Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Letters

1986

Articles 1 - 30 of 36

Full-Text Articles in Arts and Humanities

ฝนดำกับการแต่งงานของยาสึโกะ, มณฑา พิมพ์ทอง Jul 1986

ฝนดำกับการแต่งงานของยาสึโกะ, มณฑา พิมพ์ทอง

Journal of Letters

การทิ้งระเบิดปรมาณูของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ซึ่งอ้างว่า เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่ สองนั้น ไม่เพียงแต่จะทำให้ชีวิตมนุษย์จำนวนมหาศาลต้องสิ้นสุดลงโดยฉับพลันในวันโลกาวินาศเท่านั้น หากยังทิ้งผลร้ายในช่วงวันอันยาวนานของชาวญี่ปุ่นอีกนับแสน อิบุเสะ มะสึจิ เขียนนวนิยายเรื่อง ฝนดำ เพื่อสะท้อนความขมขื่นสะเทือนใจในชะตากรรมของเพื่อนร่วม ชาติ เขาได้บอกเล่าแก่ชาวโลกผ่านตัวละครอันมีตัวตนจริง ๆ ของเขาว่า โรคร้ายจากพิษของกัมมันตภาพรังสีนั้นได้ปั่น ทอนชีวิต ความหวังและความศรัทธาที่จะมีชีวิตอยู่อย่างปกติชนในสังคมลงอย่างโหดร้ายเพียงไร


บทกวี เรื่องสั้น เรื่องแปล : All In One, K. Khemananda Jul 1986

บทกวี เรื่องสั้น เรื่องแปล : All In One, K. Khemananda

Journal of Letters

No abstract provided.


Emily Dickinson And The Meaning Of Peace, สงวนศรี ขันธวิเชียร Jul 1986

Emily Dickinson And The Meaning Of Peace, สงวนศรี ขันธวิเชียร

Journal of Letters

ผู้เขียนบทความนี้ได้พิจารณาและวิเคราะห์ความหมายของคำว่า สันติภาพ (peace) ในบทกวีของ Emily Dickins on (1830 - 1886) คำว่า peace นี้ มีความหมายเฉพาะ ไม่ตรงกับความหมายที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป ผู้เขียนสรุปว่า การแสวงหา peace อาจจะถือได้ว่าเป็น theme ที่สําคัญที่สุดในงานเขียนของ Emily Dickinson


นวนิยายที่เรียกร้องหาสันติภาพ, เฉลิมศรี จันทร์อ่อน Jul 1986

นวนิยายที่เรียกร้องหาสันติภาพ, เฉลิมศรี จันทร์อ่อน

Journal of Letters

การประท้วงเพื่อสันติภาพที่แสดงออกในรูปของวรรณกรรมที่มีเนื้อหาต่อต้านสงคราม ซึ่งกระทำมาอย่างต่อเนื่องในวรรณกรรมของหลายชาติหลายภาษา นับว่าเป็นลักษณะหนึ่งของความพยายามที่จะต่อต้านสงครามอย่างสันติ ดังที่ปรากฏในงานของ ลีโอ ตอลสตอย นักเขียนชาวรัสเซีย เกรแฮม กรีน นักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษ และ โจเซฟ ฮัลเลอร์ นักเขียนอเมริกัน อย่างไรก็ดี การต่อต้านสงครามในงานของนักเขียนเหล่านี้ มักลงเอยด้วยการ หนีสงครามออกจากประเทศของตน ส่วนนวนิยายของ เคิร์ท วอนเนอะกัท นักเขียนชาวอเมริกัน เชื้อสายเยอรมัน นั้น มีลักษณะของนวนิยายวิทยาศาสตร์แทรกอยู่ คือ ตัวเอกของเรื่องหนีไปไกลถึงโลกอื่น จึงน่าสนใจศึกษาว่า นวนิยายของ วอนเนอะกัท มีลักษณะคล้ายคลึงและแตกต่างจากงานของนักเขียนที่เรียกร้องสันติภาพคนอื่น ๆ อย่างไร


สงคราม : อาชญากรรมหรือวีรกรรม แง่คิดจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ชาคริต ชุ่มวัฒนะ Jul 1986

