Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences

PDF

Chulalongkorn University Dental Journal

1981

Articles 1 - 18 of 18

Full-Text Articles in Entire DC Network

การศึกษาแนวโน้มของงานบริการทันตกรรม ของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร, บัณฑิต กิจชนะพานิชย์, อัจฉรา ชัยวัฒน์, โฉมไฉไล แสงรัษฏ์ Sep 1981

การศึกษาแนวโน้มของงานบริการทันตกรรม ของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร, บัณฑิต กิจชนะพานิชย์, อัจฉรา ชัยวัฒน์, โฉมไฉไล แสงรัษฏ์

Chulalongkorn University Dental Journal

การรวบรวมสถิติข้อมูลของงานบริการทันตกรรมในกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาแนวโน้มของงานทางทันตกรรมว่าเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใด พบว่าแนวโน้มของงานถอนฟันลดลงจาก 53.65% ในปี 2515 เป็น 42.22% ในปี 2520 และงาน อุดฟัน รักษาโรคเหงือก รักษาคลองราก ผ่าตัดฟันคุด มีแนวโน้มสูงขึ้น


การตัดรากฟัน รายงานผู้ป่วย ผลการรักษา 5 ปี, นวลฉวี หงษ์ประสงค์ Sep 1981

การตัดรากฟัน รายงานผู้ป่วย ผลการรักษา 5 ปี, นวลฉวี หงษ์ประสงค์

Chulalongkorn University Dental Journal

คนไข้ได้รับการตัดรากฟัน (Root amputation) เพื่อจะรักษาโรคปริทันต์ที่อยู่ในระยะรุนแรง รายงานนี้เป็นรายงานผลการรักษาผู้ป่วยปริทันต์ โดยการตัดรากฟันออกหนึ่งรากหลังจากการตัดรากฟันซี่นั้นได้รับการทําครอบฟันเพื่อเป็นตัวยึด (Abutment) สําหรับการทําสะพานฟัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเข้าเผือกฟันเอาไว้ ผู้ป่วย ต้องมารับการดูแลในเรื่องการทําความสะอาดทุก 3-6 เดือน ตลอดระยะเวลา 5 ปี ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจทั้งสภาพเนื้อเยื่อปริทันต์และการใช้งานของฟัน


การพิจารณาการถอนฟันกรามแท้ซี่แรกในฟันชุดผสม, พรทิพย์ ถนอมสิงห์ Sep 1981

การพิจารณาการถอนฟันกรามแท้ซี่แรกในฟันชุดผสม, พรทิพย์ ถนอมสิงห์

Chulalongkorn University Dental Journal

การสูญเสียฟันกรามแท้ซี่แรกมีสาเหตุได้หลายประการ ประการที่สําคัญเกิดจากพยาธิสภาพ เช่น โรคฟันผุ การสูญเสียฟันกรามแท้ซี่แรกไปย่อมมีผลต่อการสบฟันในกรณีที่ไม่สามารถบูรณะฟันกรามแท้ซี่แรก หรืออาจจะบูรณะไว้ได้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ควรตัดสินใจถอนฟันซี่ดังกล่าวออกเสียในช่วงที่ยังมีฟันชุดผสมอยู่ ทั้งนี้เพื่อให้พื้นที่ข้างเคียงสามารถเคลื่อนที่เข้ามาในบริเวณช่องว่างของฟันที่ถูกถอนไปได้ เพราะฟันซี่ถัดไปนั้นสามารถจัดเรียงตัวเองได้ตามธรรมชาติ ในการพิจารณาการถอนฟันนั้นจําเป็นจะต้องพิจารณาถึงสภาวะที่เหมาะสมหลายประการ ได้แก่ อายุที่พอเหมาะคือ อายุประมาณ 6-9 ปี นอกจากนั้นควรพิจารณาถึงลักษณะการสบฟันที่ปกติ การสร้างตัวของรากฟันกรามแท้ซี่ที่สองซึ่งควรสร้างน้อยกว่าครึ่ง จํานวนพื้นที่มีอยู่ในช่องปากในขณะนั้น และความสมดุลย์ของใบหน้า เป็นส่วนประกอบอีกด้วย


