Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

PDF

Journal

2014

Audio-visual media; dental knowledge; self-dental examination; sixth grade students

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Entire DC Network

ผลของสื่อโสตทัศน์ต่อความรู้เรื่องฟันและความสามารถในการตรวจฟันด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, ณฐพร หาตรงจิตต์, พรพรรณ อัศวาณิชย์, บุษยรัตน์ สันติวงศ์ Sep 2014

ผลของสื่อโสตทัศน์ต่อความรู้เรื่องฟันและความสามารถในการตรวจฟันด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, ณฐพร หาตรงจิตต์, พรพรรณ อัศวาณิชย์, บุษยรัตน์ สันติวงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบความรู้เรื่องฟันและความสามารถในการตรวจฟันด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 กลุ่มหนึ่งภายหลังดูสื่อโสตทัศน์ วัสดุและวิธีการ การศึกษานี้ทําในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี อายุ 10-13 ปี ที่มีฟันแท้ครบ 24 ที่จํานวน 75 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม ควบคุม และกลุ่มทดลอง โดยกลุ่มทดลองจะได้ดูสื่อโสตทัศน์เรื่องฟันผุ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้ดูสื่อโสตทัศน์ วัดความรู้เรื่องฟันโดยใช้แบบวัดผลซึ่งเป็นภาพฟันผุและฟันไม่ผุจํานวน 10 รูป (10 คะแนน) และวัดความ สามารถในการตรวจฟันแต่ละซี่ด้วยตนเองโดยใช้กระจก (24 ซี่ 24 คะแนน) วัดความรู้เรื่องฟันและความสามารถ ในการตรวจฟัน 2 ครั้งคือ ก่อนการทดลอง 2 สัปดาห์ และหลังการดูสื่อโสตทัศน์ทันที เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย คะแนนที่เพิ่มขึ้นของคะแนนความรู้ และความสามารถในการตรวจฟันด้วยตนเองระหว่าง 2 กลุ่มด้วยสถิติ แมนวิดนีย์ ยู เทสต์ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา กลุ่มควบคุมได้คะแนนความรู้เฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง 4.4+1.7 คะแนน และ 4.9 +1.7 คะแนน ตามลําดับ ส่วนกลุ่มทดลองได้คะแนนความรู้ก่อนและหลังการทดลองเฉลี่ย 4.3 + 1.8 คะแนน และ 7.6 +1.4 คะแนน ตามลําดับ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.001) ส่วนคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการตรวจฟันด้วยตนเองของกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลองมี ค่า 20.0 + 4.8 คะแนน และ 21.6 + 3.3 คะแนนตามลําดับ ส่วนกลุ่มทดลองได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการ ตรวจฟันก่อนและหลังการทดลอง 18.9 + 5.1 คะแนน และ 19.2 + 5.0 คะแนนตามลําดับ พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนน ความสามารถในการตรวจฟันที่เพิ่มขึ้นหลังการดูสื่อโสตทัศน์ของกลุ่มทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม (p=0.076) สรุป สื่อโสตทัศน์เรื่องฟันผุทําให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความรู้เรื่องฟันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ แต่การดูสื่อโสตทัศน์เพียงครั้งเดียวไม่เพียงพอที่จะทําให้นักเรียนมีความสามารถในการตรวจฟันในช่องปากด้วยตนเองได้ถูกต้องมากขึ้น (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:317-26)