Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Civil and Environmental Engineering

PDF

Chulalongkorn University

2018

Articles 1 - 24 of 24

Full-Text Articles in Entire DC Network

พฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยีรถพลังงานไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร, ตฤณวรรษ ปานสอน Jan 2018

พฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยีรถพลังงานไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร, ตฤณวรรษ ปานสอน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและตรวจสอบทัศนคติของผู้ใช้รถยนต์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้รถยนต์ในกรุงเทพมหานคร ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากแบบสอบถาม โดยความสัมพันธ์ภายในแบบจำลองมาจากทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี หรือ Technology Acceptance Model (TAM) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 401 ตัวอย่าง พบว่าแต่ละตัวแปรในแบบจำลอง ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญกับตัวแปรความตั้งใจที่จะใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบจำลองพบว่า ตัวแปรสังเกตได้มีความสอดคล้องกับตัวแปรแฝงเป็นอย่างดี เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุพบว่า แบบจำลองสมมติฐานมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ นอกจากนี้ ความตั้งใจในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าสามารถอธิบายได้จากตัวแปรแฝงภายใน ได้แก่ ทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ไฟฟ้า การรับรู้ถึงความสะดวกในการใช้งาน การรับรู้ถึงประโยชน์ของรถยนต์ไฟฟ้า การยอมรับทางด้านราคา และบรรทัดฐานทางสังคม โดยความสัมพันธ์มีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.527, 0.405, 0.403, 0.278 และ 0.259 ตามลำดับ ตัวแปรเชิงทัศนคติสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของผู้ใช้รถยนต์ได้ร้อยละ 42 การทราบและเข้าใจถึงทัศนคติที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้งานจะช่วยให้ผู้วางแผนหรือผู้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าทราบว่าควรจะส่งเสริมหรือควบคุมนโยบายที่เหมาะสมในกลุ่มเป้าหมาย


การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเชื่อฟังของผู้ขับขี่ที่มีต่อป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยน, กนกวรรณ ศรีเสาวกาญจน์ Jan 2018

การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเชื่อฟังของผู้ขับขี่ที่มีต่อป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยน, กนกวรรณ ศรีเสาวกาญจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจของผู้ขับขี่ยานพาหนะเมื่อเห็นป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยนและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆและการเชื่อฟังของผู้ขับขี่ที่มีต่อป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยน โดยศึกษาจากกลุ่มผู้ขับขี่รถยนต์ภายในกรุงเทพมหานครจากแบบสอบถามออนไลน์ ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คุณลักษณะเศรษฐกิจสังคม คุณลักษณะพฤติกรรมการใช้ความเร็วและคุณลักษณะสถานการณ์การขับขี่ ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีสถิติพรรณนาและแบบจำลองสมการถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 907 ตัวอย่างพบดังนี้ 1) การตัดสินใจใช้ความเร็วเมื่อพบป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยนส่วนใหญ่ตัดสินใจชะลอความเร็วแต่จะใช้ความเร็วไม่ถึงป้าย 2) การเปลี่ยนช่องจราจรส่วนใหญ่ไม่คิดเปลี่ยนช่องจราจร 3) ความเร็วเฉลี่ยหลังผ่านป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยนที่ตั้งใจใช้อยู่ที่ 93.44 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 4) การเชื่อฟังป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยนส่วนใหญ่ตัดสินใจไม่เชื่อฟัง 5) การวิเคราะห์แบบจำลองความถดถอยโลจิสติกพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเชื่อฟังป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยน ได้แก่ เพศ อายุ การตัดสินใจของยานพาหนะคันหน้า ความเร็วเฉลี่ยที่ใช้ประจำบนทางพิเศษ การได้รับใบสั่งจากการใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนดและการประสบอุบัติเหตุในช่วง 3ปี โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มการเชื่อป้ายหลักคือ เพศ การได้รับใบสั่งจากการใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนดแลละการตัดสินใจชะลอความเร็วของยานพาหนะคันหน้าเมื่อเห็นป้ายขีดจำกัดความเร็ว


การวิเคราะห์ชั้นดินโดยการวิเคราะห์คลื่นผิวดินหลายโหมดแบบย้อนกลับ, ถิรวัฒน์ ซิ้มเล่มกิม Jan 2018

