Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Communication Technology and New Media Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

6,315 Full-Text Articles 6,690 Authors 6,362,193 Downloads 273 Institutions

All Articles in Communication Technology and New Media

Faceted Search

6,315 full-text articles. Page 55 of 239.

การบริหารจัดการธุรกิจละครข้ามชาติในอุตสาหกรรมสื่อไทย, ชวนา สุทธินราธร 2021 คณะนิเทศศาสตร์

การบริหารจัดการธุรกิจละครข้ามชาติในอุตสาหกรรมสื่อไทย, ชวนา สุทธินราธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษากลยุทธ์และการบริหารจัดการธุรกิจละครข้ามชาติขององค์กรผู้ให้บริการเนื้อหาในประเทศไทย รวมถึงอุปสรรคและแนวโน้มในอนาคตของธุรกิจดังกล่าวในอุตสาหกรรมสื่อไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารจากองค์กรสื่อที่ดำเนินธุรกิจละครข้ามชาติ 6 ราย และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อข้ามชาติ 2 ราย ผลการศึกษาพบว่า องค์กรผู้ให้บริการเนื้อหาในประเทศไทยไม่ว่ารายใหญ่หรือรายย่อยต่างให้ความสำคัญกับตลาดผู้ชมต่างประเทศ เป้าประสงค์ในการดำเนินธุรกิจเป็นไปเพื่อแสวงหารายได้และฐานผู้ชมที่ใหญ่ขึ้น โอกาสทางธุรกิจและการต่อยอดความสำเร็จ รวมถึงเสริมสร้างอำนาจอ่อนให้แก่ประเทศ ปัจจัยด้านการเมือง เทคโนโลยี วัฒนธรรมและกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก เป็น 4 ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการกำหนดกลยุทธ์อุตสาหกรรมสื่อไทยในภาพรวมมีจุดเด่นอยู่ที่บุคลากรที่มีความสามารถและเทคโนโลยีการผลิตที่ได้รับการยอมรับ รูปแบบการดำเนินธุรกิจมีทั้งการซื้อขายลิขสิทธิ์ละคร การผลิตร่วมและการรับจ้างผลิต ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นสอดคล้องไปกับเป้าประสงค์ คือ องค์กรมีการเติบโตในแง่ของรายได้และฐานผู้ชม อีกทั้งยังได้รับการยอมรับจากตลาดเนื้อหาสากล ทว่าก็ยังมีอุปสรรคจากระบบเซนเซอร์ของประเทศจีนที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การสนับสนุนจากภาครัฐที่ไม่ต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม ข้อจำกัดทางงบประมาณและรสนิยมที่แย้งกันระหว่างผู้ชมภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้ ธุรกิจละครข้ามชาติเป็นธุรกิจที่มีความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เนื่องจากขึ้นอยู่กับหลากหลายตัวแปร เมื่อประกอบกับการขาดการผลักดันที่เป็นรูปธรรมจากภาครัฐ จึงทำให้การเติบโตขององค์กรสื่อไทยในธุรกิจนี้ไม่แข็งแรงนัก


การใช้แฮชแท็กบนโซเชียลมีเดีย, ณฐมน โพธา 2021 คณะนิเทศศาสตร์

การใช้แฮชแท็กบนโซเชียลมีเดีย, ณฐมน โพธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษา (1) วัตถุประสงค์การใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมในไทย ได้แก่ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม (2) แฮชแท็กในโซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์ม และ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน จากการสำรวจด้วยแบบสอบถามผู้ใช้แฮชแท็กจำนวน 423 คน วิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้แฮชแท็กส่วนใหญ่ใช้มากกว่า 1 แพลตฟอร์ม โดยใช้แฮชแท็กในทวิตเตอร์มากที่สุด รองลงมา คือ เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม วัตถุประสงค์การใช้แฮชแท็กมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้โซเชียลมีเดีย คือ การตอบสนองด้านข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งวัตถุประสงค์การใช้แฮชแท็กยังสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทั้งสิ้น 10 ด้าน ได้แก่ การค้นหาและติดตามข้อมูล สนับสนุนบุคคลที่ชื่นชอบ การจัดการข้อมูล การกระจายเนื้อหาและเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก ประโยชน์ทางธุรกิจและการซื้อขายสินค้า ความสนุกสนานและตลกขบขัน การแสดงความคิดเห็น การสร้างความสัมพันธ์ การนำเสนอตนเอง สื่อความหมายและทดแทนอวัจนภาษา ซึ่งผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมในแต่ละประเด็น ด้านความแตกต่างระหว่างแพลตฟอร์ม การใช้แฮชแท็กในทวิตเตอร์จะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะและความสนใจส่วนบุคคล ขณะที่การใช้แฮชแท็กในอินสตาแกรมเป็นข้อมูลที่เน้นตนเองเป็นหลัก ส่วนเฟซบุ๊กเป็นการใช้แฮชแท็กในเชิงข้อมูลเกี่ยวกับคนรู้จักและการเน้นข้อความ นอกจากนี้พบว่าผู้ใช้แฮชแท็กตัดสินใจเลือกใช้แฮชแท็กจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง สังคม ลักษณะแฮชแท็ก และการรองรับของแพลตฟอร์ม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าแฮชแท็กจะถือกำเนิดจากการจัดระเบียบข้อมูล แต่ผลการศึกษาพบว่าการใช้แฮชแท็กสามารถตอบสนองการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายตามทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการใช้เครื่องมือสื่อสาร เพื่อตอบสนองความต้องการของตนในแต่ละด้าน


