Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Theses/Dissertations

2018

Health and Physical Education

Institution
Keyword
Publication

Articles 91 - 101 of 101

Full-Text Articles in Education

Collegiate Recreation Participation And Student Retention, Progression, And Graduation, Gabriela Mccollum Jan 2018

Collegiate Recreation Participation And Student Retention, Progression, And Graduation, Gabriela Mccollum

Electronic Theses and Dissertations

The purpose of this study was to examine the relationship between collegiate recreation participation and students’ retention, progression, and graduation (RPG) rates. This study employed a quantitative, ex post facto research design along with descriptive analyses of two research questions. Archival data were gathered for an incoming first-year cohort of 3,516 students at a research-intensive university in the Southeast United States. The present study found that participants within the cohort who were classified as high participation in collegiate recreation were more likely to be retained from the first to the second year. Evidence of this finding was presented with statistical …


Examination Of Energy Needs And Hormone Levels In Male Endurance Athletes, Erin Moore Jan 2018

Examination Of Energy Needs And Hormone Levels In Male Endurance Athletes, Erin Moore

Theses and Dissertations

A plethora of literature examining the physiological consequences associated with deficits in energy availability (EA) for female athletes exists, however literature examining male athletes is sparse. Purpose: To determine the effects of high exercise energy expenditure (EEE) on Male Triad symptoms (EA with or without an eating disorder [ED], reproductive hormones Testosterone [T] and Luteinizing hormone [LH], and bone mineral density [BMD]) and other metabolic markers (Insulin, Leptin, Cortisol and Interleukin-6 [IL-6]) in endurance-trained male athletes. Methods: We utilized a cross-sectional design on 14 endurance trained male athletes (age: 26.4 + 4.2 yrs.; weight: 70.6 + 6.4 kg; and height: …


การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับนักเรียนประถมศึกษา: ประยุกต์ใช้กล้องสมาร์ตโฟนเอ็นโดไมโครสโคป, สริญญา รอดพิพัฒน์ Jan 2018

การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับนักเรียนประถมศึกษา: ประยุกต์ใช้กล้องสมาร์ตโฟนเอ็นโดไมโครสโคป, สริญญา รอดพิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับนักเรียนประถมศึกษา โดยใช้ทฤษฏีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตน และแนวคิดการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน 2) พัฒนาและประเมินคุณภาพของกล้องสมาร์ตโฟนเอ็นโดไมโครสโคป และ 3) ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาจำนวน 59 คน ได้จากการสุ่มอย่างแบบง่ายใน 1 โรงเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นและผ่านเกณฑ์คัดเข้า ทำการเก็บข้อมูล 3 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และระยะติดตามผลหลังสิ้นสุดการทดลอง 4 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบด้วยสถิติที วิเคราะห์ความแปรปรวณหลายตัวแปรแบบวัดซ้ำที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกิจกรรม 10 กิจกรรม คือ 1.1) สำรวจตรวจช่องปาก 1.2) ย้อมสีฟัน 1.3) ประเมินสุขภาพช่องปาก 1.4) ยิ้มสวยฟันสะอาด 1.5) เปิดรับข้อมูล 1.6) รับรู้ความเสี่ยง 1.7) มาทำความสะอาดช่องปากกันเถอะ 1.8) สงสัยซักถาม 1.9) ประสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียน และ 1.10) แบ่งปันข้อมูล มีค่าดัชนีความสอดคล้องเฉลี่ยเท่ากับ 0.98 2) กล้องสมาร์ตโฟนเอ็นโดไมโครสโคปที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 2.1) กล้อง 2.2) เลนส์ 2.3) ด้ามจับและส่วนตรวจช่องปาก และ 2.4) การเชื่อมต่อสมาร์ตโฟน ผลการประเมินคุณภาพจากการใช้งานอยู่ในระดับดี และมีความพึงพอใจในระดับดีมาก 3) ประสิทธิผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้พฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน ด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ และสุขภาพช่องปากด้านความสะอาดของฟัน และสุขภาพเหงือกของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ฉัตรพันธ์ ดุสิตกุล Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ฉัตรพันธ์ ดุสิตกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมที่ได้พัฒนาขึ้นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และเป็นนิสิตนักศึกษาที่มีความสมัครใจในการเข้าร่วมกิจกรรมและผ่านเกณฑ์การคัดเข้า ทำการเก็บข้อมูล 3 ครั้ง คือ ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และระยะติดตามผลหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนด้วยค่า "ที" วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้ LSD ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ หลักการและแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วัตถุประสงค์ การจัดกิจกรรมจำนวน 10 กิจกรรม และการประเมินผลด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความถี่ของพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ การจัดกิจกรรมจำนวน 10 กิจกรรม มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้น คือ ขั้นสร้างความตระหนักรู้ ขั้นเตรียมตัวสู่การปฏิบัติ ขั้นปฏิบัติและสะท้อนผลการปฏิบัติ ประกอบด้วย กิจกรรมรู้เอาไว้พิษภัยแอลกอฮอล์ กิจกรรมมารู้จักตัวเอง กิจกรรมพี่เล่าเรื่องเหล้า กิจกรรมบุคลิกพิชิตแอลกอฮอล์ กิจกรรมแนะนำฉันทีเพื่อหนีแอลกอฮอล์ กิจกรรมประกาศตนผ่านพ้นแอลกอฮอล์ กิจกรรมบัดดี้ที่รัก กิจกรรมนันทนาการสร้างสุข กิจกรรมรายงานตนประกาศผลคนเก่งกล้า และกิจกรรมหนีภัยห่างไกลแอลกอฮอล์ ทั้งนี้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นได้ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (IOC = 0.9) 2) การหาประสิทธิผลของรูปแบบสามารถสรุปได้ ดังนี้ 2.1 ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยการลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความถี่ของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างงมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยการลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความถี่ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ธชาทัช ไชยมุทา Jan 2018

ผลของโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ธชาทัช ไชยมุทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครฯ จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน ที่ได้รับการฝึกโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิส และ กลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน ที่ได้รับการฝึกโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 80 นาที แบบประเมินความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอลประกอบด้วย 1) แบบประเมินท่าทางการเสิร์ฟ 2) แบบวัดความแม่นยำการเสิร์ฟวอลเลย์บอลโดยใช้แบบทดสอบของสมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการแห่งสหรัฐอเมริกา (AAHPER Serving Accuracy Test) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบคะแนนความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอลนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบคะแนนความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอล นักเรียนกลุ่มควบคุมหลังการทดลองทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบคะแนนความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอลหลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา, พงศธร ไพจิตร Jan 2018

การพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา, พงศธร ไพจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา โดยมีกระบวนการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการสร้างเสริมสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ อาจารย์นิเทศก์การศึกษา อาจารย์นิเทศก์วิชาพลศึกษา อาจารย์พี่เลี้ยง และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาพลศึกษา จำนวน 125 คน ที่ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 2) การพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรจำนวน 5 คน และใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำหลักสูตรไปใช้ 3) ทดลองใช้และประเมินผลหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครู สาขาวิชาพลศึกษา จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยวิธีจับสลากแบบไม่ใส่คืน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นในการสร้างเสริมสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา พบว่า มี 4 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะให้กับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาคือ การวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ทางพลศึกษา การวัดและประเมินผลทางพลศึกษา การจัดการเรียนรู้พลศึกษาและการจัดการชั้นเรียน และ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางพลศึกษา 2. ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครู สาขาวิชาพลศึกษาในภาพรวมโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.47, SD = 0.53) 3. ผลการทดลองใช้และประเมินผลหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา พบว่า 1) ประสิทธิภาพของหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษามีค่าประสิทธิภาพเชิงกระบวนการและประสิทธิภาพเชิงผลลัพธ์ (E1/E2) โดยเฉลี่ยเท่ากับ 83.81/82.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และ 2) หลังการเข้าร่วมหลักสูตร นักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีเจตคติอยู่ในระดับดี มีทักษะปฏิบัติทุกหน่วยการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก และมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก


ผลการใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเองเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วันวิสา ป้อมประสิทธิ์ Jan 2018

ผลการใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเองเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วันวิสา ป้อมประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองที่ใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเองเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าว 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้ใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเอง กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสระแก้ว จำนวน 50 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือนักเรียนกลุ่มทดลองจำนวน 25 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมจำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเอง จำนวน 14 แผน แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวตามสถานการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มทดลองหลังได้รับการใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มทดลองหลังได้รับการใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเองเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวสูงขึ้นกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทยเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย, วรรณนิศา พงษ์จิรังกาล Jan 2018

การจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทยเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย, วรรณนิศา พงษ์จิรังกาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางกาย ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย และของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามปกติ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางกาย ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย กับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามปกติ ตัวอย่างคือ นักเรียนปฐมวัยชั้นปีที่ 2 อายุ 5-6 ปี โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครแห่งหนึ่ง จำนวน 46 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 23 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย จำนวน 16 แผน แบบทดสอบมรรถภาพทางกาย และแบบวัดความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางกาย ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางกาย ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษากีฬายิมนาสติกโดยใช้หลักการจัดการความปลอดภัยที่มีต่อการป้องกันการบาดเจ็บของนักเรียนประถมศึกษา, มนัสชนก กองนักวงษ์ Jan 2018

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษากีฬายิมนาสติกโดยใช้หลักการจัดการความปลอดภัยที่มีต่อการป้องกันการบาดเจ็บของนักเรียนประถมศึกษา, มนัสชนก กองนักวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษากีฬายิมนาสติกโดยใช้หลักการจัดการความปลอดภัยที่มีต่อการป้องกันการบาดเจ็บของนักเรียนประถมศึกษา โดย 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการป้องกันการบาดเจ็บในกีฬายิมนาสติกก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการป้องกันการบาดเจ็บในกีฬายิมนาสติกหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 64 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่มๆ ละ 32 คน กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษากีฬายิมนาสติกโดยใช้หลักการจัดการความปลอดภัยที่มีต่อการป้องกันการบาดเจ็บ และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษากีฬายิมนาสติกแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษากีฬายิมนาสติกโดยใช้หลักการจัดการความปลอดภัยที่มีต่อการป้องกันการบาดเจ็บ จำนวน 8 แผน แบบวัดพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า"ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการป้องกันการบาดเจ็บในกีฬายิมนาสติกของนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการป้องกันการบาดเจ็บในกีฬายิมนาสติกของนักเรียนหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


การพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา, สุตาภัทร ประดับแก้ว Jan 2018

การพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา, สุตาภัทร ประดับแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 1) พัฒนาโปรแกรมโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ และตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น โดยการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง 2) ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมโดยใช้กลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง เป็นบุคลากรในสถานศึกษาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 40 คน ดำเนินการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทำการเก็บข้อมูล 3 ครั้ง คือ ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ และติดตามผลหลังสิ้นสุดการทดลอง 4 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรแบบวัดซ้ำที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 10 กิจกรรม คือ สร้างสัมพันธ์ เสริมพลังบวก ความหวัง สุขภาพองค์รวม ทบทวนตนเอง เป้าหมายมีไว้พุ่งชน โยคะคลายเครียด Let's relax โภชนาการต้องรู้ เมนูที่รัก และMy Idol โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.88 2) ประสิทธิผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้พฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด และค่าความดันโลหิตของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล และบุคลากรกลุ่มทดลองมีระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด และค่าความดันโลหิตลดลง


การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยประยุกต์ใช้การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบเสริมศักยภาพ, อัสรี สะอีดี Jan 2018

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยประยุกต์ใช้การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบเสริมศักยภาพ, อัสรี สะอีดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ประเมินความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะสำหรับการเป็น ครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยประยุกต์ใช้การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบเสริมศักยภาพ และ 3) ประเมินประสิทธิผลหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความต้องการจำเป็น คือ ครูพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 395 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประสิทธิผลหลักสูตรฝึกอบรม คือ ครูพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 30 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง และผ่านเกณฑ์คัดเข้า ทำการเก็บข้อมูล 2 ครั้ง คือ ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นด้วยการใช้เทคนิคใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index ในการจัดลำดับความสำคัญของ ความต้องการจำเป็น และทดสอบด้วยสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยสมรรถนะ 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านความรู้วิชาการ การจัดการเรียนการสอน ทักษะทางการกีฬาและการออกกำลังกาย (2) ด้านการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (3) ด้านการสื่อสารและการมีมนุษยสัมพันธ์ทั้งกับนักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อนครู และ ผู้บริหาร (4) ด้านการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (5) ด้านการพัฒนาตนเองในความเป็นครูพลศึกษา และ (6) ด้านการปรับตัวให้เข้ากับนักเรียนและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงที่มี โดยพบว่า ค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล มีค่า PNI modified เท่ากับ .470 2) หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการและความเป็นมา (2) วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม (3) หน่วยการเรียนรู้ของหลักสูตรฝึกอบรม จำนวน 5 หน่วย (4) ระยะเวลาของการฝึกอบรม (5) …