การวิเคราะห์ชั้นดินโดยการวิเคราะห์คลื่นผิวดินหลายโหมดแบบย้อนกลับ, ถิรวัฒน์ ซิ้มเล่มกิม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้เสนอวิธีการสำรวจชั้นดินด้วยวิธีการตรวจวัดคลื่นผิวดินแบบพาสซีฟแบบใหม่ใช้ชื่อว่า Power of Phase (POP) และการวิเคราะห์แบบย้อนกลับที่คำนึงถึงผลการสั่นไหวของโหมดที่สูงขึ้นของคลื่นผิวดิน การสร้างเส้นโค้งการกระจายของความเร็วคลื่นเฉือนด้วยวิธีการใหม่นี้ไม่จำเป็นต้องหารากของสมการเบสเซลจึงไม่จำเป็นต้องใช้ปริพันธ์เชิงเส้นรอบรูปวงกลมที่มีสมมติฐานว่าทุกจุดบนเส้นรอบรูปวงกลมต้องหาค่าได้ หรือในทางปฏิบัติคือ จำเป็นต้องมีจีโอโฟนเพื่อวัดการเคลื่อนที่ของผิวดินทุกจุดบนเส้นรอบรูปวงกลมเหมือนวิธีการที่ได้รับความนิยมในอดีต เช่น SPAC และ CCA เป็นต้น โดยหลักการการสร้างเส้นโค้งการกระจายด้วยวิธี POP คือการหาความสัมพันธ์ของเฟสของคลื่นผิวดินที่ได้จากการตรวจวัด จึงเป็นผลให้เส้นโค้งการกระจายที่คำนวณได้มีความซับซ้อนในการวิเคราะห์น้อยลงและมีความถูกต้องมากขึ้นในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยยังได้พัฒนาวิธีการวิเคราะห์แบบย้อนกลับที่คำนึงถึงผลของการสั่นไหวในโหมดที่สูงขึ้นของคลื่นผิวดิน ซึ่งทำให้สามารถวิเคราะห์ชั้นดินที่ความเร็วคลื่นเฉือนไม่ได้เพิ่มขึ้นตามความลึก ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการทวนสอบกระบวนการที่ได้พัฒนาขึ้นกับสัญญาณคลื่นที่สร้างจากแบบจำลองชั้นดินตามระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์และผลตรวจวัดคลื่นผิวดินในสนามที่มีโครงสร้างพื้นดินแตกต่างกัน ซึ่งพบว่าวิธี POP สามารถคำนวณเส้นโค้งการกระจายได้ใกล้เคียงกับเส้นโค้งการกระจายทางทฤษฎีมากกว่าวิธี SPAC และการวิเคราะห์แบบย้อนกลับที่คำนึงโหมดการสั่นไหวของคลื่นผิวดินโหมดที่สูงขึ้นแสดงแยกแยะโครงสร้างชั้นดินได้ละเอียดกว่าการวิเคราะห์จากการสั่นไหวในโหมดพื้นฐานอย่างเดียว


การศึกษาคุณสมบัติของโครงสร้างผนังประกอบที่เป็นฉนวนโฟมพอลิสไตรีนแบบขยายตัว, ธนิสร์ ชาญสุทธิกนก Jan 2018

การศึกษาคุณสมบัติของโครงสร้างผนังประกอบที่เป็นฉนวนโฟมพอลิสไตรีนแบบขยายตัว, ธนิสร์ ชาญสุทธิกนก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาคุณสมบัติด้านกำลังของแผ่นประกอบที่เป็นฉนวนโฟมโพลิสไตรีน (Expanded Polystyrene Foam Composite Structural Insulated Panels) ใช้โฟมโพลิสไตรีน (Expanded Polystyrene Foam : EPS foam) เป็นวัสดุแกนกลางประกบด้วนแผ่นซีเมนต์ (Cement Board) ทั้ง 2 ด้านแล้วนำมาทดสอบเพื่อพัฒนาคุณสมบัติด้านกำลังโดยการนำเหล็กรีดเย็นรูปตัว C (Ribbed C-Channel) เสริมที่ขอบของแผ่นประกอบที่เป็นฉนวนโฟมโพลิสไตรีนทั้ง 4 ด้าน หลังจากนั้นนำผนังประกอบที่เป็นฉนวนโฟมโพลิสไตรีนแบบมีเหล็กไปทดสอบคุณสมบัติด้านกำลัง และคุณสมบัติอื่นๆ รวมถึงการนำคุณสมบัติที่ได้ไปเปรียบเทียบกับผนังอื่นๆที่มีในท้องตลาด การทดสอบของแผ่นประกอบที่เป็นฉนวนโฟมโพลิสไตรีนประกอบด้วย กำลังรับแรงเฉือน กำลังรับแรงอัด คุณสมบัติการทนไฟ คุณสมบัติการนำความร้อน และคุณสมบัติการส่งผ่านของเสียง โดยผลของการทดสอบด้านกำลังสามารถพัฒนาคุณสมบัติด้านกำลังของแผ่นประกอบที่เป็นฉนวนโฟมโพลิสไตรีนแบบมีเหล็กได้ และจากการเปรียบเทียบคุณสมบัติของแผ่นประกอบที่เป็นฉนวนโฟมโพลิสไตรีนทำให้ทราบว่าแผ่นประกอบที่เป็นฉนวนโฟมโพลิสไตรีนมีคุณสมบัติการนำความร้อนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับผนังอื่นๆที่มีในท้องตลาด ซึ่งสามารถนำแผ่นประกอบที่เป็นฉนวนโฟมโพลิสไตรีนแบบมีเหล็กมาเป็นผนังทางเลือกที่มีความต้องการความเป็นฉนวนสูงได้