ปัจจัยพยาการณ์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงของกลุ่มผู้บริโภค, พรรณวดี หิรัญศุภโชค 2021 คณะนิเทศศาสตร์

ปัจจัยพยาการณ์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงของกลุ่มผู้บริโภค, พรรณวดี หิรัญศุภโชค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจการเปิดรับสื่อ ทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดและทัศนคติต่อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาของผู้บริโภค 2) เพื่อสำรวจการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาของผู้บริโภค และ 3) เพื่ออธิบายอิทธิพลของการเปิดรับสื่อ ทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดและทัศนคติต่อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาของผู้บริโภค เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถามจากกลุ่มผู้บริโภคที่เคยมีประวัติซื้อสินค้าหรือใช้บริการด้านการเสริมดวงชะตา 400 คน ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 24 – 41 ปี อยู่ระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัทเอกชนและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในระดับ 15,001 – 30,000 บาท สำหรับพฤติกรรมด้านการซื้อสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตา ส่วนใหญ่ใช้บริการการดูดวง อยู่ที่ 3 – 5 ครั้งต่อเดือน ค่าใช้จ่ายต่อครั้งอยู่ที่ 300 – 500 บาท โดยเน้นวัตถุประสงค์ในเรื่องความรัก ส่วนใหญ่มีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตา จากเพื่อนฝูง ครอบครัว คนใกล้ตัว และตัดสินใจซื้อและใช้บริการด้วยตัวเอง มีการเปิดรับสื่อข่าวสารข้อมูลด้านช่องทางการเปิดรับสื่อออนไลน์และออฟไลน์ และทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดของสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตา ในด้านประเภทของสื่อที่เปิดรับ, ด้านช่องทางการเปิดรับสื่อ, ด้านเนื้อหาการเปิดรับสื่อ ในระดับมากทั้งหมด ด้านทัศนคติต่อสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตา ในด้านความรู้ความเข้าใจ และด้านอารมณ์ความรู้สึก อยู่ในระดับเห็นด้วยมากทั้งหมด เช่นเดียวกันกับการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตาพบว่าเห็นด้วยในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ช่วงอายุที่แตกต่างกันส่งผลต่อทัศนคติต่อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาที่แตกต่างกัน และปัจจัยพยากรณ์ด้านทัศนคติต่อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตามีอิทธิพลต่อการมีการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตา ส่วนปัจจัยพยากรณ์ด้านการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตาไม่มีอิทธิพลต่อการมีการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตา


การวิเคราะห์ภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาในละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือ, วัชรวีร์ ไชยยายนต์ 2021 คณะนิเทศศาสตร์

การวิเคราะห์ภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาในละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือ, วัชรวีร์ ไชยยายนต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาในละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือ โดยศึกษาละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือจำนวน 3 เรื่อง ซึ่งออกอากาศทางช่อง 3HD ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1.การวิเคราะห์ตัวบทละคร 2.การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ผลิต ได้แก่ ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์และผู้จัดละครโทรทัศน์ 3.การจัดกลุ่มสนทนาผู้ชมละครโทรทัศน์ที่เป็นผู้หญิงล้านนา ผลการวิจัยพบว่า ภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาในละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือทั้ง 3 เรื่อง มีการสร้างภาพตัวแทนของความเป็นแม่ ความเป็นเมีย และความเป็นลูกสาว ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากสถาบันครอบครัวทั้งสิ้น ผู้หญิงล้านนาส่วนใหญ่มีหน้าที่สนับสนุนความสำเร็จของคู่ครองและทำหน้าที่ดูแลทุกอย่างภายในบ้าน ดังนั้นการถ่ายทอดอุดมการณ์ทางความคิดจากรุ่นสู่รุ่นจึงตกเป็นหน้าที่ของผู้หญิง ภาพตัวแทนผู้หญิงล้านนาในละครบางเรื่องจึงแสดงออกถึงความเป็นแม่และความเป็นเมียควบคู่กัน ภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาที่แสดงออกมา มีการประกอบสร้างภาพตัวแทนโดยการนำบริบทของวัฒนธรรมปัจจุบันผสมผสานเข้าไปกับวัฒนธรรมล้านนาแบบดั้งเดิม ดังนั้นภาพตัวแทนที่แสดง จึงเป็นสิ่งที่กระทบเข้าไปในการรับรู้และความรู้สึกของผู้ชม เนื่องจากภาพตัวแทนที่เห็นนั้นเป็นเหมือนภาพสะท้อนของตัวเอง ก่อให้เกิดการตั้งคำถามว่าเราควรทำหรือไม่ควรทำตามภาพสะท้อนที่เห็น และถ้าเราอยู่ ณ เวลานั้นในอดีต เราจะทำอย่างไร อีกประการ การสร้างภาพตัวแทนผู้หญิงล้านนาในละคร ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงทางสังคมในหลายแง่มุม เพราะสิ่งที่ปรากฏในละครบางอย่างยังคงอยู่ในปัจจุบัน


อิทธิพลของการออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชันต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภค, สุธาทิพย์ มีสุวรรณ 2021 คณะนิเทศศาสตร์

อิทธิพลของการออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชันต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภค, สุธาทิพย์ มีสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ความรู้สึกของผู้บริโภค (ได้แก่ อารมณ์ ทัศนคติต่อการใช้งานโมไบล์แอปพลิเคชัน ทัศนคติต่อตราสินค้า และความไว้วางใจได้) และประสบการณ์ของผู้บริโภค (ได้แก่ ความพึงพอใจ ความถี่ในการซื้อ และความภักดีต่อการใช้งานโมไบล์แอปพลิเคชัน) และ 2) อิทธิพลของการออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ จาก 1) กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 20 – 39 ปี ที่มีการดาวน์โหลดและเคยซื้อสินค้าผ่านโมไบล์แอปพลิเคชันของตราสินค้า UNIQLO อย่างน้อย 1 ครั้ง ในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 325 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 20 – 39 ปี ที่มีการดาวน์โหลดและเคยซื้อสินค้าผ่านโมไบล์แอปพลิเคชันของตราสินค้า H&M อย่างน้อย 1 ครั้ง ในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 242 คน รวมทั้งหมด 567 คน ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟส ความรู้สึกของผู้บริโภค และประสบการณ์ของผู้บริโภคตราสินค้า UNIQLO และตราสินค้า H&M แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสำหรับตราสินค้า UNIQLO การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ในมิติของสุนทรียศาสตร์ในการออกแบบ และการรับรู้ถึงความมีประโยชน์ มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภคมากที่สุด ขณะที่การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ในมิติของการรับรู้ถึงความเพลิดเพลิน มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านโมไบล์แอปพลิเคชันของตราสินค้า H&M มากที่สุด


การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กร การดูดซับความรู้ในเรื่องโควิด-19 และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ของพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธาม เหลืองสุขโสภณ 2021 คณะนิเทศศาสตร์

การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กร การดูดซับความรู้ในเรื่องโควิด-19 และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ของพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธาม เหลืองสุขโสภณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.) การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กรของพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 2.) การดูดซับความรู้ในเรื่องโควิด-19 ของพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 3.) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ของพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 4.) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กร กับการดูดซับความรู้ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยการศึกษาดังกล่าวใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ทำการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 210 ชุด จากกลุ่มตัวอย่างพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ที่เป็นพนักงานประจำ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการลูกค้า ปฏิบัติงาน ณ พื้นที่สาขาของธนาคารมาแล้วระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ซึ่งผลการวิจัย พบว่า 1.) กลุ่มตัวอย่างมีการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กรโดยรวมในระดับเป็นประจำ 2.) กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการเรียนรู้ในเรื่องโควิด-19 โดยรวมในระดับสูงมาก 3.) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยรวมในระดับทำอยู่บ่อย ๆ และ 4.) การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กร มีความสัมพันธ์กับการดูดซับความรู้ในเรื่องโควิด-19 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับสูง ส่วนการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กร มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ และการดูดซับความรู้ในเรื่องโควิด-19 มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ


การวิเคราะห์เนื้อหาโฆษณาที่ใช้ตรรกะวิบัติในสินค้าที่มีความเกี่ยวพันต่ำ, คณิน ตั้งปัญญาไว 2021 คณะนิเทศศาสตร์

การวิเคราะห์เนื้อหาโฆษณาที่ใช้ตรรกะวิบัติในสินค้าที่มีความเกี่ยวพันต่ำ, คณิน ตั้งปัญญาไว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาจำนวนภาพยนตร์โฆษณาที่พบตรรกะวิบัติ 2. เพื่อศึกษาจำนวนและประเภทของตรรกะวิบัติที่พบในภาพยนตร์โฆษณาทั้งหมด 3. เพื่อศึกษาลักษณะและจำนวนของตรรกะวิบัติที่พบในแต่ละกลุ่มประเภทสินค้า เป็นการศึกษาด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยศึกษาจากภาพยนตร์โฆษณาประเภทสินค้าที่มีความเกี่ยวพันต่ำ โดยเป็นสินค้าประเภท Fast Moving Consumer Goods (FMCG) หรือสินค้าที่จำหน่ายเร็วและมีต้นทุนต่ำ 4 กลุ่มได้แก่ 1. กลุ่มเครื่องดื่ม 2. กลุ่มอาหาร 3. กลุ่มความงามและของใช้ส่วนบุคคล 4. กลุ่มสินค้าในครัวเรือน กลุ่มละ 10 ตราสินค้า รวม จำนวน 798 ชิ้นที่ปรากฎในช่วงเดือนธันวาคม 2562 - ธันวาคม 2564 และเกณฑ์การคัดเลือกตราสินค้านั้นเป็นไปตามข้อมูลทางสถิติส่วนแบ่งการตลาดจากฐานข้อมูล Euromonitor จากการวิจัยพบว่า โฆษณาที่ใช้ตรรกะวิบัติมีสัดส่วนร้อยละ 66.42 จากภาพยนตร์โฆษณาทั้งหมด และพบว่าสินค้ากลุ่มความงามและของใช้ส่วนบุคคลมีการใช้ตรรกะวิบัติมากถึงร้อยละ 84.58 ของภาพยนตร์โฆษณาในกลุ่มความงามและของใช้ส่วนบุคคลทั้งหมด โดยตรรกะวิบัติประเภทเกณฑ์ความเพียงพอ หมายถึงการจำแนกที่หลักฐานที่มาสนับสนุนคำกล่าวอ้างให้ข้อสรุปหนักแน่น พบมากถึงร้อยละ 45.69 จากตรรกะวิบัติที่พบทั้งหมด รองลงมาคือตรรกะวิบัติประเภทเกณฑ์ความเกี่ยวข้องที่หมายถึงตรรกะวิบัติด้วยการพิจารณาที่เหตุกับผลว่ามีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่นั้นพบมากถึง 31.96 จากตรรกะวิบัติที่พบทั้งหมด มีภาพยนตร์โฆษณามากถึงร้อยละ 25.97 พบว่าใช้ตรรกะวิบัติมากกว่า 1 ครั้ง


อิทธิพลของปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปีย์รติ กายสิทธิ์ 2021 คณะนิเทศศาสตร์

อิทธิพลของปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปีย์รติ กายสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ ทัศนคติ (ได้แก่ ทัศนคติต่อรายการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ และทัศนคติต่อตราสินค้า) พฤติกรรมของผู้บริโภค (ได้แก่ การซื้อซ้ำ ความพึงพอใจ การตั้งใจแนะนำ และการตั้งใจติดตาม) 2) อิทธิพลของปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค และ 3) อิทธิพลของทัศนคติ ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 25-40 ปี ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์จากการรับชมรายการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แบ่งเป็นตราสินค้า Amado 220 คน และตราสินค้า Madame Fin 211 คน รวมทั้งหมด 431 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์โดยรวม และทัศนคติของผู้บริโภคตราสินค้า Amado และตราสินค้า Madame Fin แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคทั้งสองตราสินค้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ ปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ทั้ง 3 ด้าน มีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้บริโภคทั้งด้านทัศนคติต่อรายการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ และทัศนคติต่อตราสินค้า และปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ทั้ง 3 ด้าน ยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งด้านการซื้อซ้ำ ความพึงพอใจ การตั้งใจแนะนำ และการตั้งใจติดตาม นอกจากนี้ ทัศนคติของผู้บริโภคยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคตราสินค้า Amado และ Madame Finเช่นกัน


แนวทางการยกระดับภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญไทยสู่การเป็นสินค้าของประเทศ, รัตน์ฤดี ปิ่นแก้ว 2021 คณะนิเทศศาสตร์

แนวทางการยกระดับภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญไทยสู่การเป็นสินค้าของประเทศ, รัตน์ฤดี ปิ่นแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมของภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญไทย เพื่อนำเสนอแนวทางในการสนับสนุนภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญในฐานะสินค้าของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย ผ่านการค้นคว้าและวิเคราะห์เอกสาร ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากตัวแทนผู้สร้างภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญไทยที่ประสบความสำเร็จในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรเพื่อเป็นกรณีศึกษา คือ ภาพยนตร์เรื่อง ‘ร่างทรง’ ภาพยนตร์เรื่อง ‘ปริศนารูหลอน’ และซีรีส์เรื่อง ‘เด็กใหม่ 2’ รวมถึงสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถสะท้อนภาพรวมตามวัตถุประสงค์ในการศึกษา ผลการวิจัยพบว่าภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญไทยได้สร้างปรากฏการณ์ความนิยมในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ การมีรากฐานความเชื่อต่อสิ่งลี้ลับที่ใกล้เคียงกับคนไทย อีกทั้งอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีผลต่ออำนาจในการซื้อสินค้าและบริการ รวมถึงความเข้มงวดของกฎหมายเซ็นเซอร์ในชาติมุสลิมที่ทำให้ภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญไทยได้เปรียบในการส่งออกสู่ประเทศนั้น และที่สำคัญคือการขยายตัวของสื่อออนไลน์สตรีมมิงที่ผู้ใช้งานสามารถเปิดรับเนื้อหาได้หลากหลายจากทั่วโลก ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญไทยเดินทางข้ามเส้นแบ่งพรมแดนได้อย่างอิสระ อย่างไรก็ตามภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญยังคงขาดนโยบายในการส่งเสริมด้านการส่งออกจากภาครัฐ และการมองถึงการแข่งขันในตลาดต่างประเทศของภาคเอกชน ทั้งนี้การยกระดับภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญไทยจะต้องตระหนักถึงปัจจัยสำคัญใน 3 ด้าน​ คือ ด้านการผลิตและออกฉาย ด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ และด้านบุคลากร หากได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสม ย่อมส่งผลให้ภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญสามารถแข่งขันในตลาดโลกตามกรอบแนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน


การสร้างสรรค์การแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน, อองฟอง เอี่ยมประพันธ์ 2021 คณะนิเทศศาสตร์