สุขภาพในช่องปากของคนไทย 2 กลุ่ม, ภรณี พีรานนท์ Sep 1981

สุขภาพในช่องปากของคนไทย 2 กลุ่ม, ภรณี พีรานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษาวิจัยเรื่อง สุขภาพในช่องปากของคนไทย 2 กลุ่ม ซึ่งมีระดับการ ศึกษาและเศรษฐานะต่างกัน ได้แก่ กลุ่มพนักงานของธนาคารและกลุ่มคนงานใน โรงงานอุตสาหกรรม พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มมีสถานภาพของโรคฟันผุแตกต่างกัน แต่ ความต้องการทางทันตกรรมหัตถการไม่ต่างกัน ส่วนสถานภาพของปริทันต์และความ ต้องการการรักษา สถานภาพของปริทันต์แตกต่างกัน สถานภาพการใส่ฟันต่างกัน แต่ความต้องการบริการทางด้านทันตกรรมประดิษฐ์และทันตกรรมจัดฟันไม่แตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างนี้มีสาเหตุมาจากเศรษฐานะและการศึกษาร่วมอยู่ด้วย


ผลการรักษาไทรเจมินาล นิวราลเจียโดยการผ่าตัด, สุจิตรา วงศ์ทองศรี, พรรณี สุ่มสวัสดิ์ Sep 1981

ผลการรักษาไทรเจมินาล นิวราลเจียโดยการผ่าตัด, สุจิตรา วงศ์ทองศรี, พรรณี สุ่มสวัสดิ์

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการศึกษาจากรายงานผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา ไทรเจมินาล นิวราลเจีย (Trigeminal neuralgia) โดยการผ่าตัด 113 ราย ปรากฏว่า การรักษาจากการผ่าตัดวิธี Subtemporal retrogasserian neurectomy และ Suboccipital retrogasserian neurectomy ได้ผลสูง คือ 85 % และ 90 % แต่ภายหลังผ่าตัดมีการสูญเสียการรับความรู้สึกของใบหน้าข้างนั้นและเกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ ส่วนการใช้ electrosurgery วิธี percutaneous radiofrequency thermocoagulation น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดให้ผลถึง 96 %


กลูตาราลดีไฮด์กับการทําความสะอาดเครื่องมือทันตกรรม, พวงเพ็ชร เดชะประทุมวัน, กรรณิการ์ มิคะเสน, พอใจ เรืองศรี Sep 1981

กลูตาราลดีไฮด์กับการทําความสะอาดเครื่องมือทันตกรรม, พวงเพ็ชร เดชะประทุมวัน, กรรณิการ์ มิคะเสน, พอใจ เรืองศรี

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษาประสิทธิภาพของกลูตาราลดีไฮด์ในการใช้ทําความสะอาดเครื่องมือทันตกรรม พบว่ากลูตาราลดีไฮด์ให้ผลดีต่อจุลินทรีย์หลายชนิด ภายในเวลา 2-10 นาที เมื่อทดลองเปรียบเทียบกับสารเคมีชนิดอื่นซึ่งนิยมใช้กันแพร่หลายในวงการทันตแพทย์ไทยที่นํามาใช้ในการทดลองเดียวกันนี้จะเห็นว่าดีกว่า


Abstract From Journals(ปกิณกะ : ย่อความจากวารสารต่างประเทศ) Sep 1981

Abstract From Journals(ปกิณกะ : ย่อความจากวารสารต่างประเทศ)

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


สุขภาพของทันตแพทย์ (ตอนที่ 4), เพ็ญศรี สิทธิสมวงศ์, สุลักษณ์ ผลานุวงศ์, สุภาพร กัณหวานิช May 1981

สุขภาพของทันตแพทย์ (ตอนที่ 4), เพ็ญศรี สิทธิสมวงศ์, สุลักษณ์ ผลานุวงศ์, สุภาพร กัณหวานิช