Sbfe Analysis Of Layered Elastic Media With Consideration Of Surface Energy Effect, Chantha Chhuon Jan 2018

Sbfe Analysis Of Layered Elastic Media With Consideration Of Surface Energy Effect, Chantha Chhuon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis presents an efficient and accurate numerical technique for determining mechanical response of a two-dimensional, infinite, elastic, layered medium under arbitrary surface loading and surface stress effects. Governing equations of a generic bulk layer are formulated from the classical linear elasticity theory via a SBFE technique whereas those of the generic material surface are obtained from a full version of Gurtin-Murdoch surface elasticity theory. The formulation is established sufficiently general allowing both homogenous and functionally graded bulk materials to be treated for each layer. By enforcing the continuity at the interface of the material surface and the bulk, it …


Development Of Causal Relationship Model Of Knowledge Sharing In Construction Projects, Lambada Roeun Jan 2018

Development Of Causal Relationship Model Of Knowledge Sharing In Construction Projects, Lambada Roeun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Knowledge sharing among construction project members is very crucial for improving project success and project performance. It can also reduce mistakes in the construction process. Project management has been growing more complicated, and project members need to learn best practice from others. Currently, knowledge sharing is not well performed yet; especially, few research studies have been focused on the relationship evaluation of supporting factors that affect knowledge sharing from different contexts in construction projects. Therefore, this study aims to develop the causal relationship model of supporting factors from psychological, individual, organizational, and technological factors that affect mediators - knowledge sharing …


Adsorption And Chemical Cleaning Process Of Anionic And Non-Ionic Surfactants On The Membrane Surface Through The Forward Osmosis Process: Application For Water Reuse, Kaiwit Ruengruehan Jan 2018

Adsorption And Chemical Cleaning Process Of Anionic And Non-Ionic Surfactants On The Membrane Surface Through The Forward Osmosis Process: Application For Water Reuse, Kaiwit Ruengruehan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Forward osmosis (FO) process, an attractive membrane technologies, have been widely studied and applied in many fields to manufacture the clean water. This work, we focused on the fouling behavior and mechanisms of forward osmosis (FO) fouled by sodium dodecyl sulfate (SDS) as anionic surfactants and of nonylphenol ethoxylate (NPE, NP-40) as nonionic surfactant, including cleaning process to recover the system. FO process was run under different operating conditions (cross flow velocity, pH of feed solution, surfactant concentration). In addition, deionized-water (DI), 0.1 M NaCl, and alkaline solution (NaOH) were applied as agents for the cleaning process. The results revealed …


Roles And Regulation Of The Ai-2 Quorum Sensing Of Vibrio Parahaemolyticus In Nitrification Biofilter Of Shrimp Recirculating System., Monchai Pumkaew Jan 2018

Roles And Regulation Of The Ai-2 Quorum Sensing Of Vibrio Parahaemolyticus In Nitrification Biofilter Of Shrimp Recirculating System., Monchai Pumkaew

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand is the largest shrimp producing and exporter among Southeast Asia. Up-to-Date, Recirculating Aquaculture System (RAS) have been developed in order to control water quality and enable to conduct intensive cultivation without limitation of land-based cultivation method. Nevertheless, there is concern about pathogenic contamination in Biofilter. Therefore, the role of biofilter in terms of biosecurity is required to study. Recently, shrimp Early Mortality Syndrome (EMS) as known as AHPND/EMS, has spread to shrimp farm in several areas of Thailand. This contributes to severe productivity losses in the shrimp farm industry. It is evident that the causative agent of AHPND disease …


Study Of Gas-Liquid Mass Transfer In Bubble And Spray Column Adding Solid Media, Kritchart Wongwailikhit Jan 2018

Study Of Gas-Liquid Mass Transfer In Bubble And Spray Column Adding Solid Media, Kritchart Wongwailikhit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Gas absorption is a separation process that transfers substances from gas phase to liquid phases due to the different concentrations. The operation can be applied in many treatments or purifying processes e.g. CO2 absorption from biogas or volatile organic compounds (VOCs) recovery from petroleum emission air. The conventional unit operation using for the gas absorption process are bubble column and spray column. Although there are several literatures reporting the efficiency of spray columns and bubble columns, those were done separately. Therefore, this research projected to investigate both hydrodynamics and mass transfer in both spray and bubble columns and comparing their …


Flood Damage Assessment: A Case Study In Bakan And Phnom Kravanh Districts, Pursat Province, Cambodia, Chhunleang Rorm Jan 2018

Flood Damage Assessment: A Case Study In Bakan And Phnom Kravanh Districts, Pursat Province, Cambodia, Chhunleang Rorm

