Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

335,506 Full-Text Articles 213,041 Authors 146,957,467 Downloads 477 Institutions

All Articles in Education

Faceted Search

335,506 full-text articles. Page 8 of 9367.

เทคนิคและวิธีสอนนาฏศิลป์ในระดับประถมศึกษา, สุกัญญา ทรัพย์ประเสริฐ 2023 Chulalongkorn University

เทคนิคและวิธีสอนนาฏศิลป์ในระดับประถมศึกษา, สุกัญญา ทรัพย์ประเสริฐ

Journal of Education Studies

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นประโยชน์และแนวทางสำหรับครูผู้สอนวิชานาฏศิลป์ในระดับ ประถมศึกษา โดยเฉพาะระดับประถมศึกษาตอนต้น ในการนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อให้ ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุขและพัฒนาการเรียนการสอนวิชานาฏศิลป์ให้ดียิ่งขึ้น


ค่ายการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเยาวชน : โครงการบริการวิชาการในความร่วมมือของ คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และธนาคารอาคารสงเคราะห์, วรรณี เจตจํานงนุช, เกียรติศักดิ์ แสงอรุณ 2023 Chulalongkorn University

ค่ายการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเยาวชน : โครงการบริการวิชาการในความร่วมมือของ คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และธนาคารอาคารสงเคราะห์, วรรณี เจตจํานงนุช, เกียรติศักดิ์ แสงอรุณ

Journal of Education Studies

เยาวชนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ เต็มไปด้วยพลังแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาเยาวชนไทย ให้ได้รับการศึกษานั้น นอกจากสถาบันครอบครัวยังมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนอีกมากมาย ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา พระราชบัญญัติการศึกษาของไทยทําให้เห็นว่า การจัดการศึกษา ของชาติ จะต้องมุ่งพัฒนาคุณธรรมที่พึงประสงค์ ให้บุคคลทุกคนในชาติ มีคุณธรรมขั้นพื้นฐาน การพัฒนาคนจึงได้รับการเอาใจใส่เป็นอย่างดียิ่ง จากองค์กรทั้งรัฐและเอกชนโดยเฉพาะในเรื่องของ การให้การศึกษา การพัฒนาคนออกเป็น ๔ แนวทางหลัก คือ ๑) การพัฒนาทางกาย ๒) การพัฒนา ความรู้ ๓) การพัฒนาคุณธรรม และ ๔) การพัฒนาด้านทักษะและความชำนาญ การศึกษาเพื่อพัฒนา ทักษะชีวิตเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรู้ความสามารถของบุคคล ให้สามารถ จัดการกับตนเอง สิ่งแวดล้อม ให้มีความสุขตามสภาพ ความสงบสุข ความปลอดภัยในสังคม ทักษะชีวิต ที่จำเป็นที่สุดที่ทุกคนควรมีคือ ๑) ทักษะการตัดสินใจ ๒) ทักษะการแก้ปัญหา ๓) ทักษะการคิด สร้างสรรค์ ๔) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ๕) ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ๖) ทักษะการ สร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ๗) ทักษะการตระหนักรู้ในตน ๔) ทักษะการเข้าใจผู้อื่น ๙) ทักษะการ จัดการกับอารมณ์ ๑๐)ทักษะการจัดการกับความเครียด คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีส่วน ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีทักษะชีวิต มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายของ การศึกษาไทย ในปี ๒๕๕๘ - ๒๕๕๐ สำนักงานกิจการนิสิต และสำนักวิจัยและบริการวิชาการ คณะ ครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมความรู้ให้กับบุตรพนักงาน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทั้งในรูปแบบของการอบรมและกิจกรรมค่ายเยาวชน ซึ่งถือเป็นกิจกรรมความ ร่วมมือทางวิชาการร่วมกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ กระทรวงการคลัง และเป็นพันธกิจที่มุ่งพัฒนา เยาวชนของชาติให้เป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข ตามจุดมุ่งหมายการศึกษา


แนะนำหนังสือ, สืบสกุล สอนใจ 2023 Chulalongkorn University

แนะนำหนังสือ, สืบสกุล สอนใจ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


คิดนอกกรอบ, เกียรติวรรณ อมาตยกุล 2023 Chulalongkorn University

คิดนอกกรอบ, เกียรติวรรณ อมาตยกุล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


เปิดประเด็น, สุชาติ โสมประยูร 2023 Chulalongkorn University

เปิดประเด็น, สุชาติ โสมประยูร

Journal of Education Studies

No abstract provided.