สงคราม : อาชญากรรมหรือวีรกรรม แง่คิดจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ชาคริต ชุ่มวัฒนะ

Journal of Letters

ในสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมันอ้างว่า ตนทำสงครามเพื่อช่วยเหลือออสเตรีย ฮังการีให้ได้รับความเป็นธรรม ในขณะเดียวกันคู่กรณีของเยอรมันก็อ้างว่า ตนทำสงครามเพื่อสันติภาพ เพื่อหลักการประชาธิปไตย ข้อกล่าวอ้างของ แต่ละฝ่ายได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการผลิตเหรียญที่ระลึก ซึ่งมีเนื้อความเชิดชูวีรกรรม ของฝ่ายตน และประนามการกระทำของฝ่ายตรงข้าม เหรียญเหล่านี้ได้กลายเป็นปากเสียงให้แก่ประเทศของตนตลอดระยะ เวลาสงคราม แม้จนในที่สุดเมื่อสงครามสงบลง เหรียญที่ระลึกเพื่อสันติภาพที่ทั้งสองฝ่ายสร้างขึ้นก็ยังคงแสดงภาพที่ ขัดแย้งกันอยู่ว่าใครคือวีรบุรุษ ใครคืออาชญากรสงครามและสันติภาพที่แท้จริงคืออะไรกันแน่


The Good Person Of Setzuan And The Dilemma Between Means And Ends, รัศมี เผ่าเหลืองทอง Jul 1986

The Good Person Of Setzuan And The Dilemma Between Means And Ends, รัศมี เผ่าเหลืองทอง

Journal of Letters

ในบทละครเรื่อง คนดีที่เสฉวน เบรคชท์ตั้งคำถามว่าการที่คนทั้งจนและรวยต่างก็เห็นแก่ตัวและละโมบพอ ๆ กัน นั้น เป็นเพราะสังคมหรือไฉน คนดีเพียงคนเดียวในเสฉวนก็ยอมรับว่า เมื่อใดที่เธอเป็นคนดี เมื่อนั้นเธอจะได้รับความทุกข์ยาก หากเมื่อไรทำความชั่วนั่นแหละจึงจะเงยหน้าอ้าปากได้ การทำความดีเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะนำมนุษย์ไปสู่ความสำเร็จ แต่ต้องเข้มแข็งพอที่จะต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ อย่างทันกันตลอดเวลา สารสำคัญที่สุดที่เบรคชท์สื่อให้แก่ผู้อ่าน ผู้ชมก็คือ สังคมนั้นมีความขัดแย้ง เราจำเป็นต้องเข้าใจมนุษย์ให้ถ่องแท้ แทนที่จะมองว่าสังคมมีแต่ความราบรื่นชื่นบาน หรือแทนที่จะโทษแต่ภาวะเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว


ในแวดวงอักษรศาสตร์ : รายงานการสัมมนาวิชาการประจำปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ความเป็นไทยทีควรธำรงไว้, สาวิตรี ทัพภสุต Jul 1986

ในแวดวงอักษรศาสตร์ : รายงานการสัมมนาวิชาการประจำปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ความเป็นไทยทีควรธำรงไว้, สาวิตรี ทัพภสุต

Journal of Letters

No abstract provided.


วิจารณ์หนังสือ : In The Mirror เบเนดิคท์ แอนเดอร์สัน (แปล), สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา Jul 1986

วิจารณ์หนังสือ : In The Mirror เบเนดิคท์ แอนเดอร์สัน (แปล), สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา

Journal of Letters

No abstract provided.


วิจารณ์หนังสือ : ลูกพ่อคนหนึ่ง (ถากไม้เหมือนหมาเลีย) วัฒน์ วรรลยางกูร, สายชล วรรณรัตร์ Jul 1986

วิจารณ์หนังสือ : ลูกพ่อคนหนึ่ง (ถากไม้เหมือนหมาเลีย) วัฒน์ วรรลยางกูร, สายชล วรรณรัตร์

Journal of Letters

No abstract provided.


