Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

Discipline
Institution
Keyword
Publication Year
Publication
File Type

Articles 2161 - 2190 of 5489

Full-Text Articles in Law

ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการในการบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ, ณัฏฐ์ปัณชญา กิตติภพศิริกุล Jan 2019

ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการในการบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ, ณัฏฐ์ปัณชญา กิตติภพศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันสาเหตุที่ผู้ประกอบธุรกิจกับสถาบันการเงินต่างๆ ประสบปัญหาในการน า ทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันในการช าระหนี้ เนื่องจากระบบกฎหมายไทย ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มีหลักประกันด้วยทรัพย์สามารถท าสัญญาได้เพียง 2 แบบ คือ การจ าน า การจ านอง ได้ ถูกใช้มานานแล้ว ไม่สอดคล้องกับการท านิติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ซึ่งท าให้ทรัพย์สินที่มี มูลค่าทางเศรษฐกิจอีกหลายอย่างไม่สามารถน ามาเป็นหลักประกันโดยจ านอง และจ าน าได้ เพราะว่า หลักส าคัญของการจ าน าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต้องมีการส่งมอบการครอบครอง ทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจ าน าเพื่อเป็นการประกันการช าระหนี้ด้วยข้อจ ากัดดังกล่าวประเทศไทยจึงได้ ประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ซึ่งได้เพิ่มเติมประเภทของทรัพย์ที่ สามารถน ามาเป็นหลักประกันช าระหนี้โดยไม่ต้องมีการส่งมอบการครอบครองแก่เจ้าหนี้ ซึ่งท าให้ผู้ ประกอบธุรกิจสามารถน ากิจการของตนเอง ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งมาเป็นหลักประกันได้ แต่เนื่องจากกระบวนการบังคับหลักประกัน ซึ่งก าหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักประกัน ทางธุรกิจ พ.ศ.2558 ส าหรับใช้บังคับหลักประกันที่เป็นกิจการโดยผู้บังคับหลักประกันในกรณีที่ลูกหนี้ ผิดนัดช าระหนี้นั้น มีบทบัญญัติบางมาตรายังไม่มีความสมบูรณ์ และชัดเจน ก่อให้เกิดปัญหาในทาง ปฏิบัติ ส่งผลให้สถาบันการเงินที่จะเป็นผู้พิจารณารับกิจการมาเป็นหลักประกันในการให้สินเชื่อแก่ ผู้ประกอบการ มีความวิตกกังวล ไม่กล้ารับกิจการไว้เป็นหลักประกันเท่าที่ควร ดังนั้นจึงได้มีการศึกษา หลักเกณฑ์กฎหมาย กระบวนการปฏิบัติในการบังคับหลักประกันกรณีที่มีค าวินิจฉัยให้บังคับ หลักประกัน โดยผู้ให้หลักประกันต้องด าเนินการส่งมอบกิจการที่เป็นหลักประกัน เอกสารเกี่ยวกับ ทรัพย์สิน หนี้สินตลอดจนสิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการที่เป็นหลักประกันให้แก่ผู้บังคับ หลักประกัน ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวยังคงมีปัญหา และอุปสรรคในเรื่องอ านาจหน้าที่ของผู้บังคับ หลักประกันตามมาตรา 73 และกรณีกิจการที่น ามาเป็นหลักประกันล้มละลาย หรือเข้าสู่กระบวนการ ฟื้นฟู นอกจากนั้นยังมีปัญหาใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถโอนได้ ท าให้ เกิดความไม่ชัดเจนในขั้นตอนการบังคับหลักประกัน ซึ่งควรบัญญัติกระบวนการบังคับหลักประกันให้ ชัดเจน เพื่อลดข้อวิตกกังวลจากสถาบันการเงินผู้ซึ่งจะพิจารณารับกิจการเป็นหลักประกัน อันจะส่งผล ท าให้สถาบันการเงินรับหลักประกันประเภทนี้มากขึ้น …


มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ, ฝนทิพย์ กระจ่างจันทร์ Jan 2019

มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ, ฝนทิพย์ กระจ่างจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศีกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการ ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติเขต เศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ... และประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจชุมชน ความเป็นมา แนวคิด และ ตัวอย่างของเศรษฐกิจชุมชน มาตรการในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของ สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งปัญหาและผลกระทบของการไม่มีการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขต เศรษฐกิจพิเศษของไทย แล้วจึงได้น าข้อมูลที่ได้ศึกษามารวบรวม และวิเคราะห์ โดยการศึกษา มาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีน และน ามาตรการของสาธารณรัฐประชาชนจีนมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า “ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ...” ที่รัฐบาลมีความ พยายามจะประกาศใช้ ถูกต่อต้านจากภาคประชาชนโดยเฉพาะคนในพื้นที่ สาเหตุมาจากการที่ ประชาชนในท้องถิ่นถูกริดรอนอำนาจและสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน รวมถึงการที่ประชาชนไม่รู้สึกถึงการมีส่วนร่วมและการ เป็นเจ้าของ โดยมีประเด็นปัญหาที่สำคัญ 3 ประการคือ (1) ปัญหาจากการกำหนดนโยบายที่ไม่ได้ตั้ง ต้นจากชุมชน (2) ปัญหาจากการบริหารงานแบบรวมศูนย์อำนาจ ชุมชนไม่มีอำนาจการตัดสินใจ (3) ปัญหาจากการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ต่อการกำหนดนโยบายที่เป็นของตนเอง จากปัญหาที่กล่าวมานี้ทำให้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทยยังไม่ถูกประกาศใช้ โดยผลการศึกษาพบว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการ จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นอย่างมาก โดยปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ (1) รัฐบาลมีนโยบายการ ดำเนินงานลักษณะจากล่างขึ้นบน (Top - Down) (2) มีรูปแบบการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ (Decentalization) และ (3) มีนโยบายให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายที่เป็นของตนเอง นอกจากนี้แล้ว ภายใต้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีนยังมีบทบัญญัติในการ คุ้มครองแรงงานในพื้นที่ รวมถึงมีมาตรการที่สามารถสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่าง เศรษฐกิจท้องถิ่นและเศรษฐกิจในประเทศได้เป็นอย่างดี จึงท าให้การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขต เศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีนประสบความส าเร็จอย่างสวยงาม เมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศไทยแล้ว ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของ ประเทศไทย โดยปรับเปลี่ยนมาตรการของรัฐ ดังนี้(1) กลไกในการกำหนดนโยบาย (2) กลไกในการ บริหารงาน (3) กลไกในการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยรัฐบาลเป็นผู้ก ากับดูแล เพื่อช่วยลดการต่อต้าน จากภาคประชาชน และช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษประสบความส าเร็จ


ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นภาระของผู้บริโภคเกินสมควร กรณีศึกษาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าผ้าอนามัย, ทวีพร อดิทิพยางกูร Jan 2019