ผลของการสอนแบบศูนย์การเรียนโดยใช้เทคนิค Stad ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนพูดสอง ภาษาที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่างกัน, กาสมะห์ เปาะจิ, อริยา คูหา 2023 Chulalongkorn University

ผลของการสอนแบบศูนย์การเรียนโดยใช้เทคนิค Stad ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนพูดสอง ภาษาที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่างกัน, กาสมะห์ เปาะจิ, อริยา คูหา

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนแบบศูนย์การเรียนโดยใช้เทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนพูดสองภาษา ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่างกัน ตลอดจนศึกษากิริยาร่วมระหว่างวิธีสอน และระดับความ สามารถทางการเรียน วิธีสอน แปรเป็น ๒ วิธี คือ การสอนแบบศูนย์การเรียนโดยใช้เทคนิค STAD และ การสอนแบบศูนย์การเรียนโดยไม่ใช้เทคนิค STAD ระดับความสามารถทางการเรียน แปรเป็น ๒ ระดับ คือ ระดับความสามารถทางการเรียนสูง และระดับความสามารถทางการเรียนต่ํา กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ของโรงเรียนบ้าน บูเกะตาโมง มิตรภาพที่ ๑๒๔ และโรงเรียนบ้านยานิง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต ๒ จำนวน ๔๐ คน ได้รับการสุ่มการทดลองออกเป็น ๔ กลุ่มๆ ละ ๒๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย จำนวน ๔๐ ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยใช้วิธีการทดสอบของฮาร์ทเลย์ (Hartley's Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบกลุ่มสุ่มสรุปพาดพิง (Generalized Randomized Block Design) โมเดลกําหนด ๒ x ๒ (Fixed Model) โดยใช้สูตรของเคิร์ก ผลการวิจัยพบว่า ๑. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีสอนและระดับความสามารถทางการเรียนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนพูดสองภาษา ๒. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีสอนและระดับความสามารถทางการเรียนต่อความคงทนในการ เรียนรู้วิชาภาษาไทยของนักเรียนพูดสองภาษา ๓. นักเรียนพูดสองภาษาที่ได้รับการสอนแบบศูนย์การเรียนโดยใช้เทคนิค STAD และนักเรียน พูดสองภาษาที่ได้รับการสอนแบบศูนย์การเรียนโดยไม่ใช้เทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาไทยไม่แตกต่างกัน ๔. นักเรียนพูดสองภาษาที่ได้รับการสอนแบบศูนย์การเรียนโดยใช้เทคนิค STAD และนักเรียน พูดสองภาษาที่ได้รับการสอนแบบศูนย์การเรียนโดยไม่ใช้เทคนิค STAD มีความคงทนในการเรียนรู้วิชา ภาษาไทยไม่แตกต่างกัน ๕. นักเรียนพูดสองภาษาที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทยแตกต่างกัน ๖. …


การวิจัยเชิงประเมินโครงการจัดหาครูชาวต่างประเทศ เพื่อสอบภาษาอังกฤษสำหรับสถานศึกษา ในจังหวัดนนทบุรี, เพียงใจ ศุขโรจน์, อวยพร เรืองตระกูล, กมลวรรณ ตั้งธนกานนท์, อัมพร ม้าคะนอง, รัตนา มหากุศล 2023 Chulalongkorn University

การวิจัยเชิงประเมินโครงการจัดหาครูชาวต่างประเทศ เพื่อสอบภาษาอังกฤษสำหรับสถานศึกษา ในจังหวัดนนทบุรี, เพียงใจ ศุขโรจน์, อวยพร เรืองตระกูล, กมลวรรณ ตั้งธนกานนท์, อัมพร ม้าคะนอง, รัตนา มหากุศล

