Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

แรงจูงใจ

Publication Year

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Education

การสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยรูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคม, เพ็ญโบมัย ซัมแอล, สุชาติ ทั่งสถิรสิมา, ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์ Oct 2021

การสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยรูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคม, เพ็ญโบมัย ซัมแอล, สุชาติ ทั่งสถิรสิมา, ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมสร้างแรงจูงใจของนักเรียนในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยการสอนภาษาอังกฤษด้วยการใช้รูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 23 คนโดยมีรูปแบบการวิจัยคือ แบบแผนการทดลองขั้นต้นโดยใช้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษที่ใช้รูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และแบบวัดแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ Paired Sample t-Test การสอนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมส่งผลต่อแรงจูงใจของนักเรียนในการเรียนภาษาอังกฤษ ผลการวิจัย พบว่า ก่อนทดลอง (pre-test) (M = 70.17, SD = 9.60) และหลังการทดลอง (post-test) (M = 74.78, SD = 5.87) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.16)


แรงจูงใจที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, วสินี ไขว้พันธุ์, สมปรารถ ขำเมือง Apr 2021

แรงจูงใจที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, วสินี ไขว้พันธุ์, สมปรารถ ขำเมือง

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในคณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2561 จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วย ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวม นิสิตมีแรงจูงใจในการเข้าศึกษาคณะนี้อยู่ในระดับมาก (Mu = 3.65) โดยด้านความมั่นคง และความก้าวหน้า มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความถนัดและสนใจในอาชีพ ด้านสถาบัน ด้านการประชาสัมพันธ์ส่วนด้านอิทธิพลการชักจูงจากบุคคลอื่นมีค่าเฉลี่ยคะแนนต่ำที่สุดและอยู่ในระดับน้อย นอกจากนี้พบว่า นิสิตที่เลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการเข้าศึกษาต่อในด้านความถนัดและความสนใจในอาชีพแตกต่างกันและรายได้ของผู้ปกครองที่แตกต่างกันมีผลในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันแตกต่างกัน


การใช้กลยุทธ์การอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์โดยผ่านการเรียนแบบผสมผสานของนิสิตครุศาสตร์เอกภาษาอังกฤษ, พรพิมล ศุขะวาที Apr 2017

การใช้กลยุทธ์การอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์โดยผ่านการเรียนแบบผสมผสานของนิสิตครุศาสตร์เอกภาษาอังกฤษ, พรพิมล ศุขะวาที

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์ก่อนและหลังการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์ และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนิสิตต่อการสอนการใช้กลยุทธ์การอ่านผ่านการเรียนแบบผสมผสานกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 3 เอกภาษาอังกฤษขั้นสูงจำนวน 18 คน ที่ลงทะเบียนวิชา 2725362 การอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์ปีการศึกษา 2558 การศึกษาครั้งนี้เป็นออกแบบการเก็บข้อมูลจากตัวอย่างกลุ่มเดียวด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยใช้เวลาทั้งสิ้น 16 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า 1)นิสิตมีคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์หลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05และ 2) นิสิตเห็นว่ากลยุทธ์การอ่านทั้ง 4 กลยุทธ์ คือ การทำนายความ การตั้งคำถาม การทำให้กระจ่าง และการสรุปความ ช่วยให้เข้าใจเรื่องที่อ่านและเพิ่มทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์ได้ดียิ่งขึ้นและการเรียนแบบผสมผสานนั้นสามารถสนับสนุนการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิจารณ์ได้เป็นอย่างดีในด้านมีเครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ความสะดวกในการระดมสมองเพื่อทำงานกลุ่ม นิสิตได้เห็นตัวอย่างมากขึ้น มีผลป้อนกลับเร็ว และลดข้อจำกัดเรื่องเวลาการทำงาน


การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่, ระวี สัจจโสภณ Jan 2017

การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่, ระวี สัจจโสภณ

Journal of Education Studies

การวิจัยและพัฒนา ประยุกต์ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบของสมรรถนะและแนวทางการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ และติดตามประเมินผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทดลองใช้ ขั้นการวิจัยเก็บข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร การถอดบทเรียนจากแนวปฏิบัติที่ดีในพื้นที่ และการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ผู้ให้ข้อมูล คือ แกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นเก่า แกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ภาคีเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นการพัฒนาเก็บข้อมูลด้วยการทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ แกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ชมรมผู้สูงอายุตำบลวังน้ำเขียว จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบก่อน-หลัง แบบประเมินทักษะ แบบประเมินคุณลักษณะเชิงพฤติกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะเชิงพฤติกรรม แนวทางการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ แบ่งเป็น 5 ด้าน คือ ผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประเภทของกิจกรรมการเรียนรู้และเนื้อหา วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและเทคโนโลยี และวิธีการวัดผลประเมินผล 2) นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ องค์ประกอบสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ 3) ผลการประเมินร่างนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของแกนนำชมรมผู้สูงอายุรุ่นใหม่ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ในภาพรวมเหมาะสมกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ( x?= 4.85) และมีประโยชน์สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ (x? = 4.70) ในระดับมากที่สุด โดยองค์ประกอบของกิจกรรมการเรียนรู้มีความสอดคล้องกันโดยมีค่า IOC มากกว่า 0.50 4) ผลการทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ พบว่า …