ถึงเมื่อไรเราจะได้เรียนรู้ : บทเรียนเรื่องสงคราม, นพมาส ศิริกายะ Jul 1986

ถึงเมื่อไรเราจะได้เรียนรู้ : บทเรียนเรื่องสงคราม, นพมาส ศิริกายะ

Journal of Letters

แบร์ทอลท์ เบรคชท์ ผู้แต่งบทละครเรื่อง แม่เคอเรจกับลูก ๆ ของเธอ ได้เสนอทัศนะต่อต้านสงคราม โดย ชี้ว่า สงครามนั้นแม้จะเริ่มจากนโยบายทางการเมืองและการทหาร แต่จะดำเนินไปได้ยาวนานก็เพราะความเห็นแก่ ประโยชน์ส่วนตัวของแต่ละบุคคล ดังเช่น แม่เคอเรจ ตัวละครเอกในเรื่องนี้ ซึ่งต้องการแต่เพียงค้าขายตักตวงกําไร จากภาวะสงคราม โดยมิได้สำนึกว่า ชีวิตลูก ๆ ของตนสูญสิ้นไปก็เพราะสงครามนั้นเอง เบรคชท์ประสบความสำเร็จ ในการเสนอการต่อต้านสงครามในบทละครเรื่องนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเขาเสนอสิ่งตรงข้ามกับความคาดหมาย หรือเกิน ความคาดหมาย ความสำเร็จอีกประการเกิดจากการแสดงถึงผลของสงครามที่มีต่อชีวิตชาวบ้านธรรมดาสามัญ ผู้ดูละคร เรื่องนี้ได้ตระหนักถึงความเลวร้ายของสงคราม แต่ในชีวิตจริง มนุษยชาติได้เรียนรู้แล้วละหรือ


รากเหง้าของความเปลี่ยนแปลง : เอกสารประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2469 - 2475, ฉลอง สุนทราวาณิชย์ Jul 1986

รากเหง้าของความเปลี่ยนแปลง : เอกสารประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2469 - 2475, ฉลอง สุนทราวาณิชย์

Journal of Letters

No abstract provided.


วิจารณ์หนังสือ : ชีวิตและผลงานของ กุสตาฟ โฟลแบรต์ ทัศนีย์ นาควัชระ, อนงค์นาฏ เถกิงวิทย์ Jul 1986

วิจารณ์หนังสือ : ชีวิตและผลงานของ กุสตาฟ โฟลแบรต์ ทัศนีย์ นาควัชระ, อนงค์นาฏ เถกิงวิทย์

Journal of Letters

No abstract provided.


สงครามและสันติภาพในกวีนิพนธ์ฝรั่งเศสสมัยใหม่, พูนศรี วงศ์วิทวัส Jul 1986

สงครามและสันติภาพในกวีนิพนธ์ฝรั่งเศสสมัยใหม่, พูนศรี วงศ์วิทวัส

Journal of Letters

ชาวฝรั่งเศสเป็นชนชาติที่รักเสรีภาพไม่น้อยไปกว่าชนชาติอื่น และใฝ่หาสันติภาพตลอดมาทุกยุคสมัย ดังจะเห็น ได้จากผลงานทุกประเภทในวรรณคดีของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกวีนิพนธ์ฝรั่งเศสสะท้อนให้เห็นความรักสันติภาพและ ความเกลียดชังสงครามอย่างแจ่มชัดมาจนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 20 ของเรานี้ กวีฝรั่งเศสสมัยใหม่มิได้แสดงความชื่นชม สันติภาพในยามสงบเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทในการต่อต้านสงครามหรือร่วมรบเพื่อนำสันติภาพอันถาวร กลับคืนมาสู่ประเทศของตนอีกด้วย โดยร้อยกรองออกมาจากใจจริง ด้วยลีลาการประพันธ์ที่แตกต่างกันออกไปในครึ่งแรก ของศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1900-1950)