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Flood is still a major climate hazard in Pursat province, a potential province for agricultural development in Cambodia. The consequences of this water-related disaster are social problems such as poverty, food insecurity and health problems, which indirectly prolong the growth of the country's economy. To propose a proper flood mitigation measure, flood damage assessment is considered as a fundamental step to implement so that the value of elements at risk is initially evaluated. The objectives of this research are to assess flood damage in agriculture and affected people in Bakan and Phnom Kravanh districts, Pursat province from 2000 to 2014, …


การพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าผสมเส้นใยปาล์มน้ำมันและถ่านชีวภาพ, ปาณิศา แสงแก้ว Jan 2018

การพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าผสมเส้นใยปาล์มน้ำมันและถ่านชีวภาพ, ปาณิศา แสงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่า (Cellular Lightweight Concrete; CLC) โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 2 ชนิด ได้แก่ เส้นใยปาล์มน้ำมันและถ่านชีวภาพ กลุ่มตัวอย่างทดสอบแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ คอนกรีต CLC แบบปกติ, คอนกรีต CLC ผสมเส้นใยปาล์ม, คอนกรีต CLC ผสมถ่านชีวภาพ, คอนกรีต CLC ผสมเส้นในปาล์มและถ่านชีวภาพ จากผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนเส้นใยปาล์มที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความหนาแน่น กำลังอัด กำลังดึง การถ่ายเทความร้อนของคอนกรีต CLC สูงขึ้น แต่อัตราส่วนการดูดซึมน้ำลดลง สัดส่วนของถ่านชีวภาพที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความหนาแน่นเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย กำลังอัด กำลังดึง สูงขึ้น อัตราการดูดซึมน้ำและการถ่ายเทความร้อนลดลง งานวิจัยนี้ยังศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้งานด้านคุณสมบัติและเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมในการนำไปใช้งานมี 2 กลุ่ม ได้แก่ คอนกรีต CLC (โฟมร้อยละ 50) ผสมถ่านชีวภาพร้อยละ 15 และคอนกรีต CLC (โฟมร้อยละ 60) ผสมเส้นใยปาล์มและถ่านชีวภาพร้อยละ 1.5 และ 10 กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มีความสามารถถ่ายเทความร้อนได้ต่ำ ซึ่งช่วยประหยัดการใช้พลังงานเครื่องปรับอากาศภายในอาคารได้ ในด้านเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้และมีประโยชน์ในการลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสียต่อปี ดังนั้นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเป็นส่วนผสมในคอนกรีต CLC นั้น จึงช่วยพัฒนาคุณสมบัติบางประการหากใส่ในปริมาณที่เหมาะสม เป็นแนวทางในการกำจัดของเสียและสามารถพัฒนาต่อยอดการผลิตคอนกรีต CLC ได้ในอนาคต


พฤติกรรมการยึดเหนี่ยวระหว่างแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอนและคอนกรีตโดยใช้อีพอกซีเสริมท่อนาโนคาร์บอน, อมเรศ มธุรส Jan 2018

พฤติกรรมการยึดเหนี่ยวระหว่างแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอนและคอนกรีตโดยใช้อีพอกซีเสริมท่อนาโนคาร์บอน, อมเรศ มธุรส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการยึดเหนี่ยวระหว่างแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน (CFRP) และคอนกรีตโดยใช้อีพอกซีเสริมท่อนาโนคาร์บอน (CNTs) โดยมีตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา คือประเภทของท่อนาโนคาร์บอน ประกอบด้วย แบบผนังชั้นเดียว (SWCNTs) และแบบผนังหลายชั้น (MWCNTs) ปริมาณของท่อนาโนคาร์บอนที่ปริมาณ 0.25, 0.50, 1.00 และ 2.00% ของปริมาณอีพอกซี และประเภทของอีพอกซี ประกอบด้วยอีพอกซีชนิดค่าความหนาแน่นเท่ากับ 1.30 และ 1.65 กิโลกรัมต่อลิตร ผลการศึกษาพบว่าพลังงานการต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัสและหน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูงสุดมีค่าเพิ่มขึ้นสูงสุด 51.11% และ 56.47% ตามลำดับ เมื่อใช้ SWCNTs ที่ 1.00% ของปริมาณอีพอกซีในอีพอกซีค่าความหนาแน่น 1.30 กิโลกรัมต่อลิตร อย่างไรก็ตามการใช้ SWCNTs และ MWCNTs เสริมอีพอกซีที่ความหนาแน่น 1.65 กิโลกรัมต่อลิตร มีแนวโน้มให้พลังงานการต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัส หน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูงสุด รวมถึงค่าการเลื่อนไถลสูงสุดที่ลดลง สำหรับรูปแบบการหลุดล่อนโดยส่วนใหญ่มีการแยกตัวที่วัสดุประสานและคอนกรีต ทั้งนี้การใช้อีพอกซีที่ความหนาแน่น 1.65 กิโลกรัมต่อลิตร โดยการใช้อีพอกซีเสริม SWCNTs ที่ปริมาณ 0.25% ของปริมาณอีพอกซี มีการหลุดล่อนจากการสูญเสียการยึดเหนี่ยวของวัสดุเชื่อมประสาน และการใช้ MWCNTs 0.25% ของปริมาณอีพอกซีมีการหลุดล่อนจากการแตกหักของคอนกรีต จากการตรวจสอบการยึดเหนี่ยวภายในชั้นของอีพอกซีและการยึดเหนี่ยวของอีพอกซีกับ CFRP ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน พบว่าให้ผลสอดคล้องกับผลของหน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูงสุด โดยผลของชุดทดสอบที่มีหน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูง มีลักษณะการยึดเกาะหรือการรวมตัวของอีพอกซีที่ดีและช่องว่างของอีพอกซีน้อย จึงแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของท่อนาโนคาร์บอนที่มีการปรับปรุงคุณสมบัติของอีพอกซี