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานการศึกษาเรื่อง สุขภาพของทันตแพทย์ ตอนที่ 4 เกี่ยวกับทัศนคติของทันตแพทย์ พบว่าทันตแพทย์ร้อยละ 60.96 มีความพอใจในวิชาชีพปานกลาง และร้อยละ 42.62 ยังมีความไม่แน่ใจว่าจะประกอบอาชีพอีกนานเท่าใด และทันตแพทย์เกือบทั้งหมดให้ความเห็นว่า การบริหารร่างกายเป็นสิ่งจําเป็นและต้องการทราบวิธีการบริหารร่างกาย


รอยโรคเอ็นโดดอนติค-เพอริโอดอนติคและการรักษา, นวลฉวี หงษ์ประสงค์ May 1981

รอยโรคเอ็นโดดอนติค-เพอริโอดอนติคและการรักษา, นวลฉวี หงษ์ประสงค์

Chulalongkorn University Dental Journal

รอยโรคเอ็นโดดอนติค-เพอริโอดอนติค เป็นรอยโรคของประสาทฟัน ร่วมกับเนื้อเยื่อปริทันต์ในฟันซี่เดียวกัน ซึ่งทําให้มีอาการปวดอย่างรุนแรง บทความนี้ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างประสาทฟันและเนื้อเยื่อปริทันต์, การจําแนกรอยโรค, การตรวจพิเคราะห์โรค, การแยกโรคระหว่างอาการทางประสาทฟัน กับโรคปริทันต์ และการรักษารอยโรคนี้โดยการทําการรักษาคลองรากฟัน, รักษาโรค ปริทันต์ หรือรักษาร่วมกันทั้งสองอย่างขึ้นกับลักษณะของรอยโรค


เพรซเซอร์ อินดิเคเตอร์กับงานทางทันตกรรม, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล May 1981

เพรซเซอร์ อินดิเคเตอร์กับงานทางทันตกรรม, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

เพรชเชอร์ อินดิเคเตอร์ (Pressure indicator) ที่จะนํามาใช้ตรวจหาจุดกด (Pressure spot) บนฟันปลอมมีหลายชนิด แต่เพรชเชอร์อินดิเคเตอร์ เพสท์ Pressure indicator paste เป็นตัวกลางที่เหมาะที่สุด เพราะใช้ง่ายราคาถูก และให้ความถูกต้องแม่นยําสูง ถ้าใช้อย่างถูกวิธี เพสท์ ที่มีความหนืด 3 ชนิดได้ถูกแนะนําให้ใช้ในการตรวจหาจุดกดในกรณีต่าง ๆ กันตามความเหมาะสม ผู้เขียนมีความปรารถนาให้ทันตแพทย์สามารถทํา เพสท์ ทั้ง 3 ชนิดใช้เอง โดยไม่ต้องซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งราคาแพง และมีเพียงชนิดเดียว บทความนี้ยังได้ กล่าวถึงวิธีเตรียม การเก็บรักษาและการใช้เพสท์แต่ละชนิดอย่างละเอียดอีกด้วย


การทําฟันเดือยอันใหม่เมื่อรากฟันแตก (รายงานผู้ป่วย), อิศราวัลย์ บุญศิริ May 1981

การทําฟันเดือยอันใหม่เมื่อรากฟันแตก (รายงานผู้ป่วย), อิศราวัลย์ บุญศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

ฟันเดือยที่ใส่ไปแล้วเกิดอุบัติเหตุทําให้ฟันเดือยหลุด จนขอบรากด้านเลเบียลแตกถึงขอบกระดูก มีวิธีการแก้ไขโดยเปิดแฟลบ (flap) ด้านเลเบียลออก แล้วพิมพ์ปากให้ได้รายละเอียดของขอบรากด้านเลเบียลที่ยังเหลืออยู่ จากนั้นจึงทําเดือยและฟันครอบอันใหม่ การทําโดยวิธีนี้จะไม่ต้องถอนฟันซึ่งเคยรักษารากไว้แล้ว