คำหลวง, ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา Jul 1986

คำหลวง, ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา

Journal of Letters

วรรณคดีไทยมีหนังสือที่เรียกว่า คําหลวง อยู่เพียง 4 เรื่อง แต่ละเรื่องล้วนมีลักษณะต่างกันออกไป จนทําให้เกิด ปัญหาว่า คำหลวง นั้นคืออะไร มหาชาติคำหลวง เป็นพระราชนิพนธ์ที่พระเจ้าแผ่นดินโปรดให้นักปราชญ์ราชกวีแต่งขึ้น พระนลคำหลวง เป็นพระราชนิพนธ์ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงแต่งเอง พระมาลัยคำหลวงนั้นเชื่อกันว่าเป็นพระนิพนธ์เจ้าฟ้า ธรรมธิเบศร แต่ก็ไม่มีหลักฐานมายืนยัน ส่วนเรื่องนันโทปนันทสูตรคำหลวงนั้นเป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ทรง แต่งเมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราช และทรงระบุเรียกชื่อไว้ว่าเป็น คำหลวง จึงมี ลักษณะเป็นการคาดคะเนว่าผู้นิพนธ์จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่เมื่อไม่ได้เป็น หนังสือเล่มนี้จึงกลายเป็น คําหลวงเก้อ ไปในที่สุด


บทกวี เรื่องสั้น เรื่องแปล : เรื่องอ่านเล่น, วอล์ฟกัง บอร์ชาร์ท, พรสวรรค์ ถมังรักษ์สัตว์ Jul 1986

บทกวี เรื่องสั้น เรื่องแปล : เรื่องอ่านเล่น, วอล์ฟกัง บอร์ชาร์ท, พรสวรรค์ ถมังรักษ์สัตว์

Journal of Letters

วอล์ฟกัง บอร์ชาร์ท (Wolfgang Borchert) เป็นนักเขียนสำคัญคนหนึ่งของเยอรมันรุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดที่ฮัมบวก เมื่อปีค.ศ. 1921 ถึงแก่กรรมที่บาเซิลในสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปีค.ศ. 1947 ระหว่างสงครามเขาถูกเกณฑ์ทหาร และได้รับบาดเจ็บ เคยถูกจับถึงสองครั้ง เพราะข้อเขียนที่แสดงความคิดเห็นเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลสมัยฮิตเลอร์ บอร์ชาร์ท เคยทำงานเป็นผู้ช่วยผู้กำกับละครอยู่ที่โรงละครในฮัมบวก งานประพันธ์ของเขามีทั้งบทละคร เรื่องสั้น งานร้อยกรอง ซึ่ง มักบรรยายถึงความโหดร้ายและพิษภัยของสงคราม สะท้อนให้เห็นภาพภัยพิบัติและความทารุณอันเนื่องมาจากสงคราม ใน "เรื่องอ่านเล่น" เรื่องนี้ บอร์ชาร์ทบรรยายภาพชีวิตหลาย ๆ ภาพ สะท้อนอารมณ์และความรู้สึกของผู้เขียนที่มีต่อสงคราม และเพื่อนมนุษย์ร่วมสมัยผู้ประสบชะตากรรมจากสงคราม


หน้าบรรณาธิการ Jul 1986

หน้าบรรณาธิการ

Journal of Letters

No abstract provided.


กฤษณามูรติพูดเรื่องสงคราม Jul 1986

กฤษณามูรติพูดเรื่องสงคราม

Journal of Letters

กฤษณามูรติ เกิดที่แคว้นมัทราส ในตอนใต้ของอินเดีย ในครอบครัววรรณะพราหมณ์ที่ยากจน เมื่ออายุสิบสาม แอนนี่ เบสเสนท์ (Annie Besant) นายกสมาคม Theosophical Society ได้รับมาอุปถัมภ์ และให้การศึกษาในประเทศอังกฤษ เพื่อให้เป็นศาสดาของโลก (World Teacher) แต่ใน ค.ศ. 1929 ท่ามกลาง ความผิดหวังของสาวกนับจำนวนแสนทั่วโลก กฤษณามูรติได้ปฏิเสธการเป็นผู้นําทางศาสนาและการสรรเสริญ บูชาทั้งหลาย เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนแสวงหาอิสรภาพทางจิตวิญญาณโดยตัวของตัวเอง ท่านใช้ชีวิตที่เหลือ เดินทางไปที่อเมริกาและยุโรป อินเดีย และอื่น ๆ เพื่อบรรยายและชี้ทางแก่คนทั้งหลายว่า ความจริงคือดินแดนที่ไม่ได้มีทางใดทางหนึ่งที่จะไปถึงโดยเฉพาะ และท่านไม่สามารถจะไปถึง ดินแดนนี้ได้โดยศาสนาหรือลัทธิใด ท่านต้องมองเข้าไปในตัวของท่านเอง เพื่อที่จะหาความจริงและในจิตใจ ที่สงบนิ่งและว่างเท่านั้นที่ความจริงสูงสุดจะปรากฏขึ้นเอง" กฤษณามูรติสิ้นชีวิตในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1986 เมื่ออายุได้ 90 ปี


