟันเขี้ยวและฟันกรามน้อยทั้งสองซี่บนหรือล่าง, X = ความกว้างเฉลี่ยของฟันกรามแท้ซี่แรกบนหรือ ล่าง ส่วนค่าของ a และ b ในขากรรไกรบนเป็น 7.26 และ 1.47 สําหรับเพศชาย, 9.86 และ 1.20 สําหรับเพศ หญิง, 8.19 และ 1.37 สําหรับกลุ่มรวม ในขากรรไกรล่าง มีค่าเป็น 6.7 และ 1.34 …


อิทธิพลของการเสริมตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมต่อความแข็งแรงดัดขวางของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิก, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์, ไชยพร เทพชาตรี, พงศธร พู่ทองคำ Apr 1999

อิทธิพลของการเสริมตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมต่อความแข็งแรงดัดขวางของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิก, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์, ไชยพร เทพชาตรี, พงศธร พู่ทองคำ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการใส่ตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมทั้งที่ทา และไม่ทากาวไชยาในอะคริเลตผลิต ภัณฑ์เคนจิ (Kenji) ต่อความแข็งแรงดัดขวาง (transverse strength) ของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกผลิตภัณฑ์ เมลิโอเดนต์ (Meliodent) รวมทั้งผลของการทํา thermocycling วิธีการ เตรียมชิ้นตัวอย่างวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 65x10x2.5 มม. ซึ่งแบ่งเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 10 ชิ้น ได้แก่ กลุ่มที่ 1) ไม่ได้เสริมแรงด้วยตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิม และไม่ผ่าน thermocycling กลุ่มที่ 2) ไม่ได้เสริมแรงด้วยตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิม และผ่าน thermocycling ที่ 8°C และ 55°C จํานวน 500 รอบ กลุ่มที่ 3) เสริมแรงด้วยตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมที่ไม่ได้ทากาวไชยาในอะคริเลต และไม่ผ่าน thermocycling กลุ่มที่ 4) เสริมแรงด้วยตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมที่ไม่ได้ทากาวไชยาโนอะคริเลต และผ่าน thermocycling กลุ่มที่ 5) เสริมแรง ด้วยตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมที่ทากาวไชยาในอะคริเลต และไม่ผ่าน thermocycling กลุ่มที่ 6) เสริมแรงด้วยตะแกรง เหล็กกล้าไร้สนิมที่ทากาวไซยาโนอะคริเลต และผ่าน thermocycling จากนั้นทดสอบความแข็งแรงตัดขวางด้วยวิธี 3-point bending test ด้วยเครื่อง Instron universal testing machine นําผลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความ แข็งแรงดัดขวางโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และ Tukey's HSD ที่ระดับนัยสําคัญ p<0.05 ผล ค่าเฉลี่ย (หน่วยเมกกะปาสคาล) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความแข็งแรงดัดขวางของวัสดุฐานฟันปลอม อะคริลิกดังต่อไปนี้ กลุ่มที่ 1 75.34 ±4.35 กลุ่มที่ 2 72.17±2.39 กลุ่มที่ 3 71.64±4.26 กลุ่มที่ 4 69.05±4.17 กลุ่มที่ 5 75.80±4.30 และกลุ่มที่ 6 67.75±2.79 ตามลําดับ จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแข็งแรงดัดขวาง ที่ระดับนัยสําคัญ p<0.05 พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของค่าความแข็งแรงดัดขวางระหว่างกลุ่มที่ไม่ผ่าน thermocycling (กลุ่มที่ 1 3 และ 5) และพบว่า thermocycling ไม่ทําให้มีผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญใน กลุ่มที่ไม่ได้เสริม (กลุ่มที่ 1 และ 2) และเสริมตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิม (กลุ่มที่ 3 และ 4) แต่มีผลแตกต่างอย่าง มีนัยสําคัญในกลุ่มที่เสริมตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมและทากาว (กลุ่มที่ 5 และ 6) สรุป ตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมไม่ได้ช่วยเพิ่มความแข็งแรงดัดขวางให้กับวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิก และการทากาว ไชยาในอะคริเลตที่ตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมก็ไม่ได้ช่วยเพิ่มความแข็งแรงดัดขวางให้กับวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิก นอกจากนี้ thermocycling มีผลทําให้ค่าความแข็งแรงตัดขวางลดลงเฉพาะในกลุ่มที่เสริมตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิม และทากาวไชยาโนอะคริเลต


Radiation Doses Of Intraoral Radiographs In Dental Patients, Suwadee Kositbowornchai Apr 1999

Radiation Doses Of Intraoral Radiographs In Dental Patients, Suwadee Kositbowornchai