Journal of Education Studies

การวิจัยเชิงประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและประเมินโครงการจัดหาครูชาว ต่างประเทศเพื่อสอนภาษาอังกฤษสำหรับสถานศึกษาในจังหวัดนนทบุรี โดยทําการเก็บรวบรวมข้อมูล กับผู้บริหาร ครู นักเรียน และครูชาวต่างประเทศในโรงเรียนที่อยู่ในโครงการ จำนวน ๕๗ โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบปากเปล่า แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และ นักเรียน แบบสอบถามครูชาวต่างประเทศ แบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการผู้บริหาร ครู และนักเรียน รายงานการตรวจเยี่ยม และประเด็นในการทําสนทนากลุ่ม (focus group) ครูชาวต่างประเทศ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยค่าสถิติบรรยาย ประมาณค่าคะแนนพัฒนาการด้วยสูตรคะแนนพัฒนาการแบบเทียบร้อย ส่วนการเปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการใช้สถิติทดสอบ t-test และ 1- way ANOVA การวิเคราะห์ ส่วนประกอบความแปรปรวนของคะแนนพัฒนาการ ใช้การวิเคราะห์พหุระดับ ๓ ระดับ ด้วยโปรแกรม HLM การเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างกลุ่มของนักเรียน ครู และผู้บริหารใช้สถิติทดสอบ t-test 1- way ANOVA ไค-สแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ๑. ผู้บริหารต้องการเน้นความสามารถในการนําภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด โดย มีนโยบายให้ครูไทยสังเกตการสอนและได้มอบหมายให้ฝ่ายวิชาการและหัวหน้ากลุ่มสาระภาษาต่างประเทศดำเนินการติดตามนิเทศการสอน โดยการบริหารโครงการไม่มีความแตกต่างกันระหว่างโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน ระหว่างโรงเรียนที่ต่างประเภทกัน และระหว่างโรงเรียนที่เคย/ไม่เคยมีครู ชาวต่างประเทศ ๒. ครูประสานงานโดยจัดหาแบบเรียนภาษาอังกฤษให้แก่ครูชาวต่างประเทศมากที่สุด และติด ตามผลการสอนโดยสอบถามนักเรียน ซึ่งวิธีการประสานงานนั้นไม่มีความแตกต่างกันระหว่างโรงเรียนที่ มีขนาดต่างกัน และระหว่างโรงเรียนที่เคยไม่เคยมีครูชาวต่างประเทศ แต่แตกต่างกันระหว่างประเภท ของโรงเรียน ๓. จากความคิดเห็นของครู พบว่าครูชาวต่างประเทศมีปัญหามากที่สุดในด้านสำเนียงที่ใช้ รองลงมาได้แก่ ความตรงต่อเวลา การปฏิบัติหน้าที่ในการสอน และความร่วมมือกับโรงเรียนในด้าน ต่าง ๆ ๔. ผลการประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานของครูชาวต่างประเทศอยู่ในระดับดี โดยครูเห็นว่า คุณภาพการปฏิบัติของครูชาวต่างประเทศทั้งด้านความสามารถในการสอน ด้านการปฏิบัติ และด้าน คุณลักษณะของความเป็นครูอยู่ในระดับดี ส่วนนักเรียนเห็นว่าคุณภาพของครูชาวต่างประเทศด้านการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับดี ส่วนด้านบุคลิกภาพของครูอยู่ในระดับดีมาก ๕. การประเมินผลของโครงการที่มีต่อนักเรียน ครูไทย และโรงเรียน พบว่าโครงการฯนี้มีผลต่อ นักเรียน ครู และโรงเรียนอยู่ในระดับดี จากความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับผลของโครงการฯ พบว่าทั้งผู้บริหารและครูเห็นด้วยในระดับมากว่าโครงการฯมีผลต่อนักเรียนและครู …


การพัฒนาทางการศึกษาภายใต้พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ : ศึกษาเฉพาะกรณี โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, สุพร ชัยเดชสุริยะ 2023 Chulalongkorn University