ในแวดวงอักษรศาสตร์ : รายงานการสัมมนาเรื่อง ศาสนากับสันติภาพ, กีรติ บุญเจือ ศาสตราจารย์ Jul 1986

ในแวดวงอักษรศาสตร์ : รายงานการสัมมนาเรื่อง ศาสนากับสันติภาพ, กีรติ บุญเจือ ศาสตราจารย์

Journal of Letters

No abstract provided.


ประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยราชวงศ์ปราสาททอง พ.ศ. 2172 - 2231, ธีรวัต ณ ป้อมเพชร Jul 1986

ประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยราชวงศ์ปราสาททอง พ.ศ. 2172 - 2231, ธีรวัต ณ ป้อมเพชร

Journal of Letters

No abstract provided.


ที่มาของภาพปิดทองรดน้ำสมัยพระจอมเกล้า, น. ณ ปากน้ำ Jul 1986

ที่มาของภาพปิดทองรดน้ำสมัยพระจอมเกล้า, น. ณ ปากน้ำ

Journal of Letters

No abstract provided.


รู้เรื่องวัฒนธรรมเยอรมันไปทำไม, พรสรรค์ ถมังรักษ์สัตว์ Jan 1986

รู้เรื่องวัฒนธรรมเยอรมันไปทำไม, พรสรรค์ ถมังรักษ์สัตว์

Journal of Letters

การเรียนรู้วัฒนธรรมต่างชาติ เป็นประสบการณ์ร่วมของมนุษยชาติที่จะศึกษาวัฒนธรรมซึ่งแตกต่าง ดังตัวอย่างการศึกษาวัฒนธรรมเยอรมัน ผู้ศึกษาอาจมีปัญหาในการตีความทาง วัฒนธรรมได้สองรูปแบบ คือ ปัญหาเรื่องความแตกต่างของกาลเวลาระหว่างผู้ตีความและประสบการณ์ว่า ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถเข้าใจประสบการณ์ในอดีตอย่างถ่องแท้ลึกซึ้ง และปัญหาการรับและเข้าใจวัฒนธรรม ของชนต่างชาติต่างภาษา ประสบการณ์ร่วมทางวัฒนธรรมนี้ พบได้ในหลายลักษณะ คือ อาจเป็นในรูปของ การต่อต้าน ในรูปของความไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่กระจ่างชัด รวมทั้งในรูปของการให้แง่คิดที่เป็นประโยชน์ แก่ผู้รับประสบการณ์อันจะนำไปสู่การวิเคราะห์วัฒนธรรมของชาติตนและรู้จักตนเองดีขึ้นด้วย


นวนิยายอิมเพรสชั่นนิสต์ต้นศตวรรษที่ 20, กองกาญจน์ ตะเวทิกุล ม.ร.ว. Jan 1986

นวนิยายอิมเพรสชั่นนิสต์ต้นศตวรรษที่ 20, กองกาญจน์ ตะเวทิกุล ม.ร.ว.