การสร้างสรรค์การแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน, อองฟอง เอี่ยมประพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่นำเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณีของชุมชนกุฎีจีน ผ่านนิทรรศการที่จัดแสดงวัตถุและป้ายคำบรรยายที่อธิบายวัตถุอย่างตรงไปตรงมาตามปกติ ซึ่งนับเป็นการสื่อสารตามรูปแบบของพิพิธภัณฑ์วิทยา (Museology) ที่มีเป้าหมายในการอนุรักษ์วัตถุอันเป็นมรดกสืบทอดของมนุษย์และเผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ (Creative Research) เพื่อสร้างสรรค์การแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน และเพื่อศึกษาทัศนคติของผู้เข้าชมต่อการแสดงรูปแบบพิพิธภัณฑ์นาฏกรรมตามแนวคิดพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ (New Museology) ที่ให้ความสำคัญกับผู้เข้าชมในฐานะผู้รับสารที่มีส่วนร่วมมากกว่าการพิจารณาเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ โดยผู้วิจัยได้สร้างสรรค์การแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน 1 เรื่อง เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ผ่านขั้นเตรียมการแสดง ขั้นจัดการแสดง และขั้นหลังการแสดง ผลการวิจัยพบว่า การแสดงรูปแบบพิพิธภัณฑ์นาฏกรรมได้ทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหรือวิถีชุมชนได้ในเชิงของภาพ อารมณ์ และความรู้สึก ซึ่งสะท้อนให้เห็นบริบทแวดล้อมในมิติต่าง ๆ ผ่านเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบฉาก และบทสนทนาของตัวละคร รวมถึงเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้ผู้เข้าชมอยากศึกษาเรียนรู้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การคัดเลือกประเด็นหรือเนื้อหาในการนำเสนอผ่านการแสดงเพื่อให้ผู้เข้าชมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนกุฎีจีน ควรคำนึงถึงกลุ่มผู้เข้าชมเป้าหมายเป็นหลัก เพราะผู้เข้าชมที่มีอายุ ความรู้ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ย่อมมีผลต่อการรับรู้ที่แตกต่างกันด้วย


Accessibility Of Information On Marketplace Websites For Consumers With Disabilities, Hanny Hafiar, Priyo Subekti, Yanti Setianti, Adzkia Kirana Dipa 2021 Universitas Padjadjaran

Accessibility Of Information On Marketplace Websites For Consumers With Disabilities, Hanny Hafiar, Priyo Subekti, Yanti Setianti, Adzkia Kirana Dipa

Library Philosophy and Practice (e-journal)

The need for information accessibility for people with disabilities is to access website-based information. However, until now, several websites still do not have an optimal level of accessibility, including marketplace websites in Indonesia. The purpose of this research is producing information about the evaluation results of the marketplace platform website as a consideration to make steps to increase website accessibility more effective. The method of this research is evaluative, it was conducted using the accessibility evaluation of several tools. The results of the evaluation of the accessibility of the most visited marketplace website in Indonesia show that there are still …


Icts And Transnational Householding: The Double Burden Of Polymedia Connectivity For International ‘Study Mothers’, Yang WANG, Sun Sun LIM 2021 Singapore Management University

Icts And Transnational Householding: The Double Burden Of Polymedia Connectivity For International ‘Study Mothers’, Yang Wang, Sun Sun Lim

Research Collection College of Integrative Studies

In contemporary society, information and communication technologies (ICTs) are widely cherished for helping transnational households preserve a coherent sense of familyhood despite geographical separation. By virtue of the constant connectivity bestowed by ICTs, international migrants and their left-behind family members can remain involved in the mundane experiences of each other’s everyday lives and perform familial responsibilities from afar on a daily basis. However, the same polymedia environment that serves as the ‘social glue of transnationalism’ can also bring about deficiencies and potential negative implications for family functioning and well-being of family members. Drawing on both literature review and empirical evidence, …


Lessons From Our Living Rooms: Illuminating Lockdowns With Technology Domestication Insights, Sun Sun LIM, Yang WANG 2021 Singapore Management University

Lessons From Our Living Rooms: Illuminating Lockdowns With Technology Domestication Insights, Sun Sun Lim, Yang Wang

Research Collection College of Integrative Studies

With at least half of humanity under lockdown to arrest the spread of COVID-19 (Sandford, 2020), adults have been working from home and children engaging in home schooling for months on end. Competing for scarce resources such as digital devices, bandwidth, as well as physical and personal space, families have had to contend with rising tensions around the quality of digital engagement, children’s learning abilities, parent-child relationships and overall familial wellbeing. This fraught situation shone the spotlight on the household context of technology use but also enabled us to marshal academic insights to advance advocacy and public education. The pandemic …


การสำรวจปัญหาและแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยผ่านมุมมองซอฟต์พาวเวอร์, กฤชพนธ์ ศรีอ่วม 2021 คณะนิเทศศาสตร์

การสำรวจปัญหาและแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยผ่านมุมมองซอฟต์พาวเวอร์, กฤชพนธ์ ศรีอ่วม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจปัญหาและสถานการณ์ของอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทย และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยผ่านมุมมองซอฟต์พาวเวอร์ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบนิเวศอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ ได้แก่ ผู้ผลิตคาแรคเตอร์, อาจารย์มหาวิทยาลัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง, หน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน, ผู้ผลิตสินค้าคาแรคเตอร์, และกลุ่มผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งหมด 15 ท่าน เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยผู้วิจัยประยุกต์ใช้แนวคิดเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ 6 ด้าน มาเป็นกรอบในการศึกษาแนวทางส่งเสริมต่ออุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทย ได้แก่ ความเป็นไทย การศึกษา การส่งออกและการร่วมมือระหว่างประเทศ การประยุกต์ใช้ดิจิทัล ผู้ประกอบการจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และภาครัฐ ผลการวิจัยพบว่า อุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยเผชิญกับสถานการณ์และปัญหาที่แตกต่างกันตามแต่ละภาคส่วน โดยปัญหาที่เป็นจุดร่วมของทั้งระบบนิเวศคือ ความเข้าใจต่อโครงสร้างของระบบนิเวศอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ และไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เป็นต้น โดยผู้วิจัยหยิบยกปัญหาที่มีความสำคัญเหล่านี้มานำเสนอเป็นแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทย ประกอบไปด้วย แนวทาง 3 วาระ ได้แก่ วาระที่ 1) แก้ปัญหาและสร้างตัวตนแก่อุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทย วาระที่ 2) พัฒนาต่อยอดคาแรคเตอร์ไทย วาระที่ 3) สร้างความผูกพันธ์ระหว่างคาแรคเตอร์ไทยกับผู้บริโภคในวงกว้าง ตลอดจนนำเสนอความเป็นไทยในแง่มุมต่าง ๆ ผ่านคาแรคเตอร์ไทย


คลิปสปอยล์หนังในฐานะสารนอกตัวบทและปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมในประเทศไทย, ไพรัตน์ โคสะพละกิจ 2021 คณะนิเทศศาสตร์

คลิปสปอยล์หนังในฐานะสารนอกตัวบทและปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมในประเทศไทย, ไพรัตน์ โคสะพละกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง “คลิปสปอยล์หนังในฐานะสารนอกตัวบทและปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมในประเทศไทย” โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาคลิปสปอยล์หนังในไทยในฐานะสารนอกตัวบท ผ่านการศึกษาโครงสร้าง เนื้อหาการสปอยล์ ระดับการสปอยล์ ประเภทภาพยนตร์ที่ถูกสปอยล์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวบทและข้อความการแสดงความคิดเห็นใต้คลิปจากผู้ที่เข้ามาชมคลิปสปอยล์หนัง จากช่องยูทูบ 5 ช่องของไทยที่ได้รับความนิยมเรียงตามลำดับ และมีผู้ติดตามมากกว่า 1 แสนคนขึ้นไป ได้แก่ 1.ช่อง จดอ JUSTดูIT. 2.ช่อง คอเป็นหนัง 3.ช่อง สองสตูดิโอ 4.ช่อง GU Channel 5.ช่อง SNEAK channel อีกทั้ง 2.เพื่อศึกษาปฏิบัติการของผู้ผลิตและติดตามเนื้อหา และมุมมองที่มีต่อคลิปสปอยล์หนังจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ 1.กลุ่มคนทำคลิปสปอยล์หนัง 2.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการภาพยนตร์ 3.กลุ่มผู้สร้างและผู้ผลิตภาพยนตร์ 4.กลุ่มผู้มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา 5.กลุ่มคนรักหนังที่ชอบดูคลิปสปอยล์หนัง 6.กลุ่มคนรักหนังที่หลีกเลี่ยงการดูคลิปสปอยล์หนัง โดยกาiสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยข้อมูลเหล่านี้จะนำมาอภิปรายต่อในลำดับต่อไปด้วยการบรรยายหรือการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพการณ์และปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้คลิปสปอยล์หนังกลายเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่าสื่อในปัจจุบันมีเนื้อหาหลากหลายและมีช่องทางในการรับชมหลายหลาก จึงทำให้ผู้คนในสังคมสามารถเลือกเสพสื่อได้ตามใจชอบและตามรสนิยมที่มีอยู่ในตัวบุคคลผู้นั้น อีกทั้งปัจจัยสำคัญอื่นๆ เช่น 1.ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม 2.ปัจจัยด้านระบบนิเวศสื่อใหม่ 3.ปัจจัยด้านเวลา 4.ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ที่ทำให้คลิปสปอยล์หนังได้รับความนิยมจนก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมในประเทศไทย การศึกษาคลิป สปอยล์หนังในฐานะสารนอกตัวบทและปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมสามารถสร้างความเข้าใจต่อวัฒนธรรมภาพยนตร์ร่วมสมัยที่มีความสลับซับซ้อนในประเทศไทยและสามารถนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการและอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในอนาคต


การเปิดรับข่าวสารและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล ของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย, กฤตธี เปี่ยมสง่า 2021 คณะนิเทศศาสตร์

การเปิดรับข่าวสารและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล ของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย, กฤตธี เปี่ยมสง่า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำรวจ การเปิดรับข่าวสารและอธิบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัลของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย ใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ และเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความถี่ในการเปิดรับข่าวสารสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านสื่อไม่มีปฏิสัมพันธ์และสื่อมีปฏิสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ความคาดหวังในประสิทธิภาพ ความคาดหวังในความพยายาม คุณค่าราคา การรับรู้ความเสี่ยง และการรับรู้ว่าน่าไว้วางใจ จัดอยู่ในระดับมาก มีเพียง อิทธิพลทางสังคม ที่จัดอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความตั้งใจใช้สินทรัพย์ดิจิทัลของกลุ่มตัวอย่าง ในภาพรวมพบว่าจัดอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัลของกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล ได้แก่ ความคาดหวังในประสิทธิภาพ (ß = 0.334) การรับรู้ว่าน่าไว้วางใจ (ß = 0.261) และอิทธิพลทางสังคม (ß = 0.156) โดยสมการความสัมพันธ์สามารถอธิบายได้ร้อยละ 50.8 (R2 = 0.508)


