Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

PDF

Journal

2012

EDTA; fiber-reinforced composite post; push out bond strength; root canal wall; sodium hypochlorite

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Entire DC Network

ผลการปรับสภาพผนังคลองรากฟันต่อค่ากําลังแรงยึดแบบผลักของเดือยฟันคอมโพสิตเสริมเส้นใยเมื่อยืดด้วยเซลฟ์แอดฮิซิฟเรซินซีเมนต์, สุภาพร ดุรงค์วงศ์, ศิริพร อรุณประดิษฐ์กุล, อิศราวัลย์ บุญศิริ Sep 2012

ผลการปรับสภาพผนังคลองรากฟันต่อค่ากําลังแรงยึดแบบผลักของเดือยฟันคอมโพสิตเสริมเส้นใยเมื่อยืดด้วยเซลฟ์แอดฮิซิฟเรซินซีเมนต์, สุภาพร ดุรงค์วงศ์, ศิริพร อรุณประดิษฐ์กุล, อิศราวัลย์ บุญศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินค่ากําลังแรงยึดแบบผลักของเดือยฟันคอมโพสิตเสริมเส้นใยเมื่อยึดด้วยเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ในผนังคลองรากฟันแต่ละตําแหน่งที่มีการปรับสภาพด้วยวิธีแตกต่างกัน วัสดุและวิธีการ ฟันกรามน้อยล่างรากเดียวจํานวน 40 ปี แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 โดยวิธีสุ่ม ตัดส่วนตัวฟัน รักษาคลองรากฟันและเตรียมพื้นที่สําหรับเดือยฟันไฟบริเคลียร์ เบอร์ 3 ปรับสภาพผนังคลองรากฟันดังนี้ กลุ่มที่ 1 ไม่มีการปรับสภาพผนังคลองรากฟัน กลุ่มที่ 2-4 ปรับสภาพผนังคลองรากฟันด้วยกรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 37 นาน 5 วินาที (กลุ่มที่ 2) อีดีทีเอความเข้มข้นร้อยละ 17 นาน 1 นาที (กลุ่มที่ 3) และอีดีทีเอความเข้มข้น ร้อยละ 17 นาน 1 นาที ตามด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ความเข้มข้นร้อยละ 2.5 นาน 15 วินาที (กลุ่มที่ 4) จาก นั้นยึดเดือยฟันด้วยเซลฟ์แอดฮิซิฟเรซินซีเมนต์รีไลเอ็กซ์ยูนิเซม (RelyXTM Unicem) ตัดฟันทุกซี่เป็น 6 ชิ้น แต่ละชิ้นหนา 1 +0.05 มิลลิเมตร ทดสอบค่ากําลังแรงยึดแบบผลักด้วยเครื่องทดสอบสากล (Instron) ความเร็ว ของหัวกด 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที นําข้อมูลมาวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางและเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิด ทุกีย์ ที่ระดับนัยสําคัญ p < 0.05 และวิเคราะห์ลักษณะการแตกที่เกิดขึ้นของทุกชิ้นทดสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ ผลการศึกษา ค่ากําลังแรงยึดแบบผลักของกลุ่มที่ 2 มีค่าสูงที่สุด โดยค่ากําลังแรงยึดของกลุ่มที่ 3 มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ 1 และ 4 อย่างมีนัยสําคัญ แต่กลุ่มที่ 1 และ 4 มีค่าไม่แตกต่างกัน (p>0.05) นอกจากนี้ตําแหน่งรากฟันไม่ส่งผล ต่อค่ากําลังแรงยึดแบบผลัก (p>0.05) สรุป การปรับสภาพผนังคลองรากฟันด้วยกรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 37 นาน 5 วินาทีหรืออีดีทีเอความ เข้มข้นร้อยละ 17 นาน 1 นาที สามารถเพิ่มค่ากําลังแรงยึดแบบผลักของเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ (ว ทันต จุฬาฯ 2555;35:167-78)