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นภาระของผู้บริโภคเกินสมควร กรณีศึกษาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าผ้าอนามัย, ทวีพร อดิทิพยางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์และสภาพร่างกายปกติจะมีประจําเดือนทุกเดือน ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทําให้ผ้าอนามัยเข้ามามีบทบาทในการดําเนินชีวิตของผู้หญิงในช่วงการมีประจําเดือน แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ผู้หญิง ทุกคนที่มีความาสามารถในการจับจ่ายและเข้าถึงผ้าอนามัยได้ หากเราตระหนักว่ายังมีประชาชนกลุ่มหนึ่ง ในประเทศที่ยังอดมื้อกินมื้อ นั่นก็คือ ผู้หญิงในกลุ่มนั้นก็น่าจะไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อผ้าอนามัยเช่นกัน ผ้าอนามัยเป็นสิ่งที่ช่วยซับเลือดประจําเดือน ทําให้ผู้หญิงที่สวมใส่เกิดความสะดวกสบาย มีความมั่นใจ ในช่วงเวลาที่ไม่ปกติของเดือน ข้อสําคัญของการใส่ผ้าอนามัยคือช่วยยับยั้งเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายในช่วงอ่อนไหว ของผู้หญิงอีกด้วย ในปัจจุบัน ผ้าอนามัยเป็นสินค้าที่ได้รับการควบคุมราคาโดยกระทรวงพาณิชย์แต่ยังคงเป็นสินค้าที่ถูก จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าผ้าอนามัยจะเป็นสินค้าที่สําคัญต่อสุขอนามัย เป็นสินค้าบริโภคขั้นพื้นฐาน ส่งผลถึง อนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงโดยตรง และในนานาชาติรวมถึงประเทศไทย ผ้าอนามัยได้รับการเรียกร้องให้มี การยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีบางประเทศที่การเรียกร้องนั้นประสบผลสําเร็จแล้วและในเอกัตศึกษา ฉบับนี้ได้นํามาศึกษา นั่นคือ ประเทศออสเตรเลีย วัตถุประสงค์ของเอกัตศึกษาฉบับนี้ ต้องการศึกษาหลักการการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และสินค้าที่ได้รับ การยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย เพื่อหาแนวทางว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าผ้าอนามัย สอดคล้องกับหลักการจัดเก็บของภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยหรือไม่ และมีแนวทางใดที่สามารถทําให้ ผ้าอนามัยเป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากผลการศึกษา สินค้าที่ประเทศไทยยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีความหลากหลาย ไม่ได้จําเพาะว่า เป็นสิ่งที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต เช่น ในรายการปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค มีเพียงอาหารที่ยังไม่แปรรูปเท่านั้นที่เป็นสิ่งที่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น หากจะผลักดันให้ ผ้าอนามัยได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาครัฐจะต้องให้ความตระหนักในความสําคัญและภาระที่ผู้บริโภค จะต้องได้รับให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญที่รัฐจะต้องบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมและป้องกันโรคให้แก่ประชาชน


มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์โดยเอกชน, โสภาพรรณ ร่มโพธิ์เงิน Jan 2019

มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์โดยเอกชน, โสภาพรรณ ร่มโพธิ์เงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่ง พัสดุภัณฑ์โดยเอกชน เนื่องจากมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์ใน ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายใดเป็นการเฉพาะในการก ากับดูแลหรือควบคุมท าให้ผู้บริโภคเสียเปรียบและ ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงสมควรกำหนดแนวทางหรือบทบัญญัติของกฎหมายในการคุ้มครอง ผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคจากในยุคดิจิทัล มีแนวโน้มการซื้อขายสินค้าและ บริการเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมที่เป็นการซื้อขายแบบหน้าร้าน สู่ยุคการตลาดแบบออนไลน์ โดยการซื้อ สินค้าผ่าน แพลตฟอร์มออนไลน์ การขยายตัวของธุรกิจ e-Commerce ส่งผลให้ความต้องการ บริการ E-Logistics เพิ่มขึ้น มูลค่าการประกอบธุรกิจแบบการขายสินค้าหรือบริการไปยังผู้บริโภค โดยตรงมีมากขึ้น ส่งผลให้การจัดตั้งธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าใน ปัจจุบัน ผู้ประกอบการแต่ละรายมีการแข่งขันกันในด้านราคาเพื่อดึงดูดผู้บริโภค ซึ่งอัตราค่าบริการ ขนส่งพัสดุโดยเฉลี่ยมีการปรับลดลงในแต่ละปี รวมถึงการแข่งขันกันด้านบริการและความรวดเร็วใน การจัดส่งพัสดุภัณฑ์ แต่ก็ยังปรากฏปัญหาของผู้บริโภคซึ่งมีการร้องทุกข์เกี่ยวกับการใช้บริการรับส่ง พัสดุภัณฑ์ต่อส านักงานคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในทุกปี และปัญหาอื่นๆขึ้นตามที่ปรากฏเป็นข่าวทาง สื่อต่างๆ จากผลการศึกษาพบว่าธุรกิจบริการรับส่งพัสดุภัณฑ์โดยเอกชนนั้น กฎหมายที่มีผลบังคับใช้ ในปัจจุบันไม่ได้ครอบคลุมถึงการกำกับดูแลกิจการซึ่งก าลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้เขียนจึงศึกษา กฎหมายภายในประเทศเกี่ยวกับมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม เพื่อกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการรับส่ง พัสดุภัณฑ์โดยเอกชน ในลักษณะเป็นการป้องกันปัญหาและลดความเสี่ยงที่อาจถูกเอาเปรียบจาก ผู้ประกอบการ ผู้เขียนเสนอให้ การประกอบธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์โดยเอกชน อยู่ในการกำกับดูแลของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหน่วยงานหลัก และเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติไปรษณีย์พ.ศ. 2477 ให้มีการก าหนดบทบัญญัติทางกฎหมายที่จะก ากับดูแลการ ดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการทั้งของรัฐเอกชนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน


แนวทางการกำกับดูแลสถานประกอบกิจการบริการผู้สูงอายุภาคเอกชนในประเทศไทย, ฉัตรนภา เทิดสุขบดี Jan 2019

แนวทางการกำกับดูแลสถานประกอบกิจการบริการผู้สูงอายุภาคเอกชนในประเทศไทย, ฉัตรนภา เทิดสุขบดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สังคมผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกก าลังประสบปัญหาและต้องเตรียมมาตรการ เพื่อรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราการ เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์กันว่าอีกประมาณ 20 ปีผู้สูงอายุของประเทศไทยจะมีอัตราส่วน ประมาณ 40 ท าให้ธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิจัย พบว่ามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมดูแลสถานประกอบการที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุยังไม่มีมาตรการ ทางกฎหมายที่มีความชัดเจนเพื่อให้ธุรกิจบริการดูแลผู้สูงอายุมีมาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ เมื่อพิจารณาบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้ก าหนดมาตรการ ในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไว้อย่างชัดเจน แต่เมื่อพิจารณาในการออกกฎหมาย หรือกฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลกิจการดูแลผู้สูงอายุของประเทศไทยยังพบว่าประเทศไทยยังต้องมีการบัญญัติ กฎหมายที่มีความเฉพาะเจาะจงในการควบคุมดูแลสถานประกอบการที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุดังนั้นงานวิจัย ฉบับนี้จึงเสนอให้มีการก าหนดนโยบายที่ชัดเจนในการควบคุมกิจการที่เกี่ยวข้องกับดูแลผู้สูงอายุทั้งในส่วน ของภาครัฐและภาคเอกชนโดยการก าหนดมาตรฐานกลางที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุให้สถานประกอบการ ที่ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามและเป็นเงื่อนไขที่ส าคัญในการขออนุญาตประกอบธุรกิจรายการต่อใบอนุญาต โดยมุ่งเน้นที่การคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุและการดูแลผู้สูงอายุให้มีความปลอดภัยและได้รับการดูแลในระดับ ที่มีมาตรฐานสากล รวมไปถึงการน ามาตรการที่ส่งเสริมธุรกิจการดูแลผู้สูงอายุให้ได้รับการรับรองและ สร้างความเชื่อมั่นส าหรับผู้ใช้บริการทั้งคนไทยและชาวต่างชาติเพื่อให้กิจการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย มีประสิทธิภาพในการแบ่งเบาภาระกิจในการดูแลผู้สูงอายุและน ารายได้เข้าสู่ประเทศไทย เพื่อใช้ใน การแบ่งเบาภาระของรัฐในการดูแลผู้สูงอายุและพัฒนาระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป


ปัญหาการบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยการยกเว้นฐานภาษีที่อยู่อาศัย, ดลพร สุตัณฑวิบูลย์ Jan 2019

ปัญหาการบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยการยกเว้นฐานภาษีที่อยู่อาศัย, ดลพร สุตัณฑวิบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่อยู่อาศัยเป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน และประชากรในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้ระดับกลางไปจนถึงผู้มีรายได้น้อย รัฐจึงให้ความสำคัญโดยการกำหนดมาตรการการบรรเทาภาระภาษีให้กับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย โดยใช้วิธีการยกเว้นมูลค่าฐานภาษีให้กับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนราษฎรในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษี เป็นจำนวน 50 ล้านบาท หากบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของเพียงสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินจะได้รับยกเว้นเป็นจำนวน 10 ล้านบาท ซึ่งทำให้ไม่สอดคล้องกับหลักความสามารถในการเสียภาษีและหลักประโยชน์ที่ได้รับอย่างแท้จริง และไม่ได้คำนึงถึงสัดส่วนในการถือครองทรัพย์สินของแต่ละบุคคลอย่างเท่าเทียมกัน จึงเป็นประเด็นที่น่าศึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศไทยให้มีหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีที่มีความเหมาะสมมากขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โดยจะศึกษาเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศฟิลิปปินส์และประเทศสหรัฐอเมริกา


ปัญหาการลงโทษผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยของสถาบันการเงินตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542, ภวินท์ ประเทืองสุขสกุล Jan 2019

ปัญหาการลงโทษผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยของสถาบันการเงินตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542, ภวินท์ ประเทืองสุขสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรายงาน ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยของสถาบันการเงินจากบทกําหนดโทษทางอาญา ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัย เชิงคุณภาพ โดยการศึกษารวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร บทความ หนังสือ งานวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เกี่ยวกับมาตรการลงโทษที่ใช้บังคับแก่สถาบันการเงินในความผิดเกี่ยวกับการไม่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุ อันควรสงสัยและความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลความลับแก่บริษัทลูก แล้วนําข้อมูลที่ได้ศึกษามา วิเคราะห์หาแนวทาง โดยใช้กฎหมายประเทศแคนาดาและฝรั่งเศสเป็นกฎหมายต้นแบบ เพื่อปรับปรุง มาตรการลงโทษให้มีความเหมาะสมที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ของสถาบันการเงิน จากการศึกษาพบว่า ปัญหาการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยที่ไม่มีประสิทธิภาพของ สถาบันการเงินเกิดจากบทกําหนดโทษทางอาญาในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ที่มีความไม่เหมาะสมในความผิดเกี่ยวกับการไม่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยและ ความผิดจากการเปิดเผยข้อมูลความลับทางราชการ โดยในเรื่องของการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควร สงสัย กฎหมายไม่ได้กําหนดกรอบการใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานในการบังคับใช้โทษ จนนําไปสู่การ หลีกเลี่ยงโทษปรับโดยการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยที่ไม่มีคุณภาพเป็นจํานวนมาก ส่วนในเรื่อง ของการเปิดเผยข้อมูลความลับทางราชการ กฎหมายไม่ได้ให้อํานาจการแลกเปลี่ยนข้อมูลความลับทาง ราชการระหว่างสถาบันการเงินกับบริษัทลูก ผู้วิจัยจึงเสนอมาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ที่จะช่วยให้เกิดการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเสนอ ให้ปรับบทกําหนดโทษทางอาญาให้มีความเหมาะสมภายใต้แนวคิดการรายงานธุรกรรมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกําหนดโทษที่จะลงแก่ผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรม และเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ซึ่งเป็นขั้นตอนสําคัญที่ในการรวบรวม พยานหลักฐานให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เพื่อดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดฐานฟอกเงินและสนับสนุนทาง การเงินแก่การก่อการร้าย และเพื่อยับยั้งการขยายเงินทุนขององค์การอาชญากรรมฟอกเงินที่สร้างความ เสียหายแก่มูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ


ความแตกต่างของการคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายการบัญชีกับกฎหมาย ภาษีอากร, จินห์จุฑา ชูแก้ว Jan 2019

ความแตกต่างของการคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายการบัญชีกับกฎหมาย ภาษีอากร, จินห์จุฑา ชูแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของความแตกต่างของการคํานวณกําไรสุทธิตามกฎหมายการบัญชีกับกฎหมายภาษีอากร โดยมีสมมติฐานของการศึกษาวิจัยว่า กฎหมายและมาตรฐานการบัญชีมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้และรายจ่ายหลายส่วนสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายภาษีอากร แต่ในขณะเดียวกันก็มีหลักเกณฑ์บางส่วนแตกต่างกับหลักเกณฑ์ในกฎหมายภาษีอากร ซึ่งทั้งความสอดคล้องกันและความแตกต่างกันอาจทําให้เกิดปัญหาในการใช้กฎหมายภาษีอากรเพื่อการจัดเก็บภาษีในการศึกษาและพิสูจน์สมมติฐานข้างต้นพบว่า การรับรู้รายได้และรายจ่ายตามกฎหมายการบัญชีกับกฎหมายภาษีอากร มีทั้งที่สอดคล้องกัน คล้ายคลึงกัน และไม่สอดคล้องกัน ส่งผลให้กําไรสุทธิในกฎหมายการบัญชีกับกฎหมายภาษีอากรนั้นไม่เท่ากัน นั้นเป็นเพราะวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่แตกต่างกัน ความสอดคล้องกันเป็นเรื่องง่ายในการปรับใช้กฎหมายสําหรับผู้ปฏิบัติงาน ความคล้ายคลึงกันนั้นเป็นเงื่อนไขหรือวิธีการที่กฎหมายภาษีอากรสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีซึ่งบางครั้งก็เคร่งครัดกับผู้เสียภาษีมากเกินไปจนสร้างภาระหนัก และความไม่สอดคล้องกันนั้นย่อมส่งผลกระทบในการปรับใช้กฎหมายของผู้เสียภาษีอย่างแน่นอน แต่ไม่ใช่ว่าทุกความไม่สอดคล้องจะต้องถูกขจัดเพราะวัตถุประสงค์บางอย่างของกฎหมายจึงจําเป็นที่ยังจะคงไว้ซึ่งความแตกต่าง เพราะไม่เพียงแต่ความคล้ายคลึงกัน และความไม่สอดคล้องกันเท่านั้นที่เกิดปัญหาในการจัดเก็บภาษี แม้ความสอดคล้องเองนั้นยังไม่เหมาะสมกับกฎหมายภาษีอากรในบางกรณี ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขประมวลรัษฎากรและกฎหมายลําดับรอง ทั้งความสอดคล้องกันความคล้ายคลึงกัน และความไม่สอดคล้องกันส่วนที่สร้างความไม่เป็นธรรม ก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษี และสร้างปัญหาในการปรับใช้กฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีโดยไม่มีความจําเป็นใช้บังคับอย่างมีสิทธิภาพในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้นเป็นแนวทางในการใช้มาตรการทางภาษีอากรและมาตรการอื่นในประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ


แนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ : มาตรการสนับสนุนการจัดเก็บภาษี, อรวรรยา สิทธิราช Jan 2019

แนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ : มาตรการสนับสนุนการจัดเก็บภาษี, อรวรรยา สิทธิราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ความรับผิดในคดีภาษี : กรณีองค์ประกอบภายใน, จุฑามาศ บุญมี Jan 2019