ความแตกต่างของระดับการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของตราสินค้าเพื่อการสมรสเท่าเทียมต่อคุณค่าตราสินค้าและความตั้งใจซื้อของกลุ่มเจนเนเรชั่นแซด, กิตติภูมิ ลมุลพจน์ 2021 คณะนิเทศศาสตร์

ความแตกต่างของระดับการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของตราสินค้าเพื่อการสมรสเท่าเทียมต่อคุณค่าตราสินค้าและความตั้งใจซื้อของกลุ่มเจนเนเรชั่นแซด, กิตติภูมิ ลมุลพจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้บริโภคที่มีระดับการสนับสนุนต่างกันต่อคุณค่าตราสินค้าและความตั้งใจซื้อสินค้าหรือการบริการจากตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียม และความสัมพันธ์ของคุณค่าตราสินค้ากับความตั้งใจซื้อสินค้าหรือการบริการจากตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เทคนิคการสำรวจ ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิต นักศึกษาเจนเนเรชั่นแซดอายุระหว่าง 18 – 24 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในประเทศไทย และเลือก แสนสิริ เป็นตราสินค้าสำหรับการวิจัยโดยกระจายแบบสอบถามผ่านช่องทางทวิตเตอร์ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 421 ชุด ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการสนับสนุนต่างกันจะรับรู้คุณค่าตราสินค้าโดยรวมและรายด้านทุกด้านของตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียม ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยระดับการสนับสนุนของกลุ่มที่มีท่าทีสนับสนุนมากสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับการสนับสนุนของกลุ่มที่มีท่าทีสนับสนุนน้อยในทุกด้าน และกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการสนับสนุนต่างกันจะมีความตั้งใจซื้อสินค้าหรือการบริการจากตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียมต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยค่าเฉลี่ยระดับการสนับสนุนของกลุ่มที่มีท่าทีสนับสนุนมากสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับการสนับสนุนของกลุ่มที่มีท่าทีสนับสนุนน้อย ทั้งนี้คุณค่าตราสินค้ามีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับความตั้งใจซื้อสินค้าหรือการบริการจากตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างไม่แน่ใจว่าเคยได้ยินหรือเห็นการเคลื่อนไหวของตราสินค้าต่อประเด็นที่เป็นกระแสในปัจจุบัน และเชื่อว่าตราสินค้ามีหน้าที่ในการเป็นกระบอกเสียงให้กับสังคมและย่อมทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น รวมถึงจะมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะซื้อสินค้าหรือบริการจากตราสินค้าที่ออกมาแสดงจุดยืนตรงกัน และจะสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จะมีแนวโน้มน้อยลงที่จะสนับสนุนตราสินค้าที่ออกมาแสดงจุดยืนในทางตรงกันข้าม


ลักษณะและกระบวนการสร้างสรรค์มีมจากภาพยนตร์ไทยในสื่อสังคมออนไลน์, กฤษณ์ ทองรอด 2021 คณะนิเทศศาสตร์

ลักษณะและกระบวนการสร้างสรรค์มีมจากภาพยนตร์ไทยในสื่อสังคมออนไลน์, กฤษณ์ ทองรอด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะ การใช้งาน และการเกิดขึ้นของมีมจากภาพยนตร์ไทย และ2) ศึกษากระบวนการสร้างสรรค์มีมจากภาพยนตร์ไทยในสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทภาพมีมจากภาพยนตร์ไทย ประกอบด้วยภาพยนตร์ชุดหอแต๋วแตกและภาพยนตร์ร่างทรง ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สร้างภาพยนตร์และผู้ผลิตมีมในฐานะผู้ชมภาพยนตร์ จากการศึกษาพบว่ามีมจากภาพยนตร์ไทยนั้นมีลักษณะการสร้างสรรค์ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ การจับภาพจากภาพยนตร์ การใช้โปรแกรมตัดต่อ และการใช้ภาพทางการ มีการใช้งานมีมใน 6 ลักษณะ ได้แก่ การทำซ้ำ การเพิ่มองค์ประกอบอื่น การใส่บริบทใหม่ การเพิ่มองค์ประกอบอื่นและใส่บริบทใหม่ การเปลี่ยนแปลงภาพตัวละคร และการเปลี่ยนแปลงบทพูด อีกทั้งประเด็นทางสังคมที่ถูกวิพากษ์อย่างเป็นวงกว้างและสภาพการณ์ทางการเมืองที่มีการกดทับอย่างเป็นระบบมีส่วนช่วยให้เกิดการสร้างมีมเพื่อล้อเลียน นอกจากนั้น การสร้างมีมจากภาพยนตร์ไทยนั้นผู้สร้างมีมได้เริ่มต้นสร้างจากการพิจารณากระแสสังคมหรือประเด็นใดๆที่กำลังถูกพูดถึง จากนั้นจึงหาภาพยนตร์ที่มีความใกล้เคียงหรือสอดคล้องทางบริบทและทำการสร้างมีมเพื่อล้อเลียน


การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย, จิดาภา ล้อมพิทักษ์ 2021 คณะนิเทศศาสตร์

การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย, จิดาภา ล้อมพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย และเพื่อศึกษารูปแบบของกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้มีอํานาจระดับบริหารหรือมีหน้าที่ความรับผิดชอบในส่วนงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจโทรทัศน์ และนักวิชาการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ผลการวิจัยพบว่าการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย แบ่งกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารได้ 8 กลุ่มดังนี้ 1.ผู้ชม 2.ชุมชน/สังคม 3.ผู้บริหารและพนักงานของบริษัท 4.ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน 5.ผู้จัดละคร/ผู้ผลิตรายการ/นักแสดง 6.คู่ค้า/เจ้าหนี้ 7.สื่อมวลชน 8.ภาครัฐกำกับดูแล ภาคประชาสังคม และองค์กรการกุศล โดยมีวัตถุประสงค์ 7 ประการ ดังนี้ 1.เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีและถูกต้องในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร 2.เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีทั้งระหว่างบุคลากรในองค์กร และระหว่างองค์กรกับประชาชน 3.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้สังคม ตระหนักในประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และนำไปสู่การปฏิบัติ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 4.เพื่อนำไปสู่การแก้ไขประเด็นปัญหาในสังคม 5.เพื่อสร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร 6.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม 7.เพื่อนำไปสู่การสนับสนุนให้ความร่วมมือในการดำเนินงานต่าง ๆ ขององค์กร โดยมีกลยุทธ์การสื่อสาร 6 ประการ ดังนี้ 1.นำเสนอผ่านละครและรายการ 2.นำเสนอในมุมบันเทิง 3.ใช้ผู้มีชื่อเสียงขององค์กรในการสื่อสาร 4.สื่อสารอย่างชัดเจนและรวดเร็ว 5.สอดแทรกให้กลมกลืนเพื่อให้สามารถเข้าใจง่าย และ 6.ทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยเครื่องมือในการสื่อสารสามารถแบ่งได้ ดังนี้ 1. สื่อขององค์กร 2.สื่อภายนอกองค์กร ทั้งนี้รูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย ประกอบด้วย 3 ประการดังนี้ 1) การนำเสนอประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านละครและรายการของสถานี โดยมุ่งเน้นการผลิตและนำเสนอละครและรายการที่ดีมีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อผู้ชม ควบคู่ไปกับการให้ความบันเทิง 2 ) สนับสนุนกิจกรรมสาธารณะของหน่วยงานพันธมิตรอื่น ๆ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประการ ได้แก่ การสนับสนุนเงินหรือสิ่งของในการบริจาคช่วยเหลือองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ การให้การสนับสนุนหารประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคมของหน่วยงานต่าง และการให้การสนับสนุนดารา นักแสดง หรือผู้มีชื่อเสียง ในการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์ หรือเป็นวิทยากรในการให้ความรู้เนื่องในโอกาสต่าง ๆ 3) การจัดกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักในประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพบในบางกิจกรรมมีการนำเนื้อเรื่องของละครหรือรายการมาเป็นเส้นเรื่องในการกำหนดกิจกรรม ผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ โดยสามารถแบ่งได้ 6 รูปแบบ ดังนี้ 1.การส่งเสริมการรับรู้ประเด็นปัญหาทางสังคม 2.การตลาดเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาสังคม 3.การตลาดที่เกี่ยวโยงกับประเด็นทางสังคม 4.การบริจาคเพื่อการกุศล 5.การอาสาช่วยเหลือชุมชน 6. การประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทยแยกกันไม่ออกจากบทบาทหน้าที่ของวิทยุโทรทัศน์ที่มีต่อสังคม


ผลของมาตรฐานความงามและประเภทสินค้าต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค, ชญานิศ เหมประชิตชัย 2021 คณะนิเทศศาสตร์

ผลของมาตรฐานความงามและประเภทสินค้าต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค, ชญานิศ เหมประชิตชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ในรูปแบบ 2x2 แฟคทอเรียล (Factorial Design) ดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบร่วมกันของ 2 ปัจจัย คือ (1) มาตรฐานความงามในโฆษณา (มาตรฐานความงามแบบดั้งเดิม และมาตรฐานความงามแบบใหม่) และ (2) ประเภทสินค้า (ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางระดับเคาน์เตอร์แบรนด์ และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางระดับดรักสโตร์) ที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค ผู้เข้าร่วมการทดลองเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เรียนวิชาหลักการประชาสัมพันธ์ จำนวน 125 คน แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลองออกเป็น 4 กลุ่มตามเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ผลการวิจัยพบว่า มาตรฐานความงามในโฆษณาไม่ส่งผลกระทบทางตรงต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และประเภทสินค้าไม่ส่งผลกระทบทางตรงต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 อีกทั้งเมื่อพิจารณาในส่วนของผลกระทบร่วมกันของทั้ง 2 ปัจจัย พบว่า มาตรฐานความงามในโฆษณาและประเภทสินค้าส่งผลกระทบร่วมกันต่อทัศนคติต่อโฆษณา แต่ไม่ส่งผลกระทบร่วมกันต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05


Digital Commons powered by bepress