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The aim of this present study was to evaluate the radiation dose associated with intraoral radiographic techniques. Material and methods The radiation doses were measured at eyelid and thyroid gland, using the alarm digital dosimeter during taking intraoral radiographic techniques; the parallel technique, the bisecting-angle technique and the bitewing technique in different positions of oral cavity. Organ doses were estimated by averaging the readings obtained from digital dosimeter placed in anatomically appropiate positions of 20 patients for each view. The results were presented as the mean dose equivalent per single exposure and the combination dose at various locations for …


การบริการด้านทันตกรรมประดิษฐ์ของกลุ่มงานทันตกรรมวชิรพยาบาล, อรวรรณ เจษฎาพันธ์ Apr 1999

การบริการด้านทันตกรรมประดิษฐ์ของกลุ่มงานทันตกรรมวชิรพยาบาล, อรวรรณ เจษฎาพันธ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อสํารวจการให้บริการทางทันตกรรมประดิษฐ์ของกลุ่มงานทันตกรรม วชิรพยาบาล ทั้งจํานวนผู้ป่วย ผู้มาบริการ และชนิดของงานที่ให้บริการในระยะยาว 5 ปี (พ.ศ. 2537-2541) เพื่อประโยชน์ในการวางแผนงาน ของกลุ่มงานและให้บริการได้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน วัสดุและวิธีการ สํารวจจํานวนผู้ป่วยที่มาขอรับบริการทางด้านทันตกรรมประดิษฐ์ที่กลุ่มงานทันตกรรมวชิรพยาบาล ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2537-2541 โดยแบ่งกลุ่มผู้มารับบริการตามเพศและอายุ (ผู้ใหญ่, กลางคนและสูงอายุ) ตามประเภท ของงานทางด้านทันตกรรมประดิษฐ์โดยการหาจํานวนร้อยละของแต่ละชนิดของงานที่ให้บริการ รวมทั้งสํารวจอาชีพรายได้ สถานที่อยู่อาศัยจากทะเบียนประวัติผู้ป่วย ผลการศึกษา ในระยะ 5 ปี มีผู้มารับบริการจํานวน 2,418 ราย งานที่ให้บริการทางทันตกรรมประดิษฐ์จํานวน 2,893 ชิ้น พบว่าเพศหญิง (ร้อยละ 57.86) มารับบริการมากกว่าเพศชาย (ร้อยละ 42.14) งานที่ให้บริการมากที่สุด คือ ฟันปลอมชั่วคราว (ร้อยละ 60.13) รองลงมาคือฟันปลอมบางส่วนถอดได้ชนิดโลหะโคบอลต์ โครเมียมมีฟันค้ําจุน และไม่มีฟันค้ําจุน (ร้อยละ 16.29) และฟันปลอมทั้งปาก (ร้อยละ 14.59) ตามลําดับ ผู้สูงอายุจะเป็นผู้ที่มารับบริการมากที่สุด ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการใช้บริการขึ้นอยู่กับสถานภาพทางเศรษฐกิจ เขตที่อยู่อาศัย อาชีพ และสถานภาพทางสังคม สรุป บริการทางด้านทันตกรรมประดิษฐ์ของกลุ่มงานทันตกรรม วชิรพยาบาล 5 ปีที่ผ่านมาพบว่าผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มา ใช้บริการมากที่สุด โดยงานที่มาขอรับบริการมากที่สุดคือ ฟันปลอมชั่วคราว ซึ่งอาจเป็นผลเนื่องจากสถานภาพทาง เศรษฐกิจ แต่เป็นความจําเป็นตามสภาพสังคมและเห็นว่ามีแนวโน้มที่ประชาชนจะมารับบริการทางด้านทันตกรรม ประดิษฐ์สูงขึ้น


การใช้ยารักษาการติดเชื้อในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อัจฉรา วัฒนสานติ์, ริสา ชัยศุภรัตน์, วรนุช เชฐษภักดีจิต Apr 1999

การใช้ยารักษาการติดเชื้อในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อัจฉรา วัฒนสานติ์, ริสา ชัยศุภรัตน์, วรนุช เชฐษภักดีจิต

