Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Business

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2018

Articles 1 - 24 of 24

Full-Text Articles in Entire DC Network

Volume Components And Return Predictability In Abnormal Trading Events, Jetarin Charoenpornpoj Jan 2018

Volume Components And Return Predictability In Abnormal Trading Events, Jetarin Charoenpornpoj

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper examines return predictability of three types of trading volumes include total volumes, buy volumes and sell volumes in Thailand's stock market between 2012 to 2018. To measure predictability ability, we sort securities into group base on the level of trading volumes and type of volumes. We test and confirm that buy volumes and sell volumes can predict return one day after the abnormal trading event. Abnormal high buy volumes can predict positive next day return of that security while abnormal high sell volumes can predict negative next day return. In addition, we test and found that positive return …


Regulatory Change And Corporate Acquisitions, Arya Rishi Jan 2018

Regulatory Change And Corporate Acquisitions, Arya Rishi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis investigates the impact on foreign investment activities of the equity market liberalization introduced in response to the 1997 crisis, which primarily involves the relaxation of the foreign ownership restrictions as well as improvements in corporate governance practices. These regulatory changes, which occurred in Indonesia, the Philippines, Malaysia, and Thailand, should have resulted in a lower amount of frictions in the capital market. With this lowering of frictions, we should observe higher gains from cross-border corporate acquisitions in addition to a higher volume of cross-border acquisitions. When I use combined announcement excess returns to measure acquisition gains, I find …


Investor’S Hindsight Effect And True Timing Ability Of Tax Saving Mutual Funds, Krittapon Chaleoykitti Jan 2018

Investor’S Hindsight Effect And True Timing Ability Of Tax Saving Mutual Funds, Krittapon Chaleoykitti

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper analyze the cash flow timing ability of mutual fund investors both non-tax-saving and tax-saving funds which have constraints such as lock-up period to block investor's ability to make cash flow timing, after controlling for the hindsight effect. We analyze the sample of Thai mutual funds in the period of 2006-2017.
We find that investors have bad timing ability and make return underperformance. The tax-saving funds that have investment constraints to block investor's timing ability have better timing ability and tends to have smart money effect and make return over performance. In addition, volatility affect investors to increase the …


การพัฒนาเส้นทางการคมนาคมทางน้ำสำหรับเรือลำเลียงมีเครื่องยนต์เพื่อเชื่อมอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน, พีรดา ปิยะสกุลแก้ว Jan 2018

การพัฒนาเส้นทางการคมนาคมทางน้ำสำหรับเรือลำเลียงมีเครื่องยนต์เพื่อเชื่อมอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน, พีรดา ปิยะสกุลแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นผลการศึกษาในด้านระยะทาง ระยะเวลา ต้นทุนของการดำเนินงานของเรือ ความคิดเห็นและทัศนคติของผู้ให้บริการขนส่งทางทะเลด้วยเรือลำเลียงมีเครื่องยนต์ขนาดไม่เกิน 5,000 DWT และหน่วยงานของรัฐและองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องเพื่อเชื่อมอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน โดยเส้นทางที่ทำการศึกษานี้ยกเส้นทางแนวคลองไทย 7A (ตอนบนของทะเลสาปสงขลา จ.พังงา – ตอนใต้ของ อ.กันตัง จ.ตรัง) เพื่อทำการศึกษาซึ่งเป็นเส้นทางที่ใช้ทะเลสาบสงขลาตอนบนเป็นแนวคลองธรรมชาติทาง และการศึกษานี้จะไม่กล่าวถึงการคำนวณต้นทุนในเชิงวิศวกรรม โดยผู้วิจัยตั้งสมติฐานว่ามีเส้นทางคมนาคมทางน้ำอยู่แล้วในทำการวิจัยในเชิงพาณิชย์ ซึ่งศึกษาจากเรือลำเลียงติดเครื่องยนต์ที่มีการให้บริการในปัจจุบันขนาดไม่เกิน 5,000 DWT ผู้วิจัยศึกษาโดยการสร้างแบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการและผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเลถึงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ และสรุปถึงข้อเท็จจริงจากการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า (1) เส้นที่ทำการศึกษาเส้นทางนี้สามารถลดระยะทาง ระยะเวลาและต้นทุนการปฏิบัติงานของเรือได้เป็นอย่างมากและสามารถนำไปเป็นแนวทางในการกำหนดค่าภาระผ่านคลองที่เหมาะสม (2) ความคิดเห็นข้อเสนอแนะของผู้ให้บริการขนส่งทางทะเลด้วยเรือลำเลียงมีเครื่อยนต์ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในเรื่องการลดต้นทุนและการเพิ่มความถี่ในการเดินเรือ อีกทั้งมีความต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนการขนส่งสินค้าทางทะเลทั้งเชิงนโยบาย สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี (3) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาครัฐและองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องบางส่วนไม่เห็นด้วยเนื่องจากมีข้อกังวลในด้านแนวโน้มของขนาดจเรือที่เพิ่มขึ้น อุปสงค์และอุปทานของเส้นทางการเดินเรือ อีกทั้งในด้านกฎหมายความมั่นคง และสิ่งแวดล้อมจากการมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเส้นทางนี้


แบบจำลองการประเมินการบริหารจัดการความยั่งยืนเชิงดุลยภาพของรัฐวิสาหกิจไทย, ณัฏฐวี เฉลิมวิวัฒน์กิจ Jan 2018

