Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 66

Full-Text Articles in Entire DC Network

ลูกแฝดเกิดจาการเหนี่ยวนำให้เป็นสัดพร้อมกันในกระบือปลักด้วยฮอร์โมนนอร์เกสโตเมท และนอร์เกสโตเมท ร่วมกับ Pmsg, ปราจีน วีรกุล, พีระศักดิ์ จันทร์ประทีป, ชัยณรงค์ โลหชิต, ทองทวี ดีมะการ Dec 1992

ลูกแฝดเกิดจาการเหนี่ยวนำให้เป็นสัดพร้อมกันในกระบือปลักด้วยฮอร์โมนนอร์เกสโตเมท และนอร์เกสโตเมท ร่วมกับ Pmsg, ปราจีน วีรกุล, พีระศักดิ์ จันทร์ประทีป, ชัยณรงค์ โลหชิต, ทองทวี ดีมะการ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

รายงานการเกิดลูกกระบือแฝดจำนวน 3 คู่จากแม่กระบือที่ได้รับการปรับขนานการ เป็นสัดด้วยฮอร์โมนนอร์เกสโตเมท ร่วมกับการฉีดฮอร์โมน PMSG จำนวน 69 ตัว อุ้มท้องจนครบกำหนดคลอด 24 ตัว คิดเป็นอัตราการคลอดลูกแฝด 12.5 % ลูกแฝด 3 คู่ที่เกิดนี้ เป็นแฝดต่างเพศ 2 คู่ แฝดคู่เมีย 1 คู่ ลูกแฝดนี้มีน้ำหนัก แรกคลอดต่ำกว่าลูกกระบือที่คลอดตัวเดียว 5-10 กก. ลูกกระบือ 3 ตัวตายเมื่ออายุ 1,3 และ 36 วัน ลูกกระบือทั้ง 3 ตัวที่เหลือ เพศเมีย 1 ตัวที่เลี้ยงรอดชีวิตจนถึงปัจจุบันเกิดจากแฝดต่างเพศเป็น freemartin


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Dec 1992

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


Investigationinto The Role Of Goats And Sheep In The Epidemiology Of Foot-And-Mouth Disease In Northern Thailand, Pornchai Chomnanpood, Laurence Gleeson Dec 1992

Investigationinto The Role Of Goats And Sheep In The Epidemiology Of Foot-And-Mouth Disease In Northern Thailand, Pornchai Chomnanpood, Laurence Gleeson

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Investigations were carried out to determine whether goats and sheep were involved in the endemic cycle of foot-and-mouth disease in Northern Thailand. Evidence was obtained from serological surveys and an outbreak investigation. Serological data on surveyed flock was obtained from the virus neutralization test and the virus infection associated antigen agar gel diffusion test. It appeared that infection with all 3 endemic serotypes of foot-and-mouth disease virus occurred in goats and sheep, although in some cases the infection was subclinical.


Short Communication : การสำรวจโรค Vovine Viral Diarrhea จากเซรั่มในโคนมเขตมวกเหล็ก สระบุรี, สุณีรัตน์ เอี่ยมละมัย, ราตรี วงษ์วัชรดำรง, โกวิทย์ นิธิชัย, โชคชัย ชัยมงคล Dec 1992

Short Communication : การสำรวจโรค Vovine Viral Diarrhea จากเซรั่มในโคนมเขตมวกเหล็ก สระบุรี, สุณีรัตน์ เอี่ยมละมัย, ราตรี วงษ์วัชรดำรง, โกวิทย์ นิธิชัย, โชคชัย ชัยมงคล

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


พิษเฉียบพลันของเมททิลพาราไธออนในกุ้งกุลาดำ, สถาพร สุวรรณรักษ์, สุพัฒตรา ศรีไชยรัตน์, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์ Dec 1992

