Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

1979

Journal of Letters

Articles 1 - 22 of 22

Full-Text Articles in Arts and Humanities

เล่านิทาน-รายการเพื่อเด็ก, จ้อย นันทิวัชรินทร์ ม.ล. Jul 1979

เล่านิทาน-รายการเพื่อเด็ก, จ้อย นันทิวัชรินทร์ ม.ล.

Journal of Letters

รายการเล่านิทานนั้นได้มีจัดขึ้นในห้องสมุดเป็นเวลาช้านานแล้ว เพราะมีประโยชน์ในการชักจูง เด็กไปสู่หนังสือ การเล่านิทานเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง แต่เป็นศิลปะที่สามารถเรียนรู้และฝึกฝนให้ดีขึ้นได้ โดย มีวิธีการเป็นลำดับขั้น คือตั้งแต่การเลือกเรื่อง การเตรียมตัวก่อนการเล่านิทาน การดำเนินรายการเล่านิทาน รวมทั้งวิธีการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้รายการเล่านิทานนั้น น่าสนใจและให้ความสนุกสนานแก่เด็ก


สมมติฐานซาเพียร์ - วอร์ฟ, อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ Jul 1979

สมมติฐานซาเพียร์ - วอร์ฟ, อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์

Journal of Letters

สมมติฐานซาเฟียร์ -วอร์ฟ (The Sapir-Whorf Hypothesis)หรือที่เป็นที่รู้จักกัน แพร่หลายในนามของ สมมติฐานภาษาสัมพัทธ์ (The Linguistic Relativity Hypothesis) เน้นความ สำคัญของภาษาอย่างยิ่ง ใจความโดยย่อของสมมติฐานนี้คือ ภาษามีอิทธิพลต่อการนึกคิด การมองโลก และ การเข้าใจสิ่งแวดล้อมของผู้พูดภาษา ดังนั้นผู้ที่พูดภาษาที่ต่างกันมากก็ย่อมคิด มองโลก และเข้าใจสิ่งแวดล้อม ต่างกันมาก หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ภาพของปรากฏการณ์ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลกจะปรากฏต่อคนทั้งหลาย ต่างกันมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับการที่เขาเหล่านั้นพูดภาษาที่ต่างกันหรือคล้ายกัน ผู้ที่เสนอความคิดนี้อย่างเด่นชัดคือ เอ็ดเวิร์ด ซาเพียร์ (Edward Sapir) นักมานุษยวิทยา-ภาษาศาสตร์ ชาวอเมริกัน และ ศิษย์เอกของเขา เบนจามิน ลี วอร์ฟ (Benjamin Lee Whorf) สมมติฐานนี้มีอิทธิพลต่อสาขาวิชา ที่เกี่ยวข้อง คือ ภาษาศาสตร์ มานุษยวิทยา และจิตวิทยา ได้มีผู้ทำการค้นคว้า วิจัยทางสาขาวิชาดังกล่าว พิสูจน์สมมติฐานนี้ ผลของการวิจัยส่วนใหญ่ไม่ค้านสมมติฐานนี้ แต่ก็มิได้สนับสนุนสมมติฐาน ถึงขั้นที่ยกให้ภาษาเป็นตัวกำหนดกิจกรรมทุกอย่างของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ผลของการวิจัย ได้พิสูจน์แล้วว่า ภาษามีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับวัฒนธรรม และมีอิทธิพลอย่างมากต่อขบวนการเรียนรู้และ ขบวนการรับรู้ของมนุษย์


หน้าบรรณาธิการ Jul 1979

หน้าบรรณาธิการ

Journal of Letters

No abstract provided.


บัลลาดในวรรณคดีเยอรมัน, อำภา โอตระกูล Jul 1979

บัลลาดในวรรณคดีเยอรมัน, อำภา โอตระกูล

Journal of Letters

บัลลาดในวรรณคดีเยอรมันมีความหมายว่าโคลงที่เล่าเรื่องแบ่งเป็น 2 พวก คือ Volksballade คือบัลลาดพื้นเมืองที่มีมาแต่เดิม ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และ Kunstballade คือบัลลาดที่กวีแต่ง ขึ้นใหม่ภายหลัง บัลลาดมีโครงสร้างของเรื่องที่กระชับแบบละคร มีบทเจรจาโต้ตอบที่เร้าใจน่าตื่น เต้น ให้บรรยากาศที่เครียดและเศร้า ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของคนที่ต้องเผชิญกับชะตากรรม หรือ วิกฤตการณ์ของชีวิต หาทางออกไม่ได้ บัลลาด ได้รับการส่งเสริมให้แพร่หลายตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18