การพัฒนาทางการศึกษาภายใต้พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ : ศึกษาเฉพาะกรณี โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, สุพร ชัยเดชสุริยะ

Journal of Education Studies

การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มีการเปลี่ยนแปลง แนวคิดและวิธีการจัดการศึกษาครั้งสำคัญเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างกว้างขวางและทันต่อความ ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้งของโลกปัจจุบัน ซึ่งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่าย ประถมได้ดำเนินการภายใต้กฎหมายฉบับนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ผู้วิจัยดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาทางการศึกษาเพิ่มเติมให้บรรลุวัตถุประสงค์สูงสุดของ กฎหมายฉบับนี้ ซึ่งขอบเขตของการวิจัยจะศึกษาเฉพาะรูปแบบการพัฒนาการศึกษาตามบริบทของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ส่วนวิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยนําวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่จะนําแนวทางการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนแห่งนี้ไปใช้ในโรงเรียนอื่นตามบริบทที่เหมาะสมของแต่ละโรงเรียน ผลการวิจัยพบว่าโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายประถม ได้พัฒนาทางการศึกษาภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ในทุกๆ ด้านแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าสิ่งที่โรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม น่าจะดำเนินการเพิ่มเติมก็คือควรให้โอกาสแก่เด็กด้อยโอกาสใน แหล่งชุมชนปทุมวันได้เข้าเรียนในโรงเรียน ซึ่งจะทำให้เด็กด้อยโอกาสเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ควรจัดทำหลักสูตรสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษโดยเฉพาะ รวมทั้งเผยแพร่ตำราเรียนที่ โรงเรียนได้จัดทำขึ้นไปยังโรงเรียนต่างๆ บันทึกรูปแบบการเรียนการสอนทุกช่วงชั้นและทุกคาบลงใน เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาต่างๆ เพื่อถ่ายทอดให้กับโรงเรียนที่สนใจนําไปใช้ในการเรียนการสอน และ โรงเรียนควรจัดทำโครงการหลักสูตร สองภาษา โดยเป็นหลักสูตรที่แยกออกจากหลักสูตรปกติ สิ่งเหล่านี้ จะทำให้การพัฒนาทางการศึกษาภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ของโรงเรียน สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม บรรลุวัตถุประสงค์สูงสุด


แนวโน้มสมรรถภาพของนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๘, พิมพรินทร์ ลิมปโชติ 2023 Chulalongkorn University

แนวโน้มสมรรถภาพของนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๘, พิมพรินทร์ ลิมปโชติ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) โดยใช้เทคนิคเดลฟาย มี วัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวโน้มสมรรถภาพของนักเทคโนโลยี การศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๔ และ (๒) นำเสนอแนวโน้มสมรรถภาพของ นักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๔ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้มี ๒ กลุ่ม คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาจำนวน ๕ คน และอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญ ในการบริหารและปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีการศึกษาจำนวน ๒๐ คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามจํานวน ๓ รอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม ความแตกต่างระหว่าง ฐานนิยมกับมัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า : แนวโน้มสมรรถภาพของนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๔ แบ่งเป็น ๓ ด้าน ประกอบด้วย ๑๓๖ สมรรถภาพ ได้แก่ ด้านความรู้ ๕๙ สมรรถภาพ ด้านทักษะ ๕๙ สมรรถภาพ และด้านคุณลักษณะนิสัย ๑๔ สมรรถภาพ ดังนี้ ๑. ด้านความรู้ แบ่งได้ ๗ ข้อ ๕๙ สมรรถภาพ ได้แก่ ๑) ความรู้ทางการบริการ ๒) ความรู้ทาง วิชาการ ๓) ความรู้ทางการออกแบบ ๔) ความรู้ทางการพัฒนา ๕) ความรู้ทางการใช้ ๖) ความรู้ ทางการจัดการ และ๗) ความรู้ทางการประเมิน ๒. ด้านทักษะ แบ่งได้ ๗ ข้อ ๕๙ สมรรถภาพ ได้แก่ ๑) ทักษะทางการบริการ ๒) ทักษะทาง วิชาการ ๓) …