พยาธิและคลินิคสภาพขอโรคอ๊อสซิไฟอิ้ง ไฟโบรม่า ในกระดูกขากรรไกร, วินัย ศิริจิตร May 1981

พยาธิและคลินิคสภาพขอโรคอ๊อสซิไฟอิ้ง ไฟโบรม่า ในกระดูกขากรรไกร, วินัย ศิริจิตร

Chulalongkorn University Dental Journal

ในการศีกษาพยาธิและคลินิคสภาพของโรคออสซิไฟอิ้ง ไฟโบรม่า ที่แผนก ทันตพยาธิวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาเฉพาะ โรคที่เกิดในกระดูกขากรรไกรเท่านั้นเป็นจํานวน 33 รายหรือร้อยละ 1.03 จาก จํานวนชิ้นเนื้อทั้งหมด 3187 ราย ผลการศึกษาทางคลินิคพบว่าส่วนมากโรคจะ เกิดในผู้ป่วยวัยหนุ่มสาว โดยเฉพาะเพศหญิง ผู้ป่วยจะมีอาการบวม มีการดําเนิน การของโรค 2 ปี 7 เดือน บริเวณฟันกรามน้อยและฟันกรามของขากรรไกรล่างจะ เกิดโรคได้เสมอ ภาพถ่ายรังสีเป็นผ้ามีเงาดําและขาวปนกัน ผลการศึกษาทางจุล พยาธิวิทยาสามารถแยกโรคออกจากตระกูลไฟโบร์ออสเซียส (Fibro-osseous diseases) อื่น ๆ ได้โดยอาศัยการศึกษาด้วยวิธีปรับแสงให้มีคลื่นไปในทางเดียว กัน (Polarization) การรักษาโรคทําด้วยวิธีควักออกหมด


ปกิณกะ May 1981

ปกิณกะ

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


ประโยชน์ของการใช้ Acid Etching Technique ในทางทันตกรรมจัดฟัน, ปิยารัตน์ อภิวัฒนกุล Jan 1981

ประโยชน์ของการใช้ Acid Etching Technique ในทางทันตกรรมจัดฟัน, ปิยารัตน์ อภิวัฒนกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

การใช้ Acid Etching Technique ในทางทันตกรรมจัดฟันทําให้คนไข้ รู้สึกพอใจมากกว่าเครื่องมือชนิดติดแน่นที่ใช้ครอบโลหะ เนื่องจากมีความสะดวก อันเป็นผลทําให้จํานวนการผุของฟันและ แต่ทั้งนี้ประสิทธิภาพของการอักเสบของเหงือกลดลง กับยังมีผลดีในด้านความสวยงาม ส่วนทันตแพทย์สบายในการรักษาความสะอาดช่องปากจัดฟันก็ได้รับความสะดวกและประหยัดเวลาในการทํา การใช้ Acid Etching Technique ในทางทันตกรรมจัดฟันจะได้ผลสมบูรณ์และ มีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อทันตแพทย์เลือกขนาดและชนิดของ bracket และเครื่องมือประกอบทางทันตกรรมจัดฟันให้เหมาะสม รวมทั้งปฏิบัติตาม Acid Etching Technique ที่ถูกต้องด้วย


การรักษาแผลติดเชื้อ Pseudomonas ในช่องปาก - รายงานผู้ป่วย, กอบกาญจน์ ทองประสม, พรรณี สุ่มสวัสดิ์ Jan 1981

การรักษาแผลติดเชื้อ Pseudomonas ในช่องปาก - รายงานผู้ป่วย, กอบกาญจน์ ทองประสม, พรรณี สุ่มสวัสดิ์

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วย 2 ราย ที่มีแผลจากการติดเชื้อ Pseudomonas ในช่อง ปากซึ่งพบได้ไม่บ่อย ได้รับการรักษาโดยใช้ยา Gentamicin ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะ ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ นํามาประยุกต์ใช้ โดยทาเฉพาะบริเวณรอยโรคนั้น ปรากฏว่าได้ผลดีมากในผู้ป่วยทั้ง 2 ikp และไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อข้างเคียง เมื่อติดตามผลเป็นเวลานาน