พัฒนาการนวนิยายไทย พ.ศ. 2475-2500 : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนวนิยายกับสังคม, ตรีศิลป์ บุญขจร Jul 1979

พัฒนาการนวนิยายไทย พ.ศ. 2475-2500 : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนวนิยายกับสังคม, ตรีศิลป์ บุญขจร

Journal of Letters

No abstract provided.


ภาษาไทยแสดงกาลอย่างไร, นิตยา กาญจนะวรรณ Jul 1979

ภาษาไทยแสดงกาลอย่างไร, นิตยา กาญจนะวรรณ

Journal of Letters

วลีบอกเวลา คำชี้เวลา คำชี้กาลลักษณะ คำกริยา ตลอดจนปริบทเป็นเครื่องแสดงกาลในภาษา ไทย วลีบอกเวลามีบทบาทสำคัญที่สุดในการแสดงกาล "เวลา" ที่แฝงอยู่ในคำชี้เวลา และในคำกริยาบางคำ นั้น มีความสำคัญน้อยกว่า "เวลา" ที่บ่งอยู่ในวลีบอกเวลา คำชี้เวลาจึงจัดว่าเวลาได้โดยอนุโลม และใน บางกรณีเท่านั้น วลีบอกเวลา คำชี้เวลา คำชี้กาลลักษณะอาจจะอยู่ในประโยคหรืออยู่ในปริบทก็ได้ ปริบทจึง มีส่วนสำคัญในเรื่องกาลของภาษาไทยด้วย


บุ๊คเพลต, อัมพร ทีขะระ Jul 1979

บุ๊คเพลต, อัมพร ทีขะระ

Journal of Letters

บุ๊คเพลต (bookplate) คือป้ายหรือตราแสดงกรรมสิทธิ์ของห้องสมุดหรือเจ้าของหนังสือซึ่งมัก จะติดไว้ที่ด้านในของปกหน้าหรือที่ใบรองปก การใช้บุ๊คเพลตได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 15 และได้มีวิวัฒนาการ อย่างน่าสนใจมาจนถึงปัจจุบันทั้งในด้านรูปแบบและลวดลายต่าง ๆ เช่นเดียวกับเครื่องเรือนหรือเครื่องแต่งกายสตรี ซึ่งทำให้ห้องสมุดในต่างประเทศและผู้ที่สนใจในด้านศิลปนิยมรวบรวมสะสมบุ๊คเพลตไว้เช่นเดียว กับการสะสมแสตมป์และงานศิลปอื่น ๆ บทความนี้เป็นการเสนอประวัติความเป็นมาของบุ๊คเพลตต่างประเทศและของไทยโดยละเอียด


ครุฑและนาคในวรรณคดีสันสกฤตและบาลี, ยมโดย เพ็งพงศา Jul 1979

ครุฑและนาคในวรรณคดีสันสกฤตและบาลี, ยมโดย เพ็งพงศา

Journal of Letters

No abstract provided.


ข้อคิดของคุณนิลวรรณ ปิ่นทอง Jul 1979

ข้อคิดของคุณนิลวรรณ ปิ่นทอง

Journal of Letters

No abstract provided.


จากมาดามโบวารีถึงเตแรส เดสเกย์รูซ์ : ชีวิตและการแสวงหา, บัตสุณี วิลัยทอง Jul 1979