Flood Damage Assessment: A Case Study In Bakan And Phnom Kravanh Districts, Pursat Province, Cambodia, Chhunleang Rorm Jan 2018

Flood Damage Assessment: A Case Study In Bakan And Phnom Kravanh Districts, Pursat Province, Cambodia, Chhunleang Rorm

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Flood is still a major climate hazard in Pursat province, a potential province for agricultural development in Cambodia. The consequences of this water-related disaster are social problems such as poverty, food insecurity and health problems, which indirectly prolong the growth of the country's economy. To propose a proper flood mitigation measure, flood damage assessment is considered as a fundamental step to implement so that the value of elements at risk is initially evaluated. The objectives of this research are to assess flood damage in agriculture and affected people in Bakan and Phnom Kravanh districts, Pursat province from 2000 to 2014, …


Development Of Causal Relationship Model Of Knowledge Sharing In Construction Projects, Lambada Roeun Jan 2018

Development Of Causal Relationship Model Of Knowledge Sharing In Construction Projects, Lambada Roeun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Knowledge sharing among construction project members is very crucial for improving project success and project performance. It can also reduce mistakes in the construction process. Project management has been growing more complicated, and project members need to learn best practice from others. Currently, knowledge sharing is not well performed yet; especially, few research studies have been focused on the relationship evaluation of supporting factors that affect knowledge sharing from different contexts in construction projects. Therefore, this study aims to develop the causal relationship model of supporting factors from psychological, individual, organizational, and technological factors that affect mediators – knowledge sharing …


Flood Damage Assessment: A Case Study In Bakan And Phnom Kravanh Districts, Pursat Province, Cambodia, Chhunleang Rorm Jan 2018

Flood Damage Assessment: A Case Study In Bakan And Phnom Kravanh Districts, Pursat Province, Cambodia, Chhunleang Rorm

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Flood is still a major climate hazard in Pursat province, a potential province for agricultural development in Cambodia. The consequences of this water-related disaster are social problems such as poverty, food insecurity and health problems, which indirectly prolong the growth of the country's economy. To propose a proper flood mitigation measure, flood damage assessment is considered as a fundamental step to implement so that the value of elements at risk is initially evaluated. The objectives of this research are to assess flood damage in agriculture and affected people in Bakan and Phnom Kravanh districts, Pursat province from 2000 to 2014, …


Development Of Causal Relationship Model Of Knowledge Sharing In Construction Projects, Lambada Roeun Jan 2018

Development Of Causal Relationship Model Of Knowledge Sharing In Construction Projects, Lambada Roeun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Knowledge sharing among construction project members is very crucial for improving project success and project performance. It can also reduce mistakes in the construction process. Project management has been growing more complicated, and project members need to learn best practice from others. Currently, knowledge sharing is not well performed yet; especially, few research studies have been focused on the relationship evaluation of supporting factors that affect knowledge sharing from different contexts in construction projects. Therefore, this study aims to develop the causal relationship model of supporting factors from psychological, individual, organizational, and technological factors that affect mediators – knowledge sharing …


Micro-Scale Flood Hazard Assessment In Phnom Penh, Cambodia, Naichy Sea Jan 2018

Micro-Scale Flood Hazard Assessment In Phnom Penh, Cambodia, Naichy Sea

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Water-related disasters in urban area, especially urban floods have become more frequent and severe. This leads to loss of life, infrastructure damage, business interruption as well as difficulties in conducting daily activities. Phnom Penh, the capital city of Cambodia, has frequently experienced significant rainfall-flood events during rainy season. Without proper prevention and mitigation and management of urban drainage system, Phnom Penh is expected to confront with the current and future challenge of water-related disaster. To address this urban flood issue, flood modeling could be used to assess flood severity and make a visual representation of the urban flood hazard as …


