Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Business

Chulalongkorn University

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Entire DC Network

การรับรู้ และทัศนคติของผู้ที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวงต่อภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล : กรณีศึกษา การลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายในทะเล และการทำประมงผิดกฎหมาย, ณโรจ ศรีวชิรวัฒน์ Jan 2022

การรับรู้ และทัศนคติของผู้ที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวงต่อภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล : กรณีศึกษา การลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายในทะเล และการทำประมงผิดกฎหมาย, ณโรจ ศรีวชิรวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษา “การรับรู้ และทัศนคติของผู้ที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวงต่อภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล : กรณีศึกษา การลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายในทะเล และการทำประมงผิดกฎหมาย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคลกับการรับรู้และทัศนคติ ที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และภารกิจในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และความคิดเห็นในการปฏิบัติภารกิจ ด้านการรักษากฎหมายในทะเล ในเรื่องการลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายในทะเล และการทำประมงผิดกฎหมาย การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามคือนายทหารสัญญาบัตรที่สำเร็จการศึกษา จากโรงเรียนนายเรือ ที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานในเรือหลวงตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป จำนวน 135 คน โดยใช้แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างข้าราชการที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวงมีความคิดเห็นต่อการรับรู้เกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเลโดยรวมอยู่ในระดับสูง และลักษณะส่วนบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้เกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล สำหรับระดับทัศนคติเกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของข้าราชการที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวง รวมอยู่ในระดับสูง ในส่วนของชั้นยศและระยะเวลาปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การแก้ไขปัญหาโรฮิงญาในมิติความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล, บุษยพรรณ ถิตานนท์ Jan 2021

การแก้ไขปัญหาโรฮิงญาในมิติความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล, บุษยพรรณ ถิตานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประเด็นปัญหาที่แท้จริงของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญา (2) เพื่อศึกษาผลกระทบของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาทางทะเลต่อความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล และ (3) เพื่อศึกษาหาแนวทาง และวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการ แก้ไขปัญหาของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างยั่งยืน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลปัญหาการลักลอบเข้าเมือง รวมทั้งทำการศึกษา ค้นคว้าแนวคิดและทฤษฎี รวมถึงเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการออกแบบคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า การหลบหนีเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโดยใช้เส้นทางทางทะเลมากขึ้น แต่ลดการแวะพักในประเทศไทยน้อยลง โดยมีต้นทางจากรัฐยะไข่ ประเทศพม่า ไปยังประเทศปลายทาง ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย หรือประเทศอินโดนีเซีย ใช้ประเทศไทยเป็นทั้งทางผ่านและปลายทางเช่นเดียวกัน ซึ่งสาเหตุของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญานั้นเปลี่ยนแปลงจากเหตุผลด้านเศรษฐกิจมาเป็นด้านของสิทธิ สถานะพลเมือง และการกดขี่ รวมถึงการใช้ความรุนแรง ซึ่งมีต้นเหตุมาจากประเทศต้นทาง โดยงานวิจัยในครั้งนี้สามารถสรุปถึงผลกระทบการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาต่อความมั่นคงของชาติทางทะเลได้ว่า มีผลกระทบในเชิงลบระดับปานกลาง โดยมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการใช้ประโยชน์จากทะเล แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมข้ามชาติ ขบวนการค้ามนุษย์ การใช้เรือไม่ชักธง และการหลบหนีเข้าเมืองทางทะเลซึ่งเป็นผลสืบเนื่องต่อความมั่นคงทางบก


การประเมินตัวชี้วัดการขนส่งผลไม้สำหรับส่งออกบนเส้นทาง R3a กรณีศึกษาบริษัทขนส่ง Abc, ปรียาพร สายตา Jan 2020

การประเมินตัวชี้วัดการขนส่งผลไม้สำหรับส่งออกบนเส้นทาง R3a กรณีศึกษาบริษัทขนส่ง Abc, ปรียาพร สายตา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นพัฒนาตัวชี้วัดด้านการขนส่งผลไม้ผ่านระบบคอนเทนเนอร์ทำความเย็น บนเส้นทาง R3A ผ่านการทบทวนวรรณกรรมจำนวน 20 งานวิจัย เพื่อมาช่วยในการกำหนดปัจจัยเชิงโลจิสติกส์ที่สำคัญในการนำมาสู่การกำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดปัจจัยหลักเชิงโลจิสติกส์จากปัจจัย 3 มิติของสำนักโลจิสติกส์ ได้แก่ มิติต้นทุน 1 ตัวชี้วัด มิติเวลา 2 ตัวชี้วัดและมิติความเชื่อถือได้ 4 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดสร้างมาจากการสนทนากลุ่ม ระดมความคิดจากคณะผู้บริหารระดับสูงของบริษัทขนส่ง ABC และกำหนดค่าน้ำหนักผ่านกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) ที่ให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คนประเมินความสำคัญของปัจจัย ซึ่งสามารถสรุปลำดับความสำคัญตามค่าน้ำหนักของปัจจัยหลักจากมากไปน้อยดังนี้ มิติด้านต้นทุน (47%) มิติด้านความเชื่อถือได้ (36%) และมิติด้านเวลา (17%) เมื่อทำการเก็บข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี พบว่าบริษัทขนส่ง ABC มีคะแนนตัวชี้วัดเต็ม 5 คะแนน ได้แก่ ความสามารถในการส่งมอบสินค้าตรงเวลา อัตราความเสียหายของตู้ทำความเย็นที่เสียระหว่างการขนส่ง และอัตราการเกิดอุบัติเหตุของรถขนส่ง ทางด้านตัวชี้วัดที่บริษัทควรให้ความสำคัญ ได้แก่ อัตราการวิ่งเที่ยวเปล่า 2.75 คะแนน สุดท้ายภาพรวมของการประเมินตัวชี้วัดการขนส่งบริษัทขนส่ง ABC เฉลี่ยทั้ง 3 ปีอยู่ที่ 4.38 คะแนน แม้ว่าการประเมินผลโดยรวมจะอยู่ในระดับดีมาก แต่ยังพบว่ายังมีตัวชี้วัดบางตัวที่บริษัทยังไม่สามารถจัดการได้ดีเท่าที่ควร ดังนั้นบริษัทควรให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นเพื่อลดผลกระทบและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


นวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้งของเกษตรกรรายย่อยภายใต้กลุ่มสหกรณ์, ธนภัทร ยีขะเด Jan 2018

นวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้งของเกษตรกรรายย่อยภายใต้กลุ่มสหกรณ์, ธนภัทร ยีขะเด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมด้านสารสนเทศต่อการสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยภายใต้กลุ่มสหกรณ์ 2) พัฒนาต้นแบบนวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้ง 3) ศึกษาการยอมรับการใช้งานนวัตกรรม และ 4) การนำนวัตกรรมต้นแบบไปสู่เชิงพาณิชย์ โดยในการวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านสารสนเทศในการจัดการฟาร์มและสนับสนุนการตัดสินใจ และการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจำนวน 90 ตัวอย่าง และการพัฒนาตัวแบบพยากรณ์ราคากุ้งเพื่อใช้สนับสนุนการวางแผนและตัดสินใจจากชุดข้อมูลราคากุ้งและข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องย้อนหลัง 5 ปี (2557-2561) จำนวน 830 ชุดข้อมูล โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอย และได้นำโมเดลพยากรณ์ราคากุ้งมาพัฒนาระบบวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจด้านการเงินและจัดการข้อมูลการเลี้ยงกุ้งผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น จากนั้นได้ศึกษาการยอมรับการใช้งานและแนวทางการนำนวัตกรรมต้นแบบสู่เชิงพาณิชย์ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งภายใต้กลุ่มสหกรณ์ใช้สารสนเทศในการวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจบนพื้นฐานของ 7 งานหลักคือ การเลือกแหล่งที่ตั้งของฟาร์ม การวางแผนธุรกิจเลี้ยงกุ้ง การจัดการบ่อเลี้ยง การจัดการกุ้ง การจัดการด้านการเงิน การจัดการฟาร์ม และการจัดการชุมชน สังคมหรือกลุ่มเกษตรกร และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง พบว่า ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความคาดหวังต่อความพยายาม อิทธิพลจากสังคม การสนับสนุนของทรัพยากร และอำนาจของผู้มีส่วนร่วม มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีที่ระดับ 51.4% 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับโมเดลพยากรณ์ราคากุ้งพบว่า ราคากุ้ง = -1759.426-1.066(ขนาดของกุ้ง)+9.881(อัตราเงินเฟ้อ)+11.135(ดัชนีราคาผู้ผลิต)-1.835(ดัชนีราคาผู้ผลิตภาคเกษตรกรรม) +1.863(อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา)+0.002(อัตราผลิตกุ้งขาวแวนนาไมรวม)-1.864(ราคาน้ำมันดีเซล)+42.448(ถ้าเป็นเดือนมกราคม)+53.286 (ถ้าเป็นเดือนกุมภาพันธ์)+30.325(ถ้าเป็นเดือนมีนาคม)+2.057(ถ้าเป็นเดือนเมษายน)-20.070(ถ้าเป็นพฤษภาคม)-10.085(ถ้าเป็นเดือนมิถุนายน)-3.180(ถ้าเป็นเดือนกรกฎาคม)-3.320 (ถ้าเป็นเดือนสิงหาคม)-11.835(ถ้าเป็นเดือนกันยายน)-30.390(ถ้าเป็นเดือนตุลาคม)-11.835(ถ้าเป็นเดือนพฤศจิกายน) ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลต่อราคากุ้งร้อยละ 89.7 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 โดย โมเดลพยากรณ์ราคากุ้งนี้ได้นำมาพัฒนาเป็นโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจทางด้านการเงินของผู้เลี้ยงกุ้งภายใต้ชื่อ Smart Aqua 3) จากการสอบถามทัศนคติจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานนวัตกรรมต้นแบบจำนวน 30 ตัวอย่าง พบว่ามีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบในด้านความสามารถของระบบ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านความปลอดภัย ด้านการรับรู้ประโยชน์ของระบบ ด้านการสนับสนุนทรัพยากรและข้อมูล ทัศนคติต่อการใช้ และการยอมรับการใช้ในระดับพอใจมากและ 4) การให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียวเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดในการนำนวัตกรรมต้นแบบสู่เชิงพาณิชย์ โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาคืนทุน 3.5 ปี