ความคลาดเคลื่อนประเภทที่ ๑ และอำนาจการทดสอบในการ เปรียบเทียบรายคู่ภายหลังด้วยการใช้โปรแกรมแมทเล็บ,
2023
Chulalongkorn University
ความคลาดเคลื่อนประเภทที่ ๑ และอำนาจการทดสอบในการ เปรียบเทียบรายคู่ภายหลังด้วยการใช้โปรแกรมแมทเล็บ, ปุณยนุช พินชู, สุชาดา บวรกิติวงศ์
Journal of Education Studies
บทความนี้นำเสนอวิธีการใช้โปรแกรมแมทแล็บในการคำนวณค่าความคลาดเคลื่อนประเภทที่ ๑ และ อำนาจการทดสอบทางสถิติในการเปรียบเทียบรายคู่ภายหลัง (post-hoc comparison) โดยใช้เทคนิคการ จำลองข้อมูลที่เรียกว่ามอนติคาร์โลซิมูเลชั่น เริ่มจากการเขียนคำสั่งให้โปรแกรมจำลองข้อมูลตามเงื่อนไขที่ กำหนด จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปคำนวณค่าสถิติต่าง ๆ ทำการคำนวณทวนซ้ำ หลาย ๆ ครั้ง เพื่อทดสอบผลลัพธ์ ที่ได้ในแต่ละครั้งว่าเป็นจริงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ จากนั้นจึงนำผลลัพธ์ทั้งหมดที่ได้ไปคำนวณหาอัตรา ความคลาดเคลื่อนประเภทที่ ๑ ถ้าพบว่าสถิติตัวใดสามารถควบคุมค่าความคลาดเคลื่อนประเภทที่ ๑ ให้อยู่ ภายในเกณฑ์ที่กำหนด จากนั้นจะนำสถิติตัวนั้นไปคํานวณหาอำนาจการทดสอบทางสถิติต่อไป โปรแกรมแมทแล็บ ( MATLAB) สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากการจำลองหรือซิมูเลชั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการที่ไม่ซับซ้อน จึงเป็นอีกทางเลือกในการใช้โปรแกรมแมทแล็บในการศึกษาข้อมูลที่มาจากมอนติคาร์โลซิมูเลชั่น
การประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนนำร่อง และโรงเรียนเครือข่ายที่มีการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔,
2023
Chulalongkorn University
การประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนนำร่อง และโรงเรียนเครือข่ายที่มีการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔, ไพฑูรย์ สินลารัตน์, เอมอร จังศิริพรปกรณ์, วรรณี แกมเกตุ, กมลรัตน์ แดงสว่าง
Journal of Education Studies
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ๑) เพื่อ ประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษา ในด้านการสร้างหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินผลหลักสูตรสถาน ศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน ๒) เพื่อเปรียบ เทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษาในด้านการสร้างหลักสูตร การใช้หลักสูตร และ การประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษาระหว่างกลุ่มผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน ๓) เพื่อศึกษาปัญหาที่พบในการสร้างหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษา ตาม ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา ๔) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการ สร้างหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษา และ ๕) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ แกนกลาง (หลักสูตร ๗๐:๓๐) ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า ผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษา ให้ความสําคัญมากต่อการสร้าง หลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษา ผู้ปกครองและนักเรียนให้ความสำคัญมาก ต่อการใช้หลักสูตร และการประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษา เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นด้านการสร้าง หลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความคิดเห็นโดยภาพรวมในบางประเด็นแตกต่างกัน ปัญหาที่พบในการสร้างหลัก สูตรได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านหลักสูตร และปัญหาด้านนักเรียน ปัญหาด้านการใช้หลักสูตร ได้แก่ ปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาด้านบุคลากร และปัญหาด้านการประเมินผลหลักสูตร ได้แก่ ปัญหาด้านการ วัดและประเมินผล ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จในด้านการสร้างหลักสูตร ได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ที่ดี บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการจัดทําหลักสูตร และมีทรัพยากรที่เพียงพอ ด้านการใช้หลักสูตร ได้แก่ การตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนเอง การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน การมีงบประมาณที่เพียง พอ และการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้แกนกลาง (หลักสูตร ๗๐:๓๐) …
การแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กวัย ๓ - ๕ ปี ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,
2023
Chulalongkorn University
การแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กวัย ๓ - ๕ ปี ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์