พิษเฉียบพลันของเมททิลพาราไธออนในกุ้งกุลาดำ, สถาพร สุวรรณรักษ์, สุพัฒตรา ศรีไชยรัตน์, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาความเป็นพิษของเมททิลพาราไธออนที่ขนาดความเข้มข้น 1-90 ไมโครกรัม ต่อลิตร (ppb) ในกุ้งกุลาดำขนาด 10.9 ± 0.5 เซนติเมตร 7 กลุ่ม โดยวิธีแบบแช่ พบว่าค่า LC50 ภายใน 96 ชั่วโมง เท่ากับ 54 ppb อาการแสดงของความเป็นพิษและอัตราการตายขึ้นอยู่ กับความเข้มข้นของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ให้ สมรรถนะของเอนไซม์โฆลีนเอสเทอเรสในเลือดกุ้งที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่สอดคล้องกับความเป็นพิษที่ได้รับ ในขณะที่สมรรถนะของเอนไซม์ โฆลีนเอสเทอเรสในเส้นประสาทและกล้ามเนื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เปอร์เซ็นต์ ของสมรรถนะของเอนไซม์ที่ลดลงขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของเมททิลพาราไธออนที่ได้รับ ผลทางจุลพยาธิวิทยาแสดงว่ามีการตายของเซลล์ตับและตับอ่อนและเซลล์กล้ามเนื้อ ความรุนแรงขึ้นกับความเข้มข้นของเมททิลพาราไธออนที่ได้รับ (1-50 ppb) และระยะเวลาที่สัมผัส ส่วนกลุ่มทดลอง 75-90 ppb ไม่พบริการดังกล่าว ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าการวัดสมรรถนะของเอนไซม์โฆลีนเอสเทอเรสในกล้ามเนื้อและในเส้นประสาทของกุ้งกุลาดำสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออกาโนฟอสเฟตได้


Some Relationships Between Sexual Behavioural Parameters And Semen Characteristics In The Boar, Jamroen Thiengtham Dec 1992

Some Relationships Between Sexual Behavioural Parameters And Semen Characteristics In The Boar, Jamroen Thiengtham

The Thai Journal of Veterinary Medicine

This study examined the correlations between some sexual behaviour parameters and semen characteristics. Five mature crossbred boars were housed individually and were trained for semen collection using a dummy sow in a collection pen. Semen was collected twice weekly from each boar by the gloved-hand technique during the 4-week study period. Forty-three ejaculates were obtained from these experimental boars. The following individual sexual behaviour activities of the boars towards the dummy sow were recorded during semen collection time to first mount, time to penile extension, time to commencement of ejaculation, time from first mount to penile extension and duration of …


การให้คำปรึกษา : ความจำเป็นต่อการพัฒนา สุขภาพอนามัย, จินตนา ยูนิพันธุ์ Dec 1992

การให้คำปรึกษา : ความจำเป็นต่อการพัฒนา สุขภาพอนามัย, จินตนา ยูนิพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับแบบแผนการดำเนินชีวิต ของผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อม, ณัฐนาฏ ไชยศิริ, จินตนา ยูนิพันธุ์ Dec 1992

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับแบบแผนการดำเนินชีวิต ของผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อม, ณัฐนาฏ ไชยศิริ, จินตนา ยูนิพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การพยาบาลในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์ Dec 1992

การพยาบาลในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


สภาพแวดล้อมของสถาบันการศึกษา : ปัจจัย สนับสนุนความพึงพอใจในงานของอาจารย์พยาบาล, สุชาดา รัชชกูล Dec 1992

สภาพแวดล้อมของสถาบันการศึกษา : ปัจจัย สนับสนุนความพึงพอใจในงานของอาจารย์พยาบาล, สุชาดา รัชชกูล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ประมวลข้อเขียนเรื่อง พยาบาลกับการเป็นผู้นำด้านสุขภาพอนามัย, N/A Dec 1992

ประมวลข้อเขียนเรื่อง พยาบาลกับการเป็นผู้นำด้านสุขภาพอนามัย, N/A

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ประสบการณ์การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง ภาวะหมดประจำเดือน, ศิริพร จิรวัฒน์กุล Dec 1992