จากมาดามโบวารีถึงเตแรส เดสเกย์รูซ์ : ชีวิตและการแสวงหา, บัตสุณี วิลัยทอง

Journal of Letters

มาดามโบวารี (Madame Bovary) และเตแรส เดสเกรซ (Therese Desqueyroux) คือนวนิยายฝรั่งเศสสองเรื่องเอกแห่งศตวรรษที่ 19 และศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ตัวนางเอก ของนวนิยายทั้งสองเรื่องนี้คือเอ็มมา โบวารี (Emma Bovary) และเตแรส เดสเกย์รูซ์ (Therese Desqueyroux) มีบทบาทเป็นที่ประทับใจผู้อ่านทุกยุคทุกสมัย และมักจะได้รับการกล่าวขวัญเทียบเคียงกัน อยู่เสมอ เนื่องจากมีวิถีชีวิตและชะตากรรมที่คล้ายคลึงกัน ชีวิตของบุคคลทั้งสองเป็นการขัดแย้งระหว่างความ เป็นจริงกับความฝันที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ความจริงที่ต้องเผชิญนั้นร้ายกาจเสียจนเอ็มมาปฏิเสธที่จะดำรง ชีวิตอยู่กับความเป็นจริง เธออาศัยความฝันเป็นเกราะกำบังจนถึงที่สุด ส่วนเตแรสพยายามทำลายสภาพความ เป็นจริงนั้น แต่สิ่งที่เอ็มมาและเตแรสทำลงไป กลับเป็นเครื่องฉุดให้ชีวิตของเธอทั้งสองจมลงไปสู่ห้วงแห่ง ความทุกข์ทรมานยิ่งขึ้น เอ็มมา โบวารี และเตแรส เดสเกย์รูซ์ ได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะนางเอกในนวนิยายฝรั่งเศสที่ แสวงหาสิ่งที่ต้องการและใฝ่ฝันตามแบบของตนอันเป็นลักษณะของตัวนางที่จะพัฒนาต่อไป ในนวนิยายแบบ เอ็กซิสแตนเชียลลิสต์ในสมัยหลัง


การแปล, ปราณี บานชื่น Jul 1979

การแปล, ปราณี บานชื่น

Journal of Letters

ในสังคมปัจจุบันที่มนุษย์ต่างชาติต่างภาษามีการติดต่อสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและวิทยาการเช่นนี้ การแปลย่อมมีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้น การแปลจะมีมาตรฐานดีขึ้นสูงขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมมากน้อยเพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับความรู้เรื่องการแปล ตลอดจนความรับผิดชอบ และความสำนึกในหน้าที่ของผู้แปลเป็นประการสำคัญ ถ้าผู้แปลรู้เรื่องการแปลเป็นอย่างดีตลอดจนมีความรับ ผิดชอบและสำนึกในหน้าที่แล้ว ผู้แปลย่อมสามารถผลิตงานแปลที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูง ก่อให้เกิดผล ประโยชน์นานัปการต่อสังคม


คุยกันเรื่องแปล, สมทรง ณ นคร Jul 1979

คุยกันเรื่องแปล, สมทรง ณ นคร

Journal of Letters

ผู้เขียนได้บรรยายประวัติการแปลตั้งแต่สมัยโลกเริ่มแปลหนังสือมาจนถึงสมัยปัจจุบัน และได้ยกตัวอย่างสำนวนภาษาแปลที่ดีจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและจากไทยเป็นอังกฤษหลายสำนวนด้วยกัน เมื่อแปลเรื่องมาเป็นภาษาไทย ผู้แปลจะต้องเลือกใช้สำนวนให้เป็นไทย ๆ ให้จงได้ ทั้งนี้ ผู้แปลจะต้องรู้ สำนวนภาษาดีทั้งภาษาเดิมและภาษาไทย ผู้แปลจะต้องรู้เรื่องที่จะแปลอย่างดี จะต้องรู้เหตุการณ์แวดล้อมสมัย ที่ผู้แต่งแต่งเรื่องนั้นอยู่ และควรจะมีอุปกรณ์ เช่น พจนานุกรมอยู่โดยครบถ้วน ชั้นแรกควรแปลเอาเรื่องไว้ชั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงค่อยขัดเกลาสำนวนให้ดีขึ้นในภายหลัง


มหากาพย์ประจำชาติฝรั่งเศส, พวงคราม พันธ์บูรณะ Jan 1979

มหากาพย์ประจำชาติฝรั่งเศส, พวงคราม พันธ์บูรณะ

Journal of Letters

ชองซอง เดอ โรลองต์ (Chanson de Roland) เป็นมหากาพย์ที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่ที่สุดของชาติฝรั่งเศส ได้รับความนิยมจากชนทุกชั้นและยังแพร่หลายไปทั่วยุโรป กําเนิดในยุคกลางปลายศตวรรษที่ 11 มีต้นเค้าจากตำนานท้องถิ่นฝรั่งเศส กวีแต่งขึ้นเพื่อปลูกฝังอุดมคติของสังคมศักดินา เนื้อเรื่องกล่าวถึงวีรกรรม ของโรลองด์อัศวินเอกของจักรพรรดิชาลมาญ เนื่องจากวรรณคดีเรื่องนี้มีต้นกำเนิดในดินแดนฝรั่งเศส มีคติ นิยมและแนวการประพันธ์เฉพาะตนปราศจากอิทธิพลวรรณคดีต่างด้าว จึงได้รับยกย่องว่าเป็นวรรณคดีประจำชาติฝรั่งเศส