แบบจำลองการประเมินการบริหารจัดการความยั่งยืนเชิงดุลยภาพของรัฐวิสาหกิจไทย, ณัฏฐวี เฉลิมวิวัฒน์กิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่แล้วรัฐวิสาหกิจจะเป็นองค์กรของรัฐที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศควบคู่หรือทดแทนภาคเอกชนที่อาจไม่สามารถดำเนินงานข้างต้นได้อย่างเต็มที่เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ทางธุรกิจเป็นสำคัญ วิทยานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาดัชนีรวม สำหรับชี้วัดความยั่งยืนของรัฐวิสาหกิจไทย และเนื่องจากปัจจุบันยังไม่พบการศึกษาที่ระบุนิยามและปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของรัฐวิสาหกิจภายใต้บริบทของสังคมไทย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่ครอบคลุมถึงการกำหนดนิยามและปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของรัฐวิสาหกิจไทยที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมอันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาแบบจำลองด้วยเช่นกัน โดยการพัฒนาดัชนีรวมนี้ประยุกต์ตามแนวทางการสร้างดัชนีรวม ของ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และดำเนินการวิจัยด้วยกระบวนการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ไอเอสโอ 26000 หลักการของการประเมินความยั่งยืนเชิงดุลยภาพ และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นแนวคิดเชิงจริยศาสตร์และสังคมศาสตร์ซึ่งทำให้งานวิจัยนี้มีความแตกต่างไปจากงานวิจัยอื่นที่อาศัยหลักการพัฒนาความยั่งยืนของประเทศที่พัฒนาแล้ว ก่อนนำปัจจัยที่ได้ไปดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง และทำการทดสอบความสัมพันธ์เชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากรัฐวิสาหกิจไทยจำนวน 52 แห่ง นำมาทดสอบความสัมพันธ์เชิงสถิติด้วยวิธีการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน หลังจากนั้นจึงได้ทดสอบความเที่ยงตรงและการยอมรับจากรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานกำกับดูแลภาครัฐ และจัดทำกรณีศึกษารัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง ดัชนีรวมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 กลุ่ม ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์และเสริมสร้างความผูกพันพนักงาน การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคและความท้าทายเพื่อบริหารความยั่งยืน การจัดการทรัพยากรที่ส่งผลต่อความยั่งยืน การกำกับดูแลกิจการที่ดี และการบริหารสมรรถนะด้านจริยธรรม ทั้งนี้ ดัชนีรวมนี้มีความโดดเด่นที่ความสมดุลโดยครอบคลุมตั้งแต่ภาวะผู้นำ กระบวนการปฏิบัติงาน จนถึงพฤติกรรมการทำงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจ


Mutual Fund Performance And Persistence Evaluationevidence From Thai Local And Foreign Luxembourg Ucits, Bruno Fourquin Jan 2018

Mutual Fund Performance And Persistence Evaluationevidence From Thai Local And Foreign Luxembourg Ucits, Bruno Fourquin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper aims to compare the performance and persistence of equity Mutual Funds between Luxembourg equity UCITS (Undertakings for Collective Investment in Transferable Securities) and Thai equity Funds that are investing a minimum of 90% of their total portfolio in Thai equity market during a 5 years period (May 2013- April 2018). The tests are conducted via (i) static or unconditional measures including the Sharpe, Treynor, Jensen ratios; (ii) dynamic or conditional measures using Treynor-Mazuy, K. Shukla and Gregory B. van Inwegen indicators; (iii) control - robustness measures with Brown and Goetzmann, Murthi et al. performance persistence indices. The paper …


Why Stock Distribution Announcement Causes Abnormal Return, Napas Chailapakul Jan 2018

Why Stock Distribution Announcement Causes Abnormal Return, Napas Chailapakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research investigated empirically why stock distribution announcement causes abnormal return. For stock split companies, the evidences support that liquidity improvement could be the first possible reason of occurrence of abnormal return during announcement date. The main groups of investors who increase their trading activity are retail and foreign investors. This study also presents another reason that is the occurrence of abnormal return during effective date. It is possible that this abnormal return comes from the increasing of buying demand flow during effective date. However, this study does not discover the evidence which support those two reasons in stock dividend …


Essay On The Stickiness Of Selling, General, And Administrative Cost, Phattraphol Anekpong Jan 2018

Essay On The Stickiness Of Selling, General, And Administrative Cost, Phattraphol Anekpong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper provided evidences that costs management is affected by many factors and investors can use this knowledge to analyze the firm's cost management practices. Selling, General, and Administrative Costs (SG&A) appears to be sticky and showed that costs management is asymmetric. The cost stickiness occurs when the SG&A costs decrease by smaller percentage with revenue decrease compare to SG&A costs increase with revenue increase. This paper explored various factors that might have influence on the stickiness of SG&A costs using linear regression. Factors such as managerial ownership and ownership concentration are found to decrease cost stickiness in different periods. …


The Effects Of Increased Transparency On Market Liquidity : Empirical Evidence From Thai Bond Market, Tanamard Patana-Anek Jan 2018

The Effects Of Increased Transparency On Market Liquidity : Empirical Evidence From Thai Bond Market, Tanamard Patana-Anek

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

To increase transparency, Thai Bond Market Association (ThaiBMA) issues the notification of disclosure of transaction information and control for post-trade deferred publication. Dealers are required to report all required trading information to ThaiBMA within 30 minutes after execution for public dissemination. The rules are issued for improved the market efficiency and increased customer activity. Moreover, ThaiBMA issues the penalty for Late Transaction to punish dealer. However, increasing transparency leads to an improvement on market liquidity. This paper examines the effect of post-trade transparency on market liquidity in the Thai bond market, measured by bid-offer quoted in terms of their yield …


Mergers And Acquistion : The Effect Of Announcement Date On Abmormal Return In Asia, Theedanai Snguanwongchai Jan 2018