Journal of Letters

ขบวนการอิมเพรสชั่นนิสต์เกิดขึ้นในตอนต้นศตวรรษที่ 20 เป็นปฏิกิริยาต่อต้านการเขียนนวนิยาย แบบสัจนิยม และธรรมชาตินิยม นวนิยายอิมเพรสชั่นนิสต์มีลักษณะสำคัญ คือ เน้นความสำคัญของความคิด และกระแสสำนึก นักเขียนจึงใช้กลวิธีการเขียนแบบบทรำพึง เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกภายในจิตใจและความคิด ภายในสมองของตัวละคร ทั้งยังมีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอความคิดเกี่ยวกับเวลา ซึ่งมีอิทธิพลอยู่เหนือชีวิตมนุษย์ และลักษณะการถ่ายทอดความรู้สึกภายในจิตใจและความคิดภายในสมองของตัวละครนี้เอง นวนิยายอิมเพรสชั่นนิสต์เป็นนวนิยายชีวประวัติของผู้เขียนเอง


การสอนวิชาแปลตามหลักสูตรภาษาต่างประเทศประยุกต์, สุนิสา สุมิตร Jan 1986

การสอนวิชาแปลตามหลักสูตรภาษาต่างประเทศประยุกต์, สุนิสา สุมิตร

Journal of Letters

No abstract provided.


ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้เริ่มแปลภาษาไทย เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย, ปาริชาต นาคะตะ Jan 1986

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้เริ่มแปลภาษาไทย เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย, ปาริชาต นาคะตะ

Journal of Letters

จากประสบการณ์ในการสอนแปลเบื้องต้นแก่นิสิตอักษรศาสตร์ และการอบรมแปลขั้นพื้นฐานแก่ บุคคลภายนอก ซึ่งเน้นในการเริ่มแปลประโยคหรือข้อความสั้น ๆ ผู้เขียนได้พบว่าปัญหาในการแปลภาษาไทย เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยสำหรับผู้เริ่มหัดแปลนั้น มีทั้งในเรื่องของคำและเรื่องของโครงสร้างประโยค ในเรื่องของคำนั้นผู้แปลจะต้องเลือกคำที่เหมาะสม เพราะบางคำทั้งในภาษาอังกฤษและ ภาษาไทยมีหลายความหมาย หรือบางครั้งก็เป็นคำพ้องรูปพ้องเสียงกันโดยมีความหมายต่างกันออกไป ในเรื่องโครงสร้างนั้นผู้แปลจะต้องเข้าใจโครงสร้างของทั้งสองภาษาเป็นอย่างดี เพราะการเข้าใจโครงสร้างของภาษา จะทำให้เข้าใจความหมายของแต่ละประโยคได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้เพราะโครงสร้างของภาษาอังกฤษและภาษา ไทยมีความแตกต่างกันมาก การที่ผู้แปลไม่ระวังในเรื่องโครงสร้างของภาษา จึงทําให้แปลออกมาเป็นสำนวน ไทยปนฝรั่ง หรือมิฉะนั้นก็ได้ประโยคที่ผู้อ่านอ่านแล้วไม่เข้าใจหรือมีความหมายผิดไปจากต้นฉบับ


ผลกระทบของสังคมที่มีต่อวรรณคดี เยอรมันศตวรรษที่ 19, ถนอมนวล โอเจริญ Jan 1986

ผลกระทบของสังคมที่มีต่อวรรณคดี เยอรมันศตวรรษที่ 19, ถนอมนวล โอเจริญ

Journal of Letters

วรรณคดีเยอรมันศตวรรษที่ 19 มีเนื้อหาหลากหลายและบางเรื่องมีลักษณะขัดแย้งกันอย่างเด่นชัด เมื่อเราศึกษาลักษณะสังคมและการเมืองของประเทศเยอรมันในศตวรรษที่ 19 อย่างลึกซึ้ง เราจะอธิบายได้ ว่าเหตุใดวรรณคดีเยอรมันในศตวรรษที่ 19 จึงมีลักษณะดังกล่าวและสามารถเข้าใจได้ว่า เหตุใด ชติฟเทอร์ และ อันเนทเท ฟอน ครอสเท- ฮิลส์ ฮอฟฟ์ นักประพันธ์ผู้รักสันติและระเบียบจึงเป็นนักประพันธ์ร่วมสมัยเดียวกับ คาร์ล กุทซ์โคฟ และไฮน์ริช ไฮเน่ นักประพันธ์กลุ่มก้าวหน้าที่รักความรุนแรง


การมองปัญหากามวิตถารจากแง่จริยปรัชญา, เนื่องน้อย บุณยเนตร Jan 1986

การมองปัญหากามวิตถารจากแง่จริยปรัชญา, เนื่องน้อย บุณยเนตร

Journal of Letters

No abstract provided.