หน้าบรรณาธิการ, กาญจนา นาคสกุล Jan 1979

หน้าบรรณาธิการ, กาญจนา นาคสกุล

Journal of Letters

No abstract provided.


ปรัชญาในทรรศนะของลัทธิอัตถิภาวนิยม, กีรติ บุญเจือ Jan 1979

ปรัชญาในทรรศนะของลัทธิอัตถิภาวนิยม, กีรติ บุญเจือ

Journal of Letters

ลัทธิอัตถิภาวนิยม (Existentialism) เน้นการพิเคราะห์ภาวะความมีอยู่ของตนเองในสิ่งแวดล้อม ที่เป็นจริง เพื่อกล้าเผชิญปัญหาจริง และรู้จักตัดสินใจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ในเรื่องความหมายของ ปรัชญา ลัทธินี้เน้นความสำคัญของการเป็นตัวของตัวเองในการสร้างปรัชญาของแต่ละคน เพื่อเป็นหลัก ยึดถือของตนเอง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้อื่นสามารถทําเช่นเดียวกับตนได้ การศึกษาปรัชญาจึงเป็นเพียงการพิจารณาดูตัวอย่างของผู้ที่ได้สร้างสรรค์ปรัชญามาก่อนเพื่อกระตุ้นให้ผู้ศึกษาคิด สร้างปรัชญาของตนเองขึ้นมาบ้าง โดยตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคม


ลักษณะโกรเทสก์ (Groteske) ในบทละครเรื่อง การมาเยือนของหญิงชราของฟรีดริช ดืรเรนมัตต์, อำภา โอตระกูล Jan 1979

ลักษณะโกรเทสก์ (Groteske) ในบทละครเรื่อง การมาเยือนของหญิงชราของฟรีดริช ดืรเรนมัตต์, อำภา โอตระกูล

Journal of Letters

ธรรมชาติ ทางวรรณคดีลักษณะดังกล่าวเห็นได้ชัดในเรื่องประเภทล้อเลียน ประชดประชันสังคม หรือตลก ชวนหัว นักเขียนสมัยใหม่นิยมเขียนเรื่องแบบ โกรเทสก์ เพราะมีความเห็นว่าโลกสมัยใหม่เป็นโลกพิสดาร ในที่นี้ได้ยกบทละครเรื่อง "การมาเยือนของหญิงชรา" (Der Besuch der alten Dame) ของ ฟรีดริช ดืรเรนมัตต์ (Friedrich Durrenmatt) นักเขียนมีชื่อของสวิสในสมัยปัจจุบัน ขึ้นมาวิเคราะห์ศึกษา ลักษณะดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า ลักษณะโกรเทสก์ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการขยายความให้เกินเลยจนเหลือเชื่อ เมื่อมีการจัดของต่างเภทต่างพันธ์มารวมกันให้ดูผิดปกติผิดธรรมชาติ ก่อให้เกิดสภาพขัดแย้ง เช่น ตลกน่าขำ ปนน่าสมเพช อยากจะหัวเราะและร้องไห้ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น


ปัญหาทางจริยธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับการทำแท้ง, ปรีชา เพชรรงค์ Jan 1979

ปัญหาทางจริยธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับการทำแท้ง, ปรีชา เพชรรงค์

Journal of Letters

No abstract provided.


พระราชวินิจฉัยเกี่ยวกับทรรศนะทางอักษรศาสตร์ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ Jan 1979

พระราชวินิจฉัยเกี่ยวกับทรรศนะทางอักษรศาสตร์ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ

Journal of Letters

No abstract provided.