Mergers And Acquistion : The Effect Of Announcement Date On Abmormal Return In Asia, Theedanai Snguanwongchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Merger and acquisition (M&A) is an ideal option to reduce business's risk of investment, gain stronger market penetration and wealth maximization. In this study, event study was performed to see the effect of abnormal return from M&A on Asian countries, including Indonesia, Thailand, Malaysia, Hong Kong and Singapore with sampling period between 2010 to 2017. From the result of the test, it was found that M&A creates positive value for acquirer firms in Asia. The semi strong form of Efficient Market Hypothesis (EMH) was examined by looking at the leakage of information prior to the announcement and market's reaction after …


Immersive Learning To Enhance International Exposure In Thai Technopreneurs, Siripen Buranapatimakorn Jan 2018

Immersive Learning To Enhance International Exposure In Thai Technopreneurs, Siripen Buranapatimakorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The ability of Thai technopreneurs to build the right technology product in the right market and to acquire funding is closely tied to their international exposure. However, many lack the financial resources required to obtain international exposure, putting them at a disadvantage in confidence and communication skill at international level. This research explores an affordable and effective solution for providing simulated international exposure to technopreneurs via immersive learning technology. Virtual reality (VR) is an immersive technology that provides a computer-generated three-dimensional environment, in which people can physically and mentally interact. This research investigates the feasibility of employing VR technology as …


System For Styling Apparels That Match With Occasion Wearing Via E-Commerce Channel Using Machine Learning, Yongplut Yeing-Aramkul Jan 2018

System For Styling Apparels That Match With Occasion Wearing Via E-Commerce Channel Using Machine Learning, Yongplut Yeing-Aramkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This work studies the factors effecting the selection of apparels according to fashion styling via an e-commerce platform in order to build an automatic system for suggesting proper apparel concurred with the customers' preferences. The factors obtained from interviewing experts in the fashion area found that cloth items, apparel colors, skin colors, and body shape are the main factors effecting the selection of fashion styling via an e-commerce platform. These discovered factors were used to partition a set of experimental fashion styling apparel and also to construct a set of suggesting rules based on different values of each factor. The …


การศึกษาพัฒนาการด้านโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย, วีรชัย อู๋สมบูรณ์ Jan 2018

การศึกษาพัฒนาการด้านโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย, วีรชัย อู๋สมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมมีบทบาทอย่างยิ่งในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยพิบัติ งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาเชิงสำรวจโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมในการโต้ตอบภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยใช้เหตุอุทกภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยาช่วง พ.ศ. 2555 – 2560 เป็นกรณีศึกษา การวิเคราะห์เนื้อหาจากบทความความข่าวชี้ให้เห็นว่าหน่วยงานที่มีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ดำเนินการเชิงโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมมากขึ้นนับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการประกาศใช้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติฉบับ พ.ศ. 2558 การศึกษาครั้งนี้ยังเผยให้เห็นว่า การประเมินและการวางแผน เป็นกระบวนการเชิงโลจิสติกส์เพื่อโต้ตอบภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีจำนวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากที่สุด อย่างไรก็ตาม เนื้อหาข่าวกลับไม่กล่าวถึงการยุติความช่วยเหลือเท่าใดนักในกระบวนการบรรเทาภัยพิบัติ ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ช่วยส่งเสริมความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นต่อการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย ก่อประโยชน์แด่ทั้งเชิงวิชาการและเชิงนโยบายด้านการจัดการภัยพิบัติในประเทศ โดยในเชิงวิชาการ งานวิจัยฉบับนี้นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นให้ศึกษากระบวนการโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมในขั้นตอนอื่นๆนอกเหนือจากการโต้ตอบภัย อันประกอบกันขึ้นเป็นวงจรการบริหารจัดการภัยพิบัติ ส่วนในเชิงนโยบาย การศึกษาชี้ให้เห็นว่าหากแผนชาติได้ระบุขอบเขตความรับผิดชอบของผู้มีอำนาจอย่างชัดเจนจะส่งผลต่อปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนเมื่อภัยเกิดขึ้น


สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาขยะจากระบบขนส่งสินค้าทางทะเล จากเรือขนส่งสินค้าและเรือลำเลียง บริเวณพื้นที่จอดทอดสมอเรือบริเวณเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี, ณัฏฐภรณ์ ระลึกมูล Jan 2018

สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาขยะจากระบบขนส่งสินค้าทางทะเล จากเรือขนส่งสินค้าและเรือลำเลียง บริเวณพื้นที่จอดทอดสมอเรือบริเวณเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี, ณัฏฐภรณ์ ระลึกมูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญญาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาขยะจากระบบการขนส่งสินค้าทางทะเล ขยะจากเรือสินค้าระหว่างประเทศและเรือลำเลียง ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของมลพิษทางทะเลแก่เกาะสีชัง ดังนั้นจำเป็นต้องมีการจัดการที่ดี เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลของไทยในระยะยาว เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ผลการวิจัยพบว่า 1) สำหรับเรือสินค้าระหว่างประเทศ ผลจากการไม่ได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลภาวะจากเรือ ค.ศ.1973 และพิธีสาร ค.ศ. 1978 ภาคผนวกที่ 5 ข้อบังคับเกี่ยวกับการป้องกันมลพิษจากขยะบนเรือ ทำให้ 1.1) ประเทศไทยไม่มีอำนาจในการตรวจเรือและบังคับใช้กฎหมายแก่เรือได้อย่างสมบูรณ์ และการดำเนินการในปัจจุบันพบว่าสิ่งอำนวยความสะดวกในการรองรับของเสียจากเรือสินค้าระหว่างประเทศไม่เพียงพอ 1.2) ประเทศไทยไม่สามารถกำหนดพื้นที่ให้เป็นพื้นที่พิเศษและพื้นที่ทะเลที่มีความอ่อนไหวเฉพาะ ที่จะดำเนินการออกกฎหมาย เพื่อป้องกัน ลด และควบคุมมลพิษจากเรือสินค้าระหว่างประเทศได้ และ 2) สำหรับเรือลำเลียง ประกอบด้วย 2.1) ไม่มีการออกกฎหมายที่บังคับเฉพาะเรือลำเลียง ไม่มีการกำหนดแผนในการจัดการขยะแก่เรือลำเลียง 2.2) สิ่งอำนวยความสะดวกในการรองรับของเสียจากเรือลำเลียงไม่เพียงพอ เนื่องจากกระบวนการจัดการขยะโดยเทศบาลตำบลเกาะสีชัง โดยนำขยะจากเรือลำเลียงไปกำจัดที่ศูนย์กำจัดขยะของเกาะสีชังที่ประสบปัญหาเรื่องขยะตกค้างและก่อมลพิษแก่ชุมชนบนเกาะสีชัง โดยข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1) สำหรับเรือสินค้าระหว่างประเทศ ไทยควรเข้าสู่การเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลภาวะจากเรือ ค.ศ.1973 และพิธีสาร ค.ศ. 1978 ภาคผนวกที่ 5 ข้อบังคับเกี่ยวกับการป้องกันมลพิษจากขยะบนเรือ เพื่อทำให้ 1.1) ประเทศไทยมีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่สามารถดำเนินการบังคับใช้และกำหนดข้อปฏิบัติแก่เรือสินค้าระหว่างประเทศที่เข้ามาเทียบท่า และเพื่อการจัดการเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับของเสียอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ 1.2) ทำให้ประเทศมีประกาศอ่าวไทยเป็นพื้นที่พิเศษและพื้นที่ทะเลที่มีความอ่อนไหวเฉพาะ ที่จะทำให้เกิดข้อบังคับพิเศษที่จะช่วยป้องกันมลพิษทางทะเลจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากทะเล และ 2) สำหรับเรือลำเลียง 2.1) ไทยควรออกกฎหมายข้อบังคับที่บังคับแก่เรือลำเลียงโดยตรง โดยกำหนดให้เรือลำเลียงมีแผนจัดการขยะ เช่น ข้อกฎหมายบังคับแก่บริษัทเจ้าของเรือลำเลียง ให้กองเรือลำเลียงแยกขยะก่อนนำไปกำจัด 2.2) ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่เพียงลำเลียงขนส่งขยะตามหลักสุขาภิบาล โดยให้หน้าที่การกำจัดขยะเป็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแทน และควรนำข้อแนะนำปฏิบัติจากอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลภาวะจากเรือ ค.ศ.1973 และพิธีสาร ค.ศ. 1978 ภาคผนวกที่ 5 มาปรับใช้กับกฎหมายภายใน เพื่อบังคับใช้แก่เรือลำเลียงและข้อกำหนดเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับของเสีย


ปัญหาและอุปสรรคในการขนส่งสินค้าประเภทข้าวสารด้วยเรือลำเลียงในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักของประเทศไทย, ปรารถนา รุ่งสุวรรณรัชต์ Jan 2018

ปัญหาและอุปสรรคในการขนส่งสินค้าประเภทข้าวสารด้วยเรือลำเลียงในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักของประเทศไทย, ปรารถนา รุ่งสุวรรณรัชต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการขนส่งสินค้าประเภทข้าวสารด้วยเรือลำเลียงในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักของประเทศไทย เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรครวมถึงหาแนวทางในการพัฒนาการขนส่งสินค้าทางน้ำเพื่อให้มีประสิทธิภาพและเกิดการขนส่งสินค้าทางน้ำอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้จะศึกษาโดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกจากผู้ส่งออกสินค้า, ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางน้ำด้วยเรือลำเลียงและผู้ให้บริการเรือลากจูงสินค้าในแม่น้ำ จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและอุปสรรค โดยเรียงลำดับจากปัญหามากที่สุดไปจนถึงปัญหาน้อยที่สุด ใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการขนส่งสินค้าประเภทข้าวสารด้วยเรือลำเลียงในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด ผลการศึกษาพบปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าทางน้ำด้วยเรือลำเลียงในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักมากที่สุด ได้แก่ มลภาวะ เช่น ฝุ่นละออง ควัน และเสียง มลภาวะจากเรือลำเลียงที่มีขยะเหลว ขยะแห้ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดมลภาวะขณะที่จอดเรือ ขณะเดินทาง จากอุบัติเหตุ และขณะการขนถ่ายสินค้า ปัญหารองลงมา ได้แก่ ความหนาแน่นและการจราจรตลอดเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก ซึ่งเกิดจากการเดินเรือได้เพียงช่องทางเดียว รวมถึงลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของแม่น้ำที่มีความลึก คดเคี้ยวและความโค้งในหลายแห่ง รวมถึงสะพานและสิ่งกีดขวางทางน้ำทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการลำเลียงขนส่งบรรทุกสินค้าทางน้ำและปัญหาคนประจำเรือ (สรั่งเรือ) ที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการขาดความรู้ความสามารถ สมควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน


การประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เพื่อเลือกวิธีการที่ช่วยในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ, ยุวลักษณ์ จุลปาน Jan 2018

การประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เพื่อเลือกวิธีการที่ช่วยในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ, ยุวลักษณ์ จุลปาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการนำเอากระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์มาประยุกต์ใช้ในการประเมินเพื่อเลือกวิธีการที่ช่วยในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ ใน 4 วิธีการ คือ เทคโนโลยีดาวเทียม เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ เซ็นเซอร์ใต้น้ำ และสถานีเรดาร์ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเกี่ยวข้องในวิธีการทั้ง 4 วิธีการ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือ โดยการให้คะแนนความสำคัญของแต่ละปัจจัย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาระดับความสำคัญของแต่ละปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการที่ช่วยในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ โดยการวินิจฉัยเปรียบเทียบความสำคัญของปัจจัยทีละคู่ และการให้คะแนนความสำคัญระหว่างวิธีการที่มีผลต่อแต่ละของผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้พบว่า ผู้ตัดสินใจให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการที่ช่วยในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ ใน 5 ลำดับแรก ตามลำดับ คือ ความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน ความเสี่ยงต่อการถูกโจมตี ความสะดวกในการใช้งาน ความน่าเชื่อถือของการใช้งาน และความเที่ยงตรงของข้อมูล สำหรับวิธีการที่เหมาะสมที่สุดที่ช่วยในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ คือ เทคโนโลยีดาวเทียม


การพัฒนาระบบจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา ร้านขายอุปกรณ์เสริมสวย, วลัยพรรณ อนันต์ธเนศ Jan 2018

การพัฒนาระบบจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา ร้านขายอุปกรณ์เสริมสวย, วลัยพรรณ อนันต์ธเนศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบจัดการสินค้าคงคลังของกิจการร้านขายอุปกรณ์เสริมสวยกรณีศึกษา ภายใต้ระดับการให้บริการที่ต้องการ จากการวิเคราะห์กระบวนการดำเนินงานการจัดการสินค้าคงคลังของร้านกรณีศึกษา พบว่าสินค้าแต่ละประเภทมีปริมาณความต้องการที่ไม่คงที่ และผลการดำเนินงานก่อให้เกิดปัญหาคือ บางครั้งเกิดการขาดแคลนสินค้าบางรายการในบางช่วง และในขณะเดียวกันบางรายการมีปริมาณสินค้าคงคลังมากเกินความต้องการ ดังนั้นในการวิจัยจึงได้เลือกตัวอย่างสินค้าจำนวน 20 รายการเพื่อพัฒนานโยบายสั่งซื้อ กระบวนการพัฒนานโยบายสั่งซื้อจะเริ่มจากการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของสินค้าตัวอย่าง จากนั้นวิเคราะห์ข้อจำกัดต่างๆ ในการกำหนดนโยบายสั่งซื้อของร้านกรณีศึกษา เพื่อกำหนดแนวทางการกำหนดนโยบายการสั่งซื้อ ในงานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้ตัวแบบปริมาณการสั่งซื้อคงที่ (Q) ร่วมกับจุดสั่งซื้อ (Reorder point) มาใช้ในการจัดการสินค้าคงคลังของร้านค้ากรณีศึกษา โดยพิจารณาเปรียบเทียบจากปริมาณการสั่งซื้ออย่างประหยัด (EOQ) เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ อีกทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลสินค้าคงคลัง เพื่อช่วยแสดงผลปริมาณสินค้าคงคลัง และการเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลัง ผลการทดสอบระบบที่พัฒนา โดยเปรียบเทียบกับวิธีการดำเนินงานปัจจุบันของร้านค้ากรณีศึกษา โดยใช้ข้อมูลการดำเนินงานในปี 2561 พบว่า สามารถลดระดับสินค้าคงคลังเฉลี่ยได้ถึง 56% ทำให้ต้นทุนถือครองโดยรวมลดลง 50% โดยยังคงสามารถตอบสนองต่อลูกค้าที่ระดับการให้บริการ 95% นอกจากนี้ระบบใหม่สามารถลดขั้นตอนการตรวจนับจำนวนสินค้าในคลัง ก่อนการรับเข้า เบิกจ่าย และสั่งซื้อ อย่างไรก็ตามควรมีรอบการตรวจนับจำนวนสินค้า เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการบันทึกสินค้าคงคลังของระบบ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แน่ใจในประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบใหม่ที่นำเสนอ


อิทธิพลของประเภทของกลุ่มอ้างอิงและประเภทของผู้บริโภคการกีฬาที่มีต่อความตั้งใจซื้อแบรนด์สินค้ากีฬา, ปัญจรัตน์ ปราณโสภณ Jan 2018

อิทธิพลของประเภทของกลุ่มอ้างอิงและประเภทของผู้บริโภคการกีฬาที่มีต่อความตั้งใจซื้อแบรนด์สินค้ากีฬา, ปัญจรัตน์ ปราณโสภณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทของกลุ่มอ้างอิงและประเภทของผู้บริโภคการกีฬาที่มีต่ออิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อแบรนด์สินค้ากีฬา โดยที่ประเภทของกลุ่มอ้างอิงกลุ่มปิด กลุ่มสาธารณะ และคนแปลกหน้า ส่วนประเภทผู้บริโภคการกีฬา ได้แก่ ผู้ชมกีฬาและผู้ที่มีส่วนร่วมในการกีฬา กลุ่มตัวอย่างคือบุคคลทั่วไปจำนวน 593 คน แบ่งเป็นผู้บริโภคการกีฬากลุ่มผู้บริโภคที่เป็นผู้ชมกีฬาจำนวน 309 คน และผู้บริโภคที่เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการกีฬาจำนวน 284 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยการวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย นอกจากนี้ยังหาค่าสถิติ โดยใช้ Structural Equation Modeling (SEM) เพื่อหาค่าความสัมพันธ์ และวิเคราะห์ผลด้วยโดยใช้ AMOS 22.0 เพื่อทดสอบสมมติฐานทั้ง 6 สมมติฐาน ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95 เปอร์เซ็นต์ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มอ้างอิงที่เป็นกลุ่มสาธารณะมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อแบรนด์สินค้ากีฬาของผู้บริโภคที่เป็นผู้ชมกีฬา ส่วนกลุ่มอ้างอิงประเภทกลุ่มปิดไม่มีอิทธิพล ผลที่ได้เป็นไปตามสมมติฐานที่ 2 และ 1 ตามลำดับ 2) กลุ่มอ้างอิงประเภทกลุ่มปิดมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อแบรนด์สินค้ากีฬาของผู้บริโภคที่เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการกีฬา ส่วนกลุ่มอ้างอิงที่เป็นกลุ่มสาธารณะไม่มีอิทธิพล ผลที่ได้เป็นไปตามสมมติฐานที่ 3 และ 4 ตามลำดับ 3) กลุ่มอ้างอิงที่เป็นคนแปลกหน้ามีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อแบรนด์สินค้ากีฬาของผู้บริโภคที่เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการกีฬา ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ 6 แต่ไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อแบรนด์สินค้ากีฬาของผู้บริโภคที่เป็นผู้ชมกีฬาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ 6