ผลของการเรียนแบบสืบสอบร่วมกับการใช้ เว็บเควสท์ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่มีความสามารถ ในการเรียนทางวิทยาศาสตร์ต่างกัน, จุลลดา จุลเสวก 2023 Chulalongkorn University

ผลของการเรียนแบบสืบสอบร่วมกับการใช้ เว็บเควสท์ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่มีความสามารถ ในการเรียนทางวิทยาศาสตร์ต่างกัน, จุลลดา จุลเสวก

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการเรียนแบบสืบสอบร่วมกับการใช้ เว็บเควสท์ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเปรียบเทียบคะแนนความร่วมมือในการปฏิบัติงาน กลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่มีความสามารถในการเรียนทางวิทยาศาสตร์ต่างกัน ผลการ วิจัยพบว่า นักเรียนมีคะแนนก่อนเรียน หลังเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์แตกต่างกันที่ ระดับ .๐๕ ซึ่งกลุ่มสูง สูง ต่ำมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความร่วมมือในการปฏิบัติงานกลุ่มสูงสุด ส่วนกลุ่ม สูง กลาง กลาง และกลุ่มสูง กลาง ต่ำ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด โดยกลุ่มสูง สูง ต่ำ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงสุด ทั้งในด้านความรับผิดชอบ และด้านการให้ความช่วยเหลือ กลุ่มกลาง กลาง กลาง มีค่าเฉลี่ยของ คะแนนสูงสุดทั้งในด้านการแสดงความคิดเห็น ด้านการรับฟังความคิดเห็น และด้านการสื่อความหมาย และกลุ่มสูง สูง สูง มีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงสุดในด้านการใช้กระบวนการกลุ่ม


การพัฒนาจิตสาธารณะโดยใช้บทบาทสมมติสําหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม), รังสี เกษมสุข, สุขุมาล เกษมสุข 2023 Chulalongkorn University

การพัฒนาจิตสาธารณะโดยใช้บทบาทสมมติสําหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม), รังสี เกษมสุข, สุขุมาล เกษมสุข

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาจิตสาธารณะโดยใช้บทบาทสมมติสําหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จํานวน ๕๔ คน กลุ่มตัวอย่างได้รับ การพัฒนาจิตสาธารณะโดยใช้บทบาทสมมติ จำนวน ๑๒ เรื่อง ใช้เวลาทดลอง ๒๖ ครั้ง ครั้งละ ๕๐ นาที มีการวัดตัวแปร ๓ ครั้ง คือก่อนการทดลองหลังการทดลองและหลังการทดลองแล้วเป็นเวลา ๑ เดือน เครื่องมือที่ใช้วัดตัวแปรคือ แบบวัดจิตสาธารณะซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น .๔๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test ผลการวิจัยพบว่า ๑. นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาจิตสาธารณะโดยใช้บทบาทสมมติ มีจิตสาธารณะหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ๒. นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาจิตสาธารณะโดยใช้บทบาทสมมติ มีจิตสาธารณะหลังการทดลอง และหลังการทดลองแล้วเป็นเวลา ๑ เดือน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ นั่นคือมีความคงทน ของจิตสาธารณะ หลังการทดลองแล้วเป็นเวลา ๑ เดือน


การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการใช้ทักษะกระบวนการและ ทัศนคติ ที่มีต่อ รายวิชาสุขศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่ได้รับการสอนแบบเน้นกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ และการสอนแบบถ่ายทอดความรู้, สมศักดิ์ แตงสกุล 2023 Chulalongkorn University

การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการใช้ทักษะกระบวนการและ ทัศนคติ ที่มีต่อ รายวิชาสุขศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่ได้รับการสอนแบบเน้นกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ และการสอนแบบถ่ายทอดความรู้, สมศักดิ์ แตงสกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การใช้ทักษะ กระบวนการ และทัศนคติที่มีต่อรายวิชาสุขศึกษา พ ๔๑๑๐๑ ที่ได้รับการสอน แบบเน้นกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ และการสอนแบบถ่ายทอดความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่เรียนรายวิชาสุขศึกษา พ ๔๑๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน จำนวน ๑๙๔ คน จาก ๖ ห้องเรียน แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มคือ กลุ่มทดลอง เป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ที่เรียนอยู่ใน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จํานวน ๓ ห้องเรียน คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑๓๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑๓๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑๓๔ จำนวน ๙๗ คน ที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ กลุ่มสัมพันธ์ กลุ่มควบคุม เป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ที่เรียนอยู่ใน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จํานวน ๓ ห้องเรียน คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑๔๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑๔๒ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑๔๓ จํานวน ๙๗ คน ที่เรียนโดยใช้ แผนการจัดการเรียนรู้แบบถ่ายทอดความรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS FOR WINDOWS ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ ๑. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสุขศึกษา รหัสวิชา พ ๔๑๑๐๑ จากผลการทดลองพบว่า คะแนนผลการสอบหลังเรียนรายวิชาสุขศึกษา รหัสวิชา พ ๔๑๑๐๑ ระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้แผนการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์กับนักเรียน ๒. การใช้ทักษะกระบวนการ รายวิชาสุขศึกษา พ ๔๑๑๐๑ นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์มี ความสามารถในการใช้ทักษะกระบวนการต่าง ๆ กล้าแสดงความคิดเห็น …


ศิลปะ : การค้นหาความหมายในบริบท สุนทรียศาสตร์ และจิตวิทยาในศิลปะ, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ 2023 Chulalongkorn University

ศิลปะ : การค้นหาความหมายในบริบท สุนทรียศาสตร์ และจิตวิทยาในศิลปะ, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การประเมินโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำเพื่อเป็นนักกีฬา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม แบบเรียนร่วมห้องเรียน, ณัฐพร สุดดี, สุปราณี จิราณรงค์ 2023 Chulalongkorn University

การประเมินโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำเพื่อเป็นนักกีฬา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม แบบเรียนร่วมห้องเรียน, ณัฐพร สุดดี, สุปราณี จิราณรงค์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน ๑) ปัจจัยเบื้องต้น โดยพิจารณาจากความคิดเห็นที่มี ต่อโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำฯ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการติดตามดูแลนักเรียน ความคิดเห็นเกี่ยวกับคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการว่ายน้ำของนักเรียน ความเหมาะสมด้านระยะเวลาการจัด โครงการและระดับชั้น ๒) กระบวนการดำเนินการโดยพิจารณาจากความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการ จัดการเรียนรู้แบบเรียนร่วมห้อง รูปแบบการฝึกซ้อมว่ายน้ำของนักเรียนในโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำฯ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนของนักเรียนในโครงการพัฒนาทักษะกีฬา ว่ายน้ำฯ ปัญหาหรืออุปสรรคที่พบในการจัดโครงการและข้อเสนอแนะที่ควรเพิ่มเติมในการฝึกซ้อม สําหรับนักเรียนในโครงการ ๓) ผลผลิต โดยพิจารณาจากความพึงพอใจที่มีต่อประสิทธิภาพทางการ ว่ายน้ำ ความพึงพอใจที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับพัฒนาการด้านว่ายน้ำของนักเรียนใน โครงการฯ ระดับพัฒนาการของนักเรียนด้านต่างๆ และความพึงพอใจกับนักเรียนในโครงการ ๔) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ๕) ประสิทธิภาพทางทักษะกีฬาว่ายน้ำของนักเรียน ในโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำฯ 5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโครงการพัฒนาทักษะ กีฬาว่ายน้ำฯ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ๑) นักเรียนในโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำ จำนวน ๑๕ คน ๒) ผู้ปกครองนักเรียนในโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำจำนวน ๑๕ คน ๓) อาจารย์ ประจำชั้น อาจารย์ประจำวิชา จำนวน ๙ คน ๔) ผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกพัฒนาการว่ายน้ำ และแบบรายงานการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติหาค่าร้อยละ สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ๑) ความคิดเห็นที่มีต่อโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำเพื่อเป็นนักกีฬาโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม แบบเรียนร่วมห้องเรียน ความคิดเห็นเกี่ยวกับการติดตามดูแล นักเรียน ความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการว่ายน้ำของนักเรียน ความ เหมาะสมด้านระยะเวลาการจัดโครงการ และระดับชั้นอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ๒) ความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเรียนร่วมห้อง รูปแบบการฝึกซ้อมว่ายน้ำ ของนักเรียนในโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนของ นักเรียนในโครงการพัฒนาทักษะกีฬาเพื่อเป็นนักกีฬาโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม แบบเรียนร่วมห้อง ปัญหาหรืออุปสรรคที่พบในการจัดโครงการ และข้อเสนอแนะที่ควรเพิ่มเติมในการ ฝึกซ้อมสําหรับนักเรียนในโครงการ อยู่ระดับเหมาะสมมาก ๓) ความพึงพอใจที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการว่ายน้ำ ความพึงพอใจที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับพัฒนาการด้านว่ายน้ำของนักเรียนในโครงการ ระดับพัฒนาการของนักเรียนด้านต่างๆ และ …


