Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

PDF

Chulalongkorn University Dental Journal

Journal

2012

Compressive strength; copolymer PMMA-PS; diametral tensile strength; zinc oxide-calcium sulfate based temporary filling material

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Entire DC Network

กําลังแรงดึงไดอะเมทรัลและความทนแรงอัดของวัสดุอุดฟันชั่วคราวชนิดซิงค์ออกไซด์- แคลเซียมซัลเฟตที่พัฒนาขึ้นใหม่, นิยม ธํารงค์อนันต์สกุล, ณัฐปภัสร์ วัฒนาศรมศิริ, เจนจิรา ถิระวัฒน์นาสุขภาพ Sep 2012

กําลังแรงดึงไดอะเมทรัลและความทนแรงอัดของวัสดุอุดฟันชั่วคราวชนิดซิงค์ออกไซด์- แคลเซียมซัลเฟตที่พัฒนาขึ้นใหม่, นิยม ธํารงค์อนันต์สกุล, ณัฐปภัสร์ วัฒนาศรมศิริ, เจนจิรา ถิระวัฒน์นาสุขภาพ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่ากําลังแรงดึงไดอะเมทรัลและความทนแรงอัดของวัสดุอุดฟันชั่วคราวชนิดซิงค์ออกไซด์- แคลเซียมซัลเฟตที่พัฒนาขึ้นใหม่ วัสดุและวิธีการ สังเคราะห์โคพอลิเมอร์ระหว่างพอลิเมทิลเมทาคริเลตและพอลิสไตรีนด้วยกระบวนการ พอลิเมอไรเซชันแบบดิฟเฟอเรนเชียลไมโครอิมัลชันเพื่อใช้เป็นวัสดุเสริมแรงให้กับวัสดุอุดฟันชั่วคราว โดยปรับ เปลี่ยนอัตราส่วนระหว่างพอลิเมทิลเมทาคริเลตและพอลิสไตรีนเป็น 1:1 112 113 และ 14 จากนั้นนํามาผสมกับ ซิงค์ออกไซด์ แคลเซียมซัลเฟตและวัสดุอื่น ๆ ซึ่งจะได้วัสดุอุดชั่วคราวที่พัฒนาขึ้นใหม่ทั้งหมด 4 สูตร และแบ่งเป็น 4 กลุ่มเพื่อใช้ในการศึกษา โดยใช้เควิต เป็นกลุ่มควบคุมเตรียมชิ้นตัวอย่างกลุ่มละ 15 ชิ้น เพื่อหาค่ากําลังแรงดึง ไดอะเมทรัลที่ดัดแปลงจากดาร์เวลล์ และเตรียมชิ้นตัวอย่างกลุ่มละ 30 ชิ้น เพื่อหาค่าความทนแรงอัดตามวิธีที่ ดัดแปลงจากมาตรฐานสากล ไอเอสโอ 3107/2004 วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา วัสดุอุดฟันชั่วคราวชนิดซิงค์ออกไซด์ แคลเซียมซัลเฟตที่เสริมแรงด้วยโคพอลิเมอร์ของพอลิเมทิล เมทาคริเลตและพอลิสไตรีนในอัตราส่วนต่าง ๆ ให้ค่าเฉลี่ยกําลังแรงดึงและความทนแรงอัดที่แตกต่างกันทุกสูตร เมื่อปริมาณของพอลิสไตรีนเพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ยกําลังแรงดึงและความทนแรงอัดมีค่าลดลง โดยสูตรที่ใช้อัตราส่วนของ พอลิเมทิลเมทาคริเลตต่อพอลิสไตรีนเท่ากับ 1:1 ให้ค่าเฉลี่ยของกําลังแรงดึงไดอะเมทรัลและค่าเฉลี่ยความทน แรงอัดมากที่สุด และยังมีค่ามากกว่าเควิตอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุป วัสดุอุดฟันชั่วคราวที่พัฒนาขึ้นใหม่ที่เสริมแรงด้วยโคพอลิเมอร์ของพอลิเมทิลเมทาคริเลตและพอลิสไตรีน ในอัตราส่วน 1:1 มีกําลังแรงดึงไดอะเมทรัลและความทนแรงอัดมากกว่าเควิตอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ว ทันต จุฬาฯ 2555;35:157-66)