ประสบการณ์การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง ภาวะหมดประจำเดือน, ศิริพร จิรวัฒน์กุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ทางสุขภาพ การสนับสนุนจากหน่วยงานกับแบบแผนการดำรงชีวิต ด้านสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร, ลดาวัลย์ ผาสุข Dec 1992

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ทางสุขภาพ การสนับสนุนจากหน่วยงานกับแบบแผนการดำรงชีวิต ด้านสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร, ลดาวัลย์ ผาสุข

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การศึกษาพยาธิใบไม้เลือด ซิสโตโซมา สปลินดาเอ ในโคและกระบือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, นิยมศักดิ์ อุปทุม, มาณวิกา ผลภาค, สมใจ ศรีหาคิม, ศิริพรรณ วภักดิ์เพชร, สมพงษ์ ร่มโพธิ์ภักดิ์, K. Leidl, F. Hoerchner Sep 1992

การศึกษาพยาธิใบไม้เลือด ซิสโตโซมา สปลินดาเอ ในโคและกระบือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, นิยมศักดิ์ อุปทุม, มาณวิกา ผลภาค, สมใจ ศรีหาคิม, ศิริพรรณ วภักดิ์เพชร, สมพงษ์ ร่มโพธิ์ภักดิ์, K. Leidl, F. Hoerchner

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาพยาธิวิทยาในลูกโคและลูกกระบือที่ติดพยาธิใบไม้เลือด ชิสโตโซมา สปินดาเล ตามธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รอยโรคที่ตรวจพบจากการผ่าซากลูกโคและลูกกระบือ คล้ายกัน ทำการศึกษาถึงจุลพยาธิสภาพ และตรวจค่า protein, albumin, globulin, SGOT และ SGPT จากซีรั่มลูกโคพบค่าโปรตีนในลูกโคติดพยาธิมีค่าต่ำกว่าในขณะที่ SGOT และ SGPT มีค่าสูงกว่าลูกโคปกติ


การตรวจซีโรไทป์ของเชื้อ ทริโปนีมา ไฮโอดิสเซนเทอเรีย ที่แยกได้ จากสุกรป่วยด้วยโรคบิดมูกเลือดในเขตภาคกลาง, อินทิรา กระหม่อมทอง, วันทนีย์ ณรมิตมานสุข, ทิพา ตันติเจริญยศ, คัมภีร์ กอธีระกุล Sep 1992

การตรวจซีโรไทป์ของเชื้อ ทริโปนีมา ไฮโอดิสเซนเทอเรีย ที่แยกได้ จากสุกรป่วยด้วยโรคบิดมูกเลือดในเขตภาคกลาง, อินทิรา กระหม่อมทอง, วันทนีย์ ณรมิตมานสุข, ทิพา ตันติเจริญยศ, คัมภีร์ กอธีระกุล

The Thai Journal of Veterinary Medicine

เชื้อ beta-hemolytic Treponema hyodysenteriae 60 สเตรน แยกได้จากอุจจาระ ของสุกรป่วยที่มีประวัติอาการท้องร่วง และบางครั้งถ่ายเป็นมูกเลือดจำนวน 550 ตัวอย่างใน เขตภาคกลางของประเทศไทยคิดเป็นอัตราการติดเชื้อโรคบิดมูกเลือด (Swine dysentery) 11% นำตัวอย่างเชื้อ 26 สเตรนจาก 60 สเตรนมาสกัดด้วย ฟินอล-น้ำร้อนแล้วตรวจสอบกับแอนติซีรั่ม จากกระต่ายที่ immunized ด้วยนำเชื้อดังกล่าว 7 ซีโรไทป์ และ T. innocens ด้วยปฏิกริยา precipitin ในวัน agarose ผลการตรวจพบว่า เชื้อ T. hyodysenteriae ที่แยกได้ทั้งหมดเป็น ซีโรไทป์ 2


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Sep 1992

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


Quantitative Indirect Elisa For Pseudorabies Antibody Detection, Ratree Wongwatcharadumrong Sep 1992

Quantitative Indirect Elisa For Pseudorabies Antibody Detection, Ratree Wongwatcharadumrong