อิทธิพลของความนับถือศาสนาต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยว ความพึงพอใจ และความจงรักภักดีต่อจุดหมายปลายทาง, อนัสวีย์ แกล้วณรงค์ Jan 2018

อิทธิพลของความนับถือศาสนาต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยว ความพึงพอใจ และความจงรักภักดีต่อจุดหมายปลายทาง, อนัสวีย์ แกล้วณรงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความนับถือศาสนาต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยว ความพึงพอใจ และความจงรักภักดีต่อจุดหมายปลายทาง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 319 ชุด จากนักท่องเที่ยวชาวไทยมุสลิมในกรุงเทพมหานครด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา โดยแบ่งสัดส่วนตามเพศและช่วงอายุ ผลการศึกษาพบว่า การสงบจิตสงบใจ โครงสร้างพื้นฐานและความหลากหลายของสถานที่ท่องเที่ยว และความสะอาดและความปลอดภัยมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ในขณะที่ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวมีอิทธิพลทางบวกต่อความจงรักภักดีในจุดหมายปลายทาง และระดับของความนับถือศาสนาไม่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจผลักดันและแรงจูงใจดึงดูดที่มีต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ผลการศึกษาสามารถบอกข้อมูลกับผู้จัดการในการคิดผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวชาวไทยมุสลิมได้


ความสัมพันธ์ระหว่างการตีตราบาปทางสังคม เจตคติ และการสนับสนุนทางสังคมในเด็กสมาธิสั้น, ภาสกร คุ้มศิริ Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างการตีตราบาปทางสังคม เจตคติ และการสนับสนุนทางสังคมในเด็กสมาธิสั้น, ภาสกร คุ้มศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการตีตราบาปทางสังคม เจตคติ และการสนับสนุนทางสังคมในเด็กสมาธิสั้น ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะประชากร เจตคติ การสนับสนุนทางสังคมกับตัวแปรการตีตราบาปทางสังคม รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการลดการตีตราบาปทางสังคมในเด็กสมาธิสั้น ดำเนินการศึกษาโดยใช้เทคนิควิจัยเชิงปริมาณ สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่ายและแบ่งโควตา มีขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และทำการศึกษาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยเพียร์สันระหว่างตัวแปรเจตคติ และการสนับสนุนจากสังคมกับการตีตราบาปทางสังคม ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างครึ่งหนึ่งมีคะแนนเจตคติด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นอยู่ระดับเกณฑ์เฉลี่ย สำหรับเจตคติด้านอารมณ์ความรู้สึกพบว่าเป็นเชิงบวกต่อเด็กสมาธิสั้นมากกว่าลบ และมีพฤติกรรมแสดงออกที่ดีต่อเด็กสมาธิสั้นอยู่ในระดับมาก การตีตราบาปทางสังคมพบว่ามีคะแนนอยู่ในระดับน้อยทั้งภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ การมองเหมารวมโดยตัดสินจากภายนอก อคติ และการเลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ตัวแปรเจตคติมีความสัมพันธ์กับการตีตราบาปทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับการตีตราบาปทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับปัจจัยลักษณะประชากรไม่มีความสัมพันธ์กับระดับการตีตราบาปทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


นวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้งของเกษตรกรรายย่อยภายใต้กลุ่มสหกรณ์, ธนภัทร ยีขะเด Jan 2018

นวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้งของเกษตรกรรายย่อยภายใต้กลุ่มสหกรณ์, ธนภัทร ยีขะเด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมด้านสารสนเทศต่อการสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยภายใต้กลุ่มสหกรณ์ 2) พัฒนาต้นแบบนวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการฟาร์มกุ้ง 3) ศึกษาการยอมรับการใช้งานนวัตกรรม และ 4) การนำนวัตกรรมต้นแบบไปสู่เชิงพาณิชย์ โดยในการวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านสารสนเทศในการจัดการฟาร์มและสนับสนุนการตัดสินใจ และการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจำนวน 90 ตัวอย่าง และการพัฒนาตัวแบบพยากรณ์ราคากุ้งเพื่อใช้สนับสนุนการวางแผนและตัดสินใจจากชุดข้อมูลราคากุ้งและข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องย้อนหลัง 5 ปี (2557-2561) จำนวน 830 ชุดข้อมูล โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอย และได้นำโมเดลพยากรณ์ราคากุ้งมาพัฒนาระบบวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจด้านการเงินและจัดการข้อมูลการเลี้ยงกุ้งผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น จากนั้นได้ศึกษาการยอมรับการใช้งานและแนวทางการนำนวัตกรรมต้นแบบสู่เชิงพาณิชย์ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งภายใต้กลุ่มสหกรณ์ใช้สารสนเทศในการวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจบนพื้นฐานของ 7 งานหลักคือ การเลือกแหล่งที่ตั้งของฟาร์ม การวางแผนธุรกิจเลี้ยงกุ้ง การจัดการบ่อเลี้ยง การจัดการกุ้ง การจัดการด้านการเงิน การจัดการฟาร์ม และการจัดการชุมชน สังคมหรือกลุ่มเกษตรกร และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง พบว่า ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความคาดหวังต่อความพยายาม อิทธิพลจากสังคม การสนับสนุนของทรัพยากร และอำนาจของผู้มีส่วนร่วม มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีที่ระดับ 51.4% 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับโมเดลพยากรณ์ราคากุ้งพบว่า ราคากุ้ง = -1759.426-1.066(ขนาดของกุ้ง)+9.881(อัตราเงินเฟ้อ)+11.135(ดัชนีราคาผู้ผลิต)-1.835(ดัชนีราคาผู้ผลิตภาคเกษตรกรรม) +1.863(อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา)+0.002(อัตราผลิตกุ้งขาวแวนนาไมรวม)-1.864(ราคาน้ำมันดีเซล)+42.448(ถ้าเป็นเดือนมกราคม)+53.286 (ถ้าเป็นเดือนกุมภาพันธ์)+30.325(ถ้าเป็นเดือนมีนาคม)+2.057(ถ้าเป็นเดือนเมษายน)-20.070(ถ้าเป็นพฤษภาคม)-10.085(ถ้าเป็นเดือนมิถุนายน)-3.180(ถ้าเป็นเดือนกรกฎาคม)-3.320 (ถ้าเป็นเดือนสิงหาคม)-11.835(ถ้าเป็นเดือนกันยายน)-30.390(ถ้าเป็นเดือนตุลาคม)-11.835(ถ้าเป็นเดือนพฤศจิกายน) ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลต่อราคากุ้งร้อยละ 89.7 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 โดย โมเดลพยากรณ์ราคากุ้งนี้ได้นำมาพัฒนาเป็นโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อวางแผนและสนับสนุนการตัดสินใจทางด้านการเงินของผู้เลี้ยงกุ้งภายใต้ชื่อ Smart Aqua 3) จากการสอบถามทัศนคติจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานนวัตกรรมต้นแบบจำนวน 30 ตัวอย่าง พบว่ามีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบในด้านความสามารถของระบบ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านความปลอดภัย ด้านการรับรู้ประโยชน์ของระบบ ด้านการสนับสนุนทรัพยากรและข้อมูล ทัศนคติต่อการใช้ และการยอมรับการใช้ในระดับพอใจมากและ 4) การให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียวเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดในการนำนวัตกรรมต้นแบบสู่เชิงพาณิชย์ โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาคืนทุน 3.5 ปี


ระบบคัดเลือกกลุ่มธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน, พัชร์นรี ธนาคุณ Jan 2018

ระบบคัดเลือกกลุ่มธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน, พัชร์นรี ธนาคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นโยบาย ประเทศไทย 4.0 มุ่งเน้นสนับสนุนการสร้างธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน (IDE) เพื่อสร้างสินค้านวัตกรรมที่สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้กับประเทศในระดับสูง ปัจจุบันรัฐมีการสนับสนุนกลุ่มธุรกิจนวัตกรรมในระดับและรูปแบบต่าง ๆ อย่างไรก็ดี ลักษณะและรูปแบบการสนับสนุนยังไม่เหมาะสมกับผู้รับการสนับสุนนเท่าที่ควร ทำให้มีความเสี่ยงเชิงเศรษฐกิจสูง และไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ด้วยเหตุที่ไม่สามารถจำแนกธุรกิจนวัตกรรมที่มีศักยภาพออกจากกลุ่มธุรกิจนวัตกรรมทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้ทำการศึกษาด้วยการวิจัยเชิงลึกและวิเคราะห์ปัจจัยที่บ่งชี้คุณลักษณะธุรกิจ เพื่อสร้างระบบคัดเลือกกลุ่มธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน (IDE) ที่มีศักยภาพสูง ออกจากธุรกิจนวัตกรรมทั่วไป (NON-IDE) ปัจจัยบ่งชี้ในมิติต่าง ๆ ได้จากการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานนโยบายภาครัฐ หน่วยงานสนับสนุนทุนนวัตกรรมภาครัฐ และผู้ประกอบการ IDE ที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ ปัจจัยบ่งชี้จำนวน 30 ปัจจัย ใน 4 มิติ ที่เป็นปัจจัยคุณลักษณะร่วมของธุรกิจนวัตกรรม ธุรกิจ Innovation Businesses ธุรกิจ Startups และธุรกิจ SMEs ประกอบขึ้นเป็นแบบสอบถามเพื่อการสำรวจกลุ่มธุรกิจนวัตกรรม IDE จำนวน 17 ธุรกิจ และ NON-IDE จำนวน 14 ธุรกิจ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติได้ค่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม IDE เปรียบเทียบกับกลุ่ม NON-IDE ชุดค่าคะแนนเปรียบเทียบประกอบเป็นชุดฐานข้อมูล IDE Mapping ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินอัตลักษณ์ของธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่เสนอขอรับทุนสนับสนุน ระบบคัดเลือกกลุ่มธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน ประกอบด้วย ชุดแบบสอบถามกลุ่มปัจจัยคุณลักษณะธุรกิจ 4 มิติ ชุด IDE Mapping และชุดวิเคราะห์อัตลักษณ์ธุรกิจ Applicant Profiles ถูกนำมาทดลองใช้กับ 5 ธุรกิจตัวอย่าง ผลการจำแนกอัตลักษณ์เป็นที่น่าพอใจ ระบบคัดเลือกกลุ่มธุรกิจสามารถพัฒนาเป็น Web Application เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพิจารณาการสนับสนุนทุนนวัตกรรมของหน่วยงานภาครัฐได้