Micro-Scale Flood Hazard Assessment In Phnom Penh, Cambodia, Naichy Sea Jan 2018

Micro-Scale Flood Hazard Assessment In Phnom Penh, Cambodia, Naichy Sea

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Water-related disasters in urban area, especially urban floods have become more frequent and severe. This leads to loss of life, infrastructure damage, business interruption as well as difficulties in conducting daily activities. Phnom Penh, the capital city of Cambodia, has frequently experienced significant rainfall-flood events during rainy season. Without proper prevention and mitigation and management of urban drainage system, Phnom Penh is expected to confront with the current and future challenge of water-related disaster. To address this urban flood issue, flood modeling could be used to assess flood severity and make a visual representation of the urban flood hazard as …


Micro-Scale Flood Hazard Assessment In Phnom Penh, Cambodia, Naichy Sea Jan 2018

Micro-Scale Flood Hazard Assessment In Phnom Penh, Cambodia, Naichy Sea

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Water-related disasters in urban area, especially urban floods have become more frequent and severe. This leads to loss of life, infrastructure damage, business interruption as well as difficulties in conducting daily activities. Phnom Penh, the capital city of Cambodia, has frequently experienced significant rainfall-flood events during rainy season. Without proper prevention and mitigation and management of urban drainage system, Phnom Penh is expected to confront with the current and future challenge of water-related disaster. To address this urban flood issue, flood modeling could be used to assess flood severity and make a visual representation of the urban flood hazard as …


การจำลองการรั่วไหลของน้ำมันบริเวณชายฝั่งทะเลระยอง, พงษ์สิทธิ์ ผลสมบูรณ์ Jan 2018

การจำลองการรั่วไหลของน้ำมันบริเวณชายฝั่งทะเลระยอง, พงษ์สิทธิ์ ผลสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การรั่วไหลของน้ำมันในทะเลส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การคาดการณ์การเคลื่อนตัวของน้ำมันที่รั่วไหลในทะเล จำเป็นต้องทราบการไหลเวียนของกระแสน้ำจึงจะทำให้การคาดการณ์ตำแหน่งที่น้ำมันจะเคลื่อนที่ไปได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามการได้มาของข้อมูลกระแสน้ำและลม ใช้วิธีการเก็บแบบตำแหน่งซึ่งไม่ครอบคลุมทั้งพื้นที่ จึงประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการจำลองการไหลเวียนของกระแสน้ำที่ปรับเทียบกับข้อมูลตรวจวัดในการจำลองการไหลเวียนของกระแสน้ำในพื้นที่ศึกษา การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจำลองการรั่วไหลของน้ำมันบริเวณชายฝั่งทะเลระยอง โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยแบบจำลองย่อย 3 ชนิด คือ แบบจำลอง SWAN ใช้ในการจำลองคลื่นที่เกิดจากลม, แบบจำลอง Delft3D ใช้ในการจำลองกระแสน้ำเนื่องจากน้ำขึ้นน้ำลงและคลื่นลม และแบบจำลอง GNOME ใช้ในการจำลองการรั่วไหลของน้ำมันบริเวณชายฝั่งทะเลระยอง โดยในการจำลองการรั่วไหลของน้ำมัน จะแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกจำลองคลื่นและกระแสน้ำในอ่าวไทย เพื่อนำกระแสน้ำสุทธิมาใช้ในการคาดการณ์การเคลื่อนที่ของน้ำมันที่รั่วไหลในส่วนที่สองต่อไป แบบจำลอง SWAN ถูกสอบเทียบด้วยข้อมูลความสูงคลื่นนัยสำคัญจากทุ่นสมุทรศาสตร์ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 - พ.ศ.2545 จำนวน 6 สถานี ส่วนแบบจำลอง Delft3D ใช้ข้อมูลระดับน้ำทำนายของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 – พ.ศ.2559 จำนวน 10 สถานี, ข้อมูลระดับน้ำตรวจวัดสถานีสันดอนเจ้าพระของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2556 และข้อมูลกระแสน้ำตรวจวัดรายชั่วโมงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 - พ.ศ.2556 จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ในการสอบเทียบกระแสน้ำจากน้ำขึ้นน้ำลงและกระแสน้ำสุทธิตามลำดับ ผลการศึกษากระแสน้ำพบว่า อิทธิพลหลักที่มีผลต่อการไหลเวียนของกระแสน้ำในอ่าวไทยคือน้ำขึ้นน้ำลง แต่ก็มีบางพื้นที่ที่คลื่นลมมีอิทธิพลด้วยซึ่งจะมีผลในบริเวณที่เป็นน้ำตื้น เช่น สถานีเกาะสีชัง เป็นต้น การสอบเทียบแบบจำลอง GNOME ใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในช่วงที่เกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วบริเวณเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2556 ผลจากการศึกษาด้วยแบบจำลอง GNOME พบว่าทิศทางการเคลื่อนที่ของน้ำมันสอดคล้องกับทิศทางของลม โดยในช่วงฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ น้ำมันจะเคลื่อนตัวออกจากชายฝั่งทะเลระยองไปในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนในช่วงเปลี่ยนฤดูลมมรสุมและช่วงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ น้ำมันจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งทะเลระยอง เช่นบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด เป็นต้น ทั้งนี้ตำแหน่งและเวลาที่น้ำมันเคลื่อนตัวกระทบชายฝั่งจะขึ้นอยู่กับความเร็วและทิศทางของลม โดยในเดือนพฤษภาคมจะมีความเสี่ยงที่การรั่วไหลของน้ำมันเคลื่อนตัวกระทบชายฝั่งระยองเร็วที่สุดในรอบปี จึงควรมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ


สมบัติเชิงกลของมอร์ตาร์เสริมท่อนาโนคาร์บอนและเส้นใยพอลิโพรไพลีนภายหลังอุณหภูมิสูง, นราธิป บุญชู Jan 2018

สมบัติเชิงกลของมอร์ตาร์เสริมท่อนาโนคาร์บอนและเส้นใยพอลิโพรไพลีนภายหลังอุณหภูมิสูง, นราธิป บุญชู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้ท่อนาโนคาร์บอนและเส้นใยพอลิ โพรไพลีน (PP) ต่อการต้านทานสภาวะเพลิงไหม้ของปอร์ตแลนด์ซีเมนต์มอร์ตาร์โดยตัวอย่างจะถูก น าไปเผาที่อุณหภูมิ400 ถึง 1,000 องศาเซลเซียส และประเมินความต้านทานต่อสภาวะเพลิงไหม้ โดยท าทดสอบหาค่าก าลังคงค้างและตรวจสอบการหลุดล่อนของตัวอย่าง ในการศึกษานี้จะใช้ท่อ นาโนคาร์บอนแบบผนังหลายชั้นผสมในปริมาณ 0%, 0.1%, 0.25% และ 0.50% โดยน้ าหนักของ ซีเมนต์ในขณะที่การผสมเส้นใย PP ในปริมาณร้อยละ 0.2 (โดยปริมาตร) มีวัตถุประสงค์เพื่อลด การหลุดล่อนของมอร์ตาร์ส าหรับส่วนผสมที่ไม่มีเส้นใย PP ผลการทดสอบบ่งชี้ว่าการผสมท่อนาโน คาร์บอน 0.1% สามารถเพิ่มก าลังอัดได้ร้อยละ 8 นอกจากนั้นยังพบว่ามอร์ตาร์ที่ผสมท่อนาโน คาร์บอนร้อยละ 0.1 มีก าลังดัดมากที่สุดซึ่งมีค่าเท่ากับ 12.22 MPa หลังจากการสัมผัสความร้อนที่ อุณหภูมิสูงพบว่าก าลังรับแรงของตัวอย่างมีค่าลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตัวอย่างสัมผัสกับความ ร้อนที่อุณหภูมิ1,000 องศาเซลเซียส จะพบว่าก าลังอัดของมอร์ตาร์มีค่าคงค้างอยู่ในช่วงร้อยละ 6.63 ถึง 12.60 อย่างไรก็ตามการผสมเส้นใย PP สามารถช่วยลดการหลุดล่อนของมอร์ตาร์ได้


ผลของความเข้มข้นซีโอดีและพื้นที่ผิวตัวกลางต่อระบบถังกรองไร้อากาศและถังกรองทรายชีวภาพ, พิมพ์พิสุทธิ์ หงส์ชยางกูร Jan 2018

ผลของความเข้มข้นซีโอดีและพื้นที่ผิวตัวกลางต่อระบบถังกรองไร้อากาศและถังกรองทรายชีวภาพ, พิมพ์พิสุทธิ์ หงส์ชยางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของความเข้มข้นซีโอดีต่ำต่อประสิทธิภาพของระบบถังกรองไร้อากาศและถังกรองทรายชีวภาพ และผลของพื้นที่ผิวตัวกลางต่อการบำบัดน้ำเสียด้วยถังกรองไร้อากาศ โดยออกแบบถังกรองไร้อากาศจำนวน 4 ถังต่อเป็นอนุกรม มีระยะเวลาเก็บกักถังละ 0.5 วัน รวม 2 วัน ตามด้วยถังกรองทรายชีวภาพ ภายในบรรจุชั้นทรายความสูง 60 ซม. และมีท่อระบายอากาศด้านล่าง เพื่อกรองเอาตะกอนออกจากน้ำทิ้งของระบบกรองไร้อากาศและกำจัดกลิ่นโดยให้น้ำไหลสัมผัสกับอากาศในชั้นทราย ใช้น้ำเสียสังเคราะห์ซึ่งเตรียมจากน้ำตาลทราย (ซูโครส) ที่ความเข้มข้น 1,500 1,000 500 และ 200 มก.ซีโอดี/ล. มีอัตราการไหลเข้าของน้ำเสีย 31.2 ล./วัน ผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีของระบบโดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 92-98 โดยเป็นประสิทธิภาพของถังกรองไร้อากาศร้อยละ 70-95 ซึ่งประสิทธิภาพส่วนใหญ่ เกิดขึ้นภายในถังแรกของถังกรองไร้อากาศซึ่งมีระยะเวลากักพักน้ำเสีย 0.5 วัน คิดเป็นร้อยละ 70-89 ผลการทดลองพบว่าเมื่อลดพื้นที่ผิวตัวกลางภายในถังกรองไร้อากาศลง จนไม่เหลือตัวกลางอยู่ ที่ระยะเวลาเก็บกักน้ำ 0.5 วัน ระบบยังมีอัตราการบำบัดซีโอดี 629.22 มก.ซีโอดี/ล-วัน และตัวกลางภายในระบบจะช่วยเพิ่มอัตราการบำบัดของระบบ 122.84 มก.ซีโอดี/ล.-ตร.ม.-วัน นอกจากนี้ถังกรองทรายชีวภาพยังสามารถกรองตะกอนแขวนลอยที่หลุดออกมาจากน้ำทิ้งของถังกรองไร้อากาศจนผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ต่ำกว่า 30 มก./ล. และพบว่ามีไนเตรทที่เกิดขึ้นจากถังกรองทรายชีวภาพ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนจากสภาวะไร้อากาศมาเป็นสภาวะที่มีอากาศ และการย่อยสลายสารอินทรีย์จนเกือบหมดจนเกิดกระบวนการไนตริฟิเคชัน