The Thai Journal of Veterinary Medicine

A quantitative indirect ELISA was developed for use to evaluate pseudorabies (PR) virus infection status of swine of swine herds, herd response to vaccination, and for screening individual pigs for PR virus infection. A total of 568 sera, collected from 15 herds distributed throughout central Thailand, were used in the study. Results indicate that ELISA titers of 48 and 76 units or greater represent virus neutralization titers greater than 4 and 16. Values of these magnitudes are suggestive of effective immune response to vaccination and active infection in vaccinated herds respectively. The sensitivity and percent agreement of the quantitative ELISA …


การใช้ฟลูโอสโคปช่วยค้นหาเข็มฉีดยาชาหักทางทันตกรรม, สิทธิชัย ทัดศรี Sep 1992

การใช้ฟลูโอสโคปช่วยค้นหาเข็มฉีดยาชาหักทางทันตกรรม, สิทธิชัย ทัดศรี

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานการใช้ฟลูโอสโคปช่วยค้นหาเข็มฉีดยาชาที่หักขณะทําการฉีดยาสกัดเส้นประสาทอินฟีเรียอัลวีโอลาร์ นับเป็นวิธีการที่สะดวกง่ายรวดเร็วที่สุด และไม่ทําให้เกิดอันตรายภายหลังการผ่าตัดเอาเข็มออก


โครงสร้างเส้นเลือดของเหงือกในความสัมพันธ์กับกระดูกขากรรไกร, ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ Sep 1992

โครงสร้างเส้นเลือดของเหงือกในความสัมพันธ์กับกระดูกขากรรไกร, ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการศึกษาโครงสร้างหลอดเลือดของเหงือกหนูด้วยวิธีฉีดสารพลาสติกเข้าไปในหลอดเลือดศึกษา ภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าหลอดเลือดของเหงือกส่วนจินจิวอล เครวิซ (gingival crevice) มีโครงสร้าง 2 ชนิด คือชนิดข่าย (planar plexus) และชนิดขดตัวเป็นแถว (coiled vascular loop) ชนิดตาข่ายพบภายใต้เยื่อบุผิวตั้งแต่ขอบเหงือกลงไปถึงส่วนที่แนบติดผิวฟัน ชนิดขดตัวพบบริเวณแถบกลางของเครวิซ โดยทอดต่อเนื่องตั้งฉากขึ้นมาจากตาข่ายที่อยู่ชั้นลึกกว่า ขดตัวและบิดเป็นเกลียวเป็นระเบียบแล้วจึงเทลงสู่เส้นเลือดดําในชั้นลึกของเหงือก โครงสร้างนี้มีลักษณะแตกต่างตามตําแหน่งของกระดูกขากรรไกร เหงือก ด้านแก้มของขากรรไกรบนและล่างปรากฏโครงสร้างทั้ง 2 ชนิดเด่นชัด เหงือกด้านเพดานและลิ้นปรากฏโครงสร้างชนิดตาข่ายหนาแน่นกว่าชนิดขดตัว ส่วนเหงือกรอบฟันหน้าปรากฏเป็นตาข่ายประสานกับเส้นเลือด ของกระดูกแอลวีโอลาร์ ไม่พบลักษณะที่ขดตัว


การใช้ Gcf เพื่อพยากรณ์ความรุนแรงของโรคปริทันต์, สุขจิตต์ ญาณะจารี Sep 1992

การใช้ Gcf เพื่อพยากรณ์ความรุนแรงของโรคปริทันต์, สุขจิตต์ ญาณะจารี

Chulalongkorn University Dental Journal

GCF เป็นสารคัดหลั่งจากการอักเสบที่มีอยู่ในร่องเหงือก ประกอบด้วยเซรุ่มและส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ สามารถจัดเก็บเพื่อตรวจหาสารและวัดปริมาณสารได้ สารบางตัวที่มาจากเนื้อเยื่อยึดต่อ ที่ถูกทําลายจากคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือก จากเซลล์ของร่างกายที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณอวัยวะปริทันต์ และจาก ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นเป็นสัดส่วนกับระดับความรุนแรงของโรคปริทันต์ ดังนั้นการตรวจหาและทราบถึงปริมาณของสารใน GCF สามารถใช้ทํานายโรคและระดับความรุนแรงของโรคได้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ วางแผนการรักษาต่อไป นอกจากนี้ลําพังปริมาณ GCF ก็ใช้แทนดัชนีบอกความรุนแรงของเหงือกอักเสบได้