Journal of Education Studies
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาและวิธีการในการแก้ไข พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กวัย ๓ - ๕ ปี ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศ จํานวน ๔,๑๔๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็ก และการ แก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้ดูแลเด็ก ผลการวิจัยพบว่า ๑. พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กที่พบในห้องเรียนแยกตามกลุ่มพฤติกรรม ๖ กลุ่ม ส่วนใหญ่ พบว่า กลุ่มที่ ๑ ก้าวร้าว (ร้อยละ ๒๔.๓๑) กลุ่มที่ ๒ ส่งเสียงดัง (ร้อยละ ๕๖.๔๖) กลุ่มที่ ๓ ปาของ (ร้อยละ ๒๗.๗๒) กลุ่มที่ ๔ ติดขวดนม (ร้อยละ ๒๐.๒๒) กลุ่มที่ ๕ ไม่นอนกลางวัน (ร้อยละ ๓๕.๕๗) และกลุ่มที่ ๖ ไม่รับประทานอาหารกลางวัน (ร้อยละ ๓๑.๔๓) ๒. วิธีการในการแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้ดูแลเด็กแยกตามกลุ่มพฤติกรรม ๖ กลุ่ม ส่วน ใหญ่พบว่า กลุ่มที่ ๑ ทำข้อตกลงระหว่างกัน ให้กำลังใจเด็กในการปฏิบัติ และชื่นชมเมื่อเด็กปฏิบัติดี (ร้อยละ ๒๗.๒๗) กลุ่มที่ ๒ พยายามพูดกับเด็กเบา ๆ (ร้อยละ ๕๓.๗๔) กลุ่มที่ ๓ ไม่มีข้อเสนอแนะสําหรับการ แก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหา กลุ่มที่ ๔ ให้เด็กฝากขวดนมไว้ที่ครูแล้วให้มาเอาตอนเย็น (ร้อยละ ๑๖.๙๔) กลุ่มที่ ๕ ให้ดูเพื่อนที่หลับ แล้วพยายามกล่อมให้เด็กนอน (ร้อยละ ๓๑.๔๐) และกลุ่มที่ ๖ บอกเด็กว่า ถ้าไม่กินข้าว จะไม่โตและไม่มีแรง เมื่อเด็กกินก็ชมเชย (ร้อยละ ๒๓.๕๑) สําหรับวิธีการในการแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้ดูแลเด็ก แยกตามพฤติกรรมย่อยในกลุ่ม พฤติกรรม …
การพัฒนากระบวนการให้การศึกษาสําหรับผู้ปกครองของเด็ก ปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษโดยใช้แนวคิดทางการศึกษา บำบัดและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง,
2023
Chulalongkorn University
การพัฒนากระบวนการให้การศึกษาสําหรับผู้ปกครองของเด็ก ปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษโดยใช้แนวคิดทางการศึกษา บำบัดและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ
Journal of Education Studies
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑) พัฒนากระบวนการให้การศึกษาสําหรับผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย ที่มีความต้องการพิเศษ โดยใช้แนวคิดการศึกษาบำบัดและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง และ ๒) ศึกษา ผลการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้เข้าร่วมกระบวนการฯที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ในด้านการกระทำ คือ การ ปฏิบัติต่อเด็ก ด้านความรู้สึก คือ มุมมองต่อตนเองและเด็ก และด้านความคิด คือ การคิดใหม่เกี่ยวกับการ ดำเนินชีวิต ผู้เข้าร่วม ได้แก่ ๑) ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน ๔ ครอบครัว ๒) ครูการศึกษาพิเศษ จํานวน ๑ คน และ ๓) ผู้วิจัย ขั้นตอนในการดําเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม นี้ประกอบด้วย ๑) การเตรียมการก่อนลงภาคสนาม ๒) การพัฒนาการปฏิบัติการในภาคสนาม และ ๓) การ นำเสนอกระบวนการที่ได้พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยมีดังนี้ ๑. ได้กระบวนการให้การศึกษาสําหรับผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษโดยใช้แนว คิดการศึกษาบำบัดและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีองค์ประกอบ ๕ ประการ สำหรับขั้นตอนในการ ดำเนินกระบวนการ ๓ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) รวมกลุ่ม สร้างความสัมพันธ์ ๒) ปฏิบัติการให้การศึกษาสำหรับผู้ ปกครอง ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินการ คือ (๑) การจัดการประชุมร่วมกัน (๒) การส่งเสริมการปฏิบัติกับ ลูกที่บ้าน (๓) การประสานงานในห้องเรียนพิเศษ และ (๔) การติดตามการบำบัดรายบุคคล และ ๓) ถอดประสบการณ์ ๒. เกิดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้เข้าร่วมใน ๓ ด้าน ดังนี้ ๑) ด้านการกระทำ คือ การปฏิบัติใหม่ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กบนฐานการประสานมุมมองระหว่างกัน ในการให้ความช่วยเหลือแก่เด็กตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ๒) ด้านความรู้สึก คือ การสร้างสมดุลระหว่างมุมมอง ต่อตนเองและเด็ก ได้แก่ การรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง การให้เวลาสําหรับการตอบสนองต่อเด็กอย่างเหมาะสม การมีความกระตือรือร้นและมีพลังในการปฏิบัติ การยอมรับและเข้าใจในตัวตนรวมทั้งศักยภาพที่แท้จริง ของเด็ก …
หัวใจของการสอนคณิตศาสตร์,
2023
Chulalongkorn University
หัวใจของการสอนคณิตศาสตร์, วิชัย พาณิชย์สวย
Journal of Education Studies
No abstract provided.