การวิเคราะห์การลงทุนในประตูกั้นน้ำเพื่อการขนส่งสินค้าในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก, วาฤทธิ์ แซ่ลิ่ม Jan 2018

การวิเคราะห์การลงทุนในประตูกั้นน้ำเพื่อการขนส่งสินค้าในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก, วาฤทธิ์ แซ่ลิ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพของการขนส่งสินค้าทางน้ำโดยเฉพาะในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักซึ่งเป็นเส้นทางหลักของการขนส่งสินค้าทางน้ำในประเทศ โดยทำการรวบรวมข้อมูลการขนส่งสินค้าทางน้ำประกอบด้วยประเภทสินค้า ปริมาณสินค้า เส้นทางการขนส่งสินค้า ข้อจำกัดทางกายภาพของสะพานที่แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักไหลผ่านจากงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ถึงรูปแบบการขนส่งสินค้า ปัญหาและอุปสรรคในการขนส่งสินค้าทางน้ำในปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่าปัญหาหลักคือการเดินเรือผ่านสะพานที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำต่ำ (Air Draft) โดยสะพานที่ส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้ามีทั้งหมด 8 สะพาน โดยสะพานนวลฉวีเป็นสะพานที่ส่งผลต่อการขนส่งสินค้าทางน้ำมากที่สุด โครงการประตูกั้นน้ำจึงเป็นทางเลือกที่สำคัญที่ต่างประเทศนำมาใช้เพื่อเแก้ไขปัญหาดังกล่าวและเพิ่มความสามารถในการขนส่งสินค้า โดยนำทฤษฏีการตัดสินใจการลงทุนมาเป็นเครื่องมือวิเคราะห์และประเมินผลตอบแทนในการลงทุน ซึ่งมีต้นทุนก่อสร้าง อัตราคิดลด อายุโครงการ และปริมาณสินค้า เป็นปัจจัยหลักในการวิเคราะห์ค่าความอ่อนไหวของโครงการ ผลการวิจัยพบว่ากรณีที่ต้องการสร้างโครงการประตูกั้นน้ำเฉพาะจุดสะพานนวลฉวีที่มีต้นทุนก่อสร้าง 500,460,000 บาท โครงการให้ค่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV), อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (IRR), อัตราผลตอบแทนต่อค่าใช้จ่าย (B/C Ratio) เป็นบวกในทุกกรณีและในทุกอัตราคิดลด แต่หากสร้างทั้งหมด 8 จุดตรงสะพานที่ส่งผลกระทบทั้งหมด ด้วยมูลค่าก่อสร้าง 4,003,680,000 บาท อัตราคิดลดต้องต่ำกว่า 5% โดยปริมาณสินค้าต้องเพิ่มขึ้นปีละ 8% โครงการจึงจะเหมาะสมและควรลงทุน


รูปแบบการขนส่งทางถนนที่เหมาะสมสำหรับการกระจายพัสดุสายพลาธิการของกองทัพอากาศ, ณัฐพร คำพวง Jan 2018

รูปแบบการขนส่งทางถนนที่เหมาะสมสำหรับการกระจายพัสดุสายพลาธิการของกองทัพอากาศ, ณัฐพร คำพวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการขนส่งทางถนนสำหรับการกระจายพัสดุสายพลาธิการของกองทัพอากาศ และเพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการขนส่งทางถนนระหว่าง การขนส่งแบบ Milk Run โดยผ่านทุก ๆ หน่วยในภูมิภาค, การขนส่งแบบ Milk Run โดยแบ่งเป็นหลายเส้นทางในแต่ละภูมิภาค, การขนส่งผ่านศูนย์กระจายพัสดุ และการขนส่งผ่านศูนย์กระจายพัสดุ ร่วมกับ Milk Run เพื่อหาแนวทางเลือกที่มีความเหมาะสมกับการกระจายพัสดุไปยังหน่วยในแต่ละภูมิภาค โดยใช้สถิติการขนส่งพัสดุปีงบประมาณ 2559-2560 นำโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาช่วยในวิเคราะห์การหาตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับใช้เป็นจุดกระจายพัสดุของแต่ละภูมิภาค รวมถึงนำการหาระยะทางขนส่งที่สั้นที่สุด (Optimal Solution) มาช่วยในการจัดเส้นทางการขนส่งพัสดุในรูปแบบ Milk Run ของแต่ละภูมิภาคอีกด้วย จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการขนส่งผ่านศูนย์กระจายพัสดุ ร่วมกับ Milk Run ทำให้การขนส่งพัสดุในภาคเหนือมีต้นทุนต่ำที่สุด ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนการขนส่งลงได้ 18.04 %, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รูปแบบการขนส่งแบบ Milk Run โดยแบ่งเป็นหลายเส้นทางในภูมิภาค ทำให้การขนส่งพัสดุมีต้นทุนต่ำที่สุด ซึ่งสามารถลดต้นทุนการขนส่งลงได้ 2.04 %, ภาคใต้ รูปแบบการขนส่งผ่านศูนย์กระจายพัสดุ ทำให้การขนส่งพัสดุมีต้นทุนต่ำที่สุด สามารถลดต้นทุนการขนส่งลงได้ 27.79 % และภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก การขนส่งพัสดุในรูปแบบเดิม (Direct Shipment) มีต้นทุนการขนส่งถูกที่สุด