Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn Medical Journal

2015

พฤติกรรม

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของโปรแกรม B.A.S.E. ประยุกต์ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเด็กอนุบาล, วิวรรณ สุจริต, ปริชวัน จันทร์ศิริ Sep 2015

ผลของโปรแกรม B.A.S.E. ประยุกต์ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเด็กอนุบาล, วิวรรณ สุจริต, ปริชวัน จันทร์ศิริ

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : โปรแกรม B.A.S.E. ช่วยลดปัญหาพฤติกรรมในเด็กอนุบาล ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อปัญหาพฤติกรรมในระยะยาว โปรแกรมนี้ยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทย ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาโปรแกรม B.A.S.E. ประยุกต์ขึ้นมาวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม B.A.S.E. ประยุกต์ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเด็กอนุบาลรูปแบบการวิจัย : เป็นการศึกษาเชิงทดลอง Quasi experimental study : แบบ Pre-postcomparison in one groupสถานที่ทำการศึกษา : โรงเรียนสมาคมสตรีไทย กรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบ Quasi experimental study (Pre-postcomparison in one group) กลุ่มตัวอย่างคือเด็กอนุบาลอายุ 4 - 6 ปีที่กำลังศึกษาในชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสมาคมสตรีไทย ปีการศึกษา2557 ซึ่งได้รับโปรแกรม B.A.S.E. ประยุกต์ ครั้งละ 20 - 30 นาทีห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์จำนวน 20 ครั้งมีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) โดยแบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) ประเมินโดยครูและผู้ปกครอง 3 ครั้งคือก่อนทำโปรแกรม หลังทำโปรแกรมสัปดาห์ที่ 12 และหลังทำโปรแกรมเสร็จสิ้นผลการศึกษา : จากการประเมินโดยครูพบว่าเมื่อเปรียบเทียบคะแนนปัญหาพฤติกรรมเกเร ระหว่างก่อนทำโปรแกรมและหลังทำโปรแกรมเสร็จสิ้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) เช่นเดียวกับคะแนนปัญหาพฤติกรรมความสัมพันธ์กับ เพื่อน ระหว่างก่อนทำโปรแกรมและหลังทำโปรแกรมเสร็จสิ้น ส่วนคะแนนปัญหาพฤติกรรมความสัมพันธ์กับเพื่อนระหว่างก่อนทำโปรแกรม และหลังทำโปรแกรมสัปดาห์ที่ 12 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอย่างสูง (p <0.01) คะแนนจุดแข็งด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ระหว่างก่อนทำโปรแกรมและหลังทำโปรแกรมสัปดาห์ที่ 12 มีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01)ส่วนการประเมินโดยผู้ปกครองพบว่าการเปลี่ยนแปลงของคะแนนรวมปัญหาพฤติกรรมด้านอารมณ์ พฤติกรรมเกเร พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งและพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน ระหว่างก่อนทำโปรแกรมและหลังทำโปรแกรมเสร็จสิ้นมีคะแนนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p <0.05)สรุป : โปรแกรม B.A.S.E. ประยุกต์ มีแนวโน้มที่จะช่วยลดปัญหาพฤติกรรมในเด็กอนุบาล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการป้องกันพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในเด็กอนุบาล และสามารถขยายเป็นแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ การรับรู้และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นของเด็กในระบบการเรียนการศึกษาต่อไปได้.


พฤติกรรมการใช้ระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นัยนา หนูจันทร์แก้ว, เรืองศักดิ์ เลิศขจรสุข Jul 2015

พฤติกรรมการใช้ระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นัยนา หนูจันทร์แก้ว, เรืองศักดิ์ เลิศขจรสุข

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำการวิจัย : คณะแพทยศาสตร์ ได้นำระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยเสริมการเรียนของนิสิตแพทย์มาเป็นระยะเวลานาน โดยมีการพัฒนาปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านอุปกรณ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเนื้อหาวิชาในรูปแบบการบรรยายอิเล็กทรอนิกส์(e-lecture) เพื่อสร้างวัฒนธรรมของการเรียนรู้ของนิสิตแพทย์ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยผู้เรียนสามารถเรียนเมื่อไรก็ได้ เรียนที่ใดก็ได้ ตามความต้องการของนิสิตแพทย์วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ของนิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนำเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบที่ตอบสนองความต้องการของนิสิตมากขึ้นรูปแบบการวิจัย : การสำรวจสถานที่ทำการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิธีดำเนินการวิจัย : ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการสำรวจพฤติกรรมการใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ของนิสิตแพทย์ในคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นลักษณะของการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบการบรรยายอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2555 (ระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม2555) โดยใช้แบบสอบถามที่มีการกำหนดตัวแปรและเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลรวมทั้งการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการเข้าใช้ความต้องการ และทัศนคติที่มีต่อ ระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูลจากระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผลการวิจัย : บทเรียนที่บรรจุในระบบทั้งหมด 665 บทเรียน ในจำนวนนี้ 468บทเรียน (ร้อยละ 70.4) เป็นบทเรียนในระดับปริญญาตรี โดย389 บทเรียน (ร้อยละ 83.1) เป็นบทเรียนในระดับชั้นปรีคลินิก(ชั้นปีที่ 1 - 3) พบว่ามีผู้เข้าใช้ระบบทั้งหมด 38,091 ครั้ง โดยแยกตามเดือนได้ดังนี้ เดือนมิถุนายน 4,806 ครั้ง เดือน กรกฏาคม 8,400ครั้ง เดือนสิงหาคม 15,097 ครั้ง เดือนกันยายน 5,337 ครั้ง และเดือนตุลาคม 4,451 ครั้งเมื่อพิจารณาถึงช่วงเวลาที่นิสิตเข้าใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ของคณะฯ พบว่าในช่วงเวลาที่เข้าใช้สูงสุดคือ ตั้งแต่ 8.00 – 15.59 น. มีการใช้ทั้งหมด 20,470 ครั้ง (ร้อยละ53.74) จำนวนการเข้าใช้ในแต่ละวันของสัปดาห์คือ วันอาทิตย์ จำนวน6,757 ครั้ง จำนวนการเข้าใช้แยกตามชั้นปีของนิสิตแพทย์ มากที่สุดคือนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 จำนวน 18,671 ครั้ง (ร้อยละ 49.01) การเข้าใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ แยกตามสถานที่ที่เข้าใช้ คือ จากภายนอกคณะฯ …