ความรับผิดในคดีภาษี : กรณีองค์ประกอบภายใน, จุฑามาศ บุญมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความรับผิดในคดีภาษีเกิดจากการที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากร อันประกอบไปด้วยความผิดทางแพ่งและอาญา ซึ่งล้วนแล้วแต่กระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ และทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดเป็นอย่างมาก ดังนั้น ในการพิจารณาคดีภาษีอากร จึงต้องมีการพิจารณาองค์ประกอบความรับผิด โดยยึดตามหลักกฎหมายที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษีอย่างไรก็ดี ในการพิจารณาความรับผิดทางแพ่งภายใต้ประมวรัษฎากร มิได้มีการพิจารณาถึงองค์ประกอบภายในแต่อย่างใด ซึ่งเป็นการนำหลักทฤษฎีความรับผิดโดยเด็ดขาดมาใช้ จึงไม่สอดคล้องกับองค์ประกอบภายในของผู้เสียภาษี ในส่วนของความรับผิดทางอาญา มีการบัญญัติถ้อยคำเพื่อใช้ในการพิจารณาองค์ประกอบภายในที่แตกต่างกัน และผู้กระทำความผิดไม่สามารถยกความไม่รู้กฎหมายขึ้นเป็นข้อแก้ตัวได้ แม้ในความเป็นจริงประชาชนอาจไม่รู้ถึงกฎหมายเช่นว่านั้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร โดยให้มีการพิจารณาองค์ประกอบภายในและกำหนดโทษให้สอดคล้องกับองค์ประกอบภายในในความรับผิดทางแพ่ง และใช้เพียงถ้อยคำเดียว คือ "เจตนา" ในการพิจารณาองค์ประกอบภายในและกำหนดให้ผู้เสียภาษีสามารถยก


แนวทางการกำหนดมาตรการภาษีอากรเพื่อลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งในประเทศไทย, ชิษณุพงศ์ ธำรงหวัง Jan 2019

แนวทางการกำหนดมาตรการภาษีอากรเพื่อลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งในประเทศไทย, ชิษณุพงศ์ ธำรงหวัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่นานาประเทศให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมทางอากาศ ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะมูลฝอยหรือปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดในยุคปัจจุบันจนองค์กรสหประชาชาติให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเลอันเกิดจากขยะพลาสติก (Plastic Waste) ที่ประชากรมีการอุปโภคพลาสติกมานานกว่าครึ่งศตวรรษ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมอย่างถุงพลาสติก จนทำให้องค์กรสหประชาชาติกล่าวว่าภายในปี พ.ศ. 2593 จะมีขยะพลาสติกมากกว่าสัตว์ทะเล ส่งผลให้นานาประเทศต้องออกมาตรการทางภาษีอากรหรือมาตรการอื่นเพื่อมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอุปโภคถุงพลาสติกตลอดจนพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง (Single Use Plastics) รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้จึงเป็นการศึกษาวิจัยถึงมาตรการทางภาษีอากรของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการบังคับใช้เพื่อลดการอุปโภคผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งตลอดจนมาตรการอื่น ๆ เพื่อนำมากำหนด


มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย, ธนนันท์ พืชฟู Jan 2019

มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย, ธนนันท์ พืชฟู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ: ศึกษากรณีการให้กู้ยืมเงินระหว่างบริษัทในเครือ, อภิชญา ชยวัฑโฒ Jan 2019

ปัญหาการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ: ศึกษากรณีการให้กู้ยืมเงินระหว่างบริษัทในเครือ, อภิชญา ชยวัฑโฒ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการยกเว้นภาษีเงินได้ : กรณีค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณอายุ, ปิยะธร ทองปิ่น Jan 2019

ปัญหาการยกเว้นภาษีเงินได้ : กรณีค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณอายุ, ปิยะธร ทองปิ่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


มาตรการให้ความคุ้มครองผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิจากการถูกเพิกถอนการฉ้อฉล ในคดีล้มละลาย, นงนภัส บุญญาวัฒน์ Jan 2019

มาตรการให้ความคุ้มครองผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิจากการถูกเพิกถอนการฉ้อฉล ในคดีล้มละลาย, นงนภัส บุญญาวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉลและการให้เปรียบเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 - มาตรา 116 ที่ถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉลหรือการให้เปรียบเจ้าหนี้เป็นจำนวนมากทำให้ส่งผลกระทบต่อบุคคลภายนอกได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นกับผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิพ.ศ.2562 จึงได้ศึกษาไปถึงแนวคิด หลักการ รูปแบบการก่อตั้งสิทธิ ตลอดจนผลผูกพันทางกฎหมายที่เกิดขึ้นของทรัพย์อิงสิทธิ แต่เนื่องจากลักษณะและหลักการของสิทธิตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิพ.ศ.2562 ไม่ได้มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายต่างประเทศ จึงไม่สามารถนำตัวอย่างของแนวปฏิบัติของเรื่องดังกล่าว ในต่างประเทศมาเปรียบเทียบได้ จึงศึกษาเทียบเคียงเคียงกับสิทธิที่อ้างอิงในการใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากทรัพย์อิงสิทธิภายใต้กฎหมายไทย จากการศึกษาพบว่า เมื่อบัญญัติตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ.2562 ได้ให้สิทธิการใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์เป็นพิเศษมากกว่าผู้ที่ทรงสิทธิครอบครองตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงควรกำหนดมาตรการปกป้องคุ้มครองผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิที่สุจริตให้ชัดเจน เพื่อเป็นการรับรองสิทธิและป้องกันมิให้ถูกเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลายซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้รับโอนทรัพย์อิงสิทธิที่รับโอนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์โดยตรง และผู้รับโอนทรัพย์อิงสิทธิในลำดับต่อ ๆ ไป ผู้เขียนจึงได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินการกับทรัพย์อิงสิทธิเกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์การเพิกถอนการฉ้อฉลและการให้เปรียบเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ดังนี้ 1. ปัญหาตามหลักเกณฑ์การเพิกถอนการฉ้อฉลตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 และมาตรา 114 ในกรณีที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้โอนทรัพย์อิงสิทธิต่อไปให้ผู้ได้ลาภงอกและบุคคลภายนอกโดยไม่คิดค่าตอบแทน ซึ่งสามารถทำได้ตามกฎกระทรวงฯ ข้อ 12 (1) แต่พระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ มาตรา 13 และมาตรา 14 ได้ให้ความคุ้มครองบุคคลภายนอกที่สุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตซึ่งไม่สอดคล้องกัน ดังนั้น หากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะมีอำนาจจัดการทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ และหากเห็นว่านิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำมีลักษณะเป็นการให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เป็นการให้โดยเสน่หาทำให้ทรัพย์สินลดน้อยถอยลงไม่มีพอชำระหนี้ให้แก่เจาหนี้ หรือก่อตั้งภาระผูกพันเกินสมควรหรือหากทำภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายซึ่งเป็นเวลาตั้งข้อสงสัย กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีเจตนาให้เจ้าหนี้เสียเปรียบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนนิติกรรมได้ 2. ปัญหาตามหลักเกณฑ์การเพิกถอนการให้เปรียบเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 115 และมาตรา 116 ในกรณีที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้โอนทรัพย์อิงสิทธิต่อไปให้ผู้ได้ลาภงอกและบุคคลภายนอก ภายในระยะเวลา 3 เดือน หรือ 1 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายซึ่งเป็นเวลาตั้งข้อสงสัย ผู้ได้ลาภงอกและบุคคลภายนอกมีภาระกรพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้ว่าได้รับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียน ซึ่งคำว่า"สุจริต" กรณีนี้หมายถึง ไม่รู้ว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีหนี้สินล้นพ้นตัว และได้กระทำลงโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้รายอื่นเสียเปรียบ ซึ่งมีความหมายแคบกว่าสุจริตตมพระราชบัญญัติรัพย์อิงสิทธิ มาตรา 13 และมาตรา 14