การบวมบริเวณใบหน้าที่มีสาเหตุมาจากฟันและการรักษา, พัชรี กัมพลานนท์ Jan 1981

การบวมบริเวณใบหน้าที่มีสาเหตุมาจากฟันและการรักษา, พัชรี กัมพลานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการศึกษาผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่แผนกทันตกรรม ร.พ. สระบุรีจํานวน 63 คน เนื่องจากมีการบวมและอักเสบของบริเวณใบหน้า พบว่าเป็น เพศชาย 44 คน หญิง 19 คน อายุที่พบบ่อยที่สุด 11-20 ปี ส่วนใหญ่มี สาเหตุมาจากฟัน ผู้ป่วยมักจะมาด้วยอาการอักเสบชนิดเฉียบพลัน บริเวณของ ใบหน้าที่พบมีการอักเสบและบวมมากที่สุดคือ Buccal Spaces ซึ่งจะสัมพันธ์กับ พื้นที่ทําให้เกิดการอักเสบมากที่สุดคือ ฟันกรามล่าง วิธีการรักษาที่สําคัญคือการให้ Supportive Treatment การกําจัดสาเหตุ การระบายหนองอย่างเพียงพอ รวม ถึงการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมีเหตุผล


ค่าความกว้างของฟันหน้ากับสัดส่วนของขากรรไกรคนไทย, จงกลพรรณ สุทธิพิศาล, วันดี อภิณหสมิต Jan 1981

ค่าความกว้างของฟันหน้ากับสัดส่วนของขากรรไกรคนไทย, จงกลพรรณ สุทธิพิศาล, วันดี อภิณหสมิต

Chulalongkorn University Dental Journal

การวิเคราะห์และวัดหาค่าในแบบพิมพ์ปากของนิสิตทันตแพทย์ ชาย หญิงจํานวน 141 ราย เฉลี่ยอายุ 23 ปี ส่วนสูง 159 ซม. น้ำหนัก 49 กก. ปรากฏว่าขนาดของฟันหน้าบนและสัดส่วนของวงขากรรไกร มีค่ามัธยฐานไม่ต่างกับค่าของคนยุโรปในบรรณานุกรม อัตราส่วนระหว่างผลบวกของฟันหน้าบนทั้งสี่ซี่กับความกว้างของเพดานมีค่าใกล้เคียงกับค่าของ Pont ไม่มีการยืนยันทางสถิติอย่าง สมบูรณ์ว่า ค่าใน Orthometer ของ Korkhaus เหมาะสมกับชุดฟันของคนไทยกลุ่มนี้


สุขภาพของทันตแพทย์ ตอนที่ 3, เพ็ญศรี สิทธิสมวงศ์, สุลักษณ์ ผลานุวงศ์, สุภาพร กัณหวานิช Jan 1981

สุขภาพของทันตแพทย์ ตอนที่ 3, เพ็ญศรี สิทธิสมวงศ์, สุลักษณ์ ผลานุวงศ์, สุภาพร กัณหวานิช

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานการศึกษาเรื่อง สุขภาพของทันตแพทย์ ตอนที่ 3 เกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วยของทันตแพทย์ พบว่า ทันตแพทย์ไม่เคยตรวจสุขภาพประจําปีร้อยละ 51.95 สุขภาพที่ทันตแพทย์ส่วนใหญ่ประสบ ร้อยละ 90.00 ได้แก่ โรคหวัด รองลงมากว่าร้อยละ 50.00 ได้แก่ เจ็บคอ ไอ ปวดศีรษะและปวดหลัง ทันตแพทย์ กว่าร้อยละ 50.00 มีการหยุดการทํางานเนื่องจากการเจ็บป่วย การพักผ่อน และ กิจธุระอื่น และทันตแพทย์กว่าร้อยละ 50.00 เคยออกกําลังกายหรือบริหารร่างกายแต่ไม่สม่ำเสมอ