Acclimatization And Application Of Biofilters For Nitrogen Removal In Marine Recirculating Shrimp Culture System, Penpicha Satanwat Jan 2018

Acclimatization And Application Of Biofilters For Nitrogen Removal In Marine Recirculating Shrimp Culture System, Penpicha Satanwat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research involved in the complete nitrogen removal in marine recirculating aquaculture system (RAS) through sequential nitrification and denitrification processes using internal biofilter within a single tank. The study was divided into two experimental parts. The first study was to estimate the effects of salinity (5, 15 and 25 PSU) and stocking density (50 and 100 shrimp m-2) on nitrification and denitrification efficiencies, as well as on microbial diversity in the biofilm. Also, the nitrogen removal efficiencies of fibrous BiocordTM biofilter and Japanese filter mat were compared. Results showed that the nitrification was stimulated in low-salinity (5 PSU) system with …


การซึมผ่านของอนุภาคไอทะเลในตัวอย่างมอร์ตาร์ผสมเถ้าลอยต่างชนิดในบริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย, นันทวิทย์ อาษานอก Jan 2018

การซึมผ่านของอนุภาคไอทะเลในตัวอย่างมอร์ตาร์ผสมเถ้าลอยต่างชนิดในบริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย, นันทวิทย์ อาษานอก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศไทยที่ห้อมล้อมไปด้วยชายฝั่งทะเล อีกทั้งยังตั้งอยู่ในสภาวะอากาศร้อนชื้น ด้วยปัจจัยเหล่านี้ทำให้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กบริเวณชายฝั่งประเทศไทยนั้นมีแนวโน้มที่จะเสื่อมสภาพเนื่องจากการเกิดสนิมของเหล็กเสริมภายในเนื้อคอนกรีต อันเนื่องมาจากคลอไรด์ แม้ว่าโครงสร้างนั้นจะไม่ได้สัมผัสกับน้ำทะเลโดยตรง งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาความเข้มข้นของละอองคลอไรด์ในจังหวัดพังงาในระยะเวลา 84 วัน และจังหวัดชลบุรีในระยะเวลา 353 วัน โดยการใช้ตัวอย่างมอร์ตาร์ขนาด 10 ซม.x10 ซม.x10 ซม. ที่ผสมเถ้าลอยชนิดทั้งสิ้น 3 ชนิด ได้แก่ เถ้าลอยแม่เมาะ (class C), เถ้าลอย BLCP (class C) และเถ้าลอยจากประเทศญี่ปุ่น (class C) โดยการใช้เถ้าลอยทดแทนซีเมนต์ในปริมาณ 30% โดยน้ำหนัก ควบคุม w/b = 0.55 ในทุกสัดส่วนผสม และบ่มในน้ำเป็นระยะเวลาทั้ง 28 วัน การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลปริมาณคลอไรด์สะสมในแต่ละชั้นความลึก รวมทั้งศึกษาผลกระทบของเนื่องจากการชะล้างของคลอไรด์ที่ผิวหน้า(washout effect) อีกประการหนึ่งจากการศึกษาพบว่าเถ้าลอยที่นำมาใช้นั้น ถึงแม้ว่าจัดอยู่ในประเภทเดียวกันตามมาตรฐาน ASTM แต่ผลการซึมผ่านของคลอไรด์เข้าไปในมอร์ต้านั้นมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังพบว่าการชะล้างคลอไรด์ที่ผิวหน้าที่มีผลกระทบต่อปริมาณคลอไรด์ที่ผิวหน้าผ่านการวิเคราะห์จากปริมาณน้ำฝนสะสมในจังหวัดพังงา