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสั่งจ่ายยารักษาการติดเชื้อในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิธีการศึกษา โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากใบสั่งยาที่มีการสั่งจ่ายยารักษาการติดเชื้อ ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2540 แล้ววัดปริมาณการใช้ยาจากจํานวนใบสั่งยาดังกล่าว และนําข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศีกษาและสรุป พบว่าในระหว่างปี พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2540 มีการใช้ยารักษาการติดเชื้อทั้งสิ้นร้อยละ 42.34 เพนนิซิลิน วี เป็นยาที่มีการใช้สูงสุด รองลงมาคือ แอมม็อกซีซิลิน (ร้อยละ 36.97 และ 34.23 ตามลําดับ) สําหรับในปี พ.ศ. 2540 ปริมาณการใช้เพนนิซิลิน วี และ แอมพิซิลินลดลง แต่มีการใช้ยาแอมม็อกซีซิลินเพิ่มขึ้น โดยมีมูลค่าการใช้ยารักษาการติดเชื้อคิดเป็นร้อยละ 22.07 มี แอมม็อกซีซิลินเป็นยาที่มีอัตราการใช้สูงสุดและรองลง มาคือ แอมม็อกซีซิลิน กับ คลาวูลาเนท หรืออ๊อกแมนดิน (Augmentin) มีอัตราการใช้เป็นร้อยละ 49.50 และ 8.50 ตามลําดับ ผลการวิจัยครั้งนี้จึงเป็นโครงการนําร่องเพื่อเป็นพื้นฐานสําหรับการศึกษาเพื่อให้เกิดความสมเหตุสมผล ในการใช้ยารักษาการติดเชื้อ และการสั่งซื้อยาต่อไป


การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักในผู้ป่วย ที่มัดฟันบนล่างติดกัน, สิทธิชัย ทัดศรี, วัชรี จังศิริวัฒนธำรง, ณรงค์ ลุมพิกานนท์ Apr 1999

การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักในผู้ป่วย ที่มัดฟันบนล่างติดกัน, สิทธิชัย ทัดศรี, วัชรี จังศิริวัฒนธำรง, ณรงค์ ลุมพิกานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของน้ําหนักผู้ป่วยก่อนการมัดฟันและภายหลัง การถอดการมัดฟันออก วิธีการศึกษา การศึกษากระทําในกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่มีกระดูกขากรรไกรล่างหักจาก อุบัติเหตุ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรล่าง กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มได้รับการผ่าตัดกระดูก ขากรรไกรล่างบางส่วนออกพร้อมการปลูกกระดูกทดแทน ผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่มได้รับการมัดฟันบนล่างติดกัน และบันทึก น้ําหนักก่อนการมัดฟัน เปรียบเทียบกันภายหลังการถอดมัดฟันออก และทุกกลุ่มได้รับการแนะนําให้รับประทานอาหาร ทุกอย่างที่มีอยู่ในแต่ละเศรษฐฐานะ แล้วนําข้อมูลมาวิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยได้ทําสถิติ ANOVA one way test. ผลการทดลองและสรุป ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่ม มีน้ําหนักลดลงภายหลังการมัดฟัน กลุ่มที่ 1 และ 2 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ 3 จะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ


ผลของน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซีดีนต่อเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ในน้ำลาย, อัจฉรา วัฒนสานติ์, สุภาพร เมฆวัน, วรรณวิมล อนวัชพันธุ์ Apr 1999

ผลของน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซีดีนต่อเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ในน้ำลาย, อัจฉรา วัฒนสานติ์, สุภาพร เมฆวัน, วรรณวิมล อนวัชพันธุ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซีดีนความเข้มข้นร้อยละ 0.1 และความเข้มข้นร้อยละ 0.2 มีน้ำเกลือ เป็นตัวควบคุม (control solution) ในการลดจํานวนเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ (SM) วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาในอาสาสมัครจํานวน 12 คน โดยใช้น้ำยาบ้วนปากทั้งสามชนิดในเวลาต่าง ๆ กัน ครั้งละหนึ่งสัปดาห์ และเว้นว่างหนึ่งสัปดาห์ ก่อนที่จะเปลี่ยนชนิดของยาบ้วนปาก ทั้งนี้อาสาสมัครและผู้ทดลองจะ ไม่ทราบว่ากําลังใช้ยาชนิดใด เมื่อไร (double-blind randomized crossover design) เพื่อทําการเพาะเชื้อ SM จากน้ำลาย ผลการศึกษาและสรุป จากการศึกษาพบว่า จํานวนเชื้อ SM ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ในกลุ่มที่ใช้คลอเฮกซีตีน ความเข้มข้น ร้อยละ 0.2 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาความเข้มข้นร้อยละ 0.1 (p = 0.0077) และกลุ่มที่ใช้น้ําเกลือ บ้วนปาก (p = 0.0033) แต่การใช้คลอเฮกซีนความเข้มข้นร้อยละ 0.1 ได้ผลไม่แตกต่างจากการใช้น้ำเกลือบ้วนปาก จึงสรุปผลจากการวิจัยว่าน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซีดีนความเข้มข้น ร้อยละ 0.2 เป็นน้ำยาบ้วนปากที่เหมาะสมในการใช้ เพื่อลดจํานวนเชื้อ SM กว่าน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซีดีน ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 และน้ำเกลือ