สุนทรียศาสตร์และศิลปะในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ, อภิชาติ พลประเสริฐ 2023 Chulalongkorn University

สุนทรียศาสตร์และศิลปะในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ, อภิชาติ พลประเสริฐ

Journal of Education Studies

หลายหน่วยงานทั่วโลกให้ความสำคัญต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาโลกร้อน ซึ่งเป็นที่พูดถึงกันมากในปัจจุบันและมีการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม บทบาทของวงการศิลปะและสุนทรียศาสตร์เกี่ยวกับ เรื่องนี้อาจไม่เป็นที่ประจักษ์อย่างแพร่หลาย ดังนั้น บทความนี้จึงมุ่งที่จะนำเสนอความเคลื่อนไหวใน วงการศิลปะและสุนทรียศาสตร์ที่มีส่วนในการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย ประวัติ และปรัชญาบางส่วนของศิลปะภาพทิวทัศน์ (Landscape Art), Land Art Earth Art และ Environmental Art รวมทั้งทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์ที่เรียกว่า Environmental Aesthetics โดยเฉพาะอย่างทฤษฎีของ Allen Carlson ซึ่งเป็นนักสุนทรียศาสตร์ผู้มีผลงานที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในเรื่องนี้ บทความนี้พยายามจะทำให้เห็นว่า การมีความเข้าใจและซาบซึ้งต่อคุณค่าและความงามของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งโดยการผ่านประสบการณ์ทางสุนทรียะตามแนวทฤษฎีในสุนทรียศาสตร์ ในสิ่งแวดล้อม (Environmental Aesthetics) และโดยการผ่านการชื่นชมงานศิลปะ จะเป็นส่วนสําคัญ ต่อการปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติได้


ปฏิบัติการวิชาชีพครู : ก้าวแรกของความเป็นครู, เสริมศรี สวนไพรินทร์ 2023 Chulalongkorn University