มนุษยศาสตร์กับการพัฒนาประเทศ, ปรีชา ช้างขวัญยืน Jan 1986

มนุษยศาสตร์กับการพัฒนาประเทศ, ปรีชา ช้างขวัญยืน

Journal of Letters

มนุษยศาสตร์จะช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างไร ปัญหาดังกล่าวนี้ดูเหมือนจะไม่ได้รับความสนใจ จากผู้อยู่ภายนอกวงการมนุษยศาสตร์มากนัก และมักเห็นไปว่ามนุษยศาสตร์ไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ ผู้ที่คิดเช่นนี้นอกจากพวกที่ศึกษามาในสายวิทยาศาสตร์แล้วยังรวม พวกสังคมศาสตร์บางกลุ่มด้วย แต่เราก็ไม่เคยวิเคราะห์ปัญหานี้กันอย่างถ่องแท้ ผู้เขียนเห็นว่าเราน่าจะได้พิจารณาปัญหาดังกล่าวตามที่ควรจะเป็น และหวังว่าการพิจารณานี้น่าจะมีส่วนช่วยเตือนใจผู้มีอำนาจในการวางแผนพัฒนาประเทศบ้าง


พจนานุกรมศัพท์การท่องเที่ยวไทย-ฝรั่งเศส, ขจิตรา ภังคานนท์ Jan 1986

พจนานุกรมศัพท์การท่องเที่ยวไทย-ฝรั่งเศส, ขจิตรา ภังคานนท์

Journal of Letters

No abstract provided.


โมเดลของคูนน่าเชื่อถือจริงหรือ?, สรยุทธ ศรีวรกุล Jan 1986

โมเดลของคูนน่าเชื่อถือจริงหรือ?, สรยุทธ ศรีวรกุล

Journal of Letters

คูนเป็นนักปรัชญาและนักประวัติวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เขาเกิดที่เมืองซินซินนาติ (Cincinnati) ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เคยสอนที่ฮาร์วาร์ดและเบิร์กเลย์ ปัจจุบันนี้ยังมีชีวิตอยู่ และ สอนที่มหาวิทยาลัยพรินสตัน งานเขียนที่สำคัญของคูนมีอยู่ 2 เล่ม คือ "The Copernican Revolution เขียนขึ้นในปี 1957 และ "The Structure of Scientific Revolutions" เขียนขึ้นในปี 1962


วรรณคดีหลีกหนี, ศิริรัตน์ ทวีเลิศนิธิ Jan 1986

วรรณคดีหลีกหนี, ศิริรัตน์ ทวีเลิศนิธิ

Journal of Letters

วรรณคดีหลีกหนีอาจจะเป็นคำใหม่สำหรับคนทั่วไป ผู้เขียนจึงต้องการที่จะแนะนำลักษณะวรรณคดี ซึ่งแท้ที่จริงมีปรากฏในวรรณคดีชาติต่าง ๆ มาเป็นเวลาช้านาน โดยอธิบายลักษณะการหลีกหนี ประเภทต่าง ๆ เพื่อตอบคำถามว่า ใครหนี หนีอะไร หนีอย่างไร และหนีไปไหน โดยยกตัวอย่างประกอบ จากวรรณคดีอังกฤษและเยอรมันในศตวรรษที่ 19 และ 20 คือ นวนิยายเรื่องลอร์ด จิม (Lord Jim) ของ โจเซฟ คอนราด (Joseph Conrad) และนวนิยายของ แฮรมน เฮสเส (Hermann Hesse) เรื่องแดร์ ชเต็พเพนวูลฟ์ (Der Steppenwolf) ซึ่งจะได้แยกวิเคราะห์แต่ละเรื่องในขั้นแรก และทําการเปรียบเทียบลักษณะการหลีกหนีจากวรรณคดีทั้งสองเรื่องในขั้นสุดท้าย