เปิดประเด็น,
2023
Chulalongkorn University
แนะนำหนังสือ,
2023
Chulalongkorn University
คิดนอกกรอบ,
2023
Chulalongkorn University
พระราชดํารัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๔๒ : การวิเคราะห์คุณธรรม ๔ ประการ,
2023
Chulalongkorn University
พระราชดํารัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๔๒ : การวิเคราะห์คุณธรรม ๔ ประการ, สนม ครุฑเมือง
Journal of Education Studies
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย ๓ ประการ คือ ๑. เพื่อวิเคราะห์คุณธรรม ๔ ประการที่ปรากฏ ในพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๔๒ ๒. เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ตระหนักและเห็นคุณค่าคุณธรรม ๔ ประการ ที่ปรากฏในพระราชดำรัสโดยอัญเชิญไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลดีต่อการดำเนินชีวิตของตนเองและสังคมโดยส่วนรวม ๓. เพื่อแสดงความจงรักและเฉลิมพระเกียรติที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเจริญพระชนมายุ ๗๒ พรรษา การวิเคราะห์จะใช้หลักคุณธรรม ๔ ประการ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวฯ ซึ่งได้พระราชทานไว้เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองกรุงเทพฯ มีอายุครบ ๒๐๐ ปี โดยอัญเชิญคุณธรรม ๔ ประการ เป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ ได้แก่ คุณธรรมประการ ที่ ๑ การรักษาสัจ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม ประการที่ ๒ การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดีนั้น คุณธรรม ประการที่ ๓ การอดทน อดกลั้น และอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด และคุณธรรมประการที่ ๔ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง ทั้งนี้ ได้วิเคราะห์กระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ที่พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิม พระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๔๒ และ นำเสนอผลการวิจัยโดยใช้แบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัยพบว่ากระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๔๒ ปรากฏคุณธรรมครบทุกประการ ซึ่งในแต่ละปีอาจปรากฏคุณธรรมใน ด้านต่างๆ มากบ้างน้อยบ้างเป็นไปตามกระแสพระราชดำรัสที่พระราชทาน คุณธรรมประการที่ ๑ ปรากฏ ข้อความตามพระราชดำรัสมากที่สุด คุณธรรมประการที่ ๓ ปรากฏข้อความตามพระราชดำรัสรองลงมา …
การพัฒนาเครื่องมือวัดลักษณะนิสัยรักการอ่านของ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ในจังหวัดภูเก็ต,
2023
Chulalongkorn University
การพัฒนาเครื่องมือวัดลักษณะนิสัยรักการอ่านของ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ในจังหวัดภูเก็ต, จิตรลดา อารีย์สันติชัย
Journal of Education Studies
การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาเครื่องมือวัดลักษณะนิสัยรักการอ่านของนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ในจังหวัดภูเก็ต โดยหาคุณภาพของเครื่องมือ สร้างเกณฑ์ปกติ และคู่มือการใช้ เครื่องมือ มี ๓ ฉบับ คือ ฉบับที่ ๑ วัดความสนใจใฝ่รู้ในการอ่าน ฉบับที่ ๒ วัดความสม่ำเสมอในการอ่าน ฉบับที่ ๓ วัดเจตคติต่อการอ่าน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ ของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดภูเก็ต จำนวน ๖๗๔ คน โดยวิธีสุ่มแบบ หลายขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ๑. คุณภาพของเครื่องมือ ด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง ซึ่งมีค่าตั้งแต่ ๐.๗๐ ถึง ๑.๐๐ แสดงว่า ทุกข้อมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยงตรงตามสภาพ ซึ่งคํานวณจากสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจากเครื่องมือวัด ทั้ง ๓ ฉบับ กับคะแนนเฉลี่ยที่ครูประจำชั้น และผู้ปกครอง นักเรียนประเมิน มีความสัมพันธ์เท่ากับ ๗.๗๔๒, ๐.๗๕๔ และ ๐.๗๓๙ ตามลำดับ และมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ .๐๑ และความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยคคำนวณสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง คะแนน รายข้อ กับคะแนนรวมในแต่ละฉบับ พบว่า มีความสัมพันธ์เท่ากับ ๐.๑๖ ถึง ๒.๕๗, ๐.๑๖, ถึง ๐.๕๔ และ ๐.๒๔ ถึง ๐.๕๑ ตามลําดับ และมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ด้านอำนาจจำแนกรายข้อ โดยใช้การทดสอบที่ พบว่าทุกข้อทุกฉบับมีอํานาจจําแนกโดย ฉบับที่ ๑ วัดความสนใจใฝ่รู้ในการอ่าน มีค่า t ตั้งแต่ ๒.๔๗๖ ถึง ๒.๕๒๔ ฉบับที่ ๒ วัดความสม่ำเสมอ ในการอ่าน มีค่า …
การศึกษานอกระบบโรงเรียนในสังคมแห่งการเรียนรู้,
2023
Chulalongkorn University
การศึกษานอกระบบโรงเรียนในสังคมแห่งการเรียนรู้, อาชัญญา รัตนอุบล
Journal of Education Studies
No abstract provided.
การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บ โดยใช้ หลักการจัดกิจกรรมแบบ 4 Mat เพื่อพัฒนาการคิด อย่างมีวิจารณญาณสำหรับนิสิตปริญญาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2023
Chulalongkorn University
การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บ โดยใช้ หลักการจัดกิจกรรมแบบ 4 Mat เพื่อพัฒนาการคิด อย่างมีวิจารณญาณสำหรับนิสิตปริญญาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชลลดา ลิขสิทธิ์
Journal of Education Studies
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาความคิดเห็นของนิสิตและอาจารย์ สาขา วิทยาศาสตร์กายภาพและเทคโนโลยีที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบนเว็บ ๒) ศึกษาความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บที่สร้างขึ้น ๓) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูป แบบการเรียนการสอนบนเว็บที่สร้างขึ้น และ ๔) นำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บที่สร้างขึ้น ผลการวิจัยพบว่า ๑) นิสิตมีความคิดเห็นว่าเครื่องมือที่เหมาะสมมากที่สุดสําหรับการสนทนาร่วมกันคือ โปรแกรมสนทนา และอาจารย์มีความคิดเห็นว่าวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการนำเสนอเนื้อหาของผู้สอน คือ นำเสนอในรูปแบบโปรแกรม เพื่อการนำเสนอ ๒) ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าองค์ประกอบของรูปแบบ มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ๒ องค์ประกอบ นอกจากนั้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และ บทบาทผู้เรียนและผู้สอนกับจุดประสงค์การเรียนการสอนทุกข้อ มีความสอดคล้องกัน ๓) กลุ่มตัวอย่าง ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บที่สร้างขึ้นมีคะแนนเฉลี่ยการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๔) รูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บที่สร้าง ขึ้น ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักคือ ขั้นนำ ได้แก่ ๔.๑) การปฐมนิเทศหน่วยการเรียน และการวัดความ สามารถทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียน ๔.๒) ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ กิจกรรม ๔ ขั้นตามหลักการจัดกิจกรรมแบบ ๔ MAT และ ๔.๓) ขั้นประเมินผล คือ การวัดความสามารถทางการ คิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียน
การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้นำเชิงสร้างสรรค์,
2023
Chulalongkorn University
การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้นำเชิงสร้างสรรค์, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
Journal of Education Studies
No abstract provided.
การพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้,
2023
Chulalongkorn University
การพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้, สุมาลี สังข์ศรี
Journal of Education Studies
No abstract provided.
การพัฒนาความฉลาดรอบด้านของบุคลากรการศึกษานอกระบบโรงเรียน,
2023
Chulalongkorn University
การพัฒนาความฉลาดรอบด้านของบุคลากรการศึกษานอกระบบโรงเรียน, วรรัตน์ อภินันท์กูล
Journal of Education Studies
No abstract provided.
ความสามารถทางสังคมของเด็กที่มีความบกพร่องทางสมาธิ,
2023
Chulalongkorn University
ความสามารถทางสังคมของเด็กที่มีความบกพร่องทางสมาธิ, กนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์
Journal of Education Studies
No abstract provided.
เปิดประเด็น,
2023
Chulalongkorn University
แนะนำหนังสือ,
2023
Chulalongkorn University
คิดนอกกรอบ,
2023
Chulalongkorn University
โมเดลสมการโครงสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2023
Chulalongkorn University
โมเดลสมการโครงสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มีนมาลย์ สุภาผล
Journal of Education Studies
No abstract provided.