ปฏิบัติการวิชาชีพครู : ก้าวแรกของความเป็นครู, เสริมศรี สวนไพรินทร์

Journal of Education Studies

บทความนี้นำเสนอการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ซึ่งเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูสำหรับนิสิตชั้นปีที่ ๔ ของคณะครุศาสตร์ โดยนิสิตฝึกสอน จะได้รับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเสมือนเป็นอาจารย์ประจําเพื่อให้นิสิตได้รับประสบการณ์เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูในอนาคตอย่างแท้จริง โดยมีอาจารย์ประจำของโรงเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ทำหน้าที่เป็นอาจารย์นิเทศก์ ให้คำปรึกษานิสิตในการฝึกประสบการณ์ของวิชาชีพครู ได้แก่ ๑) การจัด การเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ตามสาขาวิชาเอกของนิสิต เพื่อพัฒนานิสิตให้จัด กระบวนการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพตามกระบวนการวงจรคุณภาพ (PDCA) คือ วางแผนการจัดกระบวนการเรียนการสอน (Plan) จัดกระบวนการเรียนการสอน (Do) ประเมินผล การจัดการเรียนการสอน (Check) และปรับปรุงหลังจากประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน (Act) ๒) การฝึกบทบาทอาจารย์ประจําชั้น ซึ่งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม กําหนดให้ เป็นบทบาทสำคัญที่นิสิตจะต้องฝึกการเป็นอาจารย์ประจำชั้น โดยมีอาจารย์นิเทศก์ ซึ่งเป็นอาจารย์ ประจําชั้นของห้องเรียนนั้นเป็นผู้ให้คำปรึกษา เพื่อให้นิสิตทำหน้าที่ความเป็นครูอย่างแท้จริง เช่น การ ดูแลนักเรียนเข้าแถวเคารพธงชาติ สวดมนต์ และร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี (ทุกวันศุกร์) นอกจากนี้ ในแต่ละวัน ช่วง ๔.๐๐-๔.๓๐ น. เป็นช่วงเวลาของกิจกรรมโฮมรูม เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างอาจารย์ประจำชั้นกับนักเรียน และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดขึ้นในตัว นักเรียน หรือที่เรียกว่า M L C R M = Morality หรือคุณธรรม L = Leadership หรือภาวะผู้นํา C = Critical Thinking and Creative Thinking หรือการคิดอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ R - Responsibility หรือความรับผิดชอบ ๓) การร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน นิสิตจะได้เรียนรู้การให้ คำปรึกษา การกำกับดูแลนักเรียน และสังเกตพฤติกรรม/ทักษะต่างๆ ของนักเรียนผ่านกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน กิจกรรมวันสำคัญ ทางศาสนา กิจกรรมของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ต่างๆ เช่น วันภาษาไทยแห่งชาติ สัปดาห์วิทยาศาสตร์ แห่งชาติ ดังนั้น โดยสรุปแล้วการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนานิสิตให้ …


คิดนอกกรอบ, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ 2023 Chulalongkorn University

คิดนอกกรอบ, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


เปิดประเด็น, ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย 2023 Chulalongkorn University

เปิดประเด็น, ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การสำรวจการเลือกเรียนวิชาเลือกในหลักสูตรตามแนวคิด Fun Find Focus ด้านการตัดสินใจและโอกาสในการเลือก เรียนวิชาเลือกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียน สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, ประณาท เทียนศรี 2023 Chulalongkorn University

การสำรวจการเลือกเรียนวิชาเลือกในหลักสูตรตามแนวคิด Fun Find Focus ด้านการตัดสินใจและโอกาสในการเลือก เรียนวิชาเลือกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียน สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, ประณาท เทียนศรี

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อสำรวจการเลือกเรียนวิชาเลือกในหลักสูตรตามแนวคิด Fun Find Focus ด้านการตัดสินใจและโอกาสในการเลือกเรียนวิชาเลือกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียน สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีโอกาสเลือกเรียนวิชาเลือกเสรี ที่ตนสนใจได้เป็นบางวิชาเนื่องจากจํานวนผู้เรียนเต็ม และเวลาเรียนซ้อนกับวิชาบังคับเลือก นักเรียนมีความกล้า ตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกเรียนด้วยตนเอง นักเรียนสามารถลงทะเบียนเรียน ได้ตามที่ต้องการ ซึ่งนักเรียนที่ชอบเรียนวิชาใด จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีในวิชาที่ตนชอบ และนักเรียน ที่ลงเรียนกลุ่มวิชาเหมือนกันทุกครั้งจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และพบว่าความกล้าตัดสินใจไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนส่วนใหญ่ชอบรูปแบบการเรียนการสอนตามหลักสูตร Fun Find Focus เพราะได้เลือกเรียนในสิ่งที่ตนสนใจ


แนะนำหนังสือ, อาชัญญา รัตนอุบล 2023 Chulalongkorn University

แนะนำหนังสือ, อาชัญญา รัตนอุบล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


Digital Commons powered by bepress