การศึกษาประสิทธิภาพของสารกันบูดในตํารับยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์, วนิดา แสงอลังการ, รัชชพิน ศรีสัจจลักษณ์ Sep 1992

การศึกษาประสิทธิภาพของสารกันบูดในตํารับยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์, วนิดา แสงอลังการ, รัชชพิน ศรีสัจจลักษณ์

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานนี้แสดงผลการศึกษาประสิทธิภาพของสารกันบูดแต่ละชนิดในตํารับยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์ สารกันบูดที่คัดเลือกมาทดสอบมีขนาดความเข้มข้น (น้ำหนัก/ปริมาตร) ดังนี้ ส่วนผสมของพาราเบน (0.2% เมธทิล พาราเบนและ 0.02% หรือ 0.04% โพรพิล พาราเบน), 0.4% โซเดียม เบนโซเอต, ส่วนผสมของ 0.4% โซเดียม เบนโซเอต และ 0.1% เบนโซอิก แอซิด, 0.034% ไทมอล และ 0.8% โปตัสเซียม ซอร์เบต ผลการศึกษาพบว่าสูตรตํารับยาที่ใช้สารกันบูดเหล่านี้ผ่านการทดสอบ สําหรับ 0.034% ไทมอลและ 0.4% โซเดียม เบนโซเอตให้ผลยับยั้งการเจริญเติบโตของแอสเพอร์จิลลัสไนเกอร์ซึ่งใช้เป็นตัวแทนเชื้อราในการทดลองนี้ แต่ถ้าเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์ในสูตรที่มี 0.034% ไทมอล จากร้อยละ 5 เป็น 12 และเพพิ่ม 0.1 % เบนโซอิก แอซิด ในสูตรที่มี 0.4% โซเดียม เบนโซเอต จะให้ผลฆ่าเชื้อราได้หมด


รีเทนชันที่สามารถใช้ทดแทนรีเทนทีฟพิน ในการบูรณะฟันด้วยอมัลกัม, ดารณี ตัณฑ์ไพโรจน์, ลลิดา สุคนธมาน Sep 1992

รีเทนชันที่สามารถใช้ทดแทนรีเทนทีฟพิน ในการบูรณะฟันด้วยอมัลกัม, ดารณี ตัณฑ์ไพโรจน์, ลลิดา สุคนธมาน

Chulalongkorn University Dental Journal

ในการบูรณะฟันที่มีการสูญเสียเนื้อฟันไปมากด้วยอมัลกัม โดยใช้รีเทนทีฟฟินช่วยเพิ่มรีเทนชัน มักจะเกิดการแตกหักของเนื้อฟันส่วนที่เหลือ และมีข้อควรระวังในการทําหลายประการ จึงมีความพยายามหารีเทนชันอื่น เพื่อทดแทน ได้แก่ อมัลกาพิน รีเทนทีฟ สลอต และการปรับรูปแบบการเตรียมแควิตี รวมทั้งการใช้เดนทีน บอนคิง เอเจนต์ รีเทนชันในรูปแบบต่าง ๆ นี้สามารถใช้ร่วมกันได้เพื่อให้การบูรณะฟันด้วยอมัลกัมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด


ถุงน้ำนาโซเลเบียล : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, แสงทิพย์ ญาณะจารี Sep 1992

ถุงน้ำนาโซเลเบียล : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, แสงทิพย์ ญาณะจารี