ปัญหาในการใช้คอมพิวเตอร์เรียงบัตรรายการ, อัมพร ทีขะระ Jan 1979

ปัญหาในการใช้คอมพิวเตอร์เรียงบัตรรายการ, อัมพร ทีขะระ

Journal of Letters

การเรียงบัตรรายการเป็นส่วนหนึ่งในงานเทคนิคของห้องสมุด ถึงแม้ว่าการเรียงบัตรรายการจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของงานด้านนี้ แต่ก็เป็นงานสำคัญที่จะทำให้บัตรรายการของห้องสมุดมีคุณภาพเป็นบรรณานุกรม ของหนังสือที่มีอยู่ในห้องสมุดแต่ละแห่งได้ ไม่ว่าจะเป็นบัตรรายการสาธารณะ (Public catalog) หรือบัตร แจ้งหมู่หนังสือสำหรับบรรณารักษ์ใช้โดยเฉพาะ (Shelf list catalog) ในปัจจุบัน ได้มีผู้พยายามนำคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถเรียงบัตรรายการได้รวดเร็วถูกต้องมาใช้ในการเรียงบัตร แต่ปรากฏว่าการ แปลงหลักเกณฑ์การเรียงบัตรรายการให้เป็นโปรแกรมหรือหลักเกณฑ์ที่จะใช้กับคอมพิวเตอร์ ได้นั้นเป็นเรื่องที่มี ปัญหาซับซ้อนมาก บทความนี้เป็นการสำรวจปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้คอมพิวเตอร์เรียงบัตรรายการ ตามที่ได้มีผู้เพียรพยายามจะทำให้สำเร็จ


ปฏิกิริยาของรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อการเคลื่อนไหวตามแนวความคิดประชาธิปไตยและ สังคมนิยมก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475, สุวดี เจริญพงศ์ Jan 1979

ปฏิกิริยาของรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อการเคลื่อนไหวตามแนวความคิดประชาธิปไตยและ สังคมนิยมก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475, สุวดี เจริญพงศ์

Journal of Letters

No abstract provided.


รักของรงซารด์, ทัศนีย์ นาควัชระ Jan 1979

รักของรงซารด์, ทัศนีย์ นาควัชระ

Journal of Letters

ปีแยร์ เดอ รงซารด์ (Pierre de Ronsard) กวีเอกชาวฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 16 ได้เขียน หนังสือรวมกวีนิพนธ์เรื่องความรัก (Les Amours) หนังสือเล่มนี้รวมบทกวีนิพนธ์ทรงซารต์ เขียนถึงหญิง ที่รักสามคนคือ กัซซองคร (Cassandre) มารี (Marie) และ เอแลน (Helene) ในบทความนี้ผู้เขียน จะนําบทกวีนิพนธ์ใน Les Amours มาวิเคราะห์โดยละเอียดเพียงสามบทพอเป็นแนวทางให้รู้จักลักษณะ เด่น ๆ ของหนังสือเล่มนี้ เพราะเป็นบทกวีนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายมากที่สุด และได้ชื่อว่าเป็นบทกวีนิพนธ์ แบบฉบับของ Les Amours บทกวีนิพนธ์ทั้งสามบทนี้ได้แก่ "แต่กัซซองดร์" (A Cassandre) "อัน เนื่องมาแต่ความตายของมารี" (Sur la Mort de Marie) และ "แต่เอแลน" (A Helene) รงซารด์ได้ยึดแนวความคิดและรูปแบบของกวีนิพนธ์กรีกโรมันและอิตาเลียนเป็นหลักในการเขียน Les Amours แต่เขาได้นําอิทธิพลเหล่านี้มาผสมผสานกับชีวิตส่วนตัว ซึ่งทําให้งานชิ้นนี้มีลักษณะไม่ซ้ําแบบ ใครเพราะความบันดาลใจนั้นมาจากประสบการณ์ส่วนตัวของกวีเอง จึงไม่เป็นที่น่าประหลาดใจเลยว่านาม กัซซ็องดร์ มารี เอแลน ได้กลายเป็นนามอมตะในวรรณคดีฝรั่งเศสตราบเท่าทุกวันนี้


ลักษณะการแสดงละครในของหลวงในสมัยรัชกาลที่ 2, อารดา กีระนันทน์ Jan 1979

ลักษณะการแสดงละครในของหลวงในสมัยรัชกาลที่ 2, อารดา กีระนันทน์

Journal of Letters

No abstract provided.