แนวทางการพัฒนากระบวนการก่อนการนำพยานหลักฐานเข้าสืบข้อเท็จจริง ในคดีภาษีอากร, จุฬารัตน์ วงษ์ผักเบี้ย Jan 2019

แนวทางการพัฒนากระบวนการก่อนการนำพยานหลักฐานเข้าสืบข้อเท็จจริง ในคดีภาษีอากร, จุฬารัตน์ วงษ์ผักเบี้ย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การอุดช่องว่างกฎหมายภาษีอากร, ธีรพัฒน์ สงละออ Jan 2019

การอุดช่องว่างกฎหมายภาษีอากร, ธีรพัฒน์ สงละออ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การให้สิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ : กรณีศึกษาธุรกิจบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และบริการสอบเทียบมาตรฐาน, ฤษณะ ขาวเรือง Jan 2019

การให้สิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ : กรณีศึกษาธุรกิจบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และบริการสอบเทียบมาตรฐาน, ฤษณะ ขาวเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมีส่วนสําคัญในธุรกิจบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และสอบเทียบมาตรฐาน ทั้งนี้คนต่างด้าวที่จะประกอบธุรกิจในประเทศไทยต้องได้รับอนุญาตการประกอบธุรกิจเสียก่อน อย่างไรก็ตามเพื่อส่งเสริมการลงทุน พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและสิทธิประโยชน์อื่นๆ รวมไปถึงการยกเว้นให้คนต่างด้าวไม่ต้องขออนุญาตเพื่อประกอบกิจการในประเทศไทย อย่างไรก็ตามมีผู้ลงทุนบางกลุ่มเลือกจัดโครงสร้างเป็นนิติบุคคลไทยเพื่อขจัดข้อจํากัดในการประกอบธุรกิจแทนการขอรับการส่งเสริมการลงทุน เอกัตศึกษาเล่มนี้จึงมุ่งศึกษารูปแบบการเข้ามาประกอบธุรกิจของผู้ลงทุน ตลอดจนเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับ และพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆต่อการเลือกรูปแบบการลงทุน ทั้งนี้ผู้ศึกษาพบรูปแบบที่สําคัญสองรูปแบบ คือ การเข้ามาในฐานะต่างด้าวโดยขอรับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดีกว่าไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนจากประเทศใด ในขณะที่อีกรูปแบบคือ การเข้ามาโดยมีสถานะเป็นนิติบุคคลไทยผ่านการร่วมทุนหรือจัดโครงสร้างเป็นนิติบุคคลไทย แต่ไม่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนแม้ว่าจะไม่มีอุปสรรคทางกฎหมายที่เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษในการขอรับการส่งเสริมการลงทุนก็ตาม ทั้งนี้การเลือกรูปแบบที่สองผู้ลงทุนรับสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่ไม่ใช่ภาษีอากรในภาพรวมดีกว่ารูปแบบแรก นอกจากนี้ไม่ปรากฎว่าขนาดของกิจการของการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญต่อการขอรับการส่งเสริมการลงทุนแต่อย่างใด จากข้อมูลพบว่า แม้ผู้ลงทุนจะอยู่ในสถานะที่มีข้อจํากัดด้านกฎหมายในการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการขอรับการส่งเสริมการลงทุนน้อยที่สุด ผู้ลงทุนก็มีแนวโน้มจะเลือกใช้รูปแบบที่สองมากกว่ารูปแบบแรก แสดงถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้นไม่ใช่ปัจจัยสําคัญที่สุดในการพิจารณาเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย อย่างไรก็ตามปัจจัยทางภาษีส่งผลต่อการวางแผนรูปแบบองค์กรเพื่อให้ได้ประโยชน์ทางภาษีภายหลังตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นแหล่งลงทุนแล้ว ซึ่งชี้ว่าการส่งเสริมการลงทุนนั้นเปราะบางต่อการวางแผนภาษีในเชิงรุก อย่างไรก็ตามเอกัตศึกษานี้ไม่ได้ประเมินความคุ้มค่าของการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนแต่อย่างใด


การนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับกับธุรกิจสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านแพลตฟอร์ม, ปนัดดา อรุโณทัยวิศรุต Jan 2019

การนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับกับธุรกิจสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านแพลตฟอร์ม, ปนัดดา อรุโณทัยวิศรุต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงการนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับกับธุรกิจสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านแพลตฟอร์ม (ผู้ประกอบธุรกิจ) โดยจะศึกษาถึงข้อแนะนำของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (FATF) และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประกอบกับการเข้าสัมภาษณ์ผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่และรายเล็ก รวมถึงสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติในการกำหนดนโยบายตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามฟอกเงิน สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ จากการศึกษา FATF และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการเข้าสัมภาษณ์ผู้ประกอบธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญ พบว่า สถาบันการเงิน ตาม FATF นั้น รวมถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลใดก็ตามที่ดำเนินธุรกิจให้กู้เงิน โดยหากผู้ประกอบธุรกิจให้บริการทางการเงินผู้ประกอบธุรกิจจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของสถาบันการเงิน ซึ่งมีหน้าที่ในการปฏิบัติตาม FATF ณ เวลาที่เอกัตศึกษานี้ถูกจัดทำขึ้น ประเทศไทยมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเพียงให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการแสดงตัวตนของผู้ใช้บริการและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ใช้บริการตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเท่านั้น จะเห็นได้ว่าประกาศฉบับดังกล่าวไม่มีความชัดเจน ประกอบกับกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ยังไม่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีการออกแนวทางการบังคับใช้หรือการปฏิบัติตามกฎหมาย จึงส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ทราบแนวทางการปฏิบัติ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงศึกษา FAT และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยนำมาวิเคราะห์กับแนวทางและขั้นตอนการทำงานของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อเสนอซึ่งแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจและกฎหมายป้องกันเละปราบปรามการฟอกเงินของประเทศไทย


ปัญหาการดำเนินคดีล้มละลายภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย : ศึกษากรณีลูกหนี้ประวิงมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้, ศิริวาสน์ มังกรชัย Jan 2019

ปัญหาการดำเนินคดีล้มละลายภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย : ศึกษากรณีลูกหนี้ประวิงมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้, ศิริวาสน์ มังกรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษาลักษณะพฤติการณ์ประวิงคดีของลูกหนี้ และปัจจัยที่มีผลต่อการประวิงคดี ของลูกหนี้ในกระบวนการด าเนินคดีล้มละลายภายหลังศาลมีค าสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ของธนาคาร เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยเนื่องจากปัญหาความล่าช้าในการดำเนินคดีล้มละลายกับลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่ลูกหนี้ประวิงคดีมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ด้วยการยื่นคำขอประนอมหนี้หรือแก้ไขค าขอประนอมหนี้เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและลูกหนี้คาดหมายได้ว่าเจ้าหนี้ไม่อาจยอมรับคำขอประนอมหนี้เช่นนั้นได้ในขณะที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ไม่ได้มีบทบัญญัติกำหนด จำนวนเงินขั้นต่ำที่ลูกหนี้จะขอประนอมหนี้ได้ทำให้บรรดาเจ้าหนี้จำต้องขอเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ออกไปเพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้และในที่สุด ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่ยอมรับคำขอประนอมหนี้ฉบับดังกล่าวส่งผลให้ธนาคารต้องเสียทรัพยากรในด้านเวลาการทำงานของพนักงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายและค่าทนายความโดยที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยไม่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้แต่อย่างใด ผู้เขียนจึงนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันมิให้ลูกหนี้ประวิงมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในการ ดำเนินคดีล้มละลายภายหลังศาลมีค าสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย


ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีธุรกิจประกัน, สุวคนธ์ ภมรสุวรรณ Jan 2019

ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีธุรกิจประกัน, สุวคนธ์ ภมรสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาและผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่อาจจะเกิดขึ้นกับธุรกิจประกันในประเทศไทย ทั้งนี้ เนื่องจากธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป เช่น ชื่อ นามสกุลอายุ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) เช่น ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลการนับถือศาสนา ข้อมูลพฤติกรรมทางเพศ โดยเมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้แล้วจะส่งผลให้ โดยหลักแล้ว การที่บริษัทประกันภัยจะดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลกล่าวคือ การเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) ของลูกค้านั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าผู้เป็นเจ้าของข้อมูลก่อนทุกครั้งซึ่งในทางปฏิบัติของการดำเนินธุรกิจประกันในทุกขั้นตอนนั้นจะต้องมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้เอาประกันตั้งแต่ขั้นตอนแรกไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ก่อนการทำสัญญาประกันภัย ระหว่างอายุของสัญญาประกันภัย หรือแม้กระทั่งภายหลังจากสัญญา ประกันภัยสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นภายหลังจากการให้ความยินยอมแล้ว เจ้าของข้อมูลยังมีสิทธิที่จะถอน การให้ความยินยอมได้ โดยเมื่อเจ้าของข้อมูลได้ถอนความยินยอมแล้วบริษัทประกันจะไม่สามารถประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคลต่อไปได้ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้บริษัทประกันอาจจะได้รับผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของ ธุรกิจประกันภัยตามสัญญาประกันภัยได้ ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีอาจจะมีต่อธุรกิจประกัน เพื่อที่จะวิเคราะห์และเสนอฐานทางกฎหมาย (lawful basis) ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) รวมถึงเสนอแนวทางในการขอความยินยอม เพื่อเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบคคลที่มีความอ่อนไหวจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วย


แนวทางการเรียกคืนทรัพย์สินตามหลักลาภมิควรได้ : ศึกษากรณีการคืนภาษีอากร, พรชนก ศิริสร้างสุข Jan 2019

แนวทางการเรียกคืนทรัพย์สินตามหลักลาภมิควรได้ : ศึกษากรณีการคืนภาษีอากร, พรชนก ศิริสร้างสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายและหากได้ชําระค่าภาษีอากรไปแล้ว ต่อมาพบว่าตนนั้น ได้ชําระภาษีเกินไปกว่าที่ตนจะต้องเสีย หรือเมื่อชําระภาษีไปแล้วภายหลังพบว่าตนไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ภาษี กฎหมายก็กําหนดให้มีการคืนภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี ซึ่งการ ที่รัฐจะดําเนินการเก็บภาษีได้นั้นจะต้องมีบทบัญญัติกําหนดไว้ชัดแจ้งให้มีอํานาจกระทําได้ดังที่กล่าว ข้างต้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติให้รัฐนําเงินที่ผู้เสียภาษีชําระไว้เกินหรือไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีไปใช้จ่ายใน การบริหารประเทศได้ ดังนั้นรัฐจึงต้องคืนเงินค่าภาษีอากรดังกล่าวให้แก่ผู้เสียภาษี อย่างไรก็ตามบทบัญญัติกฎหมายภาษีอากรนั้นยังไม่ครอบคลุมและไม่สามารถนํามาปรับใช้ได้ ในทุกๆกรณี ทําให้ต้องมีการตีความกฎหมายซึ่งโดยหลักแล้วการตีความกฎหมายนั้นจะต้องตีความ โดยเคร่งครัด และหากตัวบทกฎหมายนั้นไม่ชัดเจน สามารถตีความได้หลายนัย ก็จะต้องตีความไป ในทางที่เป็นคุณหรือประโยชน์แก่ผู้เสียภาษี แต่ก็มีบางกรณีที่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีหลายๆคดีนั้น มีข้อเท็จจริงคล้ายคลึงกันแต่มีการตีความและนําหลักกฎหมายมาปรับใช้แตกต่างกัน เช่น นําหลัก กฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้มาปรับใช้ การปรับใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 193/31 และนําหลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิติดตามเอาคืนมาปรับใช้ ทําให้เกิดความ สับสนในการปรับใช้กฎหมายว่าการตีความกฎหมายอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุดและเป็นคุณหรือ ประโยชน์แก่ผู้เสียภาษี โดยเฉพาะบทบัญญัติในเรื่องการคืนภาษีอากร เนื่องจากตามประมวลรัษฎากรนั้นไม่ได้มีบทบัญญัติที่ชัดเจนว่าหากเกิดกรณีที่รัฐคืนภาษี อากรให้กับเอกชนไปโดยผิดพลาดแล้วจะต้องมีหลักเกณฑ์อย่างไร จึงทําให้ต้องมีการตีความและ ปรับปรุงกฎหมายโดยนําหลักกฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้มาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาในกรณีดังกล่าว


การกร่อนอำนาจอธิปไตยของรัฐในการจัดเก็บภาษีอากรไทยในมิติกฎหมาย ภาษีอากรระหว่างประเทศ, เอกนรินทร์ นุกูลสุขศิริ Jan 2019

การกร่อนอำนาจอธิปไตยของรัฐในการจัดเก็บภาษีอากรไทยในมิติกฎหมาย ภาษีอากรระหว่างประเทศ, เอกนรินทร์ นุกูลสุขศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาเพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงลักษณะของการกร่อนอำนาจอธิปไตยทางภาษีอากรที่มี อยู่จริงของมาตรการทางภาษีที่ออกโดยประเทศต่างๆ โดยจะมุ่งเน้นศึกษาในกรณีมาตรการทางภาษีของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกรณีมาตรการทางภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) โดยจำแนกออกตามรูปแบบที่มาของภาษีระหว่างประเทศ ทั้งในระดับของมาตรการฝ่ายเดียว การทำข้อตกลงระดับทวิภาคี การทำข้อตกลงระดับพหุภาคี และกฎหมายระหว่างประเทศอันเกิดจากองค์การเหนือรัฐ รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบที่ตามมาภายหลังหรือหากมีการบังคับใช้มาตรการเหล่านี้ต่อประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่ประเทศไทยควรจะต้องคำนึงถึงและพิจารณาหากจะได้มีการตกลงหรือรับเอามาตรการที่มีลักษณะเป็นการกร่อนอำนาจอธิปไตยทางภาษีดังกล่าวมาใช้ จากการศึกษาพบว่าลักษณะของการกัดกร่อนอำนาจอธิปไตยทางภาษีปรากฏมีอยู่ในมาตรการต่างๆที่ออกโดยประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการทำความตกลงหรือกำลังจะทำความตกลงเพื่อนำเอามาตรการทางภาษีระหว่างประเทศเหล่านี้มาบังคับใช้บ้างแล้วในบางกรณี ซึ่งก็ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและลบ และเนื่องจากมาตรการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเสี่ยงได้ตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน หากประเทศไทยจำที่จะต้องรับหรือนำเอามาตรการและข้อตกลงระหว่างประเทศที่กัดกร่อนไปซึ่ง อำนาจในการจัดเก็บภาษีของประเทศมาใช้ ก็ควรจะต้องพิจารณาว่าประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรการดังกล่าวนั้นคุ้มค่ากับผลกระทบที่จะตามมา


แนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณามูลค่าของสิทธิประโยชน์เนื่องจาก การจ้างแรงงานเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษี : กรณีศึกษาประโยชน์เกื้อกูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน, กิตติลักษณ์ นิ่มเชื้อ Jan 2019

แนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณามูลค่าของสิทธิประโยชน์เนื่องจาก การจ้างแรงงานเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษี : กรณีศึกษาประโยชน์เกื้อกูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน, กิตติลักษณ์ นิ่มเชื้อ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวทางในการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณามูลค่าของสิทธิประโยชน์เนื่องจากการจ้างแรงงาน กรณีประโยชน์เกื้อกูล ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา เนื่องจาก "เงินได้พีงประเมิน" ตาม มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรหมายความรวมถึง ประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ดังนั้น ในกรณีที่ได้รับ "ประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน" ตาม มาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร อันถือเป็นเงินได้พึงประเมินได้นั้น ประโยชน์ดังกล่าวจะต้องคิดคำนวณเป็นเงินได้ ผลการศึกษาพบว่า สหราชอาณาจักรมีการกำหนดนิยามความหมายและข้อยกเว้นต่างๆ เกี่ยวกับประโยชน์เนื่องจากการจ้างแรงงานไว้อย่างชัดแจ้งใน Income Tax (Earning and Pensions) Act 2003 และมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณามูลค่าเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษี รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้ จึงจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาหลักเกณฑ์การกำหนดขอบเขตและการพิจารณามูลค่าของสิทธิประโยชน์เนื่องจากการจ้างแรงงาน ตาม มาตรา 40 (1) ให้สอดคล้องกับความหมายของเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร


การประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ภายใต้พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมิน ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, อัจฉริยา ทัดเทียม Jan 2019

การประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ภายใต้พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมิน ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, อัจฉริยา ทัดเทียม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 โดยมุ่งเน้นไปที่หลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีการรับมรดกว่าบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีการรับมรดกเมื่อพิจารณาภายใต้หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทําร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 หรือไม่ โดยศึกษาถึงวัตถุประสงค์และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดเก็บภาษีการรับมรดกเพื่อทําการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายซึ่งเป็นการวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายภาษีการรับมรดกว่าได้ผลตรงตามวัตถุประสงค์ของการตรากฎหมายนั้นมากน้อยเพียงใด คุ้มค่ากับภาระที่เกิดขึ้นแก่รัฐและประชาชนหรือไม่ หรือมีผลกระทบอื่นอันก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนหรือไม่ เพียงใด ผลการศึกษาพบว่าจากข้อมูลการวิเคราะห์การจัดเก็บภาษีการรับมรดกภายใต้หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทําร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายพ.ศ. 2562 พบว่ากฎหมายภาษีการรับมรดกในปัจจุบันยังไม่สัมฤทธิ์ผลด้วยเหตุผลหลายประการเช่นปัญหามูลค่าทรัพย์สินที่เป็นฐานภาษีในการจัดเก็บภาษีการรับมรดก ดังนั้นสมควรทําการปรับปรุงแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษีการรับมรดกให้เหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดและคุ้มค่ามากที่สุดในการบรรลุวัตถุประสงค์ตามบรรทัดฐานที่กฎหมายกําหนด อาทิความจําเป็นของกฎหมาย ความสอดคล้องกับสภาพการณ์และการลดความเหลื่อมลํ้าในสังคม เป็นต้น


มาตรการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบตามหลักจำกัดสิทธิประโยชน์ (Limitation On Benefits) ของประเทศสหรัฐอเมริกา, อัญชิสา คงงาม Jan 2019

มาตรการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบตามหลักจำกัดสิทธิประโยชน์ (Limitation On Benefits) ของประเทศสหรัฐอเมริกา, อัญชิสา คงงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาษีอากรเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการอย่างหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจจึงพยายามหาวิธีการเพื่อให้กิจการของตนเสียภาษีอากรน้อยที่สุดหรือไม่จําต้องเสียภาษีอากรเลยการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบ เป็นวิธีการที่ถูกใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางภาษีส่งผลให้นานาประเทศสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่รัฐควรจะได้รับมหาศาล โดยประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่เริ่มสนใจปัญหาการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนโดยมิชอบ และหามาตรการเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว ซึ่งหลักจํากัดสิทธิประโยชน์เป็นมาตรการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเลือกใช้มาเป็นระยะเวลายาวนาน และเชื่อว่าสามารถจัดการกับปัญหาการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวัตถุประสงค์ของหลักจํากัดสิทธิประโยชน์มีขึ้นเพื่อรับมือกับธุรกรรมบางประเภท อันเป็นมาตรการเฉพาะว่าด้วยการต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีอากร ทําให้หลักจํากัดสิทธิประโยชน์มีความชัดเจน แน่นอน จัดเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการวางแผนภาษีที่เกิดขึ้นใหม่ได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาพบว่าหลักการจํากัดสิทธิประโยชน์เป็นหลักการที่ประเทศไทยสมควรรับมาเป็นบทบัญญัติหนึ่งในอนุสัญญาภาษีซ้อน ด้วยเหตุนี้จึงจําเป็นต้องศึกษาถึงหลักเกณฑ์และแนวทางการบังคับใช้รวมถึงความมีประสิทธิภาพจากการบังคับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการนําหลักการจํากัดสิทธิประโยชน์มาปรับใช้ในประเทศไทยต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ


ปัญหาการตีความการจัดเก็บภาษีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในประเทศไทย, จินตนา แทนวันดี Jan 2019

ปัญหาการตีความการจัดเก็บภาษีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในประเทศไทย, จินตนา แทนวันดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประกอบธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคลประเภทบริษัทจ้ากัดหรือบริษัทมหาชนจ้ากัด จำต้องอาศัยแหล่งเงินทุนเพื่อนำไปประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมามีบริษัทในประเทศไทยจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดภาวะการขาดทุนสะสมภายในบริษัทต่อเนื่องกันมา แม้ว่ากรมสรรพากรจะมีมาตรการในการช่วยเหลือบริษัทที่ยังคงมีผลขาดทุนสะสม ดังนั้น หลายบริษัทในประเทศไทยที่ยังคงมีผลขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถที่จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในประเทศไทยหรือในต่างประเทศได้ การจัดหาแหล่งเงินทุนภายนอก (External Source of fund) ประเภทการออกจ้าหน่ายหุ้นสามัญ (Common Stock) หรือการออกจำหน่ายหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) จึงได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมในเวลาต่อมา เดิมการออกหุ้นโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นสามารถกระท้าได้หากเป็นไปตามข้อบังคับและหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทตามที่มาตรา 1105 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ และไม่ได้มีกฎหมายอื่นใดกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องกำหนดส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในอัตราส่วนเท่าใด นอกจากนั้นหากได้รับช้าระค่าหุ้นพร้อมทั้งส่วนล้ำมูลค่าหุ้นตามมาตรา 1202 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมถึงมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 เรื่องการนำเสนองบการเงิน ให้ถือว่า ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเป็นส่วนของเจ้าของ (Equity) ที่ไม่ต้องน้ามาค้านวนเพื่อเสียภาษีเงินได้ และไม่ใช่รายรับที่ต้องน้าไปค้านวนเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มรวมถึงมีข้อหารือกรมสรรพากรให้ความเห็นสนับสนุนหลักการดังกล่าวเรื่อยมา ต่อมาในปี 2559 ได้มีค้าพิพากษาศาลฎีกาหมายเลขคดี 2050/2559 ระหว่างบริษัทเอ็นอีซี (ประเทศไทย) จ้ากัด (โจทก์) และ กรมสรรพากร (จ้าเลย) ได้มีแนวคำวินิจฉัยตัดสินให้ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในกรณีดังกล่าว ถือเป็นเงินให้เปล่าหรือเงินช่วยเหลือ ซึ่งถือเป็นรายได้ที่ต้องน้าไปรวมค้านวนเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และต่อมาจึงได้มีแนวค้าวินิจฉัยของกรมสรรพากรเดินตามแนววินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรดังกล่าว ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี จึงมุ่งศึกษาถึงแนวความคิดและความแตกต่างระหว่างการตีความของกรมสรรพากรเดิมกับแนวค้าพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งพบว่าส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเป็นส่วนหนึ่งของส่วนทุนของบริษัทและในการจัดหาแหล่งเงินทุนที่ถูกต้อง บริษัทต่าง ๆ สามารถที่จะดำเนินการออกหุ้นเพิ่มทุนโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นได้ แต่ทั้งนี้ หากบริษัทได้ดำเนินการออกหุ้นโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นสูงเกินและมิได้แสดงให้เห็นถึงกิจการของบริษัท อย่างถูกต้องแล้วนั้น ในบางกรณีย่อมเห็นได้ชัดว่าเป็นการหลีกภาษี หรือการเลี่ยงภาษีอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยยังคงขาดความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว จึงควรมีการเพิ่มเติมความหมาย พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบการจัดเก็บภาษีไว้ในประมวลรัษฎากร เพื่อความชัดเจนและส่งผลให้ข้อขัดแย้งในการตีความที่จะเป็นข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลลดน้อยลง


แนวทางการปรับปรุงมาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมการศึกษาในประเทศไทย, จักรินทร์ ภาณุวงศ์ Jan 2019

แนวทางการปรับปรุงมาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมการศึกษาในประเทศไทย, จักรินทร์ ภาณุวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระแสของโลกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติ เกิดโอกาส ปัจจัยเสี่ยงภัยและโรคภัยคุกคามที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ยกตัวอย่างได้ว่าในขณะที่ผู้ทําวิจัยเล่มนี้นั้นเกือบทั้งโลกรวมทั้งประเทศไทยได้ประสบกับการแพร่ระบาด (pandemic) อย่างรุนแรงของไวรัสโคโรน่า (Coronavirus disease) หรือมีชื่อย่อว่า โควิด-19 (COVID-19)ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการบริหารจัดการทรัพยากรรวมถึงเสรีภาพ การปรับวิถีชีวิตของประชาชนเพื่อให้ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจทั้งสังคมแบบทั่วไป และสังคมออนไลน์รวมถึงระบบการศึกษา ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ซึ่งได้ระบุถึงวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อที่นําประเทศเข้าสูประเทศที่พัฒนา อย่างไรก็ตามปัญหาด้านการศึกษาที่ผ่านมามีความซับซ้อน โดยเฉพาะในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา จึงทําให้ความเสี่ยงของการศึกษาไม่ได้มีแต่มีอยู่ในแต่ห้องเรียน แต่หมายถึงอาจจะไม่มีประชาชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุนทางปัญญาถดถอย ส่งผลให้ไม่มีความมั่นคงในระดับตนเองและครอบครัวซึ่งตรงข้ามกับคติพจน์ประจําชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” อย่างสิ้นเชิง เอกัตศึกษาเล่มนี้มุ่งศึกษามาตรการภาษีด้านการส่งเสริมการศึกษาทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเปรียบเทียกับมาตรการภาษีของต่างประเทศซึ่งจากการศึกษาพบว่า ภาครัฐยังไม่ได้ใช้มาตรการด้านภาษีในการสนับสนุนด้านการศึกษาอย่างเหมาะสม จึงสมควรที่ภาครัฐจะต้องกําหนดหลักเกณฑ์และมีการบัญญัติกฎหมายในด้านการส่งเสริมการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามกรอบยุทธศาสตร์และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความเสมอภาคทางภาษี


การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ศึกษากรณี : คำร้องขอหรือคำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากรัฐ, กิตติพงศ์ หาริเทศ Jan 2019

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ศึกษากรณี : คำร้องขอหรือคำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากรัฐ, กิตติพงศ์ หาริเทศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐมีคำร้องหรือคำสั่งขอเข้าถึงขอข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งกำลังประสบปัญหาอยู่ในหลาย ประการ ตลอดจนศึกษาถึงแนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลตามคำร้องขอหรือ คำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานของรัฐ เพื่อนำมาวิเคราะห์และนำเสนอถึงมาตรการทางกฎหมาย ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป จากการศึกษาระบุให้เห็นอย่างเป็นที่ประจักษ์ว่า การที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งหรือคำร้องขอเข้าถึง ข้อมูลส่วนบุคคลจากธุรกิจสถาบันการเงินนั้น ยังมีความไม่ถูกต้องชัดเจนในการใช้อำนาจ ส่งผลให้สถาบัน การเงินไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งแม้ในปัจจุบันประเทศไทยจะมี มาตรการทางกฎหมายหรือแนวทางปฏิบัติของสถาบันการเงินที่อาจปรับใช้กับปัญหาดังกล่าวได้อยู่บ้างก็ตาม แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมถึงกรณีปัญหาต่างๆได้อย่างเพียงพอ ฉะนั้น หากประเทศไทยได้มีการกำหนดมาตรการทาง กฎหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีดังกล่าวแล้ว ย่อมจะส่งผลให้ปัญหาการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ให้กับหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจกฎหมายถูกแก้ไขและเกิดความชัดเจนมากขึ้น


คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในการไต่สวนชี้มูลความผิดทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่พ้นจากตำแหน่ง, เชิดธวัช ชัยปัน Jan 2019

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในการไต่สวนชี้มูลความผิดทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่พ้นจากตำแหน่ง, เชิดธวัช ชัยปัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี และวิธีการบังคับใช้กฎหมายของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการไต่สวนชี้มูลความผิดทางวินัยกับผู้ที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ควบคู่ไปกับหลักเกณฑ์ในการดำเนินการทางวินัยของผู้บังคับบัญชา โดยนำทฤษฎีการตีความและการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทย และในต่างประเทศมาวิเคราะห์เข้ากับการไต่สวนชี้มูลความผิดทางวินัยนั้น จากการศึกษาพบว่า กฎหมายว่าด้วยวินัยมีข้อบกพร่องในการดำเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว กล่าวคือ กฎหมายว่าด้วยวินัยบางประเภทจะต้องทำการกล่าวหาก่อนพ้นจากตำแหน่ง มิเช่นนั้นจะไม่สามารถดำเนินการทางวินัยได้ แต่อีกประเภทหนึ่งคือ ไม่มีหลักเกณฑ์ในการดำเนินการทางวินัยใดๆ หากพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แม้ต่อมาในภายหลังจะมีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว แต่เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องในกฎหมายว่าด้วยวินัยในบางฉบับเท่านั้น ส่วนฉบับที่ไม่ได้แก้ไขจึงยังคงเป็นปัญหาในการดำเนินการทางวินัยที่สืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับการไต่สวนชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องอาศัยหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยที่มีปัญหาเหล่านั้น นอกจากจะเป็นวิธีการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีการบังคับใช้กฎหมายแล้ว ยังส่งผลให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่อาจไต่สวนชี้มูลความผิดทางวินัยกับผู้ที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้วได้ จนทำให้บุคคลนั้นหลุดพ้นจากความรับผิดทางวินัยไปในที่สุด ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอแนวทางการแก้ไขตั้งแต่ต้นเหตุ โดยการจัดทำร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐเฉพาะในกรณีที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้วเท่านั้น และให้มีมาตรฐานกลางในลักษณะเดียวกันกับ มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เพื่อให้ดำเนินการทางวินัยได้ภายใต้ความเท่าเทียมกันของกฎหมาย พร้อมกับแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ โดยแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ให้ใช้กฎหมายกลางด้วย เพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีวิธีการบังคับใช้กฎหมายในการดำเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้วได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน มีประสิทธิภาพ เกิดความเท่าเทียม และในขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาผลประโยชน์ของทางราชการด้วยเช่นกัน