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยชายไทยคู่อายุ 41 ปี มีถุงน้ำนาโซเลเบียลซึ่งพบได้น้อย เกิดขึ้นนอกกระดูกขากรรไกร บนด้านหน้าใต้ปีกจมูก บริเวณเหนือปลายรากฟันหน้าบนซ้าย โดยฟัน # 22 และ # 23 มีอาการร่วมด้วยซึ่ง เนื่องมาจากสาเหตุอื่น สามารถทําการวินิจฉัยแยกออกจากโรคอื่นและทําการรักษาได้ จากการติดตามผลเป็น ระยะเวลา 6 ปี พบว่าไม่กลับมาเป็นใหม่อีก


การเปลี่ยนแปลงสภาวะปริทันต์ ภายหลังการรักษาในระยะเริ่มแรก, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน, ดวงรัตน์ ครองระวะ, นุชจรี พงษ์นริศร Sep 1992

การเปลี่ยนแปลงสภาวะปริทันต์ ภายหลังการรักษาในระยะเริ่มแรก, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน, ดวงรัตน์ ครองระวะ, นุชจรี พงษ์นริศร

Chulalongkorn University Dental Journal

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาวะปริทันต์ภายหลังการรักษาในระยะเริ่มแรก (hy-gienic phase) โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความลึกของร่องลึกปริทันต์ (probing pocket depth) และระดับการยึดเกาะของเนื้อเยื่อปริทันต์กับผิวรากฟัน (clinical attachment level) ก่อนและหลังการรักษา วิเคราะห์ค่าความลึกของร่องลึกปริทันต์ที่ลดลง และการเพิ่มขึ้นของระดับการยึดเกาะของเนื้อเยื่อปริทันต์ในเชิงสถิติโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ภายหลังการรักษาในระยะเริ่มแรก พบว่า 98% ของผู้ป่วย มีค่าเฉลี่ยของความลึกของร่องลึกปริทันต์ลดลง ในขณะที่ 80% ของผู้ป่วย แสดงค่าเฉลี่ยของระดับการยึดเกาะของเนื้อเยื่อปริทันต์เพิ่มขึ้น เมื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของความลึกของร่องลึกปริทันต์ และการเพิ่มขึ้นของระดับการยึดเกาะเป็นเฉพาะตําแหน่งจากร่องเหงือก 2323 ตําแหน่ง พบว่าในกลุ่มที่มีร่องลึกปริทันต์ในระดับ 3, 4, 5 และมากกว่าหรือเท่ากับ 6 มิลลิเมตร เมื่อทําการรักษาในระยะเริ่มแรกเสร็จสิ้นแล้วจะมีค่าความลึกของร่องปริทันต์ลดลง และมีระดับการยึดเกาะของเนื้อเยื่อปริทันต์เพิ่มขึ้น (attachment gain) ตามความรุนแรงของโรคอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลที่ได้แสดงว่า การประเมินผลการรักษาผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบภายหลังการรักษาในระยะเริ่มแรก ด้วยความลึกของร่องเหงือกที่ลดลงเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่วินิจฉัยได้ว่า ผู้ป่วยเหล่านั้นมีอาการดีขึ้น นอกจากนี้ ระดับความรุนแรงของรอยโรคในแต่ละตําแหน่งเมื่อรักษาแล้ว รอยโรคที่มีความ รุนแรงมากสามารถมองเห็นผลการรักษาได้ดีกว่ารอยโรคที่มีความรุนแรงน้อย


การตัดแบ่งครึ่งฟัน และการตัดรากในฟัน ที่มีรอยโรคบริเวณช่องรากฟันกราม, ฐิติพร พานโพธิ์ทอง, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน Sep 1992

การตัดแบ่งครึ่งฟัน และการตัดรากในฟัน ที่มีรอยโรคบริเวณช่องรากฟันกราม, ฐิติพร พานโพธิ์ทอง, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน

Chulalongkorn University Dental Journal

การตัดแบ่งครึ่งฟันและการตัดรากฟันเป็นวิธีการหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคปริทันต์ที่มีรอยโรคบริเวณช่องรากฟันกราม บทความนี้กล่าวถึงสิ่งที่ทันตแพทย์ควรทราบก่อนจะพิจารณาให้การรักษาด้วยวิธีนี้ ได้แก่ การวินิจฉัยรอยโรค ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของช่องรากฟันกราม รากฟันและกระดูก ข้อบ่งชี้ และข้อห้าม วิธีการตัดแบ่งครึ่งฟันและตัดรากฟัน การการรักษาไม่ประสบผลสําเร็จ