Oral Pemphigus Vulgaris: A Study Of 8 Cases, Kobkan Thongprasom, Wiwat Korkij Apr 1999

Oral Pemphigus Vulgaris: A Study Of 8 Cases, Kobkan Thongprasom, Wiwat Korkij

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The aim of this study was to analyse the characteristics and the management of the patients affected oral pemphigus.Material and methods The data of eight patients with oral pemphigus were collected at the Oral Medicine Department, Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University during 1989-1997. The disease was observed mainly in women. The age range of this group was from 27-46 years, with a mean of 39.6 years. Diagnosis was based on the clinical presentation, confirmed by histopathology and immunofluorescence study. The patients were treated with prednisolone in various dosages combined with a topical steroid, 0.1% fluocinolone acetonide in solution (FAS).Results …


เหงือกงอกเกินจากการใช้ยาไซโคลสปอรีนในผู้ป่วย เอสแอลอี : รายงานผู้ป่วย, พาณี วานิชวัฒนรำลึ Apr 1999

เหงือกงอกเกินจากการใช้ยาไซโคลสปอรีนในผู้ป่วย เอสแอลอี : รายงานผู้ป่วย, พาณี วานิชวัฒนรำลึ

Chulalongkorn University Dental Journal

ยาไซโคลสปอรีนเป็นยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ใช้เป็นยากดระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะและสามารถทําให้เกิดเหงือกงอกเกินได้เมื่อใช้ระยะยาว วัตถุประสงค์ในรายงานผู้ป่วยรายนี้เพื่อเป็นแนวทางการรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยเอสแอลอีที่ใช้ยานี้เป็นประจํา ผู้ป่วยเป็นโรคเอสแอลอีมาแล้วประมาณ 23 ปี ได้รับผ่าตัดเปลี่ยนไตมานาน 6 ปี แล้วผู้ป่วยคนนี้ได้รับยาไซโคลสปอรีน อซาไทโอพรีน ทุกวัน เพรดนิโซโลน วันเว้นวัน มีปัญหาทางทันตกรรมคือมีเหงือกงอกเกินที่บริเวณฟันกรามบนด้านขวา เคี้ยวลําบากเลือดออกง่าย การรักษาคือปรึกษาแพทย์ตรวจเช็คสภาพร่างกาย ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อหนึ่งชั่วโมงก่อนการรักษาทางทันตกรรมผู้ป่วยได้รับการถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินน้ำลาย ตัดและตกแต่งเหงือกงอกเกิน ผลการรักษาเหมือนในผู้ป่วยปกติ สรุปการให้การรักษาผู้ป่วยเอสแอลอีที่มีระยะการใช้ยากดระบบภูมิคุ้มกันเนื่องการผ่าตัดเปลี่ยนไต เมื่อตรวจสภาพร่างกาย ที่อยู่ในระยะโรคเอสแอลอีสงบและได้รับการรับรองจากแพทย์ให้ใช้ยาปฏิชีวนะก่อนการรักษาทางทันตกรรมเพื่อป้องกัน การติดเชื้อ ผู้ป่วยสามารถรับการรักษาได้เช่นเดียวกับผู้ป่วยปกติ


Epithelial-Myoepithelial Carcinoma Of Intercalated Duct Origin: Review Literature, Kittipong Dhanuthai Apr 1999

Epithelial-Myoepithelial Carcinoma Of Intercalated Duct Origin: Review Literature, Kittipong Dhanuthai

Chulalongkorn University Dental Journal

The epithelial-myoepithelial carcinoma of intercalated duct origin is a rare, low-grade salivary gland neoplasm that exhibits a dual composition of both the epithelial and myoepithelial cells. This tumor can manifest a spectrum of cytomorphologic and structural features, but it classically shows duct-like structures consisting of inner cuboidal, eosinophilic, epithelial cells surrounded by clear myoepithelial cells. This review article describes the clinical features, the histopathology, the immunohistochemis- try, the treatment of this tumor and the in-depth discussion on the differential diagnosis.


A Nursing Perspective On End-Of-Life Care: Research And Policy Issues, Linda E. Moody, June Lunney, Patricia A. Grady Jan 1999

A Nursing Perspective On End-Of-Life Care: Research And Policy Issues, Linda E. Moody, June Lunney, Patricia A. Grady

Journal of Health Care Law and Policy

No abstract provided.


Virginia Dental Journal (Vol. 76, No. 2, 1999) Jan 1999

Virginia Dental Journal (Vol. 76, No. 2, 1999)

Virginia Dental Journal

No abstract provided.


Virginia Dental Journal (Vol. 76, No. 3, 1999) Jan 1999

Virginia Dental Journal (Vol. 76, No. 3, 1999)

Virginia Dental Journal

No abstract provided.