การจําแนกกลุ่มแปรงสีฟันวัยรุ่น และผู้ใหญ่ 13 ชนิด จากความมันกลม และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของขนแปรง, ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล, นลินา ณรงค์ชัยกุล, วลีรัชฏ์ ฉายายน Sep 1992

การจําแนกกลุ่มแปรงสีฟันวัยรุ่น และผู้ใหญ่ 13 ชนิด จากความมันกลม และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของขนแปรง, ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล, นลินา ณรงค์ชัยกุล, วลีรัชฏ์ ฉายายน

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อจําแนกกลุ่มแปรงสีฟันวัยรุ่นและผู้ใหญ่ของแปรง 13 ชนิดที่จําหน่าย ในประเทศไทย โดยประเมินความมนกลมของแปรงชนิดละ 10 อัน แต่ละอันสุ่มขนแปรงมา 30 เส้น ด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอที่กําลังขยาย 40 เท่าโดยผู้วิจัย 2 คน และวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโดยสุ่มขนแปรง 25 เส้น จากแปรงแต่ละอันชนิดละ 10 อันด้วยภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดที่กําลังขยาย 35 เท่า พบว่าที่ระดับความเชื่อมั่น α = 0.05 แปรงสีฟัน Oral-B มีค่าสัดส่วนความมันกลมสูงสุด (0.226) และ แปรงสีฟัน Colgate และ Butler Gum มีค่าสัดส่วนความมันกลมต่ำสุด (0.004) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแปรงสีฟันทั้งหมดจัดเป็นชนิดอ่อน (Soft) โดยมีค่าสูงสุดคือ Colgate และ Dental-C (0.0043) ไปจนถึงค่าต่ำสุดคือ Salz (0.0036") จากการแบ่งระดับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและค่าสัดส่วนความมันกลมเป็น 3 ระดับ สามารถจําแนกแปรงสีฟันได้เป็น 4 กลุ่ม โดยเรียงลําดับกลุ่ม 1 ซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าจะเหมาะสมที่สุดใน การนําไปใช้ คือ Oral-B, กลุ่ม 2 : Colgate, Premium, Arrow, Dental-C, Aim, Butler Gum, กลุ่ม 3 : Jordan, กลุ่ม 4 : Research-D, Salz และกลุ่มที่ก้ํากึ่งระหว่างกลุ่ม 2 และ 3 ได้แก่ Listerine Plus, Biosafety และกลุ่มที่ก้้ำกึ่งระหว่างกลุ่ม 3 และ 4 ได้แก่ Sensodyne


การวินิจฉัยยืนยันการระบาดของโรคไข้สามวันในประเทศไทย, สุพจน์ เมธิยะพันธ์, อารี ทรัพย์เจริญ Sep 1992

การวินิจฉัยยืนยันการระบาดของโรคไข้สามวันในประเทศไทย, สุพจน์ เมธิยะพันธ์, อารี ทรัพย์เจริญ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ทำการศึกษายืนยันการระบาดของโรคไข้สามวันในประเทศไทย โดยการแยกและพิสูจน์เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคและทางซีรั่มวิทยา โดยเลือกเก็บเลือดจากโคที่มีไข้สูงจำนวน 5 ตัวจากฝูงโคที่แสดงอาการเด่นชัดทางคลีนิคของโรคไข้สามวัน นำไปแยกเชื้อไวรัสโดยการฉีดตัวอย่างเลือดเข้าสมองลูกหนูทดลองแรกเกิด และตามด้วยการเพาะเลี้ยงในเซลเพาะเลี้ยง พบว่า สามารถแยกเชื้อไวรัสได้จากเลือด 1 ใน 5 ตัวอย่าง โดยไวรัสดังกล่าวทำให้ลูกหนูแสดงอาการ ทางประสาท เนื่องจากการอักเสบชนิดไม่มีหนองของสมอง และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเซล เพาะเลี้ยง การพิสูจน์เชื้อไวรัสทำโดยการศึกษารูปร่างของไวรัสที่แยกได้จากเซลเพาะเลี้ยงโดยกล้อง จุลทรรศน์อิเลคตรอนและการทดสอบเปรียบเทียบความสัมพันธ์ทางไวรัสวิทยากับไวรัสโรคไข้สามวัน สเตรนมาตรฐาน (YHL strain) พบว่า ไวรัสมีรูปร่างและขนาดซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของไวรัส ในกลุ่ม habdoviridae และมีความสัมพันธ์กับไวรัสสเตรนมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ การศึกษาทางซีรั่มวิทยายังบ่งถึงการติดเชื้อไวรัสไข้สามวันในระยะเดียวกัน จากผลการศึกษายืนยันทั้งหมดจึงสรุปได้ว่ามีการระบาดของโรคไข้สามวันเกิดขึ้นจริงในประเทศไทย


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Jun 1992

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


สภาพภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีนอหิวาต์สุกรในพ่อแม่พันธุ์, อธิภู นันทประเสริฐ, พีระศักดิ์ จันทร์ประทีป, ราตรี วงษ์วัชรดำรง, ทิวากร ศิริโชคชัชวาล Jun 1992

สภาพภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีนอหิวาต์สุกรในพ่อแม่พันธุ์, อธิภู นันทประเสริฐ, พีระศักดิ์ จันทร์ประทีป, ราตรี วงษ์วัชรดำรง, ทิวากร ศิริโชคชัชวาล

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาสภาพภูมิคุ้มโรคอหิวาต์สุกรในฝูงพ่อแม่พันธุ์ 2 หน่วย จำนวน 197 ตัว ในจังหวัดชลบุรี โดยตรวจซีรั่มด้วยวิธีไมโครนิวทราลไลเซชั่นอิมมูโนฟลูออเรสเซนต์ พบว่า ระดับภูมิคุ้มกันเฉลี่ยเปรียบเทียบตามลำดับครอกในแม่พันธุ์ ตามอายุในพ่อพันธุ์ และตามระยะเวลาหลังฉีดวัคซีน ครั้งล่าสุดก่อนเก็บเลือด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) โดยภูมิคุ้มกันเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มของแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์มีค่าเท่ากับ 67.4+ 2.7 และ 51.5+3.1 ตามลำดับ


ผลการใช้ยาเอนโรฟล้อกซาซินในไก่กระทงที่ได้รับเชื้อ อี. โคลัย โดยการทดลอง, จิโรจ ศศิปรียจันทร์, สมศักดิ์ ภัคภิญโญ Jun 1992

ผลการใช้ยาเอนโรฟล้อกซาซินในไก่กระทงที่ได้รับเชื้อ อี. โคลัย โดยการทดลอง, จิโรจ ศศิปรียจันทร์, สมศักดิ์ ภัคภิญโญ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ไก่กระทงอายุ 23 วัน ได้รับเชื้อ อี. โคลัย ซีโรไทป์ 078 เข้าถุงลม โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับเชื้อพร้อมกับยาเอ็นโรฟลอกซาซิน 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน กลุ่มที่ 2 ได้รับ เชื้อพร้อมกับยาอีริโทรมัยซิน 100 พีพีเอ็ม ให้ยาทั้งสองชนิดโดยผสมน้ำกินติดต่อกัน 3 วัน ไก่กลุ่มที่ 3 ได้รับเชื้อโดยไม่ได้รับยาใดๆ ส่วนกลุ่มที่ 4 ไม่ได้รับเชื้อและไม่ได้รับยา อัตรารอดตาย และน้ำหนักตัวเฉลี่ย ในช่วง 10 วันนับจากได้รับเชื้อของกลุ่มที่ 1 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญกับกลุ่มที่ 4 แต่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มที่ 2 และ 3